01 site การวิเคราะห์ที่ตั้งโครงการ Site Analysis การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
02 Site Site Analysis 01 Site Location ( ทำเลที่ตั้งโครงการ ) 02 Site Survey (การสำรวจพื้นที่ตั้งโครงการ) 03 Site Surrounding (พื้นที่โดยรอบที่ตั้งโครงการ) การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
03 SITE LOCATION Sitr (ทำเลที่ตั้งโครงการ) การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
04 Site Location ( ทำเลที่ตั้งโครงการ ) การเลือกทำเลที่ตั้งโครงการ ในการออกแบบเราควรพิจารณาให้ถูกต้องตามความเหมาะสมและที่สำคัญต้องสอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของตัวอาคารมากที่สุด รวมทั้งจะได้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม กับโครงการ (Project) นั้นด้วย ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นเสมอไปที่จะต้องหาทำเลที่ตั้งติดถนนใหญ่ที่ง่ายต่อการเข้า ถึง ยังมีอีกหลายองค์ประกอบ (Factor) ที่หากนำมาพิจารณาแล้วจะเห็นว่าอาคารบางประเภทไม่มีความจำเป็นและ ความเหมาะสมที่จะต้องอยู่ติดริมถนนใหญ่ เช่น อาคารพักอาศัย, อาคารชุดพักอาศัยที่ต้องการความสงบเป็นส่วนตัวไม่ พลุกพล่าน มุมมองสู่ภายนอกที่ดี เป็นต้น ขนาดของทำเลที่ตั้ง (Site) เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญเมื่อเรารับรู้พื้นที่ใช้สอยของอาคารแล้วเราจึงมาพิจารณาพื้นที่ดินที่ต้องการปลูกสร้าง อาคารว่ามีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร หากกรณีที่เจ้าของมีที่ดินอยู่แล้วและต้องการทำประโยชน์จากที่ดินนั้นให้เกิด ประสิทธิภาพมากที่สุด ในเรื่องขนาด จะต้องเหมาะสมกับความต้องการของเจ้าของโครงการ หรือโครงการให้มากที่สุด การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
05 แสดงรายละเอียดของที่ตั้งโครงการ 1.ภาพประกอบของพื้นที่ตั้ง 2.ขอบเขตของพื้นที่ดิน และขนาดของพื้นที่ดิน พื้นที่รวม (กี่ตารางเมตร, กี่ไร่) รวมถึงระยะถนน 3.ชื่อพื้นที่ตั้งโครงการ เช่น ชื่อถนน, ชื่อเขต แขวง ตำบล อำเภอ และจังหวัด 4.สีผังเมือง ในแต่ละพื้นที่ตั้ง โดยระบุประเภทของพื้นสีผังเมืองกฎหมายผังเมืองสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบในแต่ละเมือง ซึ่งตรวจสอบพื้นที่ ได้โดยดูจากสีผังเมือง สีผังเมืองแบ่งออกเป็น 10 ประเภท เช่น เขตสีน้ำตาล คือที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก, เขตสีแดง คือที่ดินประเภท พาณิชยกรรม, เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียวคือที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม เป็นต้น การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
06 Site ภาพแสดงตัวอย่างสีผังเมือง การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
07 Site Survey (การสำรวจพื้นที่ตั้งโครงการ) หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่สำคัญอันดับแรกในการออกแบบอาคารของ โครงการ เนื่องจากเป็นการวิเคราะห์พื้นที่ตั้งโครงการ(Site Analysis) มีการศึกษาที่ลงรายละเอียดของพื้นที่ตั้งโครงการ (Site) สามารถแบ่งเป็นหัวข้อย่อยได้ดังนี้ Site การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
Direction (ทิศ) 08 การระบุทิศทางในการทำการสำรวจพื้นที่ตั้งโครงการ (Site Survey) ว่าเป็นทิศใด ในแผนที่ประเทศ โดยส่วนใหญ่จะกำหนดทิศทางจะบอกสัญลักษณ์เป็นทิศเหนือ และ กำหนดให้ทิศเหนือชี้ขึ้นข้างบน Sun Path (ทิศทางแดดและดวงอาทิตย์) and Orientation (การกำหนดทิศทางหรือตำแหน่ง) ในการวางตำแหน่งอาคาร เราควรคำนึงถึงทิศทางการโคจรของดวงอาทิศว่าที ทิศทางอย่างไร กับพื้นที่โครงการ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสภาวะความน่าสบาย เช่น ความจ้าและความร้อนของแสงแดด ที่เกิดขึ้นกับอาคาร ฉะนั้น ผู้ออกแบบควรวาง แนวทางการออกแบบอาคารให้สอดคล้อง กับพื้นที่ตั้งโครงการ เช่น ช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึงเดือนกุมภาพันธ์ ในฤดูหนาวจะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์จะโคจรอ้อมใต้ มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลกับอาคารด้านใต้มาก การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
09 นอกจากนี้หากศึกษาทิศทางโคจรของดวงอาทิตย์ ที่กระทบกับอาคาร แล้วเกิดร่มเงาตกกระทบเราอาจจะอาศัยประโยชน์จากร่มเงานั้นมาสร้าง ประโยชน์แก่อาคารได้ เช่น ลานพักผ่อน หรือลานกิจกรรม ให้ได้รับผล ประโยชน์จากร่มเงาอาคาร ทำให้อุณหภูมิโดยรอบเย็นลง ในการศึกษาดัง กล่าวจะต้องศึกษาอาคารข้างเคียงด้วยว่า เงาอาคารหลังดังกล่าวส่งผล ต่ออาคารที่จะออกแบบหรือไม่ เช่น หากเป็นอาคารสูง เงาจะจอดยาว ซึ่ง อาจจะเป็นทั้งผลดี คือ ร่มเย็น หรืออาจจะส่งผลเสีย คือมืดครึ้มมากเกิน ไป นอกจากการศึกษาแนวทางการโคจรของดวงอาทิตย์ที่ทำให้ต้องเตรี ยมอุปกรณ์กันแดดแล้ว อาจจะต้องคำนึงถึงแสงสะท้อนจากอาคารข้าง เคียงด้วย เช่น อาคารสูงผนังกระจงสะท้อนแสงแดดช่วงบ่ายเข้าสู่อาคาร โดยแสงจ้าจารการสะท้อนจะนำความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร และยังทำให้เกิด การเคืองตาแก่ผู้ที่อยู่ในอาคารอีกด้วย ซึ่งควรจะเตรียมการแก้ไขปัญหา ในขั้นออกแบบอาคาร เช่นเพิ่มแนวกันสาดทางนอนเพื่อกันแสงสะท้อน จากอาคารตรงข้าม หรือลดพื้นที่ของช่องแสงเพื่อให้สะท้อนเข้ามาใน อาคารได้น้อยลง พระอาทิตย์อ้อมใต้ ตั้งแต่เดือนกันยายน จะเป็นเดือนที่เส้นทางวิถีวง โคจรของดวงอาทิตย์ จะเป็นแสงอ้อมจากทางทิศใต้ แล้วจะค่อย ๆ ขยับ จากทิศใต้ลงใต้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมกราคมที่แสงแดดจะอ้อมใต้มาก ที่สุด รวมระยะเวลาแดดอ้อมใต้เป็นเวลา 8 เดือน และจะอ้อมเหนือ ช่วงสิ้น เดือน เมษายนไปจนถึงจุดสูงสุดที่เดือนกรกฎาคม และหลังจากนั้นจะ ค่อย ๆ ขยับลงมาทางทิศใต้ รวมระยะเวลาแดดอ้อมเหนือเป็นเวลา 4 เดือน การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
Wind (ทิศทางลม) and Ventilation 10 (การระบายอากาศ) การระบายอากาศโดยลมธรรมชาติเป็นการนำประโยชน์จากกระแสลมเข้า มาช่วยในการระบายความร้อนของอาคารในกรณีที่อาคารไม่ใช้เครื่องปรับ อากาศ (Passive) ดังนั้น จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องศึกษาทิศทางของลม ประจำที่จะผ่านมายังพื้นที่โครงการตามปกติแล้วลมฤดูร้อน(ลมประจำ) และ ฤดูฝนจะเริ่มมาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายน ทางทิศใต้และตะวัน ออกเฉียงใต้ ลมหนาวจะมาในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมของทุกปี ทางทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ หากเราทราบถึงทิศทางลมประจำว่ามาทางทิศใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ เรา อาจวางตำแหน่งอาคารให้ขวางหรือหันด้านยาวของอาคารรับลมทางทิศดัง กล่าว หรือนำเอาองค์ประกอบของอาคารที่จะเป็นจะต้องได้รับการถ่ายเท อากาศ และรับลมทางทิศดังกล่าว แต่จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอาคารบางประเภทที่ไม่ควรวางไว้ที่ต้นลม เช่น ห้องครัว, ห้องเก็บขยะ, อาคารจอดรถซึ่งจะมีกลิ่นหรือควันและความ ร้อน กรณีที่มีกลุ่มอาคาร ควรคำนึงถึงการขวางทิศทางลม ของอาคารซึ่ง กันและกัน ทำให้เกิดการอับลม และอากาศอับชื้น เกิดมลพิษสะสมรวมทั้ง ฝุ่นละอองที่ตกค้างอยู่ในตัวอาคาร และอาจจะส่งผลต่ออาคารที่อยู่ถัดไป นอกจากนี้ยังต้องมีระยะเว้นว่างระหว่างอาคารไว้เพื่อให้ลมได้พัดเอาความอับ ชื้นมลพิษและฝุ่นละอองออกจากพื้นที่ภายในกลุ่มอาคาร การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
11 มลภาวะ มลพิษต่างๆ (Pollution) นักออกแบบที่ดีควรจะศึกษามึงมลภาวะต่างๆ ที่อยู่โดยรอบอาคารก่อนที่จะกำหนดพื้นที่ประโยชน์ใช้สอย (Function) ลงบนพื้นที่ โครงการ เพื่อให้ผู้ใช้อาคารได้อยู่ในสภาพร่างกายและจิตใจ การศึกษามลภาวะโดยรอบอาคารอาจแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆได้ คือ 2.1.4.1 มลภาวะที่สัมผัสได้ด้วยการมองเห็น ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าอยู่ เช่นใกล้กับชุมชนแออัด ใกล้กับอาคารที่ทรุดโทรมหรือทิ้ง ร้าง ใกล้กับสิ่งปฏิกูล หรืออาคารที่อยู่ชิดกับโครงการที่จะออกแบบ ซึ่งอาจจะมีความสูงกว่าหรือใหญ่โตเทอะทะ และขาดการออกแบบที่ดี 2.1.4.2 มลภาวะที่สัมผัสได้ด้วยกลิ่น ได้แก่ กลิ่นเหม็นจากโรงงานอุตสาหกรรม จากกองสิ่งปฏิกูลทั้งที่อยู่บริเวณต้นลมหรืออยู่ในพื้นที่ ใกล้เคียงที่จะสามารถส่งผลกระทบต่อโครงการ 2.1.4.3 ผลภาวะที่สัมผัสได้ด้วยเสียง ได้แก่ เสียงรบกวนต่างๆที่อยู่ใกล้โครงการ เช่น เสียงจากโครงการอุตสาหกรรม จากระบบ คมนาคมที่อยู่ใกล้ เช่น เสียงรถยนต์ รถไฟ รถไฟฟ้า เรือด่วน เรือหางยาว ฯลฯ เมื่อเราได้รับรู้อุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ที่มีอยู่โดยรอบกับโครงการแล้ว ผู้ออกแบบจึงควรวางแผนในการป้องกันปัญหาไว้ล่วงหน้าโดยอาจ ใช้การจัดวางพื้นที่ประโยชน์ใช้สอยมาช่วยแก้ปัญหาเช่น หากเป็นบ้านพักอาศัย อาจจะใช้ส่วนของอาคารจอดรถ, ห้องเก็บของ, ห้องน้ำ,ห้องครัว ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่ใช้เวลามากในการประกอบกิจกรรมมากั้นหรือบังต้นกำเนิดของมลภาวะต่างๆ และย้ายพื้นที่ประโยชน์ ใช้สอยที่ต้องการความสงบ และต้องใช้เวลาในการทำกิจกรรมนานๆ ไปไว้ยังส่วนที่ปลอดมลภาวะหรือจะนำเอาธรรมชาติมาช่วยปิดบังมุม มอง, ดูดซับเสียง, กรองฝุ่นผง การแก้ปัญหาเรื่องมลภาวะ ที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคย คือ การติดตั้งเครื่องปรับอากาศกั้นห้องกระจก ปิด ด้วยม่านปรับแสงบังสายตาก็แก้ปัญหาได้ นั้นเป็นวิธีที่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ มักจะต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงและซ้ำซ้อน การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
12 การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
13 การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
14 Site Surrounding (พื้นที่โดยรอบที่ตั้งโครงการ) Site การศึกษาพื้นที่โดยรอบที่ตั้งโครงการ เป็นการศึกษาสถานที่สำคัญๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อที่ตั้งโครงการ หรืออาจเป็นสถานที่ที่เป็นผลกระทบ ต่อที่ตั้งโครงการ ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญต่อสถานที่ที่เป็นสถานที่สำคัญต่อเมือง หรือชุมชม เช่น สถานศึกษา โรงพยาบาล ห้างสรรพ สินค้า สวนสาธารณะ เป็นต้น โดยการนำเสนอนั้นจะเป็นการบอกตำแหน่งพื้นที่สำคัญโดยรอบพื้นที่ตั้งโครงการจากแผนที่โดยตรง จากนั้น กำหนดหมายเลขลงบนแผนที่หรือใช้เครื่องหมายชี้ไปยังจุดสำคัญหรือสถานที่นั้นๆแล้วทำการบอกชื่อสถานที่นั้นๆหรือนำเสนอโดยภาพของ สถานที่นั้น การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
15 การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
16 M|F M|F ตัวอย่างการ ปฏิบัติงาน การออกแบบสถาปัตยกรรม 1 (Architectural Design 1)
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: