Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

Published by Apple Banab, 2023-02-14 03:08:51

Description: รู้รักษ์ ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่5 สมบูรณ์

Search

Read the Text Version

กิจกรรมเสริม เพิ่มการเรียนรู้ กิจกรรม จำแนกแยกชื่อ ๑. ให้นักเรียนรวบรวมชื่อจริงและนามสกุลของเพื่อนมา ๑๐ คน จากนั้นให้บอกว่าเป็นคำที่มาจากภาษาใดบ้าง ๒. ครูให้คำที่มาจากภาษาต่างประเทศ จำนวน ๒๐ คำ และให้ นักเรียนวิเคราะห์ว่าเป็นคำที่มาจากภาษาใดมากที่สุด กิจกรรมเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมที่ คลังคำนำไปใช้ ๑. แบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ ๔ - ๕ คน ส่งตัวแทนออกมาจับฉลาก หัวข้อคำที่มาจากภาษาบาลี คำที่มาจากภาษาสันสกฤต คำที่มาจาก ภาษาเขมร คำที่มาจากภาษาจีน และคำที่มาจากภาษาอังกฤษ กลุ่ม ละ ๑ หัวข้อ ๒. ร่วมกันจัดทำหนังสือรวบรวมคำศัพท์ที่มาจากภาษาต่างประเทศ ที่กลุ่มของนักเรียนจับฉลากได้ โดยให้มีคำไม่ต่ำกว่า ๔๐ คำ แล้วเก็บ ไว้ใช้ประโยชน์ร่วมกันภายในห้องเรียน รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๔๘

บทที่ ๕ สำนวนไทย ๕ ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะเเต่ง คลุมถุงชน ขี่ช้างจับตั๊กแตน ตัวชี้วัด ใช้สำนวนได้ถูกต้อง (ท ๔.๑ ป.๕/๗) สาระสำคัญ แผนผังสาระการเรียนรู้ สำนวนไทย สำนวนไทย เป็นคำหรือกลุ่ม คำที่มีความหมายไม่ตรงตามความ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมายของรูปภาษา เป็นถ้อยคำเชิง เปรียบเทียบที่มีความหมายลึกซึ่ง ได้แก่ สำนวน สุภาษิต คำพังเพย

กิจกรรมนำเข้าสู่บทเรียน สำนวนคำพังเพยสุภาษิต ใคร่ครวญคิดคำนึงถึงความหมาย ที่ซ่อนลึกอยู่ภายในไม่แย้มพราย ความคลับคล้ายแยกแยะก่อนใช้กัน สำนวนต้องคงไว้ใช้ตามสร้าง โบราณวางคำไว้ไม่แปรผัน ควรวิเคราะห์ถึงที่มาถ้อยจำนรร รู้เท่าทันเสริมคุณค่าปัญญาตน ประพันธ์โดย ว. ศรียาภัย กบลท่าปวรถึะงพเัรืน่อธง์นใี้ด รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๕๐

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความในเชิงเปรียบเทียบที่ไม่ได้ แปลความหมายตรงตัว ต้องวิเคราะห์ตีความ แบ่งเป็นสำนวน คำพังเพย และ สุภาษิต ซึ่งมีที่เกิดคือ ความเชื่อและศาสนา มนุษย์ ธรรมชาติ อาหารการกิน และสัตว์ ๑. สำนวน ความหมายของสำนวน สำนวน คือ ถ้อยคำในเชิงเปรียบเทียบที่กะทัดรัด สั้น ง่าย และ กระชับได้ใจความไม่ตรงตัว แต่มีความหมายแฝง ไม่ได้ให้ข้อคิด คติเตือนใจ และไม่มีคำสัมผัสภายในถ้อยคำนั้น ๆ ตัวอย่างถ้อยคำที่เป็นสำนวน สำนวน ความหมาย ที่มาของสำนวน กาคาบพริก ความไม่เข้ากัน ความไม่กลมกลืนกัน กาฝาก การอยู่อาศัยกับผู้อื่นโดยไม่ช่วย สัตว์ แกะดำ กระทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ขบเผาะ คนที่มีพฤติกรรม หรือมีลักษณะ ธรรมชาติ ขึ้นคาน ต่างจากสมาชิกกลุ่ม สิ่งของเครื่องใช้ เข้าตาจน หญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาว คมในฝัก หญิงมีอายุที่ยังไม่มีคู่ครอง เพราะ หาคู่แต่งงานที่คู่ควรไม่ได้ คอเป็นเอ็น คลื่นใต้น้ำ ดำเนินต่อไปไม่ได้ มนุษย์ มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ ธรรมชาติ ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้เห็น เถียงอย่างไม่ลดละ มนุษย์ เหตุการณ์ที่ภายนอกดูสงบเรียบร้อย ธรรมชาติ แต่มีความเคลื่อนไหวอยู่ภายใน ๕๑ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

สำนวน ความหมาย ที่มาของสำนวน คว่ำบาตร เลิกยุ่งเกี่ยว หรือเลิกคบหา สัตว์ คลุมถุงชน การจัดการให้คนสองฝ่ายที่ไม่รู้จัก สิ่งของเครื่องใช้ จนมุม กันมาก่อนครองคู่กัน โดดร่ม ไปสู่สถานที่คับขัน หรือดำเนินการ ถ่านไฟเก่า ปล่อยไก่ ต่อไปไม่ได้ ธรรมชาติ สุนัขจนตรอก หนีงาน หนีโรงเรียน ล้มกระดาน คนที่เคยรักใคร่กันมาก่อน ธรรมชาติ การแสดงความโง่ออกมา สัตว์ ไปสู่สถานที่คับขัน หรือดำเนินต่อ สัตว์ ไปไม่ได้ ต้องหันกลับมาสู้ ยกเลิกสิ่งที่ได้เคยทำเอาไว้ สิ่งของเครื่องใช้ ตัวอย่างประโยคที่ใช้สำนวน กาคาบพริก : เธอดูสิ ลัดดาตัวด๊ำดำ แต่ชอบใส่เสื้อสีแดง ดู เหมือนกาคาบพริกเลย ปล่อยไก่ : ฉันบอกเธอแล้วอย่าพูด เพราะเราไม่รู้จริง เห็นไหม พอพูดไปก็เป็นการปล่อยไก่ ให้เขาเห็นว่าเราไม่รู้จริง จนได้ ๒. คำพังเพย ความหมายของพังเพย คำพังเพย คือ ถ้อยคำเปรียบเทียบที่แสดงความคิดเห็นกลาง ๆ ไม่ว่าดี ไม่ว่าร้ายใคร แต่มักจะเป็นไปในแนวการประชดประชัน มักจะมี สัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๕๒

ตัวอย่างถ้อยคำที่เป็นคำพังเพย คำพังเพย ความหมาย ที่มาของพังเพย กิ่งก่าได้ทอง คนยากจน เมื่อมีฐานะร่ำรวยแล้ว สัตว์ กลับหลงลืมฐานะเดิมที่เคยยากจน กินปูร้อนท้อง แสดงอาการทำท่าทีมีพิรุธ อาหารการกิน เดือดร้อนขึ้นมาเอง ไก่ได้พลอย ผู้ได้สิ่งของมีคุณค่า แต่กลับไม่เห็น ขี่ช้างจับตั๊กแตน คุณค่าของสิ่งของนั้น ๆ คางคกขึ้นวอ การลงทุนมาก แต่ได้ผลประโยชน์ สัตว์ น้อย คนมีฐานะต่ำต้อย ครั้นมีฐานะสูง ขึ้นก็หลงลืมตน จับเสือมือเปล่า การกระทำสิ่งอันเป็นประโยชน์ โดยไม่ต้องลงทุน ตาบอดได้เเว่น ผู้ได้สิ่งของที่ไม่มีประโยชน์แก่ตน สิ่งของเครื่องใช้ ตำน้ำพริกกละลาย ลงทุนทำสิ่งใดแล้ว ได้ผลประโยชน์ แม่น้ำ กลับคืนมาอย่างไม่คุ้มค่า ปากเสือปากจรเข้ ท่ามกลางอันตราย สัตว์ มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ ไม่ช่วยทำการใด ๆ แล้วยังขัดขวาง มนุษย์ มิให้ผู้อื่นทำงานได้อย่างสะดวก รำไม่ดี โทษปี่ กระทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ไม่ดี สิ่งของเครื่องใช้ โทษกลอง แล้วยังโทษผู้อื่น วัวลืมตีน คนที่ได้ดีแล้วหลงลืมฐานะเดิมที่ เคยต่ำต้อยของตน วัวหายล้อมคอก เรื่องไม่ดีหรือเสียหายเกิดขึ้น สัตว์ แต่กลับคิดป้องกันแก้ไขภายหลัง สอนจรเข้ให้ว่ายน้ำ สอนหรือให้คำแนะนำในสิ่งที่ผู้นั้นมี ความรู้ดีอยู่แล้ว ๕๓ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

คำพังเพย ความหมาย ที่มาของพังเพย หัวล้านได้หวี ผู้ได้สิ่งของไม่มีประโยชน์แก่ตน สิ่งของเครื่องใช้ เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง การกระทำเลียนแบบคนมีฐานะ แต่ สัตว์ ตนเองยังไม่มีฐานะเท่าเทียม ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำพังเพย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ : คุณอาลงทุนทำธุรกิจหมดเงินไปมาก แต่ กลับได้ผลตอบแทนน้อยมาก เหมือนกับ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ : สมคิดและเพื่อนในกลุ่มทำงานกัน ยกเว้น สมชายที่ไม่ช่วยทำแต่เข้ามาแหย่เย้า เพื่อนให้เสียสมาธิ ดูซิ สมชายนี้มือไม่พาย เอาเท้าราน้ำ อยู่ได้ เสียเวลาจริง ๆ ๓ . สุภาษิต ความหมายของสุภาษิต สุภาษิต คือ ถ้อยคำหรือข้อความในเชิงเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับ ศาสนา มักเป็นคำสอนเรื่องความดีความชั่ว ซึ่งมีคติสอนใจอยู่ในหลัก ความเป็นจริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตัวอย่างถ้อยคำที่เป็นสุภาษิต คำสุภาษิต ความหมาย ที่มาของคำสุภาษิต ชั่วช่างดี ดีช่างสงฆ์ ปล่อยไปตามเรื่อง ไม่เอามาเป็น ความเชื่อและศาสนา ธุระให้ตนเองต้องเดือดร้อน รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๕๔

คำสุภาษิต ความหมาย ที่มาของคำสุภาษิต ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน การกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้สำเร็จ ความเชื่อและศาสนา ด้วยความรู้ความสามารถของตน ตัดไฟแต่ต้นลม การปองกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นมา ธรรมชาติ ก่อนอันควร ที่ใดมีรัก ที่นั้นมีทุกข์ มีความรักอยู่ที่แห่งใด ที่แห่งนั้นจะ มีความทุกข์อยู่ด้วย ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เมื่อได้กระทำความดี ก็ได้สิ่งที่ดี ความเชื่อและศาสนา ตอบแทน หากกระทำความชั่วก็ได้ สิ่งไม่ดีตอบแทน น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า การพึ่งพาอาศัยหรือเกื้อกูลซึ่งกัน สัตว์ และกัน พูดไปสองไฟเบี้ย ถ้าพูดสิ่งใดออกไปแล้วไม่เกิด มนุษย์ สิ่งของเครื่องใช้ นิ่งเสียตำลึงทอง ประโยชน์ นิ่งเสียจะดีกว่า เมตตาธรรมค้ำจุนโลก การประพฤติกรรมที่ถูกต้องมุ่งให้ผู้ ความเชื่อและศาสนา อื่นมีความสุข จะช่วยให้คนในสังคม อยู่อย่างสงบสุข รักดีหามจั่ว ปฏิบัติดีจะมีความสุขเจริญ มนุษย์ สิ่งของเครื่องใช้ รักชั่วหามเสา ปฏิบัติไม่ดีจะได้รับความลำบาก โลภมาก ภาภหาย หากมีความอยากได้สิ่งใดมากจน สัตว์โลกย่อมเป็น ไปตามกรรม เกินความพอดี ในที่สุดจะไม่ได้อะไร หนักเอาเบาสู้ ความเชื่อและศาสนา ทุกชีวิตย่อมดำเนินไปตามผลแห่ง การกระทำของตน กระทำด้วยความอดทน มุ่งมั่น มนุษย์ ไม่ท้อถอย รักวัวให้ผูก ผู้เป็นพ่อแม่หากรักลูก ให้หมั่น มนุษย์ สัตว์ รักลูกให้ตี อบรมสั่งสอน ๕๕ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

คำสุภาษิต ความหมาย ที่มาของคำสุภาษิต หลานเป็นลม คำยกย่องชมเชยทำให้ขาดสติ แต่ อาหารการกิน ขมเป็นยา คำว่ากล่าวหรือตักเตือนทำให้คิดได้ และมีสติ หว่านพืชอย่างไร ได้ผลอย่างนั้น การประพฤติปฏิบัติเช่นไร ผลที่ได้ ธรรมชาติ รับก็เป็นเช่นนั้น เห็นกงจักรเป็น เห็นสิ่งไม่ถูกต้องไม่ดีงามว่าเป็นสิ่ง ดอกบัว ถูกต้องดีงาม ให้ทุกข์แก่ท่าน การประพฤติไม่ดีหรือประสงค์ร้าย ความเชื่อและศาสนา ทุกข์นั้นถึงตัว แก่ผู้ัอื่น ความไม่ดีหรือสิ่งชั่วร้ายนั้น ย่อมบังเกิดแก่ตนเอง อย่าชิ่งสุกก่อนห่าม ไม่กระทำสิ่งใดก่อนถึงเวลาอันควร ธรรมชาติ เพราะจะนำความเสียหายมาให้ เอาใจเขา มาใส่ใจเรา การคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น มนุษย์ เหมือนคิดถึงความรู้สึกตนเอง ตัวอย่างประโยคที่ใช้สุภาษิต พูดไปสองไพเบี้ย : ดาว ฉันคิดว่าเธออย่าไปพูดต่อล้อต่อเถียงเขา นิ่งเสียตำลึงทอง เลย พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทองยังจะ ได้ประโยชน์กว่าไปพูดกับคนพวกนั้น น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า : ฉันว่าเราอย่ามาอวดดื้อถือดีกันเลย วันหน้าเรา อาจต้องพึ่งพาอาศัยกันเหมือนน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๕๖

เรียนรู้คำ จำความหมาย คำศัพท์ ความหมาย เกื้อกูล ช่วยเหลือสนับสนุน คติ อบบอย่าง วิธี แนวทาง ประยุกต์ นำความรู้ในวิทยาการต่าง ๆ มาปรับใช้ ๕สรุปเนื้อหาประจำบทที่ ๑ สำนวน เป็นถ้อยคำในเชิงเปรียบเทียบที่กะทักรัด สั้น ง่าย และกระชับ ได้ใจความไม่ตรงตัว แต่มีความหมายแฝง ไม่ได้ ให้ข้อคิด คติเตือนใจ และไม่มีคำสัมผัสภายในถ้อยคำนั้น ๆ ๒ คำพังเพย เป็นถ้อยคำเปรียบเทียบที่แสดงความคิดเห็นกลาง ๆ ไม่ว่าดีไม่ว่าร้ายใคร แต่มักจะเป็นไปในแนวการประชดประชัด มักจะมีสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ๓ สุภาษิต เป็นถ้อยคำหรือข้อความในเชิงเปรียบเทียบเกี่ยวกับ ศาสนา มักเป็นคำสอนเรื่องความดีความชั่ว มีคติสอนใจ อยู่ในหลักความเป็นจริงที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ คำถามทบทวนชวนคิด ๑. สำนวนคืออะไร ๒. คำพังเพยคืออะไร ๓. สุภาษิตคืออะไร ๔. ให้นักเรียนยกตัวอย่าง สำนวน สุภาษิต คำพังเพย อย่างละ ๒ สำนวน ๕. เราจะดัดแปลงสำนวนไทยได้หรือไม่ เพราะเหตุใด ๕๗ รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕

กิจกรรมเสริม เพิ่มการเรียนรู้ กิจกรรม สำนวนไทย ใส่ให้ถูก ครูแบ่งกลุ่มให้นักเรียนตามความเหมาะสม แจกใบงานสำนวนไทย กลุ่มละ ๑๐ สำนวน ให้นักเรียนวิเคราะห์แยกแยะ แล้วเขียนลงในตารางที่กำหนดให้ว่าเป็น สำนวน สุภาษิต หรือคำพังเพย พร้อมบอกความหมายและที่มา โดยบันทึกลงในสมุด สำนวนไทย ประเภท ความหมาย ที่มา ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา สวยแต่รูป จูบไม่หอม หมาหัวเน่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ปลาหมอตายเพราะปาก ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด ตีวัวกระทบคราด ดาบสองคม กิจกรรมเชื่อมโยงความรู้ กิจกรรมที่ สร้างสรรค์ป้ายสำนวนไทย ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔ - ๕ คน หรือตามความเหมาะสม ช่วยกันหา สำนวนไทย ความหมาย และแต่งประโยค กลุ่มละ ๕ สำนวน แล้ววาดภาพและ ระบายสีให้สวยงาม รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นป.๕ ๕๘

หนังสือเรียน รายวิชาขั้นพื้นฐาน ภาษาไทย รู้รักษ์ หลักภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เสนอ อาจารย์ อาจิยา หลิมกุล หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาการออกแบบและการผลิตสื่อ การศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook