สื่ อ E - B O O K ป ร ะ ก อ บ ก า ร ส อ น ส่ ง เ ส ริ ม ป ร ะ ช า ธิ ป ไ ต ย ใ น โ ร ง เ รี ย น ส ภ า กี ฬ า เข้าสู่ บทเรียน
คำแนะนำ 1.ทำแบบทดสอบก่อนเรียน 2.เรียนรู้เนื้อหาให้ครบถ้วน 3.หลังเรียนจบให้ทำ แบบทดสอบหลังเรียน
เนื้อหา ที่มาและความสำคัญ การสร้างประชาธิปไตยในโรงเรียน จะเป็นการ ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักถึงความสำคัญของระบอบ ประชาธิปไตยซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับการนำไปใช้สังคม และชุมชน เป็นการเตรียมความพร้อมผู้เรียนให้เติบโต เป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต เป็นการสร้างลักษณะนิสัยให้ผู้ เรียนได้รู้จักระเบียบ ข้อบังคับ กฎเกณฑ์และกติกาของ สังคม ตลอดจนรู้จักรับผิดชอบหน้าที่ของตน ทีมงาน รับผิดชอบชุมชน และสังคมได้อย่างเหมาะสม โดย โรงเรียนต้องนำรูปแบบประชาธิปไตยมาใช้ในโรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นประชาธิปไตย รู้จัก ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามภาระหน้าที่ และมีวิถีชีวิตตาม หลักประชาธิปไตย สามารถดำรงตนให้อยู่ในสังคมได้ อย่างมีความสุข ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตย ผู้บริหาร การศึกษา คุณครูทุกท่านในฐานะที่เป็นผู้ส่งเสริมและ อำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน จึง สนับสนุนให้เกิดเป็นกิจกรรมส่งเสริมประชาธิปไตยใน โรงเรียน คือ กิจกรรมจัดตั้งคณะกรรมการนักเรียนโดย การเลือกตั้งภายใต้ โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยใน โรงเรียน(สภากีฬา)
วัตถุประสงค์ เพื่อฝึกฝนให้นักเรียนได้เรียนรู้ใน ระบบประชาธิปไตยและร่วมมือกัน ทำงานในรูปแบบของคณะ กรรมการที่ได้จากการเลือกตั้ง เพื่อฝึกให้นักเรียนคิดเป็น ทำเป็น และแก้ไขปัญหาเป็นรู้จักสิทธิ หน้าที่อันชอบธรรมช่วยเหลือ ประโยชน์ส่วนรวม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับ ผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคม และประเทศชาติ
วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักเป็น ผู้นำและผู้ตามที่ดีเป็นที่ยอมรับ สมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการ พัฒนาโรงเรียนในด้านต่างๆ
ประชาธิปไตย? เป็นระบอบการปกครองแบบหนึ่งซึ่งการบริหาร อำนาจรัฐมาจากเสียงข้างมากของพลเมือง ผู้เป็นเจ้าของ อำนาจอธิปไตย โดยพลเมืองอาจใช้อำนาจของตนด้วย ตนเองหรือผ่านผู้แทนที่เลือกไปใช้อำนาจแทนก็ได้ ประชาธิปไตยยังเป็นอุดมคติที่ว่าพลเมืองทุกคนในชาติ ร่วมกันพิจารณากฎหมายและการปฏิบัติของรัฐ และ กำหนดให้พลเมืองทุกคนมีโอกาสแสดงความยินยอมและ เจตนาของตนเท่าเทียมกัน
ประชาธิปไตย ในโรงเรียนสำคัญไฉน? มนุษย์ทุกคน เกิดมามีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน เพราะฉะนั้นจึงควรยึดหลักสิทธิ และเสรีภาพ ของแต่ล่ะ บุคคลเป็นหลัก ซึ่งสิทธิเสรีภาพนั้น ก็ต้องอยู่ในข้อ บังคับของกฎหมาย เพื่อทำให้บ้านเมืองสงบสุข และไม่ไปก้าวก่ายสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น เพราะฉะนั้นเพื่อเป็นการปลูกเมล็ดพันธุ์แห่ง ความเป็นประชาธิปไตยลงไปในหมู่ประชาชนคนรุ่นใหม่ จะต้องใช้หลักกล่อมเกลาทางสังคมซึ่งมีวิธีดำเนินงาน ค่อนข้างยาวนาน จึงต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ที่เด็กและ เยาวชนยังมีอายุน้อย
การเลือกตั้งสภานักเรียน ประชุมปรึกษาคณะครูเพื่อนำเสนอโครงการ คัดเลือกครูผู้รับชอบโครงการและดำเนินการ เจจั้ดาเหตนร้ียาทมี่พืค้นณทีะ่แกลระรอมุปกการรปณ์รทะี่ใจชำ้ใหนนก่วายรเเลลืืออกกตตัั้้งง ประกาศรับสมัครผู้แทน และคุณสมบัติของผู้สมัคร กำหนดเวลาการเลือกตั้ง ให้ความรู้และรณรงค์ให้นักเรียนออกมาใช้เสียง หาเสียงและติดประกาศหาเสียง( 2 สัปดาห์ก่อนวันเลือกตั้ง) ดำเนินการเลือกตั้ง นับและสรุปผลการเลือกตั้งรายงานผลเสนอโครงการ
คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็นผู้มีพฤติกรรมเรียบร้อย ไม่เคยถูกลงโทษใดๆมาก่อน มีประสบการณ์ ด้านการทำกิจกรรม จะต้องเป็นผู้ที่ไม่เคยติด 0 ร สอบได้คะแนนเฉลี่ย หรือ มผ เกินกว่า2วิชาขึ้นไป สะสมไม่ต่ำกว่า 2.00 เป็นบุคคลที่โรงเรียนพิจารณาแล้ว เห็นว่าเมื่อได้รับเลือกตั้งหรือเเต่งตั้งแล้วจะไม่มี ผลเสียหายใดๆเกิดขึ้นทั้งด้านส่วนตัวและชื่อ เสียงของโรงเรียน
การใช้สิทธิเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง ยื่นหลักฐานแสดงตน บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรนักเรียน รับบัตรเลือกตั้ง
การใช้สิทธิเลือกตั้ง ทำเครื่องหมาย กากบาท หย่อนบัตรเลือกตั้งด้วยตนเอง เป็นอันเสร็จสิ้น
ภาคผนวก การดำเนินโครงการ
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: