ประเภทของเคร่ืองดนตรีไทย เคร่ืองดนตรไี ทย คอื สิ่งท่ีสร้างขน้ึ สำหรับทำเสยี งให้เป็นทำนอง หรอื จงั หวะ วิธที ่ที ำใหม้ ีเสยี งดงั ขนึ้ น้ันมี อยู่ ๔ วิธี คอื ใชม้ ือหรือส่งิ ใดส่ิงหน่งึ ดดี ทส่ี าย แล้วเกิดเสยี งดงั ขึ้น ส่งิ ทีม่ สี ายสำหรบั ดีด เรียกว่า \"เครือ่ งดีด\" ใช้เส้นหางมา้ หลายๆ เสน้ รวมกันสไี ปมาทสี่ าย แล้วเกดิ เสยี งดงั ข้นึ สิง่ ทม่ี ีสายแล้วใชเ้ ส้นหางม้าสีให้เกดิ เสยี งเรยี กวา่ \"เคร่ืองส\"ี ใชม้ ือหรอื ไมต้ ที ่ีส่งิ นั้น แล้วเกดิ เสยี งดงั ข้นึ สิ่งทใ่ี ช้ไม้หรอื มอื ตี เรยี กวา่ \"เครอ่ื งตี\" ใชป้ ากเป่าลมเขา้ ไปในสง่ิ นนั้ แล้วเกดิ เสยี งดังขึ้น สิ่งทเ่ี ปา่ ลมเข้าไปแล้วเกิดเสียงเรยี กว่า \"เครอ่ื งป่า\" เครือ่ งทุกอยา่ งทก่ี ล่าวแล้วรวมเรียกวา่ เครอื่ งดีด สี ตี เป่า
เคร่ืองดดี เคร่อื งดีดทุกอยา่ งจะต้องมสี ่วนทีเ่ ปน็ กระพงุ้ เสียง บางทีก็เรยี กว่า กะโหลก สำหรบั ทำให้ เสียงที่ดีดนั้น ก้องวานดังขึ้นอีก เครื่องดีดของไทยที่ใช้ในวงดนตรีแต่โบราณเรียกว่า \"พิณ\" ซึ่งมาจากภาษาของชาวอินเดีย ที่ว่า \"วีณา\" ในสมัยหลังๆ ต่อมาจึงบัญญัติชื่อเป็นอย่างอื่น ตามรูปร่างบ้าง ตามภาษาของชาติใกล้เคียงบ้าง เช่น\"กระจับป\"ี่ ซง่ึ มกี ระพงุ้ เสยี งรูปแบน ดา้ นหนา้ และดา้ นหลงั กลมรี คลา้ ยรูปไข่ มคี ันตอ่ ยาวเรยี วขน้ึ ไป ตอน ปลายบานและงอนโค้งไปขา้ งหลงั เรียกวา่ ทวน มี สายทำดว้ ยเอน็ หรอื ไหม ๔ สาย ขงึ ผ่านหนา้ กะโหลกตามคัน ขึ้นไปจนถึงลูกบิด ๔ อัน ผูกปลาย สายอันละสาย มีนมติดตามคันทวนสำหรับกดสายลงไปติดสันนม ให้เกิด เสยี งสูงตำ่ ตามประสงค์ ผู้ดีดต้องนัง่ พับเพียบทางขวา วางตวั กระจับป่ี (กะโหลก) ลงตรงหน้าขาขวา กดนว้ิ ตาม สายด้วยมอื ซา้ ย ดีดดว้ ยมอื ขวา รูปกระจบั ปี่ (หรือพณิ ) ของไทยมลี ักษณะดงั ในภาพ พิณ กระจับป่ี
เครอื่ งดดี ของไทยท่ีใช้กนั อยู่อยา่ งแพรห่ ลายในปัจจบุ นั ก็คือ \"จะเข\"้ จะเขเ้ ปน็ เครื่องดีดท่ีวางนอนตาม พื้นราบ ทำด้วยไม้ท่อนขดุ เป็นโพรงภายใน ไม้แก่นขนุนเป็นดที ี่สุด ด้านล่างมีกระดานแปะเป็นพื้นทอ้ ง เจาะรู ระบายอากาศพอสมควร มเี ท้าตอนหัว ๔ เท้า ตอนทา้ ย ๑ เทา้ รวม เปน็ ๕ เท้า มสี าย ๓ สาย สายเอก (เสียง สูง) กบั สายกลางทำด้วยเอน็ หรือไหม สายตำ่ สดุ ทำด้วย ลวดทองเหลอื งเรียกว่า สายลวด ขึงจากหลักตอนหัว ผา่ นโต๊ะและนม ไปลอดหยอ่ ง แลว้ พันกบั ลูกบิดสายละลูก มนี มตั้งเรยี งลำดับบนหลงั ๑๑ นม สำหรับกดสาย ให้แตะเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการ การดีดต้องใช้ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เหลากลม เรียวแหลม ผูกพนั ตดิ กับนวิ้ ช้ี มือขวา ดีดปัดสายไปมา สว่ นมือซา้ ยใช้นิว้ กดสายตรงสนั นมตา่ ง ๆ ตามต้องการ จะเข้
เครอ่ื งสี เครื่องดนตรีที่ต้องใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกัน สีไปบนสายซึ่งทำด้วยไหมหรือเอ็นนี้ โดยมาก เรยี กว่า \"ซอ\" ท้งั นั้น ซอของไทยที่มีมาแต่โบราณก็คอื \"ซอสามสาย\" ใช้บรรเลงประกอบ ในพระราชพีธีสมโภช ต่าง ๆ ซอสามสายนี้ กะโหลกสำหรับอุ้มเสียง ทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางให้เหลือพูทั้งสามอยูด่ ้านหลัง ขึง หน้าด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว มีคัน (ทวน) ตั้งต่อจากกะโหลก ขึ้นไปยาวประมาณ ๑.๒๐ เมตร ทำด้วย งาชา้ งหรือไม้แก่น กลึงตอนปลายให้สวยงาม มลี ูกบดิ สอด ขวางคันทวน ๓ อนั สำหรบั พนั ปลายสาย เร่งให้ตึง หรือหย่อนตามต้องการ มีทวนล่างต่อลงไป จากกะโหลก กลึงใหเ้ รียวเลก็ ลงไปจนแหลม เลยี่ มโลหะตอนปลาย เพื่อให้แขง็ แรงสำหรบั ปักลงกับ พน้ื สายทงั้ สามนัน้ ทำดว้ ยไหมหรอื เอ็น ขึงจากทวนลา่ งผ่านหน้าซอซ่ึงมีหย่อง รองรบั ข้นึ ไปตามทวน และร้อยเขา้ ในรู ไปพันลกู บิดสายละอัน ส่วนคนั ชกั หรอื คนั สนี ้นั ทำคล้ายคนั กระสุน ขึง ด้วยเส้น หางม้าหลายๆ เส้น สีไปมาบนสายทั้งสามตามต้องการ สิ่งสำคัญของซอสามสายอย่างหนึ่ง คือ \"ถ่วงหน้า\" ถ่วงหน้านี้ ทำด้วยโลหะประดิษฐ์ให้สวยงาม บางทีถึงแก่ฝังเพชรพลอยก็มี แต่จะต้องมีน้ำหนกั ได้ ส่วนสมั พนั ธ์กับหน้าซอ สำหรบั ตดิ ตรงหน้าซอตอนบนดา้ นซา้ ย ถ้าไมม่ ถี ่วงหนา้ แล้ว เสียงจะดังออู้ ี้ไม่ไพเราะ ซอสามสาย
ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มี ๒ สายเรียกว่า สายเอก และสายทุ้ม ตัวกระพุ้งอุ้มเสียงเรียกว่า กระบอก เพราะมีรปู อย่างกระบอกไม้ไผ่ ทำดว้ ยไมเ้ นอื้ แขง็ หรอื งาชา้ ง ขึงหนา้ ด้วยหนังงูเหลอื ม ถา้ ไมม่ กี ใ็ ช้หนงั แพะหรือ หนังลูกวัว มีทวน (คัน) เสียบกระบอกยาวขึ้นไป ตอนปลายเป็นสี่เหลี่ยม โอนไปทางหลัง มีลูกบิดสำหรับพัน ปลายสาย ๒ อนั เนือ่ งจากซอด้วงเป็นซอเสียงเล็กแหลม จงึ ใช้สายท่ที ำดว้ ยไหมหรือเอน็ เป็นเสน้ เล็กๆ สว่ นคัน ชักนน้ั รอ้ ยเส้นหางมา้ ให้เขา้ อยูใ่ นระหวา่ งสาย ทง้ั สอง ซอด้วง ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีสาย ๒ สาย ทำด้วยไหมหรือเอ็น เรียกว่า สายเอกและสายทุ้มเช่น เดียวกับซอ ด้วง แต่กะโหลกซึ่งเป็นเครื่องอุ้มเสียงทำด้วยกะลามะพร้าว ตัดตามยาวให้พูอยู่ข้างบน ขึงหน้าด้วยหนังแพะ หรือหนงั ลกู วัว มีทวน (คัน) เสียบยาวข้ึนไปกลงึ กลมตลอดปลาย มลี กู บดิ สำหรบั พันสาย ๒ อนั คนั ชักน้ันร้อย เส้นหางมา้ ให้อยู่ภายในระหว่างสายทง้ั สอง ซออู้ การเรียกสายของเครอื่ งดนตรี ทัง้ เคร่อื งดีด และเครื่องสวี ่า \"เอก\" และ \"ทมุ้ \" นี้ เรยี กตามลักษณะของเสยี ง สายท่มี ีเสยี งสงู ก็เรยี กว่า สายเอก สายทมี่ เี สียงต่ำก็เรยี กว่า สายทุม้ ตลอดจน เครื่องตีท่ีจะกลา่ วต่อไปน้ีก็ อนโุ ลมเช่นเดียวกัน เครื่องที่มีเสยี งสงู กเ็ รียกวา่ เอก เคร่ืองทมี่ ีเสยี งต่ำ ก็เรยี กวา่ ทมุ้
เคร่อื งตี เครอ่ื งดนตรีท่ีตีแลว้ ดงั เป็นเพลงหรือเป็นจังหวะมีมากมาย จะกลา่ วเฉพาะที่ควรจะรูจ้ กั และ ใช้กนั อยู่ ท่วั ไป คือ กรบั เป็นเครือ่ งตีที่เมอ่ื ตแี ลว้ ดงั กรบั - กรับ กรบั อย่างหนึ่งเปน็ ไมไ้ ผผ่ า่ ซีก ๒ อัน ถอื มือละอนั แล้ว เอาทางผวิ ไม้ตีกนั เรียกวา่ \"กรับคู่\" หรอื \"กรับละคร\" เพราะโดยมากใช้ประกอบการเลน่ ละคร กรับ อกี อย่างหน่งึ เป็นกรบั ท่ีทำดว้ ยไมเ้ นื้อแขง็ หรอื งาชา้ ง เปน็ ซกี หนาๆ ประกบ ๒ ขา้ ง แลว้ มีแผน่ โลหะ หรอื ไม้ หรอื งา ทำเปน็ แผ่นบางๆ หลายๆ อันซอ้ นกนั อยขู่ ้างใน เจาะรตู อนโคน รอ้ ยเชอื กเหมอื นพัด เรยี กว่า \"กรบั พวง\" กรบั พวง
ระนาดเอก ระนาด เปน็ เคร่อื งตีท่ีทำด้วยไมห้ รอื เหล็กหรอื ทองเหลืองหลายๆ อัน เรยี งเป็นลำดับกัน บางอยา่ งก็ รอ้ ยเชือกหวั ท้ายแขวน บางอยา่ งกว็ างเรยี งกันเฉยๆ ระนาดเอก ลกู ระนาดทำดว้ ยไม้ไผ่บง หรอื ไมช้ ิงชงั ไม้พะยูง และไม้มะหาด ลูกระนาด ฝานหัวทา้ ย และทอ้ งตอนกลาง ตัดให้มีความยาวลดหลน่ั กันตามลำดับของเสียง โดยปกตมิ ี ๒๑ ลูก เรียงเสยี งตำ่ สงู ตามลำดบั ลูกระนาดทุกลูกเจาะรรู อ้ ยเชือกหัวท้ายแขวนบนรางซง่ึ มรี ปู โค้งขน้ึ มเี ทา้ รปู สเ่ี หลยี่ ม ตรงกลาง สำหรับต้ัง ไม้สำหรบั ตมี ี ๒ อย่างคือ ไมแ้ ข็ง (เมอ่ื ตอ้ งการเสียงดังแกร่ง กร้าว) และไมน้ วม (เม่อื ตอ้ งการเสียง เบาและนุ่มนวล) ระนาดเอก ระนาดท้มุ ลกู ระนาดเหมอื นระนาดเอก แตใ่ หญแ่ ละยาวกว่า มี ๑๗ ลกู รางท่ีแขวนนน้ั ดา้ นบนโคง้ ขน้ึ แต่ด้านล่างตรงขนานกบั พืน้ ราบ มีเทา้ เลก็ ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไมต้ ีใชแ้ ต่ไม้นวม ระนาดทุ้ม การเทยี บเสยี งระนาดเอก และระนาดทมุ้ เม่อื ต้องการใหส้ ูงตำ่ ใชข้ ี้ผง้ึ ผสมกับผงตะกวั่ ตดิ ตรงหวั และ ทา้ ยดา้ นล่าง ถ่วงเสียงตามต้องการ
ระนาดเอกเหลก็ ลูกระนาดทำด้วยเหลก็ วางเรยี งบนราง ไม่ตอ้ งเจาะรรู อ้ ยเชอื กมี ๒๐ ลูก หรือ มากกวา่ นน้ั ถ้าลกู ระนาดทำดว้ ยทองเหลอื งกเ็ รยี กวา่ ระนาดทอง ระนาดเอกเหลก็ ระนาดท้มุ เหล็ก เหมือนระนาดเอกเหล็กทกุ ประการ นอกจากลูกระนาดใหญ่และยาวกว่า มี ๑๗ ลกู ถ้าทำดว้ ยทองเหลอื งก็เรยี ก ระนาดทุ้มทอง ระนาดทุ้มเหล็ก การเทียบเสียงระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็กนี้ ใช้ตะไบถูหัวท้ายด้านล่างและท้องลูก ระนาด ไมใ่ ช้ข้ีผึง้ ผสมผงตะถัว่ ตดิ เมือ่ ตอ้ งการใหล้ กู ไหนเสียงสงู ข้ึน ก็ตะไบหัวหรือท้ายให้บาง ถ้าตอ้ งการให้ต่ำก็ตะไบ ทอ้ งให้บาง
ฆ้อง ทำด้วยโลหะ เป็นแผ่นกลม ตรงกลางมปี ุ่มกลมนนู ขึ้นสำหรับตี ขอบนอกหักมุมลงรอบตัว เป็น รูปเหมอื นฉตั ร ฆอ้ งมหี ลายชนดิ คอื ฆ้องโหม่ง เป็นฆ้องขนาดเขื่อง ขนาดตั้งแต่เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ถึง ๔๕ เซนตเิ มตร โดยปกติใชแ้ ขวนไม้ขาหยั่ง ๓ อนั หรือทำเป็นรปู อย่างอ่ืน ตีด้วยไมซ้ ึ่งพันดว้ ย ผ้าเป็นปุ่มตอนปลาย เสียงดงั โหมง่ - โหมง่ จงึ เรียกชื่อตามเสียง ฆ้องโหม่ง ฆ้องวงใหญ่ มี ๑๖ ลูก ขนาดลดหลั่นกันไปตามลำดบั ลูกต้นขนาดใหญ่ เสียงต่ำ อยู่ทาง ซ้ายของผู้ตี ลูกยอดขนาดเล็ก เสยี งสงู อยทู่ างขวาของผ้ตู ี ทุกลูกผกู บนร้านซงึ่ ทำเป็นวงรอบตวั คนตี เว้นดา้ นหลังไว้ ผู้ตีน่ัง ในกลางวง ตีด้วยไม้ที่ทำด้วยแผน่ หนังหนา ตัดเปน็ วงกลม มดี า้ ม เสยี บตรงรูกลางแผ่นหนงั ฆ้องวงใหญ่
ฆ้องวงเล็ก รปู ร่างลกั ษณะเหมอื นฆอ้ งวงใหญ่ แตม่ ีขนาดเล็กกว่าเทา่ นน้ั มจี ำนวนลูกฆ้อง ๑๘ ลูก ฆอ้ งวงเลก็ การเทยี บเสยี งฆอ้ งวงใหญแ่ ละฆอ้ งวงเล็กนี้ ใชข้ ผ้ี ึ้งผสมกับผงตะกั่ว ตดิ ตรงดา้ นลา่ งของ ปมุ่ ฆ้อง เพอ่ื ให้ได้เสยี งสูงต่ำตามตอ้ งการ ฉ่ิง ทำด้วยโลหะหลอ่ หนา รปู เหมือนฝาชี ปากกว้างประมาณ ๖ เซนตเิ มตร มีรตู รงกลาง สำหรับรอ้ ย เชอื ก สำรับหนง่ึ มี ๒ อนั เรยี กว่า คู่ ตีใหท้ างปากเขา้ กระทบประกบกันดงั ฉง่ิ – ฉับ ฉง่ิ
ฉาบ ทำด้วยโลหะหล่อ บางกว่าฉิ่ง รูปเหมือนฉิ่งแต่มีชานต่อออกไปรอบตัว สำรับหน่ึ ง มี ๒ อัน เรียกว่า คู่ เหมือนกัน ฉาบนี้มี ๒ ขนาด อย่างเล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๓ เซนติเมตร เรียกวา่ \"ฉาบเล็ก\" อย่างใหญ่ขนาดเสน้ ผ่านศูนยก์ ลางประมาณ ๒๕ เซนตเิ มตร เรยี กวา่ \"ฉาบใหญ่\" ฉาบ กลองทดั เป็นเครอื่ งตีทีท่ ำด้วยไม้ท่อน กลงึ ใหไ้ ด้รูปและสัดสว่ น ภายในขุดเปน็ โพรง ขึง หน้าทั้งสอง ข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด (เรียกว่าแส้) ขนาดหน้ากลองเส้นผ่านศูนย์ กลางประมาณ ๔๖ เซนติเมตร เท่ากันทั้งสองหน้า ตัวกลองยาวประมาณ ๕๑ เซนติเมตร มีหู สำหรับแขวนเรียกว่า หูระวิง ๑ หู ชุดหนง่ึ มี ๒ ลกู ลูกเสยี งสงู เรยี กว่า ตัวผู้ ลกู เสียงตำ่ เรียกว่า ตวั เมยี กอ่ นจะใช้ตอ้ งติดข้าวสุกผสมกบั ข้ีเถ้าบดให้ เข้ากนั ติดตรงกลางหนา้ ล่างซ่งึ ไมไ่ ดใ้ ช้ตี เพื่อ ใหเ้ สียงนมุ่ นวลขึน้ ใช้ตีดว้ ยไมท้ อ่ นยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร กลองทดั
กลองแขก เปน็ กลองทมี่ รี ูปรา่ งยาวประมาณ ๕๗ เซนติเมตร ขงึ หนา้ ดว้ ยหนงั แพะหรอื หนงั ลกู วัว หน้าข้างหนึ่งใหญ่ กวา้ งประมาณ ๒๐ เซนตเิ มตร เรยี กวา่ \"หนา้ รุ่ย\" หนา้ ข้างเลก็ กว้าง ประมาณ ๑๗ เซนตเิ มตร เรียกวา่ \"หนา้ ต่าน\" มสี ายโยง่ เรง่ เสยี งถงึ กันทั้งสองหนา้ ห่างๆ ทำดว้ ย หวายผ่าซกี และอกี เสน้ หนึ่ง พันยดึ สายเป็นคู่ ๆ รอบกลองเรยี กวา่ รัดอก สำรับหนงึ่ มี ๒ ลกู ลกู เสียงสูงเรยี กว่า ตัวผู้ ลกู เสียงต่ำเรยี กวา่ ตวั เมยี ใช้ตีด้วยมอื ทัง้ สองหนา้ กลองแขก โทน เปน็ เครอื่ งตีทข่ี ึงหนังหนา้ เดียว รูปรา่ งตอนต้นโต แล้วค่อยเรียวลงไป ตอนสุดผาย ออกนดิ หนอ่ ย มีสายโยงเรง่ เสยี งจากหน้ามาถึงคอ ซ่ึงมีอยู่ ๒ อย่างคือ โทนมโหรีกับโทนชาตรี รปู รา่ งลกั ษณะตา่ งกันเล็กนอ้ ย โทน
โทนมโหรี สำหรับใช้ในวงมโหรี ในสมัยโบราณเรียกว่า \"ทับ\" จึงได้เรียกทั้งสองช่ือตดิ กันวา่ \"โทนทับ\" ตัวโทนทำด้วยดินเผา สายโยงเร่งเสียงมักใช้ไหมหรือเอ็น (อย่างสายซอ) หรือด้าย ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือ หนังลูกววั หรอื หนงั งูเหลือม โทนมโหรี โทนชาตรี ตัวโทนทำด้วยไม้ สายโยงเร่งเสียงมักจะใช้หนัง ขงึ หน้าด้วยหนงั ลกู วัวโดยมาก ทางภาคใต้ มกั ใชข้ นาดใหญ่ ส่วนภาคกลางใช้ขนาดย่อมกวา่ โทนชาตรี
รำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว รูปร่างแบน (หรือสั้น) มี ๒ อย่าง คือ รำมะนา ลำตัด และ รำมะนามโหรี รำมะนาตดั นน้ั มขี นาดใหญ่ แต่จะไม่พดู ถึง เพราะมไิ ด้อย่ใู นวงดนตรี จงึ กล่าวแต่เฉพาะรำมะนา ท่ใี ชใ้ นวงมโหรีเท่าน้นั รำมะนา รำมะนาในวงมโหรี ขึงหน้าดว้ ยหนงั ลกู ววั ตรงึ ด้วยหมดุ ตัวกลองสั้น กลงึ ให้ทางปาก สอบเข้า มีเส้น เชือกควัน่ เป็นเกลยี ว ยดั หนนุ ริมหนา้ ภายใน สำหรับหมนุ ให้หนา้ ตึงขึ้น เรียกวา่ \"สนบั \" ตะโพน เป็นเครื่องตีที่ขึงหนัง ๒ หน้า ตัวหุ่นทำด้วยไม้ ตรงกลางป่อง ภายในขุดเป็นโพรง หนังที่ขึง หน้าเจาะรูรอบ มีเส้นหนังเล็ก ๆ ควั่นเป็นเกลียวถัก เรียกว่า \"ไส้ละมาน\" ใช้หนังตัดเป็นแถบเล็ก ๆ เรียกว่า \"หนังเรยี ด\" รอ้ ยไสล้ ะมานโยงทง้ั สองหนา้ เรง่ เสียงตามต้องการ ตรงกลางมีหนังเรยี ดพนั เปน็ \"รดั อก\" วางนอน บนเท้า ซึ่งทำด้วยไม้เข้ารูปกับหน้าตะโพน หน้าใหญ่เรียกวา่ \"หน้าเท่ง\" หน้าเล็กเรียกว่า \"หน้ามัด\" เวลาจะตี ตอ้ งติดข้าวสกุ ผสมกับข้เี ถา้ ทางหน้าเท่ง ถ่วงเสยี งให้พอเหมาะ ตะโพน
เครือ่ งเป่า เครอื่ งดนตรไี ทยท่ีใช้ลมเปา่ แลว้ ดังเปน็ เสียงนน้ั แบง่ ออกไดเ้ ป็น ๒ ประเภท ประเภท หน่ึงต้องมีลิ้นท่ี ทำดว้ ยใบไม้ หรอื ไม้ไผ่ หรือโลหะ สอดใสเ่ ข้าไว้ เม่ือเป่าลมเข้าไป ล้นิ กจ็ ะเตน้ ไหว ใหเ้ กิดเสียง เรียกว่า \"ป่ี\" อีก ประเภทหนึ่งไม่มีลิ้น แต่มีรูบังคับ ทำให้ลมที่เป่าหักมุม แล้วเกิดเป็นเสียงขึ้น เรียกว่า \"ขลุ่ย\" ทั้งปี่และขลุ่ย ลักษณนามเรียกว่า \"เลา\" ซง่ึ มอี ย่หู ลายประเภท แตจ่ ะกลา่ วเฉพาะทคี่ วรรู้เท่าน้ัน คอื ปใ่ี น ทำดว้ ยไม้ชิงชังหรือไม้พะยูง กลึงให้ป่องกลางและบานปลายท้ัง ๒ ข้างเล็กน้อย เจาะเป็นรูกลวง ภายใน มรี ูสำหรบั ปดิ เปดิ น้วิ ให้เปน็ เสียงสูงต่ำ เจาะทีต่ ัวปี่ ๖ รู ๔ รูบนเรยี งตาม ลำดับ แลว้ เว้นห่างพอควรจึง ถึง ๒ รลู ่าง ลนิ้ ป่ที ำดว้ ยใบตาลตัดกลมมน ซอ้ น ๔ ช้ัน ผูกติดกบั หลอดโลหะท่ีเรยี กว่า \"กำพวด\" สอดกำพวด เขา้ ในรูปดี่ ้านบนแล้วจงึ เปา่ ปี่ใน ทีเ่ รียกว่าปี่ในน้ี มาเรยี กกันเมอ่ื มปี รี่ ปู ร่างอย่างเดียวกัน แต่ขนาดตา่ งกนั เกดิ ขนึ้ คือ ปี่ทีย่ อ่ มกว่าปีใ่ น เลก็ นอ้ ยเรยี ก \"ปีก่ ลาง\" และปี่ขนาดเลก็ เรยี กว่า \"ปี่นอก\"
ปีไ่ ฉน เป็นปี่ทมี่ ี ๒ ทอ่ น สวมตอ่ กัน มีรูปเหมือนดอกลำโพง ยาวประมาณ ๑๙ เซนตเิ มตร บรรเลง รว่ มกบั กลองชนะ ในงานพระบรมศพ พระศพเจ้านาย หรอื ศพทีไ่ ดร้ ับพระราชทานเกียรตยิ ศ ป่ีไฉน ปี่ชวา รูปรา่ งเหมอื นปไ่ี ฉน แต่ใหญ่กว่า ยาวประมาณ ๓๙ เซนติเมตร บรรเลงรว่ มในวง เคร่อื งสายป่ี ชวา และป่ีพาทย์นางหงส์ ป่ีชวา
ขลยุ่ เป็นเคร่อื งเปา่ ท่ีไมม่ ีล้ิน ทำด้วยไมร้ วก (ทีท่ ำด้วยไมช้ ิงชังหรืองาช้างกม็ )ี มีรูส่เี หลีย่ มผนื ผ้าอยดู่ ้าน ใต้ ซ่งึ ทำให้ลมหักมมุ ลง เรียกว่า รปู ากนกแก้ว รูท่สี ำหรับปดิ เปดิ น้ิวบงั คับ เสยี งสงู ต่ำอยดู่ ้านบน ๗ รู และ ด้านลา่ งเรียกวา่ รนู ้วิ คำ้ อีก ๑ รู ด้านขวามรี สู ำหรับปิดเยือ่ (เย่ือ ในปล้องไมไ้ ผ่หรอื เย่อื หวั หอม) เพอ่ื ใหเ้ สียง แตก (เมอื่ ต้องการ) ขลุ่ยรูปร่างอย่างเดียวกันนีม้ ี ๓ ขนาด คือ \"ขลุ่ยหลบิ \" ขนาดเลก็ มเี สยี งสงู ยาวประมาณ ๓๖ เซนตเิ มตร \"ขลุ่ยเพียงออ\" ขนาดกลาง เสียงระดับกลาง ยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร และ \"ขลุ่ยอ\"ู้ ขนาด ใหญ่ มีเสยี งต่ำ ยาว ประมาณ ๖๐ เซนติเมตร ขลุ่ยหลิบ ขลุย่ เพียงออ
Search
Read the Text Version
- 1 - 17
Pages: