Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ความเป็นมาของหนังตะลุง

ความเป็นมาของหนังตะลุง

Published by beammiv01, 2022-08-22 06:37:29

Description: ความเป็นมาของหนังตะลุง

Search

Read the Text Version

การ แสดง หนัง ตะลุง จัดทำโดย น า ง ส า ว จิ น ด า พ ร เ ฉ้ ง ฉิ้ น เ ล ข ที่ 3 น า ง ส า ว สุ กั ญ ญ า ค ง ชื่ น เ ล ข ที่ 2 8 ป ว ส . 1 / 2 แ ผ น ก วิ ช า ก า ร บั ญ ชี

ประวัติความเป็นมาของหนังตะลุง หนังตะลุงเป็นมหรสพพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้เป็น ที่ผูกพันกับวิถี ชีวิตชาวใต้มาแต่โบราณกาล โดยใช้บทพากษ์และบทกลอนในการแสดง แต่ เดิมนิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ของชุมชนหรือหมู่บ้าน เท่านั้น ต่อไปได้รับความนิยมของผู้คนจึงรับไปแสดงกันในงานประเพณี งาน วัดหรืองานศพ หนังตะลุงนอกจากจะให้ความสนุกสนาน และครึกครื้น แล้วยัง สะท้อนค่านิยมและโลกทัศน์ของชาวใต้ที่แฝงอยู่ในเนื้ อเรื่ องที่แสดงอีกด้วย สมัยก่อนแสดงเรื่องรามเกียรติ์เป็นหลัก ต่อมานายหนังได้เลือกเรื่อง อื่น ๆ ในวรรณคดีไทยหรือชาดก เช่น ไกรทอง ไชยเชษฐ์ แก้วหน้าม้า เป็นต้น ในการแสดงจะทำรูปหนังจากแผ่นหนังสัตว์ต่าง ๆ เช่น หนังวัว หนังควาย หนังเก้ง หรือหนังเสือ (รูปฤษี) เป็นต้น โดยการเอาหนังมาแช่ในน้ำสัมแล้ว เอามาขูดให้บางใสแล้วขึงให้ตึง และนำมาวาดรูปและตัดเป็นพระ นาง ยักษ์ หรือตัวตลกต่าง ๆ ต่อจากนั้นระบายสี แล้วใช้ตับคีบสำหรับถือหรือปักที่หน้า จอ ใส่มือและไม้ผูกติดกับมือสำหรับเชิดต่อไป

ความเชื่ อ หนังตะลุงนั้นนอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้าง ความบันเทิงและสุนทรีย์แล้ว ยังมีความ เชื่ อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับหนังตะลุงมีอยู่ มาก หนังตะลุงนั้นนอกจากจะเป็นสิ่งที่ สร้างความบันเทิงและสุนทรีย์แล้ว ยังมี ความเชื่ อทางไสยศาสตร์เกี่ยวกับหนัง ตะลุงมีอยู่มาก ในอดีตถือว่าไสยศาสตร์เป็น สิ่งที่นายหนังต้องเรียนรู้ การที่จะแสดง หนังได้ดีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องมี ความรอบรู้ไสยศาสตร์ด้วย ลักษณะของรูปหนังตะลุง รูปหนังตะลุงแบบโบราณ มักเป็นสีดําตัว หนังจะยืนบนตัวพญานาค ต่อมาตัวหนัง ตะลุงในยุคหลังตัวพญานาคจึงหายไป และ กลายมาเป็นตัวหนังตะลุงระบายสีธรรมชาติ และ มี ลักษณะการแต่งกายเหมือนกับคนจริง ๆ แต่ยังมีตัวหนัง ตะลุงอีกพวกหนึ่งที่ยังคงทาสีดํา คือรูปกาก (ตัวตลก) เช่น เท่ง ทอง แก้ว หนูนุ้ย เมือง สะหม้อ บองหลา ฯลฯ

ประเภทของหนังตะลุง หนังตะลุงของภาคใต้ได้รับความนิยมชมชอบจากชาวบ้านอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรูปแบบการแสดงได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงมา โดยลำดับ ซึ่งการแสดงนั้นจะแตกต่างกันตามพื้นที่จากหนังสือใต้...หรอย มีลุย, ๒๕๔๗ : ๕๕ ได้แบ่งรูปแบบการแสดงไว้ ๓ แบบ ดังนี้คือ ๑. หนังตะลุงตะวันออก เป็นรูปแบบการแสดงของกลุ่มชน แถบทะเลฝั่ งตะวันออก ตั้งแต่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา ๒. หนังตะลุงตะวันตก เป็นภูมิปั ญญาไทยและวัฒนธรรมพื้น บ้านไทยที่สำคัญอย่างหนึ่งของกลุ่มชนแถบฝั่ งอันดามัน เช่น พังงา ภูเก็ต (มีเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างกันทั้งในการขับ ร้องบท การเจรจา รูปหนังและธรรมเนียมการเล่น ส่วนองค์ ประกอบในการแสดงอื่น ๆ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน) ๓. หนังตะลุงมลายูหรือวายังกูลิ ต ชาวไทยมุสลิมเรียกว่าวอ แยกูเละหรือวายังกูเละ เป็นศิลปะการเล่นเงาที่นิยมแสดงกัน มาช้านาน ในพื้นที่บริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส

ตัวละคร ฤาษี พระอิศวร เจ้าเมือง นางเมือง พระเอก นางเอก นางเบียน ยักษ์

ตัวตลก ตัวตลกหนังตะลุงหรือที่เรียกว่า \"รูปกาก\" ส่วนใหญ่จะไม่ใส่เสื้ อ บางตัวนุ่ง โสร่งสั้ นแค่เข่า บางตัวนุ่งกางเกง และส่วนใหญ่จะมีอาวุธประจำตัว ตัวตลก ทุกตัวสามารถขยับมือขยับปากได้ หนังแต่ละคณะจะมีรูปตัวตลกไม่น้อยกว่า ๑๐ ตัว แต่โดยปกติจะใช้แสดงในแต่ละเรื่องแค่ไม่เกิน ๖ ตัวเท่านั้น

องค์ประกอบในการเล่น หนังตะลุง หนังตะลุงเป็นสั ญลักษณ์อันโดดเด่นของวัฒนธรรมภาคใต้ การที่หนังตะลุงจะทําการแสดงได้นั้น จําเป็นต้องมีองค์ประ กอบสําคัญหลายอย่าง คือ ๑.คณะหนังตะลุง ๒.เครื่องดนตรีบรรเลง ๓.โรงหนังและจอหนัง

ขั้นตอน การแสดง หนังตะลุง หนังตะลุงในปัจจุบันนี้ทุกคณะมีลำดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกัน จนถือเป็นธรรมเนียมนิยม ดังนี้คือ ๑. ตั้งเครื่อง ๒. แตกแผงหรือแก้แผง ๓. เบิกโรง ๔ .ลงโรง ๕. ออกฤาษีหรือชักฤาษี ๖. ออกรูปพระอิศวรหรือรูปโค ๗. ออกรูปรายหน้าบทหรือรูปกาศ ๘. ออกรูปบอกเรื่อง ๙. ขับร้องบทเกี้ยวจอ ๑๐. ตั้งนามเมืองหรือตั้งเมือง

E-BOOK เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเนื้อหาเพิ่มเติมส่วนหนึ่งใน รายวิชา ชีวิตกับสังคมไทย รหัสวิชา 30000-1501 เพื่อให้ได้ศึกษา หาความรู้ในเรื่อง การแสดงหนังตะลุง และได้ศึกษาอย่างเข้าใจ ผู้จัดทำหวังว่า E-BOOK เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือ นักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิด พลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ผู้จัดทำ นางสาวจินดาพร เฉ้งฉิ้น เลขที่ 3 นางสาวสุกัญญา คงชื่ น เลขที่ 28


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook