Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า โดย นางสาวสุภาภรณ์ สันจะโปะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ 631102008119

กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า โดย นางสาวสุภาภรณ์ สันจะโปะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ 631102008119

Published by supapronsjp, 2022-08-16 16:47:16

Description: กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า โดย นางสาวสุภาภรณ์ สันจะโปะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ 631102008119

Search

Read the Text Version

กลอนดอกสร้อย รำพึงในกดเีร่ ป่าช้า โดย นางสาวสุภาภรณ์ สันจะโปะ สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ 631102008119

คำนำ หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานภาษาไทย วรรณคดี และวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ เล่มนี้ จัดทำขึ้นโดย ยึดตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยมุ่งส่งเสริม ให้ผู้เรียนได้ศึกษาวรรณคดีที่ กำหนดไว้ในประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง วรรณคดี สำหรับการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย ซึ่งผู้เรียนจะได้ ศึกษาความเป็นไทยภาพสะท้อน ของความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และสังคมไทยในยุคสมัยต่าง ๆ ผ่านวรรณคดี และวรรณกรรม ทั้งประเภทร้อยแก้วและร้อยกรองที่มีความ สวยงามในด้านการใช้ภาษา ทำให้ผู้เรียน เกิดความซาบซึ้ง ในวรรณคดีและวรรณกรรม รวมทั้งสามารถนำความรู้ความเข้าใจ ข้อคิด คติสอน ใจ ที่ได้จากการอ่านไปวิเคราะห์และปรับใช้กับการดำเนิน ชีวิตประจำวันได้ หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย วรรณคดีและวรรณกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒

คำเเนะนำการใช้หนังสือ ๑. ศึกษาหลักสูตรและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ หลักสูตรฉบับปัจจุบัน เพื่อเข้าใจสาระและมาตรฐานการ เรียนรู้ตัวชี้วัดสาระการเรียนรู้แกนกลาง และสิ่งอันพึง ประสงค์ให้เกิดแก่นักเรียน ๒. ศึกษาหนังสือเรียนวรรณคดีลำนำชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๒ ทุกเล่มทุกบทอย่างละเอียด ซึ่งใช้เป็นสื่อ หลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย และจัดหน่วย การเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ตามความเหมาะสม ๓. ศึกษาพื้นฐานความรู้ความสามารถภาษาไทย และอื่นๆของนักเรียน ซึ่งอาจจะใช้บททดสอบสัมภาษณ์ และก่อนเริ่มบทเรียน ควรเตรียมความพร้อมอย่างน้อย ๑-๒ สัปดาห์

สารบัญ หน้า หัวข้อ ๑-๔ ๕ ๑. ความเป็นมา ๖ ๒. ประวัติผู้เเต่ง ๗-๓๑ ๓. ลักษณะคำประพันธ์ ๓๒-๓๕ ๔. เนื้อเรื่อง ๓๖ ๕. คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๓๗-๓๘ ๖. คุณค่าด้านสังคม ๓๙ ๗. คุณค่าด้านเนื้อหา ๔๐ ๘. ข้อคิดที่ได้ ๔๑-๔๒ ๙. คำถามท้ายบท ๔๓ ๑๐. เกร็ดความรู้ ๑๑.บรรณานุกรม

ความเป็นมาของ กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า มีที่มาจากกวี นิพนธ์ Elegy Written in a Country ของ ทอมัส เกรย์ (Thomas Gray) กวีชาวอังกฤษ ซึ่งประพันธ์หลังจากญาติ และเพื่อนของผู้ประพันธ์เสียชีวิตลงในเวลาใกล้เคียงกัน

พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นผู้ประพันธ์กลอนดอกสร้อรำพึงในป่าช้าจาก ต้นฉบับแปลของ เสฐียรโกเศศ ก่อนที่จะขึ้นกลอน ดอกสร้อยจะมีบทกถามุขหรือบทนำเรื่อง ซึ่งนาคะ ประทีปเป็นผู้เรียบเรียงไว้

ซึ่งก่อนเข้าสู่เนื้อเรื่องผู้ประพันธ์ได้ระบุ ข้อความที่เกี่ยวกับการแปลเรื่องนี้ไว้ว่า \"จากภาษาอังกฤษที่ท่านเสฐียรโกเศศให้ข้าพเจ้า ได้แต่ดัดแปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทยบ้าง\" ดังบทประพันธ์นี้ ซากเอ๋ยซากศพ อาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญ กับหมู่ม่านประทุษอยุธยา ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์ นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญา อาจจะมานอนจมถมดินเอย

จากคำประพันธ์ตัวอย่างข้างต้น จะเห็นว่ามีการ ดัดแปลงโดยกล่าวถึงชาวบ้านบาลระจันเหล่าผู้กล้าของ ไทยเมื่อครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ และศรีปราชญ์ กวีของไทยในสมัยอยุธยาเป็นการดัดแปลงเนื้อความ บางส่วนให้เข้ากับธรรมเนียมของไทย เป็นลักษณะ เด่นของวรรณคดีไทยในสมัยรัขกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาล ที่ ๗

ประวัติผู้เเต่ง พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) พระยาอุปกิตศิลปสาร ชื่อเดิม นิ่ม กาญจราชีวะ เกิด เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๔๒๒ ได้รับการศึกษาชั้น ต้นจากวัดบางประทุนนอก และที่วัดประยุรวงศาวาส ต่อมาได้บวชเป็นสามเณรและเป็นพระภิกษุที่วัด สุทัศนเทพวราราม พระยาอุปกิตศิลปสารเริ่มเข้ารับ ราชการ โดยทำงานเป็นครูฝึกสอนที่โรงเรียนฝึกหัดอา จารย์สายสวลีสัณฐาคารฝ่ายสอนหนังสือที่โรงเรียนสวน กุหลาบและโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จ เจ้าพระยา ผลงานสำคัญทางภาษาและวรรณคดีไทย ได้แก่ สยามไวยากรณ์ เป็นตำราไวยากรณ์ไทยมี ๔ เล่ม ได้แก่ อักขรวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์และฉันทลักษณ์

ลักษณะคำประพันธ์ กลอนดอกสร้อย ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลอน สุภาพ เพียงแต่ขึ้นต้นด้วย เอ๋ย ลงท้ายด้วยเอย คณะ 1บทมี 8 วรรค

เนื้อเรื่องย่อ กลอนดอกสร้อย รำพึงในป่าช้า กถามุข ดังได้ยินมา สมัยหนึ่ง ผู้มีชื่อต้องการความ วิเวก เข้าไปนั่งอยู่ ณ ที่สงัด ในวัดชนบทเวลาตะวัน รอน ๆ จนเสียงระฆังย่ำบอกสิ้นเวลาวัน ฝูงโคกระบือ และพวกชาวนาพากันกลับที่อยู่เป็นหมู่ ๆ เมื่อสิ้น แสงตะวันแล้ว ได้ยินแต่เสียงจิ้งหรีดเรไรกับเสียง เกราะในคอกสัตว์ นกแสกจับอยู่บนหอระฆังก็ร้องส่งสำเนียง ณ ที่นั้นมีต้นไทรต้นโพธิ์สูงใหญ่ ใต้ต้นล้วนมีเนิน หญ้ากล่าวคือที่ฝังศพต่างๆอันแลเห็นด้วยเดือนฉาย ศพในที่เช่นนั้นก็เป็นศพชาวไร่ชาวนานั่นเอง ผู้นั้นมีความรู้รู้สึกเยือเย็น แล้วรำพึงในหมู่ศพ จึงเขียนความในใจออกมากันดังนี้

เนื้อเรื่องฉบับเต็ม ๑ วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่ง! ย่ำค่ำระฆังขาน ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากาล ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย ถอดคำประพันธ์ เสียงระฆังตีย่ำดังหง่างเหง่ง มาทำให้เกิดความ วังเวงใจยิ่งนัก ในขณะที่ฝูงควายก็เคลื่อนจากท้องทุ่งลา เวลากลาง วันเพื่อมุ่งกลับยังถิ่นที่อยู่ของมัน ฝ่ายพวก ชาวนาทั้งหลายรู้สึกเหนื่อยอ่อนจากการทำงานต่างก็พากัน กลับถิ่นพำนัก ของตนเมื่อตะวันลับขอบฟ้าก็ไม่มี แสงสว่าง ทำให้ท้องทุ่งมืดไปทั่วบริเวณและทิ้งให้ข้าพเจ้า เปล่าเปลี่ยวอยู่แต่เพียงผู้เดียว

๒ ยามเอ๋ยยามนี้ ปถพีมืดมัวทั่วสถาน อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาล สงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง มีก็แต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง! เรไรหริ่ง!ร้องขรมระงมเสียง คอกควายวัวรัวเกราะเปาะเปาะ! เพียงรู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วเอย ถอดคำประพันธ์ ยามนี้แผ่นดินมืดไปทั่ว อากาศเย็นยะเยือกหนาว เพราะเป็นเวลากลางคืน และป่าใหญ่แห่งนี้ก็เงียบสงัด มีแต่จิ้งหรีดและเรไรร้องกันเซ็งแซ่ไปหมด เจ้าของคอกวัว ควายต่างก็รัวเกราะกันเป็นเสียงเปราะ ๆ ทำให้รู้ว่าเป็นเสียง เกราะดังแว่วมาแต่ไกล

๓ นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ อยู่บนยอกหอระฆังบังแสงจันทร์ มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ให้ผันดู คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย ถอดคำประพันธ์ นกแสร้องแจ๊ก ๆ เพื่อทำให้เสียขวัญ มันจับอยู่บน หอระฆังที่มีเถาวัลย์พันรุงรังถึงหลังคาและบังแสงจันทร์อยู่ เหมือนมันจะฟ้องดวงจันทร์ว่าให้หันมาดูผู้คนที่มาสู่ที่อยู่มัน รักษาไว้ ซึ่งถือเป็นส่วนที่เฉพาะส่วนตัวมานาน ทำให้มัน ไม่มีความสุข

๔ ต้นเอ๋ยต้นไทร สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายา มีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้ ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้ แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจ เรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย ถอดคำประพันธ์ มีต้นไม้สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้าและต้นโพธิ์ที่เป็นพุ่ม แผ่ร่มเงาออกไปโดยรอบ ที่ใต้ต้นไม้มีเนินหญ้าเป็นที่ฝังศพ คนในระแวกแถวนี้ ซึ่งนอนนิ่งอยู่เกลื่อนไปหมดในหลุมลึก ดูแล้วน่าสลดใจอย่างยิ่งนัก และตัวของข้าพเจ้าเองก็ใกล้หลุม นี้เข้าไปทุกวัน

๕ หมดเอ๋ยหมดห่วง หมดดวงวิญญาณลาญสลาย ถึงลมเช้าชวยชื่นรื่นสบาย เตือนนกแอ่นลมผายแผดสำเนียง อยู่ตามโรงมุงฟางข้างข้างนั้น ทั้งไก่ขันแข่งดุเหว่าระเร้าเสียง โอ้เหมือนปลุกร่างกายนอนรายเรียง พ้นสำเนียงที่จะปลุกให้ลุกเอย ถอดคำประพันธ์ หมดห่วงเนื่องจากดวงวิญญาณได้แตกสลายไปแล้ว ถึงแม้ว่าลมยามเช้าจะชายพัดให้สดชิ้น เป็นการเตือนนก แอ่นลมให้เคลื่อนออกจากที่แผดร้องไปตามโรงนาทั้งไก่ก็ขัน แข่งกับนกดุเหว่า เหมือนจะช่วยกันปลุกร่างของผู้นอนราย เรียงที่อยู่ให้หลุมฝังศพให้ตื่นขึ้นแต่พวกเขาเหล่านั้นไม่ ได้ยินเสียงปลุกเสียแล้ว

ทอดเอ๋ยทอดทิ้ง ยามหนาวผิงไฟล้อมอยู่พร้อมหน้า ทิ้งเพื่อยากแม่เหย้าหาข้าวปลา ทุกเวลาเช้าเย็นเป็นนิรันดร์ ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยร่อยร่อยรัย เห็นพ่อกลับปลื้มเปรมเกษมสันต์ เข้ากอดคอฉอเลาะเสนาะกรรณ สารพันทอดทิ้งทุกสิ่งเอย ถอดคำประพันธ์ ยามหนาวเคยนั่งผึงไฟอยู่พร้อมหน้า แต่ก็ต้องมาทิ้ง เพื่อนยากทิ้งแม่เรือนที่คอยหุงข้าวหาอาหารให้รับประทานทุก เช้าเย็น ทิ้งทั้งลูกน้อยที่พอเห็นหน้าพ่อก็ดีใจกอดคอฉอเลาะ นั้นคือต้องทอดทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างไปอย่างแน่นอน

๗ กองเอ๋ยกองข้าว กองสูงราวโรงนายิ่งน่าใคร่ เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวใคร ใครเล่าไถคราดฟื้นพื้นแผ่นดิน เช้าก็ขับโคกระบือถือคันไถ สำราญใจตามเขตประเทศถิ่น ยึดหางยามยักไปตามใจจินต์ หางยามผินตามใจเพราะใครเอย ถอดคำประพันธ์ เห็นกองข้าวสูงราวกับโรงนา ช่างน่ายินดีนัก กอง ข้าวนี้เกิดเพราะการเก็บเกี่ยวด้วยเคียวของใคร หรือใครเป็น คนไถคราดพลิกฟื้นแผ่นดินนี้ขึ้นมา เช้าก็ถือคันไถพร้อมกับ ไล่ควายอย่างสบายใจอยู่ท้องนา โดยจับหางไถไถนาตามใจของจน หางไถหันไปในทิศทาง ต่าง ๆ เพราะใครเล่า

๘ ตัวเอ๋ยตัวทะยาน อย่าบันดาลดลใจให้ใฝ่ฝัน ดูถูกกิจชาวนาสารพัน และความครอบครองกันอันชื่นบาน เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัด มีปวัตน์เป็นไปไม่วิตถาร ขออย่าได้เย้ยเยาะพูดเราะราน ดูหมิ่นการเป็นอยู่เพื่อนตูเอย ถอดคำประพันธ์ ตัวทะเยอะทะยานเอ๋ย ขออย่าดลบันดาลใจให้มีการ ดูถูกการกระทำต่าง ๆ ขอชาวนาและความเป็นอยู่อันชื่นบาน ของขา เขาอยู่กันอย่างมีความสุขอย่างเรียบง่าย โดยมีความ เป็นไปไม่เกินวิสัยปรกติของมนุษย์ ขอจงอย่าอย่าไปพูดจา เยาะเย้ยหรือดูหมิ่นการเป็นของเขาเลย

๙ สกุลเอ๋ยสกุลสูง ชักจูงจิตฟูชูศักดิ์ศรี อำนาจนำความสง่าอ่าอินทรีย์ ความงามนำให้มีไมตรีกัน ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่าง เหล่านี้ต่างรอตายทำลายขันธ์ วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้น แต่ล้วนผันมาประจบหลุมศพเอย ถอดคำประพันธ์ คนมีชาติตระกูลสูง ทำให้จิตใจของจนพองโตขึ้น โดยคิดว่าตนมีศักดิ์ศรีเหนือคนอื่น คนมีอำนาจนำความสง่า งามมาให้แก่ชีวิต คนมีหน้าตางดงามทำให้คนอื่นรักใคร่คนมี ฐานะร่ำรวยย่อมหาความสุขได้ทุกอย่าง แต่ทุกคนต่างก็รอความ แตกดับของร่างกายโดยกันทั้งนั้น วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมด ล้วนมารวมกันที่หลุมฝังศพ

๑๐ ตัวเอ๋ยตัวหยิ่ง เจ้าอย่าชิงติซากว่ายากไร้ เห็นจมดินน่าสลดระทดใจ ที่ระลึกสิ่งไรก็ไม่มี ไม่เหมือนอย่างบางศพญาติตบแต่ง เครื่องแสดงเกียรติเลิศประเสริฐศรี สร้างสถานการบุญหนุนพลี เป็นอนุสาวรีย์สง่าเอย ถอดคำประพันธ์ ผู้เย่อหยิ่งทั้งหลายเอ๋ย ขออย่าชิงติซากศพผู้ยากไร้เหล่านี้ เลยแม้เห็นจมดินหน้าสลดใจที่ระลึกอะไรซักอย่างก็ไม่มีก็ตามที เถิด ไม่เหมือนอย่างบ้างศพที่ญาติตบแต่งด้วยเครื่องแสดง เกียรติยศอย่างดี โดยมีการสร้างอนุสาวรีย์อันสง่างามเพื่อเป็น สถานที่บวงสรวงบูชา

๑๑ ที่เอ๋ยที่ระลึก ถึงอธึกงามลบในภพพื้น ก็ไม่ชวนชีพดับให้กลับคืน เสียงชมชื่นเชิดชูคุณผู้ตาย เสียงประกาศเกียรติเอิกเกริกกลั่น จะกระเทือนถึงกรรณนั้นอย่าหมาย ล้วนเป็นคุณแก่ผู้ยังไม่วางวาย ชูเกียรติญาติไปภายภาคหน้าเอย ถอดคำประพันธ์ ที่ระลึกสร้างขึ้น ถึงแม้จะงามเลิศสักเพียงใด ก็ไม่ สามารถทำให้ผู้ตายฟื้นคืนชีวิตขึ้นมาได้ เสียงชื่นชมเชิดชูใน คุณธรรมดีของผู้ตาย รวมทั้งเสียงชื่นชมในคุณงามความดีของผู้ ตายรวมทั้งเสียงประกาศถึงเกียรติยศของผู้ตายอย่างแพร่หลายรู้ กันทั่วไปจะไปเข้าหูผู้ตายนั้นก็หาไม่ ทุกอย่างล้วนเป็นคุณแก่ผู้ ที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นการเชิดชูเกียรติยศของญาติพี่น้องที่มีชีวิต อยู่ต่อไป

๑๒ ร่างเอ๋ยร่างกาย ยามตายจมพื้นดาษดื่นหลาม อย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าที่ทราม อาจขึ้นชื่อลือนามในก่อนไกล อาจจะเป็นเจดีย์มีพระศพ แห่งจอมภพจักรพรรดิกษัตริย์ใหญ่ ประเสริฐด้วยสัตตรัตน์จรัสชัย ณ สมัยก่อนกาลบุราณเอย ถอดคำประพันธ์ ร่างกายของคนทั้งหลายเมื่อตายจะจมพื้นดินอยู่เต็มไป หมด ขอจงอย่าดูถูกถิ่นนี้ว่าไม่ดี เพราะอาจเป็นถิ่นที่มีชื่อเสียง มาในสมัยก่อนได้ คือ เป็นสถานที่ก่อสร้างพระเจดีย์บรรจุพระ ศพของพระมหากษัตริย์ อันประกอบด้วยแก้ว ๗ ประการของ จักรรดิ ในสมัยโบราณนานมาแล้ว

๑๓ ความเอ๋ยความรู้ เป็นเครื่องชูชี้ทางสว่างไสว หมดโอกาสที่จะชี้ต่อนี้ไป ละห่วงใยอยากรู้ลงสู่ดิน อันความยากหากให้ไร้ศึกษา ย่นปัญญาความรู้อยู่แค่ถิ่น หมดทุกข์ขลุกแต่กิจคิดหากิน กระแสวิญญาณงันเพียงนั้นเอย ถอดคำประพันธ์ ความรู้เป็นเครื่องชี้นำทางไปสู่ความก้าวหน้าแต่ตอนนี้ หมดโอกาสที่จะชี้นำทางต่อไปแล้ว จำต้องละความห่วงใย ทั้งหมดลงไปสู่ความตาย อันความยากจนทำให้ไม่ได้รับการ ศึกษา ได้รับวิชาความรู้อยู่เฉพาะในท้องถิ่นของตน ตอนนี้หมด ทุกข์หมดทุกข์ที่จะขลุกอยู่แต่ในการทำมาหากินเสียที เพราะ วิญญาณของเราคงจะหยุดเพียงเท่านี้

๑๔ ดวงเอ๋ยดวงมณี มักจะลี้ลับอยู่ในภูผา หรือใต้ท้องห้องสมุทรสุดสายตา ก็เสื่อมซาสิ้นชมนิยมชน บุปผชาติชูสีและมีกลิ่น อยู่ในถิ่นที่ไกลเช่นไพรสณฑ์ ไม่มีใครได้เชยเลยสักคน ย่อมบานหล่นเปล่าดายมากมายเอย ถอดคำประพันธ์ ดวงแก้วหรือสิ่งที่มีค่ามักจะอยู่ในที่ลี้ลับ เช่น ใน ภูเขาหรืออยู่ใต้ท้องสมุทรซึ่งสุดสายตามนุษย์ ทำให้กลายเป็น สิ่งไร้ค่าไมมีผู้ใดชิ้นชม เปรียบเสมือนกับดอกไม้ที่มีสีสวยงาม ละกลิ่นหอมที่อยู่ไกล เช่น ในป่า ก็ไม่มีใครได้เชยชมเลยสัก คน ย่อมบานหล่นไปเปล่า ๆ อย่างมากมายน่าเสียดายเป็นยิ่ง นัก

๑๕ ซากเอ๋ยซากศพ อาจเป็นซากนักรบผู้กล้าหาญ เช่นชาวบ้านบางระจันขันรำบาญ กับหมู่ม่านมาประทุษอยุธยา ไม่เช่นนั้นท่านกวีเช่นศรีปราชญ์ นอนอนาถเล่ห์ใบ้ไร้ภาษา หรือผู้กู้บ้านเมืองเรืองปัญญา อาจจะมานอนจมถมดินเอย ฯลฯ ถอดคำประพันธ์ ซากศพทั้งหลายเหล่านี้อาจเป็นซากศพของนักรบผู้กล้า หาญ เช่น ชาวบ้านบางรจันที่อาสาจะสู้รบกับกองทัพพม่าที่มา ทำร้ายถึงกรุงศรีอยุทธยา หรือศพท่านกวีศรีปราชญ์ที่นอนนิ่งไม่ พูดไม่จา หรือศพผู้กู้รู้บ้านเมืองเรืองปัญญาอื่น ๆ ซึ่งอาจจะมา นอนถมจมดินอยู่

๑๘ มักเอ๋ยมักใหญ่ ก่นแต่ใฝ่ฝันฟุ้งตามมุ่งหมาย อำพรางความจริงใจไม่แพร่งพราย ไม่ควรอายก็ต้องอายหมายปิดบัง มุ่งแต่โปรยเครื่องปรุงจรุงกลิ่น คือความฟูมฟายสินลิ้นโอหัง ลงในเพลิงเกียรติศักดิ์ประจักษ์ดัง เปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบเอย ถอดคำประพันธ์ พวกมักใหญ่ใฝ่สูงจะทำแต่สิ่งที่ตนใฝ่ฝันมุ่งหมายไว้ และปิดปังความจริงบางอย่างโดยไม่เปิดเผยให้ใครทราบ แม้จะ เป็นสิ่งที่ไม่มีใครอับอาย มุ่งแต่แสดงให้เห็นรูปลักษณ์ภายนอก ว่าดี มีการใช้จ่ายทรัพย์สินเกินฐานะ พูดจาอวดดีเพื่อแสดงความ มีเกียรติที่สูงส่งของตนให้ผู้อื่นเห็น อันเป็นการปกปิดความเป็น จริงของตนเองไว้

๑๙ ห่างเอ๋ยห่างไกล ห่างจากพวกมักใหญ่ฝักใฝ่หา แต่สิ่งซึ่งเหลวไหลใส่อาตมา ความมักน้อยชาวนาไม่น้อมไป เพื่อรักษาความสราญฐานวิเวก ร่มชื้อเฉกหุบเขาลำเนาไศล สันโดษดับฟุ้งซ่านทะยานใจ ตามวิสัยชาวนาเย็นกว่าเอย ถอดคำประพันธ์ ขอจงอยู่ห่างไกลพวกมักใหญ่ใฝ่สูง ซึ่งทำแต่สิ่ง เหลวไหลใส่ตัวเอง โดยไม่ดูความมักน้อยของชาวนาเป็น ตัวอย่าง ฉะนั้นเพื่อรักษาความสบายใจและความวิเวก ร่มเย็นเฉกเช่นอยู่ในหุบเขาลำเนาไพร ควรถือสันโดษดับ ความฟุ้งซ่านใจ ตามแบบของชาวนาไว้จะเยือกเย็นกว่า

๒๐ ศพเอ๋ยศพไพร่ ไม่มีใครขึ้นชื่อระบือขาน ไม่เกรงใครนินทาว่าประจาน มีการจารึกบันทึกคุณ ถึงบางทีมีบ้างเป็นอย่างเลิศ ก็ไม่ฉูดฉาดเชิดประเสริฐสุนทร์ พอเตือนใจได้บ้างในทางบุญ เป็นเครื่องหนุนนำเหตุสังเวชเอย ถอดคำประพันธ์ ศพของคนธรรมดาสามัญ ไม่มีใครเขายกย่องหรือ กล่าวถึงฉะนั้นจึงไม่ต้องไปเกรงกลัวว่าใครจะนินทา เพราะ ไม่มีการเขียนจารึกบันทึกคุณความดีไว้ แม้บางครั้งจะมีการ ยกย่องในคุณงามความดีบ้าง แต่ก็ไม่ถึงกับเชิดชูกันอย่าง เต็มที่ ทำพอเป็นเครื่องเตือนใจในการทำความดี หรือเป็น เครื่องหนุนนำเพื่อให้เกิดสังเวชใจเท่านั้น

๒๑ ศพเอ๋ยศพสูง เป็นเครื่องจูงจิตให้เลื่อมใสศานต์ จารึกคำสำนวนชวนสักการ ผิดกับฐานชาวนาคนสามัญ ซึ่งอย่างดีก็มีกวีเถื่อน จารึกชื่อปีเดือนวันดับขันธ์ อุทิศสิ่งซึ่งสร้างตามทางธรรม์ ของผู้นั้นผู้นี้แก่ผีเอย ถอดคำประพันธ์ ศพของคนดี เป็นสิ่งที่จูงให้เลื่อมใส มีการจารึกค่าสัก การะ ผิดกับศพของชาวนาธรรมดา ซึ่งอย่างดีทาสุดก็มีแค่ กวีสมัครเล่นซึ่งจะจารึกเอาไว้เพียงแค่เดือน วัน ปี ที่ล่วงลับ อุทิศสิ่งของทางธรรมให้แก่ผู้ตาย

๒๒ ห่วงเอ๋ยห่วงอะไร ไม่ยิ่งใหญ่เท่าห่วงดวงชีวิต แม้คนลืมสิ่งใดได้สนิท ก็ยังคิดขึ้นได้เมื่อใกล้ตาย ใครจะยอมละทิ้งซึ่งสิ่งสุข เคยเป็นทุกข์ห่วงใยเสียได้ง่าย ใครจะยอมละแดนแสนสบาย โดยไม่ชายตาใฝ่อาลัยเอย ถอดคำประพันธ์ ห่วงอะไร ไม่เท่าห่วงชีวิต แม้นคนที่ลืมทุกสิ่งก็ยังคิด ได้เมื่อใกล้ตาย ใครจะยอมละทิ้งสิ่งที่ทำให้มีความสุข ถ้า ผู้เคยมีความทุกข์ก็ยิ่งไม่เสียให้ง่ายๆ ใครจะยอมจากที่อยู่ แสนสบาย โดยไม่หันหลังอาลัยไปมอง

๒๓ ดวงเอ๋ยดวงจิต ลืมสนิทกิจการงานทั้งหลาย ย่อมละชีพเคยสุขสนุกสบาย เคยเสียดายเคยวิตกเคยปกครอง ละถิ่นที่สำราญเบิกบานจิต ซึ่งเคยคิดใฝ่เฝ้าเป็นเจ้าของ หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปอง ไม่ผินหลังเหลียวมองด้วยซ้ำเอย ถอดคำประพันธ์ ขอให้ดวงจิตของเราจงลืมกิจการงานทั้งหลายที่เคย สนุกสุขสบาย เคยเสียดาย เคยวิตกและเคยปกครอง ต้องละถิ่นเคยให้ความสุขสำราญบานใจ แบะฝันใฝ่อยาก เป็นเจ้าของ ขอจงหมดความวิตก หมดวามเสียดายหมดสิ่งที่ ปรารถนา โดยไม่หันหลังเหลียวไปมองมันอีกเลย

ด้านวรรณศิลป์ ๑. การใช้การอุปมามาเปรียบเทียบ ๒. การเลือกใช้คำเพื่อบรรยายทำให้เห็นภาพและ ได้ยินเสียง ๓. การเลียนเสียงธรรมชาติหรือสัจพจน์ อาทิ หง่างเหง่ง เสียงระฆัง เปาะเปาะ เสียงรัวเกราะ เเจ๊ก เสียงนกเเสก

ปถพีมืดมั่วทั่วสถาน นกเอ๋ยนกเเสก จับจ้องร้องเเจ๊กเพียงเเถกขวัญ

ต้นเอ่ยต้นไทร สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า มีก็เเต่จังหรีดกระกรีดกริ่ง เรไรหริ่งร้องขนมระงมเสียง

๔. การใช้คำซ้ำเพื่อเน้นความหมาย \"ทิ้งทั้งหนูน้อยน้อยร่อยร่อยรับ\" \"เขาเป็นสุขเรียบเรียบเงียบสงัด\" \"หมดวิตกหมดเสียดายหมดหมายปอง\" ๕. การเล่นสัมผัสพยัญชนะเเละสัมผัสสระ \"ความร่ำรวยอวยสุขให้ทุกอย่าง\" \"เหล่านี้ต่างรอจายทำลายขันธ์\" \"ถึงลมเช้าชวยชื่นรื่นสบาย\" \"เตือนนกเเอ่นลมผายเเผดสำเนียง\" \"เปลวเพลิงปลั่งหอมกลบตลบเอย\"

ด้านสังคม ๑. สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยที่ เป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ สะท้อนความเชื่อของคนไทยที่เกี่ยวโยงกับจิต วิญญาณ ๒. สะท้อนให้เห็นค่านิยมของคนใน สังคมในการให้ความเคารพนับถือผู้ที่มีฐานะหรือ มีชื่อเสียงในสังคม

คุณค่าด้านเนื้อหา ๑.แสดงแนวคิดหลักเกี่ยวกับสัจธรรมของชีวิต ตามกฎไตรลักษณ์ ซึ่งแสดงถึงความเป็นอนิจจังของ ชีวิตมนุษย์ ไม่ว่าใครก็หนีความตายไม่พ้น จึงควรดํา เนินชีวิตแบบรู้ จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งใด เช่น บทที่ 4 \"แห่งหลุมลึกลานจรดระทดใจ เรายิ่งใกล้ หลุมนั้นทุกวันเลย\" บทที่ 9 \"วิถีแห่งเกียรติยศทั้งหมดนั้น แต่ล้วนผ่านมา ประจบหลุมศพเอย\"

๒. ผู้แต่งรู้จักเลือกใช้คำให้เกิดความรู้สึกและ อารมณ์สะเทือนใจ เกี่ยวกับชีวิต ความตาย ความ เหงา ความวังเวงใจ สังเวชใจ ทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ ร่วมไปกับกวี เช่น วังเอ๋ยวังเวง หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน สูงวัวควายพ่ายลาทิวาการ ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกลับ ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล และทิ้งตนตูเปรียวอยู่เดียวเลย เเสดงให้เห็นถึงความรู้สึกหว้าเว้ของกวีที่ถูกทอดทิ้ง ให้อยู่คนเดียว ท่ามกลางความมืด

ข้อคิดที่ได้ ๑. สร้างความดี : เมื่อตายเราควรเป็นเเบ บอย่างที่ดีให้เเก่คนรุ่นหลัง ๒. ชีวิตเป็นอนิจจัง : อย่าประมาท ควรมีสติ อยู่ทุกเมื่อ ๓. ทุกคนเท่าเทียมกัน ๔. บทประพันธ์มีความไพเราะ สามารถ จรรโลงใจให้ผู้อ่านคล้อยตาม เเละจูงใจให้ ทำความดี

คำถามท้ายบท ๑. กลอนดอกสร้อยขึ้นต้น เเละลงท้ายด้วยว่า อะไร? ตอบ.............................................. ๒. ตำแหน่งสัมผัสและการใช้คำที่มี วรรณยุกต์ท้ายวรรค ใช้เหมือนกลอนชนิดใด? ตอบ..............................................

เกร็ดความรู้ : คำศัพท์ คำศัพท์ ความหมาย เกราห์ เครื่องสัญญาณทำด้วยไม้ใช้ตีหรือ สั่นให้ดัง ขันธ์ ร่างกาย ซื้อ เย็น ร่ม ชื้น ซ่อง ที่อยู่ เเถก เสือกไป ตรงไป ในความ ว่า เเถก ขวัญ หมายความว่าทำให้ตกใจทำให้ เสียขวัญ

เกร็ดความรู้ : คำศัพท์ คำศัพท์ ความหมาย ปวัตน์ ความเป็นไป ผาย หรือ ผ้าย คลื่อนจากที่ ม่าน ชนชาติพม่า รำบาญ รบ ลาญ เเตกหักทำลาย สัตตรัตน์ เเก้ว ๗ ประการ หางยาม หางไถตอนที่มือถือ อธึก ยิ่ง เกิน มาก

บรรณานุกรม ภรณ์กนก อุปชัย. (2563). กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า. ค้นจาก http://https://sites.google.com/a/samakkhi.ac.th/kruponkarnok/klx n-dxk-srxy-la-phung-ni-pacha