เพจ ภาษาไทยไงคะ
คำนำ ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา HSTH410 การออกแบบ และผลิตสื่อการศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยจัดทำในสาระวรรณคดีและ วรรณกรรมระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องราชาธิราช ตอนสมิงพระรามอาสา ซึ่งประกอบด้วย ประวัติความเป็นมา ประวัติผู้เรียบเรียง จุดประสงค์ในการแต่ง ลักษณะคำประพันธ์ แนะนำ ตัวละคร เรื่องย่อ คำศัพท์น่ารู้ คุณค่าของวรรณกรรม ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง และเกร็ดความรู้ นางสาวประวีณา ล่ำข้อ 10 สิงหาคม 2565
เรื่อง สารบัญ หน้า ประวัติความเป็นมา 5 ประวัติผู้เรียบเรียง 6 จุดประสงค์ในการแต่ง 8 ลักษณะคำประพันธ์ 9 แนะนำตัวละคร 10 เรื่องย่อ 17 คำศัพท์น่ารู้ 36 คุณค่าของวรรณกรรม 43 ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง 54 เกร็ดความรู้ 56
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา เป็นหนังสือที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพระคลัง (หน) พระยาอินทรอัคคราช พระภิรมรัศมี และพระศรีภูริปรีชา ช่วยกันแต่งขึ้นเป็นบทร้อยแก้ว โดยมีพระราชประสงค์ให้แต่งเพื่อเป็น หนังสือสำหรับบำรุงสติปัญญาของพระบรมวงศานุวงศ์และเข้าราชบริพาร มีเนื้อหาสาระและ ส่วนประกอบปลีกย่อยมาจากมหายุทธสงครามในพระราชพงศาวดารรามัญ (มอญ) แปลจาก ภาษารามัญเป็นภาษาสยาม นิยมอ่านเพื่อเป็นความรู้ทางด้านกลอุบายทางการเมือง วิสัยของ มนุษย์ เรื่องราวทางศีลธรรมและการใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหา และมีสำนวนโวหาร ไพเราะโดดเด่นและให้คติสอนใจเป็นอย่างดี
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ สมัยอยุธยาตอนปลายและถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้รับราชการเป็นหลวงสรวิชิต แล้วไปเป็น นายด่านเมืองอุทัยธานีในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เลื่อนเป็นพระยาพิพัฒน์โกษา และเลื่อนเป็นพระยาพระคลัง (หน) ในที่สุด
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) มีความสามารถในการประพันธ์ทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง ผลงานที่สำคัญ คือ ลิลิตเพชรมงกุฎ อิเหนาคำฉันท์ ราชาธิราช สามก๊ก กากีคำกลอน ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตศรีวิชัยชาดก กลอนจารึก เรื่องสร้างภูเขาวัดราชคฤห์ ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี
1. เพื่อให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล แก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชบริพาร 2. เพื่อให้เป็นข้อคิด คติเตือนใจแก่ทหารและประชาชน
ราชาธิราช ตอน สมิงพระรามอาสา เป็นเรื่องแปลและเรียบเรียงเป็นร้อยแก้ว ใช้ประโยคที่มีขนาดสั้นยาวได้จังหวะ มีคารมคมคาย ใช้โวหารต่าง ๆ ได้อย่างจับใจ และมีกลวิธีในการดำเนินเรื่องแบบเล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ ลักษณะแบบนิทาน เช่น “เรารักสัตย์ยิ่งกว่าทรัพย์ อย่าว่าแต่สมบัติมนุษย์นี้เลย ถึงท่านจะเอาทิพย์สมบัติ ของสมเด็จอมรินทร์มายกให้เรา เราก็มิได้ปรารถนา”
แนะนำตัวละคร
ทหารเอกของพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์มอญแห่ง กรุงหงสาวดีมีฝีมือการรบเก่งกาจและยึดมั่นในการรักษา วาจาสัตย์ อีกทั้งยังมีความซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระเจ้า ราชาธิราชแต่ผู้เดียว
ทหารเอกของพระเจ้ากรุงต้าฉิงมีฝีมือเก่งกาจ ด้านการ “ขี่ม้าแทงทวน”หาผู้ใดเสมอได้ยาก
เสวยราชสมบัติที่กรุงจีน เป็นคนรักษาคำพูด ตรัสแล้วไม่คืนคำ แม้จะมีอำนาจแต่ไม่รังแกผู้น้อย
กษัตริย์พม่าครองกรุงรัตนบุระอังวะ เป็นนักปกครอง ที่รักษาคำสัตย์มุ่งมั่นในการรักษาบ้านเมือง
ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระเจ้า ฝรั่งมังฆ้องให้ดูแลกิจการฝ่ายใน มีความเฉลียฉลาด รู้ซึ้งถึงจิตใจคน โน้มน้าวใจพระราชธิดาให้ละทิฐิ ยอมอภิเษกกับสมิงพระรามเพื่อบ้านเมือง
ธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ภรรยาของ สมิงพระราม เป็นคนใจบุญชอบทำบุญ รักเดียว ใจเดียว รักบิดา รักชาติบ้านเมือง ต้องเสียสามีไป เพราะคำพูดของพระบิดา
วันหนึ่งพระเจ้ากรุงต้าฉิง ต้องการจะดูกามะนี ประลองยุทธ์กับ ทหารเมืองอื่นเพื่อเป็นขวัญตา จึงได้ปรึกษาเสนาบดี แล้วจึงทราบว่า กรุงรัตนบุระอังวะและกรุงหงสาวดี มีทหารผู้เก่งกาจอยู่มากมาย จึงสั่งให้ยกทัพมุ่งหน้าไปที่กรุงอังวะทันที
เมื่อมาถึงกรุงรัตนบุระอังวะ พระเจ้ากรุงต้าฉิง ได้สั่งการห้ามทหารไม่ให้ทำร้ายประชาชน หรือทหารทั้ง ปวงของเมืองนี้เป็นอันขาด หากผู้ใดขัดคำสั่งจะตัดหัว เสียบประจาน
จากนั้นทรงมอบหมายให้ โจเปียว เป็นราชทูต นำพระราชสาส์นและเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้า ฝรั่งมังฆ้อง พร้อมบอกจุดประสงค์ว่าต้องการทอดพระเนตร ทหารเอกของกรุงรัตนบุระอังวะต่อสู้บนหลังม้ากับทหารเอก ของกรุงจีน ถ้ากรุงอังวะแพ้ ก็ต้องยอมยกบ้านยกเมืองให้ เป็นของพระองค์ แต่หากกรุงจีนแพ้ก็จะยกทัพกลับไป
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง เห็นว่าสงครามครั้งนี้นับว่าเป็น ธรรมยุทธ์ คือ รบกันตัวต่อตัวไม่ต้องสูญเสียกำลังทหาร จึงตอบรับคำท้าไป และได้บอกว่าการต่อสู้ครั้งนี้เป็นการ ต่อสู้ที่ยิ่งใหญ่ จึงขอเวลา ๗ วัน ในการเตรียมตัว
จากนั้นพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง จึงประกาศ หาผู้ที่จะรับอาสาต่อสู้กับทหารเอกของกรุงจีน แต่ไม่มีทหารใดรับอาสาในครั้งนี้
ฝ่าย สมิงพระราม ที่โดนขังอยู่ในคุกได้ยินผู้คุม คุยกันเรื่องนี้ก็คิดว่าการที่จะเอาชนะกามะนีนั้นไม่ยาก แม้ตน เป็นทหารกรุงหงสาวดี แต่ถ้ากรุงอังวะแพ้ เป้าหมายต่อไปของ พระเจ้ากรุงจีนน่าจะเป็นกรุงหงสาวดีของเราเป็นแน่ จึงรับอาสา ไปรบกับกามะนี
พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง ทราบความเช่นนั้นก็เกิดความยินดี ซึ่งสมิงพระราม ทูลขอม้าฝีมือดีตัวหนึ่ง แต่สมิงพระรามไม่ถูกใจ ม้าที่พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจัดหาให้ พวกเสนาจึงออกไปหาม้ามา ให้ใหม่ พบม้าตัวหนึ่งของหญิงม่าย เป็นม้าที่มีลักษณะดีมาก จึงนำม้านั้นมามอบให้สมิงพระราม
...เมื่อวันประลองยุทธ์มาถึง... สมิงพระรามเห็นกามะนี สวมเกราะมามิดชิดยากที่จะแทงได้ จึงวางอุบายขอให้กามะนี รำทวนให้ดู เป็นขวัญตา แล้วสมิงพระรามจะรำตาม จากนั้นจึงค่อยสลับกัน
ครั้นกามะนี รำสิ้นเพลงแล้ว สมิงพระรามก็ให้กามะนี รำตามบ้าง ในขณะที่สมิงพระรามให้กามะนีรำทวนตาม ก็คอยหาช่องทางที่จะสอดทวนแทงเข้าไป จึงเห็นว่ามี สองช่องคือ ช่องใต้รักแร้ และกลีบเกราะที่ท้ายหมวก พอที่จะย้อนฟันได้ จากนั้นสมิงพระรามจึงชักม้าหยุดพัก พอให้หายเหนื่อย แล้วบอกกามะนีว่า เรามาสู้กันได้แล้ว
ทั้งสองสู้กันเป็นเวลานานหลายสิบเพลง สมิงพระรามคิดว่า หากต่อสู้กันอยู่อย่างนี้ เห็นที่จะเอาชนะได้ยาก ด้วยม้าของกามะนี ยังมีกำลังอยู่ คิดแล้วสมิงพระรามจึงแสร้งทำเป็นเสียทีควบม้าหนี ออกไป กามะนีควบม้าตามเต็มกำลังจนม้าของกามะนีอ่อนกำลังลง
ได้ทีสมิงพระรามชักม้ากลับ รุกม้าเข้าใส่กามะนีอีกครั้ง จังหวะนั้นก็สอดทวนแทงถูกซอกรักแร้ของกามะนี ก่อนจะ ชักดาบเข้าตัดศีรษะของกามะนีขาดสะบั้นลง ทหารของพระเจ้ากรุงจีนโกรธแค้นเป็นอย่างมาก กราบทูลพระเจ้ากรุงจีนให้ตีกรุงอังวะเสีย แต่พระเจ้ากรุงจีน ไม่ทeเช่นนั้นและสั่งให้ถอยทัพกลับเมืองจีน
เมื่อได้รับชัยชนะสมิงพระรามมีความปรารถนา ๔ ประการ คือ ตนเองต้องพ้นจากการถูกจองจำ จะฝากฝีมือของตนไว้เป็นเกียรติยศสืบไป ให้ฆ่าตนเองทิ้งเสีย หากไม่ฆ่าทิ้งก็จะลากลับหงสาวดี
ฝ่ายพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง นั้นชอบใจในตัวสมิงพระราม เป็นอย่างมาก เมื่อสมิงพระรามมาขอตัวกลับหงสาวดี ก็คิดว่า สมิงพระรามคนนี้มีฝีมือดี ครั้นจะปล่อยให้กลับไปหงสาวดี ก็รู้สึกเสียดายฝีมือ พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องจึงมาปรึกษากับพระมเหสี พระมเหสีแนะนำให้ยกธิดาของตนให้กับสมิงพระราม
สมิงพระรามเห็นพระธิดาก็ตะลึงในความงาม พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเห็นเช่นนั้นก็ดีพระทัย จึงประทานยศ ให้สมิงพระรามป็นพระมหาอุปราชและมอบพระธิดาให้ เป็นรางวัล
สมิงพระรามจึงขอพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องไว้ สองข้อคือ หนึ่งถ้ามีใครเรียกตนว่าเชลยตนจะ ขอกลับหงสาวดีทันที และสองตนจะไม่ขอฝักใฝ่ ฝ่ายใดเป็นอันขาด
จากนั้นสมิงพระรามก็อยู่กินกับพระธิดาในฐานะ อุปราช จนกระทั่งมีลูกชายด้วยกัน ครั้นลูกชายอายุได้ ๑ ขวบเศษ วันหนึ่งพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องอุ้มหลานชายนั่ง บนตัก ด้วยความไร้เดียงสาและกำลังซุกซน
ก็ลุกขึ้นมายุดบ่าแล้วเอื้อมมือไปจับหัวของพระเจ้า ฝรั่งมังฆ้อง พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเห็นดังนั้นจึงพลั้งปากตรัส ออกไปว่า “ลูกอ้ายเฉลยนี้กล้าหาญนัก” สมิงพระราม ได้ยินดังนั้นจึงน้อยใจ ในคืนนั้นจึงเขียนหนังสือ ๒ ฉบับ ฉบับหนึ่งซ่อนไว้ใต้หมอน อีกฉบับหนึ่งพกติดตัวไว้ก่อน จะควบม้า หนีออกจากกรุงอังวะไป
เมื่อความทราบถึงพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง พระองค์จึงนำ หนังสือไปให้พระมเหสีอ่าน เมื่อพระมเหสีอ่านแล้วจึง กราบทูลว่า “พลั้งปากก็ย่อมเสียการ พลั้งมีดพลั้งขวาน มักจะบาดเจ็บ” ฝ่ายสมิงพระรามเมื่อกลับถึงกรุงหงสาวดี พระเจ้าราชาธิราชก็ดีใจยิ่งนัก ถึงกับจัดมหรสพเพื่อเฉลิม ฉลองเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน
สามารถรับชมเนื้อเรื่องเพิ่มเติม แบบฉบับการ์ตูนได้ที่
ต้องพันธนาการ หมายถึง ถูกคุมขัง “สมิงพระรามได้ยินดังนั้นก็คิดว่า แต่เราต้องพันธนาการ ตรากตรำอยู่นานแล้ว”
ทแกล้ว หมายถึง ผู้กล้า มักใช้คู่กับทหาร เป็น ทแกล้วทหาร “กษัตริย์กรุงใดยังมีทแกล้วทหารที่สามารถจะสู้กามะนี ได้แต่พอชมเล่นเป็นที่เจริญตาได้บ้าง”
พยุหเสนา หมายถึง กองทัพ “พระเจ้ากรุงจีนได้ทรงฟังก็มีพระทัยยินดีนัก จึงสั่งให้ จัดพลพยุหเสนาทั้งปวงเป็นอันมากจะนับประมาณมิได้”
เป็นสามารถ หมายถึง อย่างเข้มแข็ง เต็มกำลัง “ทัพจีนยกมามากเหลือกำลังก็มิให้ออกรบสู้ต้านทาน ให้แต่รักษาพระนครมั่นไว้เป็นสามารถ”
ม้าเชลยศักดิ์ หมายถึง ม้าที่ไม่ใช้ม้าหลวง เป็นม้า ของชาวบ้าน “เราจะให้หามาเลือกอีกให้ชอบใจท่านจงได้ จึงตรัสสั่ง เสนาบดีให้จัดหาม้าเชลยศักดิ์ในพระนครนอกพระนคร มาให้สิ้นเชิง”
กระทืบม้า หมายถึง เร่งม้า “สมิงพระรามได้ทีก็สอดทวนแทงถูกซอกรักแร้กามะนี กามะนีเอนตัวลง สมิงพระรามจึงชักดาบกระทืบม้าเข้าฟัน ย้อนตามกลีบเกราะขึ้นไป”
กำดัดคะนอง หมายถึง วัยกำลังซน “ฝ่ายพระราชกุมารเป็นทารกยังทรงพระเยาว์ไม่แจ้งความ กำดัดคะนองลุกจากพระเพลายืนขึ้นยุดพระอังสาพระเจ้า มณเฑียรทองไว้แล้วเอื้อมพระหัตถ์ขึ้นไปเล่นที่สูง”
คุณค่าของ วรรณกรรม
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 1. มีการใช้สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่าง เพื่ออธิบายหรือสนับสนุนความคิดเห็น ให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ ยกตัวอย่างเช่น ตอนสมิงพระรามเลือกม้าก็จะได้ยกตัวอย่างการเลือกม้าเทียบการเลือกช้าง เลือก ทอง หรือเลือกสตรี ให้เห็นภาพมากขึ้น
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 2. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้บอกกล่าว เล่าเรื่อง อธิบาย หรือบรรยาย เรื่องราว เหตุการณ์ ตลอดจนความรู้ต่าง ๆ อย่างละเอียด เพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจ เนื้อหา สาระอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ตัวอย่าง ...ฝ่ายกามะนีก็แต่งตัวใส่เสื้อหุ้มเกราะแล้วด้วยทองเป็นอันงาม คาดสายรัดเอว ประดับหยกเหน็บกระบี่ขึ้นขี่ม้ารำทวนออกมา ณ ท้องสนาม ฝ่ายสมิงพระราม ก็แต่งตัวใส่เสื้อสีชมพูขลิบทองจีบเอว โพกผ้าชมพูขลิบแล้วไปด้วยทอง ใส่กำไล ต้นแขนปลายแขน แหวนสอดก้อยแล้วไปด้วยเนาวรัตน์ แต่ล้วนทองเป็นอันงาม แล้วสอดดาบสะพายแล่งขึ้นม้า ฟ้อนรำเป็นเพลงทวนออกมายังท้องสนาม...
คุณค่าด้านวรรณศิลป์ 3. อุปมาโวหาร คือ วิธีการเขียนโดยเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้ ผู้อ่านเข้าใจง่าย และเกิดอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น คำที่ใช้ เช่น ดุจ ดั่ง ราว ราวกับ เปรียบ ประดุจ เพียง เพี้ยง พ่าง ละหม้าย เสมอ กล อย่าง ฯลฯ ตัวอย่าง “มีทหารเอกคนหนึ่งชื่อกามะนี มีฝีมือขี่ม้าแทงทวนสันทัดดีหาผู้ใดเปรียบ มิได้ จีนทั้งปวงก็สรรเสริญว่า กามะนีมิใช่มนุษย์ดุจเทพยดาก็ว่าได้\"
คุณค่าด้านสังคม 1. ความเชื่อด้านโหราศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือโชคชะตาของ มนุษย์ โดยอาศัยตำแหน่งของดวงดาว เช่น ตอนพระเจ้ามณเฑียรทองวิตกกังวลในการหาผู้อาสา ไปรบกับกามะนี จึงได้ให้โหรมาทำนายชะตาของบ้านเมือง ตัวอย่าง ...เสนาพฤฒามาตย์ผู้ใหญ่ผู้น้อยทแกล้วทหารทั้งปวงก็มิอาจรับอาสาได้ พระเจ้ามณเฑียรทองก็ทรงพระวิตกเป็นทุกข์พระทัยนัก จึงให้หาโหรมาคำนวณ พระชันษาแลชะตาเมืองดู โหรก็คำนวณฎีกาดูทูลถวายว่าพระชันษาแลชะตา เมืองยังดีอยู่หาเสียไม่ นานไปจะได้ลาภอันประเสริฐอีก...
คุณค่าด้านสังคม 2. การรักษาสัจจะ คือ คำพูดที่เป็นจริง โดยปฏิบัติตามที่ได้พูดไว้ตั้งแต่ต้น ไม่มีการ เปลี่ยนแปลง เช่น การรักษาคำพูดของพระเจ้ากรุงต้าฉิง เมื่อกามะนีแพ้ ก็ยกทัพกลับไป โดยไม่ทำอันตรายแก่ผู้ใดตามที่ได้พูดไว้ ตัวอย่าง ...พระเจ้ากรุงจีนได้ฟังก็ตรัสห้ามนายทัพนายกองทแกล้วทหารทั้งปวงว่า เราเป็นกษัตริย์ผู้ใหญ่อันประเสริฐ ได้ให้คำมั่นสัญญาไว้แก่เขาแล้ว จะกลับคำ ไปดังนั้นหาควรไม่ พม่าทั้งปวงจะชวนกันดูหมิ่นได้ว่าจีนพูดมิจริง เรารักสัตย์ ยิ่งกว่าทรัพย์...
คุณค่าด้านสังคม 3. การปูนบำเหน็จรางวัล คือ การให้รางวัลตอบแทนเพื่อสร้างกำลังใจและผูกใจคน ดังตอนที่พระเจ้ามณเฑียรทองให้เหตุผลต่อสมิงพระราม เมื่อรู้ว่าสมิงพระรามจะไม่รับ บำเหน็จจากการอาสารบ ตัวอย่าง ...อนึ่งเราเกรงคนทั้งปวงจะครหานินทาได้ ท่านรับอาสากู้พระนครไว้ มีความชอบเป็นอันมาก มิได้รับบำเหน็จรางวัลสิ่งใด นานไปเบื้องหน้าถ้าบ้านเมือง เกิดจลาจลหรือข้าศึกมาย่ำยีเหลือกำลัง ก็จะไม่มีผู้ใดรับอาสาอีกแล้ว...
คุณค่าด้านสังคม 4. การแต่งกายและการใช้อาวุธ เห็นถึงการแต่งกายและการใช้อาวุธในการรบของกามะนี ฝ่ายจีนและสมิงพระรามฝ่ายมอญ ...ฝ่ายกามะนีก็แต่งตัวใส่เสื้อหุ้มเกราะ แล้วด้วยทองเป็นอันงาม คาดสายรัดเอว ประดับหยกเหน็บกระบี่ขึ้นขี่ม้ารำทวนออกมา ณ ท้องสนาม
Search