10 จังหวัดห้ามพลาดใน ประเทศไทย
จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์ ดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไ(รท่ิวเ ขปารถะนกนอธบงไชปัยด้ตวะยวภันูเอขอาสกูง)สเลปั็บนซยับอดซ้เอขนาที่สูมงีทดี่อสุยดอใินนปทรนะนเทท์ศซึ่ไงทเปย็นส่วนหนึ่งของทิวเขาอินทนนท์ สภาพภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูง ที่สุด สูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตรยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ ดอยหัวมด หลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่ กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำ แม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
จังหวัดน่าน วัดภูมินทร์ วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ.2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ใช้เวลาซ่อม นานถึง 7 ปี จิตรกรรมฝาผนังในวิหาร หลวงเขียนขึ้นในช่วงนี้ ภาพจิตรกรรมหรือ “ฮูบแต้ม” ในวัดภูมินทร์เป็นชาดกในพุทธศาสนา แต่ถ้าพิจารณารายละเอียดของวิถีชีวิตของคนเมือง ในสมัยนั้น มีภาพที่น่าสนใจอยู่หลายภาพ ภาพเด่น คือ ภาพปู่ม่านย่าม่าน ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชายผู้หญิง ชาวไทลื้อในสมัยโบราณกระซิบสนทนากัน ผู้ชายสักหมึกผู้หญิงแต่งกายไทลื้ออย่างเต็มยศ ภาพวาด ของหนุ่มสาวคู่นี้มีความประณีตมาก ภาพนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพที่งามเป็นเยี่ยมของวัดภูมินทร์
สมุทรสงคราม ตลาดน้ำอัมพวา ตลาดน้ำอัมพวา เป็นตลาดน้ำตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ตั้งอยู่ใกล้วัดอัมพวันเจติยาราม เป็น ตลาดน้ำที่มีมาแต่โบราณนับร้อยปี และได้เลิกรามาระยะหนึ่ง ต่อมาเทศบาลตำบลอัมพวาได้ฟื้ นฟูตลาด น้ำขึ้นมาอีกครั้ง ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นักท่องเที่ยวไทยและต่างประเทศนิยมพักค้างคืนในเรือนแรม เวลาที่ทำการคือ วันศุกร์ เสาร์และ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ในช่วงเวลาเย็นตั้งแต่ช่วงเวลา 12.00–20.00 น. โดยมีร้านต่าง ๆ ที่ เปิดขายเรียงรายอยู่ทั้งสองฝั่ งคลอง เช่น อาหารหรือขนมบางอย่างเป็นสูตรโบราณ สินค้าที่ระลึกในรูป แบบย้อนยุค มีบริการล่องเรือชมวิว ชมชีวิตริมคลองอัมพวา และสถานที่สำคัญต่าง ๆ รวมทั้งการเฝ้าดู หิ่งห้อยส่องแสงรายรอบต้นลำพู[1] ถึงกระนั้นเนื่องจากความพัฒนาจึงทำให้หิ่งห้อยเริ่มหายไป รวมถึง เกิดปัญหาตามมา เช่น ตลิ่งทรุด ขยะล้น รถติด สถาปัตยกรรมเก่าแก่ผิดเพี้ยน การรุกคืบจากนายทุน นักค้าที่ดิน จนถึงวิถีชุมชนดั้งเดิมสั่นคลอน
กรุงเทพมหานคร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว วัดสำคัญที่งดงามของกรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่ ประดิษฐานพระแก้วมรกต รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมมหาราชวังและกรุง รัตนโกสินทร์ซึ่งเป็น การสร้างวัดในพระราชวังตามอย่างวัด พระศรีสรรเพชญ์ กรุงศรีอยุธยา วัดนี้อยู่ ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออก มีระเบียงล้อมรอบเป็นบริเวณ เป็นวัดคู่กรุงที่ไม่มีพระสงฆ์ จำพรรษา ใช้เป็นที่บวชนาคหลวง และประชุมข้าทูลละอองพระบาทถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา
จังหวัดกระบี่ สระมรกต สระมรกต เป็นสระน้ำธรรมชาติที่มีความสวยงาม มีลักษณะเป็นบ่อหินปูน น้ำใสสีเขียวมรกต สามารถลงเล่นน้ำได้ ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม น้ำในสระมรกตสามารถเปลี่ยนสีไปได้ตามวันเวลาและสภาพแสง ซึ่งถือกำเนิดขึ้นมาจากธารน้ำ อุ่น ในผืนป่าที่ราบต่ำภาคใต้ เป็นน้ำพุร้อนลักษณะเป็นสระน้ำร้อน 3 สระ ได้แก่ สระแก้ว สระ มรกต และ สระน้ำผุด อุณหภูมิของน้ำอยู่ที่ 30-50 องศาเซลเซียส
จังหวัดเพชรบูรณ์ ภูทับเบิก ภูทับเบิก ตั้งอยู่ที่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กิโลเมตร ภูทับเบิกมีความสูงจาก ระดับน้ำทะเลประมาณ 1,768 เมตร นับเป็นจุดที่สูงที่สุดของจังหวุดเพชรบูรณ์ สร้างความตื่นตาตื่นใจกับผู้ที่ ไปเยือนได้เป็นอย่างมาก จนกลายเป็น 1 ใน UNSEEN THAILAND ด้วยภูมิประเทศที่สวยงาม ธรรมาชาติ แบบทะเล ภูเขาอากาศบริสุทธิ์ และเย็นสบายตลอดปี เนื่องจากร่องลมเย็นจากเทือกเขาหิมาลัยและอยู่บนที่สูง จึงสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้อย่างกว้างไกล ในตอนเช้าจะมองเห็นกลุ่มเมฆ และทะเลหมอกตัดกับเทือกเขา เพชรบูรณ์ นอกจากนี้ภูทับเบิกยังเป็นสถาที่ที่สำคัญของจังหวัดเพชรบูรณ์ คือ เป็นจุดที่ใช้รับน้ำฟ้ากลางหาว (เมื่อวันที่ 9 กัยยายน 2542) เพื่อนำไปร่วมเป็นน้ำเพชรน้อมเกล้า ถวายเป็นน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์ ในพิธี พระราชมงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม 2542
อยุธยา วัดใหญ่ชัยมงคล วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาตร์มากที่สุดและเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุด วัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดาที่จะพบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดด เด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบ ไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยว อยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง
จังหวัดลำปาง พระธาตุลําปางหลวง ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความ เลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้ง กระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระ เศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลง ในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอ กัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
แม่ฮ่องสอน บ้านรักไทย บ้านน้อยในป่าใหญ่แห่งนี้ เป็นหมู่บ้านสุดท้ายก่อนถึงชายแดนไทย-เมียนมา ซึ่งหลายคนรู้จักกันดี ในอีกนามว่า \"บ้านแม่ออ\" โดยชาวจีนยูนนานส่วนใหญ่ของหมู่บ้านนี้ได้อพยพหนีภัยคอมมิวนิสต์มา จากทางตอนใต้ของประเทศจีนในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พวกเขาได้สร้างหมู่บ้าน กลางผืนป่าที่โอบล้อมด้วยวิญญาณแห่งขุนเขาลำเนาไพรที่เต็มไปด้วยไอหมอกยามเช้าและสายลมเย็น อันสดชื่น ปัจจุบันหมู่บ้านรักไทยได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมของแม่ฮ่องสอนที่เต็มไปด้วย ความสุขมากมายไว้คอยต้อนรับนักท่องเที่ยว ไฮไลต์แห่งบ้านรักไทย ชมทิวทัศน์ของบ้านรักไทยที่ สวยงามด้วยทะเลสาบกลางอ้อมกอดของทิวเขา
สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์ สุโขทัย อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (Sukhothai Historical Park)ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถาน กรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18–19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี)
Search
Read the Text Version
- 1 - 11
Pages: