Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รายงานฉบับสมบูรณ์ ทีมไทยพวนนครนายก (E-book)

รายงานฉบับสมบูรณ์ ทีมไทยพวนนครนายก (E-book)

Published by kanjana montregon, 2022-09-28 11:30:17

Description: รายงานฉบับสมบูรณ์ ทีมไทยพวนนครนายก (E-book)

Search

Read the Text Version

ต.เกาะหวายจ.นครนายก โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก หลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG)



โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ตำบลเกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ทางชุมชนได้ดำเนิน โครงการให้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ชุมชนตำบล เกาะหวาย ทำงานภายใต้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามกรอบแนวคิดเศรษฐกิจ ชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular Green Economy : BCG Economy) โดยใช้ความพร้อมของบุคลากรในท้องถิ่นที่มีความพร้อมในการต่อยอด องค์ความรู้ การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนชุมชน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการในพื้นที่ โดยการนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ใหม่ดำเนินการสอดรับกับวัตถุประสงค์ของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและ นวัตกรรม คณะทำงาน U2T ตำบลเกาะหวาย

สารบัญ 1 1 บริบทพื้นที่ 1 สภาพปัญหา 2 ความต้องการของพื้นที่ 2 ความจำ เป็นเร่งด่วน 3 เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ 4 ประเภทของผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ตราป่องเอี๊ยม 5 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ \"น้ำพริกปลาดูมะดัน\" 5 รายละเอียดสินค้าเเละบริการ 5 การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน 6 การขายเเละรายได้ 7 เเผนธุรกิจ 7 การสร้างรายได้ของธุรกิจของท่าน 7 ช่องทางการจัดจำหน่ายเเละบริการ 7 การพัฒนาสินค้าเเละบริการ 8 เป้าหมายการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 9-10 เทคโนโลยีเเละนวัตกรรมที่ใช้ 10 หลักการขั้นตอนการพัฒนาของสินค้าเเละบริการ 11 งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 12 เเผนการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 12-15 ผลสำเร็จของการพัฒนาสินค้าเเละบริการ ความก้าวหน้าของงาน

สารบัญ 16 17 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสังคม 18 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ \"ยาดมสมุนไพรไทยพวน\" 18 รายละเอียดสินค้าเเละบริการ 19 การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน 19-20 การขายเเละรายได้ 21 เเผนธุรกิจ 21 การสร้างรายได้ของธุรกิจของท่าน 21 ช่องทางการจัดจำหน่ายเเละบริการ 21 การพัฒนาสินค้าเเละบริการ 22 เป้าหมายการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 23-24 เทคโนโลยีเเละนวัตกรรมที่ใช้ 24 หลักการขั้นตอนการพัฒนาของสินค้าเเละบริการ 25 งบประมาณในการดำเนินการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 26 เเผนการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 26-31 ผลสำเร็จของการพัฒนาสินค้าเเละบริการ 32 ความก้าวหน้าของงาน 33 ผลกระทบทางเศรษฐกิจ 34 ผลกระทบทางสั่งคม 35 ปัญหาและอุปสรรค 36 ข้อเสนอแนะ 37 คณะทำงานทีมไทยพวนนครนายก ผู้สนับสนุนโครงการ

บริบทพื้นที่ พื้นที่ตำบลเกาะหวาย ชุมชนไทยพวนเป็นกลุ่มไทยน้อยกลุ่มหนึ่งในลุ่มแม่น้ำโขง ชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่ ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการถนอมอาหารกันมา รุ่นสู่รุ่น อาหารที่ขึ้นชื่อ คือ ปลาดู ที่ได้มาจากปลาดุก นำมาหมักด้วยสมุนไพรที่อยู่ในท้องถิ่น เเล้วจึงนำไปทอด รับประทานในมื้ออาหาร อีกทั้งพื้นที่ในชุมชนยังมีสมุนไพรที่สามารถนำใช้ ประโยชน์ได้อีกมากมาย ช่วยรักษาโรค หรือเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายได้เป็นอย่างดี สภาพปัญหา ชุมชนนิยมรับประทานปลาดูเป็นทุนเดิมเเละชาวบ้านมีการเลี้ยงปลาในพื้นที่อยู่แล้วเป็น จำนวนมาก ทำให้บางช่วงปลาดูล้นตลาด จึงได้นำเอามาทำเป็นปลาดูหมักเอาไว้ให้สามารถ รับประทานได้เป็นเวลานาน ในส่วนของสมุนไพร พืชผัก ในชุมชนมีจำนวนมาก ทำให้ขาด รายได้เสริม หรือบางบ้านอาจจะกลายเป็นรายได้หลักที่มีเเต่เดิม นอกจากนี้การจัดจำหน่าย สินค้าในชุมชน ยังไม่มีช่องทางการขนส่งไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งช่องทางการขายคนในชุมชน ยังขาดดความรู้ในการต่อยอดและการจัดการช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลาย ความต้องการของพื้นที่ งบประมาณการสนับสนุน การประชาสัมพันธ์ การขายเเละการตลาด การพัฒนาเเละต่อยอดองค์ความรู้ 1

ความจำเป็นเร่งด่วน เทคโนโลยีในการผลิต ช่องทางการขาย สถานที่การผลิตสินค้าที่มีความพร้อม เป้าหมายการพัฒนาพื้นที่ 1. ด้านบุคลากร ต่อยอดองค์ความรู้ของชุมชนจากการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการถนอมอาหาเเละองค์ความรู้ ด้านสมุนไพรในพื้นที่ ส่งเสริมศักยภาพการบริหารและจัดกลุ่มการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชน โดยสนับสนุน คนในพื้นที่ที่ต้องการพัฒนาทักษะเเละเกิดการสร้างรายได้ 2. ด้านฐานทรัพยากร การเพิ่มมูลค่าของปลาดู เเละ สมุนไพรในท้องถิ่น โดยการนำองค์ความรู้ของชุมชน ด้านการถนอมอาหาร เเละการนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้กับเทคโนโลยีโลยี นวัตกรรม ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 3. ด้านภูมิปัญญา อนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านการถนอมอาหารของชุมชน เเละองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ในท้องถิ่น 2

ประเภทผลิตภัณฑ์ น้ำพริกปลาดูมะดัน กลุ่มอุตสาหกรรมการเกษตรเเละอาหาร ยาดมสมุนไพรไทยพวน อุตสาหกรรมการแพทย์ และสุขภาพ 3

ผลิตภัณฑ์ ตรา ป่องเอี๊ยม น้ำพริกปลาดูมะดัน น้ำพริกปลาดูมะดัน อาหารพื้นบ้านชุมชนไทยพวน โดยการพัฒนาและต่อยอด มาจาก น้ำพริกปลาดูสมุนไพร ชุมชนคัดสรรใช้ปลาดู (ปลาดุก) หมักให้ได้ที่แล้วนำ มาทอดซึ่งชุมชนได้นำมะดันมาใช้ทำน้ำพริก เพื่อชูรสชาติของอาหารให้ รับประทาน ได้ง่าย รสชาติกลมกล่อม นอกจากนี้ชุมชนยังให้ความสำคัญถึงประโยชน์ของอาหาร ที่ไปช่วยเสริม ภูมิต้านทานโรค บรรเทาอาการเจ็บคอ ได้อย่างดี และนำใส่บรรจุภัณฑ์ ที่สื่อถึงเอกลักษณ์ของชุมชน ให้ผู้บริโภคเข้าถึงความเป็นกลิ่นอายของไทยพวน ผ่านมื้ออาหารมากขึ้น ยาดมสมุนไพรไทยพวน ยาดมสมุนไพรไทยพวน ภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีการนำสมุนไพรในท้องถิ่น มาใช้ ทำยาดม มีการคิดสูตรของยาดมให้มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ชาวไทยพวน โดยมีสรรพคุณ ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คัดจมูก สูดดมไปแล้วช่วยให้ร่างกายสดชื่น จากการ เหนื่อยล้า ในส่วนของบรรจุภัณฑ์ใช้ขวดแก้วในการบรรจุสมุนไพร เพราะลักษณะของ ผลิตภัณฑ์ยังแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน ยังเป็นการช่วยลดขยะ ซึ่งขวดยาดม สามารถนำกลับมาหมุนเวียนใช้ได้อีกครั้ง 4

ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน รายละเอียดสินค้า/บริการ ชื่อยี่ห้อ (Brand) : ป่องเอี๊ยม ประเภทธุรกิจ : อาหารและเครื่องดื่ม การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน เพิ่มมูลค่าผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ ลดขยะ / การนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม [Reduce/Reuse/Recycle] ส่งเสริมและสนับสนุนการท่องเที่ยวชุมชน สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ สร้างรายได้ให้ชุมชน อนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น การขายและรายได้ ผลิตภัณฑ์/บริการของทีมไม่เคยสร้างรายได้จากการจำหน่าย มีการคาดหวังรายได้ต่อเดือน เดือนละ 0-50,000 บาท 5

แผนธุรกิจ น้ำพริกปลาดูมะดัน เป็นอาหารพื้นบ้านของชุมชนไทยพวน เกิดจากภูมิปัญญา การถนอมอาหารพื้นบ้านที่นำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งจะมีลักษณะกึ่งปลาส้มและปลาร้า มีรสชาติออกเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ โดยนิยมใช้ปลาดุกมาทำเป็นหลัก เอามาหมักกับเกลือ พริก หัวหอม กระเทียมไทย จากปลาดูที่ใช้ระยะเวลาในการหมักนานนับปี “ปลาดู” คล้ายกับปลาร้า โดยชาวบ้านไทยพวน จะนำปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาตัว เล็ก ๆ มาหมักไว้ประมาณ 20-30 วัน แล้วนำมาทอดหรือย่างชุมชนไทยพวน ชุมชนมีแนวคิดต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้มาเป็นน้ำพริกปลาดูสูตรมะดัน เพื่อเพิ่มให้มี รสชาติที่กลมกล่อม โดยการนำมะดันเข้ามาผสมให้ได้รสชาติเปรี้ยว ช่วยลดความเค็ม และไม่ให้มีรสชาติเผ็ดจนเกินไป เพื่อให้เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถทานอาหารรสจัด ชุมชนไทยพวนได้ร่วมกันคิดค้นและพัฒนาสูตรน้ำพริก จนได้เป็นน้ำพริกปลาดูมะดัน ของไทยพวน เสริมสร้างด้วยคุณประโยชน์ของมะดันเเละช่วยสร้างภูมิต้านทานโรค แก้อาการ เจ็บคอได้เป็นอย่างดี ชุมชนมีทีมผลิตน้ำพริกปลาดูมะดัน ทั้งหมด 10 คน โดยเเบ่ง ออกเป็น ฝ่ายวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เเละทาง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ในช่วงแรกของผลิตภัณฑ์จะเน้นการประชาสัมพันธ์ในชุมชน และนักท่องเที่ยว ที่เดินทางมาเที่ยวในชุมชนเป็นหลัก มีการจัดจำหน่ายทางเพจของชุมชน เพื่อให้เป็น ที่รู้จักมากขึ้น เช่น จัดโปรโมชั่น ซื้อ 10 ชิ้น ฟรี 1 ชิ้น ราคาน้ำพริกปลาดูมะดัน ซึ่งเมื่อ เทียบกับราคาท้องตลาด ราคามีความเหมาะสม และผู้บริโภคสามารถจับต้องได้ มีการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไทยพวน ชุมชนมีบริการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้บริโภค ให้สะดวกต่อระบบของการขนส่งสินค้าถึงมือลูกค้าโดยตรง 6

การสร้างรายได้ ของธุรกิจของท่าน เก็บค่าบริการ/สินค้าที่ให้ลูกค้าใช้อย่างต่อเนื่อง (Subscription Model) ขายแพคเกจบริการ ผลิตสินค้า และจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่าย และบริการ Online : Facebook : ที่นี่ เมืองพวน, Shopee : ไทยพวนนครนายก การพัฒนาสินค้าและบริการ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ พัฒนาสินค้า/บริการให้มีมูลค่าสูง เป้าหมายการพัฒนาสินค้า และบริการ ได้นำสินค้า/บริการที่จำหน่ายออนไลน์ได้ ได้สินค้า/บริการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 7

เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม 1. เทคโนโลยี ชุมชนใช้ตู้เก็บความเย็นมาช่วยเก็บผลิตภัณฑ์ที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมนำส่ง ให้กับ ลูกค้า สามารถเก็บวัตถุดิบหลักอย่าง มะดัน พืชท้องถิ่นที่นำมาทำน้ำพริกปลาดูมะดัน ให้มี ความสดใหม่ในการผลิตสินค้าในแต่ละรอบ การเก็บสินค้าที่ผลิตเรียบร้อยแล้วไว้ในตู้เเช่ เก็บความเย็นสามารถช่วยรักษาอุณภูมิให้กับน้ำพริกมีความสดใหม่ รสชาติไม่เปลี่ยนไป 2. นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ “น้ำพริกปลาดูมะดัน” เป็นอาหารพื้นบ้านของชุมชนไทยพวน จังหวัดนครนายก เกิดจากการนำองค์ความรู้ด้านการถนอมอาหารเป็นทุนเดิม และนิยมรับประทานน้ำพริก ในมื้ออาหาร ดังนั้นชุมชนจึงประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม โดย นำปลาดูมาแปรรูปเป็นน้ำพริก และพัฒนาสูตรเฉพาะที่ โดยน้ำเอา พืชสมุนไพรในพื้นถิ่น “มะดัน” ที่หลายคนมักเรียกว่า \"พืชมหัศจรรย์มากสรรพคุณ\" ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการ เเละยังมีสรรพคุณด้านสุขภาพ ให้เกิดรสชาติ น้ำพริกที่มีชื่อเรียกว่า “น้ำพริกปลาดูมะดัน” 3. นวัตกรรมด้านการตลาด ชุมชนมีการตลาด เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค และช่วยให้ผู้บริโภค เกิดการตัดสินใจซื้อ เกิดการรับรู้ ผลิตภัณฑ์ของชุมชนได้เร็วขึ้น โดยการใช้นวัตกรรมการ พัฒนาด้านการตลาดในรูปแบบทั้งออนไลน์ และรูปแบบออนไลน์ ซึ่งยังเป็นการช่วยรักษา กลุ่มลูกค้าเดิม ของชุมชนและเป็นการสร้างฐาน กลุ่มลูกค้าใหม่ที่สนใจในผลิตภัณฑ์น้ำพริก ปลาดูมะดัน โดยชุมชนนำผลิตภัณฑ์ไปจัดวางจำหน่ายที่งานแสดงสินค้า OTOP หรือตลาด ของชุมชน เพื่อการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มลูกค้า ถือเป็นอีกช่องทางที่ช่วยเพิ่มการรับรู้ ด้านผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้ามากขึ้น และส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น 8

หลักการและขั้นตอนการพัฒนา ของสินค้าและบริการ “น้ำพริกปลาดูมะดัน” มีเป้าหมายหลักคือการพัฒนา และต่อยอดสูตรน้ำพริกปลา ดู และเกิดการสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น โดยชุมชนมีกลุยุทธ์ในเรื่องของกลุ่มลูกค้า เป้าหมายของผลิตภัณฑ์ น้ำพริกปลาดูมะดัน ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรพื้นถิ่น ที่มีสรรพคุณ ด้านสุขภาพ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคได้เป็นอย่างดี และให้เกิดรสชาติที่เฉพาะที่ เรียกว่า “น้ำพริกปลาดูมะดัน” ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญmk'ด้านสุขภาพ ผู้ที่ชื่นชอบรับประทานน้ำพริก และสร้างความแตกต่างจากน้ำพริก โดยทั่วไป ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน สามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เมื่อลูกค้ามีคำสั่งซื้อ มายังชุมชน เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ส่วนใหญ่นั้นจะมาจากในพื้นที่ง่ายต่อการจัดซื้อวัตถุดิบ ทางชุมชนจะใช้บริการบริษัทขนส่ง และมีการสร้างเพจชุมชนที่จะช่วยตอบคำถาม หรือ แก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าอย่างทันท่วงที ชุมชนได้มีการคาดการณ์รายได้จากผลิตภัณฑ์ น้ำพริกปลาดูมะดัน ความต้องการที่จะขายสินค้าในแต่ละเดือน เพื่อสร้างกำไรให้กับ ชุมชน โดยมีการออกแบบต้นแบบผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน ภายใต้แบรนป่องเอี๊ยม ที่ผลิตโดยตรงจากชุมชน ไทยพวนนครนายก ด้วยบรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อสื่อถึง ความเป็นไทยพวน เกิดการรับรู้ให้กับกลุ่มลูกค้าให้ได้รู้จัก และเข้าถึงผลิตภัณฑ์น้ำพริก ปลาดูมะดันได้มากขึ้น 9

หลักการและขั้นตอนการพัฒนา ของสินค้าและบริการ ชุมชนมีการวางแผนการแนะนำผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน ผ่านช่องทาง Facebook ที่ใช้ชื่อว่า ที่นี่ เมืองพวน ซึ่งในช่วงแรกจะใช้ช่องทางออนไลน์ และเน้นการประชาสัมพันธ์ สื่อสารกัน ในชุมชนให้เป็นที่รู้จัก และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคมากขึ้น งบประมาณในการดำเนินการ พัฒนาสินค้าและบริการ 50,000-100,000 10

แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ \"น้ำพริกปลาดูมะดัน\" U2T เกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก แผนการผลิต 2.การคำนวณต้นทุน แผนการตลาด และพัฒนาสินค้า เเละการตั้งราคาขาย และการจำหน่าย 1.วางแผน พัฒนา คำนวณต้นทุนการผลิต 3.สร้างเพจ Facebook เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ ตั้งราคาขาย เพื่อจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเเละพัฒนาสูตร 4.สร้าง Content สร้าง Facebook : ที่นี่ น้ำพริกปลาดู และสื่อโฆษณาออนไลน์ เมืองพวน เพื่อเป็นช่อง สร้างผลิตภัณฑ์ต้นเเบบ ทางการจำหน่ายสินค้า น้ำพริกปลาดูมะดัน สร้างสื่อรูปภาพ วิดิโอ และประชาสัมพันธ์สินค้า การนำเสนอผลิตภัณฑ์ 5. วางแผนการจัด เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภค จำหน่าย แบบ Offline สำรวจกลุ่มตลาดที่วาง จำหน่ายน้ำพริกในพื้นที่ และนอกพื้นที่ชุมชน ติดต่อร้านค้า/ตลาด ที่จำหน่ายสินค้าในชุมชน 6. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 7. สรุปผลการดำเนินงาน แบบ Online และการสร้างรายได้ Facebook รายงานผลการดำเนินงาน Shopee ของผลิตภัณฑ์ สรุปรายได้ กำไร ผลตอบรับจากผู้บริโภค ภาพที่ 1 : แผนผังการผลิตและพัฒนาสินค้าบริการ ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไทยพวน 11

ผลสำเร็จของการพัฒนาสินค้า และบริการ การพัฒนาสินค้าและบริการมีความก้าวหน้าถึง 90 % ความก้าวหน้าของงาน ความก้าวหน้าด้านการผลิต “น้ำพริกปลาดูมะดัน” จากการนำองค์ความรู้การถนอมอาหารที่เป็นทุนเดิม ชุมชน เห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีการนำ “ปลาดู” คล้ายกับปลาร้าของภาคอีสาน โดยที่ชาวบ้านไทยพวนจะนำปลาดุก ปลาช่อน ปลานิล ปลาตัว เล็ก ๆ มาหมักไว้ประมาณ 20-30 วัน เพื่อพัฒนาและต่อยยอดเป็นน้ำ พริกปลาดู ชุมชนได้ประยุกต์ใช้แนวคิดการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เชิงนวัตกรรม โดยนำเอา ปลาดูมาแปรรูปเป็นน้ำพริก และพัฒนาสูตรเฉพาะที่ โดยน้ำเอาพืชสมุนไพรท้องถิ่น “มะดัน” ที่หลายคนมักเรียกว่า \" พืชมหัศจรรย์มากสรรพคุณ\" ซึ่งช่วยให้คุณค่าทางด้านโภชนาการ และสรรพคุณด้านสุขภาพ ชุมชนได้คิดค้นสูตร และดำเนินการพัฒนาด้านสูตรที่เรียกว่า “น้ำพริกปลาดูมะดัน” สามารถทดสอบ โดยกลุ่มลูกค้าในชุมชน ถือว่าเป็นผลิตภัณฑ์ของ ชุมชนไทยพวน ที่ประสบความสำเร็จ และอยู่ระหว่างการดำเนินการออกวางจำหน่ายทั้ง แบบออนไลน์ และแบบออฟไลน์ ให้กับผู้บริโภค ป่องเอี๊ยม 12

ความก้าวหน้าของงาน ภาพที่ 1-2 : กระบวนการผลิตน้ำพริกปลาดูมะดันเพื่อให้ได้ออกมาพร้อมลงบรรจุภัณฑ์ ความก้าวหน้าด้านการบริหารจัดการ ชุมชนมีการวางแผนและการบริหารจัดการของกลุ่มน้ำพริกปลาดูมะดันเพิ่มมากขึ้น มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่มชัดเจน การติดต่อประสานงานทั้งฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดันมากขึ้น โดยทุกคนใน กลุ่มมีเป้าหมายที่ชัดเจน และดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้การทำงานของกลุ่มดำเนิน การไปได้ด้วยดี ความก้าวหน้าด้านการตลาด ช่องทางออนไลน์ : ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน Facebook page : ที่นี่ เมืองพวน เป็นช่องทางการติดต่อกับชุมชนโดยตรงในการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน และ ชุมชนยังมีช่องทางจัดจำหน่ายผ่าน Shopee ให้แก่ผู้บริโภคได้ซื้อสินค้า 13

ความก้าวหน้าของงาน ช่องทางออฟไลน์ : ชุมชนมีช่องทางการให้บริการผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดันที่ จัดวางขายหน้าร้าน หรือ จุดผลิตสินค้าโดยตรงในชุมชน ซึ่งสามารถจำหน่ายได้ทั้งแบบ ปลีกและแบบส่งให้กับลูกค้าที่เดินทางมาซื้อด้วยตนเอง มีแผนการเพิ่มช่องทางการจัดขาย โดยติดต่อร้านขายของฝากในจังหวัดนครนายก หน้าร้านค้า ตลาดในชุมชน เพื่อที่จะให้ ผลิตภัณฑ์เกิดการสร้างการรับรู้ไปยังกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น “ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน” ชุมชนใช้บริการขนส่งด้วยบริษัทขนส่งสาธารณะ ที่มีอยู่ในพื้นที่หรือบริเวณใกล้กับชุมชน เช่น Kerry Express J&T Express และไปรษณีย์ เพื่อขนส่งสินค้า และการเดินทางที่สะดวก เหมาะสมแก่การขนส่งสินค้า และยังสามารถ ช่วยเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ต่อการนำส่งถึงมือผู้บรโภค ป่องเอี๊ยม 14

ภาพที่ 3-4 : ช่องทางการจัดจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ของผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดันช่องทาง Facebook page เเละ Shopee ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการด้านใด “ผลิตภัณฑ์น้ำพริกปลาดูมะดัน” เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของชุมชน ยังอยู่ในขั้นตอน การขอรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถจัดจำหน่าย ได้ถูกต้องตามมาตรฐาน 15

ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยอดขายต่อเดือน (บาท) 3,560 บาท (89×40 กระปุก) ต้นทุนการผลิตสินค้า/บริการ (บาท) 2,320 บาท กำไรสุทธิ (บาท) 1,240 บาท ROI (%) สูตรการคำนวณ กำไรสุทธิ = รายรับ-ต้นทุน ROI = (กำไร / ต้นทุน) × 100 แสดงวิธีคำนวณ กำไรสุทธิ = 3,560 - 2,320 = 1,240 ROI = (1,240 / 2,320) × 100 ROI % = 53.44 % 16

ผลกระทบทางสังคม จำนวนคนที่ถูกจ้างงานก่อนทำโครงการ (คน) 2 คน จำนวนคนที่ถูกจ้างงานหลังทำโครงการ (คน) 4 คน รายได้ต่อเดือนของทุกคนรวมกันก่อนทำโครงการ (บาท) 28,000 บาท รายได้ต่อเดือนของทุกคนรวมกันหลังทำโครงการ (บาท) 36,000 บาท ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อเดือน (บาท) 2,500 บาท SROI (%) สูตรการคำนวณ SROI = (งบประมาณสำหรับโครงการ เพื่อสังคม × 100)/กำไรสิทธิ แสดงวิธีคำนวณ SROI = (10×100)/1,240 SROI = 0.80 % 17

ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไทยพวน รายละเอียดสินค้า/บริการ ชื่อยี่ห้อ (Brand) : ป่องเอี๊ยม ประเภทธุรกิจ : สุขภาพ การสร้างคุณค่าให้กับชุมชน คิดค้นกระบวนการทำงานที่ง่ายขึ้น นำเทคโนโลยีมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ เพิ่มมูลค่าผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ มีสุขภาพดีขึ้น ลดโอกาสเกิดการเจ็บป่วย ลดขยะ/การนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ [Reduce/Reuse/Recycle] สร้างงานสร้างอาชีพ สร้างนวัตกรรมใหม่ให้กับผลผลิต/ผลิตภัณฑ์/บริการ สร้างรายได้ให้ชุมชน อนุรักษ์และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 18

การขายและรายได้ ผลิตภัณฑ์/บริการของทีมสร้างรายได้จากการจำหน่าย มีการคาดหวังรายได้ต่อเดือน เดือนละ 0-50,000 บาท แผนธุรกิจ ธุรกิจยาดมสมุนไพรไทยพวนนี้ มีความเป็นมาจากสมาชิกในชุมชนผู้เป็นอาสาสมัคร ของหมู่บ้านและได้เข้าร่วมกิจกรรมการทำยาดมกับสถานีอนามัยของชุมชน จากนั้นมีความ สนใจในการทำยาดม จึงมีการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม โครงการ U2T for BCG ได้เข้ามา ในชุมชน มีการนำเสนอการจัดทำยาดมสมุนไพร เกิดการรวมกลุ่มคิดสูตรของยาดมขึ้นมา ปัจจุบันชุมชนมีการพัฒนาสูตรใหม่ให้เป็นสูตรที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของไทยพวน มีการคิดค้นพัฒนาสูตรให้มีกลิ่นที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้สามารถ เก็บกลิ่นของยาดมให้มีความหอมยาวนาน มีการจัดทำตราผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่จดจำ เพื่อให้ เป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ให้เป็นผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น สร้างรายได้เสริม เเละสามารถ สร้างรายได้หลักให้กับคนในชุมชน เพื่อเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนให้ดีมากยิ่งขึ้น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลัก คือ กลุ่มผู้สูงวัย เนื่องจากเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีอาการเวียน ศีรษะ หน้ามืด ตาลาย ง่ายกว่าวัยอื่น ๆ รวมไปถึงสารสกัดสมุนไพร สารสกัดจากธรรมชาติ ไม่มีสารอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นกลิ่นสมุนไพรที่เป็นกลิ่นดั้งเดิมจะตอบโจทย์ผู้บริโภค 19

แผนธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรแผนธุรกิจนี้ชื่อว่า \"ยาดมสมุนไพรไทยพวน\" ผลิตภัณฑ์นี้ มาจากกลุ่มชุมชนไทยพวน เป็นผู้ผลิตจึงจัดให้เป็นสูตรเฉพาะของชาวไทยพวน ซึ่งอยู่ภาย ใต้ตราสินค้า ป่องเอี๊ยม หมายถึง หน้าต่าง ที่สื่อถึงการเปิดหน้าต่างเพื่อนำผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ออกไปสู่โลกกว้าง การตั้งราคาของผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพร ตรา ป่องเอี๊ยม ตั้งราคาขาย ชิ้นละ 69 บาท มีช่องทางการขาย 2 ช่องทาง คือ ออนไลน์ และออฟไลน์ ยังมีการโปรโมท สินค้าให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ซึ่งช่องทางที่ง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงผู้บริโภค คือ ช่องทาง Social Media มีการไปออกบูธที่งานต่าง ๆ เช่น ตลาดนัดในท้องถิ่น งานแสดงสินค้า OTOP ประจำจังหวัด เข้าร่วม ”งานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ” และเพื่อดึงดูดผู้บริโภคอาจมีการ จัดกิจกรรมให้ผู้บริโภคทดลองกลิ่นของยาดมจัดกิจกรรมโปรโมชั่นในการสั่งซื้อช่วงเทศกาล วันสงกรานต์ วันแม่ วันขึ้นปีใหม่ เพื่อมอบของขวัญให้กับคนที่คุณรัก จัดกิจกรรมลดราคา หรือ ซื้อ 1 แถม 1 เป็นต้น การผลิตภัณฑ์ยาดมไทยพวน สามารถผลิตได้วันละ 25-30 ขวดแก้วและเก็บ สินค้าไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 3 เดือน โดยวัตถุดิบหลักเป็นสมุนไพรจากไทยพวน มีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนจัดจำหน่วยให้กับผู้บริโภค สมาชิกในกลุ่มยาดม สมุนไพรไทยพวน มีทั้งหมด 6 คน ซึ่งการจัดซื้อวัตถุดิบส่วนใหญ่จะมาจากชุมชน ในส่วน ของการบริการมีแบบออนไลน์และออฟไลน์ โดยชุมชนมีพื้นที่คลังสินค้าเพียงพอต่อการ เก็บผลิตภัณฑ์ และบริการตอบคำถามหลังการขายให้กับผู้บริโภค 20

การสร้างรายได้ ของธุรกิจของท่าน เก็บค่าบริการ/สินค้าที่ให้ลูกค้าใช้อย่างต่อเนื่อง (Subscription Model) ขายแพคเกจบริการ ผลิตสินค้า และจัดจำหน่าย ช่องทางการจัดจำหน่าย และบริการ Online : Facebook : ที่นี่ เมืองพวน Shopee : ไทยพวนนครนายก การพัฒนาสินค้าและบริการ วัตถุประสงค์การพัฒนาสินค้าและบริการ พัฒนาสินค้า/บริการให้มีมูลค่าสูง เป้าหมายการพัฒนาสินค้า และบริการ ได้นำสินค้า/บริการที่จำหน่ายออนไลน์ได้ ได้สินค้า/บริการที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 21

เทคโนโลยี หรือนวัตกรรม 1.เทคโนโลยีด้านการผลิตสินค้า การนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านของกระบวนการผลิต เช่น เครื่องพิมพ์ฉลากบน บรรจุภัณฑ์ เครื่องผสมสมุนไพร เตาอบสมุนไพร เพื่อให้สามารถช่วยในเรื่องรักษา ประสิทธิภาพของสินค้า เเละช่วยในเรื่องกำลังการผลิต 2.นวัตกรรมด้านการพัฒนาสินค้า การนำองค์ความรู้ และภูมิปัญญาที่มีการคิดค้นนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาจัดทำเป็น สูตรยาดมที่มีกลิ่นเฉพาะของชาวไทยพวนเกาะหวาย และมีการออกแบบตราบรรจุภัณฑ์ ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน 3.นวัตกรรมด้านการตลาดของสินค้า การจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางออฟไลน์ โดยมีการนำสินค้าไปงานแสดงสินค้า OTOP หรือตลาดของชุมชน เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้กับกลุ่มลูกค้าในพื้นที่ของชุมชนให้เป็น ที่รู้จัก และช่วยให้สินค้ามีการยอมรับจากคนในชุมชน และอีกช่องทางที่ช่วยเพิ่มการเข้าถึง ของสินค้ามากขึ้น โดยการใช้ช่องทางออนไลน์ ประชาสัมพันธ์สินค้าให้กับกลุ่มลูกค้าได้รู้จัก และทำให้สินค้าเป็นที่จดจำมากยิ่งขึ้น 22

หลักการและขั้นตอนการพัฒนา ของสินค้าและบริการ 1. กำหนดและตรวจสอบความต้องการในตลาด (product/market fit): กำหนดสินค้าที่ชุมชนสนใจและต้องการพัฒนาต่อยอดจาก โครงการ U2T for BCG เฟส1 คือ ยาดมสมุนไพรไทยพวน 2. วางแนวความคิดและออกแบบผลิตภัณฑ์เบื้องต้น: เริ่มคิดค้นสูตรยาดมสมุนไพรให้มีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยพวน และเริ่มออกแบบ บรรจุภัณฑ์ให้มีความเป็นเอกลักษณ์ของไทยพวนและให้เป็นที่จดจำ 3. สร้างแผนการดำเนินงานของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทางทีมมีการกำหนดแผนไว้ทั้งหมด 7 แผน ดังนี้ 1. แผนการผลิต การผลิตยาดมสมุนไพรไทยพวนได้พัฒนาเเละต่อยอดด้านสมุนไพรไทย ซึ่งสามารถผลิตต่อวัน ได้วันละ 25-30 ขวด เก็บสินค้าไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 3 เดือน 2. แผนการควบคุมคุณภาพ ชุมชมมีมาตรฐาน มผช. โดยวัตถุดิบหลักเป็นสมุนไพรจาก ท้องถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพของสินค้าก่อนจัดจำหน่วยให้กับผู้บริโภค 3. แผนการบริหารสมาชิก สมาชิกของกลุ่มยาดมสมุนไพรไทยพวน มีจำนวนทั้งหมด 6 คน โดยมีฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด ฝ่ายวิจัย และพัฒนา (ที่ปรึกษาของชุมชน) 4. แผนการควบคุมวัตถุดิบ การจัดซื้อวัตถุดิบจากชุมชน เพื่อให้ได้คุณภาพที่ดีต่อสินค้า 5. แผนการจัดส่ง ชุมชนมีบริการขนส่ง เช่น Flash Express Kerry Express J&T Express ไปรษณีย์ไทย เพื่อให้สะดวกเเก่ลูกค้าในการสั่งสินค้าเเต่ละครั้ง 6. แผนการควบคุมคลังสินค้า ชุมชนมีพื้นที่เก็บสินค้าเพียงพอต่อการผลิตในเเต่ละรอบ 7. แผนการบริการลูกค้า มีการบริการตอบคำถามลูกค้า เเละใส่ใจทุกรายละเอียดของสินค้า ก่อนจัดส่งถึงมือผู้บริโภค 23

หลักการและขั้นตอนการพัฒนา ของสินค้าและบริการ 4. พัฒนาผลิตภัณฑ์ในรูปแบบที่สามารถทำออกมาให้ใช้งานจริงได้และง่ายที่สุด หรือ ชื่อที่รู้จักกันในกลุ่มนักพัฒนา คือ Minimum Viable Product หรือ MVP (เอ็มวีพี) จัดทำผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรที่เป็นผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เพื่อให้ได้กลิ่นยาดมที่สมบูรณ์ และกลิ่นยาดมที่ชุมชนต้องการ 5. ปล่อยผลิตภัณฑ์ต้นแบบที่ง่ายที่สุดนี้ (MVP) ออกไปเพื่อให้ผู้ใช้ได้ทดสอบ นำผลิตภัณฑ์ยาดมตัวอย่างให้กับคนในทีม คนในชุมชน ช่วยดมกลิ่น และสำรวจความ คิดเห็นเกี่ยวกับกลิ่นว่าเป็นอย่างไรบ้าง ความคิดเห็นของบรรจุภัณฑ์ มีความคงทน เก็บกลิ่น ของยาดม มีกลิ่น หอมยาวนานเท่าใด สะดวกต่อการพกพามากน้อยเพียงใด รวมถึงความ พอใจของราคาสินค้า 6. ปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยยึดจากผลตอบรับโดยตรงจากผู้ใช้: หลังจากผู้ใช้ได้ทดลองดมกลิ่นของยาดมแล้ว และให้ผู้ใช้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ จากนั้นจะนำความคิดเห็นของผู้ใช้มาปรับปรุง และพัฒนาสินค้าต่อไป เพื่อให้ได้ ผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ และพึงพอใจต่อผู้ใช้มากที่สุด จากนั้นจัดวางจำหน่ายผ่านช่องทางการ ขายออนไลน์ และออฟไลน์ได้ งบประมาณในการดำเนินการ พัฒนาสินค้าและบริการ 50,000-100,000 24

แผนการพัฒนาสินค้าและบริการ \"ยาดมสมุนไพรไทยพวน\" U2T เกาะหวาย อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก แผนการผลิต และพัฒนาสินค้า 1.วางแผน พัฒนา 2.เพิ่มมูลค่าให้กับตัว 3.การคำนวณต้นทุน เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ และการตั้งราคาขาย พัฒนาสูตรยาดมสมุนไพร พัฒนาออกแบบบรรจุภัณฑ์ คำนวณต้นทุนจากชุดการ ให้มีความหลากหลายกลิ่น และลวดลายสติ๊กเกอร์ให้ ทดลองของยาดมและตั้ง สร้างผลิตภัณฑ์สมุนไพร ทันสมัยเพื่อเพิ่มความ ราคาโดยบวกกำไร 20% ใหม่ในรูปแบบอื่นๆ ดึงดูดและเพิ่มมูลค่าให้กับ เพื่อเป็นการนำต้นทุนไป สินค้า หมุนเวียน 5.สร้าง Content 4.สร้างเพจ Facebook แผนการตลาด และสื่อโฆษณา เพื่อจัดจำหน่าย และการจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ ออนไลน์ จัดทำโปสเตอร์โฆษณา สร้าง Facebook : ที่นี่ เมืองพวน เพื่อเป็นช่อง อธิบายสรรพคุณการใช้ ทางการจำหน่ายสินค้าและ ประชาสัมพันธ์สินค้า จัดทำวิดีโอโปรโมทสินค้า นำสินค้ามาถ่ายรูปให้ สวยงาม 6. วางแผนการจัด 7. จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 8. สรุปผลการดำเนิน จำหน่าย แบบ Offline แบบ Online งานและการสร้างรายได้ สำรวจกลุ่มตลาดที่วาง Facebook รายงานผลการดำเนิน จำหน่ายยาดมในพื้นที่และ Shopee งานของผลิตภัณฑ์ นอกพื้นที่ชุมชน สรุปรายได้ กำไร ติดต่อร้านค้า/ตลาด ที่ ผลตอบรับจากผู้บริโภค จำหน่ายสินค้าในชุมชน 25 ภาพที่ 1 แผนผังการผลิตและพัฒนาสินค้าบริการ ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไทยพวน

ผลสำเร็จของการพัฒนาสินค้า และบริการ การพัฒนาสินค้าและบริการมีความก้าวหน้าถึง 90 % ความก้าวหน้าของงาน ความก้าวหน้าด้านการพัฒนากลิ่นของยาดมสมุนไพรไทยพวนก่อนวางจำหน่าย หลังจากได้ทดลองทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ได้ระยะเวลาการหมักที่ครบกำหนดแล้ว กลิ่นของยาดมมีกลิ่นหอมที่ชัดเจน นำให้ผู้ใช้ในชุมชนได้ทดลอง โดยมีผลตอบรับความ พึงพอใจค่อนข้างดี กลิ่นมีความหอมสดชื่น ดังนั้นกลิ่นยาดมมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ภาพที่ 1-2 : สมาชิกทีมยาดมเตรียมสมุนไพรเพื่อทดลองทำตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาดม 26 ภาพที่ 3 : ผลิตภัณฑ์ยาดมสมบูรณ์ พร้อมให้ผู้ใช้ได้ทดลองกลิ่น

ภาพที่ 4-6 : ผู้ใช้ทดลองดมกลิ่นยาดมเมื่อครบกำหนดวันหมัก ความก้าวหน้าด้านบรรจุภัณฑ์ของยาดมสมุนไพรไทยพวน 1. ด้านบรรจุภัณฑ์ของยาดมมีขนาดและราคาที่เหมาะสม พร้อมนำสมุนไพรมาบรรจุ 2. ด้านโลโก้ ฉลากของสินค้า มีการออกแบบเสร็จสมบูรณ์และได้จัดทำออกมาเรียบหรู 3. ด้าน Package ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนดำเนินการประกอบโลโก้ ฉลากสินค้า และ บรรจุภัณฑ์เข้าด้วยกัน ภาพที่ 7-8 : ตัวอย่างบรรจุภัณฑ์แลฉลากสินค้าที่สมบูรณ์ 27

ความก้าวหน้าด้านการตลาดของยาดมสมุนไพรไทยพวน ชุมชนมีช่องการจัดจำหน่ายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ดังนี้ ช่องทางออนไลน์ 2 ช่องทางหลัก 1. เพจ Facebook ของชุมชนเพื่อจัดจำหน่ายและประชาสัมพันธ์สินค้า ผ่านเพจ Facebook : ที่นี่ เมืองพวน ภาพที่ 9 : เพจ Facebook: ที่นี่ เมืองพวน 2. ช่องทางการจัดจำหน่ายผ่าน Shopee เพื่อให้ลูกค้าได้เข้าไปทำการสั่งซื้อสินค้า ช่องทางออฟไลน์ ชุมชนมีช่องทางการจัดจำหน่ายแบบออฟไลน์ ลูกค้าสามารถซื้อได้ทั้งในราคาปลีก และ ราคาส่ง โดยจะมีการนำไปวางจำหน่ายตามจุดสถานที่ท่องเที่ยว ตลาด รวมไปถึงร้านขายของฝาก ภายในชุมชน เช่น ศูนย์ผ้าทอไทยพวนบ้านใหม่ วัดบ้านใหม่ ตลาดนัดท่าแดง มิวเซียม ปะพวน ที่ปากพลี ซึ่งลูกค้าสามารถซื้อสินค้าตามสถานที่ดังกล่าวได้ด้วยตนเอง ป่องเอี๊ยม 28

ความพร้อมด้านขนส่งของยาดมสมุนไพรไทยพวน 1. ชุมชนได้มีแหล่งขนส่งที่ใกล้กับชุมชนมากที่สุด เพื่อเพิ่มความสะดวก และลดระยะ เวลาในการเดินทางไปส่งสินค้า 2. ขนส่งไปรษณีย์ไทย สาขาปากพลี 3. ขนส่ง J&T Express สาขาตลาดท่าแดง 4. ขนส่ง Kerry Express สาขาตำบลเกาะหวาย ปัจจุบันงานมีความก้าวหน้าถึง 90% เนื่องจากมีการผลิตสินค้าและพร้อมวางจำหน่าย ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ ด้านการตลาดมีการสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายทั้ง 2 ช่องทาง คือ Facebook Shopee เสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 10-11 : ทีมยาดมกำลังดำเนินการผลิตยาดมสมุนไพรไทยพวน Lot. 01 โดยมี นางนงเยาว์พรรณจันทร์แม้น และ นางพิชญ์อาภา แจ้งโพธิ์นาค เป็นฝ่ายผลิต 29

ภาพที่ 12 : ผลิตภัณฑ์ Lot. 01 เสร็จสมบูรณ์ ภาพที่ 13-15 : นำผลิตภัณฑ์ที่เสร็จสมบูรณ์มาถ่ายรูป เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ 30

ภาพที่ 16-17 : เพจ Facebook : ที่นี่ เมืองพวน พร้อมดำเนินการประชาสัมพันธ์สินค้า เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ภาพที่ 18-19 : ร้านในแพลตฟอร์ม Shopee : ป่องเอี๊ยม ไทยพวนนครนายก 31

ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าและบริการด้านใด ผลิตภัณฑ์ยาดมสมุนไพรไทยพวน เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ทางชุมชนเพิ่งได้จัดทำขึ้น ซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในขั้นตอนการดำเนินการ เพื่อขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการรับรอง และสามารถนำจัดจำหน่ายสินค้าได้อย่างถูกต้อง ผลกระทบทางเศรษฐกิจ ยอดขายต่อเดือน (บาท) 3,450 บาท (69×50ขวด) ต้นทุนการผลิตสินค้า/บริการ (บาท) 2,500 บาท กำไรสุทธิ (บาท) 950 บาท ROI (%) สูตรการคำนวณ กำไรสุทธิ = รายรับ-ต้นทุน ROI = (กำไร / ต้นทุน) × 100 แสดงวิธีคำนวณ กำไรสุทธิ = 3,450 - 2,500 = 950 ROI = (950 / 2,500) × 100 ROI % = 38 % 32

ผลกระทบทางสังคม จำนวนคนที่ถูกจ้างงานก่อนทำโครงการ (คน) 2 คน จำนวนคนที่ถูกจ้างงานหลังทำโครงการ (คน) 4 คน รายได้ต่อเดือนของทุกคนรวมกันก่อนทำโครงการ (บาท) 12,000 บาท รายได้ต่อเดือนของทุกคนรวมกันหลังทำโครงการ (บาท) 36,000 บาท ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมต่อเดือน (บาท) 2,500 บาท SROI (%) สูตรการคำนวณ SROI = (งบประมาณสำหรับโครงการ เพื่อสังคม × 100)/กำไรสิทธิ แสดงวิธีคำนวณ SROI = (10×100)/950 SROI % = 1.05 % 33

ปัญหา เเละอุปสรรค ปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆ ระหว่างการดำเนินงาน มีดังนี้ 1. เรื่องงบประมาณรายจ่าย วัสดุดิบขึ้นราคา 2. บรรจุภัณฑ์ราคาสูงขึ้น 3. การจัดจำหน่ายได้แค่เฉพาะกลุ่มยังไม่นิยมแพร่หลาย 4. สินค้าของเราจำหน่ายในราคาสูงแต่ยังไม่ได้คุณภาพเท่าที่ควร 5. ช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ เช่น การจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ลูกค้าจะมองสินค้าคล้ายกันที่ราคาถูกกว่าและค่าส่งต่ำ 6. ข้อจำกัดอายุของผลิตภัณฑ์ เนื่องจากไม่ใช้วัสดุกันเสีย 7. เนื่องจากไม่ได้เป็นสินค้าที่แปลกใหม่ จึงมีคู่แข่งขันทางด้านธุรกิจสูง 8. สินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก 34

ข้อเสนอเเนะ 1. ควรจัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเเละต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน 2. ได้รับการสนับสนุนอุปกรณ์ และเทคโนโลยีอย่างเพียงพอให้สามารถดำเนิน ให้ชุมชนสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. พัฒนาช่องทางการขายเเละการประชาสัมพันธ์ ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น 4. มีการทดสอบสินค้า พร้อมรวบรวมการตอบรับจากลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนาต่อไป 5. ดำเนินการขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ถูกต้องเเละตรงตามมาตรฐาน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้เเก่ลูกค้า 6. ควรมีการพัฒนา เเละต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชน เข้ากับกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชน 35

คณะทำงาน ทีมไทยพวนนครนายก ผศ.ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร หัวหน้าโครงการ (อาจารย์) นางดวงใจ ยอดมิ่ง นางพิชญ์อาภา แจ้งโพธิ์นาค นางทองพูน ปินะกัง สมาชิก (ประชาชนทั่วไป) สมาชิก (ประชาชนทั่วไป) สมาชิก (ประชาชน) นางนงเยาว์ พรรณจันทร์แม้น นางสาวกนกนุช เพ็ชรเดชา นายพิทูร จารวัธน์ สมาชิก (ประชาชนทั่วไป) สมาชิก (บัณฑิต) สมาชิก (บัณฑิต) นางสาวกาญจนา มนตรีกร นางสาวรุ่งทิวา คล่องแคล่ว 36 สมาชิก (บัณฑิต) สมาชิก (บัณฑิต)

ผู้สนับสนุนโครงการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำ โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) เพื่อให้สถาบันการศึกษา และชุมชนดำ เนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการ ร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชนไปด้วยกัน สำนักงานเทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะหวาย ผู้บริหารที่ให้คำแนะนำการดำเนินงานและสนับสนุนแนวทางการรวมกลุ่ม เพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่อไป ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรรษิดา บุญญาณเมธาพร หัวหน้าโครงการ ให้คำ ปรึกษาและชี้แนะแนวทางการดำเนินงาน ตลอดโครงการจนสำ เร็จลุล่วงด้วยดี ชุมชนตำบลเกาะหวาย ที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการ และให้ความร่วมมือที่ดีเสมอมา ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ คณะทำงาน U2T ตำบลเกาะหวาย 37




Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook