สูจิบัตร วิพิธทัศนา ก ต เ ว ทิ ต า น้ อ ม บู ช า อ า จ า ริ ย า วั น พ ฤ หั ส บ ดี ที่ ๓ ๐ เ ดื อ น กั น ย า ย น พ . ศ . ๒ ๕ ๖ ๔
งานวิพิธทัศนา จัดทำขึ้ นมาเพื่ อทวนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชา นาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาภายในงานพบกับการแสดง ทั้งหมด ๘ ชุดการแสดง ประกอบไปด้วย - ระบำกฤดาภินิหาร - ระบำเทพบันเทิง - ระบำดอกบัว - ระบำอธิฐาน - ฟ้ อนมาลัย - รำโคราชอวยพร - ฟ้ อนบายศรีสู่ขวัญ - รำวงเลี้ยงส่งพี่
กำหนดงานวิพิธทัศนา ๑๘.๐๐ น. – ๑๘.๐๐ น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และรับสูจิบัตรการแสดง ๑๘.๔๐ น.– ๑๙.๐๐ น. พิธีกร ขึ้นกล่าวเปิดงาน ๑๙.๐๐ น.– ๑๙.๐๐ น. ชุดที่ ๑ ระบำกฤดาภินิหาร ชุดที่ ๒ ระบำเทพบันเทิง ๑๙.๓๐ น.– ๑๙.๕๐ น. ชุดที่ ๓ ระบำดอกบัว ชุดที่ ๔ ระบำอธิษฐาน ๑๙.๕๐ น.– ๒๐.๐๐ น. ชุดที่ ๕ ฟ้ อนมาลัย ๒๐.๐๐ น. ชุดที่ ๖ รำโคราชอวยพร ชุดที่ ๗ ฟ้ อนบายศรีสู่ขวัญ ชุดที่ ๘ รำวงเลี้ยงส่งพี่ กล่าวปิ ดงาน
การแสดงชุดที่ ๑ ระบำกฤดาภินิหาร
ระบำกฤดาภินิหาร ระบำกฤดาภินิหาร เป็นระบำที่กรมศิลปากรสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ในราว พ.ศ.๒๔๘๖ ใช้ วงดุริยางค์สากลบรรเลง โดยมีพระเจนดุริยางค์เป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสาน ด้วยต้องการ ให้มีรูปแบบการแสดงที่แตกต่างไปจากระบำมาตรฐานที่ได้เคยแสดงมาและต้องการให้ทัน สมัยเหมาสมกับสถานการณ์ในยุคนั้น \"การปรับปรุงการแสดงตอนนี้ มุ่งหมายให้เป็นละครรำ แต่ให้กระทัดรัดเหมาะสม แก่กาลสมัย จึงต้องปรับปรุงขึ้นทั้งท่ารำ ทำนองร้อง และเพลงดนตรี ดังจะเห็นได้จากท่ารำที่ เป็นแบบแผนของนาฏศิลป์ไทยแท้ ๆ ระคนกับการใช้บทอย่างแนบเนียนกระฉับกระเฉง เข้า กับทำนองดนตรี และขับร้องสนิทสนม ส่วนเพลงร้อง และทำนองดนตรีก็เป็นเพลงไทยโบราณ แท้ หากแต่นำมาปะติดปะต่อเข้ากันเป็นชุด เพื่อให้เหมาะสมกลมกลืนกับคำร้องและท่ารำ บทร้อง และทำนองเพลง ท่ารำและเพลงดนตรีในระบำชุดนี้จึงนับเป็นระบำไทยที่พยายาม ปรับปรุงตัวเองให้ทันสมัยชุดหนึ่ง\"
การแสดงชุดที่ ๒ ระบำเทพบันเทิง
ระบำเทพบันเทิง ระบำเทพบันเทิง เป็นการแสดงประเภทระบำมาตรฐาน ซึ่งกรมศิลปากรได้ ปรับปรุงขึ้นใช้เป็นระบำของเทพบุตรนางฟ้าฟ้อนรำบำเรอองค์ปะตาระกาหลาในละคร ในเรื่องอิเหนา ตอนลมหอบ ได้นำออกแสดงแก่ประชาชน ณ โรงเรียนละครศิลปากร เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๙ ผู้ประพันธ์บทร้องและปรับปรุงทำนองเพลงแขกเชิญเจ้ากับ เพลงยะวาเร็วคือนายมนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร
การแสดงชุดที่ ๓ ระบำดอกบัว
ระบำดอกบัว เป็นการแสดงชุดหนึ่งจากละครเรื่อง \"รถเสน\" ตอนหมู่นางรำ แสดงถวายท้าว รถสิทธิ์ ซึ่งกรมศิลปากรได้ปรับปรุงขึ้น แสดงให้ประชาชนชมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ผู้ ประพันธ์บทร้องคือ อาจารย์มนตรี ตราโมท ใช้ทำนองเพลงสร้อยโอ้ลาวของเก่า เป็นการแสดงหมู่ เนื้อเพลง เหล่าข้าคณาระบำ ร้องรำกันด้วยเริงร่า ฟ้อนส่ายให้พิศโสภา เป็นทีท่าเยื้องยาตรนาดกราย ด้วยจิตจงรักภักดี มิมีจะเหนื่อยแหนงหน่าย ขอมอบชีวิตและกาย ไว้ใต้เบื้องพระบาทยุคล เพื่อทรงเกษมสราญ และชื่นบานพระกมล ถวายฝ่ายฟ้อนอุบล ล้วนวิจิตรพิศอำไพ อันปทุมยอดผกา ทัศนาก็วิไล งามตระการบานหทัย หอมจรุงฟุ้งขจร ล้ายจะยวนเย้าภมร บินวะว่อนฟอนสุคันธ์
การแสดงชุดที่ ๔ ระบำอธิษฐาน
ระบำอธิษฐาน เป็นระบำชุดหนึ่งที่มาจากบทละครเรื่อง \"อานุภาพพ่อขุนรามคำแหง\" ซึ่งประพันธ์โดย พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เมื่อปี พ.ศ. 2497 โดยเนื้อร้องจะเป็นการกล่าวปลุกใจให้คนไทยมีความรัก ชาติ สมัครสมานสามัคคี นิยมนำมาเป็นการแสดงชุดเบ็ดเตล็ดสำหรับรำโดยทั่วไป (จากคุณ กังหันลม ให้ข้อมูลไว้เมื่อวันที่ ๙ก.พ. ๒๕๔๙) ระบำอธิษฐาน อธิษฐานเอย สองมือจับพาน ประดับพวงพุทธชาด ขอกุศลผลบุญ จงมีแต่ผู้ทำคุณ ประโยชน์ไว้ในชาติ อย่ามีใครคิดร้าย มุ่งทำลายชาติไทย ขอให้ทุกคนสนใจ ห่วงใยประเทศ ชาติ ให้ไทยเรานี้ มีความสามารถ ช่วยตัวช่วยชาติ ทำให้ไทยเป็นเมืองทอง อธิษฐานเอย สองมือจับพาน ประดับพวงผกากรอง ขอไทยรักไทย ร่วมเป็นมิตรมั่นใจ คือไทยเป็นพี่น้อง อย่ามีการยุแยก อย่าทำให้แตกร้าวฉาน ขอให้ช่วยกันสมาน เพื่อนไทย ทั้งผอง มุ่งสามัคคี เหมือนพี่เหมือนน้อง กลมเกลียวเกี่ยวข้อง รักกันทั่วทุกคน
การแสดงชุดที่ ๕ ฟ้อนมาลัย
ฟ้อนมาลัย ฟ้อนมาลัย หรือ ลาวดวงดอกไม้ เพลงฟ้อนดวงดอกไม้ เป็นเพลงเก่าของเชียงใหม่ เจ้า ดารารัศมี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำมาใช้ในละครเรื่อง น้อยใจยาซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นเมื่อแสดงละครพันทางเรื่อง พระยาผานอง แสดง ณ โรง ละครแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดย อาจารย์มนตรี ตราโมท เป็นผู้แต่งทำนองเพลงและ บทร้อง โดยนำทำนองเพลงฟ้อนดวงดอกไม้ของนางข้าหลวงของแม่ท้าวคำเป็น มาใช้เป็นเพลง ฟ้อนท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ ประดิษฐ์ท่ารำ ฟ้อนมาลัย เป็นการแสดงที่ใช้สำหรับโอกาสที่มีแขกสำคัญมาเยือน โดยใช้การแสดงชุดนี้ เป็นการต้อนรับ ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป
การแสดงชุดที่ ๖ รำโคราชอวยพร
รำโคราชอวยพร เป็นนาฏศิลป์นิพนธ์ชุดโคราชอวยพรสร้างสรรค์ผลงานโดย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเป็นกาน แสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะโคราชไม่ว่าจะเป็นคำร้อง ทำนองของดนตรี ขับร้องโดย นางสาวขนิษฐา บอสันเทียะประพันธ์คำร้องโดน อาจารย์แม็ค อดิศักดิ์ การแต่งกาย นักแสดงใช้หญิงล้วนในการแสดง ใส่เสื้อแขนกระบอก ห่มด้วยสไบเฉียง นุ่งโจงกระเบน ทรงผมสามารถรวบตึงมวยตำหรือทรงดอกกระทุ่มได้
การแสดงชุดที่ ๗ รำบายศรีสู่ขวัญ
รำบายศรีสู่ขวัญ การแสดงชุดรำบายศรีสู่ขวัญ เป็นการแสดงของภาคอีสาน ซึ่งใช้ในพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือเชิญขวัญในการต้อนรับแขกเมืองหรือ แขกสำคัญๆ ซึ่งเป็นแขกที่มีเกียรติหรือแขกผู้ใหญ่ที่มาจากต่างถิ่น ชาว อีสานจะมีการจัดต้อนรับโดยจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยนำใบตองมาเย็บ เป็นบายศรีอย่างสวยงามประดับด้วยดอกไม้และเครื่องหอม มีด้ายสาย สิญจน์สำหรับผูกข้อมือ ซึ่งจะให้ผู้เฒ่าหรือผู้ทรงคุณวุฒิ วัยวุฒิ เพื่อ ความเป็นสิริมงคลโดยมีพานบายศรีหรือที่เรียกว่า “ พาขวัญ’’ โดยจะมีพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีเรียกขวัญ ตามท่วงทำนอง ของชาวบ้านในคำเรียกขวัญนั้นจะมีทั้งคาถาที่เป็นภาษาบาลี และคำ เรียกขวัญภาษาถิ่น หรือที่เรียกว่า“ สูตรขวัญ ’’ซึ่งคำว่าสูตรขวัญนั้น ยากแก่การเข้าใจของผู้มาเยือน จึงมีการจัดทำชุดรำบายศรีขึ้นเพื่อให้ คนต่างถิ่นได้เข้าใจเพราะมีคำร้องที่เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย เนื้อร้องแต่ง โดยอาจารย์ดำเกิง ไกรสรกุล ซึ่งในปัจจุบัน ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ แต่เนื้อร้องอาจจะผิดเพี้ยน จากเดิมไปบ้าง
การแสดงชุดที่ ๘ รำวงเลี้ยงส่งพี่
รำวงเลี้ยงส่งพี่ รำวง ในช่วงแรกมักนิยมเล่นเพลงปลุกใจ ประกอบจังหวะรำวงโดยใช้กลอง และเครื่องประกอบ จังหวะ โดยใช้ลูกซัด ฉิ่งฉับ ฯลฯ และมีนางรำ นักร้อง เพลงเชียร์รำวงเพลงเก่า ๆ ที่นิยมใช้ร้องกันแต่ โบราณก็มี เพลงตาแก่อยากมีเมียสาว ป๊อกช่าป๊อก เพลงหวานใจ ฯลฯ เพลงที่นิยมจนถึงปัจจุบัน คือ เพลงดาวพระศุกร์ ต่อมาได้เกิดกระแสนิยมใช้เครื่องดนตรีต่างประเทศ ประเภทเครื่องเป่ามาบรรเลง เช่น แซกโซโฟน ทรัมเปต หีบเพลงชัก ฯลฯ จังหวะรำวงจึงมีความเป็นสากลมากขึ้น เช่น จังหวะสามช่า ม้าย่อง กัวลาซ่า บีกิน เป็นต้น เพลงที่ใช้ร้องเป็นเพลงลูกทุ่ง ลูกกรุง และเพลงสากล ทำให้รำวงสมัย ก่อนได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลาย มีการตั้งคณะรำวงรับจ้างไปแสดงในงานทั่ว ๆ ไป ในงาน วัด งานรื่นเริง จังหวัดชลบุรีมีคณะรำวงที่มีชื่อเสียงไปแสดงทั่วประเทศ ได้แก่ เรียม ดาราน้อย ชาตรี ศรีชล บุปผา สายชล เป็นต้น อำเภอศรีราชาก็มีคณะรำวง \"คณะสงวนชล” อยู่ที่อ่าวอุดมรำวงคณะ หนึ่งประกอบด้วย นางรำอย่างน้อย ๒๐-๓๐ คน โดยตั้งเวทียกสูงประมาณ ๑-๑.๕๐ เมตร กำหนดเป็น รอบ ๆ ละ ประมาณ ๘-๑๐ นาที ก่อนรำวงจะมีการรำถวายมือ เพื่อเป็นการคารวะครูบาอาจารย์ เจ้าที่ เจ้าทาง ถือเป็นการโชว์ตัวนางรำไปด้วย รำวงจะมีที่จำหน่ายตั๋ว แรกๆราคา ๑-๒ บาท อย่างสูงไม่เกิน ๕ บาท ผู้รำก็จะขึ้นไปรำกับนางรำที่ตนพอใจหมายตาไว้ และหยุดรำ ต่อเมื่อได้ยินสัญญาณนกหวีด และ บางครั้งก็มีการเหมารอบเฉพาะพรรคพวกก็มี รำวงเลี้ยงส่งพี่ คือ ชุดการแสดงสร้างสรรค์ที่โรงเรียนจัดขึ้นมาในงานมุทิตาจิต เป็นรำวงแบบ ทั่วไป นักแสดงจะเป็น ครู ผู้ที่มาร่วมงาน เป็นต้น การแสดงชุดนี้จัดมาเพื่อความสนุกสนาน
ขอบคุณ กตเวทิตาน้อมบูชาอาจาริยา วัน พฤหัสบดี ที่ ๓๐ เดือน กันยายน พ.ศ.๒๕๖๔
Search
Read the Text Version
- 1 - 20
Pages: