Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore เล่มที่ 5 การออกแบบพานไหว้ครู

เล่มที่ 5 การออกแบบพานไหว้ครู

Published by p.chutikan002, 2022-10-17 06:00:17

Description: เล่มที่ 5 การออกแบบพานไหว้ครู

Search

Read the Text Version

คำชี้แจง บทเรียนออนไลน์ หนว่ ยการเรยี นรู้ เรอ่ื ง พานไหว้ครู บทเรียนออนไลน์ หน่วยการเรียนรู้ เร่อื ง พานไหวค้ รู กล่มุ สาระการเรียนรู้การงานอาชพี ช้ันมัธยมศึกษาปที ี่ 5 วิชางานประดิษฐ์ ง32102 โรงเรียนชำนาญสามคั คีวิทยา ประกอบดว้ ย 6 เร่ือง เรอื่ งที่ 5 การออกแบบพานไหว้ครู ขอให้นักเรียนไดป้ ฏิบตั ิการเรียนรู้ตามคำแนะนำเปน็ ลำดบั ขัน้ ตอน ดังนี้ 1. นักเรียนควรศึกษาจุดประสงคก์ ารเรยี นรใู้ ห้เขา้ ใจ 2. ก่อนทจี่ ะศึกษาเนื้อหาใน นกั เรียนจะทำแบบทดสอบก่อนเรียน เพอื่ เป็นการประเมินความรู้พืน้ ฐาน 3. นักเรยี นควรมคี วามซื่อสตั ย์และความต้ังใจในการเรยี นรู้เพื่อพฒั นาตนเองลำดบั กิจกรรม โดยศกึ ษาดว้ ยตนเองจากบทเรียนออนไลน์ 4. เมอื่ ทำการศึกษาใบความรู้ โดยใชก้ ารเรียนรูแ้ บบบทเรยี นออนไลน์ นักเรยี นทำแบบทดสอบหลังเรยี นเพื่อเป็นการประเมินความรแู้ ละตรวจคำตอบ 5. หากนกั เรยี นยังไมเ่ ข้าใจเนื้อหาเรอ่ื งใดเรือ่ งหนง่ึ สามารถอา่ นทบทวนเนื้อหาในเรื่องน้ันๆ จนกว่าจะเขา้ ใจ 6. สำหรบั การปฏิบัตินกั เรยี นจะได้ปฏบิ ตั ชิ ิน้ งานกับครใู นช้ันเรียน

จุดประสงคก์ ารเรียนรู้ เรอ่ื งท่ี 5 การออกแบบพานไหว้ครู 1. อธบิ ายลกั ษณะโดยทั่วไปของการออกแบบพานไหว้ครูได้ 2. สามารถเลอื กวัสดแุ ละอุปกรณ์ที่ใชใ้ นการเย็บแบบ 3. อธิบายข้ันตอนการเยบ็ แบบได้อยา่ งถูกตอ้ ง 4. สามารถออกแบบพานไหว้ครูได้ 5. เกิดเจตคตทิ ดี่ ีและสรา้ งชนิ้ งานด้วยความภาคภมู ใิ จและร่วมอนรุ ักษ์ พร้อมสืบสานวฒั นธรรมไทยอยา่ งยงั่ ยนื

ใบความรู้ที่ 1 การออกแบบ การออกแบบเป็นงานที่เกิดจากความพยายามในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่เพื่อนำประโยชน์ไปใช้ใ น ชีวิตประจำวันทั้งการใช้สอยและด้านความรู้สึกนึกคิดได้อย่างเหมาะสมสวยงาม หรือดีกว่าที่มีอยู่เดิมในด้าน วตั ถุการผลติ กระบวนการผลิต สมัยนิยม สภาพเศรษฐกจิ ความหมายของการออกแบบ การออกแบบ หมายถึง การรู้จักวางแผน เพื่อที่จะได้ลงมือกระทำตามที่ต้องการและการ รู้จักเลือกวสั ดุ วิธกี ารเพือ่ ทำตามท่ีตอ้ งการนน้ั โดยใหส้ อดคลอ้ งกบั ลกั ษณะรปู แบบ และคุณสมบัตขิ องวสั ดุ แต่ละชนิดตามความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบอีกความหมายหน่ึงที่ให้ไว้ หมายถึง การปรับปรุง รูปแบบผลงานที่มีอยู่แล้ว หรือสิ่งต่างที่มีอยู่แล้วให้เหมาะสม ให้มีความแปลกความใหม่เพิ่มขึ้น (อารี สุทธิ พันธุ์ ,2527) การออกแบบ คือ การวางแผนสร้างสรรค์รูปแบบ โดยวางแผนจัดส่วนประกอบของการ ออกแบบ ให้สมั พนั ธ์กบั ประโยชนใ์ ช้สอยวสั ดุ และการผลิตของส่งิ ทตี่ อ้ งการออกแบบนนั้ (วิรุณ ต้ังเจริญ ,2527) การออกแบบ เป็นกจิ กรรมอนั สำคญั ประการหนึ่งของมนุษย์ ซง่ึ หมายถึงสง่ิ ทีม่ อี ยูใ่ นความ นึกคิด อันอาจจะเป็นโครงการหรือรูปแบบที่นักออกแบบกำหนดขึ้นด้วยการจัด ท่าทาง ถ้อยคำ เส้น สี แสง เสียง รปู แบบ และวสั ดตุ า่ ง ๆ โดยมีกฎเกณฑ์ทางความงาม (สทิ ธศิ กั ดิ์ ธญั ศรีสวัสดกิ์ ุล ,2529) การออกแบบพานไหว้ครู หมายถึง การทำต้นแบบ หรือการทำโครงสร้างของชิ้นงานก่อน การประดษิ ฐ์ชน้ิ งาน ท่สี ามารถถา่ ยทอดเปน็ รูปแบบลักษณะของช้นิ งานให้ผู้อน่ื สามารถรบั รู้ในลกั ษณะภาพร่าง สองมิติ หรือ สามมิติ ให้เกิดความงาม หรือคุณค่าทางจิตใจ จากการประยุกต์เอกลักษณ์ไทยเป็นสมัย นิยมท่ี ทรงคุณค่าสืบสานความเปน็ ไทย ( ชุติกาญจน์ ไพรัตน์,2565 ) การออกแบบในงานประดษิ ฐ์มีความสำคญั และมีประโยชน์ ดังนี้ 1. ทำใหส้ ามารถถ่ายทอดความคิด จินตนาการ ใหผ้ อู้ นื่ รบั รู้ได้ 2. สื่อความหมาย รปู รา่ งลกั ษณะ โครงสรา้ งของชิ้นงาน 3. ทำให้สามารถวางแผนกำหนดเวลาแรงงานในการทำงานได้ 4. ทำให้สามารถจดั งบประมาณหรอื ร้คู า่ ใช้จ่ายในการทำงานได้

คุณสมบตั ขิ องผู้ออกแบบงานประดิษฐ์ ในการปฏิบตั ิการออกแบบนน้ั ผอู้ อกแบบควรมีการเตรยี มความพรอ้ มและฝึกฝนตนเองให้มคี ุณสมบัติ ดงั นี้ 1. มที ักษะในการออกแบบ การออกแบบเป็นงานทป่ี ฏบิ ตั โิ ดยการถ่ายทอดความคดิ จนิ ตนาการ ทเ่ี ปน็ ธรรมใหเ้ ป็นรูปธรรม ซ่งึ ออกแบบจะตอ้ งฝึกทกั ษะ หมัน่ ศกึ ษา หาความรู้จากตำรา เอกสาร ต่างๆ และฝกึ ปฏิบตั บิ ่อยๆ อย่างสมำ่ เสมอ 2. มีความคดิ สร้างสรรค์ เปน็ แนวคิดหรือการปฏบิ ตั ิท่ีมีการปรบั ปรุงเปลีย่ นแปลงใหไ้ ดผ้ ลงาน ที่ดีงามกว่าเดิม สามารถปรบั ปรุงและพฒั นาไดจ้ ากสิ่งรอบข้าง เช่น การศึกษาหาความรู้ การพบเห็นสงิ่ แปลกใหม่ การใชช้ ีวติ ประจำวัน 3. มีความทนั สมยั ต่อเหตกุ ารณ์ ผู้ออกแบบจะต้องมีความทันสมัย มกี ารติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหวการเปลยี่ นแปลงของสงั คม รคู้ วามนยิ มของคนทั่วไปทกุ ระยะ 4. มีความเขา้ ใจงานเฉพาะด้าน การออกแบบงานแตล่ ะชนดิ มคี วามแตกตา่ งกัน ทง้ั ดา้ นแนวคดิ รปู แบบ วัสดุอุปกรณ์ และวธิ ีการผลติ ดังนั้นผ้อู อกแบบควรศึกษาหาความรู้ ความเขา้ ใจเฉพาะ ด้านใหช้ ัดเจนเพื่อนำความรู้ไปใช้สอยสอดคล้องกับความเป็นจรงิ 5. มีความรอบร้หู ลกั จติ วิทยาทเี่ กี่ยวข้องกบั งาน ในการออกแบบงานควรนำหลกั จติ วิทยาท่ี เกี่ยวข้องมาใชก้ บั งานเพ่ือดงึ ดูดความสนใจ ความต้องการของบคุ คลแตล่ ะวยั การออกแบบเพือ่ การโฆษณา ท่ีต้องใชจ้ ิตวทิ ยาในการชีน้ ำใหเ้ ห็นคณุ ค่าของงาน เป็นต้น หลกั การออกแบบงานประดิษฐ์ 1. สัดส่วน เป็นกฎเกณฑ์เก่ยี วกับความสมั พันธร์ ะหวา่ งสว่ นตา่ ง ๆ ของรปู ทรง และท่ีวา่ ง 2. ความสมดุล มคี ามสำคัญอยา่ งมากท่ีทำให้มองแล้วเกิดความรู้สกึ สบายตา ไม่ขดั ต่อความรู้สึก 3. ช่วงจังหวะ มีความสำคญั ต่อการมองเหน็ ให้ความรู้สึกต่อสายตา 4. ความกลมกลืน ความเป็นอันหน่ึงอนั เดียวกนั เข้ากนั ได้ ไมข่ ัดกนั 5. จุดเดน่ มคี วามสำคญั และเป็นหัวใจของงานทจ่ี ะทำให้ผู้พบเห็นเกดิ ความสนใจได้

หลักศลิ ปะในงานประดิษฐ์ เปน็ หลกั การเบ้ืองตน้ ทีผ่ ู้ออกแบบควรคำนงึ ถึงเพ่ือนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับงานออกแบบของตนเอง ใหส้ วยงามเหมาะสม โดยนำไปผสมผสานกบั ความคดิ สรา้ งสรรค์ ความต้องการ รวมทง้ั จุดมงุ่ หมายของ ผู้ประดิษฐ์เปน็ สำคัญ ความรู้พ้นื ฐานทีผ่ อู้ อกแบบควรคำนึงถงึ ได้แก่ 1. เสน้ (Line) แตล่ ะลักษณะมีอิทธพิ ลต่อความรสู้ ึกต่างกัน การนำเส้นต่างๆ มาใชใ้ นการ ออกแบบ ผอู้ อกแบบควรคำนึงถึงลักษณะของเสน้ ดงั น้ี - เสน้ ตรง ให้ความรสู้ กึ ราบเรียบ - เสน้ ตั้ง ใหค้ วามรสู้ ึกม่นั คง - เสน้ นอน ใหค้ วามรู้สึกในทางกว้าง - เสน้ โคง้ เส้นคด เสน้ คลน่ื ใหค้ วามรู้สึกอ่อนไหว เคลื่อนไหว - เสน้ หัก ประกอบด้วยมมุ เหลยี่ ม และเส้นใหค้ วามรู้สึกถึงการเคล่อื นไหว 2. ความรู้เรอ่ื งรปู ร่าง (Shape) หมายถึง เสน้ รอบนอกของวตั ถุ ทีส่ ามารถสอ่ื ความหมายถึง ความกวา้ งและยาว เชน่ รปู ร่างกลม สูง สามเหล่ียม ส่เี หล่ยี ม วงรี 3. ความรเู้ ร่ืองรปู ทรง (Form) รูปทรง เปน็ ลักษณะของวัตถุท่สี ามารถสื่อความหมายถึง ความกว้าง ความหนา และความยาว 4. ความรู้เรอ่ื งแสงเงา (Shading) สมั พนั ธห์ รือเก่ียวข้องกนั เม่ือมแี สงมากระทบ ดา้ นตรงกันข้ามกับแสงกระทบจะเกดิ เงา 5. ความรู้เร่อื งสี (Colors) เป็นองคป์ ระกอบสำคัญทีช่ ่วยในงานประดิษฐ์มคี ณุ ค่า มชี วี ติ ชวี ดังนัน้ ผ้ทู อ่ี อกแบบงานประดิษฐ์ ควรนำหลกั เกณฑม์ าใชใ้ ห้เปน็ ประโยชน์ ดงั นี้ - สโี ทนร้อน เป็นสที ี่แสดงความอบอุ่น ร่าเริง แจม่ ใส สว่างไสว แสดงระยะใกล้ และเพิ่มขนาดของวัตถใุ ห้ใหญข่ ้นึ เช่น สแี ดง สเี หลอื งส้ม เปน็ ตน้ - สีโทนเยน็ เป็นสีทแ่ี สดงความราบเรยี บ สงบ เยอื กเย็น แสดงระยะไกลออกไป และลดขนาดของวัตถุให้เล็กลง เชน่ สนี ้ำเงิน เขียว เทา ฟ้า 6. ความรูเ้ รื่องผวิ สัมผัสของชิน้ งาน (Testier) ผิวของวสั ดุทใี่ ช้ในงานประดษิ ฐ์มี หลายลักษณะ เช่น ผวิ เรียบ ผวิ มัน ผิวขรขุ ระ ผวิ หยาบ ผิวด้าน เปน็ ตน้ การใชผ้ วิ สัมผัสตกแต่งงานประดิษฐ์ ทำให้ความร้สู กึ ทางการสมั ผัส ถ้าตกแต่งอยา่ งเหมาะสม จะทำให้งานตา่ งๆ มีคุณค่า และมคี ุณสมบัติพเิ ศษ เฉพาะตวั เชน่ การพับกลบี ใบตอง การเยบ็ แบบ การร้อยมาลยั เปน็ ตน้ 7. ช่องวา่ ง (Space) ในทางการออกแบบ หมายถึง บริเวณว่าง ความวา่ ง ช่องไฟ ซ่งึ เปน็ บริเวณว่าง ท่ีรองรบั วัตถุที่มองเห็นเกิดขึ้นระหว่างรปู และพน้ื

การออกแบบท่ีดี การออกแบบทด่ี ีจะต้องมเี กณฑ์ในการยึดถือปฏบิ ตั ิที่ถูกตอ้ ง ดังน้ี 1. หนา้ ท่ีใช้สอย หรอื การนำไปใช้ เพราะของแต่ละอยา่ งมหี น้าที่ในการใชส้ อยไมเ่ หมอื นกัน การออกแบบจงึ ต้องใหเ้ หมาะสม และถกู ต้องกบั โอกาสใช้สอย 2. ความประหยัด หมายถึง การประหยดั วสั ดุ และเงินทองทีจ่ ะนำมาลงทนุ ด้วย สงิ่ ท่ปี ระดิษฐจ์ ะมีคุณภาพดีขนาดไหนกต็ าม ถ้าราคาในการผลติ สูง ไม่ถือวา่ เปน็ การออกแบบท่ีถูกต้อง แบบทอ่ี อกควรจะราคาถกู ง่าย และเหมาะสม 3. ความทนทาน ส่ิงประดิษฐ์ที่ออกแบบ ถงึ แมจ้ ะออกแบบใหส้ วยงาม ราคาถูก ถา้ ขาดความทนทานคณุ คา่ ของสง่ิ นน้ั กจ็ ะด้อยค่าลงไป 4. วสั ดุ การเลอื กวสั ดุต่าง ๆ ที่จะนำมาใชง้ านนั้น นอกจากประหยดั แลว้ ตอ้ งเหมาะสม กับประโยชนใ์ ช้สอยดว้ ย 5. โครงสร้าง ผอู้ อกแบบจะต้องศึกษาโครงสร้าง หรือธรรมชาตขิ องสิ่งทจ่ี ะประดษิ ฐ์ เหล่านน้ั ใหเ้ ขา้ ใจเป็นอยา่ งดีเสยี กอ่ น จงึ จะเป็นนักออกแบบท่ีดี 6. ความงาม คือ ความพอดี ในการตกแตง่ หรอื ออกแบบงานน้ันให้เหมาะสมสวยงาม 7. ลักษณะเดน่ พเิ ศษเฉพาะอยา่ ง การออกแบบจะต้องเน้นจุดเด่นจุดดีของแตล่ ะสิง่ ออกมา ใหเ้ หน็ เดน่ ชดั จึงถือว่าการออกแบบน้ันสมบูรณ์

ประเภทของการจัดพานไหว้ครู ประเภทของการจัดพานไหว้ครนู น้ั สามารถจำแนกไดห้ ลายลกั ษณะ เน่ืองจากรปู แบบของพานไหว้ครู นั้นไมม่ รี ูปแบบ วสั ดเุ ฉพาะสำหรับการจดั พานไหว้ครู ดงั นน้ั พานไหวค้ รจู งึ จำแนกออกเป็น 3 ลกั ษณะ 1. แบ่งตามเทคนคิ การปักพื้นพาน - พานปกั เสริมรูปทรง หมายถงึ การจดั พานให้มีขนาดใหญ่กว่าหนุ่ พานหรือท่ยี ึด กล่าวคอื การนำดอกไม้มาต่อก้านใหม้ ีความยาวที่เหมาะสมต่อรูปแบบของการจัดพาน แลว้ ปกั ลงในหนุ่ พาน หรือทยี่ ดึ โดยมสี ว่ นกา้ นท่ีพ้นจากทีย่ ึด หรือหนุ่ พาน เพ่ือให้รูปทรงของหุน่ พานเปน็ ลักษณะตามต้องการ ลกั ษณะการปักจะเร่ิมปักจากส่วนยอดพานลงมาส่วนฐานพาน ในขณะปักต้องเพ่ิมความยาวของก้านท่เี สยี บ ดอกไม้ใหย้ าวออกตามรูปทรงของหุ่นพาน - พานปกั เสมอรูปทรง หมายถงึ การจดั พานใหม้ ีขนาดเสมอหรือใกลเ้ คียงกับหุ่นพาน กลา่ วคือ การนำดอกไมม้ าต่อกา้ นใหม้ ีความยาวพอสมควร แล้วปกั ลงในหุ่นพานโดยใหโ้ คนดอกไมเ้ สมอ ห่นุ พาน เพ่ือให้ได้รูปทรงของพานเปน็ ไปตามลักษณะรูปทรงของหุ่นพานทส่ี ร้างขึ้นหรอื การนำกลบี ดอกไม้ ใบไม้ ใบตองมาวางทาบกับหุ่นพาน แล้วปกั ด้วยไม้กลัด ตะปเู ขม็ ลวดตัวยู ลงในหุ่นพาน เพอื่ ให้ได้รปู ทรง ของพานเป็นไปตามลักษณะรูปทรงของหุ่นพาน - พานปักเพ่มิ รูปทรง หมายถึง การจัดพานโดยการเพ่มิ ดอกไมแ้ ละวสั ดุท่ใี ชเ้ ปน็ หุ่นพาน พร้อมกันจนได้รปู ทรงของพานกลา่ วคอื การนำดอกไมม้ าต่อกา้ นให้มีความยาวที่เหมาะสมตอ่ รูปแบบของ การจัดพาน แลว้ วางดอกไมใ้ หเ้ สมอกับปากพาน แล้วนำวัสดทุ ใี่ ชท้ ำหุ่นพานมากลบก้านที่ตอ่ จากดอกไม้ให้มิด แล้วจึงปกั ดอกไม้พร้อมกับนำวัสดมุ ากลบทีย่ ึด ทำเชน่ นจี้ นได้รปู ทรงของพานตามต้องการ 2. แบ่งตามหน้าทีใ่ ชส้ อย - พานไหวค้ รู หมายถงึ พานทใี่ ช้มอบใหค้ รู จะต้องประกอบด้วย พานดอกไม้ พานธูปเทียน หรืออาจจัดรวมเป็นพานเดียวกนั กไ็ ด้ - พานบูชาพระ หมายถึง รูปแบบของพานดอกไม้ทใี่ ชใ้ นพิธไี หวค้ รู - พานตง้ั ประดบั หมายถงึ รูปแบบของพานดอกไม้ทีใ่ ช้ในพธิ ีไหว้ครู ท่เี ห็นจากตัวอย่าง ในใบความรู้ สามารถนำมาใชเ้ ป็นพานตั้งประดบั เพื่อเสริมบรรยากาศแบบไทยได้ แตต่ ้องคำนงึ ถึงสถานที่พน้ื ที่ จดั วางพานดว้ ย

3. แบ่งตามแบบของรปู ทรงการจดั พาน - แบบโบราณหรือแบบประณีตศิลป์ หมายถงึ รปู แบบท่ีนิยมจัดกนั มาทุกสมยั จนเปน็ เอกลกั ษณ์ของแบบการจดั พาน รวมทั้งวธิ ีของการประดษิ ฐม์ ีความประณีตละเมยี ดละไม - แบบรว่ มสมัยหรือแบบประยุกตศ์ ิลป์ หมายถึง รูปแบบคลี่คลายจากแบบโบราณ เพอื่ ตอบสนองความต้องการทางด้านความคดิ สร้างสรรค์และวธิ กี ารประดิษฐ์ทันต่อสถานการณใ์ นปัจจบุ นั แตย่ งั คงความเอกลกั ษณ์ คุณค่าและคุณประโยชน์ของการจัดพาน ตวั อยา่ งการจัดพานไหว้ครู ภาพตัวอยา่ งพานไหว้ครู จาก หนังสือวัฒนธรรมการจัดพานไหว้ครู ของภทั ราวุธ ทองแย้ม



ผลงานการออกแบบพานไหว้ครขู องผู้เรียน ภาคเรียนท่ี 2 ปกี ารศึกษา 2564











บรรณานุกรม จนั ทนา เพชรสงคราม. งานใบตอง. กรุงเทพฯ: ไทยวฒั นาพานชิ . 2537. ปรชั ญา แพงมงคล. งานใบตองสีสนั เอกลักษณ์ไทย กรงุ เทพฯ: บ.สำนกั พิมพ์แมบ่ า้ น จำกัด.2553. เพ็ญทิพย์ นาคสวุ รรณ์ (บรรณาธกิ าร).มีมอื และอาชีพอบันท่ี ๖ บายศรีผ้าจิ๋ว.กรุงเทพฯ.ทรัพจรญู การพิมพ์,มปป. ภทั ราวุธ ทองแย้ม. บายศรขี องสูงทีท่ รงคณุ คา่ . กรุงเทพฯ: สำนักพมิ พ์แม่บ้าน. มปป. ภทั ราวุธ ทองแย้ม. วฒั นธรรมการจดั พานไหวค้ รู กรุงเทพฯ: สำนกั พมิ พ์แมบ่ ้าน. มปป. วันเพ็ญ พงษเ์ ก่า. ( 2537 ) . หนงั สือเรยี นสาระการเรยี นรู้พื้นฐานงานประดิษฐ์ . พิมพ์ท่คี รุ สุ ภา กรงุ เทพ ฯ มณีรัตน์ จันทะผลนิ . งานใบตอง พิมพ์ครัง้ ท่ี ๓. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทร์พริ้นตง๊ิ แอนด์พับลิชซง่ิ .2540. http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=1583 http://www.vcharkarn.com/vblog/33165/3


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook