คำชีแ้ จง บทเรยี นออนไลน์ หนว่ ยการเรียนรู้ เรือ่ ง พานไหวค้ รู บทเรียนออนไลน์ หนว่ ยการเรียนรู้ เรอ่ื ง พานไหว้ครู กลมุ่ สาระการเรยี นรู้การงานอาชพี ช้นั มัธยมศึกษาปีที่ 5 วชิ างานประดิษฐ์ ง32102 โรงเรียนชำนาญสามคั คีวิทยา ประกอบด้วย 6 เร่อื ง เรื่องที่ 1 ประวตั ิความเป็นมาของการไหวค้ รู ขอใหน้ ักเรยี นได้ปฏบิ ตั กิ ารเรียนร้ตู ามคำแนะนำเป็นลำดบั ขน้ั ตอน ดังนี้ 1. นักเรยี นควรศกึ ษาจุดประสงคก์ ารเรียนรูใ้ ห้เข้าใจ 2. กอ่ นท่จี ะศกึ ษาเนื้อหาใน นักเรยี นจะทำแบบทดสอบก่อนเรยี น เพื่อเป็นการประเมินความรู้พืน้ ฐาน 3. นักเรียนควรมีความซื่อสตั ย์และความต้ังใจในการเรียนรู้เพือ่ พัฒนาตนเองลำดบั กจิ กรรม โดยศึกษาด้วยตนเองจากบทเรยี นออนไลน์ 4. เมื่อทำการศึกษาใบความรู้ โดยใช้การเรยี นรแู้ บบบทเรยี นออนไลน์ นักเรยี นทำแบบทดสอบหลงั เรียนเพือ่ เป็นการประเมนิ ความรแู้ ละตรวจคำตอบ 5. หากนกั เรยี นยังไม่เข้าใจเนื้อหาเร่อื งใดเรือ่ งหนงึ่ สามารถอา่ นทบทวนเน้ือหาในเรื่องน้นั ๆ จนกวา่ จะเข้าใจ 6. สำหรบั การปฏบิ ตั นิ ักเรยี นจะไดป้ ฏิบตั ิช้ินงานกับครูในชั้นเรยี น
จดุ ประสงค์การเรียนรู้ ชดุ ที่ 1 ประวตั คิ วามเป็นมาของการไหว้ครู 1. บอกประวตั คิ วามเปน็ มา ประโยชนแ์ ละคณุ คา่ ของพานไหว้ครไู ด้ 2. อธบิ ายความหมาย ความสำคญั ของสญั ลักษณ์ของการไหวค้ รไู ด้ 3. สามารถกล่าวคำรอ้ งบทไหวค้ รูไดอ้ ย่างถกู ตอ้ ง 4. อธิบายประเภทของพานไหวค้ รูได้อยา่ งถูกตอ้ ง 5. เกิดเจตคตทิ ี่ดแี ละร่วมกิจกรรมการไหว้ครูดว้ ยความศรทั ธาร่วมอนรุ กั ษ์ พร้อมสบื สานวัฒนธรรมไทยอย่างยง่ั ยืน
ใบความรทู้ ี่ 1.1 ประวตั คิ วามเป็นมาของพานไหว้ครู การไหวค้ รู เร่ิมต้นข้นึ ในสมยั สุโขทัย ในวรรณกรรมเรอ่ื ง ตำรับนางนพมาศหรือทา้ วศรจี ฬุ าลักษณ์ ไดก้ ลา่ วถงึ รายละเอยี ดของการจดั พานไว้วา่ “ในเดอื นเมษายน มพี ระราชพิธีสนานใหญ่ บรรดาเจา้ เมือง เศรษฐี คหบดี เขา้ เฝา้ ถวายพระรว่ งเจ้าเพ่อื ถวายเครอื่ งบรรณาการ พระสนมกำนัลต่าง ๆ ก็ร้อยกรองดอกไม้เป็น รูปสัตว์ตา่ ง ๆ ใสห่ มากถวายสมเดจ็ พระเจ้าอย่หู วั เพื่อพระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าในคร้ังนนั้ นางนพมาศได้คิดร้อย กรองดอกไม้สีเหลืองเป็นพานสองชั้นรองขัน มีระย้าระบายอย่างงดงามในขัน ใส่เมี่ยงหมากแล้วร้อยดอกไม้ เป็นตาข่ายคลุมขันอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งมีความงดงามและถูกกาลเทศะเป็นอย่างยิ่ง สมเด็จพระร่วงเจ้าจึงบัญญัติว่า ถ้าชาวไทยทำการรบั แขกเป็นการสนานใหญ่ มีการอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล กใ็ ห้รอ้ ยกรองดอกไม้เปน็ พานขันหมาก และใหเ้ รียกว่า พานขันหมาก นอกจากนี้ในสมัยรัตนโกสินทร์ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดพานมีความเจริญรุ่งเรืองมากมายเพื่อใช้ เป็นพุทธบูชา ดั่งข้อความต่อไปนี้ “การจัดพานพุ่มเครื่องทองน้อยก็เหมือนกัน แต่โบราณใช้ดอกไม้มัดช่อ เป็นดอกบัว แล้วเสียบในถ้วยแก้วเชิง ต่อมาสมเด็จพระพันปีหลวงทรงคิดเย็บดอกไม้ติดใบตองเป็นรูปดอกบัว สอดสีสนั ต่างๆ แตก่ ารเย็บนนั้ ไม่สะดวกนกั คร้ันเม่อื ถึงพระศพเจา้ ฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรรี ตั นโกสินทร์ เวลาประมาณ 40 ปี มาแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงทิพยรัตนกิริตกุลินี พระมาตุจฉาของสมเด็จ กรมหลวงศรรี ัตนโกสินทร ได้ทรงคิดเกลาผลมะละกอและหัวมันเทศเปน็ รปู ดอกบวั ใช้เป็นแกนใน แล้วพับกลีบ ดอกไม้ ใบไม้ ติดแกนนั้นด้วยเข็มหมุด จึงกลายเป็นพุ่มเล็กๆ ที่งดงามทำได้สะดวก โดยทำลวดลายได้ง่าย เป็นที่นิยมใช้ต่อกันมาจนบดั นี้” จากข้อความทั้งสองข้อความนัน้ ย่อมแสดงถึงงานฝีมือเกีย่ วกับการจัดพานท่ี สามารถสรุปได้เป็น 2 ลักษณะด้วยกัน ไดแ้ ก่ 1. การจัดพานเพื่อใชป้ ระดบั ตกแตง่ เพ่ือใหเ้ กดิ ความสวยงามตามโอกาส 2. การจดั พานเพอ่ื ใช้ในการประกอบพธิ ีการทางศาสนา ในปัจจุบันนั้นการจัดพานยังคงไดร้ บั ความนยิ มใชป้ ระโยชน์ในโอกาสต่าง ๆ มากมาย สำหรับเด็กและ เยาวชนนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องสัมผัสกับการจัดพานเป็นประจำทุกปี เพื่อใช้ในโอกาสไหว้ครู ซึ่งเป็นกิจกรรม ของสถานบันการศึกษาทุกแห่งจัดขึ้น กิจกรรมที่จัดขึ้นนั้นนอกจากจะแสดงถึงความเคารพ การรู้คุณต่อครู อาจารย์แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนไดส้ ัมผัสกับวัฒนธรรมการจัดดอกไม้สด อันเป็นเอกลักษณ์ทางงาน ฝมี อื ของไทยอกี ดว้ ย
ครูและการไหว้ครู ภาพ ผลงานพานไหว้ครขู องนักเรยี น โรงเรียนชำนาญสามัคควี ิทยา ปี 2563 ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ คำว่า “ครู” ปรากฏเป็นครั้งแรก ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงในจารึกหลักที่ 1 มีข้อความที่แสดงความหมายของคำว่า ครู เกี่ยวกับการเป็นผู้ สั่งสอนให้รู้บาปบุญคุณโทษและทำความดี ครูคนแรกของทุกคน คือ พ่อ แม่ ที่เริ่มต้นการสอนให้เรียนรู้ชีวิต ตั้งแต่การหัดกิน หัดเดิน หัดพูด การเป็นอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างปลอดภัย ดังนั้นพ่อ แม่ ก็เปรียบได้กับ ครูประจำบ้าน สำหรับสถานศึกษานั้น ครู มีหน้าที่หัดอ่าน เขียนหนังสือ วิชาความรู้ วิชาชีพและอบรมให้รู้จัก การวางตวั เมื่ออยู่ในสงั คมตา่ ง ๆ ความผูกพันระวา่ งเดก็ กบั ครูนนั้ จงึ เปน็ ส่งิ ทผ่ี กู พันกนั มาก เพราะครูเปรียบเสมือน พ่อ - แม่ คนที่ 2 นอกจากนี้คำสุภาษิต คำพังเพยต่าง ๆ ที่แสดงความผูกพัน ระหว่าง ครกู ับศษิ ย์ เชน่ รักววั ให้ผูก รักลูกใหต้ ี การไหวค้ รูนั้นเรม่ิ ขึน้ ในสมยั พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกลา้ เจ้าอยู่หัว ภาพ กจิ กรรมการไหวค้ รู โรงเรียนชำนาญสามัคควี ิทยา ปี 2563
พิธีไหว้ครูของโรงเรียนต่าง ๆ ในปัจจุบันเริ่มเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2486 โดยกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้กำหนดแบบพิธีไหว้ครูให้ทกุ โรงเรียนปฏบิ ัติเป็นแบบเดียวกันในภาคต้นของปีการศึกษา ต่อมาได้กำหนด เอาวันพฤหัสบดีของเดือนมิถุนายนเป็นวันไหว้ครูของทุกโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ การยึดถือวัน พฤหัสบดเี ปน็ วนั ครู ได้ยึดถอื ตามคติ ทางฮนิ ดู ทีเ่ ชื่อว่าพระพฤหสั บดีมีคณุ ลักษณะท่ีเจรจาไพเราะ จึงได้ ชื่อว่า คีษปติ แปลว่าผู้เป็นใหญ่แห่งการพูด กายของพระพฤหัสบดีมีแสงสว่าง เหลืองดุจบุษราคัม เป็นผู้ให้ความ อบอุ่น ทีเมตตากรุณาและสง่ เสริมในเรื่องของความเฉลียวฉลาดในวิทยาการต่าง ๆ คุณสมบัตินีถ้ ือวา่ ได้ว่าเปน็ คณุ สมบัตขิ องครู ดงั นั้นจงึ ถอื เอาวนั พฤหสั บดเี ป็นวนั ครู ซง่ึ เปน็ วันมงคลและไดม้ ีการประกาศให้ถือเอาวนั ท่ี 16 มกราคมของทุกปเี ปน็ วันครู ในสมัยโบราณการศึกษานั้นต้องเรียนที่วัดและพระเป็นครูผู้สอน ผู้ชายจึงมีโอกาสได้เรียนเขียนอ่าน ในการนำลูกชายไปฝากเรียนกับพระนัน้ จะต้องเตรยี มดอกไม้ ธูป เทียน ใส่พานพร้อมหมากพลู นำไปถวายพระ เรียกว่า เป็นการขึ้นครู หรือไหว้ครูตามประเพณีไทย ส่วนผู้หญิงจะให้เรียนรู้งานบ้านการเรือนจากผู้เป็นแม่ หรือญาติ สำหรับดอกไม้ที่ใช้ ในการไหว้ครูต้องใช้ดอกไม้และสิ่งที่มีความหมายเป็นมงคลและเกี่ยวข้องกับ สตปิ ัญญาเพ่อื ใหแ้ ตกฉาน ซึง่ ประกอบไปด้วย 1. ดอกมะเขือ หมายถงึ ความอ่อนนอ้ มถ่อมตน ตามลักษณะของดอกมะเขือจะมีลักษณะควำ่ ดอกลง เสมอ เมือ่ จะเปน็ ลกู มะเขือและความสวามารถในการเกิดและขยายพันธขุ์ องมะเขือเปรียบได้ด่งั ปัญญาความคิด ทีพ่ รอ้ มจะเกดิ และพฒั นาไดอ้ ย่างรวดเร็วในทุกเวลาและสถานที่ 2. หญ้าแพรก หมายถึง ความเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว ความทนทาน ความอดทนอย่างสูง และ ความแตกฉาน คือ หญ้าแพรก แม้ในหน้าแล้งจะเหี่ยวเฉาไปบ้าง แต่ถ้าได้รับน้ำหรือน้ำฝนเมื่อใดก็พร้อมจะ เจริญงอกงามในทนั ที เปรยี บเสมือนเดก็ ผ้มู ารับการเล่าเรียน เมอื่ ได้รบั การอบรมส่ังสอนจากครูอาจารย์ก็พร้อม ท่ีจะรับรแู้ ละนำไปปฏิบตั ิให้เกดิ ผลดที ้ังต่อตนเองและการสังคมต่อไป 3. ดอกเข็ม หมายถึง ความแหลมคมประดุจเข็ม เปรียบดังสติปัญญาที่มีความแหลมคมราวเข็มหรอื อาวธุ ทจ่ี ะใชป้ ้องกันตนได้ในทกุ โอกาส 4. ข้าวตอก หมายถึง ปัญญาความคิดที่แตกฉานเพิ่มพูนมากขึ้นกว่าเดิม เช่นเดียวกับข้าวตอกที่เม่ือ โดนความรอ้ นจะแตกพองออกและมีปริมาณมากข้ึน ในปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นอาจเป็นสิ่งที่หาได้ยากในบางท้องถิ่น ซึ่งสามารถใช้สิ่งอื่นทดแทนเพ่ือ การจดั พานไหวค้ รใู ห้มคี วามสวยงาม โดยพิธีการตา่ ง ๆ น้นั ยงั คงยดึ ถอื ตามรูปแบบท่ีปฏบิ ัติกนั มาตามประเพณี
คำกล่าวไหว้ครู (นำ) ปาเจราจริยาโหนติ คุณุตตรานุสาสกา ขา้ ขอประณตน้อมสักการ (รบั พร้อมกัน) บรู พคณาจารย์ ผู้กอรปประโยชนศ์ กึ ษา ทง้ั ทา่ นผู้ประสาทวิชา อบรมจรยิ า แกข่ ้าในกาลปจั จุบนั ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลกึ คณุ อนนั ต์ ด้วยใจนิยมบชู า ขอเดชกตเวทติ า อีกวิรยิ ะพา ปญั ญาให้เกดิ แตกฉาน ศึกษาสำเรจ็ ทุกประการ อายุยืนนาน อยู่ในศลี ธรรมอนั ดี ให้ได้เป็นเกียรติเปน็ ศรี ประโยชนท์ วี แก่ชาติและประเทศไทย เทอญ (นำ) ปัญญาวุฒกิ เร เต เต ทินโนวาเท นมามิหัง ความหมาย ปาเจราจรยิ าโหนติ คุณตุ ตรานสุ าสกา หมายถึง ครู อาจารยเ์ ปน็ ผ้ทู รงคุณอันประเสริฐย่ิง เปน็ ผ้พู ร่ำสอนศลิ ปวทิ ยา ปัญญาวุฒิกเร เต เต ทินโนวาเท นมามหิ ัง หมายถึง ข้าพเจา้ ขอนอบน้อมเหลา่ น้นั ผูใ้ ห้โอวาท ผทู้ ำใหป้ ญั ญาเจริญข้าพเจา้ ขอกราบไหวค้ รูอาจารยเ์ หล่านน้ั ด้วยความเคารพ
ใบความรทู้ ่ี 1.2 เรอ่ื ง คุณคา่ และคณุ ประโยชน์ในการจัดพานไหว้ครู การไหว้ครู เป็นการแสดงความกตัญญูต่อครูของศิษย์ ปลูกจิตสำนึกให้แก่เด็กและเยาวชนได้รู้จัก การรู้คุณคน ประพฤติตนให้อยู่ในสิ่งทีด่ ีงาม การไหว้ครูมีหลายรปู แบบท่ีกล่าวมาแล้วก็เป็นการไหว้ครูอาจารย์ ทั่วไปหรือการไหว้ครูสามัญท่ีประสิทธิ์ประสาทวชิ าความรู้ให้แกศ่ ิษย์ นอกจากนี้การไหว้ครู ยังมีครูเฉพาะทาง อีกมากมาย เช่น ครูโขนละคร ครูดนตรี ครูกระบี่กระบอง ครูมวย ครูนาฏศิลป์ ครูช่างด้านต่าง ๆ ครูเหล่านี้ เป็นครูที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาที่จะนำไปประกอบอาชีพต่างๆ อีกมากมาย พิธีไหว้ครูเหล่านี้ก็จะมีรายละเอียด และพธิ กี รรมท่แี ตกต่างออกไปอีก คุณค่าและคุณประโยชน์ของการจัดพานไหว้ครู คุณค่าและคุณประโยชนข์ องการจดั พานไหวค้ รู มมี ากมายหลายประการด้วยกัน เน่ืองจากการจดั พาน ไหวค้ รูนั้น จำเป็นที่ต้องทราบส่วนประกอบ รูปแบบ และวธิ ีการพ้ืนฐานท่ีใช้ในการจดั พานก่อน จงึ จะสามารถ นำวธิ กี ารมาออกแบบและสร้างสรรค์เป็นพานไหวค้ รรู ูปแบบต่าง ๆ ทม่ี ีความงดงาม โดเด่นได้ตามทต่ี อ้ งการ ดงั น้นั พานไหวค้ รจู งึ มคี ุณคา่ และคุณประโยชน์ ในลกั ษณะท่ีหลากหลาย ซง่ึ สามารถเลือกใช้ไดต้ ามความ เหมาะสมตามโอกาสจึงจำจำแนกคุณคา่ และคุณประโยชนข์ องการจดั พานไหวค้ รูได้ ดังนี้ 1. ด้านคุณค่า - เป็นการความเคารพบูชาต่อครอู าจารยแ์ ละผมู้ ีพระคุณ - เป็นการแสดงออกทางดา้ นความคดิ สรา้ งสรรค์ - เปน็ การสรา้ งความสัมพันธ์ ความสามัคคีและสมาธแิ กผ่ ู้สรา้ งสรรค์ - เป็นการสืบสาน ส่งเสรมิ และพัฒนาวฒั นธรรมไทยทางประณตี ศิลป์ 2. ด้านคุณประโยชน์ - ใชป้ ระกอบเปน็ เครือ่ งสักการะ เครอ่ื งบูชา และในงานประเพณตี ่าง ๆ ภาพ พานไหวค้ รู - ใชป้ ระดับตกแต่งสถานท่หี ลังจากเสรจ็ พิธไี หว้ครตู ามพ้ืนท่ีท่ีเหมาะสม จากหนังสอื วฒั นธรรมการจัดพานไหวค้ รู - ใชเ้ ปน็ ส่วนประกอบของผลงานศลิ ปะประดิษฐท์ ง้ั แบบประยุกตศ์ ลิ ป์ ของ ภัทราวธุ ทองแยม้ หนา้ 60 และ 64 และแบบประณีตศิลป์ - ใชป้ ระกอบอาชีพเสริมและอาชีพหลัก
ใบความรทู้ ่ี 1.3 เร่ือง ประเภทของการจดั พานในวัฒนธรรมไทย ภาพ พานไหวค้ รู จากหนังสอื วัฒนธรรมการจัดพานไหว้ครู ของ ภัทราวุธ ทองแย้ม หน้า69 และ 73 การจัดพานไหวค้ รนู ้นั สามารถจำแนกได้หลายลักษณะ เนื่องจากรูปแบบของพานไหว้ครู ไมม่ ีรปู แบบ วัสดุเฉพาะสำหรับการจดั พานไหวค้ รู ดังนั้นพานไหว้ครูจงึ จำแนกออกเป็น 3 ลักษณะ ไดแ้ ก่ 1. แบ่งตามเทคนคิ การปักพืน้ พาน - พานปักเสรมิ รูปทรง หมายถงึ การจดั พานใหม้ ขี นาดใหญ่กวา่ หนุ่ พานหรือท่ียึด กลา่ วคอื การนำดอกไมม้ าต่อก้านใหม้ คี วามยาวท่เี หมาะสมต่อรปู แบบของการจดั พาน แล้วปกั ลงในหนุ่ พาน หรอื ท่ียดึ โดยมสี ่วนก้านท่ีพ้นจากทย่ี ดึ หรือห่นุ พาน เพื่อให้รูปทรงของหุ่นพานเป็นลกั ษณะตามต้องการ ลกั ษณะการปักจะเริ่มปกั จากสว่ นยอดพานลงมาสว่ นฐานพาน ในขณะปกั ต้องเพ่มิ ความยาวของก้านทเ่ี สยี บ ดอกไม้ใหย้ าวออกตามรปู ทรงของหนุ่ พาน - พานปกั เสมอรูปทรง หมายถึง การจดั พานใหม้ ีขนาดเสมอหรือใกลเ้ คียงกับหุ่นพาน กล่าวคอื การนำดอกไมม้ าต่อก้านให้มีความยาวพอสมควร แล้วปักลงในหุ่นพานโดยให้โคนดอกไม้เสมอหนุ่ พาน เพ่ือใหไ้ ด้รูปทรงของพานเปน็ ไปตามลักษณะรูปทรงของหนุ่ พานท่สี รา้ งขนึ้ หรือการนำกลีบดอกไม้ ใบไม้ ใบตองมาวางทาบกบั หนุ่ พาน แลว้ ปกั ด้วยไม้กลัด ตะปูเข็ม ลวดตวั ยู ลงในหนุ่ พาน เพอื่ ให้ได้รปู ทรงของพาน เปน็ ไปตามลักษณะรปู ทรงของหนุ่ พาน
- พานปกั เพม่ิ รูปทรง หมายถึง การจัดพานโดยการเพมิ่ ดอกไม้และวัสดุทใี่ ช้เป็น หุน่ พานพร้อมกนั จนไดร้ ปู ทรงของพานกล่าวคือ การนำดอกไมม้ าต่อก้านให้มีความยาวท่ีเหมาะสมต่อรปู แบบ ของการจดั พาน แลว้ วางดอกไมใ้ หเ้ สมอกับปากพาน แลว้ นำวสั ดทุ ใ่ี ชท้ ำห่นุ พานมากลบก้านท่ีต่อจากดอกไม้ให้ มดิ แล้วจงึ ปักดอกไมพ้ ร้อมกับนำวสั ดุมากลบท่ียดึ ทำเช่นนี้จนไดร้ ปู ทรงของพานตามต้องการ 2. แบ่งตามหน้าทีใ่ ช้สอย - พานไหว้ครู หมายถงึ พานทใ่ี ช้มอบใหค้ รู จะต้องประกอบด้วย พานดอกไม้ พานธูปเทียน หรืออาจจัดรวมเปน็ พานเดียวกันก็ได้ - พานบชู าพระ หมายถึง รูปแบบของพานดอกไม้ทใ่ี ช้ในพธิ ไี หว้ครู - พานต้ังประดับ หมายถงึ รปู แบบของพานดอกไม้ท่ใี ช้ในพธิ ไี หวค้ รู ทเ่ี ห็นจากตวั อย่างใน ใบความรู้ สามารถนำมาใช้เป็นพานตัง้ ประดบั เพือ่ เสรมิ บรรยากาศแบบไทยได้ แต่ต้องคำนึงถึงสถานที่พืน้ ท่ี จัดวางพานดว้ ย 3. แบ่งตามแบบของรปู ทรงการจดั พาน - แบบโบราณหรอื แบบประณตี ศิลป์ หมายถึง รูปแบบท่นี ยิ มจดั กันมาทุกสมยั จนเปน็ เอกลกั ษณ์ของแบบการจดั พาน รวมทง้ั วิธีของการประดิษฐ์มคี วามประณีตละเมียดละไม - แบบรว่ มสมัยหรือแบบประยุกต์ศลิ ป์ หมายถงึ รูปแบบคลคี่ ลายจากแบบโบราณ เพอื่ ตอบสนองความต้องการทางด้านความคิดสร้างสรรค์และวิธกี ารประดิษฐท์ ันต่อสถานการณใ์ นปจั จบุ ัน แตย่ งั คงความเอกลกั ษณ์ คณุ ค่าและคณุ ประโยชนข์ องการจัดพาน ภาพ ผลงานพานไหว้ครขู องนักเรียน โรงเรียนชำนาญสามคั คีวิทยา ปี 2563
บรรณานกุ รม กระทรวงศกึ ษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. ( 2537 ). “ วนั สำคญั โครงการ ปีรณรงคว์ ัฒนธรรมไทยและแนวทางในการจดั กจิ กรรม ”. กรงุ เทพฯ: ครุสภาลาดพรา้ ว. ชยั ฤทธิ์ ศลิ าเดช. ( 2545 ). คู่มือการเขยี นแผนการสอนที่เน้นผเู้ รียนเป็นสำคัญระดบั มธั ยมศกึ ษา. กรงุ เทพฯ: จนู พบั ลชิ ช่งิ . ธนากิต. ( 2539 ). ประเพณี พธิ ีมงคลและวนั สำคัญของไทย. กรุงเทพฯ: ชมรมเดก็ . บุษกร เข่งเจริญ. ( ม. ป. ป. ). ศิลปะและตกแต่งกระทงเพื่อสืบสานงานศิลป์ประเพณีไทย. กรุงเทพฯ : เพชรกะรัต. มณีรัตน์ จันทนะผะลิน. ( 2525 ). งานใบตอง. กรงุ เทพฯ: อมรนิ ทร์การพิมพ์. วนิ ัย โสมดี.( 2527 ). เอกสารประกอบคำบรรยายศลิ ป์ 140 หลักการออกแบบการเรียนรู้. กรงุ เทพฯ: มหาวิทยาลยั ศรนี ครินทรวโิ รฒ. วริ ุณ ตัง้ เจรญิ . ( 2526 ). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: สารมวลชน. ศกั รนิ ทร์ หงสร์ ัตนาวรกิจ. ( 2550 ). งานใบตอง. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริน้ ต้ิง เฮา้ ส์. เศรษฐ์มนั ตร์ กาญจนกุล. ( 2550 ). ศิลปะการประดิษฐ์กระทง. กรงุ เทพฯ: เศรษฐศิลป์. สวุ ิทย์ มลู คำ อรทัย มูลคำ. ( 2547 ). 19 วธิ กี ารจดั การเรียนรู้เพอ่ื พัฒนาความรู้และทักษะ. กรุงเทพมหาคร: ภาพพิมพ์. อารี สุทธพิ นั ธ์. ( 2524 ). การออกแบบ. กรงุ เทพฯ: ไทยวัฒนาพานชิ . http://www.khendokmaiflorist.com https://www.youtube.com/watch?v=ptCXUDBMiQ8 https://www.youtube.com/watch?v=dwXyMUK0F0c
Search
Read the Text Version
- 1 - 12
Pages: