มัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑๐ เสนอ ครูชมัยพร แก้วปานกัน
สามัคคีเภทคำฉันท์ คณะผู้จัดทำ นางสาวธวัลรัตน์ เรียงชนะวัชน์ เลขที่ ๘ นางสาวพิชญาภา ดาราราช เลขที่ ๑๓ นางสาวพิมพ์กานต์ ศรีเพียงจันทร์ เลขที่ ๑๔ นางสาวสุพิชชา บริสุทธิ์ เลขที่ ๒๒ นายกันต์กวี บุญอำไพไชยกุล เลขที่ ๒๔ นายธีร์ ผลจรัญ เลขที่ ๒๗ นายศตวรุตย์ ศรีวิไลเจริญ เลขที่ ๒๘ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖/๑๐ เสนอ คุณครูชมัยพร แก้วปานกัน วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ๕ ท๓๓๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๕ โรงเรียนสงวนหญิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-Book) เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาภาษาไทย พื้นฐาน ๖ ท๓๓๑๐๑ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โดยจัดทำขึ้นเพื่อศึกษา หาความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีไทยเรื่อง สามัคคีเภทคำฉันท์ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ความเป็นมา ประวัติผู้แต่ง ลักษณะคำประพันธ์ เนื้อเรื่อง รวมไปถึงการ วิเคราะห์คุณค่าทั้ง ๓ ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านวรรณศิลป์ และด้านสังคม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้และเป็นประโยชน์ต่อการเรียนในระดับที่ สูงขึ้น การจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้สำเร็จตาม วัตถุประสงค์ คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณคุณครูชมัยพร แก้วปานกัน ที่ได้ให้ คำแนะนำ ช่วยเหลือ ทำให้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วย ดี คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เล่มนี้ จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่กำลังศึกษาข้อมูลเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ หากมีข้อ ผิดพลาดประการใดทางคณะผู้จัดทำต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๕ ก
สารบัญ หน้า ก เรื่อง ข ๑ คำนำ ๒ สารบัญ ความเป็นมา ๓-๙ ประวัติผู้แต่ง ๑๐ - ๑๑ ลักษณะคำประพันธ์ ๑๒ - ๒๒ เนื้อเรื่องเต็ม (แบบย่อ) เนื้อเรื่องเต็ม (ตอนที่เรียน) ๒๓ - ๒๙ วิเคราะห์คุณค่า ๓๐ - ๔๐ ๔๑ - ๔๕ - ด้านเนื้อหา - ด้านวรรณศิลป์ ๔๖ - ด้านสังคม ๔๗ บรรณานุกรม ภาคผนวก ข
ความเป็นมา คำว่า สามัคคีเภท เป็นคำสมาส ระหว่าง สามัคคี และ เภท ซึ่ง เภท มีความหมายว่า การแตกแยก ดังนั้น สามัคคีเภท จึงหมายถึง การแตกความ สามัคคี ในสมัยรัชกาลที่ ๖ เกิดวิกฤตการณ์ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เช่น เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ เกิดกบฏ ร.ศ. ๑๓๐ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความ มั่นคงของบ้านเมือง นายชิต บุรทัต จึงได้แต่งเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ขึ้น ในปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เพื่อมุ่งชี้ความสำคัญของการรวมกันเป็นหมู่คณะ เรื่องสามัคคี เภทคำฉันท์ เป็นนิทานสุภาษิตในมหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถาสุมังคล วิลาสินี ทีฆนิกายมหาวรรค ลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุ ของมหามกุฎราช วิทยาลัย โดยเรียบเรียงเป็นภาษาบาลีสามัคคีเภทคำฉันท์ดำเนินเรื่องโดยอิง ประวัติศาสตร์ครั้งพุทธกาล ว่าด้วยการใช้เล่ห์อุบายทำลายความสามัคคีของ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี กรุงเวสาลี แห่งแคว้นวัชชี เนื้อความนี้มีปรากฏในมหา ปรินิพพานสูตร แห่งพระไตรปิฎก และอรรถกถาสุมังคลวิสาสินี ๑
ประวัติผู้แต่ง ชิต บุรทัต สามัคคีเภทคำฉันท์ นายชิต บุรทัต ได้แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ ในสมัย รัชกาลที่ ๖ นับเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งของกวีผู้นี้ นายชิต บุรทัต เข้าศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดราชบพิธ และเข้าศึกษาจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์ ที่โรงเรียนวัดสุทัศน์ เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี บิดาจึงให้บวชเป็นสามเณร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริ วัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในเวลานั้นทรงเป็นอุปัชฌาจารย์ บวชได้ไม่นาน ก็ลาสิกขานายชิตมีความสนใจการอ่านเขียน และมีความเชี่ยวชาญในภาษา ไทย มีความรู้ภาษาบาลี และยังฝึกฝนภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ และเริ่ม การประพันธ์เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี นายชิต บุรทัตได้สร้างผลงานร้อยกรองที่มีชื่อ เสียงมากมาย โดยเฉพาะสามัคคีเภทคำฉันท์ มีบทร้อยกรองตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ข้อความโฆษณาเป็นร้อยกรอง และท่านยังมีชื่อ เสียงในการแต่งร้อยแก้วซึ่งสามารถอ่านอย่างร้อยกรองไว้ในบทเดียวกัน ขณะ ที่คำฉันท์นั้นยังสามารถใช้คำง่ายๆ มาลงครุลหุได้อย่างเหมาะสม ได้รับการ ยกย่องเป็นหนึ่งในนักแต่งฉันท์ฝีมือเยี่ยมคนหนึ่งของไทย นายชิต บุรทัตถึงแก่ กรรม เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ด้วยโรคลำไส้พิการ ณ บ้านถนน วิสุทธิ์กษัตริย์ รวมอายุ ๕๐ ปี ๒
ลักษณะคำประพันธ์ “สามัคคีเภทคำฉันท์” ใช้รูปแบบการประพันธ์เป็นร้อยกรอง ชนิดคำ ฉันท์ ซึ่งเกิดจากคำประพันธ์ชนิด “กาพย์” มี ๑ ชนิด คือ กาพย์ฉบัง ๑๖ และ เกิดจากคำประพันธ์ชนิด “ฉันท์” ที่ใช้ถึง ๑๙ ชนิด ๑. สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ๑๙ เป็นฉันท์ที่มีลีลาการอ่านสง่างาม เคร่งขรึม มีอำนาจดุจเสือผยอง ใช้แต่งสำหรับบทไหว้ครู บทสดุดี ยอพระเกียรติ ไหว้คุณองค์พระสุคตอนาวรณญาณ ยอดศาสดาจารย์ มุนี ๒. วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ เป็นฉันท์ที่มีลีลาไพเราะ งดงาม เยือกเย็นดุจ เม็ดฝน ใช้สำหรับบรรยายหรือพรรณนาชื่นชมสิ่งที่สวยงาม สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร ๓. อุปชาติฉันท์ ๑๑ นิยมแต่งสำหรับบทเจรจาหรือบรรยายความเรียบๆ สดับประกาศิต ระบุกิจวโรงการ จึ่งราชสมภาร พจนารถประภาษไป ๓
๔. อีทิสังฉันท์ ๒๐ เป็นฉันท์ที่มีจังหวะกระแทกกระทั้น โกรธแค้น และอารมณ์รุนแรง เช่น รักมาก โกรธมาก ตื่นเต้น คึกคะนอง หรือพรรณนา ความสับสน เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ๕. อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่มีลีลาสวยงามดุจสายฟ้าพระอินทร์ มีลีลาอ่อนหวาน ใช้บรรยายความหรือพรรณนาเพื่อโน้มน้าวใจให้อ่อนโยน เมตตาสงสาร เอ็นดู ให้อารมณ์เหงาและเศร้า โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน ๖. วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ หมายถึง ระเบียบแห่งสายฟ้า ใช้บรรยายแสดง ความรู้สึกวุ่นวายใจ ข่าวเศิกเอิกอึง ทราบถึงบัดดล ในหมู่ผู้คน ชาวเวสาลี แทบทุกถิ่นหมด ชนบทบูรี อกสั่นขวัญหนี หวาดกลัวทั่วไป ๔
๗. อินทรวงศ์ฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลาตอนท้ายไม่ราบเรียบคล้ายกล บทสะบัดสะบิ้ง ใช้ในการบรรยายความหรือพรรณนาความ หลากเหลือจะเชื่อจิต ผิวคิดประหวั่นพะวง เมตตาและเต็มปลง มนจักประคับประคอง ๘. วังสัฏฐฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีสำเนียงอันไพเราะเหมือนเสียงปี่ ประชุมกษัตริย์รา ชสภาสดับคะนึง คะเนณทุกข์รึง อุระอัดประหวัดประวิง ๙. มาลินีฉันท์ ๑๕ เป็นฉันท์ที่ใช้ในการแต่งกลบทหรือบรรยายความ ที่เคร่งขรึม เป็นสง่า เพราะปกรณวิธีมี เล่หะลับนี รสงสัย ต่างก็ไว้ใจ คณะขัตติยะและใครใคร ทิชาจารย์ฯ ๕
๑๐. ภุชงคประยาตฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลางามสง่าดุจงูเลื้อย นิยมใช้ แต่งบทที่ดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็วและคึกคัก ทิชงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย ๑๑. มาณวกฉันท์ ๘ เป็นฉันท์ที่มีลีลาผาดโผน สนุกสนาน ร่าเริง และ ตื่นเต้นดุจชายหนุ่ม ล่วงลุประมาณ กาลอนุกรม หนึ่งณนิยม ท่านทวิชงค์ เมื่อจะประสิทธิ์ วิทยะยง เชิญวรองค์ เอกกุมาร ๑๒. อุเปนทรวิเชียรฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่มีความไพเราะใช้ในการบรรยาย บทเรียบๆ ทิชงค์เจาะจงเจตน์ กลห์เหตุยุยงเสริม กระหน่ำและซ้ำเติม นฤพทัธก่อการณ์ ๖
๑๓. สัทธราฉันท์ ๒๑ มีความหมายว่า ฉันท์ยังความเลื่อมใสให้เกิดแก่ผู้ฟัง จึงเหมาะเป็นฉันท์ที่ใช้สำหรับแต่งคำนมัสการ อธิษฐาน ยอพระเกียรติ หรือ อัญเชิญเทวดา ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย ๑๔. สาลินีฉันท์ ๑๑ เป็นบทที่มีคำครุมาก ใช้บรรยายบทที่เป็นเนื้อหา สาระเรียบๆ วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป ๑๕. อุปัฏฐิตาฉันท์ ๑๑ เป็นฉันท์ที่เหมาะสำหรับใช้บรรยายบทเรียบๆ แต่ไม่ใคร่มีคนนิยมแต่งมากนัก เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ชนะคล่องประสบสม พราหมณ์เวทอุดม ธ ก็ลอบแถลงการณ์ ๗
๑๖. โตฏกฉันท์ ๑๒ เป็นฉันท์ที่มีลีลาเหมือนประตักแทงโค ใช้แต่งกับบท ที่แสดงความโกรธเคือง ร้อนรน หรือสนุกสนาน คึกคะนอง ตื่นเต้น และเร้าใจ ประลุฤกษมุหุต ทินอุตตมไกร รณรงควิชัย- ยะดิถีศุภยาม ๑๗. กมลาฉันท์ ๑๒ หมายถึง ฉันที่มีความไพเราะเหมือนดังดอกบัว ใช้ กับบทที่มีความตื่นเต้นเล็กน้อยและใช้บรรยายเรื่อง ผิวกาลมัชฌัน ติกอันรวีสา หสร้อนและอ่อนกา ยสกนธ์พหลหาญ ๑๘. จิตรปทาฉันท์ ๘ เป็นฉันท์ที่เหมาะสำหรับบทที่น่ากลัว เกรี้ยวกราด ตื่นเต้นตกใจและกลัว นาครธา นิวิสาลี เห็นริปุมี พลมากมาย ข้ามติรชล ก็ลุพ้นหมาย มุ่งจะทลาย พระนครตน ๘
๑๙. สุรางคนางค์ฉันท์ ๒๘ มีข้อบังคับ ครุ ลหุ ทำให้เกิดความไพเราะ มากยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับข้อความที่คึกคักสนุกสนาน โลดโผน ตื่นเต้น ตสัตตุรา บพิตรอชา สดับณสาสน์ ชรัฐไกร ธปรีดิใด พระราชหทัย บเปรียบบปาน ๒๐. กาพย์ฉบัง ๑๖ เป็นกาพย์ที่มีลีลาสง่างาม ใช้สำหรับบรรยายความ งามหรือดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว อันอัครปุโรหิตาจารย์ พราหมณ์นามวัสสการ ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน สำแดงแจ้งศิล กลเวทโกวิทจิตจินต์ ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์ ๙
เนื้อเรื่องเต็ม(แบบย่อ) ในกาลโบราณมีกษัตริย์องค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระเจ้าอชาตศัตรูทรง ครอบครองแคว้นมคธ มีราชคฤห์เป็นเมืองหลวง พระองค์ทรงมีอำมาตย์ที่ สนิทคนหนึ่งชื่อว่า วัสสการพราหมณ์ เป็นผู้ฉลาดและรอบรู้ศิลปศาสตร์และ เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป พระเจ้าอชาตศัตรูมีพระราชประสงค์จะปรา แคว้นวัชชีอันมีพวกกษัตริย์ลิจฉวีปกครอง แต่พระองค์ยังลังเลพระทัยเมื่อได้ ทรงทราบว่ากษัตริย์ลิจฉวีทุก ๆ พระองค์ล้วนแต่ทรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมที่เรียก ว่า อปริหานิยธรรม ๗ คือธรรมอันเป็นไปเพื่อเหตุแห่งความเจริญฝ่ายเดียว มีทั้งหมด ๗ ประการ ดังนั้นพระองค์จึงปรึกษาโดยเฉพาะกับวัสสการพรา หมณ์ว่าควรจะกระทำอย่างไรจึงจะหาอุบายทำลายเหตุแห่งความพร้อม เพรียงของพวกกษัตริย์ลิจฉวีเมื่อได้ตกลงนัดแนะกับวัสสการพราหมณ์เป็นที่ เรียบร้อยแล้ว วันหนึ่งพระเจ้าอชาตศัตรูเสด็จออกว่าราชการ จึงดำรัสเป็น เชิงหารือกับพวกอำมาตย์ในเรื่องจะยกทัพไปรบกับแคว้นวัชชี มีวัสสการพรา หมณ์เพียงผู้เดียวที่กราบทูลเป็นเชิงทักท้วงและขอให้พระองค์ทรงยับยั้งรอไว้ ก่อนเพื่อเห็นแก่มิตรภาพและความสงบ ทั้งทำนายว่าถ้ารบก็จะพ่ายแพ้ด้วย พระเจ้าอชาตศัตรูได้ทรงฟังวัสสการพราหมณ์กราบทูลเป็นถ้อยคำหมิ่น พระบรมเดชานุภาพเช่นนั้น ก็ทรงแสร้งแสดงพระอาการพิโรธ และมีพระ- ราชโองการสั่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายนครบาลพร้อมด้วยราชบุรุษให้นำตัววัสสการพ ราหมณ์ไปลงโทษตามคำพิพากษาในบทพระอัยการ คือ เฆี่ยน โกนผม ประจาน แล้วขับไล่ไปเสียไม่ให้อยู่ในพระราชอาณาเขต วัสสการพราหมณ์ ยอมทนรับราชอาญาด้วยทุกขเวทนาแสนสาหัสถึงแก่สลบ เมื่อถูกเนรเทศ ออกจากแคว้นมคธก็เดินทางมุ่งตรงไปเมืองเวสาลี อันเป็นเมืองหลวงของ แคว้นวัชชีและเที่ยวผูกไมตรีกับบรรดาชาวเมือง จนข่าวนี้ทราบไปถึงกษัตริย์ ลิจฉวี จึงได้ตีกลองสำคัญขึ้นเป็นสัญญาณ เชิญกษัตริย์ทั้งปวงมาชุมนุม ปรึกษาราชการ เมื่อกษัตริย์ลิจฉวีประชุมกันแล้วก็ได้ตกลงกันว่าควรให้ พราหมณ์ผู้นั้นเข้ามาเพื่อจะได้เห็นท่าทางและฟังความดูก่อนว่าจะจริงเท็จ อย่างไร ภายหลังที่วัสสการพราหมณ์ได้เข้าเฝ้ากษัตริย์ลิจฉวีและกราบทูล ข้อความต่าง ๆ ด้วยความฉลาดลึกซึ้ง ประกอบกับมีรอยถูกโบยฟกช้ำให้เห็น กษัตริย์ลิจฉวีทุกพระองค์ต่างก็ทรงหมดความฉงนสนเท่ห์ว่าเป็นกลอุบาย จึง ทรงตั้งให้เป็นครูสอนศิลปวิทยาแก่บรรดาราชกุมารและกระทำราชการใน ตำแหน่งอำมาตย์ผู้พิจารณาพิพากษาอรรถคดีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย วัสสกา รพราหมณ์ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจและเอาใจใส่จนเป็นที่ไว้ใจในหมู่ กษัตริย์ลิจฉวี ๑๐
เมื่อวัสสการพราหมณ์คาดคะเนว่าพวกกษัตริย์ลิจฉวีวางใจตนจนหมดความ สงสัย วัสสการพราหมณ์จึงได้ดำเนินอุบายเพื่อทำลายความพร้อมเพรียง ของกษัตริย์ลิจฉวี โดยการแต่งอุบายลับชวนให้ฉงนสนเท่ห์ต่างๆ ขึ้น เป็น เครื่องยั่วยุราชกุมารทั้งหลายผู้เป็นศิษย์ให้แตกร้าวกัน และวัสสการพรา หมณ์คอยส่งเสริมเหตุแห่งการทะเลาะวิวาทให้บังเกิดขึ้น ในหมู่ราชกุมารอยู่ เนืองนิตย์ จนกระทั่งที่สุดราชกุมารทุกพระองค์ก็แตกความสามัคคีกันเป็น เหตุให้วิวาทกันขึ้น ครั้นแล้วต่างองค์ก็นำความนั้นขึ้นกราบทูลชนกของตน ตามเรื่องที่เป็นมา เมื่อเป็นเช่นนั้นความแตกร้าวก็ลามไปถึงบรรดาชนกผู้ซึ่ง เชื่อถ้อยคำโอรสของตนโดยปราศจากการไตร่ตรอง จนกระทั่งเวลาล่วงไป สามปี สามัคคีธรรมในระหว่างพวกกษัตริย์ลิจฉวีก็ถูกทำลายสิ้น วัสสการพ ราหมณ์เห็นว่ากษัตริย์ลิจฉวีทุกองค์แตกสามัคคีกันแล้ว ก็ให้คนลอบนำ ความไปกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรู พระเจ้าอชาตศัตรูก็กรีธาทัพสู่เมืองเว สาลี พวกชาวเมืองเวสาลีตกใจกลัวภัยอันเกิดแต่ ข้าศึก มุขมนตรีจึงได้ตี กลองสำคัญขึ้นเป็นอาณัติสัญญาณให้ยกทัพมาต่อสู้ แต่เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีก็ หาไปเข้าร่วมประชุมไม่ ต่างองค์ทรงเพิกเฉยเสีย แม้แต่ประตูเมืองทุกทิศก็ ไม่มีใครสั่งให้ปิด พระเจ้าอชาตศัตรูจึงได้แคว้นวัชชีโดยง่าย ไม่ต้องเปลือง แรงรี้พลเพราะการรบเลย เมื่อจัดการบ้านเมืองราบคาบแล้ว พระเจ้าอชาต ศัตรูก็ยกกองทัพเสด็จกลับกรุงราชคฤห์ ดังเดิม ๑๑
เนื้อเรื่องเต็ม (เฉพาะตอนที่เรียน) (วัสสการพราหมณ์เริ่มทำอุบายทำลายสามัคคี) ภุชงคประยาต ฉันท์ ๑๒ ทชิงค์ชาติฉลาดยล คะเนกลคะนึงการ กษัตริย์ลจิฉววีาร ระวังเหือดระแวงหาย เหมาะแก่การณ์จะเสกสรร ปวัตน์วัญจโนบาย มล้างเหตุพิเฉทสาย สมัครสนธิ์สโมสร ณ วันหนึ่งลุถึงกา ลศึกษาพิชากร กุมารลิจฉวีวร เสด็จพร้อมประชุมกัน ตระบัดวสัสการมา สถานราชเรียนพลัน ธ แกล้งเชิญกุมารฉัน สนิทหนึ่งพระองค์ไป ลุห้องหับรโหฐาน ก็ถามการณ์ ณ ทันใด มิลี้ลับอะไรใน กถาเช่น ธ ปุจฉา จะถูกผิดกระไรอยู่ มนุษย์ผู้กระทำนา และคู่โคก็จูงมา ประเทียบไถมิใช่หรือ กุมารลิจฉวีขัตติย์ ก็รับอรรถอออือ กสิกเขากระทำคือ ประดุจคำพระอาจารย์ ก็เท่านั้น ธ เชิญให้ นิวัตในมิช้านาน ประสิทธิ์ศิลป์ประศาสน์สาร สมัยเลิกลุเวลา อุรสลิจฉวีสรร พชวนกันเสด็จมา และต่างซักกุมารรา ชองค์นั้นจะเอาความ พระอาจารย์สิเรียกไป ณ ข้างใน ธ ไต่ถาม อะไรเธอเสนอตาม วจีสัตย์กะส่ำเรา กุมารนั้นสนองสา รวากย์วาทตามเลา เฉลยพจน์กะครูเสา วภาพโดยคดีมา กุมารอื่นก็สงสัย มิเชื่อในพระวาจา สหายราช ธ พรรณนา และต่างองค์ก็พาที ไฉนเลยพระครูเรา จะพูดเปล่าประโยชน์มี เลอะเหลวนักละล้วนนี รผลเห็น บ เป็นไป ๑๒
เถอะถึงถ้าจะจริงแม้ ธ พูดแท้ก็ทำไม แนะชวนเข้า ณ ข้างใน จะถามนอก บ ยากเย็น ธ คิดอ่านกะท่านเป็น ชะรอยว่าทิชาจารย์ ละแน่ชัดถนัดความ รหัสเหตุประเภทเห็น มิกล้าอาจจะบอกตา ไถลแสร้งแถลงสาร และท่านมามุสาวาท ก็สอดคล้องและแคลงดาล พจีจริงพยายาม อุบัติขึ้นเพราะขุ่นเคือง ประดามีนิรันดร์เนือง กุมารราชมิตรผอง มลายปลาตพินาศปลงฯ พิโรธกาจวิวาทการณ์ กาลอนุกรม พิพิธพันธไมตรี ท่านทวิชงค์ กะองค์นั้นก็พลันเปลือง วิทยะยง เอกกุมาร มาณวก ฉันท์ ๘ พราหมณไป ล่วงลุประมาณ ห้องรหุฐาน ความพิสดา หนึ่ง ณ นิยม โทษะและไข เมื่อจะประสิทธิ์ ครูจะเฉลย เชิญวรองค์ ภัตกะอะไร ดี ฤ ไฉน เธอจรตาม ยิ่งละกระมัง โดยเฉพาะใน เค้า ณ ประโยค จึ่งพฤฒิถาม แล้วขณะหลัง ขอ ธ ประทาน เรื่องสิประทัง สิกขสภา อย่าติและหลู่ ราชอุรส เธอน่ะเสวย ต่าง ธ ก็มา ในทินนี่ ท่านพฤฒิอา พอหฤทัย รภกระไร ราช ธ ก็เล่า ตนบริโภค วาทะประเทือง อาคมยัง เสร็จอนุศาสน์ ลิจฉวิหมด ถามนยมาน จารยปรา ๑๓
เธอก็แถลง แจ้งระบุมวล ความเฉพาะล้วน จริงหฤทัย ต่าง บ มิเชื่อ เมื่อตริไฉน จึ่งผลใน เหตุ บ มิสม เรื่องนฤสาร ขุ่นมนเคือง ก่อนก็ระ เช่นกะกุมาร แตกคณะกล เลิกสละแยก คบดุจเดิม เกลียว บ นิยม อุเปนทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ กลห์เหตุยุยงเสริม ทิชงค์เจาะจงเจตน์ นฤพัทธก่อการณ์ ทินวารนานนาน กระหน่ำและซ้ำเติม ธ ก็เชิญเสด็จไป ละครั้งระหว่างครา รฤหาประโยชน์ไร เสาะแสดง ธ แสร้งถาม เหมาะท่าทิชาจารย์ น่ะแน่ะข้าสดับตาม บ ห่อนจะมีสา พจแจ้งกระจายมา ก็เพราะท่านสิแสนสา กระนั้นเสมอนัย วและสุดจะขัดสน และบ้างก็พูดว่า พิเคราะห์เชื่อเพราะยากยล ธ ก็ควรขยายความ ยุบลระบิลความ น่ะแน่ะข้าจะขอถาม ละเมิดติเตียนท่าน วจลือระบือมา รพัดทลิทภา ก็เพราะท่านสิแสนสา จะแน่มิแน่เหลือ ยพิลึกประหลาดเป็น มนเชื่อเพราะไป่เห็น ณ ที่ บ มีคน ธ ก็ควรขยายความ และบ้างก็กล่าวว่า วนเค้าคดีตาม นยสุดจะสงสัย เพราะทราบคดีตาม คุรุท่านจะถามไย ติฉินเยาะหมิ่นท่าน ระบุแจ้งกะอาจารย์ พระกุมารโน้นขาน รพันพิกลกา เฉพาะอยู่กะกันสอง จะจริงมิจริงเหลือ ผิข้อ บ ลำเค็ญ กุมารองค์เสา กระทู้พระครูถาม ก็คำมิควรการณ์ ธ ซักเสาะสืบใคร ทวิชแถลงว่า ยุบลกะตูกาล ๑๔
กุมารพระองค์นั้น ธ มิทันจะไตร่ตรอง ก็เชื่อ ณ คำของ พฤฒิครูและวู่วาม เหมาะเจาะจงพยายาม พิโรธกุมารองค์ บ มิดีประเดตน ยุครูเพราะเอาความ ทุรทิฐิมานจน ธิพิพาทเสมอมา ก็พ้อและต่อพิษ ทิชครูมิเรียกหา ลุโทสะสืบสน ชกุมารทิชงค์เชิญ ฉวิมิตรจิตเมิน และฝ่ายกุมารผู้ คณะห่างก็ต่างถือ ก็แหนงประดารา พลล้นเถลิงลือ มนฮึก บ นึกขามฯ พระราชบุตรลิจ ณ กันและกันเหิน ทะนงชนกตน ก็หาญกระเหิมฮือ สัทธรา ฉันท์ ๒๑ ลำดับนั้นวัสสการพราหมณ์ ธ ก็ยุศิษยตาม แต่งอุบายงาม ฉงนงำ ปวงโอรสลิจฉวีดำ ริณวิรุธก็สำ คัญประดุจคำ ธ เสกสรร ไป่เหลือเลยสักพระองค์อัน มิละปิยะสหฉันท์ ขาดสมัครพันธ์ ก็อาดูร ต่างองค์นำความมิงามทูล พระชนกอดิศูร แห่ง ธ โดยมูล ปวัตติ์ความ แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม ทีละน้อยตาม ณ เหตุผล ฟั่ นเฝือเชื่อนัยดนัยตน นฤวิเคราะหเสาะสน สืบจะหมองมล เพราะหมายใด แท้ท่านวัสสการใน กษณะตริเหมาะไฉน เสริมเสมอไป สะดวกดาย หลายอย่างต่างกล ธ ขวนขวาย พจนยุปริยาย วัญจโนบาย บ เว้นครา ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป ๑๕
ต่างองค์ทรงแคลงระแวงใน พระราชหฤทยวิสัย ผู้พิโรธใจ ระวังกันฯ สาลินี ฉันท์ ๑๑ ตระหนักเหตุถนัดครัน พราหมณ์ครูรู้สังเกต พจักสู่พินาศสม จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ ราชาวัชชีสรร และอุตสาหแห่งตน ยินดีบัดนี้กิจ ประชุมขัตติย์มณฑล กษัตริย์สู่สภาคาร เริ่มมาด้วยปรากรม สดับกลองกระหึมขาน ให้ลองตีกลองนัด ณ กิจเพื่อเสด็จไป จะเรียกหาประชุมไย เชิญซึ่งส่ำสากล ก็ขลาดกลัว บ กล้าหาญ วัชชีภูมีผอง และกล้าใครมิเปรียบปาน ประชุมชอบก็เชิญเขา ทุกไท้ไป่เอาภาร ไฉนนั้นก็ทำเนา ต่างทรงรับสั่งว่า บ แลเห็นประโยชน์เลย และทุกองค์ ธ เพิกเฉย เราใช่เป็นใหญ่ใจ สมัครเข้าสมาคมฯ ท่านใดที่เป็นใหญ่ พอใจใคร่ในการ ปรึกษาหารือกัน จักเรียกประชุมเรา รับสั่งผลักไสส่ง ไป่ได้ไปดั่งเคย อุปัฎฐิตา ฉันท์ ๑๑ ชนะคล่องประสบสม เห็นเชิงพิเคราะห์ช่อง ธ ก็ลอบแถลงการณ์ คมดลประเทศฐาน พราหมณ์เวทอุดม ภิเผ้ามคธไกร ให้วัลลภชน สนว่ากษัตริย์ใน วลหล้าตลอดกัน กราบทูลนฤบาล คณะแผกและแยกพรรค์ แจ้งลักษณสา ทเสมือนเสมอมา ขณะไหนประหนึ่งครา วัชชีบุรไกร ก็ บ ได้สะดวกดี บัดนี้สิก็แตก พยุห์ยาตรเสด็จกรี ริยยุทธโดยไวฯ ไป่เป็นสหฉัน โอกาสเหมาะสมัย นี้หากผิจะหา ขอเชิญวรบาท ธาทัพพลพี ๑๖
(พระเจ้าอชาติศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี) วิชชุมมาลา ฉันท์ ๘ ทราบถึงบัดดล ข่าวเศิกเอิกอึง ชาวเวสาลี ชนบทบูรี ในหมู่ผู้คน หวาดกลัวทั่วไป แทบทุกถิ่นหมด หมดเลือดสั่นกาย อกสั่นขวัญหนี วุ่นหวั่นพรั่นใจ ซ่อนตัวแตกภัย ตื่นตาหน้าเผือด ทิ้งย่านบ้านตน หลบลี้หนีตาย ชาวคามล่าลาด ซุกครอกซอกครัว ขุนด่านตำบล เข้าดงพงไพร คิดผันผ่อนปรน มาคธข้ามมา เหลือจักห้ามปราม ป่าวร้องทันที พันหัวหน้าราษฎร์ รุกเบียนบีฑา หารือแก่กัน วัชชีอาณา จักไม่ให้พล ป้องกันฉันใด ไป่มีสักองค์ จึ่งให้ตีกลอง เพื่อจักเสด็จไป แจ้งข่าวไพรี เรียกนัดทำไม เพื่อหมู่ภูมี กล้าหาญเห็นดี ชุมนุมบัญชา ขัดข้องข้อไหน ตามเรื่องตามที ราชาลิจฉวี เป็นใหญ่ยังมี อันนึกจำนง รุกปราศอาจหาญ ต่างองค์ดำรัส ความแขงอำนาจ ใครเป็นใหญ่ใคร แก่งแย่งโดยมาน วัชชีรัฐบาล เชิญเทอญท่านต้อง แม้แต่สักองค์ฯ ปรึกษาปราศรัย ส่วนเราเล่าใช่ ใจอย่างผู้ภี ต่างทรงสำแดง สามัคคีขาด ภูมิศลิจฉวี บ่ ชุมนุมสมาน ๑๗
อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ ติยรัชธำรง ปิ่ นเขตมคธขัต นคเรศวิสาลี พิเคราะห์เหตุ ณ ธานี ยั้งทัพประทับตรง ขณะเศิกประชิดแดน ภูธร ธ สังเกต และมินึกจะเกรงแกลน รณทัพระงับภัย แห่งราชวัชชี บ มิทำประการใด เฉยดู บ รู้สึก บุรว่างและร้างคน สยคงกระทบกล ฤๅคิดจะตอบแทน ลุกระนี้ถนัดตา นิ่งเงียบสงบงำ คิยพรรคพระราชา รจะพ้องอนัตถ์ภัย ปรากฏประหนึ่งใน รกกาลขว้างไป แน่โดยมิพักสง ดุจกันฉะนั้นหนอ กลแหย่ยุดีพอ ท่านวัสสการจน จะมิร้าวมิรานกัน ภินท์พัทธสามัค ธุระจบ ธ จึ่งบัญ พทแกล้วทหารหาญ ชาวลิจฉวีวา ฬุคะเนกะเกณฑ์การ ลูกข่างประดาทา จรเข้านครบร อดิศูรบดีศร หมุนเล่นสนุกไฉน ทิวรุ่งสฤษฎ์พลัน ครูวัสสการแส่ พยุหาธิทัพขันธ์ ปั่ นป่วน บ เหลือหลอ พลข้าม ณ คงคา ครั้นทรงพระปรารภ พิศเนืองขนัดคลา ลิบุเรศสะดวกดายฯ ชานายนิกายสรร เร่งทำอุฬุมป์เว เพื่อข้ามนทีธาร เขารับพระบัณฑูร ภาโรปกรณ์ตอน จอมนาถพระยาตรา โดยแพและพ่วงปัน จนหมดพหลเนื่อง ขึ้นฝั่ งลุเวสา ๑๘
จิตรปทา ฉันท์ ๘ นิวิสาลี นาครธา พลมากมาย ก็ลุพ้นหมาย เห็นริปุมี พระนครตน ข้ามติรชล มนอกเต้น มุ่งจะทลาย ตะละผู้คน มจลาจล ต่างก็ตระหนก อลเวงไป ตื่น บ มิเว้น มุขมนตรี ทั่วบุรคา รุกเภทภัย เสียงอลวน ทรปราศรัย ขณะนี้หนอ สรรพสกล พระทวารมั่น ตรอมมนภี อริก่อนพอ บางคณะอา ชสภารอ ยังมิกระไร วรโองการ ก็จะได้ทำ ควรบริบาล รัสภูบาล ต้านปะทะกัน ก็เคาะกลองขาน ขัตติยรา ดุจกลองพัง ดำริจะขอ ประลุโสตท้าว ขณะทรงฟัง ทรงตริไฉน และละเลยดัง โดยนยดำ ธุระกับใคร เสวกผอง ณ สภาคา อาณัติปาน บุรทั่วไป และทวารใด ศัพทอุโฆษ สิจะปิดมีฯ ลิจฉวีด้าว ต่าง ธ ก็เฉย ไท้มิอินัง ต่างก็ บ คลา แม้พระทวารช รอบทิศด้าน เห็นนรไหน ๑๙
สัททุลวิกกีฬิต ฉันท์ ๑๙ จอมทัพมาคธราษฎร์ ธ ยาตรพยุหกรี ธาสู่วิสาลี นคร โดยทางอันพระทวารเปิดนรนิกร ฤๅรอต่อรอน อะไร เบื้องนั้นท่านคุรุวัสสการทิชก็ไป นำทัพชเนนทร์ไท มคธ เข้าปราบลิจฉวิขัตติย์รัฐชนบท สู่เงื้อมพระหัตถ์หมด และโดย ไป่พักต้องจะกะเกณฑ์นิกาย พหลโรย แรงเปลืองระดมโปรย ประยุทธ์ ราบคาบเสร็จ ธ เสด็จลุราช คฤหอุต คมเขตบุเรศดุจ ณ เดิม เรื่องต้นยุกติก็แต่จะต่อพจนเติม ภาษิตลิขิตเสริม ประสงค์ ปรุงโสตเป็นคติสุนทราภรณจง จับข้อประโยชน์ตรง ตริดูฯ อินทรวิเชียร ฉันท์ ๑๑ ชอชาตศัตรู อันภูบดีรา วประเทศสะดวกดี วรราชวัชชี ได้ลิจฉวีภู ฑอนัตถ์พินาศหนา แลสรรพบรรดา คณะแตกและต่างมา หสโทษพิโรธจอง ถึงซึ่งพิบัติบี ทนสิ้น บ ปรองดอง เหี้ยมนั้นเพราะผันแผก ตริมลักประจักษ์เจือ รสเล่าก็ง่ายเหลือ ถือทิฐิมานสา คติโมหเป็นมูล แยกพรรคสมรรคภิน ยนภาวอาดูร ยศศักดิเสื่อมนาม ขาดญาณพิจารณ์ตรอง คุรุวัสสการพราหมณ์ เชื่ออรรถยุบลเอา กลงำกระทำมา เหตุหาก ธ มากเมือ จึ่งดาลประการหา เสียแดนไผทสูญ ควรชมนิยมจัด เป็นเอกอุบายงาม ๒๐
พุทธาทิบัณฑิต พิเคราะห์คิดพินิจปรา รภสรรเสริญสา ธุสมัครภาพผล ว่าอาจจะอวยผา สุกภาวมาดล ดีสู่ ณ หมู่ตน บ นิราศนิรันดร หมู่ใดผิสามัค คยพรรคสโมสร ไปปราศนิราศรอน คุณไร้ไฉนดล พร้อมเพรียงประเสริฐครัน เพราะฉะนั้นแหละบุคคล ผู้หวังเจริญตน ธุระเกี่ยวกะหมู่เขา พึงหมายสมัครเป็น มุขเป็นประธานเอา ธูรทั่ว ณ ตัวเรา บมิเห็นณฝ่ายเดียว ควรยกประโยชน์ยื่น นรอื่นก็แลเหลียว ดูบ้างและกลมเกลียว มิตรภาพผดุงครอง ยั้งทิฐิมานหย่อน ทมผ่อนผจงจอง อารีมิมีหมอง มนเมื่อจะทำใด ลาภผลสกลบรร ลุก็ปันก็แบ่งไป ตามน้อยและมากใจ สุจริตนิยมธรรม์ พึงมรรยาทยึด สุประพฤติสงวนพรรค์ รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี ดั่งนั้น ณ หมู่ใด ผิ บ ไร้สมัครมี พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน หวังเทอญมิต้องสง สยคงประสบพลัน ซึ่งสุขเกษมสันต์ หิตะกอบทวิการ ใครเล่าจะสามารถ มนอาจระรานหาญ หักล้าง บ แหลกลาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน ป่วยกล่าวอะไรฝูง นรสูงประเสริฐครัน ฤๅสรรพสัตว์อัน เฉพาะมีชีวีครอง แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอ มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ ณ หมู่ตน กิจใดจะขวายขวน บ มิพร้อมมิเพรียงกัน อย่าปรารถนาหวัง สุขทั้งเจริญอัน มวลมาอุบัติบรร ลุไฉน บ ได้มี ปวงทุกข์พิบัติสรร พภยันตรายกลี แม้ปราศนิยมปรี ติประสงค์ก็คงสม ๒๑
ควรชนประชุมเช่น คณะเป็นสมาคม สามัคคิปรารม ภนิพัทธรำพึง ผิวมีก็คำนึง ไป่มีก็ให้มี จะประสบสุขาลัยฯ เนื่องเพื่อภิยโยจึง ๒๒
วิเคราะห์คุณค่า ด้านเนื้อหา ๑.รูปแบบ ๑.๑ กวีเลือกฉันท์ชนิดต่าง ๆ มาสลับใช้กันอย่างเหมาะสมกับเนื้อเรื่อง ตัวอย่างเช่น ใช้วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ ซึ่งมีลีลานุ่มนวลมาแต่งบทชมต่างๆ เพื่อ พรรณนาภาพอันงดงาม สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร ใช้อีทิสังฉันท์ ๒๐ ซึ่งมีลีลากระแทกกระทั้นแสดงอารมณ์โกรธ เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึกบถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด ๑.๒ มีการเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะและสัมผัสสระได้ไพเราะ ตัวอย่างเช่น แตกร้าวกร้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม ทีละน้อยตาม ณ เหตุผล สัมผัสพยัญชนะ เช่น ป้าย-ปาม , สัมผัสสระ เช่น ร้าว-กร้าว ๑.๓ ใช้คำง่าย ๆ ในการดำเนินเรื่องทำให้ดำเนินเรื่องได้อย่างรวดเร็ว และสามารถอ่านเข้าใจได้ทันที ตัวอย่างเช่น ราชาลิจฉวี ไป่มีสักองค์ อันนึกจำนง เพื่อจักเสด็จไป ต่างองค์ดำรัส เรียกนัดทำไม ใครเป็นใหญ่ใคร กล้าหาญเห็นดี สามารถเข้าใจได้ทันทีว่าไม่มีกษัตริย์ลิจฉวีแม้แต่พระองค์เดียวคิดจะเสด็จไป แต่ละพระองค์ทรงดำรัสว่าจะเรียกประชุมด้วยเหตุใด ๒๓
๒.องค์ประกอบของเรื่อง ๒.๑ แก่นเรื่อง แก่นเรื่องหลัก คือโทษของการแตกความสามัคคีซึ่งนำหมู่คณะไปสู่ความ หายนะ แก่นเรื่องรอง คือการใช้สติปัญญาเอาชนะฝ่ายศัตรูโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ และการรู้จักเลือกใช้บุคคลให้เหมาะกับงานจะทำให้งานสำเร็จด้วยดี ตัวอย่างเช่น ผิ บ ไร้สมัครมี ดั่งนั้น ณ หมู่ใด รวิวาทระแวงกัน สยคงประสบพลัน พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี หิตะกอบทวิการ หวังเทอญมิต้องสง มนอาจระรานหาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน ซึ่งสุขเกษมสันต์ ใครเล่าจะสามารถ หักล้าง บ แหลกลาญ แยกพรรคสมรรคภิน ทนสิ้น บ ปรองดอง ขาดญาณพิจารณ์ตรอง ตริมลักประจักษ์เจือ รสเล่าก็ง่ายเหลือ เชื่ออรรถยุบลเอา คติโมหเป็นมูล เหตุหาก ธ มากเมือ ยนภาวอาดูร ยศศักดิเสื่อมนาม จึ่งดาลประการหา คุรุวัสสการพราหมณ์ เสียแดนไผทสูญ กลงำกระทำมา ควรชมนิยมจัด เป็นเอกอุบายงาม ควรชนประชุมเช่น คณะเป็นสมาคม สามัคคิปรารม ภนิพัทธรำพึง ผิวมีก็คำนึง ไป่มีก็ให้มี จะประสบสุขาลัยฯ เนื่องเพื่อภิยโยจึง ๒๔
๒.๒ โครงเรื่อง เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์พูดถึงเรื่องราวสมัยพุทธกาลโดยการใช้กล อุบายเพื่อทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีในแคว้นวัชซีแตกความสามัคคีกัน มี กษัตริย์พระองค์หนึ่งชื่อพระเจ้าอาชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ ทรงเชื่อและไว้ใจ คนสนิทซึ่งคือวัสสการพราหมณ์ และมีความคิดที่จะยึดแคว้นวัชชีที่เป็นของ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวี ทรงมอบหมายให้วัสสการพราหมณ์วางแผนคิดวิธีหา ทางที่จะยึดครองแคว้นวัชชี โดยให้พราหมณ์เป็นผู้ถูกลงโทษและถูกเนรเทศ ออกจากเมือง แล้วจากกนั้นก็ทำให้เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีไว้ใจได้เป็นครูสอน ศิลปวิทยาแก่ราชกุมารทั้งหลาย ได้โอกาสทำลายความสามัคคีของกษัตริย์ ลิจฉวี แล้วนำทัพเข้าบุกยึดครองแคว้นวัชชีได้สำเร็จ ๒.๓ ตัวละคร พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงมีพระเมตตาต่อพสกนิกรของพระองค์ ดังฉันท์ที่ว่า แว่นแคว้นมคธนครรา- ชคฤห์ฐานบูรี สืบราชวัตวิธทวี ทศธรรมจรรยา เลื่องหล้ามหาอุตตมลาภ คุณภาพพระเมตตา แผ่เพียงชนกกรุณอา ทรบุตรธิดาตน ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง ทำให้ประชาชนมีความสุขสงบ เช่น หอรบจะรับริปุผิรอ รณท้อหทัยหมาย มุ่งยุทธย่อมชิวมลาย และประลาตมิอาจทน พร้อมพรั่งสะพรึบพหลรณ พยุห์พลทหารชาญ อำมาตย์และราชบริวาร วุฒิเสวกากร เนืองแน่นขนัดอัศวพา หนชาติกุญชร ชาญศึกสมรรถสุรสมร ชยเพิกริปูภินท์ กลางวันอนันตคณนา นรคลาคละไลเนือง กลางคืนมหุสสวะประเทือง ดุริยศัพทดีดสี บรรสานผสมสรนินาท พิณพาทย์และเภรี แซ่โสตสดับเสนาะฤดี อุระล้ำระเริงใจ ๒๕
ทรงมีพระราชดำริจะแผ่พระบรมเดชานุภาพ โดยจะกรีธาทัพไปตีแคว้นวัชชี ดังนี้ สมัยหนึ่งจึ่งผู้ภูมิบาล ทรงจินตนาการ จะแผ่อำนาจอาณา ให้ราบปราบเพื่อเกื้อปรา- กฎไผทไพศา ลรัฐจังหวัดวัชชี ทรงมีความรอบคอบเมื่อทรงทราบว่าคณะกษัตริย์ลิจฉวียึดมั่นใน สามัคคีธรรมจึงทรงมีพระราชดำริว่า ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตาม กำลังก็หนักนักหนา จำจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา อุบายทำลายมูลความ วัสสการพราหมณ์ วัสสการพราหมณ์เป็นปุโรหิตแห่งแคว้นมคธ เป็นผู้เฉลียวฉลาดและ รอบรู้ศิลปศาสตร์ ดังคำประพันธ์ที่ว่า อันอัครปุโรหิตาจารย์ พราหมณ์นามวัสสการ ฉลาดเฉลียวเชี่ยวชิน กลเวทโกวิทจิตจินต์ สำแดงแจ้งศิล ปศาสตร์ก็จบสบสรรพ์ ๒๖
รักชาติบ้านเมือง ยอมเสียสละเพื่อประเทศชาติ ดังฉันท์ที่ว่า ไป่เห็นกะเจ็บแสบ ชิวแทบจะทำลาย มอบสัตย์สมรรถหมาย มนมั่นมิหวั่นไหว หวังแผนเพื่อแผ่นดิน ผิถวิลสะดวกใด เกื้อกิจสฤษฎ์ไป บมิเลี่ยงละเบี่ยงเบือน จงรักภักดีต่อพระเจ้าอชาตศัตรูดังฉันท์ที่พรรณนาไว้ตอนวัสสการ พราหมณ์ต้องโทษ ดังนี้ โดยเต็มกตัญญู กตเวทิตาครัน ใหญ่ยิ่งและยากอัน นรอื่นจะอาจทน หยั่งชอบนิยมเชื่อ สละเนื้อและเลือดตน ยอมรับทุเรศผล ขรการณ์พะพานกาย เฉลียวฉลาด มีไหวพริบและรอบคอบในการดำเนินกลอุบายด้วยความ เฉียบแหลมลึกซึ้ง มาคธไผทรฐนิกร พลอ่อนบชำนาญ ทั้งสิ้นจะสู้สมรราญ ริปุนั้นไฉนไหว ดั่งอินทโคปกะผวา มุหฝ่าณกองไฟ หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน จะมิน่าชิวาลาญ มีความรอบคอบแม้ว่าวัสสการพราหมณ์จะรู้ชัดว่าบรรดากษัตริย์ลิจฉวี แตกความสามัคคีกันแล้วแต่ด้วยความรอบคอบก็ลองตีกลองเรียกประชุม บรรดากษัตริย์ลิจฉวีก็ไม่เสด็จมาประชุมกันเลย วัชชีภูมีผอง สดับกลองกระหึมขาน ทุกไท้ไป่เอาภาร ณกิจเพื่อเสด็จไป ต่างทรงรับสั่งว่า จะเรียกหาประชุมไย เราใช่คนใหญ่ใจ ก็ขลาดกลัวบกล้าหาญ ความเพียร วัสสการพราหมณ์ใช้เวลา ๓ ปี ในการดำเนินการเพื่อให้ เหล่ากษัตริย์ลิจฉวีแตกสามัคคีกันซึ่งนับว่าต้องใช้ความเพียรอย่างมาก ครั้นล่วงสามปีประมาณมา สหกรณประดา ลิจฉวีรา ชทั้งหลาย สามัคคีธรรมทำลาย มิตรภิทนะกระจาย สรรพเสื่อมหายน์ ก็เป็นไป ๒๗
กษัตริย์ลิจฉวี กษัตริย์ลิจฉวีทรงยึดมั่นในอปริหานิยธรรม ขาดวิจารณญาณ ทรงเชื่อพระโอรสของพระองค์ที่ทูลเรื่องราวซึ่งวัสสการ พราหมณ์ยุแหย่โดยไม่ทรงพิจารณา เช่น ต่างองค์นำความมิงามทูล พระชนกอดิศูร แห่ง ธ โดยมูล ปวัตติ์ความ แตกร้าวก้าวร้ายก็ป้ายปาม ลุวรบิดรลาม ทีละน้อยตาม ณเหตุผล ทิฐิเกินเหตุ แม้เมื่อบ้านเมืองกำลังจะถูกศัตรูรุกราน เช่น ศัพทอุโฆษ ประลุโสตท้าว ลิจฉวีด้าว ขณะทรงฟัง ต่างธก็เฉย และละเลยดัง ไท้มิอินัง ธุระกับใคร ๒.๔ ฉาก เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เป็นเรื่องที่เรารับมาจากอินเดีย กวีจึง พยายามพรรณนาฉากให้บรรยากาศของเรื่องเป็นประเทศอินเดียในสมัย พระเจ้าอชาตศัตรู แต่กวีเป็นคนไทยดังนั้นฉากจึงมีความเป็นไทยแทรกอยู่ บ้าง เช่น การพรรณนาชมบ้านเมือง อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสวโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์ มารังสฤษฎ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย ๒๘
๒.๕ กลวิธีในการแต่ง เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์ดำเนินเรื่องไปตามลำดับไม่สับสนทำให้ผู้อ่าน เข้าใจตลอดทั้งเรื่องเลือกสรรความได้อย่างกระชับไม่เยิ่นเย้อทำให้ดำเนิน เรื่องได้รวดเร็ว เช่น ตอนที่วัสสการพราหมณ์ถูกลงพระราชอาญาแล้ว เนรเทศจากแคว้นมคธมีการบทคร่ำครวญพอสมควรเท่านั้น นอกจากนี้วรรณคดีประเภทฉันท์นั้นกวีจะต้องเลือกใช้ฉันท์ให้เหมาะสม กับความเพราะฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาและให้อารมณ์ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ไป ซึ่งผู้แต่งก็เลือกใช้ฉันท์ได้อย่างเหมาะสม เช่น สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ ลีลาท่วงทำนองเคร่งขรึม ใช้ในบทประณามพจน์ วสันตดิลกฉันท์ ลีลาจังหวะสละสลวย ใช้พรรณนาชมบ้านเมือง อิทิสังฉันท์ ลีลากระแทกกระทั้น ใช้ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ว จิตรปทาฉันท์ ลีลาคึกคัก เร่งเร้า กระชั้น ใช้แสดงความตกใจเมื่อศึก มาประชิด อินทรวิเชียรฉันท์ ลีลาสละสลวย ใช้ตอนวัสสการพราหมณ์ถูกเนรเทศ มาณวกฉันท์ ลีลาเร่งเร้าผาดโผน ใช้ตอนวัสสการพราหมณ์ยุพระกุมาร โตฎกฉันท์ ลีลากระชั้น คึกคัก ใช้ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูยกทัพ ๒๙
ด้านวรรณศิลป์ ๑.การเลือกสรรคำ ๑.๑ การใช้คำที่มีเสียงเสนาะ เสียงเสนาะเกิดจากการใช้คำเลียนเสียง ธรรมชาติ มีการย้ำคำ ใช้คำที่ก่อให้เกิดความรู้สึก เช่น ตอนชมกระบวนช้าง แพร้วแพร้วพรายพรายข่ายกรอง ก่องสกาวดาวทอง ทั้งพู่สุพรรณสรรถกล คำ แพร้วแพร้ว และพรายพราย ก่อให้เกิดความรู้สึกในด้านความโอ่อ่า งดงาม ๑.๒ ใช้คำที่ก่อให้เกิดจินตภาพด้านแสง เช่น ตอนพรรณนากองทัพของ พระเจ้าอชาตศัตรู แรงหัตถ์กวัดแกว่งซึ่งสรรพ์ ศัสตราวุธอัน วะวาบวะวาวขาวคม ๑.๓ การหลากคำ กวีจำเป็นต้องรู้จักคำมากเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำ กัน ทำให้ผู้อ่านเห็นความเป็นอัจฉริยะของกวี เช่น ขุนคอคชคุมกุมอัง กุสกรายท้ายยัง ขุนควาญประจำดำรี ขุนคชขึ้นคชชินชาญ คุมพลคชสาร ละตัวกำแหงแข็งขัน” คำว่า คช ดำรีและคชสาร หมายถึงช้างทั้งสิ้น ๑.๔ การเพิ่มสัมผัสพยัญชนะ คำประพันธ์ไทยนิยมสัมผัสมากแม้ว่าฉันท์ จะเป็นคำประพันธ์ที่ไทยรับมาจากอินเดียซึ่งแต่เดิมไม่มีสัมผัส การเพิ่มสัมผัส นอกเข้าไปเพื่อให้ไพเราะยิ่งขึ้น ใครเล่าจะสามารถ มนอาจระรานหาญ หักล้าง บ แหลกลาญ ก็เพราะพร้อมเพราะเพรียงกัน ๓๐
๑.๕ ใช้คำง่าย ๆ ในบางตอน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจได้ไม่ยากนัก เช่น ตอน วัสสการพราหมณ์เข้าเมืองเวสาลีซึ่งเป็นเมืองหลวงของแคว้นวัชชี ผูกไมตรีจิต เชิงชิดชอบเชื่อง กับหมู่ชาวเมือง ฉันท์อัชฌาสัย เล่าเรื่องเคืองขุ่น ว้าวุ่นวายใจ จำเป็นมาใน ด้าวต่างแดนตน สามารถเข้าใจได้ว่าวัสสการพราหมณ์เข้าไปผูกมิตรกับชาวเมืองด้วย อัธยาศัยอันดี แล้วเล่าเรื่องราวแต่หนหลัง ๑.๖ ใช้คำที่มีความหมายกระชับ ผู้อ่านอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีโดยไม่ต้อง ใช้ถ้อยคำอื่นมาขยายความอีกเลย เช่น แรมทางกลางเถื่อน ห่างเพื่อนหาผู้ หนึ่งใดนึกดู เห็นใครไป่มี ผู้อ่านสามารถเข้าใจได้ทันทีว่าวัสสการพราหมณ์เดินทางอย่างเดียวดาย ๑.๗ ใช้คำอัพภาส บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว แรงหัตถ์กวัดแกว่งซึ่งสรรพ์ ศัสตราวุธอัน วะวาบวะวาวขาวคม ๑.๘ การเล่นเสียงวรรณยุกต์ ลำดับโดยหมู่ แน่นเนืองเนื่องนับ ไปข้างสงสัย ยากหยั่งยังปน ๑.๙ การเล่นคำล้อ โดยใช้คำที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันมาล้อกัน เคยเศิกเข้าศึกฮึกครัน เสียงเพรียกเรียกมัน คำรนประดุจเดือดดาล ๓๑
สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ… แผ่เกี่ยวผกาบุษปวัล ลิและวางระหว่างเนือง หนักข้างระคางอยู่ บมิรู้จะรับจะรอง ภายหลังก็ตั้งตรอง ตริฤเว้นระวังระแวง คัณนาอเนกคณะอนงค์ ศิริทรงเจริญูใจ สรรพางคะพรรณพิศะประไพ กละพิมพอับศร กษัตริย์ลิจฉวีวาร ระวังเหือดระแวงหาย หากเห็นแยบคาย ผิแยกแผกยล ห้อมมั่นมหันต์อริจะราญ ก็ระย่อและท้อหนี จักยาตร์พยู่ห์พหลยุท ธะประทุษฐะย่ำยี นาคราภิบาลสภาบดี จะรอไย และราชบุรุษแน่ะเฮ้ยจะรี อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม เพดานก็ดารกะประกาย ระกะดาษประดิษฐ์ดี ๓๒
๑.๑๐ การเล่นคำซ้อน การนำศัพท์มาใช้เพื่อเน้นย้ำความ และในกรณี ที่ต้องแยกคำใช้ต่างวรรค การใช้คำซ้อนจะช่วยให้ฟังไม่ขัดหูและทำให้เนื้อ ความต่อเนื่องกัน ตกลงและทรงนัด แนะกะวัสสการครู ขุ่นมนเคือง เรืองนฤสาร เช่นกะกุมาร ก่อนก็ระดม เลิกสละแยก แตกคณะกลม เกลียวบนิยม คบดุจเดิม ๑.๑๑ การเล่นคำซ้ำ ใช้คำที่รูปเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน เป็นการซ้ำคำคำเดียวกันเพื่อเน้นย้ำหรือแสดงรายละเอียด หรือเป็นการ เล่นคำให้เกิดความไพเราะ พวกลิจฉวีขัด ติยรัฐวัชชี ละองค์ละองค์มี มิตรพันธมั่นคง บางคนกลมอ่อน อุระข้อนพิไรพรรณน์ บางพวกพิสัยฉัน กุธเกลียดก็เสียดสี พิเคราะห์ข้างพิจารณ์ดี บางเหล่าก็เป็นกลาง ณหทัยก็ให้ของ บางหมู่กรุณมี ไว้ปากไว้วากย์วาที ไว้วงศ์กวี ไว้เกียรติและไว้นามกร คือพิทยาภรณ์ ไว้เฉลิมเสริมศรีพระนคร พิเศษประดับสรรพงาม ๑.๑๒ การเล่นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เป็นการช่วยอธิบายความ ให้ชัดเจนขึ้น และ เสริมความให้หนักแน่นขึ้นด้วย หากหักจักได้ชัยเชวง ฤาแพ้เเลเลง พะว้าพะวังลังเล ด้วยเหตุพระองค์ทรงเสา วนศัพท์สำเนา ระเบ็งระบือลือชา ๓๓
๑.๑๓ การสร้างคำครุลหุด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในการแต่ง ฉันท์ ๑.๑๓.๑ การเลือกใช้รูปคำ เช่น ใช้คำบาลี เพื่อให้เหมาะสมกับ แผนผังบังคับครุลหุ และเกิดความไพเราะ เช่น … บางพวกพิสัยฉัน กุธเกลียดก็เสียดสี … กลางคืนมหุสสวะประเทือง ดุริย์ศัพทดีดสี ผิวจะวิรุธแคลงใน ราชหฤทัยไท… ๑.๑๓.๒ การใช้คำสมาสสนธิเพื่อให้เหมาะสมกับแผนผังบังคับคำ ครุลหุ เช่น ยินดีบัดนี้กิจ จะสัมฤทธิ์มนารมณ์ ๑.๑๔ การใช้คำธรรมดา เป็นคำที่เข้าใจง่ายและงดงาม ซึ่งมักปรากฏ ในบทสนทนาและการดำเนินเรื่องมีการใช้ภาษาพูดหรือคำเลียนเสียงพูดด้วย อย่าติและหลู่ ครูจะเฉลย เธอน่ะเสวย ภัตกะอะไร ในทินนี่ ดี ฤ ไฉน พอหฤทัย ยิ่งละกระมัง และบ้างก็พูดว่า น่ะแน่ะข้าสดับตาม ยุบลระบิลความ พจแจ้งกระจายมา ก็เพราะท่านสิแสนสา ละเมิดติเตียนท่าน วและสุดจะขัดสน ระพัดทลิภา พิเคราะห์เชื่อเพราะยากยล ธก็ควรขยายความ จะแน่มิแน่เหลือ น่ะแน่ะข้าจะขอถาม ณ ที่บ่มีคน วจลือระบือมา ก็เพราะท่านสิแสนสา และบ้างก็กล่าวว่า ยพิลึกประหลาดเป็น เพราะทราบคดีตาม มนเชื่อเพราะไป่เห็น ธก็ควรขยายความ ติฉินเยาะหมิ่นท่าน รพันพิกลกา จะจริงมิจริงเหลือ ผิข้อบลำเค็ญ ๓๔
๑.๑๕ การใช้คำได้เหมาะสมตามเนื้อหา เลือกใช้ถ่ายทอดตาม อารมณ์ในตอนนั้นๆ โดยตอนใดเกี่ยวกับความโศกเศร้า น่าสงสาร จะเลือก ใช้คำที่ถ่ายทอดเสียงได้ เป็นต้น สะพรึบสะพรั่ง ณ หน้าและหลัง ณ ซ้ายและขวาละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตราประมวลกะมา สิมากประมาณ อันข้าพระองค์กษณะนี้ ภยมีจะร้อนใด ยิ่งกว่าและหามนุษย์ไหน จะเสมอเสมือนตน ใคร่เปลื้องประเทืองประณุททุกข์ ภยมุขประมวลดล ไร้ญาติและขาดมิตรสกล ชนผู้จะดูดาย โดยเดียวเพราะอาดุรณแด และก็แก่ชรากาย ที่ซึ่งจะพึงสรณะหมาย อนุสรบห่อนเห็น ทราบข่าวขจรกิรติบา รมิว่าพระองค์เป็น เอกอัครกษัตริย์สุขุมเพ็ญ กรุณามหาศาล หวังพึ่งพะพิงบพิตรพึ่ง อภิโพธิสมภาร มอบกายถวายชีวิตปราณ นิจกาลปรารมภ์ ๓๕
๒.โวหารภาพพจน์ ๒.๑ อุปมา วัสสการพราหมณ์เปรียบน้ำพระราชหฤทัยกษัตริย์ลิจฉวี เมตตาทยาลุศุภกรรม อุปถัมภการุณย์ สรรเสริญเจริญพระคุณสุน ทรพูนพิบูลงาม เปรียบปานมหรรณพนที ทะนุที่ประทังความ ร้อนกายกระหายอุทกยาม นรหากประสบเห็น เอิบอิ่มกระหยิ่มหทยคราว ระอุผ่าวก็ผ่อนเย็น ยังอุณหมุญจนะและเป็น สุขปีติดีใจ เปรียบความงามของหางหงส์ประดิษฐ์ บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย รอบด้านตระหง่านจตุรมุข พิศสุกอร่ามใส กาญจน์แกมมณีกนกไพ ฑุรย์พร่างพะแพรว ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูทรงเปรียบเทียบการแตกสามัคคีของกษัตริย์ลิจฉวี ว่า ลูกข่างประดาทา รกกาลขว้างไป หมุนเล่นสนุกไฉน ดุจกันฉะนั้นหนอ ๒.๒ อุปลักษณ์ ตอนวัสสการพราหมณ์กล่าวเปรียบเทียบทหารของแคว้นวัชชีกับทหารของ แคว้นมคธ ว่า หิ่งห้อยสิแข่งสุริยะไหน จะมิน่าชิวาลาญ ผู้อ่านย่อมจะเข้าใจได้ว่าหิ่งห้อยนั้นหมายถึงกองทัพมคธ ส่วนสุริยะนั้น หมายถึงกองทัพวัชชี ๒.๓ บุคคลวัต สมมติให้ช่อฟ้าแสดงกิริยาอาการเย้ยท้องฟ้า และหางหงส์แสดงกิริยาอาการ กวักท้องฟ้า ช่อฟ้าตระการกละจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศุภจรูญ นพศลประภัศร หางหงส์ผจงพิจิตระงอน ดุจะกวักนภาลัย ๓๖
๒.๔ อติพจน์ เป็นการกล่าวผิดไปจากที่เป็นจริง เช่น ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย หลบลี้หนีตาย วุ่นหวั่นพรั่นใจ ซุกครอกซอกครัว ซ่อนตัวแตกภัย เข้าดงพงไพร ทิ้งย่านบ้านตน บทประพันธ์ดังกล่าวมาจากตอน พรเจ้าอชาตศัตรูยกทัพมาตีแคว้นวัชชี โดยผู้ประพันธ์ได้ใช้การกล่าวเกิน ความจริงซึ่งก็คืออาการตื่นตระหนกใจ โดยในสองวรรคแรก \"ตื่นตาหน้าเผือด หมดเลือดสั่นกาย\" แสดงให้เห็นว่า ชาววัชชีตื่นตกใจกับการรุกรานของพระเช้าศัตรูเป็นอย่างมากจนหน้าซีด เหมือนเลือดหมดตัว ๒.๕ นามนัย เป็นการใช้ชื่อส่วนประกอบที่เด่นของสิ่งหนึ่งแทนสิ่งนั้นๆ ทั้งหมด แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอ มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน เหล่าไหนผิไมตรี สละลี้ณหมู่ตน กิจใดจะขวายขวน บมิพร้อมมิเพรียงกัน ในประโยคที่ว่า \"แม้มากผิกิ่งไม้ ผิวใครจะใคร่ลอง มัดกำกระนั้นปอง พลหักก็เต็มทน\" โดยธรรมชาติแล้ว กิ่งไม้กิ่งเดียวสามารถหักได้ด้วยมือเปล่า ในทางกลับกันกิ่งไม้ที่ถูมัดเป็นกำ ต่อให้ใช้พลกำลังมหาศาลก็ไม่สามารถ หักมันได้ แสดงให้เห็นว่านายชิต บุรทัตใช้ลักษณะเด่นของกำของกิ่งไม้ซึ่งก็ คือ สามารถแตกหักได้ยากเพื่อแทน ความสามัคคีและเป็นหนึ่งเดียวกันในหมู่ คณะ และในภาพรวมนามนัยนี้แปลได้ความว่า เมื่อผู้ร่วมมือกัน จะก่อเกิด เป็น ความสามัคคีที่ปัญหาหรือแรงภายนอกก็ไม่สารถที่จะทำลายความสามัคคีนี้ ลงได้ ๓๗
๓.รสทางวรรณคดี ๓.๑ เสาวรจนี (รสแห่งความเพลิดเพลิน) ตอนบรรยายความงดงามของปราสาทราชมณเทียรของเมืองราชคฤห์ อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์ มารังสฤษฎ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาศศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย ๓.๒ นารีปราโมทย์ (รสแห่งความพิศวาส) เนื้อเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์เน้นเรื่องความรักในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และความสามัคคีในหมู่คณะเป็นสำคัญ จึงไม่มีรสวรรณคดี นารีปราโมทย์ ๓.๓ พิโรธวาทัง (รสแห่งความพิโรธ) ตอนพระเจ้าอชาตศัตรูกริ้ววัสสการพราหมณ์ที่บังอาจแสดงความคิดเห็นโต้ แย้งเรื่องการรุกรานแคว้นวัชชี ผันพระกายกระทืบพระบาทและอึง พระศัพทสีหนาทพึง สยองภัย เอออุเหม่นะมึงชิช่างกระไร ทุทาสสถุลฉะนี้ไฉน ก็มาเป็น ศึกบ่ถึงและมึงก็ยังมิเห็น จะน้อยจะมากจะยากจะเย็น ประการใด อวดฉลาดและคาดแถลงเพราะใจ ขยาดขยั้นมิทันอะไร ก็หมิ่นกู กลกะกากะหวาดขมังธนู บห่อนจะเห็นธวัชริปู สิล่าถอย พ่ายเพราะภัยพะตัวและกลัวจะพลอย พินาศชิพิตประดิษฐ์ประดอย ประเด็นขัด ๓๘
๓.๔ สัลลาปังคพิสัย (รสแห่งความโศกเศร้า) ตอนวัสสการพราหมณ์ถูกลงอาญา แลหลังละลามโล หิตโอ้เลอะหลั่งไป เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย เนื่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย เฆี่ยนครบสยบกาย สิรพับพะกับคา หมู่ญาติอมาตย์มิต รสนิทและเสนา สังเวชณเหตุสา หสล้วนสลดใจ สุดที่จะกลั้นโท มนโศกอาลัย ๓.๕ ภยานกรส (รสแห่งความกลัว ตื่นเต้นตกใจ) พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว ๓๙
๔.โวหาร ๔.๑ บรรยายโวหาร ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตาม กำลังก็หนักนักหนา จำจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา อุบายทำลายมูลความ ศึกครั้งนี้เป็นศึกใหญ่หากจะเอาชนะด้วยกำลังคงจะเป็นการยาก จะ ต้องเอาชนะด้วยปัญญา รั้งรอไว้ก่อนเพื่อหากลอุบายทำลายความสามัคคีที่ มีมาแต่ก่อน ๔.๒ พรรณนาโวหาร ครั้นทรงดำริตริไป กลับยั้งหยั่งใน มนัสมิแน่แปรเกรง หากหักจักได้ชัยเชวง ฤาแพ้แลเลง พะว้าพะวังลังเล แต่เมื่อคิดทบทวนแล้วกลับหยุดยั้งความคิด ด้วยเกรงความไม่แน่นอน หากได้ชัยชนะก็เป็นที่เลื่องลือ แต่ถ้าพ่ายแพ้ก็จะถูกดูแคลนทำให้พระองค์ ทรง ลังเลพระราชหฤทัย ๔.๓ เทศนาโวหาร สี่. ใครเป็นใหญ่ได้แจง โอวาทศาสน์แสดง ก็ยอมและน้อมบูชา ห้า. นั้นอันบุตรภริยา แห่งใครไป่ปรา รภประทุษข่มเหง ข้อสี่เชื่อฟังและปฏิบัติตามโอวาทผู้ใหญ่ , ข้อห้าไม่ล่วงเกินบุตรภรรยาผู้ อื่น ๔.๔ อุปมาโวหาร เป็นมหาอำมาตย์ราชวัล ลภใครไป่ทัน ไป่เทียมไป่เทียบเปรียบปาน สมัยหนึ่งจึ่งพระภูมิบาล ทรงจินตนาการ จะแผ่อำนาจอาณา เป็นข้าราชการผู้ใหญ่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินโดยไม่มีผู้ใดเสมอเหมือน ครั้งหนึ่งพระมหากษัตริย์ทรงคิดจะขยายอาณาเขต ๔๐
ด้านสังคม ๑.สะท้อนวัฒนธรรมของคนในสังคม สะท้อนภาพการปกครองโดยระบอบสามัคคีธรรม เน้นโทษของการ แตกความสามัคคีในหมู่คณะ และเน้นถึงหลักธรรมอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ส่งผลให้เกิดความเจริญของหมู่คณะ ปราศจาก ความเสื่อมได้แก่ ไม่เบื่อหน่ายการประชุม เมื่อมีภารกิจก็ประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อช่วย กันคิดหาทางแก้ไขปัญหา เข้าประชุมพร้อมกัน เลิกประชุมพร้อมกัน ร่วมกันประกอบกิจอันควร กระทำ (มีความสามัคคีกัน) ยึดมั่นในจารีตประเพณีอันดีงาม และประพฤติดีปฏิบัติตามสิ่งที่บัญญัติ ไว้ เคารพนับถือผู้ใหญ่การเคารพและรับฟังคำสั่งสอนของผู้ใหญ่ถือว่าเป็น สิ่งที่ดี บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่โดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ เคารพสักการบูชาเจดีย์ต่างๆของชาววัชชีทั้งหลายทั้งภายในและ ภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป หลักจธัดรรใหม้คอวปาริมหอาานิรยักธขรารคมุ้ม๗ครปอรงะปก้อารงกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ หนึ่ง เมื่อมีราชกิจใด ปรึกษากันไป บ่วายบ่หน่ายชุมนุม สอง ย่อมพร้อมเลิกพร้อมประชุม พร้อมพรักพรรคคุม ประกอบ ณ กิจควรทำ สาม นั้นยึดมั่นในสัม มาจารีตจำ ประพฤติมิตัดดัดแปลง สี่ ใครเป็นใหญ่ได้แจง โอวาทศาสน์แสดง ก็ยอมและน้อมบูชา ห้า นั้นอันบุตรภริยา แห่งใครไป่ปรา รภประทุษข่มเหง หก ที่เจดีย์คนเกรง มิย่ำยำเยง ก็เซ่นก็สรวงบวงพลี เจ็ด พระอรหันต์อันมี ในรัฐวัชชี ก็คุ้มก็ครองป้องกัน ๔๑
สะท้อนภาพการพิพากษาคดีและการลงโทษในสมัยนั้น มีการโบย การโกนผมประจาน และการประกาศขับไล่ตามพระราชโองการ (เนรเทศ) ตัวอย่างเช่น พวกราชมัลโดย พลโบยมิใช่เบา สุดหัตถแห่งเขา ขณะหวดสิพึงกลัว บงเนื้อก็เนื้อเต้น พิศเส้นสรีร์รัว ทั่วร่างและทั้งตัว ก็ระริกระริวไหว แลหลังละลามโล หิตโอ้เลอะหลั่งไป เพ่งผาดอนาถใจ ระกะร่อยเพราะรอยหวาย เนื่องนับอเนกแนว ระยะแถวตลอดลาย เฆี่ยนครบสยบกาย สิรพับพะกับคา หมู่ญาติอมาตย์มิต รสนิทและเสนา สังเวชณเหตุสา หสล้วนสลดใจ สุดที่จะกลั้นโท มนโศกอาลัย ถ้วนหน้ามิว่าใคร ขณะเห็นบเว้นคน แก้ไขและได้คืน สติฟื้ นประทังตน จึ่งราชบุรุษกล บกกรก็โกนหัว ๔๒
แสดงให้เห็นสภาพแวดล้อม ความงาม สถาปัตยกรรมของเมืองนคธ ซึ่งได้บรรยายไว้อย่างสวยงาม เช่น บทชมเมืองราชคฤห์ในแคว้นมธรของ พระเจ้าอชาตศัตรู อำพลพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา นมหาพิมานรมย์ มารังสฤษฏ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน สามยอดตลอดระยะระยับ วะวะวับสลับพรรณ ช่อฟ้าตระการกลจะหยัน จะเยาะยั่วทิฆัมพร บราลีพิลาสศุภจรูญ นภศูลประภัสสร หางหงส์ผจงพิจิตรงอน ดุจกวักนภาลัย รอบด้านตระหง่านจัตุรมุข พิศสุกอร่ามใส กาญจน์แกมมณีกนกไพ ฑุรย์พร่างพะแพรวพราย บานบัฏพระบัญชรสลัก ฉลุลักษณ์เฉลาลาย เพดานก็ดารกะประกาย ระกะดาษประดิษฐ์ดี เพ่งภาพตลอดตะละผนัง ก็มลังเมลืองศรี มองเห็นสิเด่นประดุจมี ชิวแม่นกมลครอง ๔๓
แสดงให้เห็นถึงการทำสงคราม การสร้างกำแพงเมืองเพื่อป้องการ ข้าศึกและชีวิตความเป็นอยู่ในช่วงการทำศึกสงคราม โดยรอบมหานครเล่ห์ กะสิเนรุปราการ ห้อมมั่นมหันต์อริจะราญ ก็ระย่อและท้อหนี แถวถัมภโดรณสล้าง ระยะนางจรัลมี ชลคูประตูวรบุรี ณ ระหว่างพระพารา เรียงป้อมและปักธุชระราย พิศค่ายก็แน่นหนา เสาธงสถิตธวชมา รุตโบกสะบัดปลาย หอรบจะรับริปุผิรอ รณท้อหทัยหมาย มุ่งยุทธย่อมชิวมลาย และประลาตมิอาจทาน พร้อมพรั่งสะพรึบพหลรณ พยุห์พลทหารหาญ อำมาตย์และราชบริวาร วุฒิเสวกากร เนืองแน่นขนัดอัศวพา หนชาติกุญชร ชาญศึกสมรรถสุรสมร ชยเพิกริปูภินท์ ความสุขก็แสนบรมสุข และสนุกสนานยิน ยลในไผทระบุบุริน ทรรัตน์จรูญเรือง กลางวันอนันตคณนา นรคลาคละไลเนือง กลางคืนมหุสสวะประเทือง ดุริย์ศัพทดีดสี บรรสานผสมสรนินาท พิณพาทย์และเภรี แซ่โสตสดับเสนาะฤดี อุระล้ำละเลิงใจ เมืองท้าวสิเทียบทิพเสมอ ภพเลอสุราลัย เมืองท้าวแหละสมบุรณไพ บุลมวลประการมาน ฯ ๔๔
๒.แสดงให้เห็นถึงโทษของการแตกความสามัคคีในหมู่คณะ ถ้าไม่สามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ก็จะนำบ้านเมืองไปสู่ความหายนะได้ (ฝ่ายตรงข้ามสามารถใช้จุดอ่อนในเรื่องนี้เพื่อโจมตีได้ง่าย) ตัวอย่างเช่น พึงมรรยาทยึด สุประพฤติสงวนพรรค์ รื้อริษยาอัน อุปเฉทไมตรี ดั่งนั้น ณ หมู่ใด ผิ บ ไร้สมัครมี พร้อมเพรียงนิพัทธ์นี รวิวาทระแวงกัน ๓.เน้นการใช้สติปัญญาไตร่ตรองในการแก้ไขปัญหามากกว่าการใช้กำลัง ตัวอย่างเช่น ศึกใหญ่ใคร่จะพยายาม รบเร้าเอาตาม กำลังก็หนักนักหนา จำจักหักด้วยปัญญา รอก่อนผ่อนหา อุบายทำลายมูลความ ๔.สอนให้มีความสามัคคี คณะเป็นสมาคม ตัวอย่างเช่น ภนิพัทธรำพึง ผิวมีก็คำนึง ควรชนประชุมเช่น จะประสบสุขาลัยฯ สามัคคิปรารม ไป่มีก็ให้มี เนื่องเพื่อภิยโยจึง ๔๕
บรรณานุกรม เรื่องน่ารู้จากสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://campus.campus-star.com/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕). สามัคคีเภทคำฉันท์ วรรณกรรมชิ้นเอกของชิต บุรทัต. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://so06.tci-thaijo.org/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕). แนะนำวรรณคดีน่าอ่าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.kroobannok.com/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๒ กรกฎาคม ๒๕๖๕). สามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://sites.google.com/site/faiitanradee19/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๕). สามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mebmarket.com/index.php. (วันที่ค้นข้อมูล : ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๖๕). วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี เรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.thaischool.in.th/workteacher. (วันที่ค้นข้อมูล : ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕). คุณค่าด้านวรรณศิลป์ในสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๓ สิงหาคม ๒๕๖๕). ที่มาของเรื่องสามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.gotoknow.org/posts/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๔ สิงหาคม ๒๕๖๕). สามัคคีเภทคำฉันท์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://rak-pooh.wixsite.com/naritsara/. (วันที่ค้นข้อมูล : ๕ สิงหาคม ๒๕๖๕). ๔๖
Search