Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore สิทธิหน้าที่นายจ้างและลูกจ้างในงานเกษตรกรรมตามกฎหมายกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ.2557

สิทธิหน้าที่นายจ้างและลูกจ้างในงานเกษตรกรรมตามกฎหมายกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ.2557

Description: สิทธิหน้าที่นายจ้างและลูกจ้างในงานเกษตรกรรมตามกฎหมายกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานเกษตรกรรม พ.ศ.2557

Search

Read the Text Version

สิทธิหน้าที่ นายจ้างและลูกจ้าง ในงานเกษตรกรรมตาม กฎหมายกระทรวงคุ้มครอง แพร.ศงง.2า5น5ใน7งานเกษตรกรรม สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานจังหวัดอุทัยธานี

งานเกษตรกรรม หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการเพาะปลูก การเลี้ยง สัตว์ การป่าไม้ การทำนาเกลือสมุทร การประมง ที่ไม่ใช่การประมงทะเล ซึ่งไม่ได้จ้างลูกจ้างตลอดปี แ ล ะ ไ ม่ ไ ด้ ใ ห้ ลู ก จ้ า ง ทำ ง า น ใ น ลั ก ษ ณ ะ ที่ เ ป็ น ง า น อุ ตสาหกรรมต่อเนื่ อง

1. กฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับกับนายจ้าง ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ซึ่งทำงานใน งานเกษตรกรรมที่ไม่ได้จ้างลูกจ้างตลอดปี และไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็น อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้หากมีการจ้าง ลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม ตลอดทั้งปีหรือ ให้ลูกจ้างทำงานในลักษณะที่เป็น อุตสาหกรรมต่อเนื่องจากงานเกษตรกรรม ให้นายจ้างปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงานพ.ศ. 2541

2. ห้ามนายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันการทำงาน 3. ห้ามนายจ้าง ผู้ควบคุมงาน หัวหน้างานล่วงเกิน ทางเพศลูกจ้างในงานเกษตรกรรม 4. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างในงานเกษตรกรรม ทำงาน ยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของ หนัก สำหรับเด็กหญิงไม่เกิน 20 กิโลกรัม สำหรับ เด็กชายและหญิงไม่เกิน 25 กิโลกรัม และสำหรับ ชายไม่เกิน 55 กิโลกรัม

5. ลูกจ้างซึ่งทำงานครบ 180 วัน มีสิทธิหยุดพัก ผ่อนได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน โดยได้รับค่าจ้าง 6. กรณีนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อน หรือจัดให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนน้อยกว่าที่กฎหนด ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของอัตราค่าจ้างในวันทำงาน 7. ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง โดยได้ รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ไม่เกิน 15 วัน ทำงาน

8. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างและค่าทำงานในวัน หยุด เดือนหนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งครั้งเป็นเงิน ไทย ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง 9. ห้ามนายจ้างหักค่าจ้าง เว้นแต่เป็นการหัก ตามที่กฎหมายกำหนด 10. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์ ทำงานที่เกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่ มีความสั่นสะเทือน งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเป็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม

11. ลูกจ้างหญิงมีครรภ์มี สิทธิลา เพื่อคลอดบุตร ครรภ์หนึ่ง ไม่เกิน 98 วัน 12. ห้ามนายจ้างจ้างเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี ทำงาน ในงานเกษตรกรรม 13. ให้นายจ้างจัดเวลา พักไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก หลังจากการทำงานมา แล้วไม่เกิน 4 ชั่วโมง

14. ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่มให้เพียงพอแก่ลูกจ้าง กรณีลูกจ้างพัก อาศัยอยู่กับนายจ้าง นายจ้างต้องจัดหาที่พักที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ และ ปลอดภัย 15. นายจ้างผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวง มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 16. กรณีจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เป็นลูกจ้าง หรือจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานตามประเภทงานที่ต้องห้ามตามกฎหมาย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 400,000 บาท ถึง 800,000 บาท ต่อลูกจ้าง 1 คน หรือจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือ ทั้งปรับทั้งจำ

สำนักงานสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน จังหวัดอุทัยธานี กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน สายด่วน 1506 กด 3