บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูป ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 * * * ค*ำ*คส*ำคค*นรำำราควกพคมิำรเำินศบคยุสพำาัษามนอบณุธ์ททาานน
บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูป ชนิดและหน้าที่ของคำ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 *ค เรำื่อกรงิยา จัดทำโดย นางสาวอารียา ศิริทองจักร์ รหัสนักศึกษา 631102008129 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คำนำ บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปเล่มนี้ เป็นสื่อการเรียนรายวิชาภาษาไทย ชุด ชนิดและหน้าที่ของคำ เรื่อง คำกริยา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งมีเนื้อหาประกอบด้วย - ความหมายของคำกริยา - ชนิดของคำกริยา - หน้าที่ของคำกริยา - กิจกรรมสำหรับผู้เรียน - แบบฝึกหัดท้ายบท ทั้งนี้ผู้จัดทำได้สร้างสื่อการสอนชนิดนี้ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ ในรายวิชาภาษาไทย ชุด ชนิดและหน้าที่ของคำ เรื่อง คำกริยา ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดียิ่งขึ้น สื่อการสอนบทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 คณะครูผู้สอนและผู้ที่สนใจใน เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ ตลอดจนผู้ที่พบเห็น
คำแนะนำการใช้บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูป สำหรับครู บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปเล่มนี้ ใช้ประกอบการสอน เรื่อง คำกริยา โดยมีคำแนะนำสำหรับครู ดังนี้ 1. ครูควรศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมที่เหมาะสมกับนักเรียนก่อนนำมาใช้ ในการสอน 2. ควรชี้แจงการใช้บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปให้นักเรียนเข้าใจก่อนเรียน ทั้งกรอบความรู้ กิจกรรม แบบฝึกหัด ให้คำแนะนำผู้เรียน หากมีข้อสงสัย สังเกตพฤติกรรมผู้เรียนขณะเรียนโดยใช้บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูป 3. การจัดกิจกรรมการสอน เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ ครูเป็นผู้ให้คำแนะนำ 4. หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จสิ้น ครูให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด 5. เมื่อนักเรียนทำเสร็จแล้วต้องตรวจความเรียบร้อยและความถูกต้อง ก่อนกล่าวคำชมเชย หากยังทำไม่เสร็จสามารถทำนอกเวลาได้ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ และปลูกฝังผู้เรียนให้มีสมรรถนะสำคัญตามที่หลักสูตรกำหนด ทั้งด้านการสื่อสาร การคิดอย่างเป็นระบบ การมีทักษะในการแก้ปัญหา และรู้จักเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รวมทั้งมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามต้องการ
คำแนะนำการใช้บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูป สำหรับนักเรียน บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปเล่มนี้ มีเนื้อหาประกอบด้วย - ความหมายของคำกริยา - ชนิดของคำกริยา - หน้าที่ของคำกริยา - กิจกรรมสำหรับผู้เรียน - แบบฝึกหัดท้ายบท ซึ่งจะเรียงเนื้อหาจากง่ายไปหายาก นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ตามลำดับขั้น โดยเริ่มจาก 1. อ่านคำแนะนำการใช้บทเรียนการ์ตูนสำเร็จรูปสำหรับนักเรียน 2. อ่านวัตถุประสงค์การเรียนรู้ 3. เรียนรู้บทเรียนตามลำดับ 4. เมื่อเรียนเนื้อหาจบ ให้นักเรียนทำกิจกรรมเสริมความรู้ แบบฝึกหัดทบทวน ความเข้าใจ หากนักเรียนเรียนจบแล้วแต่ยังไม่เข้าใจ นักเรียนสามารถกลับมาเรียนซ้ำได้ จนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาอย่างถ่องแท้
วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง ของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษา ภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ ตัวชี้วัด : ท ๔.๑ ม ๑/๓ วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค สาระแกนกลาง : ชนิดและหน้าที่ของคำ วัตถุประสงค์ ๑. นักเรียนบอกความหมายของคำแต่ละชนิดได้ได้ถูกต้อง ๒. นักเรียนวิเคราะห์ชนิดของคำแต่ละชนิดในประโยคได้ถูกต้อง ๓. นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของคำแต่ละชนิดได้ถูกต้อง
คำกริยา
วันนี้แล้วสินะ ที่เราจะได้ไปมอบของขวัญ ให้เด็ก ๆ
เราให้ขนมแก่พวกเขาบ่อยแล้ว เราเปลี่ยนเป็นบทเรียน เรื่องง่าย ๆ ดีหรือไม่ ปีนี้เราจะเอาอะไร ไปให้พวกเด็ก ๆ ดีนะ เรนเดียร์เจ้าช่วยเรา คิดหน่อยสิ
ได้ยินมาว่าพวกเค้ากำลังเรียน เรื่องชนิดและหน้าที่ของคำ เราทำเรื่องนี้ดีหรือไม่ เป็นความคิดที่ดี แล้วเราควรทำบทเรียน เกี่ยวกับอะไร ให้พวกเด็ก ๆ ล่ะ
เราก็ทำแค่เรื่องคำกริยาสิ ง่ายมาก ๆ เด็ก ๆ น่าจะชอบ แต่ชนิดของคำ มีตั้ง 7 ชนิดเลยนะ เราน่าจะทำไม่ไหว
ไปกันเลย เยี่ยมเลย ถ้าอย่างนั้นเราไปเตรียม ของขวัญให้เด็ก ๆ กัน
คำกริยา หมายถึง คำที่แสดงอาการของนาม สรรพนาม หรือแสดงอาการของประธาน เพื่อให้ทราบว่านามสรรพนามหรือประธานนั้น ทำอะไร เช่น กิน วิ่ง เดิน นั่ง ตะโกน นอน ยืน เป็นต้น แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ดังนี้
ชนิดของคำกริยา อกรรมกริยา สกรรมกริยา วิกตรรถกริยา กริยานุเคราะห์
อกรรมกริยา อกรรมกริยา คือ กริยาที่ไม่ต้องมีกรรม มารับ เช่น ไก่ขัน, หมาเห่า, น้องนอน, แมวข่วน
สกรรมกริยา สกรรมกริยา คือ กริยาที่มีกรรมมารับ จึงจะได้ใจความสมบูรณ์ เช่น ฉันอ่านหนังสือ, น้องขี่จักรยาน
วิกตรรถกริยา วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลัง จึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า, เหมือน, คล้าย, เท่า, คือ, เสมือน, ประดุจ, แปลว่า เช่น คุณเป็นนักดนตรี, ลูกคล้ายกับเรา, น้ำใจประดุจน้ำทิพย์
กริยานุเคราะห์ วิกตรรถกริยา คือ กริยาที่ไม่มีความสมบูรณ์ ในตัวเอง ต้องอาศัยคำนาม สรรพนาม หรือคำวิเศษณ์มาเติมข้างหลัง จึงจะได้ใจความ ได้แก่กริยาคำว่า ว่า, เหมือน, คล้าย, เท่า, คือ, เสมือน, ประดุจ, แปลว่า เช่น คุณเป็นนักดนตรี, ลูกคล้ายกับเรา, น้ำใจประดุจน้ำทิพย์
เรากำลังจะบอกอยู่นี่ไง เจ้าใจเย็น ๆ ก่อนสิ แล้วคำกริยา มีหน้าที่อะไรบ้างนะ
หน้าที่ของคำกริยา เป็นกริยาหลักของประโยค เช่น วีรภาพไปโรงเรียนทุกวัน เป็นประธานของประโยค เช่น ดูละครเป็นงานหลักของแม่บ้าน เป็นกรรมของประโยค เช่น ภราดรชอบเล่นเทนนิส
หน้าที่ของคำกริยา เป็นตัวขยายกริยาหลัก เช่น ทหารกำลังแบกปูนไปโบกตึก เป็นส่วนขยายกรรม เช่น โรสชอบดูดาวตก
เด็ก ๆ จะชอบของขวัญ ที่เราทำให้มั้ยนะ เจ้าคิดว่ายังไงเรนเดียร์ ชอบแน่นอน ของขวัญปีนี้ดีสุด ๆ ไปเลย
55555 งั้นเราเอาของขวัญ ไปให้เด็ก ๆ กัน ไปกันเลยยยย
เรียนเสร็จแล้ว เด็ก ๆ ทำแบบฝึกหัด กันด้วยนะ โชคดีในการทำ นะครับ
สรุปความรู้ เรื่อง คำกริยา คำกริยา หมายความว่า คำที่แสดงอาการของนาม สรรพนาม หรือ แสดงอาการ ของประธานเพื่อให้ทราบว่านามสรรพนามหรือประธานนั้นทำอะไร เช่น กิน วิ่ง เดิน นั่ง ตะโกน นอน เป็นต้น แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่ 1.อกรรมกริยา หมายถึง กริยาที่มีความมหายในตัวไม่มีกรรมมารับ 2.สกรรมกริยา หมายถึง กริยาที่มีกรรมมารับ 3. วิกตรรถกริยา หมายถึง กริยาที่ไม่มีความหมายในตัว จะมีความหมายก็โดยอาศัย คำนาม คำสรรพนาม หรือ คำวิเศษณ์มาขยาย จึงจะได้ความมหาย คำกริยาชนิดนี้ มีคำว่า เป็น ,เหมือน, เท่า, คล้าย, คือ ,เสมือน, ดุจ, ประหนึ่ง , ราวกับ 4. กริยานุเคราะห์ หมายถึง เกริยาที่ใช้ช่วยกริยาอื่นให้ได้ความครบตามระเบียบ ของคำกริยา มีคำว่า อาจ ต้อง น่าจะ จะ คง คงต้อง คงจะ จง โปรด อย่า ช่วย แล้ว ถูก เคย ควร ซิ นะ หรอก เถอะ หน้าที่ของคำนาม 1. คำกริยาทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยคหรือกริยาแท้ของประโยค 2. คำกริยาทำหน้าที่ขยายนาม 3. คำกริยาทำหน้าที่ขยายคำกริยา 4. คำกริยาทำหน้าที่เหมือนคำนาม
ชื่อ......................................สกุล......................................เลขที่..................ชั้น..................................... แบ ดที่1บฝึกหั คำนี้มีหน้าที่อะไร คำชี้แจง : ให้นักเรียนบอกหน้าที่ของคำกริยาตามที่ขีดเส้นใต้ในประโยคให้ถูกต้อง 1. คุณพ่อปลูกต้นไม้ ........................................................................................... 2. น้องชายออมเงินเพื่อซื้อรถ .......................................................................................... 3. ท่องเที่ยวเป็นการเปิดโลกการเรียนรู้ ........................................................................... 4. คุณยายไปวัด .............................................................................................................. 5. ฉันมีปืนฉีดน้ำ ............................................................................................................ 6. คุณตาอ่านหนังสือพิมพ์ ............................................................................................... 7. วันนี้ไม่ใช่วันหยุด ....................................................................................................... 8. นอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดี ...................................................................................... 9. สมชายชอบขับรถเร็ว .............................................................................................. 10. เด็กคนนั้นนั่งดูนก ......................................................................................................
แบ ชื่อ......................................สกุล......................................เลขที่..................ชั้น.....................................ดที่ 3บฝึกหั วงกลมวงใจ คำชี้แจง : ให้นักเรียนวงกลมคำกริยาในสำนวนต่อไปนี้ใหถูกต้อง 1. งมเข็มในมหาสมุทน 2. ตักบาตรอย่าถามพระ 3. หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว 4. สีซอให้ควายฟัง 5. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ 6. ขี่ช้างจับตักแตน 7. หมูจะหามเอาคานมาสอด 8. จับให้มั่นคั้นให้ตาย 9. ตำข้าวสารกรอกหม้อ 10. เข็ญครกขึ้นภูเขา 11. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง 12. ปิดทองหลังพระ 13. น้ำขึ้นให้รีบตัก 14. ตกกระไดพลอยโจร 15. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
บทเรียนสนุก ๆ ยังไม่หมด เท่านี้นะครับ เด็ก ๆ พร้อมที่จะเรียนรู้ เรื่องต่อไปหรือยัง
Search
Read the Text Version
- 1 - 30
Pages: