วิชาภาษาเเละวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ ระหว่าง วรรณคดี นาฏศิลป์ไทย
ความหมาย วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้ คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นใน พระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 6 วรรณคดีเป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็น แบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ นาฏศิลป์ หมายถึง ศิลปะการฟ้อนรำ หรือความรู้ แบบแผนของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นด้วย ความประณีตงดงาม ให้ความบันเทิง อันโน้มน้าวอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ชมให้คล้อยตาม ศิลปะประเภทนี้ต้อง อาศัยการบรรเลงดนตรี และการขับร้องเข้าร่วมด้วย เพื่อ ส่งเสริมให้เกิดคุณค่ายิ่งขึ้น
ความหมาย นาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการแสดงประกอบดนตรี ของไทย เช่น ฟ้อน รำ ระบำ โขน แต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อ เรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลัก มาจากภูมิประเทศ ภูมิอากาศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ของ แต่ละภาค นาฏศิลป์ไทยเป็นการเล่นเครื่องดนตรีหลายๆชนิด การละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะ หรือนาฏยะกำหนดว่าต้องประกอบไปด้วย 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้องรวมเข้าด้วยกันซึ่ง ทั้ง3สิ่งนี้ เป็นอุปนิสัยของคนมาแต่ดึกดำบรรพ์นาฏศิลป์ ไทยมีที่มาและเกิดจากสาเหตุแนวคิดต่างๆ เช่น เกิดจากความรู้สึกกระทบกระเทือนทางอารมณ์ไม่ว่า จะอารมณ์แห่งสุข หรือความทุกข์และสะท้อนออกมาเป็น ท่าทางแบบธรรมชาติและประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นท่าทางลีลา การฟ้อนรำหรือเกิดจากลัทธิความเชื่อในการนับถือสิ่งศักดิ์ สิทธ์ เทพเจ้า โดยแสดงความเคารพบูชาด้วยการเต้นรำ ขับร้องฟ้อนรำให้เกิดความพึงพอใจ เป็นต้น
ความสัมพันธ์ระหว่าง วรรณคดีเเละนาฏศิลป์ไทย วรรณคดีไทยไม่ใช่วัฒนธรรมทางหนังสือฝ่ายเดียว แต่เป็นศิลปะซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคีตศิลป์และ นาฎศิลป์ยากที่จะสามารถแยกออกจากกันได้ ศิลปะการแสดง เป็นเรื่องของการแสดงแนวคิดและความ บันเทิงให้กับผู้ชมในปัจจุบัน คือ ได้ชมภาพ คำพูด แสง ฉาก และการแสดง มิใช่เพียงแค่คำบรรยายศิลปะทุก ประเภทเป็นการลอกเลียนแบบส่วนวรรณกรรมในบท ละครเกิดขึ้นจากการเลียนแบบธรรมชาติในรูปแบบการ กระทำที่มีความใกล้เคียงกันกับชีวิตจริงมากที่สุดไม่ใช่การ บรรยาย วรรณคดีที่ถูกนำมาใช้ในการเเสดงนาฏศิลป์ เช่น รามเกียรติ์ , ขุนช้างขุนเเผน
วิธีการอนุรักษ์ สืบสาน เผยเเพร่ 1.จัดกิจกรรมการแสดงนาฏศฺลป์ไทยทุกประเภทออกสู่ สายตาสาธารณชน 2.ประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวาง โดยพยายามสอดแทรกไป ในทุกๆสื่อที่เกี่ยวข้องให้ข้อมูลที่เป็นองค์ความรู้แก่ ประชาชนสร้างค่านิยมแก่เด็กวัยรุ่นให้หันกลับมาสนใจ นาฏศิลป์ไทยซึ่งสื่อมวลชน 3.ส่งเสริมและปลูกฝังมรดกทางศิลปวัฒนธรรมภายใน ครอบครัว ให้รู้ซึ้งถึงความเป็นไทยและอนุรักษ์รักษา เอกลักษณ์
Search
Read the Text Version
- 1 - 5
Pages: