Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore จริยศาสตร์ศาสนาชินโต

จริยศาสตร์ศาสนาชินโต

Published by Surada Sidokbuab 01, 2021-09-14 02:56:23

Description: จริยศาสตร์ศาสนาชินโต

Search

Read the Text Version

ศจารสิยนศา าชสินตโรต์

ประวัติของศาสนา ศาสนาชินโต เกิดเมื่อประมาณ ๑๑๗ ก่อนพุทธศักราช โดยคิดตามสมัยจักรพรรดิ องค์แรกของญี่ปุ่นคือ พระเจ้าจิมมู เทนโน (Jimmu Tenno) คำว่า ”ชินโต”เป็นภาษา จีนแต่ออกเสียงตามสำเนียงญี่ปุ่น กล่าวคือคำนี้มาจากภาษาจีนว่า เชนเต๋า ก็คำว่าเชน หรือชินแปลว่าเทพเจ้า ส่วนคำว่า เต๋า แปลว่าทาง เมื่อรวมกันแปลว่าทางแห่งเทพเจ้า ข้อ นี้อาจหมายถึงการบูชาเทพเจ้าหรือคำสอนของเทพเจ้าหรือศาสนาของเทพเจ้าก็ได้ ส่วน ในภาษาญี่ปุ่นเรียกศาสนานี้ว่า “กามิโนมิจิ” (Kaminomichi) แต่ชื่อนี้ไม่แพร่หลาย เท่ากับคำว่าชินโตก็แต่เดิมศาสนาชินโตยังไม่มีชื่อต่อมาเมื่อพุทธศาสนาและศาสนาขงจื้อ ได้แผ่เข้าไปถึงประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นจึงจำต้องตั้งชื่อศาสนาดั้งเดิมของตนเองเพื่อให้ แตกต่างกัน ก็ศาสนาชินโตดั้งเดิมไม่มีศาสดาหรือผู้ตั้งศาสนาแต่เกิดมาจาก ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ถือสืบต่อกันมา มีประเพณีการบูชาเทพเจ้าและบรรพบุรุษ เป็นต้น ดังนั้นศาสนาชินโตจึงไม่มีคำสอนที่แน่นอนไม่มีคัมภีร์ที่ตายตัวเพราะแต่ละยุค แต่ละถิ่นก็มีความเชื่อแตกต่างกันไป

ชินโตเป็นศาสนาพหุเทนิยมนับถือเทพเจ้ามากมาย เทพเจ้าในศาสนาชินโตก็มีหลาย ประเภท มีทั้งเทพเจ้าแท้ และเทพเจ้าที่ไปจากมนุษย์ เช่นพระเจ้าจักรพรรดิ วีรบุรุษใน สงครามและวิญญาณของหลายคนที่มารวมกัน นอกจากนี้ก็ยังมีเทพเจ้าที่ไปจากสัตว์ที่ คนเคารพอีกด้วย ก็เทพเจ้าดังกล่าวจะสิงสถิตอยู่ในธรรมชาติทั่วไป เช่น ภูเขา ด้วยเหตุ นี้ในประเทศญี่ปุ่น จึงมีศาลเจ้ามากมายจำนวนแสนจนได้นามว่าดินแดนแห่งศาลเจ้า และศาลเจ้าที่เป็นสัตว์ก็มีด้วย สิ่งที่เคารพเหล่านี้ชาวญี่ปุ่นเรียกรวมๆกันว่า กามิสะมะ (Kamisama) เหมือนกันหมด

สมัยที่ ๑ ระยะเวลาประมาณ ๑,๒๐๐ ปี เริ่มตั้งแต่ ๑๑๗ ก่อน พุทธศักราช จนถึง พุทธศักราช ๑๐๙๕ เป็นสมัยแห่งศาสนาชินโตบริสุทธิ์แท้ เพราะยังไม่ถูกอิทธิพลจากศาสนาอื่นครอบงำ สมัยนี้เอา ตั้งแต่จิมมูเทนโน ซึ่งเป็น มิกาโด หรือจักรพรรดิองค์แรกของญี่ปุ่น เรื่อยมาจนถึงพระพุทธศาสนาเริ่ม เผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น ศาสนาชินโตสมัยนี้มีอิทธิพลต่อชาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริงเพียงศาสนาเดียว สมัยที่ ๒ ระยะเวลาประมาณ ๒๕๐ ปี เริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๑๐๙๕ ถึง พุทธศักราช ๑๓๔๓ เป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและศาสนาขงจื้อ เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น โดยเฉพาะพุทธศาสนาได้มีอิทธิพลมากใน ช่วง ๑๕๐ ปีแรกในคัมภีร์นิฮอนคิ ได้กล่าวยกย่องพระพุทธศาสนาไว้ประมาณ ๕๐ แห่ง เช่นในปี พุทธศักราช ๑๑๘๘ พระเจ้าจักรพรรดิโกโตกุทรงยกย่องพระพุทธศาสนาและทรงดูหมิ่นทางแห่ง เทพเจ้าและอีกตอนหนึ่งกล่าวว่าในปีพุทธศักราช ๑๒๑๔ มงกุฎราชกุมาร (โชโตกุไทชิ) ได้ทรงสละโลก ออกผนวชเป็นต้น แต่ถึงอย่างไรสมัยนี้ศาสนาชินโตก็ยังมีอิทธิพลมากกว่าศาสนาอื่น

สมัยที่ ๓ ระยะประมาณ ๙๐๐ ปี เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๑๓๔๓ ถึง พุทธศักราช ๒๒๔๓ เป็นสมัยที่ ศาสนาชินโตผสมกลมกลืนกับศาสนาอื่น ทำให้ศาสนาชินโตลดความสำคัญลงมาจนนักศาสนาบางท่าน กล่าวว่า ศาสนาชินโต ศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื้ออาจรวมเป็นศาสนาอันเดียวกันก็ได้และมีภิกษุบาง รูปกล่าวว่า เทพเจ้าของศาสนาชินโตก็คือปางหนึ่งของพระพุทธเจ้า ศาสนาชินโตจึงลดความสำคัญลง ตามลำดับจนกระทั่งระหว่าง พุทธศักราช ๒๐๐๘ ถึง พุทธศักราช ๒๒๓๐ ไม่มีการประกอบพิธีโอโฮนิเฮ หรือพิธีบรมราชาภิเษก ตามแบบศาสนาชินโต ซึ่งถือกันว่าเป็นพิธีกรรมสำคัญที่สุดในบรรดาพิธีกรรม ของศาสนาชินโต ตลอด ๘ รัชกาล

สมัยที่ ๔ ระยะเวลาประมาณ ๑๖๘ ปี เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช ๒๒๔๓ ถึง พุทธศักราช ๒๔๑๑ เป็น สมัยที่มีการฟื้ นฟูศาสนาชินโตเป็นการใหญ่ ได้มีการรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของศาสนาชินโตความ สำคัญของพระเจ้าจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายจากพระอาทิตย์ ความสำคัญของชาวญี่ปุ่นที่สืบสายมาจาก เทพเจ้า และความสำคัญของประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นดินแดนที่เทพเจ้าสร้างขึ้นมาจนชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าศาสนา ชินโต พระเจ้าจักรพรรดิ ประเทศญี่ปุ่นและคนญี่ปุ่นดีกว่าเหนือกว่าผู้อื่นโดยประการทั้งปวง ผลก็คือชาว ญี่ปุ่นเป็นชาตินิยมขึ้นมาทันที และรุนแรงด้วย

สมัยที่ ๕ เริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๑๑ เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ศาสนาชินโต ได้รับการ ฟื้ นฟูต่อจากสมัยที่ ๔ จักรพรรดิเมยี (พุทธศักราช ๒๔๑๑-๒๔๕๕) ผู้ทรงเปิดประตูสัมพันธไมตรีกับต่าง ประเทศ ได้ทรงสั่งชำระศาสนาชินโตให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นไปอีก โดยให้แยก ศาสนาชินโตออกจากศาสนาพุทธ และศาสนาขงจื้อศาลเจ้า ต่าง ๆ ก็ให้มีเฉพาะพิธีกรรมศาสนาชินโตเท่านั้น ส่วนศาสนาอื่นจะมีพิธีกรรม ของตนก็ได้ แต่ห้ามปะปนกับศาสนาชินโต ต่อมาพุทธศักราช ๒๔๒๕ ได้ทรงแยกศาสนาชินโตออกเป็น ๒ แบบ คือชินโตของรัฐกับชินโตของราษฎร์

องค์ประกอบของศาสนาชินโต ๑. ศาสดา โดยมากเมื่อกล่าวถึงศาสนาชินโต ก็เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าไม่มีศาสดาหรือผู้ก่อ ตั้งเพราะศาสนาชินโตเป็นศาสนาที่เกิดสืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชา บรรพบุรุษ และบูชาเทพเจ้าดังกล่าวแล้ว แต่เมื่อแบ่งศาสนาชินโตออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ๆ คือ ๑.๑ ชินโตที่เป็นของรัฐ (State Shinto) หรือ ชินโตศาลเทพเจ้า (Shrine Shinto) ๑.๒ ชินโตที่เป็นนิกาย (Sectarian Shinto) แล้วชินโตแบบแรกอาจไม่มี ศาสดาก็จริงแต่ชินโตแบบหลังคือเป็นนิกายต่างๆ ก็มีแน่นอน เช่น นิกายกอนโก มีกอนโกเป็นศาสดาเป็นศาสดาพยากรณ์

๒.ศาสนธรรม คัมภีร์ศาสนาชินโตที่สำคัญมีอยู่ ๒ คัมภีร์ ดังนี้ ๑. คัมภีร์โคยิกิ ๒. คัมภีร์นิฮองงิ หรือนิฮอนโชกิแต่ถ้าต้องการกล่าวอย่างพิสดาร ยังมีคัมภีร์อื่น อีกหลายคัมภีร์ดังต่อไปนี้ คัมภีร์โกโคชูอิ คัมภีร์มันโยซู คัมภีร์ฟูโดกิ คัมภีร์ไตโฮรโย คัมภีร์เยนงิชิกิ

๓. ศาสนพิธี (๓.๑) พิธีบูชาในศาสนา ในศาสนาชินโตมีการบูชาคือการไหว้เจ้า การไหว้เจ้าของ ญี่ปุ่นไม่ต้องเสียหมู เห็ด เป็ด ไก่ เหล้า ยา แล้วคนเอามากินกันเหมือนของจีน ชาวญี่ปุ่น จะออกไปไหว้เจ้า เพียงแต่เตรียมการโดยแต่งตัวให้สะอาด แล้วเข้าไปโค้งคำนับตรงหน้า ศาลเจ้าซึ่งมีมากมายหลายแห่งเหลือเกิน มีอยู่เกือบ ๒๐๐,๐๐๐ แห่ง จะมี “โทรี” (ประตู วิญญาณ) เป็นเครื่องหมายแผ่นดินแห่งศาลเจ้าก็คือประเทศญี่ปุ่นนั่นเอง เมื่อคำนับแล้ว ก็จะหลับตาตบมือเรียกดวงวิญญาณ มารับการไหว้ ถ้าไม่ตบมือก็จะยืนนิ่งๆ เป็นสมาธิ เฉยๆ สักครู่หนึ่งก่อนกลับออกไป เสาโทริ (แหล่งที่มา :https://travel.trueid.net/detail/ZbEwL60Elnm)

(๓.๒) พิธีบูชาธรรมชาติ ชาวญี่ปุ่นถือว่าธรรมชาติต่างๆ บนเกาะญี่ปุ่น เป็นผล งานการสร้างสรรค์ของเทพเจ้า จึงมีฐานะควรแก่การเคารพบูชา ไม่ว่าจะเป็นมหาสมุทร แม่น้ำลำธาร แผ่นดิน พรรณพฤกษา ต้นไม้ ใบหญ้า สัตว์ป่า และของศักดิ์สิทธิ์สูงส่งของ องค์จักรพรรดิ คือ กระจกเงา ดาบ และอัญมณี ซึ่งถือว่าเป็นเทวสมบัติ มีวิญญาณที่ เทพเจ้าประทานมา ล้วนแต่ควรแก่การเคารพบูชาทั้งนั้น ชาวญี่ปุ่นจึงมีความรักธรรมชาติ สงวนป่าในภูผา พงไพร พืชน้อยใหญ่เสมือนชีวิตของตน การบูชาธรรมชาติ (แหล่งที่มา : https://www.fun-japan.jp/th/articles/11029)

(๓.๓) พิธีบูชาปูชนียบุคคคล - การบูชาวีรชน - การบูชาองค์จักรพรรดิ - การบูชาบรรพบุรุษ - พิธีเกี่ยวกับเด็กเกิดใหม่ - พิธีเนื่องในวันนักขัตฤกษ์ - พิธีโอโฮฮาราชิ( The Great Purification ) การบูชาวีรชน (แหล่งที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9570000093022)

๔. ศาสนสถาน ศาลเจ้าชินโตได้รับการยกย่องว่าเป็นที่สิงสถิตของกามิ และเป็นที่สำหรับสวดมนต์ อ้อนวอน จึงถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งส่วนมากนิยมสร้างในแถบชนบท เช่น บน ภูเขา น้ำตก หรือบนเกาะห่างไกล เพราะเชื่อกันว่าภูเขา น้ำตก และเกาะนั้นเป็นสถานที่ ศักดิ์สิทธิ์ที่กามิชอบสถิต ศาลเจ้าของญี่ปุ่นนิยมสร้างให้มีรูปแบบเรียบง่ายเป็นธรรมชาติไม่มีการตกแต่ง ส่วนใหญ่ใช้วัสดุประเภทไม้และกระดาษ ทางเข้ามีประตูโทริอิ ( tori-I ) เป็นประตู ใหญ่ที่สร้างด้วยไม้หรืออาจจะทำด้วยหิน ศาลเจ้าฟุชิมิอินาริ ศาลเจ้าเสาโทริอิพันต้นแห่งเกียวโต (แหล่งที่มา : https://matcha-jp.com/th/284)

๕. ศาสนวัตถุ/ศาสนบุคคล นักบวชขอ งชินโตมีทั้งชายและหญิง นักบวชหญิงจะต้องประพฤติพรหมจรรย์ นักบวชชายบางนิกายอนุญาตให้มีครอบครัวได้ ส่วนผู้ทำหน้าที่บริการรับใช้ในวัดจะ เป็นผู้ชาย และมีหัวหน้านักบวชทำหน้าที่ดูแลศาลเจ้ารวมทั้งเป็นประธานในพิธีกรรม ต่างๆ มีข้อน่าสังเกตสำหรับความเป็นชินโต อย่างหนึ่ง คือความเชื่อในเครื่องรางของ ขลัง วิญญาณและไสยศาสตร์ เป็นเหตุให้เกิดการสร้างรูปสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อเป็นที่ พึ่งที่ยึดถือตามบ้านของคนนับถือชินโตจะมีที่บูชาวิญญาณ และปากทางเข้าหมู่บ้าน นิยมสลักตุ๊กตาหินกามิเพื่อพิทักษ์รักษาหมู่บ้าน ปัจจุบันเราจะพบเห็นได้ตามชนบท ของญี่ปุ่น

สัญลักษณ์ของศาสนาชินโต ๑.โทริ ได้แก่ ประตูอันมีเสา ๒ เสา มีไม้ ๒ อันวางอยู่ข้างบน ซึ่งมีประจำอยู่ที่ศาลเจ้าเกือบทุกแห่ง (ศาลเจ้าเล็กๆ อาจไม่มีโทริ) เป็นเครื่องหมายการเข้าสู่บริเวณศาลเจ้าของศาสนาชินโต ๒. กระจก อันมีรูปลายดอกไม้ ทั้ง ๒ สัญลักษณ์นี้พอจะให้รู้ว่าเป็นศาสนาชินโตได้ในบางกรณี แต่สัญลักษณ์ที่มีมาแต่โบราณเป็น สมบัติสืบทอดกันมากับบัลลังก์แห่งพระจักรพรรดิและมีความหมายทางคุณธรรม น่าจะเป็น สัญลักษณ์ที่สมบูรณ์กว่า นั่นก็คือ สิ่งที่เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “ซานชูโนะ-ซิงกิ” อันได้แก่ สมบัติ ๓ ประการ คือ ๑) กระจก (ยะตะ โนะ คางะมิ) ๒) ดาบ (คุสะนะงิ โนะ ซิรุคิ) ๓) รัตนมณี (ยาสะกะนิ โนะ มาคะ ตามะ)

กระจก เป็นเครื่องหมายแห่งปัญญา ตามประวัติกล่าวไว้ว่า พระสุริยเทพี-อามาเทราสึ โอมิกะมิ ได้มอบให้หลานชื่อ นินิคิโน มิโกโด มาปกครองเกาะญี่ปุ่น โดยเหตุนี้ กระจกอาจเป็นเครื่องหมาย แห่งพระสุริยเทพีนั้นก็ได้ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ ศาลเจ้าอิเซ ดาบ เป็นเครื่องหมายแห่งความกล้าหาญในฐานะเป็นการปรากฏแห่งเทพเจ้า ในปัจจุบัน ประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าอะสุตะ รัตนมณี เป็นสัญลักษณ์แห่งการบำเพ็ญประโยชน์ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ประจำ ณ พระราชวัง แห่งพระจักรพรรดิ กระจกเงา ดาบ และอัญมณี (แหล่งที่มา https://www.shorturl.asia/BiLkU)

หลักธรรมของศาสนาชินโต ศาสนาชินโตมีลักษณะเป็นพหุเทวนิยม ผสมผสานด้วยคำสอนในศาสนาอื่นที่แพร่หลายเข้าไปในญี่ปุ่น คือ ศาสนาขงจื๊อ และพระพุทธศาสนา หลักธรรมสำคัญจึงบัญญัติเพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมและประเพณี ของญี่ปุ่น โดยการบัญญัติไว้เป็นหมวดหมู่ เน้นความศรัทธาในเทพเจ้า จักรพรรดิ และวิญญาณบรรพบุรุษ เป็นสำคัญ ในเรื่องจักรวาลชินโตสอนว่า กามิ (Kami) หรือเทพเจ้าเป็นเจตภูตที่ไม่มีรูปร่างผู้ไม่ได้อยู่เหนือ จักรวาลไม่เปลี่ยนแปลง เป็นนิรันดร มีอยู่เริ่มแต่มีฟ้าและดินเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ ในเรื่องจักรวาลเราเรียก ว่า กามิ ในเรื่องการที่มีธรรมชาติมีปฏิกิริยาต่อกันเราเรียกว่า เจตภูต (เระอิ) ในตัวมนุษย์เราเรียกว่าดวง วิญญาณ เพราะฉะนั้น กามิจึงทรงเป็นดวงวิญญาณและดวงวิญญาณก็คือพระผู้เป็นเจ้าความเป็นไปใน ธรรมชาติและเหตุการณ์ต่างๆ ในจักรวาล ล้วนแต่มาจากการทรงบันดาลของกามิ ดังนั้น การลิขิตและกฎ แห่งธรรมชาติทั้งปวงเป็นอย่างเดียวกัน นั้นคือ ทางแห่งเทพเจ้า

หลักคำสอนและข้อปฏิบัติ ศาสนาชินโตสอนให้สักการะเคารพบรรพบุรุษ กตัญญูกตเวทีต่อผู้วายชนม์ บูชาปฏิบัติต่อ ผู้สูง อายุ กว่า จงรักภักดีต่อพระจักรพรรดิครูและอาจารย์คือเทพบิดร องค์พระจักรพรรดิสิทธิ์ทุกอย่าง ที่บิดา มารดามีต่อบุตร วิญญาณเป็นของไม่ตาย การตายเป็นการเปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่ชั่วประเดี๋ยวเดียว เมื่อมีผู้ที่เคารพถูกดูหมิ่นให้แก้แค้นให้ ไม่ควรอยู่ร่วมฟ้ากับบุคคลที่ดูหมิ่นผู้ที่ตนสักการะ เมื่อแก้แค้นไม่ ได้ให้ทำฮาราคีรีหรือคว้านท้องเสียดีกว่า ความกล้าหาญและไม่กลัวตายคือเสบียงในสงคราม ส่วนได้เสีย ของพระจักรพรรดิและ ประเทศชาติคือส่วนที่ทุกคนต้องรับผิดชอบ สิ่งเหล่านี้ถือปฏิบัติอย่าง เคร่งครัด ที่สุด

หลักคำสอนและข้อปฏิบัติ คําสอนสําคัญบางประการของศาสนาชินโต ๑. ญี่ปุ่นเริ่มด้วยการบูชาความงามของบุปผชาติ ลงท้ายด้วยการฆ่าตัวตาย ๒. ความซื่อสัตย์ ความเคารพ และความภักดีต่อผู้ใหญ่ เป็นคุณธรรมอันสูงสุดเหนือคุณธรรม ทั้ง ปวง ๓. ความภักดีต่อพระจักรพรรดิและเจ้านายของตน เป็นชีวิตอันมีเกียรติสูงส่ง ๔. ความดีงามที่เราต้องการ คือ การสืบสายกันมาแห่งบรรพบุรุษด้วยความภักดี ความเมตตา ปรานี และความสามัคคีกัน ๕. เด็กและคนหนุ่มต้องนอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในครอบครัว หญิงสาวต้องนอบน้อมคนแก่และหญิงต้อง เคารพชาย

หลักคำสอนและข้อปฏิบัติ หลักปฏิบัติเพื่อความดีสูงสุด หลักปฏิบัติเพื่อความดีสูงสุดในศาสนาชินโต คือ การปฏิบัติจริยธรรมทางใจ มี ๔ ประการคือ ๑. ให้มีความคิดแจ่มใส (อากากิ โคโกโระ) ๒. ให้มีความคิดบริสุทธิ์สะอาด (คิโยกิ โคโกโระ) ๓. ให้มีความคิดถูกต้อง (ทาคาชีกิ โคโกโระ) ๔. ให้มีความคิดเที่ยงตรง (นาโอกิ โคโกโระ)

หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต จริยธรรมของศาสนาชินโต ส่วนใหญ่เป็นประมวลหลักความประพฤติของขาวญี่ปุ่น เป็นข้อ ปฏิบัติของ ซามูไร นักรบหรือขุนนาง โดยสรุปดังต่อไปนี้ ๑. ความกล้าหาญ นับเป็นจริยธรรมข้อแรกของศาสนาชินโต โดยจะสั่งสอนเด็กตั้งแต่เยาว์ วัยพอที่จะ เริ่มเข้าใจได้ เมื่อเด็กเริ่มที่จะร้องไห้ บิดามารดาจะดุเด็กน้อยที่ยอมแพ้และมีความ อ่อนแอ ๒. ความขลาด เป็นความชั่ว ตามคําสอนของชินโต บาปทุกอย่างไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จะได้ รับ การให้อภัยถ้าสํานึกผิด ยกเว้นการกระทํา ๒ อย่าง คือ ความขลาดและการลักขโมย ๓. ความภักดี โดยเฉพาะการจงรักภักดีต่อพระเจ้าจักรพรรดิ ต่อมาขยายออกไปถึงสมาชิก ภายในครอบครัวและสังคมอีกด้วย

หลักจริยธรรมของศาสนาชินโต ๔. ความสะอาด ศาสนาชินโตเคร่งครัดในความสะอาดมาก ทําให้ชาวญี่ปุ่นนิยมอาบน้ำก่อน รับประทานอาหารเย็นและก่อนทําพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังถือว่าการอาบน้ำเป็นการ พักผ่อนใน เวลาว่างงาน โดยจะอาบน้ำในบ่อน้ำหรือสระน้ำโดยแช่น้ำขัดถูตัวนานๆ ๕. การมีชีวิตแบบธรรมชาติ ศาสนาชินโตมีความเชื่อว่า ธรรมชาติมีอํานาจทางการรักษาไม่ ว่าจะเป็น ใบไม้หรือดอกไม้ ภูเขาหรือลําธาร เป็นต้น การเกี่ยวข้องกับธรรมชาตินอกจากเพื่อ สุขภาพแล้วยังสามารถ มองเห็นเทพเจ้าทํางานอยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์ทางธรรมชาติเหล่านั้น ด้วย ธรรมชาติทุกอย่างเป็นของดีและ ยุติธรรม

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาชินโตเสื่อมลง สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาชินโตเสื่อมลง มาจาก ๒ สาเหตุใหญ่ คือ ๑.ญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ศาสนาชินโตของรัฐถูกยุบเลิก อนุชนรุ่นใหม่รู้เรื่อง ศาสนาชินโตน้อยลงตามลำดับ เพราะไม่มีการสอนตามโรงเรียนและในสถาบัน การศึกษา ต่างๆ กองทัพของญี่ปุ่นในสงครามโลก (เเหล่งที่มา :https://www.gypzyworld.com/article/view/681)

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ศาสนาชินโตเสื่อมลง ๒.ชาวญี่ปุ่นต้องการเป็นคนทันสมัย จึงนำวิทยาการสมัยใหม่มาใช้อย่างประเทศ ตะวันตก จนประเทศญี่ปุ่นก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก ญี่ปุ่นจึงเป็นประเทศ อุตสาหกรรม ทำให้ผู้คนไม่ค่อยมีเวลามาสนใจศาสนา อิทธิพลของศาสนาชินโตจึงลดลงตาม ลำดับ จนมีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ประกาศตนไม่นับถือศาสนาใดเลย ความเป็น ชาตินิยมจึงลดลงมาก ดังนั้นในปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นจึงมีความเป็นอยู่ต่าง ๆ กัน จนมีชาวญี่ปุ่น บางคนเห็นว่า ถ้าหากปล่อยให้เป็นไปเช่นนี้ ประเทศญี่ปุ่นจะต้องประสบความหายนะแน่นอน จึงเริ่มช่วยกันฟื้ นฟูศาสนาชินโต แต่ก็ยังได้ผลน้อย เพราะชาวญี่ปุ่นรุ่นใหม่มีอย่างอื่นอยู่ใน จิตใจแทนศาสนาชินโตแล้ว ความก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่น (แหล่งที่มา : https://today.line.me/th/v2/article/3EwQRk)

การนับถือศาสนาชินโตในปัจจุบัน ปัจจุบัน ศาสนิกศาสนาชินโตมีประมาณ ๓,๑๖๒,๘๐๐ คน ( Encyclopaedia Britanica ๑๙๙๔ : ๒๖๙) นอกจากนี้ก็ยังมีศาสนิกชินโตอีกมากในฮาวาย รัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา และอีกแห่งหนึ่งคือ ประเทศบราซิล ซึ่ง ทั้ง ๒ แห่งนี้มีชาวญี่ปุ่นไปตั้งรกรากทำมาหากินอยู่มาก เช่นกัน

ฐานะของศาสนาชินโตในปัจจุบัน ศาสนาชินโตในปัจจุบันแบ่งได้ เป็น ๕ ลักษณะ คือ ๑.ชินโตแห่งราชสำนัก (Imperial Shinto) เป็นเพียงพิธีกรรมสำหรับราชสำนักเท่านั้น ๒.ชินโตศาลเจ้า (Shrine Shinto) เป็นพิธีกรรมสำหรับประชาชน ๓.ชินโตนิกาย (Sectarian Shinto) มีนิกายมากมาย แต่นิกายใหญ่มีอยู่ ๑๓ นิกาย ๔.ชินโตนิกายใหม่ (Neo-Sectarian Shinto) เป็นชินโตแบบที่ ๓ นั่นเอง เพียงแต่ได้ รับรองให้เป็นศาสนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นต้นมาหลังจากศาสนาชินโตรัฐถูกยุบแล้ว ๕.ชินโตชาวบ้าน (Popular Shinto) เป็นเรื่องเกี่ยวกับไสยศาสตร์และพิธีกรรมที่ ชาว บ้านนิยมปฏิบัติกันมา

สรุปและวิเคราะห์ศาสนาชินโต เมื่อกล่าวถึงศาสนาชินโต ก็เป็นที่รู้จักโดยทั่วไปว่าไม่มีศาสดาหรือผู้ก่อตั้งเพราะศาสนา ชินโตเป็นศาสนาที่เกิดสืบเนื่องมาจากขนบประเพณีในการบูชาบรรพบุรุษ มีคัมภีร์ที่นับถือ หลักๆ ๒ อย่าง คือ คัมภีร์โคยิกิ ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับราชสำนักของ พระจักรพรรดิ ส่วน คัมภีร์นิฮองงิ ว่าด้วยเรื่องเกี่ยวกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ พิธีกรรมจะมีการบูชาเทพเจ้า ธรรมชาติ และบรรพบุรุษ จะใช้ศาลเจ้าในการประกอบ พิธีกรรมโดยจะมีนักบวชเป็นประธานในการทำพิธี

สรุปและวิเคราะห์ศาสนาชินโต จริยศาสตร์และหลักธรรม ส่วนใหญ่เป็นประมวลหลักความประพฤติของขาวญี่ปุ่น เป็น ข้อปฏิบัติของ ซามูไร นักรบหรือขุนนาง ดังนี้ ความกล้าหาญ ความขลาด ความภักดี ความ สะอาด การมีชีวิตแบบธรรมชาติ ส่วนสัญลักษณ์จะเป็นเสาโทริพบเห็นได้ที่ศาลเจ้า ดาบ กระจก และอัญมณี แม้ว่าในปัจจุบันในช่วงสมัยเรวะ ศาสนาชินโตจะถูกลดความสำคัญลงเป็นอย่างมาก แต่ ศาสนาชินโตก็ยังมีความสำคัญอยู่ ในแง่ของสัญลักษณ์ เพราะถือว่าเป็นสัญลักษณ์ทาง ศาสนาของประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีความเชื่อที่ว่าการนับถือศาสนาชินโตเป็นการรักษา เอกลักษณ์ความเป็นญี่ปุ่นและรักษาความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของคนในชาติไว้ด้วยกัน

จัดทำโดย นางสาวสุรดา สีดอกบวบ รหัสนักศึกษา ๖๔๑๐๑๒๑๒๒๘๐๐๑ นางสาวจารุวรรณ เชื้อสิทธิ์ รหัสนักศึกษา ๖๔๑๐๑๒๑๒๒๘๐๐๔ นางสาวดารารัตน์ จำใจ รหัสนักศึกษา ๖๔๑๐๑๒๑๒๒๘๐๐๕ นางสาวสัญจิตา เสือลาย รหัสนักศึกษา ๖๔๑๐๑๒๑๒๒๘๐๒๖ สาขาวิชาสังคมศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook