Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หนึ่งฤทัย สำหรับ ม.3 (1)

ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หนึ่งฤทัย สำหรับ ม.3 (1)

Published by baifern__090642, 2023-02-06 03:41:20

Description: ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ หนึ่งฤทัย สำหรับ ม.3 (1)

Search

Read the Text Version

ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เ รื่ อ ง บ ท พ า ก ย์เ อ ร า วัณ สำ ห รับ นั ก เ รีย น ชั้น มัธ ย ม ศึ ก ษ า ปี ที่ ๓ จัดทำโดย นางสาวหนึ่งฤทั ย เสียมทอง นิสิตปฏิบัติการสอนและฝึ กประสบการณ์ โรงเรียนสายปัญญา ในพระบรม ราชินูปถัมภ์ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึ กษา ๒๔๖๕

คำนำ ก ชุดฝึกทักษะชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อเสริมสร้างทักษะทางด้าน การคิดวิเคราะห์ด้วยตนเองของผู้เรียน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญใน การพัฒนาผู้เรียน โดยชุดฝึกทักษะนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับบท วรรณคดีเรื่อง รามเกียรติ์ ตอน บทพากย์เอราวัณ ซึ่งได้มีการ สอดแทรกกิจกรรมท้ายบทเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถทำความ เข้าใจเนื้อหาจากการอ่านวิเคราะห์ จำแนกแยกแยะเรื่องราวต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ที่บทเรียนกล่าวถึงได้ง่ายขึ้น ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดฝึกทักษะการคิด วิเคราะห์เรื่อง บทพากย์เอราวัณ เล่มนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะในการอ่านเชิงวิเคราะห์มากขึ้น และสามารถนำ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อยอดในด้านการเรียนรายวิชา ภาษาไทย ในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ข สารบัญ เรื่อง หน้า คำนำ ก สารบัญ ข แผนผังลำดับการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ๓ คำชี้แจงในการใช้ชุดฝึกษะการคิดวิเคราะห์ ๔ จุดประสงค์การเรียนรู้ ๕ ความรู้ประกอบเรื่อง ๖-๗ บทพากย์เอราวัณ ๘-๒๙ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๓๐-๓๑ คุณค่าด้านเนื้อหา ๓๒ คุณค่าด้านสังคม ๓๒ กิจกรรมชุดที่ ๑ เรียบเรียงเหตุการณ์ ๓๓ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๑ ๓๕-๓๖ กิจกรรมชุดที่ ๒ ถอดบทประพันธ์ ๓๗-๓๘ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๒ ๓๙ กิจกรรมที่ ๓ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๔๐ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๓ ๔๑ กิจกรรมที่ ๔ วิเคราะห์ภาพพจน์ ๔๒ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๔ ๔๓ กิจกรรมที่ ๕ จับคู่คำประพันธ์กับวรรณศิลป์ ๔๔ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๕ ๔๕

แผนผังลำดับการใช้ชุดฝึก ๓ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ศึกษาคำชี้แจง คำแนะนำการใช้ชุดฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ ศึกษาจุดประสงค์การเรียนรู้/ความรู้ประกอบเรื่อง ทำแบบทดสอบก่อนเรียน ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาบทพากย์เอราวัณ ทำชุดฝึกทักษะในแต่ละกิจกรรมวิเคราะห์เนื้อหาบทพากย์เอราวัณ กิจกรรมชุดที่ ๑ กิจกรรมชุดที่ ๒ กิจกรรมชุดที่ ๓ กิจกรรมชุดที่ ๕ กิจกรรมชุดที่ ๔ ทำแบบทดสอบหลังเรียน ทบทวน ประเมิน ผ่าน ๘๐/๘๐

คำแนะนำการใช้ชุดฝึกทักษะ ๔ ๑. ชุดฝึกทักษะชุดนี้เป็นเนื้อหาเรื่องบทพากย์เอราวัณ ๒. ชุดฝึกทักษะชุดนี้มีเนื้อหาสาระและกิจกรรมเหมาะสมกับวัย และความสามารถของผู้เรียน ๓. ชุดฝึกทักษะชุดนี้สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนและฝึกทักษะ การคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับความสามารถของ ผู้เรียนแต่ละคน ๔. ขั้นตอนการใช้ชุดฝึกทักษะ ๔.๑ ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจจุดประสงค์การเรียนรู้ ๔.๒ ผู้เรียนศึกษาและทำความเข้าใจคำชี้แจงอย่างละเอียด ๔.๓ ผู้เรียนทำชุดฝึกทักษะในแต่ละกิจกรรมด้วยตนเองจนครบ ๔.๔ ผู้เรียนตรวจคำตอบชุดฝึกทักษะจากเฉลยอย่างซื่อสัตย์

๕ จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถวิเคราะห์เนื้อหาบทพากย์ เอราวัณ และนำมาตอบคำถามได้อย่างถูกต้อง ศึกษาเนื้อหาจากใบความรู้ ทำกิจกรรมแต่ละชุด ตรวจคำตอบกิจกรรม

๖ ความรู้ประกอบเรื่อง อินทรชิตเป็นโอรสทศกัณฐ์เจ้ากรุงลงกากับนางมณโฑ เดิมชื่อ รณพักตร์ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้ลาบิดาไปเรียนศิลปวิทยากับ ฤาษีโคบุตรซึ่งเป็นพระอาจารย์ ของทศกัณฐ์ แล้วไปบำเพ็ญพรต เพื่อขอพรและศรวิเศษจากพระอิศวร พระนารายณ์ และพระ พรหม พระอิศวร ประทานศรพรหมาสตร์และมนตร์แปลงเป็น พระอินทร์ พระพรหมประทานศรนาคบาศและประทานพรว่า หากเศียรขาดตกลงดินจะเป็นไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก ต้องนำพาน แว่นฟ้าหรือพานแก้วของพระพรหมมารองรับ ส่วนพระนารายณ์ประทานศรวิษณุปาณัมให้ เมื่อได้พร และศรวิเศษจากเทพทั้งสาม รณพักตร์ก็มีความเหิมเกริมมาก ครั้งหนึ่งได้ไปท้าพระอินทร์รบและใช้ศรที่พระนารายณ์ประทาน ให้ต้านฤทธิ์อาวุธของพระอินทร์ได้ พระอินทร์จึงต้องหนี ไปเพราะหมดทางสู้ ทศกัณฐ์ยินดีที่โอรสเอาชนะพระอินทร์ได้ จึง ตั้งชื่อใหม่ว่า อินทรชิต ซึ่งหมายความว่า ผู้ชนะพระอินทร์ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระราม โอรสท้าวทศรถกับนางเกา สุริยาต้องออกเดินป่าเป็นเวลา ๑๔ ปีตามที่นางไกยเกษี มเหสีองค์ รองทูลขอท้าวทศรถ พระลักษณ์ พระอนุชาต่างมารดาและ นางสีดา ชายาขอตามเสด็จด้วย ระหว่างทางทศกัณฐ์มาลักนางสี ดาไปไว้ที่กรุงลงกา พระรามซึ่งได้เหล่าวานรเป็นไพร่พลจึงต้อง ติดตามไปเพื่อชิงนางสีดาคืน พระรามกับทศกัณฐ์ทำศึกสงคราม กันหลายครั้ง เช่น ศึกไมยราพ ศึกกุมภกรรณ เป็นต้น หลังจาก กุมภกรรณ อนุชาของทศกัณฐ์ออกรบกับฝ่ายพระรามและถูก สังหารไปแล้ว อินทรชิตก็อาสาออกรบบ้าง

๗ ความรู้ประกอบเรื่อง ในศึกครั้งแรก อินทรชิตต้องศรของพระลักษณ์ ทำให้ต้อง พ่ายแพ้เลิกทัพไป อินทรชิตจึงไป ทำพิธีชุบศรนาคบาศที่พระ พรหมประทานให้ แต่ก็ถูกฝ่ายพระรามทำลายพิธีเสียก่อน เมื่อ ออกรบอีกครั้ง พระลักษณ์ต้องศรของอินทรชิต แต่ฝ่ายพระรามก็ แก้พิษศรได้ ต่อมาอินทรชิต ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ที่พระอิศวร ประทานให้แต่ก็ไม่สำเร็จ เมื่อออกศึกอีกครั้งจึงใช้เวทมนตร์ที่พระ อิศวรประทานให้แปลงกายเป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งมี ควาญช้างของอินทรชิตคือโลทัน ครั้งนี้อินทรชิต แผลงศรสังหาร พระลักษณ์ได้ แต่หนุมานก็ไปหายาแก้พิษศรได้ พระลักษณ์จึง ฟื้ นขึ้นมา ในที่สุดฝ่ายพระรามก็ทำลายศรวิเศษทั้ง ๓ เล่มของ อินทรชิตได้ อินทรชิตออกรบอีกครั้ง เมื่อเสียรถศึกและอาวุธ ก็ กลัวตายหนีขึ้นไปซ่อนในกลีบเมฆ พระลักษณ์จะแผลงศรสังหาร อินทรชิต แต่พิเภกทูลว่าถ้าเศียรอินทรชิตตกถึงพื้นจะเกิดไฟ บรรลัยกัลป์ พระลักษณ์จึงให้ องคตไปทูลขอพานแว่นฟ้าจาก พระพรหม แล้วพระลักษณ์ก็แผลงศรตัดเศียรอินทรชิตโดยมี องค ตถือพานรับไว้ แต่เศียรอินทรชิตยังคงสำแดงฤทธิ์ พระรามจึง แผลงศรไปทำลายจน แหลกละเอียด

๘ บทพากย์เอราวัณ ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ : พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จุดประสงค์ในการประพันธ์ : ใช้เพื่อเป็นบทพากย์ในการแสดงหนังใหญ่และโขน ลักษณะคำประพันธ์ : กาพย์ฉบัง ๑๖ ความรู้เพิ่มเติม กาพย์ฉบัง หมายถึง คำประพันธ์ประเภท กาพย์ บทหนึ่งมีเพียงหนึ่ง บาท บาทละ ๓ วรรค บังคับจำนวนคำและสัมผัส ไม่มีบังคับเอก-โท หรือครุ-ลหุ กาพย์ฉบังที่กวี นิยมใช้ในวรรณกรรมตั้งแต่โบราณคือ กาพย์ฉบัง ๑๖ กาพย์ฉบัง ๑๖ หนึ่งบทมี ๑๖ คำ ๓ วรรค วรรคละ ๖- ๔- ๖ คำตามลำดับ บังคับสัมผัสท้ายวรรคแรกกับวรรคที่สอง สัมผัสระหว่างบทส่งจากคำสุดท้าย บทแรก ไปยังคำท้ายวรรคแรกในบทต่อไป

๙ บทพากย์เอราวัณ บทพากย์เอราวัณ เหมือนองค์อมรินทร์ ๏ อินทรชิตบิดเบือนกายิน ทรงคชเอราวัณ ๏ ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬาร์ ๏ สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดั่งเพชรรัตน์รูจี ๏ งาหนึ่งเจ็ดโบกขรณี สระหนึ่งย่อมมี เจ็ดกออุบลบันดาล ๏ กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา ๏ กลีบหนึ่งมีเทพธิดา เจ็ดองค์โสภา แน่งน้อยลำเพานงพาล ๏ นางหนึ่งย่อมมีบริวาร อีกเจ็ดเยาวมาลย์ ล้วนรูปนิรมิตมารยา

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๑. บิดเบือนกายิน ๑. แปลงกาย ๒. อมรินทร์ ๒. พระอินทร์ ๓. เอราวัณ ๓. เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ จะเสด็จไปไหน เอราวัณ เทพบุตรจะนิมิตตนเป็นช้างทรง ๔. โบกขรณี ๔. สระบัว ๕. ดวงมาลย์ ๕. ดอกไม้ ในที่นี้หมายถึง ดอกบัว ๖. ผกา ๖. ดอกไม้ ในที่นี้คือ ดอกบัว ๗. มารยา ๗. ที่เนรมิตขึ้นมา ๑๐

๑๑ บทพากย์เอราวัณ ๏ จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา ทำทีดังเทพอัปสร ทุกเกศกุญชร ซองหางกระวิน ๏ มีวิมานแก้วงามบวร ผ้าทิพย์ปกตระพอง ดังเวไชยันต์อมรินทร์ เป็นเทพบุตรควาญ ๏ เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน สร้อยสายชนักถักทอง ๏ ตาข่ายเพชรรัตน์ร้อยกรอง ห้อยพู่ทุกหูคชสาร ๏ โลทันสารถีขุนมาร ขับท้ายที่นั่งช้างทรง

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๘. จับระบำ ๘. เริ่มฟ้อนรำ ๙. เทพอัปสร ๑๐. เวไชยันต์ ๙. นางฟ้า ๑๑. เก้าแก้ว ๑๐. ชื่อวิมานหรือรถทรงของพระอินทร์ ๑๒. โกมิน ๑๓. ซองหาง ๑๑. แก้ว ๙ ประการ ๑๔. กระวิน ๑๒. คือ โกเมน พลอยสีแดงเข้ม ๑๕. ชนัก ๑๖. ผ้าทิพย์ ๑๓. เครื่องคล้องโคนหางช้างหรือม้า ๑๗. โลทัน ๑๔. สห่วงที่เกี่ยวกันสำหรับโยงสัปคับ ช้าง (ที่นั่งบนหลังช้าง) ๑๕. เครื่องผูกช้าง ทำด้วยเชือกเป็นปม หรือห่วงห้อยพาดลงมา ๑๖. ผ้าที่คลุมตระพองช้างเพื่อตกแต่ง ให้สวยงาม ๑๗. เป็นชื่อสาถีของอินทรชิต ๑๒

๑๓ บทพากย์เอราวัณ ๏ บรรดาโยธาจัตุรงค์ เปลี่ยนแปลงกายคง เป็นเทพไทเทวัญ ทัพหลังสุบรรณ คนธรรพ์ปีกขวา ๏ ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์ โตมรศรชัย กินนรนาคนาคา รีบเร่งรี้พล ๏ ปีกซ้ายฤาษิตวิทยา ตั้งตามตำรับทัพชัย ๏ ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร พระขรรค์คทาถ้วนตน ๏ ลอยฟ้ามาในเวหน มาถึงสมรภูมิชัย ฯ ฯ เจรจา ฯ

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๑๘. โยธาจัตุรงค์ ๑๘. เกองทัพ ๔ เหล่า คือเหล่าช้าง เหล่า ม้า เหล่ารถ และ เหล่าราบ (พลเดินเท้า) ๑๙. อารักขไพรสัณฑ์ ๒๐. สุบรรณ ๑๙. เทวดาที่ดูแลรักษาป่า ๒๑. กินนร ๒๐. ครุฑ ๒๑. อมนุษย์ที่มีรูปร่างครึ่งคนครึ่งนก ถ้าเป็นหญิง เรียกว่า กินรี ๒๒. นาค ๒๒. สัตว์ในนิยายเป็นงูใหญ่มีหงอน ๒๓. ฤาษิต ๒๓. ผู้มีวิทยาคม ๒๔. วิทยา ๒๕. คนธรรพ์ ๒๔. วิทยาธร ชาวสวรรณ์ที่มีวิชาอาคม ๒๖. โตมร ๒๕. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง มีความชำนาญ ด้านดนตรีและขับร้อง ๒๖. หอกด้ามสั้น ๒๗. ลอยฟ้า ๒๗. เหาะ ๒๘. สมรภูมิชัย ๒๘. สนามรบ ๑๔

๑๕ บทพากย์เอราวัณ ๏ เมื่อนั้นจึงพระจักรี พอพระสุริย์ศรี อรุณเรืองเมฆา เฟื่ องฟุ้งวนา ร่อนราถาลง ๏ ลมหวนอวลกลิ่นมาลา ไก่ขันปีกตี นิวาสแถวแนวดง หาคู่เคียงประสาน สร่างแสงอโณทัย ๏ ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลี ธิบดินทร์เธอบรรเทือง ๏ ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี กู่ก้องในท้องดงดาน ๏ ปักษาตื่นตาขันขาน สำเนียงเสนาะในไพร ๏ เดือนดาวดับเศร้าแสงใส ก็ผ่านพยับรองเรือง ๏ จับฟ้าอากาศแลเหลือง บรรทมฟื้ นจากไสยา ฯ เจรจา ฯ

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๒๙. พระจักรี ๒๙. พระรามผู้เป็นอวตารปางหนึ่งของ พระนารายณ์ ๓๐. พระสุริย์ศรี ๓๐. พระอาทิตย์ ๓๑. อรุณ ๓๒. เหมหงส์ ๓๑. แสงทองเมื่อใกล้รุ่ง ๓๓. ถา ๓๔. สร้อยสุมาลี ๓๒. หงส์ทอง ๓๓. ถลา โผลง ๓๔. ดอกไม้ ๓๕. ธิบดินทร์ ๓๕. พระราชาผู้เป็นใหญ่ หมายถึง ๓๖. บรรเทือง พระราม ๓๖. ตื่นขึ้น ๓๗. ไสยา ๓๗. การนอน ที่นอน ๑๖

๑๗ บทพากย์เอราวัณ ๏ เสด็จทรงรถแก้วโกษีย์ ไพโรจน์รูจี จะแข่งซึ่งแสงสุริย์ใส เริงร้องถวายชัย กรกุมพระขรรค์ ๏ เทียมสินธพอาชาไนย กึกก้องกำกง ชันหูระเหิดหฤหรรษ์ พัดโบกพัชนี แตรสังข์เสียงประสม ๏ มาตลีสารถีเทวัญ ขับรถมากลางจัตุรงค์ ๏ เพลารอยพลอยประดับดุมวง กระทบกระทั่งธรณี ๏ มยุรฉัตรชุมสายพรายศรี กบี่ระบายโบกลม ๏ อึงอินทเภรีตีระงม ประสานเสนาะในไพร

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๓๘. รถแก้วโกสีย์ ๓๘. รถทรงที่พระอินทร์ (โกสีย์) ประทาน ให้พระรามพร้อมสารถี ชื่อ มาตลี ๓๙. ชันหู ๓๙. อาการแสดงการเตรียมพร้อม ๔๐. ระเหิด ของสัตว์ ๔๐. สูง ๔๑. มาตลี ๔๑. สารถีของพระอินทร์ ขับรถทรง ให้พระราม ๔๒. รอย ๔๒. เป็นลวดลาย ๔๓. กง ๔๓. รถทรงของพระรามลอยเลื่อนไปใน ๔๔. มยุรฉัตร อากาศ ล้อรถจึงไม่สัมผัสพื้นดิน ๔๕. ชุมสาย ๔๖. พัดโบก ๔๔. เครื่องกั้นบังเป็นชั้น ๆ ทำด้วย หางนกยูง ๔๗. พัชนี ๔๕. เครื่องสูงเป็นรูปฉัตรสามชั้น มีสายไหมห้อย ๔๖. พัดสำหรับโบกลมถวาย พระมหากษัตริย์ ๔๗. พัด ๑๘

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๔๘. กบี่ ๔๘. ลิง ที่เป็นพลวานรในกองทัพพระราม ๔๙. อินทเภรี ๔๙.กลองที่ใช้ตีให้สัญญาณในกองทัพ ๑๙

๒๐ บทพากย์เอราวัณ เลื่อนลั่นสนั่นใน อ่อนเอียงเพียงปลาย ๏ เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เนื้อนกตกใจ พิภพเพียงทำลาย หัสดินอินทรี หักถอนพฤกษา ๏ สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย ประนอมประนมชมชัย ๏ พสุธาอากาศหวาดไหว ซุกซ่อนประหวั่นขวัญหนี ๏ ลูกครุฑพลัดตกฉิมพลี คาบช้างก็วางไอยรา ๏ วานรสำแดงเดชา ถือต่างอาวุธยุทธยง

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๕๐. สัตภัณฑ์ ๕๐. ชื่อหมู่เขา ๗ ชั้น ๕๑. ฉิมพลี ๕๑. ต้นงิ้ว เป็นที่อาศัยของฝูงครุฑ ๕๒. หัสดินอินทรี ๕๒. นกหัสดี ๒๑

๒๒ บทพากย์เอราวัณ ๏ ไม้ไหล้ยูงยางกลางดง แหลกหลู่ล้มลง ละเอียดด้วยฤทธิโยธี เทวัญจันทรี โปรยทิพมาลัย ๏ อากาศบดบังสุริย์ศรี พุ่มบุษปมาลา ทุกชั้นอำนวยอวยชัย เร่งรัดหัสดิน ๏ บ้างเปิดแกลแก้วแววไว ซ้องสาธุการบูชา ๏ ชักรถรี่เรื่อยเฉื่อยมา กงรถไม่จดธรณินทร์ ๏ เร่งพลโยธาพานรินทร์ วานรให้เร่งรีบมา ฯ เจรจา หยุดทัพ ฯ

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๕๓. จันทรี ๕๓. พระจันทร์ ซึ่งเป็นเทพองค์หนึ่ง ในที่นี่ใช้ จันทรี เพื่อรับสัมผัสกับ สุริย์ศรี ๕๔. ธรณินทร์ ๕๔. แผ่นดิน ๕๕. พานรินทร์ ๕๕. พลวานรในกองทัพพระราม ๕๖. หัสดิน ๕๖. ช้าง ๒๓

๒๔ บทพากย์เอราวัณ เอื้อนอรรถวัจนา สมรภูมิไพรสณฑ์ ๏ เมื่อนั้นพระศรีอนุชา ทุกทีสหัสนัยน์ ตรัสถามสุครีพขุนพล บัดนี้เธอมา ๏ เหตุไฉนสหัสนัยน์เสด็จดล เธอมาด้วยกลอันใด ๏ สุครีพทูลทัดเฉลยไข เสด็จด้วยหมู่เทวา ๏ อวยชัยถวายทิพมาลา เห็นวิปริตดูฉงน

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๕๗. สุครีพ ๕๗. พญาวานร ทหารเอกของพระราม ๕๘. สหัสนัยน์ ๕๘. พระอินทร์ ๒๕

๒๖ บทพากย์เอราวัณ ๏ ทรงเครื่องศัสตราแย่งยล ฤๅจะกลับเป็นกล ไปเข้าด้วยราพณ์อาธรรม์ คอยดูสำคัญ ตรัสสั่งเสนี ๏ พระผู้เรืองฤทธิแข็งขัน เคลิบเคลิ้มวรกาย อย่าไว้พระทัยไพรี ๏ เมื่อนั้นอินทรชิตยักษี ให้จับระบำรำถวาย ๏ ให้องค์อนุชานารายณ์ จะแผลงซึ่งศัสตรศรพล ฯ เจรจา ฯ

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๕๙. แย่งยล ๕๙. แยงยล ดูงาม ๖๐. ราพณ์ ๖๐. ทศกัณฑ์ ๒๗

๒๘ บทพากย์เอราวัณ ๏ อินทรชิตสถิตเหนือเอรา วัณทอดทัศนา เห็นองค์พระลักษณ์ฤทธิรงค์ ๏ เคลิบเคลิ้มหฤทัยใหลหลง จึงจับศรทรง พรหมาสตร์อันเรืองเดชา ๏ ทูนเหนือเศียรเกล้ายักษา หมายองค์พระอนุชา ก็แผลงสำแดงฤทธิรณ ๏ อากาศก้องโกลาหล โลกลั่นอึงอล อำนาจสะท้านธรณี ๏ ศรเต็มไปทั่วราศี ต้ององค์อินทรีย์ พระลักษณ์ก็กลิ้งกลางพล ฯ เจรจา อินทรชิตกลับทัพ ฯ ฯลฯ

คำอธิบายศัพท์และข้อความ ๖๑. พระลักษณ์ ๖๑. พระอนุชาต่างพระมารดาของ ๖๒. ฤทธิรงค์ พระราม ๖๒. มีความสามารถในการสู้รบ ๖๓. พรหมาสตร์ ๖๓. ศรที่พระอิศวรประทานให้รณพักตร์ ๖๔. ฤทธิรณ ๖๔. มีความสามารถในการสู้รบ ๖๕. ราศี ๖๕. ศรที่อินทรชิตแผลงไปนั้นกระจาย ทั่วไปในท้องฟ้า ๒๙

๓๐ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ กลวิธีการประพันธ์ ซึ่งจะช่วยให้การอ่านหรือ การพากย์มีความไพเราะขึ้น - สัมผัสสระ หมายถึง คำคล้องจองที่อาศัยรูปสระบังคับเสียงตัวเดียวกันหรือ อ่านออกเสียงตรงกัน เช่น ผึ้งภู่หมู่คณาเหมหงส์ ร่อนราถาลง แทรกไซ้ในสร้อยสุมาลีคุ - สัมผัสอักษร หมายถึงคำคล้องจองที่มีพยัญชนะตัวหลัก เป็นตัวเดียวกัน แต่ประสมสระต่างกัน เช่น เดือนดาวดับเศร้าแสงใส สร่างแสงอโณทัย ก็ผ่านพยับเรืองรอง - ดุลของเสียง หมายถึง การซ้ำคำหรือพยางค์อย่างเป็นจังหวะ เช่น จับฟ้าอากาศแลเหลือง ธิบดินทร์เธอบรรเทือง บรรทมฟื้ นจากไสยา รสวรรณคดี ปรากฎรสวรรณคดีที่โดดเด่น คือ เสาวรจนี ซึ่งเป็นบทพรรณนา ความงามของ สถานที่ ธรรมชาติ หรือชมความงามของตัวละคร เช่น เครื่องประดับเก้าแก้วโกมิน ซองหางกระวิน สร้อยสายชนักถักทอง (พรรณนาชมความงามวิมานของพระอินทร์) ความรู้เพิ่มเติม รสในวรรณคดีไทย ๑. เสาวรจนีย์ ได้แก่ บทพรรณนาความงามของสถานที่ธรรมชาติ ชมนาง ๒. นารีปราโมทย์ ได้แก่ บทเกี้ยวพาราสี แสดงความรักคร่ำครวญ อาลัยอาวรณ์ ๓. พิโรธวาทัง ได้แก่ บทโกรธ บทตัดพ้อต่อว่า ๔. สัลปังคพิไสย ได้แก่ บทแสดงความโศกเศร้า

๓๑ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ โวหารภาพพจน์ - อุปมา เป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คำว่า ดุจ, ดั่ง, ราว, เสมือน มีความหมายเชิงเปรียบเทียบ ยกตัวอย่างเช่น มีวิมานแก้วงามบวร ทุกเทศกุญชร ดังเวไชยันต์อัมรินทร์ - อติพจน์ คือ การกล่าวเกินจริง ยกตัวอย่างเช่น เสียงพลโห่ร้องเอาชัย เลื่อนลั่นสนั่นใน พิภพเพียงทำลาย - บุคคลวัต คือ การสมมติหรือกำหนดให้สิ่งไม่มีชีวิต สามารถแสดงอากัปกิริยา ได้เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต ยกตัวอย่างเช่น สัตภัณฑ์บรรพตทั้งหลาย อ่อนเอียงเพียงปลาย ประนอมประนมชมชัย

๓๒ คุณค่าด้านเนื้อหา ความประมาทหรือความลุ่มหลงเป็นหนทางสู่หายนะ (แก่นเรื่องของ บทพากย์เอราวัณ) การพิจารณาสิ่งต่าง ๆ จะต้องมีสติ อย่าหลงเชื่ออะไรง่าย ๆ เพราะความ งดงามชวนหลงใหลนั้นมักจะแฝงมากับพิษภัย เช่นเดียวกับ การที่อินทรชิตปลอมแปลงกายเป็นพระอินทร์จนทำให้พระลักษณ์เคลิบเคลิ้ม หลงใหล จนต้องศรพรหมาสตร์ ควรเป็นคนดีมีคุณธรรม เมื่อมีอำนาจวาสนาก็ไม่ควรเหิมเกริมใช้อำนาจ ทําร้ายผู้อื่น ควรใช้ไปในทางที่ ถูกต้อง ธรรมะย่อมชนะอธรรม (แก่นเรื่องของรามเกียรติ) คุณค่าด้านสังคม ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า เพราะเนื้อหาและเรื่องราวล้วนมีความเกี่ยวข้องกับ พระอิศวร พระพรหม พระนารายณ์ พระอินทร์ ความเชื่อในเรื่องโชคลาง ได้สะท้อนให้เห็นความเชื่อบางประการที่มีความเกี่ยว โยงกับ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เช่น เมื่อกองทัพของพระลักษมณ์ พร้อมที่จะสู้รบกับ กองทัพของอินทรชิต ได้มีการเป่าแตรสังข์ พร้อมกับที่ทหารหาญโห่ร้องเอาชัย อาวุธในการทำสงครามอาวุธในการทำสงครามที่ปรากฏในบทพากย์ เอราวัณ ส่วนใหญ่เป็นอาวุธของฝ่ายทัพอินทรชิต เช่น โตมร ศร พระขรรค์ คทา ดังคำประพันธ์ที่ว่า ล้วนถืออาวุธเกรียงไกร โตมรศรชัย พระขรรค์คทาถ้วนตน

กิจกรรมชุดที่ ๑ เรียบเรียงเหตุการณ์ ๓๓ คำชี้แจง : จงใส่หมายเลขเรียงลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) ครั้งหนึ่งได้ไปท้าพระอินทร์รบและใช้ศรที่พระนารายณ์ประทานให้ ต้านฤทธิ์อาวุธของพระอินทร์ได้ พระอินทร์จึงต้องหนี เพราะหมดทางสู้ ทศกัณฐ์ยินดีที่โอรสชนะพระอินทร์ได้ จึงตั้งชื่อใหม่ว่า อินทรชิต ในศึกครั้งแรก อินทรชิตต้องศรของพระลักษณ์ ทำให้ต้องพ่ายแพ้เลิกทัพ ไป อินทรชิตจึงไปทำพิธีชุบศรนาคบาศที่พระพรหมประทานให้ แต่ก็ถูก ฝ่ายพระรามทำลายพิธีเสียก่อน รณพักตร์ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้ลาบิดาไปเรียนศิลปวิทยากับฤาษีโคบุตรซึ่ง เป็นพระอาจารย์ของทศกัณฐ์ เมื่อออกรบอีกครั้ง พระลักษณ์ต้องศรของอินทรชิต แต่ฝ่ายพระรามก็แก้ พิษศรได้ ต่อมาอินทรชิต ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ที่พระอิศวรประทานให้ notes แต่ก็ไม่สำเร็จ เมื่อออกศึกอีกครั้งจึงใช้เวทมนตร์ที่พระอิศวรประทานให้แปลงกาย เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

กิจกรรมชุดที่ ๑ เรียบเรียงเหตุการณ์ ๓๔ คำชี้แจง : จงใส่หมายเลขเรียงลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) อินทรชิต แผลงศรสังหารพระลักษณ์ได้ แต่หนุมานก็ไปหายาแก้พิษศร ได้ พระลักษณ์จึงฟื้ นขึ้นมา หลังจากนั้นได้ไปบำเพ็ญพรตเพื่อขอพรและศรวิเศษจากพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ฝ่ายพระรามก็ทำลายศรวิเศษทั้ง ๓ เล่มของอินทรชิตได้ อินทรชิตออก รบอีกครั้ง เมื่อเสียรถศึกและอาวุธ ก็กลัวตายหนีขึ้นไปซ่อนในกลีบเมฆ เมื่อได้พรและศรวิเศษจากเทพทั้งสาม รณพักตร์ก็มีความเหิมเกริมมาก notes พระลักษณ์ให้องคตไปทูลขอพานแว่นฟ้าจากพระพรหม แล้วพระลักษณ์ ก็แผลงศรตัดเศียรอินทรชิตโดยมีองคตถือพาน แต่เศียรอินทรชิตยังคง สำแดงฤทธิ์ พระรามจึงแผลงศรไปทำลายจนแหลกละเอียด

เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๑ เรียบเรียงเหตุการณ์ ๓๕ คำชี้แจง : จงใส่หมายเลขเรียงลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) ครั้งหนึ่งได้ไปท้าพระอินทร์รบและใช้ศรที่พระนารายณ์ประทานให้ ๔ ต้านฤทธิ์อาวุธของพระอินทร์ได้ พระอินทร์จึงต้องหนี เพราะหมดทางสู้ ทศกัณฐ์ยินดีที่โอรสชนะพระอินทร์ได้ จึงตั้งชื่อใหม่ว่า อินทรชิต ในศึกครั้งแรก อินทรชิตต้องศรของพระลักษณ์ ทำให้ต้องพ่ายแพ้เลิกทัพ ๕ ไป อินทรชิตจึงไปทำพิธีชุบศรนาคบาศที่พระพรหมประทานให้ แต่ก็ถูก ฝ่ายพระรามทำลายพิธีเสียก่อน ๑ รณพักตร์ เมื่ออายุ ๑๕ ปี ได้ลาบิดาไปเรียนศิลปวิทยากับฤาษีโคบุตรซึ่ง เป็นพระอาจารย์ของทศกัณฐ์ เมื่อออกรบอีกครั้ง พระลักษณ์ต้องศรของอินทรชิต แต่ฝ่ายพระรามก็แก้ ๖ พิษศรได้ ต่อมาอินทรชิต ทำพิธีชุบศรพรหมาสตร์ที่พระอิศวรประทานให้ notes แต่ก็ไม่สำเร็จ ๗ เมื่อออกศึกอีกครั้งจึงใช้เวทมนตร์ที่พระอิศวรประทานให้แปลงกาย เป็นพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๑ เรียบเรียงเหตุการณ์ ๓๖ คำชี้แจง : จงใส่หมายเลขเรียงลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) ๘ อินทรชิต แผลงศรสังหารพระลักษณ์ได้ แต่หนุมานก็ไปหายาแก้พิษศร ได้ พระลักษณ์จึงฟื้ นขึ้นมา ๒ หลังจากนั้นได้ไปบำเพ็ญพรตเพื่อขอพรและศรวิเศษจากพระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ๙ ฝ่ายพระรามก็ทำลายศรวิเศษทั้ง ๓ เล่มของอินทรชิตได้ อินทรชิตออก รบอีกครั้ง เมื่อเสียรถศึกและอาวุธ ก็กลัวตายหนีขึ้นไปซ่อนในกลีบเมฆ ๓ เมื่อได้พรและศรวิเศษจากเทพทั้งสาม รณพักตร์ก็มีความเหิมเกริมมาก notes พระลักษณ์ให้องคตไปทูลขอพานแว่นฟ้าจากพระพรหม แล้วพระลักษณ์ ๑๐ ก็แผลงศรตัดเศียรอินทรชิตโดยมีองคตถือพาน แต่เศียรอินทรชิตยังคง สำแดงฤทธิ์ พระรามจึงแผลงศรไปทำลายจนแหลกละเอียด

๓๗ กิจกรรมชุดที่ ๒ ถอดบทประพันธ์ คำชี้แจง : ให้นักเรียนถอดบทประพันธ์ต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (๑๕ นาที) ๑. ทัพหน้าอารักขไพรสัณฑ์ ทัพหลังสุบรรณ กินนรนาคนาคา ถอดความ ........................................................................ ....................................................................................... ....................................................................................... ๒. ปีกซ้ายฤาษิตวิทยา คนธรรพ์ปีกขวา ตั้งตามตำรับทัพชัย ถอดความ ........................................................................ ....................................................................................... ....................................................................................... ๓. เหตุไฉนสหัสนัยน์เสด็จดล สมรภูมิไพรสณฑ์ เธอมาด้วยกลอันใด ถอดความ........................................................................ ....................................................................................... .......................................................................................

๓๘ ๔. โลทันสารถีขุนมาร เป็นเทพบุตรควาญ ขับท้ายที่นั่งช้างทรง ถอดความ........................................................................ ....................................................................................... ....................................................................................... ๕. ลอยฟ้ามาในเวหน รีบเร่งรี้พล มาถึงสมรภูมิชัย ฯ ถอดความ........................................................................ ....................................................................................... ....................................................................................... ๖. ศรเต็มไปด้วยราศี ต้ององค์อินทรีย์ พระลักษณ์ก็กลิ้งกลางพล ถอดความ........................................................................ ....................................................................................... .......................................................................................

๓๙ เฉลยกิจกรรมชุดที่ ๒ ถอดบทประพันธ์ ๑. ทัพหน้าแปลงเป็นเทพารักษ์ ทัพหลังแปลงเป็นครุฑ กินนรและนาค ๒. ปีกซ้ายแปลงเป็นฤาษีและวิทยาธร ปีกขวาแปลงเป็น คนธรรพ์ กองทัพจัดตั้งตามตำราพิชัยสงคราม ๓. เพราะเหตุใดพระอินทร์จึงเสด็จมาที่กลางสมรภูมิ ๔. ยักษ์แปลงเป็นโลทันสารถีของพระอินทร์มีหน้าที่บังคับ ท้ายช้างพระที่นั่งของพระอินทร์ ๕. เทวดา (แปลง) ทุกองค์รีบเหาะมายังสนามรบ ๖. เมื่อศรโดนที่ตัวพระลักษณ์ พระลักษณ์ก็ล้มลงไปกลาง กองทัพทันที

กิจกรรมที่ ๓ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๔๐ คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านวิเคราะห์คำถาม และเติมคำในช่องว่างนี้ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) ๑. รสวรรณคดีในเรื่องบทพากย์เอราวัณ คือ ๒. อุปมา เป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คำว่า ๓. การกล่าวเกินจริง เป็นโวหารภาพพจน์ชนิด ๔. บุคคลวัต คือ ๕. ในเรื่องบทพากย์เอราวัณสะท้อนให้เห็นอาวุธที่ใช้ในการรบสมัยก่อน เช่น ๖. อินทรชิตใช้ เป็นยานพาหนะ ๗. ในเรื่องบทพากย์เอราวัณสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับ ๘. กองทัพของพระลักษณ์ได้มีการเป่า เพื่อ ๙. ลักษณะคำประพันธ์ของบทพากย์เอราวัณ คือ ๑๐. ดุลของเสียง คือ

๔๑ เฉลยกิจกรรมที่ ๓ คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ๑. รสวรรณคดีในเรื่องบทพากย์เอราวัณ คือ เสาวรจนี ๒. อุปมา เป็นการกล่าวเปรียบเปรยโดยนัยโดยใช้คำว่า ดุจ, ดั่ง, ราว, เสมือน ๓. การกล่าวเกินจริง เป็นโวหารภาพพจน์ชนิด อติพจน์ ๔. บุคคลวัต คือ การสมมติหรือกำหนดให้สิ่งไม่มีชีวิต สามารถแสดงอากัปกิริยาได้ เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต ๕. ในเรื่องบทพากย์เอราวัณสะท้อนให้เห็นอาวุธที่ใช้ในการรบสมัยก่อน เช่น โตมร ศร พระขรรค์ คทา เป็นยานพาหนะ ๖. อินทรชิตใช้ ช้างเอราวัณ ๗. ในเรื่องบทพากย์เอราวัณสะท้อนความเชื่อเกี่ยวกับ ความเชื่อในเรื่องเทพเจ้า ความเชื่อในเรื่องโชคลาง ฯลฯ ๘. กองทัพของพระลักษณ์ได้มีการเป่า แตรสังข์ เพื่อ เอาฤกษ์เอาชัย ๙. ลักษณะคำประพันธ์ของบทพากย์เอราวัณ คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ ๑๐. ดุลของเสียง คือ การซ้ำคำหรือพยางค์อย่างเป็นจังหวะ

กิจกรรมที่ ๔ วิเคราะห์ภาพพจน์ ๔๒ คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านวิเคราะห์บทประพันธ์ดังต่อไปนี้และระบุว่าเป็นภาพพจน์ใดให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) ๑. ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี ไก่ขันปีกตี กู่ก้องในท้องดงดาน จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ................................................................ ๒. จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา ทำดีดังเทพอัปสร จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ................................................................ ๔. อากาศก้องโกลาหล โลกลั่นอึงอล อำนาจสะท้านธรณี จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ................................................................ ๕. อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองอมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ................................................................

กิจกรรมที่ ๔ วิเคราะห์ภาพพจน์ ๔๓ คำชี้แจง : ให้นักเรียนอ่านวิเคราะห์บทประพันธ์ดังต่อไปนี้และระบุว่าเป็นภาพพจน์ใดให้ถูกต้อง ๑. ดุเหว่าเร้าเร่งพระสุริย์ศรี ไก่ขันปีกตี กู่ก้องในท้องดงดาน จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ บุคคลวัต ๒. จับระบำรำร่ายส่ายหา ชำเลืองหางตา ทำดีดังเทพอัปสร จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ อุปมา ๔. อากาศก้องโกลาหล โลกลั่นอึงอล อำนาจสะท้านธรณี จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ อติพจน์ ๕. อินทรชิตบิดเบือนกายิน เหมือนองอมรินทร์ ทรงคชเอราวัณ จากบทประพันธ์ข้างต้นปรากฎโวหารภาพพจน์ใด ตอบ อุปมา

กิจกรรมที่ ๕ จับคู่คำประพันธ์กับวรรณศิลป์ ๔๔ คำชี้แจง : ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่คำประพันธ์กับวรรณศิลป์ให้ถูกต้อง (๑๐ นาที) เพลารอยพลอยประดับดุมวง กึกก้องกำกง สัมผัสสระ กระทบกระทั่งธรณี ชักรถรี่เรื่อยเฉื่อยมา พุ่งบุษปมาลา กงรถไม่จดธรณินทร์ กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน สัมผัสพยัญชนะ มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา การซ้ำคำ ช้างนิรมิตฤทธิแรงแข็งขัน เผือกผ่องผิวพรรณ สีสังข์สะอาดโอฬา

เฉลยกิจกรรมที่ ๕ จับคู่คำประพันธ์กับวรรณศิลป์ ๔๕ คำชี้แจง : ให้นักเรียนโยงเส้นจับคู่คำประพันธ์กับวรรณศิลป์ให้ถูกต้อง เพลารอยพลอยประดับดุมวง กึกก้องกำกง สัมผัสสระ กระทบกระทั่งธรณี ชักรถรี่เรื่อยเฉื่อยมา พุ่งบุษปมาลา คำพ้องความหมาย กงรถไม่จดธรณินทร์ สัมผัสพยัญชนะ กอหนึ่งเจ็ดดอกดวงมาลย์ ดอกหนึ่งแบ่งบาน มีกลีบได้เจ็ดกลีบผกา สามสิบสามเศียรโสภา เศียรหนึ่งเจ็ดงา ดังเพชรรัตน์รูจี การซ้ำคำ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook