Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ 4s Model 2

แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ 4s Model 2

Published by Krubas7486, 2020-09-03 05:19:29

Description: แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ 4s Model 2

Search

Read the Text Version

ดร.สุรภี วงค์ไพบลู ย์

โรงเรียนวิชชานารี เป็นโรงเรียนเอกชน ของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย สังกัดสำนักงาน ศึกษาธิการจังหวัดลำปาง เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีความสำคัญของจังหวัดและประเทศคือ เป็นหน่วยงาน ที่จัดภารกิจที่สำคัญด้านการศึกษาให้กุลบุตร กุลธิดา ได้มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะชีวิต นับได้ว่ามีการ จัดการศึกษาขั้นพ้ืนฐานอย่างทัว่ ถึงและมีคุณภาพ ตามเป้าหมายของพระราชบญั ญตั ิการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ แกไ้ ขเพม่ิ เตมิ (ฉบบั ที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ แก้ไขเพิม่ เตมิ (ฉบบั ท่ี ๓) พ.ศ. ๒๕๕๓ และพระราชบัญญัตกิ ารศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒ และตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนวิชชานารี เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ถึงแม้ว่าจะเป็นโรงเรียนขนาดเล็กก็ยังพบว่ามีปัญหาในด้านการบริหารจัดการอยู่หลายส่วน เช่น การมสี ่วนร่วมการทำงาน การส่อื สาร การแสดงความคิดเห็น ความเปน็ น้ำหนึ่งใจเดยี วกัน ความรบั ผดิ ชอบ และ การมีปฏิสัมพนั ธท์ ่ีดตี ่อเพื่อนร่วมงานโรงเรียนได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของการพัฒนาทางการศึกษา จึงมีความใส่ใจ ต่อการแก้ปัญหา โดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรที่เก่ียวข้องในโรงเรียน พยายามหาแนวทาง รูปแบบ เทคนิค วิธีการ หรอื กระบวนการต่างๆ เพอ่ื นำมาใช้แกป้ ัญหาในโรงเรียน ให้สามารถบริหารจดั การและจดั การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากรและผู้เรียนให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดบริการทางการศึกษา ดังนั้นหลักการ บริหารงานหรอื วธิ ปี ฏิบตั ทิ ่ีเปน็ เลิศของโรงเรียนวชิ ชานารี มคี วามน่าสนใจ และคาดวา่ เมือ่ ดำเนนิ การแล้วจะส่งผลต่อ คณุ ภาพของทมี งาน ครู บคุ ลากร พัฒนาก้าวหนา้ ข้ึน รวมทัง้ สง่ ผลอนั ดกี บั ผู้เรียนได้อย่างแท้จริง ๑. เพอ่ื พฒั นาการบรหิ ารการจัดการศึกษาตามแนวทางการบรหิ ารของผู้บริหารโรงเรยี น ในรูปแบบ ๔S URRE ๒. เพือ่ ยกระดบั คุณภาพการจดั การศึกษาตามมาตรฐานการศกึ ษา 1 แนวทางปฏบิ ตั ิท่ีเป็นเลศิ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model

รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิชชานารี โดยใช้ “๔S URRE Model” เป็นรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษา โดยการสร้างเครือข่ายการทำงานด้วยกัน ทำงานเป็นทีม มีเป้าหมายร่วมกนั (Unity) ที่จะพัฒนาโรงเรียน พัฒนานักเรียน นำหลักและทฤษฎีของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School -based Management ; SBM) ผสานกับ หลักคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficient Economy) นำมาบริหารการจัดการศึกษาทส่ี ่งเสริมอัตลักษณ์โรงเรียน คอื รกั (Love), ใส่ใจ(Care) และ แบ่งปนั (Share) ถือเป็น จิตวิญญาณ(Soul) ของโรงเรียนตามคำสอนซึ่งมาจากพระวจนะของพระเจ้าในพระคัมภีร์ พัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่ครู บุคลากรและนักเรียนส่งผลให้เกิดความสำเร็จ(Success) ทั้งฝ่ายจิตวิญญาณ และการทำงานของครู บุคลากร การเรียนรู้ของนักเรียน รูปแบบการบริหารแบบ “๔S URRE Model”นี้ อยู่บนพื้นฐานการบริหารจัดการ ตามหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) คือ การมีความโปร่งใส มีความรับผิดชอบ (Responsibility) ถูกตรวจสอบได้ และการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ ผู้บริหาร ครู บุคลากร มีความเป็นกัลยาณมิตร สื่อสารสัมพันธ์กัน (Relationships) ในการบริหารงานด้วยความเข้าใจ รวมทั้งมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน (Evaluation) ในทุกขั้นตอนการบริหารงาน นำผลการประมินมา ปรับปรุง พัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งข้ึน ในการบรหิ ารการจัดการศึกษาของโรงเรยี น แนวทางปฏิบัตทิ ี่เป็นเลิศ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model 2

ในการบรหิ ารโรงเรยี นวชิ ชานารีซง่ึ กระบวนการทด่ี ำเนินการนัน้ เรม่ิ แรกทำในปิดภาคเรยี น เปดิ ภาคเรียนและ ตอ่ มาการดำเนินการ ติดตามเปน็ ระยะ ๆในระหว่างภาคเรยี น การทำให้บรรลุเปา้ หมายของการจดั การศึกษา อย่างมี คณุ ภาพ ไดน้ ำทฤษฎี วธิ กี ารของ วงจรคุณภาพ (PDCA Cycle)หรือ วงจรเดม็ มงิ่ (Deming Cycle) ดังน้ี ๑.การวางแผน (Plan) ในเบื้องต้นของการวางแผน เพื่อให้สามารถกำหนดทิศทางการจัดการศึกษา จึงจำเป็นต้องศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาชองประเทศ กระทรวงศึกษาธิการ และการศึกษาของท้องถิ่น (ซึ่งปรากฏอยู่ที่วงนอกของ “๔S URRE Model”) ได้แก่ แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๖๐ – ๒๕๗๙, นโยบาย และจดุ เนน้ การจดั การศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ, ทศิ ทางการจดั การศึกษาของจังหวัดลำปาง สู่การวางแผนการ ดำเนินงานการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน คือ วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน ด้วย SWOT Analysis ร่วมกับ กรรมการบริหารสถานศึกษา หัวหน้าฝา่ ยตา่ ง ๆ ครู และบุคลากร และผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR) จากการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา รวมทั้งผลจากการวิเคราะห์การตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ ของผู้ปกครองต่อการบริหาร จัดการศึกษาของโรงเรียนในปีการศึกษาที่ผ่านมา สู่การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กลยุทธ์ จดุ เนน้ การจัดการศึกษาของโรงเรียน แผนยุทธศาสตร์ และแผนปฏบิ ตั ิการประจำปีของโรงเรียน 3 แนวทางปฏบิ ัตทิ ีเ่ ปน็ เลิศ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model

๒. การปฏิบัติตามแผน (DO) การบริหารจัดการตามรูปแบบ “๔S URRE Model” นำหลักคิดของหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นหลักคิดเชิงระบบ มาขับเคลื่อนสำหรับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของ โรงเรียน รวมทงั้ การดำเนินการในกจิ กรรมต่าง ๆ ซ่ึงอยู่บนเงอื่ นไขที่สำคัญ ๒ เงือ่ นไขคอื คุณธรรม ทีเ่ ป็นพื้นฐานของ กระบวนการตัดสินใจ ได้แก่ ความสัตย์ซื่อ ความจริง ความถูกต้อง ยุติธรรม บริสุทธิ์ ดีงาม มีความรับผิดชอบ (Responsibility) โปร่งใสตรวจสอบได้ และในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึง คือ เงื่อนไข ความรู้ ที่จำเป็นสำหรบั การตัดสินใจบนฐานของความรู้ที่มากเพียงพอ ได้แก่ ความรู้เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ของโรงเรียน ความรู้เพื่อการตัดสินใจในการบริหาร ซึ่งการขับเคลื่อนโรงเรียนเพื่อให้ บรรลเุ ปา้ หมายได้ จำเป็นท่ที ุกภาคส่วนจะต้องมองเห็นและเข้าใจเป้าหมายร่วมกนั (Relationship) เพือ่ ให้การปฏิบัติ ตามหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละส่วนเป็นองค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Unity) เพื่อการบรรลุ เป้าหมายได้ทนั ตามกรอบเวลา และลดความเส่ียงของการใชท้ รัพยากรที่ขาดประสทิ ธภิ าพ มีการจัดการความรรู้ ว่ มกัน (Knowledge Management) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้วยหลักคิดสำคัญ ตามกรอบ แนวคิด ๓ ห่วงหลัก ได้แก่ ความมีเหตุผล คือ การตัดสินใจด้วยหลักเหตุและผล ที่คำนึงถึงต้นทุน (บุคลากร และ งบประมาณ) ผลลัพธ์ท่ีคาดหวงั จากกระบวนการตัดสินใจ และการเปรียบเทียบทางเลือกเพ่ือการพิจารณาบนพื้นฐาน ของความถูกต้องและสามารถคาดการณ์ ถึง ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วย ทำให้สามารถเตรียมพร้อมสำหรับ การจัดการกับผลกระทบเหล่านั้น ความพอประมาณ คือ การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการประจำปี หรือกิจกรรม ใดๆ ต้องคำนึงถึงศักยภาพของโรงเรียน ความพร้อมในด้านต่างๆ เช่น ด้านบุคลากร งบประมาณ ระยะเวลา ความสามารถในการบริหารจัดการให้บรรลุตามเป้าหมาย และ การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี คือ ต้องตระหนักถึง ความเสี่ยง มีความรอบคอบ ระมัดระวัง มีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ และพิจารณาถึงความเสี่ยง ในกระบวนการตัดสินใจทั้งความเสี่ยงในระดับองค์กร ความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงจากการดำเนินงาน รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงบริบทของสภาพแวดล้อม โดยกระบวนการทั้งหมดจะนำไป สู่ผลสำเร็จ (Success) หรือผลลพั ธ์ทีค่ าดหวัง จากการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ หรือกิจกรรมใดๆ ต้องสามารถ ประเมินผล (Evaluation) ได้อย่างเป็นรูปธรรม ในมิติต่างๆ คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม ซึ่งในการดำเนินการ การบริหารจัดการ ควรกำหนดตัวชี้วดั ที่สะท้อนการบรรลุผลสำเร็จในมติ ิเหล่านั้น และต้องเป็น ความสมดุลของแต่ละมติ ิ (การประเมนิ ใน ๔ มิตนิ ี้เปน็ การประเมนิ ผลสำเร็จของแต่ละงาน/โครงการ) แนวทางปฏบิ ตั ทิ ่ีเปน็ เลศิ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model 4

๓. การตรวจสอบ (Check) เป็นขั้นตอนของการประเมินผลลัพธ์ของการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีการศึกษา ซึ่งอาจจะประเมินใน ๒ ประการ คือ มีการปฏิบัติตามแผนหรือไม่ (เช่น ระยะเวลา รูปแบบ ของกจิ กรรม งบประมาณ ฯลฯ) และ ตวั แผนปฏิบัตกิ ารเองมีความเหมาะสมหรอื ไม่ กรณที ่แี ผนปฏบิ ัตกิ ารในภาพรวม ตลอดปีการศึกษาพบว่าประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบระหว่างเป้าหมายกับ การดำเนินงานตามแผน ผู้บริหาร และ ทมี งาน(ครู บคุ ลากร ท่มี สี ่วนเก่ียวข้อง) ร่วมกันประชุมถอดองค์ความรู้ท่ีไดร้ ับจาการทำงาน (KM : Knowledge Management) เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานครั้งต่อไป แต่ถ้าหากในกรณีที่แผนปฏิบัติการในภาพรวม ไม่ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ซึ่งอาจจะเป็นเพราะไม่สามารถปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ หรือ ความไม่เหมาะสมของแผนปฏิบัติการ หรือทั้งสองประการรวมกัน ผู้บริหาร และทีมงาน (ครู บุคลากร ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง) ต้องมาศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุว่ามาจากเรื่องใด พิจารณาให้ครอบคลุม รอบด้าน ร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะวิธีการปรบั ปรงุ แก้ไข (ในส่ิงทีส่ ามารถดำเนนิ การได)้ อยา่ งสรา้ งสรรค์ 5 แนวทางปฏิบตั ิทเี่ ป็นเลศิ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model

๔. การปรับปรุงแก้ไข (Act) เป็นการนำผลการวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุที่เกี่ยวข้อง (ที่ได้จากขั้นตอน การตรวจสอบ Check) มาปรับปรุงแก้ไข และหากผลการดำเนินงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็ต้องปรับเปลี่ยน วิธกี ารดำเนนิ งานใหม่ใหเ้ หมาะสมในการวางแผนระยะตอ่ ไป แตถ่ ้าหากผลการประเมนิ พบวา่ งานสำเร็จตามเป้าหมาย แล้วในการวางแผนครงั้ ตอ่ ไปตอ้ งปรับเปลย่ี นเป้าหมายใหส้ ูงขึ้นเพ่ือให้เกดิ การพฒั นา และปรับรุงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จคือ ผู้บริหาร หัวหน้าระดับ ครู บุคลากรที่เป็นหัวหน้าระดับนำรูปแบบ ๔S URRE ไปใช้ปฏิบัติกับทีมงานทุกระดับจนเกิดผล โดยเฉพาะทีมงานระดับปฐมวัย ที่นำไปปฏิบัติ นำมาซึ่งความ ร่วมมอื จากทีมงาน ผปู้ กครอง ชุมชนเจริญประเทศ และกรรมการชมรมผ้ปู กครองฯให้ความรว่ มมืออยา่ งดียิง่ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศโดยใช้ ๔S URRE Model เพื่อใช้พัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียน ซึ่งได้เกิดผลกับ ทมี ครปู ฐมวยั ผลสัมฤทธ์ิเดก็ ปฐมวยั เปน็ ทีน่ า่ พอใจ คือได้ระดับยอดเยี่ยมและครู บุคลากรได้มที ักษะการทำงานที่ดีขึ้น หลังจากที่ใช้รูปแบบ ๔S URRE จึงควรมีการนำรูปแบบหรือโมเดลนี้ไปใช้ในการบริหารจัดการโรงเรียนอ่ืนที่มีบริบท ทแี่ ตกต่างกัน ข้อสงั เกตหรือพึงระวังการใช้โมเดลน้ีต้องมีความเข้าใจ และมีความชดั เจนในการปฏบิ ัติ ใหม้ กี ารติดตาม และประเมนิ ผลอย่างตอ่ เน่ือง แนวทางปฏิบัติที่เปน็ เลศิ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model 6

- เผยแพร่การทำงานในโมเดลการใช้ ๔S URRE นี้ให้คณะกรรมการการประเมินโรงเรียนพระราชทาน นำเสนอ ในโครงการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษา สถานศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับก่อนประถมศึกษา ขนาดเล็ก ประจำปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๑ จนได้รับรางวัลโรงเรยี นพระราชทานอนั ทรงคณุ ค่าและสูงเกียรติ ในครงั้ นี้ - เผยแพร่แนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนทีใช้ ๔S URRE Model ในการคัดเลือกสื่อ นวัตกรรม องค์ความรู้ และผลงานวิจัย ในโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย จังหวัดลำปาง ปีงบประมาณ ๒๕๖๓ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม ๒๕๖๓ ณ สำนักงานศึกษาธกิ ารจงั หวดั ลำปาง - เผยแพร่บนเวบ็ ไซตข์ องโรงเรยี น (www.vns.ac.th) - เผยแพรโ่ ดยการเป็นแหล่งศกึ ษาดงู านด้านการจดั การเรียนการสอน และเปน็ แหลง่ ฝกึ ประสบการณ์ - ประชาสัมพันธ์ในลีลาวดีสารของโรงเรียนให้ผู้ปกครองโรงเรียน และส่งลีลาวดีสารไปยังกลุ่มโรงเรียน ของมลู นิธิแห่งสภาครสิ ตจักรในประเทศไทย 7 แนวทางปฏิบตั ทิ ่เี ป็นเลิศ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model

แนวทางปฏิบตั ิที่เป็นเลศิ (Best Practice) โดยใช้ ๔S URRE Model 8

ชอื่ ผู้นำเสนอผลงาน ดร.สรุ ภี วงค์ไพบลู ย์ ตำแหนง่ ผ้จู ดั การ – ผู้อำนวยการ สถานที่ทำงาน โรงเรยี นวิชชานารี จังหวดั ลำปาง ประวัติการศึกษา ๑. พ.ศ. ๒๕๑๙ วฒุ ิการศกึ ษา มัธยมศึกษาปที ี่ ๓ สถาบัน โรงเรียนเชยี งใหมค่ ริสเตียน ๒. พ.ศ. ๒๕๒๓ วฒุ ิการศึกษาประโยควชิ าชพี ช้ันสูง สถาบัน การชา่ งสตรีเชียงใหม่ ๓. พ.ศ. ๒๕๔๒ วฒุ กิ ารศึกษาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันมหาวทิ ยาลยั เชียงใหม่ ๔. พ.ศ. ๒๕๕๖ วฒุ ิการศกึ ษา ปรัชญาดษุ ฎบี ัณฑิต สถาบันมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประสบการณก์ ารทำงาน ๑. พ.ศ.๒๕๒๓ ตำแหน่งครูผู้สอนระดบั ปฐมวัย ๒. พ.ศ. ๒๕๔๐ ตำแหนง่ ครผู ้สู อนระดับประถมศึกษาตอนตน้ . ๓. พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๕๙ ตำแหน่งหัวหนา้ แผนกปฐมวัย โรงเรยี นปรนิ สร์ อยแยลส์วทิ ยาลยั ๔. พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบนั ตำแหนง่ ผูจ้ ัดการ – ผอู้ ำนวยการโรงเรยี นวิชชานารี ความภาคภูมใิ จ ๑. พัฒนาโรงเรียนจนได้รับรางวัลพระราชทานในโครงการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาสถานศึกษา เพ่อื รับรางวัลพระราชทาน ระดับกอ่ นประถมศกึ ษา ขนาดเล็ก ประจำปกี ารศกึ ษา ๒๕๖๑ ๒. ไดร้ บั การแตง่ ตงั้ เปน็ กรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษาของสำนักงาน เขตพืน้ ทปี่ ระถมศึกษา เขต ๑ ลำปาง ๓. ไดร้ ับการคัดเลือกเป็นกรรมการสมาคมโรงเรียนเอกชน จังหวัดลำปาง ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔ ๔. ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ๑ การคัดเลือกผลงานกรปฏิบัติที่ป็นเลิศ (BEST Practice) การจัดการศึกษาปฐมวัย ระดับจังหวัด ประจำปี ๒๕๖๒ ประเภท การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัย (ดา้ นบรหิ าร)



โรงเรยี นวชิ ชานารี VIJJANARI SCHOOL ท่อี ยู่ : เลขที่ ๑๗๖ ถนนเจรญิ ประเทศ ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเมอื ง จงั หวดั ลำปาง รหัสไปรษณยี ์ ๕๒๐๐๐ โทรศัพท์ : ๐-๕๔๓๕-๐๘๑๑-๒ โทรสาร : ๐-๕๔๓๑-๓๑๖๘ เว็บไซต์โรงเรยี น : http://www.vns.ac.th


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook