ดวิรช.เาชาหวลนัีกเกเกา้วรมแะลโนะทฤษฎีทางการบริหาร นายอัศวเดช ขวัญเเก้ว รหัสนักศึกษา ๖๔๑๙๐๕๐๐๕๑ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร คำนำ รายงาน ฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของ วิชา ทฤษฎีการบริหารการ ศึกษาเป็นวิชาที่นำมาใช้ประกอบการศึกษาตามหลักสูตรศึกษา ศาสตร์มหาบัญฑิต สาขา บริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัย หาดใหญ่ เนื้อหา เน้นการศึกษาทฤษฎีการบริหาร ในรูปเเบบต่างๆ เพื่อการนำไปใช้ในเชิงการบริหารสถานศึกษาต่อไป ในการนี้ผู้จัดทำได้ศึกษาทฤษฎีการบริหารในรูปเเบบ PDCA เเละได้ค้นคว้ารายละเอียด เพื่อ การศึกษาได้ใจความว่า PDCA คือ กระบวนการที่ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการอื่นๆ เหมาะสำหรับองค์กร หรือโครงการที่อยากจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เพิ่มผลผลิต หรือลดค่าใช้จ่าย แน่นอนสิ่งเหล่านี้หากทำได้จริงก็คือ กำไร ซึ่งเป็น สิ่งที่ทุกองค์กรอยากได้ ในการจัดทำรายงานทฤษฎีการบริหาร เเบบ PDCA ผู้จัดทำ ขอขอบคุณ ดร.เชาวนี เเก้วมโน ผู้ให้ความรู้เเละเเนวทางการศึกษา มาโดยตลอด ผู้จัดทำหวังว่ารายงานฉบับนี้จะให้ความรู้เเละเป็นประ โยชน์เเก่ผู้อ่านทุกท่าน อัศวเดช ขวัญเเก้ว ๖๔๑๙๐๕๐๐๕๑ ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า เรื่อง คำนำ สารบัญ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร มารู้จัก PDCA ๑ ประวัติความเป็นมา ๒ ขั้นตอนของ PDCA ๕ มารู้จัก Action Plan ๘ ตัวอย่าง PDCA ในการทำงาน,การเรียน ๑๑ ตัวอย่าง PDCA ในการบริหารบริษัท ๑๒ ตัวอย่าง PDCA ที่ใช้ในสถานศึกษา ๑๓ ตัวอย่าง การนำทฤษฎี PDCA ๑๔ มาใช้กับ ปัญหาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ข้อแนะนำในการทำ PDCA ๑๗ ประโยชน์ของ PDCA ๑๘ ข้อเสียของ PDCA ๒๐ บรรณานุกรม
๑ ทฤษฎี PDCA PDCA คือ กระบวนการที่ใช้เพื่อพัฒนากระบวนการอื่นๆ เหมาะสำหรับองค์กรหรือโครงการที่อยากจะเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน เพิ่มผลผลิต หรือลดค่าใช้จ่าย แน่นอนสิ่งเหล่านี้หากทำได้ จริงก็คือ กำไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกองค์กรอยากได้ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร เราจะมาดูกันว่า PDCA คืออะไร ใช้งานยังไง รายละเอียดของแต่ละกระบวนการมีอะไรบ้าง และมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๒ PDCA คืออะไร (วงจรเดมมิ่ง) PDCA คือ วงจรบริหารสี่ขั้นตอนที่ประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การ ดำเนินการ)วงจรการบริหารงานคุณภาพใช้ในการควบคุมและพัฒนา กระบวนการหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องPDCA ทั้งสี่ขั้นตอนเป็นก ระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้ เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารความ เปลี่ยนแปลงได้อย่างประสบความสำเร็จ ประวัติความเป็นมา แบงค์ (Bank อ้างถึงใน เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ, ๒๕๔๕ : ๘๔-๔๑) กล่าวถึง ประวัติของ เดมมิ่ง ว่าเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายใน หลักการบริหารที่เรียกว่า วงจรคุณภาพ (PDCA) หรือวงจรเดมมิ่ง ซึ่งเป็นชื่อที่ ใช้แทนกันกับการจัดการคุณภาพเพราะเขาเป็นคนผลัก ดันให้ผู้บริหารญี่ปุ่นยอมรับแนวคิด ในการจัดการ คุณภาพ และเป็น คนแรกที่มองว่าการจัดการคุณภาพเป็นกิจกรรมขององค์กร ทั้งหมด ไม่ใช่แค่งานตรวจ คุณภาพตามที่กําหนดหรือเป็นงานของ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประกันคุณภาพ และเป็นคนแรกที่ระบุว่า คุณภาพเป็นความรับผิดชอบทางการบริหารของผู้บริหาร
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๓ ประวัติความเป็นมา (ต่อ) เดมมิ่ง เกิดที่เมืองซูส์ (Sioux) รัฐไอโอวา เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ปี พ.ศ. ๒๔๔๓ เขาจบปริญญาตรี ฟิสิกส์ จากมหาวิทยาลัย ไวโอมิง ได้ปริญญาเอกฟิสิกส์คณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเยล เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๗๑-๒๔๘๒ เขาทํางานอยู่ กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๔๒-๒๔๘๔ ทํางานอยู่ที่สํานักสํามะโนประชากรอเมริกัน และโรงงาน อุตสาหกรรมอาวุธของ สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี พ.ศ.๒๔๘๙ จน กระทั่งถึงเสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เดมมิ่ง เป็นศาสตราจารย์ ทางสถิติอยู่ที่มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก ช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เดมมิ่งได้พบกับชิวฮาร์ต (Schewhart) นักสถิติที่ห้องทดลองของ บริษัทเบลล์ เทเลโฟน ใน นิวยอร์ก ต่อมาได้รับความคิดเรื่องการควบคุมทางสถิติและความ แปรปรวนเชิงสุ่ม องค์กระบวนการทํางาน (random variation of a work process) มาจากชิวฮาร์ต ในภายหลังเดมมิ่ง เริ่มตั้ง ตัวเป็นผู้บรรยายเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพในการผลิต เดมมิ่ง ออกไปบรรยายเกี่ยวกับ การควบคุมคุณภาพในโรงงานทั่ว สหรัฐอเมริกา แต่ในเวลานั้นผู้บริหารในสหรัฐอเมริกาให้ความสนใจ เดมมิ่งไม่มาก เดมมิ่งไปญี่ปุ่นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ สืบเนื่องมาจากหลัง สงครามโลกครั้งที่ ๒ นายพลแม็กอาร์เธอร์ (MacArthur) ผู้บัญชาการกองกําลังทหารสหรัฐอเมริกาที่ยึดครองญี่ปุ่นอยู่ได้ไล่ ผู้บริหารระดับสูง และระดับกลางของบริษัทใหญ่ ๆ ของญี่ปุ่นออก โทษฐานที่คนเหล่านั้นเข้าไปพัวพันกับสงครามเสร็จแล้ว ก็หนุนคน รุ่นใหม่ขึ้นมาบริหารแทน นายพลแม็กอาร์เธอร์ ได้ขอความช่วย เหลือทางวิชาการ มายังสหรัฐอเมริกา เริ่มจากการขอให้ สหรัฐอเมริกาช่วยส่งคนไปทําสํามะโนประชากรที่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาจึงได้ส่งเดมมิ่งไป ตอนนั้นเดมมิ่งเริ่มประสบความ สําเร็จมาบ้างแล้วจากการใช้วิธีการ สุ่มตัวอย่าง (sampling methods) และเทคนิคการควบคุมทางสถิติเพื่อเพิ่มผลผลิต อุตสาหกรรม ในสหรัฐอเมริกา เดมมิ่งจึงนําเทคนิคการควบคุมทาง สถิติมาเผยแพร่ที่ญี่ปุ่นด้วย
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๔ ประวัติความเป็นมา (ต่อ) ในเวลา ๓ ปีต่อมา สหภาพนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรญี่ปุ่น ได้เข้ามาให้ความสนับสนุนเดมมิ่ง ในการเผยแพร่ความคิดเรื่อง คุณภาพและการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต จนกระทั่งเดมมิ่ง สามารถ ตั้งกลุ่มผู้บริหารหลัก เพื่อกระจายความคิดออกไปสู่ผู้ บริหารอื่นๆ ใน พ.ศ. ๒๔๔๓ มีผู้บริหารมาเข้าร่วมถึง ๔๐๐ กว่าคน ผู้บริหารที่อยู่ในกลุ่มนี้ล้วนแต่เป็นผู้นําในบริษัทสําคัญ ๆ เช่น โซนีนิ สสัน มิซูบิชิและ โตโยต้า สาเหตุที่ทําให้เดมมิ่งประสบความสําเร็จ ก็เนื่องมาจากคนญี่ปุ่นได้สนใจการควบคุมคุณภาพด้วย วิธีการทาง สถิติมาก่อน แต่ยังขาดทฤษฎี ทฤษฎีการควบคุมทางสถิติของเดม มิ่งทําให้คนญี่ปุ่นเข้าใจ สามารถ นําไปประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงาน ได้ คนญี่ปุ่นจึงยอมรับแนวทางของเดมมิ่ง นับว่าเดมมิ่งได้มีส่วน ช่วย พัฒนาอุตสหกรรมญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ต่อมา ในภายหลังญี่ปุ่นจึงตั้งรางวัลเดมมิ่ง (Deming Prize or Deming Award) ให้กับบริษัทที่มีผลงานดีเด่นในด้านคุณภาพ มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๒๓ โทรทัศน์เอ็นบีซีจึง นําเอาผลงานของเดมมิ่งกลับไปเผยแพร่ในสหรัฐอเมริกา ยกย่อง ให้เดมมิ่งเป็น “บิดาแห่งคลื่นลูกที่สามของการปฏิวัติอุตสาหกรรม (father of the third wave of the industrial revolution)” ชื่อเสียงของเดมมิ่งจึงเป็นที่รู้จักกันทั่วสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก ในสหรัฐอเมริกามีการตั้งกลุ่มศึกษาและดําเนินตามทฤษฎีของ เดมมิ่งเป็นจํานวนมาก นอกเหนือจากนั้น ยังมีกลุ่มทํานองเดียวกัน ในอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ หลังเดมมิ่งเกษียณอายุ ก็ได้ไปบรรยาย ในระดับปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง และได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์เกียรติคุณ ของมหาวิทยาลัย นิวยอร์ก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘เดมมิ่งได้เขียนหนังสือ บทความ และจัดสัมมนาเรื่องคุณภาพ เอาไว้เป็นจํานวนมาก
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๕ ขั้นตอนของ PDCA มีดังนี้ เราจะมาดูกันว่า PDCA คืออะไร ใช้งานยังไง รายละเอียด ของแต่ละกระบวนการมีอะไรบ้าง และมีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง ขั้นตอนของ PDCA (P) Plan – การวางแผน: หมายถึง การตั้งเป้าหมายจาก ปัญหา หรือโอกาสต่างๆ และสร้างแผนการทำงานหรือกระบวนการ เพื่อทำให้เป้าหมายนี้ประสบความสำเร็จ
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๖ ขั้นตอนของ PDCA (ต่อ) (D) Do – ปฏิบัติ/การทดสอบ: หมายถึงขั้นตอนการทดสอบ เป็นการลงมือทำและเก็บข้อมูลเพื่อหาจุดอ่อนหรือจุดที่สามารถ พัฒนามากขึ้นได้ รวมถึง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ด้วย (C) Check – การตรวจสอบ: หมายถึง ขั้นตอนการตรวจ สอบ เป็นขั้นตอนหาช่องทางและวิธีพัฒนากระบวนการต่างๆให้เร็ว ขึ้นหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของ โอกาสและอุปสรรคต่างๆในกระบวนการ
๗ ขั้นตอนของ PDCA (ต่อ) หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร (A) Action – การดำเนินการ/ปรับปรุงแก้ไข: หมายถึง การดำเนินการเพื่อปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้กระบวนการขั้นตอนต่างๆ เร็วขึ้น ดีขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเดิม ซึ่ง PDCA ก็เป็นขั้นตอนที่ ถูกออกแบบมาให้ทำซ้ำได้ หมายความว่าหากเราได้มีการทำครบสี่ขั้น ตอนแล้ว (วางแผน ไปสู่การทำ ไปสู่การตรวจสอบ และจบที่ การปรับปรุง) ในกรณีนี้เราก็ควรทำการ ‘เริ่มใหม่’ เพื่อหาจุดอื่นใน กระบวรการเพื่อพัฒนาเพิ่มเติม หรืออาจจะหาเป้าหมายใหม่ที่อยาก บรรลุให้ได้ วงจรคุณภาพ
๘ ACTION PLAN หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร Action Plan คือ แผนปฏิบัติ แผนการดำเนินการ แผนการดำเนินงาน เป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงแผนงาน/ โครงการไปสู่กิจกรรมย่อยในเชิงปฏิบัติและช่วยในการควบคุมให้ผู้ ปฏิบัติงานดำเนินงานปฏิบัติงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ลดภาระในการ ตัดสินใจว่าจะทำอะไรเมื่อไหร่ ลดความเสี่ยงในการควบคุมให้เป็นไป ตามเป้าหมายของแผนงาน/โครงการ Action Plan มีขั้นตอนดังนี้ ๑. วิเคราะห์ความจำเป็นของการจัดทำแผนปฎิบัติงาน ๒. จัดลำดับความสำคัญของแผนปฎิบัติการ ๓. ดำเนินการตามแผนปฎิบัติการ
๙ Action Plan ที่ดีควรจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ชื่อแผนปฏิบัติ เนื่องจากแต่ละปีมีแผนงานเยอะมาก ดังนั้น เรา ควรจะตั้งชื่อแผนปฏิบัติให้ชัดเจนและที่สำคัญควรจะตั้งชื่อโดย อาศัยแนวคิดทางการตลาดเข้ามาด้วย เพราะจะช่วยให้ทุกคนที่ เกี่ยวข้องสามารถจดจำแผนปฏิบัตินั้นได้ดียิ่งขึ้น ขั้นตอนหลัก ในแผนปฏิบัติควรจะกำหนดกระบวนการหลักๆไว้ ให้ชัดเจนโดยเริ่มจากกระบวนการแรกจนถึงกระบวนการ สุดท้ายก่อน กิจกรรม เมื่อเราได้ขั้นตอนหรือกระบวนการหลักแล้วให้กำหนด กิจกรรมย่อยๆของแต่ละขั้นตอนว่ามีอะไรบ้าง เช่น ขั้นตอนการ ฝึกอบรม จะมีกิจกรรมย่อยๆต่างๆประกอบด้วย วิธีการหรือแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อป้องกันปัญหาในการนำ กิจกรรมไปปฏิบัติควรจะระบุแนวทางในการปฏิบัติตามกิจกรรม นั้นๆด้วย เช่น ประชาสัมพันธ์โดยใช้การติดประกาศ การใช้อีเมล เป็นต้น
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๐ Action Plan ที่ดีควรจะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ (ต่อ) กำหนดวันเวลาสถานที่ ให้ระบุว่ากิจกรรมแต่ละข้อนั้นจะทำเมื่อ ไหร่ ควรระบุวันเวลาและสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อจะสามารถดู ภาพรวมของแผนปฏิบัติได้ว่ามีกิจกรรมไหนบ้างที่สามารถทำไป พร้อมกันได้ กิจกรรมไหนบ้างที่ต้องรอให้กิจกรรมอื่นเสร็จก่อน จึงจะดำเนินการได้ ความเสี่ยงของขั้นตอนหรือกิจกรรม เพื่อให้แผนปฏิบัติเป็น แผนที่คำนึงถึงการปฏิบัติจริงๆจึงควรมีส่วนที่เราเรียกว่าการ วิเคราะห์ความเสี่ยงหรือปัญหาอุปสรรคของขั้นตอนหรือกิจกร รมนั้นๆด้วยว่ามีอะไรบ้าง แผนปฏิบัติรองรับหรือแผนปฏิบัติสำรอง ให้นำเอาความเสี่ยง หรือปัญหาอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นมาวิเคราะห์หาทางป้องกัน แก้ไข ผ่อนหนักให้เป็นเบา เพื่อป้องกันหรือลดผลที่จะเข้ามากระ ทบต่อแผนปฏิบัติโดยรวม เช่น อาจจะต้องแบ่งการฝึกอบรม ออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หรืออาจจะเริ่มกำหนดการฝึกอบรมให้เร็ว ขึ้นและทยอยฝึกอบรมทั้งปี งบประมาณ ควรจะมีการวิเคราะห์และกำหนดงบประมาณจาก ทุกกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อให้แผนปฏิบัติมีความใกล้เคียงกับความ เป็นจริงมากยิ่งขึ้น เพราะถ้าเราประมาณการงบประมาณย่อย มากเท่าไหร่ โอกาสที่งบประมาณโดยรวมจะผิดพลาดก็ย่อมมี น้อยลง ผู้รับผิดชอบ ควรจะมีการกำหนดตำแหน่งหรือชื่อบุคคลผู้ที่รับ ผิดชอบแผนปฏิบัติหลัก (Action Plan Leader/Owner) ไว้ หนึ่งคน และในแต่ละกิจกรรมควรจะกำหนดผู้รับผิดชอบให้ ชัดเจนเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อจะได้พิจารณาดูว่าใครรับผิดชอบ มากน้อยเกินไป น้อยเกินไป คนที่รับผิดชอบมีความเหมาะสมกับ กิจกรรมนั้นๆหรือไม่
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๑ ตัวอย่าง PDCA ในการทำงาน,การเรียน ขั้นตอนที่ ๑ Plan : สมาชิกในกลุ่มทำการประชุม วางแผนใน การปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย จัดการทำตาราง เวลาราย ละเอียดที่ใช้ในการทํางานก่อนจะปฏิบัติงาน ขั้นตอนที่ ๒ Do : เมื่อประชุมจนได้ข้อสรุป และจัดทำตารา งการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว แจ้งให้ สมาชิกในกลุ่มทราบและลงมือปฎิบัติตามแผนที่ได้วางเอาไว้ ขั้นตอนที่ ๓ Check : จัดการประชุมสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อแก้ ปัญหา เมื่อปฎิบัติงานแล้วเกิดปันหาขึ้นในระหว่างการปฎิบัติ งาน ขั้นตอนที่ ๔ Action : เมื่อประชุมสมาชิกภายในกลุ่มจนไดด้ข้อ สรุปถึงปัญหาแล้ว จัดการแก้ไขปรับปรุง และนำไปปรับใช้ในการ ปฎิบัติงานในครั้งต่อๆไป ตัวอย่าง-pdca-ในการทำงาน
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๒ ตัวอย่าง PDCA ในการบริหารบริษัท ขั้นตอนที่ ๑ Plan : จัดตั้งทีมวิเคราะห์หาวิธีการและ กระบวนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานใน องค์กร ขั้นตอนที่ ๒ Do : เมื่อประชุมจนได้ข้อสรุป และจัดทำตารา งการปฎิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายเรียบร้อยแล้ว แจ้งให้ สมาชิกในกลุ่มทราบและลงมือปฎิบัติตามแผนที่ได้วางเอาไว้ จัด ทำแบบสอบถามแจกแก่พนักงานในองค์กรณ์เพื่อรับฟังปัญหา ต่างๆ และทำการแก้ไขปรับปรุง ขั้นตอนที่ ๓ Check : จัดการประชุมสมาชิกภายในกลุ่มเพื่อแก้ ปัญหา เมื่อปฎิบัติงานแล้วเกิดปันหาขึ้นในระหว่างการปฎิบัติ งานรวบรวมข้อมูลของ ผลการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาและ ระดับความสำเร็จของโครงการ สรุปผลการประเมินโครงการ ขัน้ ตอนที่ ๔ Action : เมื่อประชุมสมาชิกภายในกลุ่มจนไดด้ข้อ สรุปถึงปัญหาแล้ว จัดการแก้ไขปรับปรุง และนำไปปรับใช้ในการ ปฎิบัติงานในครั้งต่อๆไป
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๓ ตัวอย่าง PDCA ที่ใช้ในสถานศึกษา การจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” กระบวนการผลิตผลงาน ใช้แนวคิดของวงจรคุณภาพ PDCA เป็นแนวทางในการ พัฒนานวัตกรรมการจัดกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยใช้ กระบวนการ AOMKUNGMA เพื่อพัฒนานักเรียนด้านทักษะ การทํางานและความคิดสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมเกษตรสร้างสรรค์ ประกอบด้วยขั้นตอนการพัฒนา 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 (P : Plan) : วางแผนโดย ศึกษาวิเคราะห์นโยบาย คู่มือการบริหารจัดการเวลาเรียน “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” และชุดเอกสารกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ออกแบบ กิจกรรม ตาราง กิจกรรม แบบวัดและประเมินผล ขั้นตอนที่ 2 (D : Do) : ลงมือปฏิบัติ โดยสํารวจสภาพข้อมูล พื้นฐาน วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล เพื่อการจัดการเรียนรู้ให้เต็ม ตามศักยภาพ และใช้กระบวนการ AOMKUNGMA ในการจัด กิจกรรม การเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 (C : Check) : ประเมิน โดยจัดให้มีการประเมิน ตามสภาพจริง (Authentic Assessment) วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุจากการเปรียบเทียบเป้าหมายกับการดําเนินตามแผน เพื่อให้ทราบว่า ต้องปรับปรุงแก้ไขอย่างไร ขั้นตอนที่ 4 (A : Act) : ปรับปรุงแก้ไข ได้แก่ การนําผลการ วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุมา ปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้เกิดการ พัฒนา วนไปเรื่อยๆตามวงจรคุณภาพ PDCA
๑๔ ตัวอย่าง การนำทฤษฎี PDCA มาใช้กับ ปัญหาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน Plan วัตถุประสงค์ ๑. เพื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในแต่ละวัน ๒. เพื่อเห็นค่าใช้จ่ายในแต่ละวัน ๓. เพื่อวางแผนการใช้จ่ายในอนาคต หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร
๑๕ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ตัวอย่าง การนำทฤษฎี PDCA มาใช้กับ ปัญหาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน Do ลงมือปฏิบัติ ๑. วิเคราะห์หาสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ๒. เมื่อดำเนินชีวิตประจำวันให้ตัดสิ่งที่วิเคราะห์ว่าไม่จำเป็นออก ๓. บันทึกรายรับ - จ่าย ในแต่ละวัน ๔. สรุปผมการดำเนินงาน
๑๖ ตัวอย่าง การนำทฤษฎี PDCA มาใช้กับ ปัญหาการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน Check ตรวจสอบ หาเงินคงเหลือ ของเดือนว่าบรรลุเป้าหมายหรือไม่ หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร Act สรุป
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๗ ข้อแนะนำในการทำ PDCA มีข้อแนะนำ 2 อย่างที่เกี่ยวกับ PDCA ข้อแนะนำแรกก็คือ เรื่องของทรัพยากรในองค์กร แน่นอนว่าในโลกที่สมบูรณ์แบบ องค์กรต้องมีทรัพยากรพร้อมสำหรับทุกโครงการ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่ามีข้อจำกัดทั้งทางด้านเวลา พนักงาน และเงินลงทุน ใน ส่วนนี้หากขั้นตอนที่เราอยากจะพัฒนาด้วย PDCA นั้น ไม่คุ้มค่าผล ตอบแทน อาจจะต้องพิจารณาเรื่องการพักโครงการนี้ไว้ก่อน และนำ ทรัพยากรไปลงกับโครงการที่คืนทุนได้เร็วกว่า หรือมากกว่า ข้อแนะนำอีกอย่าง คือ เรื่องของ หาไอเดียการสร้าง กระบวนการ ที่ปฏิเสธได้ยากว่านักพัฒนากระบวนการส่วนมากอาจ จะยึดติดกับกระบวนการมากเกินไปจนทำให้ลืมคิดนอกกรอบ ลืมหา ไอเดียที่สร้างสรรค์ (เปรียบเทียบคนเรียกคณะวิศวะกับนิเทศ) หาก ลองวิธีเก่าๆแล้วไม่เห็นผล ก็อาจจะลองนำคนจากข้างนอกเข้ามา ช่วยด้วยก็ได้
๑๘ ประโยชน์ของ PDCA PDCA เป็นกระบวนการที่เรียบง่าย สามารถทำซ้ำได้ และมีความเสี่ยงต่ำ เหมาะสำหรับองค์กรที่คาดหวังผลลัพธ์ใน ระยะยาว และสามารถยึดติดกับกระบวนการเดิมๆได้โดยไม่หย่อน ประสิทธิภาพ กระบวนการที่เรียบง่าย Simple หมายความว่า เป็นกระ บวนการที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำความเข้าใจและน่าจะมีทักษะที่ทำตาม ได้ เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่ มีพนักงานหลากหลาย เพราะ เครื่องมือนี้ง่ายต่อการสื่อสารและการปฏิบัติ ในทุกระดับชั้นของ พนักงาน หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร สามารถทำซ้ำได้ Repeatable – หมายความว่าเป็นกระ บวนการที่เราสามารถคาดหวังผลลัพธ์ได้เรื่อยๆในระยะยาว ผ่านการ ตั้งเป้าหมาย การทดสอบ การเก็บข้อมูล และการพัฒนาเพิ่มเติม กระบวนการเหล่านี้อาจจะแลกมาด้วยประสิทธิภาพในช่วงแรกๆ (เป็นกระบวนการที่ช้า ไม่ได้ผลลัพธ์ทันที) แต่หากองค์กรสามารถ ปฏิบัติตามกระบวนการได้อย่างต่อเนื่อง องค์กรก็สามารถคาดหวัง ผลลัพธ์ที่ชัดเจนได้
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๑๙ ประโยชน์ของ PDCA (ต่อ) ความเสี่ยงต่ำ Low Risk – การพัฒนากระบวนการหลาย อย่างมีความเสี่ยงตรงที่ ‘ถ้าทำแล้วแย่ลงจะเป็นยังไง’ ซึ่งคำตอบก็ อาจจะเป็นการเสียเงินหลายพันล้าน แต่จนถึง ‘ต่อให้ทำผิดก็ไม่มี อะไร’ ซึ่ง PDCA จะช่วยลดปัญหาส่วนนี้ได้ผ่านกระบวนการทดสอบ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง วัดผลได้ทุกโครงการ Clear Benefits – เนื่องจากว่าทุก วงจร PDCA มีการตั้งเป้าหมายและการวัดผลอย่างชัดเจน ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนสามารถวัดผลได้ว่าสิ่งทีทำอยู่นั้นสร้างผลลัพธ์ อะไรได้บ้าง (เพิ่มยอดขาย ลดค่าใช้จ่าย) ยิ่งเราสามารถแตก กระบวนการ PDCA ออกมาเป็นกระบวนการเล็กน้อยได้ เราก็ยิ่ง วัดผลได้มากขึ้น แต่สิ่งที่เราต้องแลกมาก็คือความช้าจากการ ทดสอบสิ่งยิบย่อยมากเกินไป
หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร ๒๐ ประโยชน์ของ PDCA การโน้มน้าวผู้อื่น Persuasion – ในหลายองค์กร การที่ เราจะทำโครงการอะไรใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ใช้คนเยอะ ใช้ทรัพยากรเยอะ คำถามที่เราต้องตอบให้ได้ก็คือเราจะทำไปเพื่ออะไร ซึ่งส่วนมากแล้วการโน้มน้าวที่ดีก็ต้องมีตัวเลขสนับสนุนด้วย ใน กรณีนี้ ขั้นตอนการทดสอบและตรวจสอบก็จะให้ข้อมูลคุณเพียง พอที่จะโน้มน้าวหัวหน้า เจ้าของบริษัท หรือแม้แต่พนักงานบางคน ว่าสิ่งที่คุณกำลังทำอยู่นี้มันคุ้มที่จะเริ่ม ข้อเสียของ PDCA และสิ่งที่คุณต้องนำไปปฏิบัติเพิ่มเติม ข้อเสียของ PDCA ก็คือช้าและอาจจะต้องเจอความผิด พลาดเยอะ กระบวนการทดสอบแบบนี้เปรียบเทียบได้กับการให้คน มา ‘วิ่งในเขาวงกต’ และเก็บข้อมูลไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอทางออกที่ ถูกต้อง นั่นก็หมายความว่า หากเรานำคนที่มีประสบการณ์น้อยมา เป็นคนออกแบบ PDCA เวลาที่เราจะเสียไปกับการลองผิดลองถูกก็ จะมีเยอะมาก PDCA ไม่ใช่กระบวนการที่เหมาะกับองค์กรที่อยากแก้ ปัญหาไวๆอย่างแน่นอน เรื่องเวลาที่ใช้ในการหาคำตอบก็เป็นหนึ่ง ปัญหา แต่อีกหนึ่งปัญหาที่เราต้องพูดเหมือนกันก็คือ ‘การจูงใจ พนักงาน’ทุกกระบวนการที่มีการทดสอบ การเจอข้อผิดพลาด เยอะๆ นั่นต้องการทั้งผู้นำองค์กรและผู้ติดตามที่มี ‘วิสัยทัศน์’ (หรือบางคนเรียกว่า Mindset) ที่ดี เมื่อเราลองของหลายๆอย่าง แล้วไม่ได้ผล เราจะทำยังไงไม่ให้คนในองค์กรรู้สึกท้อ เพราะปัจจัยใน ความสำเร็จของ PDCA คือความคงเส้นคงวา เป็นการสร้าง กระบวนการที่คนสามารถเข้าร่วมได้ 1 ปี 3 ปี หรือ 10 ปี
บรรณานุกรม https://thaiwinner.com/pdca-cycle/ https://www.entraining.net/article/PDCA https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/ http://59090244.blogspot.com/2016/10/blog-post.html หลักการและทฤษฎีทางการบริหาร
Search
Read the Text Version
- 1 - 24
Pages: