โครงสร้างและ การเจริญเติบโต ของพืชดอก [เนื้อเยื่อพืช] จัดทำโดย นางสาวกชพรรณ เหมพันธุ์ เลขที่11 ม.5/3 เสนอ คุณครูสมใจ พิทักษ์ธรรม รายวิชาชีววิทยา (ว 32241) โรงเรียนนวมินทราชูทิศ ทักษิณ
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E Book) จัดทำขึ้น เพื่อสรุปเนื้อเยื่อพืช รายวิชาชีววิทยา(ว32241) มีเนื้อหาสรุปบทเรียนเกี่ยวกับเนื้อเยื่อพืช ผู้จัด ทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารการเรียนรู้จะมี เนื้อหาที่เป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านและผู้ ศึกษาในวิชานี้ หากมีข้อผิดพลาดประการใดต้องขออภัย มา ณ ที่นี้ นางสาวกชพรรณ เหมพันธุ์
สารบัญ หน้า 1 เรื่อง 2-4 เนื้อเยื่อพืช 4-9 เนื้อเยื่อเจริญ เนื้อเยื่อถาวร
1 [เนื้อเยื่อพืช] เนื้อเยื่อพืช (plant tissue) เป็นกลุ่มของเซลล์พืชที่มี การเจริญและเปลี่ยนแปลงเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ โดยเซลล์พืชแต่ละ ชนิดมีลักษณะที่แตกต่างกัน แต่มีลักษณะร่วมที่สำคัญประการหนึ่ง การมีผนังเซลล์ล้อมอยู่รอบนอกที่ให้ความแข็งแรงแก่โครงสร้าง เซลล์พืช ผนังเซลล์ ประกอบด้วย มิดเดิลลาเมลลา ผนังเซลล์- ปฐมภูมิ และผนังเซลล์ทุติยภูมิ • มิดเดิลลาเมลลา (middle lammella) เป็นผลังเซลล์ที่สร้าง เป็นลำดับแรกหลังจากการเกิด แผ่นกั้น (cell plate) มิดเดิลลา เมลลาประกอบด้วยเพกทินเป็นหลัก •ผนังเซลล์ปฐมภูมิ (primary cell wallหรือprimary wall) อยู่ถัดจากมิดเดิลลาเมลลา เข้ามาด้านใน มีเซลล์ลูโลสเป็นองค์ ประกอบหลัก การเจริญถึงขั้นสร้างผนังเซลล์ปฐมภูมิพบในเซลล์ พืชทุกชนิด •ผนังเซลล์ทุติยภูมิ (secondar cell wallหรือsecondary wall) พบในเซลล์พืชบางชนิดประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นองค์ ประกอบสำคัญที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์พืช นอกจากนี้ เซลล์พืชบางชนิดอาจพบซูเบอรินช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ สารเหล่านี้สะสมอยู่ถัดเข้ามาด้านในของผนังเซลล์ปฐมภูมิ
2 เนื้อเยื่อพืชแบ่งตามความสามารถในการแบ่งเซลล์ได้ 2 ประเภท ได้แก่ เนื้อเยื่อเจริญ และ เนื้อเยื่อถาวร 1.) เนื้อเยื่อเจริญ เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue หรือ meristem) ประกอบด้วย เซลล์เจริญ (meristematic cell) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่ มีผนังเซลล์ปฐมภูมิบาง มีความหนาสม่ำเสมอกัน ส่วนใหญ่มีนิวเจ ขนาดใหญ่ เมื่อเทียบกับขนาดของเซลล์ และมีการแบ่งเซลล์แบบ ไมโทซิสเพื่อเพิ่มจำนวนได้ตลอดชีวิตของเซลล์ เซลล์ที่ได้จากการ แบ่งเซลล์ส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อถาวรเพื่อทำหน้าที่ เฉพาะต่อไป และอีกส่วนหนึ่งยังคงเป็นเนื้อเยื่อเจริญ ซึงแบ่งตาม ตำแหน่งที่อยู่ได้เป็น 3ประเภท คือ 1.1 เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) พบได้ 2 บริเวณ ถ้าพบที่บริเวณปลายยอดเรียกว่าเนื้อเยื่อเจริญ - ปลายยอดมีหน้าที่แบ่งเซลล์ทำให้ลำต้นและกิ่งยาวขึ้นรวมทั้งสร้าง ลำต้น กิ่ง และใบ ถ้าพบที่บริเวณปลายรากเรียกว่า เนื้อเยื่อเจริญ- ปลายรากมีหน้าที่แบ่งเซลล์ทำให้รากยาวขึ้น การเจริญเติบโตที่เกิดจาก การแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายจัดเป็นการเติบโตปฐมภูมิ
3 1.2 เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) อยู่ในแนว ขนานกับเส้นรอบวงมีการแบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนออกทางด้านข้าง ทำให้รากและลำต้นขยายขนาดใหญ่ขึ้น การเจริญเติบโตที่เกิดจาก การแบ่งเซลล์ที่ได้จากเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างกจาัดรเตปิ็บนโตทุติยภูมิ พบได้ในรากและลำต้นของพืชใบเลี้ยงคู่ทั่วไป เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง เรียกอีกอย่างว่าแคมเบียม แบ่งตามการทำหน้าที่ได้เป็น 2 ประเภท 1.2.1 วาสคิวลาร์แคมเบียม (vascular cambium) มีหน้าที่ แบ่งเซลล์ทำให้เกิด เนื้อเยื่อท่อลำเลียง เพิ่มขึ้นในการเติบโตทุติยภูมิ วาสคิวลาร์แคมเบียมพบอยู่ระหว่างเนื้อเยื่อท่อลำเลียงน้ำและท่อ ลำเลียงอาหาร 1.2.2 คอร์กแคมเบียม (cork cambium) มีหน้าที่แบ่งเซลล์ให้ คอร์ก และเนื้อเยื่ออื่น เพื่อทำหน้าที่แทนเนื้อเยื่อผิวเดิมในการเติบโต ทุติยภูมิในพืชบางชนิด คอร์กแคมเบียมอยู่ถัดจากคอร์กเข้าไปด้าน ใน
4 1.3 เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) มีหน้าที่ แบ่งเซลล์เพิ่มจำนวนทำให้ปล้องของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวยืดยาว เป็น เนื้อเยื่อส่วนที่อยู่โคนปล้องหรือเหนือข้อ ซึงยังแบ่งเซลล์ได้ยาวนาน กว่าเนื้อเยื่อส่วนอื่นของปล้องที่หยุดเจริญไปก่อนแล้ว พบในลำต้น พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป เช่น หญ้า ข้าวโพด อ้อย ไผ่ 2.) เนื้อเยื่อถาวร เนื้อเยื่อถาวร (permanent tissue) เปลี่ยนแปลงมาจาก เนื้อเยื่อ เจริญ ประกอบด้วยเซลล์เจริญเต็มที่ มีรูปร่างคงที่ ทำ หน้าที่ต่างๆ ตามลักษณะโครงสร้างของเซลล์ ส่วนใหญ่จะไม่ สามารถแบ่งเซลล์ได้อีกต่อไป เนื้อเยื่อถาวรแบ่งตามหนัาที่ได้เป็น 3 ระบบ คือ 2.1 ระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal tissue system) ประกอบด้วย เอพิเดอร์มิสทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อด้านในของพืช และเพริเดิร์ม เจริญขึ้นมาแทนเอพิเดอร์มิสของทั้งรากและลำต้น 2.2 ระบบเนื้อเยื่อพื้น (ground tissue system หรือ funda - mental tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่ออื่นที่ไม่ใช่เนื้อเยื่อผิว และเนื้อเยื่อท่อลำเลียงได้แก่ พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรง - คิมา 2.3 ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue system) ประกอบด้วยไซเล็มทำหน้าที่ลำเลียงน้ำ ธาตุอาหาร และโฟลเอ็มทำ หน้าที่ลำเลียงอาหาร
5 เนื้อเยื่อถาวรที่มีหน้าที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช เช่น 2.1.1 เอพิเดอร์มิส (epidermis) หรือเนื้อเยื่อชั้นผิว เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชั้นนอกสุดของพืช ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อด้านใน เอพิเดอร์มิสของลำต้น และใบส่วนใหญ่มีความหนาเพียง 1 ชั้น ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตหลายชนิด ได้แก่ เซลล์ผิว ซึ่งมีชั้นคิว ทิเคิลประกอบด้วยสารคิวทิน เป็นหลัก เคลือบผิวด้านสัมผัสอากาศ เพื่อลดการระเหยน้ำ เซลล์คุม เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างคล้ายไตหรอเมล็ด ถั่วแดงอยู่เป็นคู่ประกบกัน มีช่องตรงกลาง เรียกว่า รูปากใบ ภายใน เซลล์คุมมีคลอโรพลาสต์ รวมเรียกเซลล์คุมและรูปากใบว่าปากใบ นอกจากนี้อาจพบขนบริเวณเอพิเดอร์มิส เอพิเดอร์มิสของรากมีความหนาเพียง1 ชั้น พบเซลล์ผิวมีคิว ทินเคลือบบางๆ และเซลล์ขนราก ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีผนังดัานนอกยื่น ยาวออกไปคล้ายขนและยาวกว่าความกว้างของเซลล์หลายเท่าเพื่อ เพิ่มพื้นที่ผิวในการดูดน้ำและธาตุอาหาร ส่วนที่ยื่นยาวหรือที่ขนไม่มี คิวทินเคลือบ มักขาดหรือหลุดได้ง่าย
6 2.1.2 พาเรงคิมา (parenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่พบทั่วไปใน ส่วนต่างๆ ของพืช ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตเรียกว่า เซลล์พาเรง - คิมา ส่วนใหญ่พบเฉพาะผนังเซลล์ปฐมภูมิที่บางสม่ำเสมอกันทั้ง เซลล์ ทำหน้าที่เป็นเนื้อเยื่อพื้น แบ่งตามลักษณะรูปร่างได้หลายแบบ เช่น รูปร่างหลายเหลี่ยมจนเกือบกลม รูปร่างยาว รูปร่างเป็นแฉก โดยทั่วไปมีการเรียงตัวที่ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างเซลล์ ถ้าเซลล์พา เรงคิมามีคลอโรพลาสต์จำทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ ยังทำหน้าที่สะสมอาหาร และเก็บผลึก
7 2.1.3 คอลเลงคิมา (collenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่พบบริเวณ ถัดจากเอพิเดอร์มิสของลำต้นส่วนที่ยังอ่อนของพืชล้มลุกหรือไมี เลื้อยบางชนิดที่ก้านใบและเส้นกลางใบ ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิต เรียกว่า เซลล์คอลเลงคิมา มีลักษณะคล้ายเซลล์พาเรงคิมา แต่ผนัง เซลล์ปฐมภูมิหนาไม่สม่ำเสมอกัน ทำหน้าที่พยุงและทำให้เกิดความ แข็งแรงแก่โครงสร้างพืช 2.1.4 สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma) เป็นเนื้อเยื่อที่พบใน เนื้อเยื่อพื้นของลำต้น ใบ ผล เปลือกไม้ เปลือกผล เปลือกเมล็ด ประกอบด้วย เซลล์สเกลอเรงคิมา ซึ่งเป็นเซลล์ไม่มีชีวิตมีผนัง เซลล์ทุติยภูมิที่ค่อนข้างหนา ทำให้เกิดความแข็งแรงกับโครงสร้าง ของพืช ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด ซึ่งอาจแยกกันอยู่ หรือรวมกัน เป็นกลุ่ม คือเซลล์เส้นใยหรือไฟเบอร์ เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างยาวเรียว หัวท้ายแหลม และสเกลอรีด เป็นเซลล์ที่มีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูป หลายเหลี่ยม
8 2.1.5 ไซเล็ม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและ ธาตุอาหารจากรากไปสู่ส่วนต่างๆของพืช ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่ เทรคีด เวสเซลเมมเบอร์ เซลล์พาเรงคิมา และไฟเบอร์ โดย เซลล์ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารคือ เทรคีด และ เวส เซลเมมเบอร์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่ไม่มีชีวิต มีการสร้างผนังเซลล์ทุติยภูมิ ไม่สม่ำเสมอเกิดเป็นลวดลายต่างๆบนผนังเซลล์ เทรคีดเป็นเซลล์ที่ มีรูปร่างยาวปลายค่อนข้างเสี้ยมแหลม ส่วนเวสเซลเมมเบอร์เป็น เซลล์ที่มีรูปร่างยาว มักมีขนาดใหญ่กว่าเทรคีด ที่ด้านหัวและด้าน ท้ายของเซลล์มีช่องทะลุทำให้มองเห็นผนังหัวท้ายมีลักษณะเป็น แผ่นมีรูหรือเพอร์ฟอเรชันเพลต เมื่อเวสเซลเมมเบอร์หลายๆ เซลล์ เรียงต่อกันจะมีลักษณะคล้ายท่อน้ำเรียก เวสเซล 2.1.6 โฟลเอ็ม (phloem) เป็นเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหาร ที่สังเคราะห์จากใบไปสู่ส่วนต่างๆของพืช ประกอบด้วยเซลล์ 4 ชนิด ได้แก่ เซลล์ท่อลำเลียงอาหารหรือซีฟทิวบ์เมมเบอร์ เซลล์ประกบ หรือเซลล์คอมพาเนียน เซลล์พาเรงคิมา และไฟเบอร์ เซลล์ที่ทำ หน้าที่หลักในการลำเลียงอาหารคือ ซีฟทิวบ์เมมเบอร์ เป็นเซลล์ที่มี ชีวิต แต่เจริญเต็มที่ไม่มีนิวเคลียส มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ที่มีอาหาร อยู่ มีผนังเซลล์ปฐมภูมิบางและมีรูเล็กๆ อยู่เป็นกลุ่มที่ผนังด้านข้าง และด้านหัวท้ายของเซลล์ ผนังด้านหัวและด้านท้ายมีลักษณะเป็น แผ่นตะแกรงหรือ ซีฟเพลต ซีฟทิวบ์เมมเบอร์หลายๆ เซลล์เรียงต่อ กันเป็นท่อเรียกว่า ท่อลำเลียงอาหารหรือซีฟทิวบ์ ส่วนเซลล์คอมพา เนียนเป็นเซลล์ที่มีชีวิตที่มีกำเนิดร่วมกับซีฟทิวบ์เมมเบอร์ที่อยู่ติด กัน โดยมีพลาสโมเดลมาตาจำนวนมากเชื่อมถึงกัน ทำหน้าที่ช่วยส่ง เสริมการทำหน้าที่ของซีฟทิวบ์เมมเบอร์
9 เนื้อเยื่อถาวรแต่ละชนิดจะพบอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ของพืช อวัยวะ ซึ่งจะมีจำนวนและรูปแบบการจัดเรียงที่แตกต่างกันไปตาม แต่อวัยวะและชนิดของพืช
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: