เรื่องท่ี 1 ความหมายของแผ่นดินไหว พจนานกุ รมฉบบั ราชบณั ฑิตยสถาน พทุ ธศักราช 2542 ไดใ้ หค้ วามหมายของ แผน่ ดนิ ไหว หมายถงึ การสั่นสะเทือนของแผน่ ดินท่รี ูส้ ึกได้ ณ บริเวณใดบริเวณหนง่ึ บนผิวโลก ส่วนใหญ่เกิดจาก การเคล่อื นตวั ของเปลือกโลกทร่ี องรับผวิ โลกอยู่ บางคร้งั เกดิ จากภูเขาไฟระเบดิ แผ่นดินไหว (Earthquakes) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งเกิดจากการเคลื่อนตัว โดยฉับพลันของเปลอื กโลก การเกดิ แผน่ ดนิ ไหวส่วนใหญ่มักเกดิ ขน้ึ ตรงบริเวณขอบของแผ่นเปลือก โลก อันเป็นผลสืบเน่ืองมาจากช้ันหินหลอมละลายท่ีอยู่ภายใต้เปลือกโลกได้รับพลังงานความร้อน จากแกนโลก และลอยตวั ผลักดันให้เปลือกโลกซง่ึ อยู่ด้านบนเคลอื่ นท่ีในทิศทางต่าง ๆ กันพรอ้ มกับ สะสมพลังงานไว้ภายในบริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก ทาให้แผ่นเปลือกโลกชนและเสียดสีกัน หรือแยกออกจากกันนอกจากน้ันพลังท่ีสะสมในเปลือกโลกจะถูกส่งผ่านไปยังบริเวณรอ ยร้าว ของหนิ ใตพ้ ้นื โลกหรือทีเ่ รยี กว่า “รอยเลื่อน” เม่อื ระนาบของรอยเลือ่ นท่ีประกบกันอยไู่ ดร้ ับแรงอัด มาก ๆ ก็จะทาใหร้ อยเลื่อนมีการเคล่ือนตวั อยา่ งฉบั พลนั ก็สามารถเกิดแผ่นดินไหวได้ ภาพจาลองจดุ ศูนย์เกิดแผน่ ดนิ ไหว ทีม่ า ศูนยก์ ารเรยี นร้วู ทิ ยาศาสตร์และดาราศาสตร์ เขา้ ถงึ ไดท้ ี่ http://www.lesa.biz/earth/lithosphere/geological-phenomenon/earthquake/seismic-waves จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) มักเกิดตามรอยเล่ือนอยู่ในระดับความลึกต่าง ๆ ของผิวโลก ส่วนจุดท่ีอยู่ในระดับสูงข้ึนมาท่ีตาแหน่งของผิวโลก เรียกว่า “จุดเหนือศูนย์เกิด แผ่นดินไหว” (Epicenter) การส่ันสะเทือนหรือแผ่นดินไหวน้ีจะถูกบันทึกด้วยเคร่ืองมือ ท่ีเรียกว่า “ไซสโมมเิ ตอร์ (Seismometer)” และการศกึ ษาแผน่ ดินไหวและคลื่นสน่ั สะเทือนท่ีถกู ส่งออกมา จะเรียกว่า “วทิ ยาแผน่ ดนิ ไหว” (Seismology) ชุดวชิ าการเรียนร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 91
เรือ่ งท่ี 2 ลักษณะการเกิดแผ่นดนิ ไหว 2.1 สาเหตกุ ารเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวเปน็ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติท่ีมีสาเหตขุ องการเกดิ แบ่งไดเ้ ปน็ 2 ลกั ษณะ ดงั นี้ 2.1.1 กระบวนการเปลยี่ นแปลงตามธรรมชาติ เช่น 1) การเคลื่อนทข่ี องแผ่นเปลือกโลก 2) ภเู ขาไฟระเบดิ 3) การยุบตัวหรือพังทลายของโพรงใต้ดนิ 4) การสั่นสะเทอื นจากคล่ืนมหาสมุทร 2.1.2 การกระทาของมนุษย์ ทาให้เกิดแผ่นดินไหวได้ท้ังทางตรงและทางอ้อม เช่น การทาเหมือง การสร้างอ่างเก็บน้าหรือการสร้างเข่ือนใกล้รอยเล่ือน การทางานของ เครอื่ งจักรกล การจราจร และการเก็บขยะนวิ เคลยี รไ์ ว้ใตด้ นิ การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิด พนื้ ท่ีเพ่ือสารวจวางแผนก่อนสร้างเขือ่ น เปน็ ตน้ พืน้ ทีท่ ี่มกี ารระเบิดหินและพนื้ ทสี่ ร้างเขื่อนหลายแหง่ เปน็ สาเหตหุ นง่ึ ของการเกดิ แผน่ ดนิ ไหว พื้นท่ีที่มีการทาเหมอื งในระดับลึกเป็นอีกสาเหตหุ น่งึ ของการเกดิ แผ่นดนิ ไหว ชุดวชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 92
สาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวที่สืบเน่ืองจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก เกิดขึ้น จากการเคล่ือนตัวของแผ่นเปลือกโลก ที่เหมือนลอยอยู่เหนือของเหลว เพราะในชั้นใต้เปลือกโลก ยังคงร้อนขนาดหลอมละลายเป็นเเม็กมาและเคล่ือนไหว (หรือไหล) ไปในทิศทางแตกต่างกัน การเคล่ือนไหวของแมก็ มานเ่ี องที่ทาให้แผ่นเปลือกโลก ซ่ึงไม่ได้ต่อสนิทเป็นแผ่นเดียวกัน แต่มีรอย แยกแบ่งเปน็ แผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่มากมายเคลอ่ื นไหวตามไปด้วยในทศิ ทางทแ่ี ตกต่างกนั การเคล่ือนตัวในทิศทางที่แตกต่างกันของแผ่นเปลือกโลกน่ีเอง ที่ทาให้แผ่นเปลือกโลก แต่ละแผ่นเกิดชนกัน หรือแยกออกจากกันกลายเป็น “รอยเลื่อน” ขึ้นมาหลายรูปแบบ แต่ละ รูปแบบกอ่ ให้เกิดแผน่ ดินไหวขึ้นได้ ชนิดของการเกดิ แผ่นดนิ ไหว (ภาพจาก http://www.neutron.rmutphysics.com/science-news) ชุดวชิ าการเรียนร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 93
การเคล่ือนตัวของแผ่นเปลือกโลก หากมีอุปสรรคไปขัดขวางด้านใดด้านหนึ่ง หรือทั้งสอง ด้านของรอยเล่ือน ระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะขึ้นอยู่กับพลังงานสะสมในจุดท่ีเป็น อปุ สรรคของการเคล่ือนตวั ของแผน่ เปลือกโลก รอยเลอ่ื น สามารถจาแนกตามรูปแบบการเคลอ่ื นตวั ของแผ่นเปลือกโลก ดงั นี้ 1) รอยเลื่อนท่ัวไป เป็นส่วนรอยเลื่อนของเปลือกโลกท่ีส่วนแรกอยู่คงท่ีในขณะที่ อีกด้านหน่ึงทรุดตวั ลงในแนวดิง่ หรือเกอื บจะเปน็ แนวดงิ่ 2) รอยเล่ือนแบบสวนทางในแนวราบ คือ รอยเล่ือนที่เกิดจากการท่ีแผ่นเปลือก โลก 2 แผ่นเคล่ือนที่สวนทางกันในแนวราบ หรือเกือบจะเป็นแนวราบ หรือแผ่นเปลือกโลกด้าน หน่ึงของรอยเลื่อนเคล่ือนตัวออกไปในแนวราบ ถ้าเป็นด้านซ้ายเรียกว่า “เลฟท์ เลเทอรัล ฟอลท์” ถ้าเป็นด้านขวาก็เรียกว่า “ไรท์ เลเทอรัล ฟอลท์” แผ่นดินไหวที่นอกชายฝั่งสุมาตราเกิดขึ้นจาก รอยเลอื่ นในลกั ษณะนี้ เชน่ เดียวกับแผ่นดินไหวทีเ่ ฮติ ปี พ.ศ. 2553 3) รอยเล่ือนทชี่ นเข้าดว้ ยกัน เกดิ จากการที่แผ่นเปลอื กโลก 2 แผน่ เคลื่อนท่ีเขา้ หา และชนกันขึ้น เม่ือเกิดการกระแทกจะเกิดแผ่นดินไหวและผิวนอกของเปลือกโลกถูกดันให้สูงข้ึน ภูเขา หรือเกาะแก่งในมหาสมุทรหลายแห่งเกิดข้ึนสืบเน่ืองจากการเคล่ือนที่ของแผ่นเปลือกโลก ในลกั ษณะนี้ 4) รอยเล่ือนแบบแยกออกจากกัน เกิดขึ้นเมื่อแผ่นเปลือกโลก 2 แผ่นเคล่ือนที่ ออกจากกันในทิศทางตรงกันข้าม อาจเกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้แต่ไม่รุนแรงมากนักแต่จะปรากฏรอย แยกชัดเจน ในบางกรณอี าจมแี มก็ มาปะทขุ ้ึนมาเป็นลาวาได้อีกดว้ ย 5) รอยเล่ือนย้อนมุมต่า เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลก 2 แผ่น เคลื่อนที่เข้าหากัน ในทิศทางตรงกันข้ามแต่แผ่นเปลือกโลกด้านหน่ึงเคล่ือนตัวเอียงแล้วมุดลงไปใต้แผ่นเปลือกโลก อีกแผ่นหนึ่ง แผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเล่ือนลักษณะน้ี มักจะมีความรุนแรงและหากเกดิ ข้ึนบริเวณ ใตท้ ะเลมกั จะกอ่ ให้เกิดสนึ ามขิ นาดใหญต่ ามมา ชุดวชิ าการเรียนรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 94
2.2 ปจั จัยท่ีเก่ยี วข้องกับระดับความเสยี หายจากแผ่นดินไหว เหตุการณแ์ ผน่ ดินไหว ที่สง่ ผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อชีวติ และทรพั ย์สินนั้น ล้วนแต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องของการเกิด ซึ่งประกอบด้วย ขนาด ความรุนแรง จุดศูนย์เกิดของ แผน่ ดนิ ไหว ดงั น้ันผลกระทบที่เกดิ ขึน้ ในแต่ละพ้นื ท่ีที่ได้รับ จงึ มีระดับความเสียหายทีแ่ ตกต่างกนั 2.2.1 แหล่งกาเนิดแผ่นดินไหว ท่ีเกิดในแนวของแผ่นดินไหวโลก โดยเฉพาะ บริเวณท่ีมีการชนกันของแผ่นเปลือกโลก หรือแนวรอยเลื่อนที่มีความยาวมาก ๆ จะมีศักยภาพ ทาให้เกิดแผน่ ดนิ ไหวขนาดใหญ่ 2.2.2 ความลึกของจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีจุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวไม่ลึก มากหรือผิวดินจะก่อให้เกิดความรุนแรงในระดับที่มากกว่าการเกิดแผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์เกิด แผ่นดินไหวที่ลกึ มากกวา่ 2.2.3 ขนาด (Magnitude) หมายถงึ จานวนหรอื ปริมาณของพลังงานที่ถูกปล่อย ออกมาจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวแต่ละคร้ังในรูปแบบของการสั่นสะเทือน คิดค้นโดย ชาลส์ ฟรานซสิ รกิ เตอร์ และในประเทศไทยนยิ มใชห้ น่วยวดั ขนาดแผ่นดนิ ไหว คอื “ริกเตอร์” ซึ่งมีขนาด ตามมาตราริกเตอร์ ดังนี้ ขนาดของแผน่ ดินไหวตามมาตราวัดตามมาตราริกเตอร์ รกิ เตอร์ การรับรู้ ลักษณะท่ีปรากฏ 1.0 - 2.9 เล็กนอ้ ย 3.0 - 3.9 เลก็ นอ้ ย ผคู้ นเริม่ รสู้ ึกถึงการมาของคล่ืน มีอาการวิงเวียนเพยี งเลก็ น้อย 4.0 - 4.9 ปานกลาง ผคู้ นทีอ่ ยู่ในอาคารรู้สกึ เหมือนมอี ะไรมาเขย่าอาคาร ใหส้ นั่ สะเทือน 5.0 - 5.9 รุนแรง 6.0 - 6.9 รุนแรงมาก ผทู้ ี่อาศัยอยทู่ ั้งภายในอาคารและนอกอาคารรู้สึกถึง 7.0 ขึน้ ไป รนุ แรงมาก มาก การสน่ั สะเทือน วัตถุหอ้ ยแขวนแกว่งไกว เครื่องเรือนและวตั ถุมีการเคลื่อนท่ี อาคารเร่ิมเสยี หาย พงั ทลาย เกดิ การสั่นสะเทือนอยา่ งมากมาย ส่งผลทาใหอ้ าคารและ สง่ิ กอ่ สรา้ งต่าง ๆ เสียหายอย่างรุนแรง แผ่นดินแยก วตั ถุบนพืน้ ถูกเหว่ียงกระเดน็ ชุดวิชาการเรียนรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 95
แผ่นดินไหวที่มีขนาดตั้งแต่ 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ข้ึนไป สามารถทาให้เกิดความ เสยี หายแก่อาคารบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างได้ ทั้งน้รี ะดบั ความรุนแรงจะข้ึนอยูก่ ับระยะห่างจากจุด ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและสภาพทางธรณีวิทยาของที่ตั้ง โครงสร้างอาคารหรือส่ิงก่อสร้างจะได้รับ ผลกระทบจากแผน่ ดนิ ไหวจะกอ่ ให้เกดิ ความเสียหายในลักษณะตา่ งกนั 2.2.4 ระยะทาง โดยปกติแผ่นดินไหวท่ีมีขนาดเท่ากัน แต่ระยะทางจากจุด ศูนยก์ ลางการเกดิ แผน่ ดินไหวตา่ งกนั ระยะทางใกล้กว่าย่อมมีความสั่นสะเทือนของพื้นดินมากกวา่ 2.2.5 สภาพทางธรณีวิทยา ก่อให้เกิดความเสียหายจากความส่ันสะเทือน บริเวณที่มีการดูดซับพลังงานการสั่นสะเทือนได้มากหรือมีค่าการลดทอนพลังงานมาก จะได้รับ ความเสียหายน้อย เช่น ในพื้นที่ที่เป็นหินแข็ง แต่ในบริเวณท่ีเป็นดินอ่อนจะช่วยขยาย การสั่นสะเทอื นของพื้นดนิ ให้มากขึ้นกว่าเดิมจะทาใหค้ วามเสยี หายทไ่ี ด้รบั จะเพมิ่ มากขนึ้ ด้วย 2.2.6 ความแข็งแรงของอาคาร อาคารที่สร้างได้มาตรฐานมั่นคงแข็งแรง มีการออกแบบและก่อสร้างให้ต้านแผ่นดินไหว จะสามารถทนต่อแรงส่ันสะเทือนได้ดี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจะเพ่ิมความปลอดภัยให้กบั ผูอ้ ยู่อาศยั ไดใ้ นระดับหน่งึ 2.3 ผลกระทบทเี่ กดิ จากแผ่นดินไหว ผลกระทบทเี่ กดิ จากแผ่นดินไหวทเี่ กิดข้ึนในแตล่ ะครง้ั ขน้ึ อยกู่ บั ความรนุ แรงทร่ี สู้ ึกได้ มากหรือนอ้ ยเพียงใด โดยจะขน้ึ อยู่กับระยะทางจากศูนย์กลางแผ่นดนิ ไหว ความเสียหายจะเกิดข้ึน ในบริเวณใกล้เคียงกับศนู ย์กลางแผ่นดินไหวและจะลดหล่ันลงไปตามระยะทางท่ีห่างออกไป ดังนัน้ การสูญเสียจะมากหรอื น้อยขน้ึ อยู่กบั ความรุนแรงของแผ่นดนิ ไหวโดยตรง ความรุนแรงของแผ่นดินไหว มีมาตราวัดความรุนแรง ซ่ึงเรียกว่า “เมอร์คัลลี่” กาหนดขึ้นครั้งแรกโดย กวีเซปเป เมอร์คัลลี (Guiseppe Mercalli) นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียน ต่อมาแฮร่ีวูด (Harry Wood) นักวิทยาศาสตร์ด้านแผ่นดินไหว ชาวอเมริกัน ได้ปรับมาตราความ รนุ แรงเมอรค์ ัลล่ี ให้มรี ะดบั ความรนุ แรง 12 ระดับ โดยใช้ตัวเลขโรมันแทนระดบั ความรุนแรง ดังน้ี ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 96
เมอร์คัลล่ี ลักษณะท่ีปรากฏ I อ่อนมาก ผคู้ นไมร่ ู้สึก ต้องทาการตรวจวัดดว้ ยเครอ่ื งมือเฉพาะทางเท่านั้น II คนทอ่ี ยู่ในตึกสงู ๆ เริ่มรสู้ ึกเพียงเลก็ น้อย III คนในบา้ นเรม่ิ รู้สึก แต่คนสว่ นใหญย่ ังไม่ร้สู ึก IV ผอู้ ยใู่ นบา้ นรู้สกึ ว่ามีอะไรบางอยา่ งมาทาใหบ้ า้ นส่นั เบา ๆ V คนสว่ นใหญ่รสู้ กึ ของเบาในบ้านเริม่ แกวง่ ไกว VI คนสว่ นใหญร่ ู้สึก ของหนักในบา้ นเร่มิ แกว่งไกว VII คนตกใจ ส่ิงก่อสร้างเร่ิมมีรอยร้าว VIII อาคารธรรมดาเสยี หายอยา่ งมาก IX ส่ิงกอ่ สร้างท่ีออกแบบไว้อย่างดีตามหลักวศิ วกรรม เสยี หายมาก X อาคารพัง รางรถไฟงอเสยี หาย XI อาคารส่งิ กอ่ สรา้ งพงั ทลายเกือบทงั้ หมด ผิวโลกนนู และเลอ่ื นเป็นรูปคลน่ื บนพ้นื ดนิ XII ทาลายหมดทุกอย่าง มองเหน็ เป็นคล่นื บนแผ่นดนิ เหตุการณ์แผ่นดินไหว ท่ีส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ในด้านตา่ ง ๆ ดังน้ี 2.3.1 ผลกระทบต่อสขุ ภาพอนามยั 1) ประชาชนที่มีบ้านเรือนพักอาศัยในพื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหว ได้รับ บาดเจ็บหรอื เสยี ชวี ติ จากเศษสงิ่ ปรักหกั พังและการล้มทบั ของส่ิงกอ่ สรา้ งต่าง ๆ 2) ทอี่ ย่อู าศัยพังเสยี หายไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศยั ได้ ทาใหไ้ ร้ที่อยอู่ าศยั 3) ระบบสาธารณปู โภคไดร้ บั ความเสียหาย อาจเกดิ การระบาดของโรค 4) เกดิ เหตอุ คั คภี ยั หรอื ไฟฟ้าลัดวงจร ทาให้ประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวติ 5) สขุ ภาพจติ ของผูป้ ระสบภยั เส่อื มลง ชดุ วิชาการเรยี นร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 97
2.3.2 ผลกระทบตอ่ เศรษฐกจิ 1) ระบบธุรกิจหยุดชะงัก เน่ืองจากระบบการคมนาคมส่ือสารถูกทาลาย ไมม่ กี ารประกอบหรอื ดาเนินธุรกรรมหรอื การผลิตใด ๆ 2) รัฐต้องใชง้ บประมาณในการดแู ลสขุ ภาพการรกั ษาพยาบาลผู้ประสบภัย การฟ้ืนฟูระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะต่าง ๆ ตลอดจนการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ของประชาชนและหน่วยงานราชการต่าง ๆ ส่งผลถึงงบประมาณที่ขาดหายไปในการพฒั นาประเทศ 3) พชื ผลทางการเกษตรเสยี หาย 2.3.3 ผลกระทบด้านกายภาพและสิง่ แวดลอ้ มอน่ื ๆ 1) วันส้ันลงหลังจากเกิดเหตุแล้วมีการตรวจพบว่า แผ่นดินไหวไปเร่ง การหมุนของโลก ดังน้ันจึงทาให้โลกหมุนเร็วขึ้น ริชาร์ด กรอส (Richard Gross) นักธรณีฟิสิกส์ ซึ่งทางานในห้องปฏิบัติการจรวดขับดันขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐ เป็นผู้คานวณพบ เวลาที่หายไปโดยบอกว่าโลกหมุนเร็วข้ึน เพราะมวลของโลกเกิดการกระจายตัวออกไป หลังเหตุการณแ์ ผ่นดินไหว 2) สนามโน้มถ่วงโลกเปลี่ยนไป การเกิดเหตุแผ่นดินไหวแต่ละครั้ง จะมี พลังมากจนทาให้สนามโน้มถ่วงโลกในบริเวณน้ันเบาบางลงไป ซ่ึงดาวเทียมได้ตรวจจับและพบว่า สนามโนม้ ถว่ งบรเิ วณน้นั ออ่ นหลังเกดิ เหตแุ ผน่ ดินไหว 3) ช้ันบรรยากาศสะเทือน เน่ืองจากการเคล่ือนไหวท่ีพื้นผิวโลกและ การเกิดสึนามิก่อให้เกิดคล่ืนพุ่งสู่ช้ันของบรรยากาศ หลังการเกิดแผ่นดินไหวท่ีญ่ีปุ่นพบว่าแรง อนภุ าคคลืน่ ทพี่ งุ่ สงู ขึน้ ไปถึงชัน้ ไอโอโนสเฟียร์ดว้ ยความเรว็ ประมาณ 800 กิโลเมตรตอ่ ชว่ั โมง 4) ภูเขาน้าแข็งทะลาย ผลกระทบจากการเกิดแผ่นดินไหวไม่ได้เกิดข้ึน แค่ชายฝ่ังทะเลและพื้นท่ีศูนย์กลางแผ่นดินไหวเท่าน้ันแต่ความเสียหายสะเทือนไปไกลถึงภู เขา น้าแข็งซัลซ์เบอร์เกอร์ ท่ีมหาสมุทร แอนตาร์ติกา ซ่ึงดาวเทียมสามารถตรวจจับคล่ืนสนาม เขา้ กระแทกจนแตกออกมาเป็นก้อนนา้ แขง็ หลงั จากเกดิ แผน่ ดนิ ไหวไปแลว้ 18 ช่ัวโมง 5) ธารน้าแข็งไหลเร็วข้ึน จากการศึกษาระยะห่างออกไปจากชายฝ่ังญ่ีปุ่น นับพันกิโลเมตรคลื่นแผ่นดินไหวสง่ ผลต่อการไหลของธารน้าแข็งวลิ ลานส์ ในแอนตารต์ ิกาใหเ้ ร็วข้ึน ชวั่ ครู่ ซึ่งสถานีจพี ีเอสทีข่ ้ัวโลกพบการเดนิ ทางของนา้ แขง็ เกดิ ขึน้ อยา่ งรวดเรว็ ในชว่ งเวลานน้ั 6) แผ่นดินไหวขนาดเล็กแพร่กระจายท่ัวโลก การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.0 ตามมาตราริกเตอร์ ยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ เคยปรากฏหลักฐานว่าแผ่นดินไหว ชุดวชิ าการเรียนร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 98
ที่ประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กรอบโลกและส่วนใหญ่เกิดข้ึนในเขตแผ่นดินไหว เช่น อลาสกา ไต้หวัน และใจกลางแคลิฟอร์เนียโดยแผ่นดินไหวเหล่าน้ีจะมีขนาดไม่เกิน 3.0 ตาม มาตรารกิ เตอร์ 7) พื้นทะเลแยก การเกิดแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงมาก ๆ จะทาให้เกิด รอยแยกโดยเฉพาะบริเวณพื้นทะเลบริเวณชายฝ่ังเมืองโตโฮะกุ ประเทศญ่ีปุ่น จนเป็นเหตุให้เกิด สึนามิตามมา 2.4 พืน้ ทเี่ สย่ี งภัยตอ่ การเกดิ แผน่ ดนิ ไหวในประเทศไทย พื้นที่ประเทศไทยต้ังอยู่บนแผ่นยูเรเชีย ใกล้รอยต่อระหว่างแผ่นยูเรเชียกับแผ่น อินเดีย-ออสเตรเลีย มีรอยเล่ือนอยู่ทางภาคตะวันตกและภาคเหนือ ทาให้พ้ืนท่ีที่มีความเส่ียงสูง ต่อการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยมีหลายแห่งบริเวณแนวรอยเล่ือน รอยเลื่อนท่ีมีพลัง ในประเทศไทยสว่ นใหญอ่ ยบู่ รเิ วณภาคเหนอื และภาคตะวันตกของประเทศไทย รอยเล่อื น คือ รอยแตกในหนิ ท่ีแสดงการเล่อื น สามารถพบไดท้ ุกภูมภิ าคในประเทศ ไทย ขนาดของรอยเล่ือนมีต้ังแต่ระดับเซนติเมตรไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร รอยเล่ือนขนาดใหญ่ สามารถสังเกตได้ง่ายจากลกั ษณะภูมปิ ระเทศ รอยเล่ือนที่มีความเส่ียงต่อการเกิดแผ่นดินไหว หรือ รอยเล่ือนมีพลัง คือ รอยเล่ือนที่พบหลักฐานว่าเคยเกิดการเลื่อนหรือขยับตัวมาแล้วในห้วงเวลา 10,000 ปี มักจะอยู่ใน พน้ื ทบี่ รเิ วณทเี่ กดิ แผน่ ดินไหวบ่อยหรอื ตามแนวรอยตอ่ ระหวา่ งแผน่ เปลอื กโลก ชดุ วชิ าการเรยี นรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 99
รอยเลื่อนมีพลงั ในประเทศไทย กรมอุตุนยิ มวิทยา ระบวุ ่า ประเทศไทยมีรอยเล่ือน มพี ลังท้งั หมด 14 รอยเล่ือน ดังนี้ กลุ่มรอยเล่ือนในประเทศไทยท่ีเปน็ สาเหตุของการเกดิ แผน่ ดนิ ไหว (ภาพจากเว็บไซต์ กรมทรัพยากรธรณี) เขา้ ถงึ ไดจ้ าก http://ns1.dmr.go.th/images/article/freetemp/article_20140507091801.png ชดุ วชิ าการเรียนรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 100
เร่อื งที่ 3 สถานการณ์การเกดิ แผ่นดนิ ไหวในประเทศไทย ประเทศไทย มีรอยเล่ือนท่ีมีพลังอยู่ทางภาคตะวันตก ภาคเหนือ และภาคใต้ของประเทศ จานวน 14 รอยเลื่อน การเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละครั้งมีระดับความรุนแรงต่างกันออกไป หากมี ระดับความรุนแรงน้อยก็จะไม่ทาให้เรารับรู้แรงส่ันสะเทือน การเกิดแผ่นดินไหวจะทาให้แผ่น เปลือกโลกบริเวณจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวและบริเวณที่เก่ียวข้องมีการเปล่ียนแปลง เช่น แผน่ ดินแตกแยก แผ่นดินยบุ แผน่ ดินหรือภูเขาถลม่ ไฟไหม้ เป็นตน้ สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 15 ปี ที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ใน ประเทศไทย และเป็นแผ่นดินไหวที่มีขนาด 5.0 ตามมาตราริกเตอร์ขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่รับรู้ แรงส่ันสะเทือนอย่างรนุ แรงเป็นบรเิ วณกวา้ ง และทาให้วตั ถสุ ิ่งของเคลือ่ นท่ี วันที่ ขนาด จุดศูนย์กลาง ผลท่เี กดิ จากแผ่นดนิ ไหว 5 พฤษภาคม 2557 (ริกเตอร)์ - รูส้ ึกส่ันสะเทือนไดป้ ระมาณ 30 วนิ าที สรา้ ง 13 ธนั วาคม 2549 6.3 อาเภอพาน ความเสยี หายในวงกวา้ ง แรงสั่นสะเทือนทาให้ 21 ธันวาคม 2538 จงั หวัดเชียงราย ตัวอาคารบา้ นอาคารตกึ สูงแตกรา้ ว กระเบ้ือง 9 ธนั วาคม 2538 มงุ หลังคาบ้านและวดั แตก ข้าวของหลน่ ลงมา 5.1 อาเภอแม่ริม แตกกระจาย กระจกเคลอ่ื น แผ่นดนิ แตก จงั หวัดเชยี งใหม่ ถนนทรุดตัว ยอดฉัตรของวดั หกั งอ 5.2 อาเภอพรา้ ว - เกดิ อาฟเตอรช์ ็อก ทีร่ บั รู้ถงึ แรงสนั่ สะเทือน จังหวดั เชยี งใหม่ อกี กว่า 700 คร้ัง 5.1 อาเภอร้องกวาง ร้สู ึกส่นั สะเทอื นไดเ้ กอื บทวั่ ไปในจงั หวัดเชยี งใหม่ จงั หวัดแพร่ และอาคารสงู ในจังหวัดเชยี งราย รู้สกึ ได้ทจี่ ังหวดั เชยี งใหม่ เชยี งราย พะเยา ลาปาง ลาพูน และแม่ฮ่องสอน เกดิ มีความ เสยี หายเลก็ นอ้ ยท่บี รเิ วณใกล้ศนู ยก์ ลาง รู้สึกไดท้ ่จี ังหวัดเชยี งใหม่ เชียงราย ลาพนู ลาปาง พะเยา แพร่ อตุ รดิตถ์ และนา่ นเสียหาย เลก็ น้อย ท่จี ังหวัดแพร่ ชดุ วิชาการเรยี นรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 101
วันท่ี ขนาด จุดศนู ยก์ ลาง ผลที่เกดิ จากแผ่นดินไหว (ริกเตอร์) 11 กนั ยายน 2537 5.1 อาเภอแม่สรวย รู้สึกได้ท่ีจังหวัดเชียงราย มีความเสียหายต่อ จังหวัดเชยี งราย สิ่งก่อสรา้ งใกลศ้ ูนย์กลาง เชน่ โรงพยาบาลพาน วดั และโรงเรียน 22 เมษายน 2526 5.9 จงั หวดั กาญจนบรุ ี รสู้ ึกแผน่ ดินไหวตลอดภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนอาคารในกรุงเทพมหานครเสียหายเล็กน้อย 15 เมษายน 2526 5.5 จงั หวดั กาญจนบุรี นอกจากท่กี าญจนบุรีแลว้ ยังรสู้ กึ แผ่นดนิ ไหว ชัดเจนในกรุงเทพหานครด้วย 17 กมุ ภาพันธ์ 2518 5.6 พมา่ -ไทย ร้สู กึ ได้ทัง้ ทีภ่ าคเหนือและภาคกลาง รวมถงึ (จังหวดั ตาก) ในเขตกรงุ เทพมหานคร ปรากฏความเสยี หาย เลก็ นอ้ ย ชดุ วิชาการเรียนรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 102
เรื่องที่ 4 แนวทางการปฏบิ ตั ิเพอื่ ปอ้ งกนั และแก้ไขผลกระทบทีเ่ กดิ จากแผ่นดนิ ไหว 4.1 การเตรยี มความพร้อมรับสถานการณ์การเกิดแผ่นดนิ ไหว 4.1.1 สรา้ งอาคารบ้านเรอื นให้เปน็ ไปตามกฎเกณฑท์ ี่กาหนด สาหรบั พนื้ ทเี่ สย่ี งภัย แผน่ ดนิ ไหว 4.1.2 ตรวจสอบสภาพของอาคารที่อยู่อาศัย และเคร่ืองใช้ภายในบ้าน ทาการยึด เครอ่ื งเรอื นท่ีอาจกอ่ ใหเ้ กดิ อันตราย เชน่ ตู้และชัน้ หนังสอื กับฝาบ้านหรอื เสา 4.1.3 ใหส้ มาชิกในครอบครวั มีความรู้ในเร่ืองการปฐมพยาบาลเบ้อื งตน้ และวิธีการ เพ่ือความปลอดภยั เชน่ การปดิ วาลว์ ก๊าซหงุ ต้ม ท่อน้าประปา สะพานไฟ การใชเ้ คร่ืองมือดับเพลิง 4.1.4 จัดเตรียมส่ิงต่อไปน้ีไว้ใกลต้ ัว เช่น วิทยุ ไฟฉาย ถา่ นไฟฉาย อปุ กรณ์ดบั เพลิง นา้ ดมื่ อาหารแห้ง ยารกั ษาโรคและอุปกรณ์การปฐมพยาบาล 4.1.5 ให้ความรู้แก่สมาชิกในครอบครัวทุกคนเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติเพื่อความ ปลอดภัย เมือ่ อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ระหว่างเกดิ แผน่ ดนิ ไหว 4.1.6 วางแผนนัดแนะล่วงหน้าว่าถ้าต้องพลัดหลงแยกจากกัน ทุกคนในครอบครัว จะกลบั มาพบกนั ที่ใด 4.1.7 ไม่ควรวางส่ิงของที่มีน้าหนักมากไว้ในท่ีสูง และควรผูกยึดสิ่งของ เครื่องใช้ เครอื่ งเรือน ครภุ ณั ฑ์สานกั งานกับพ้ืนหรือฝาผนงั ใหแ้ น่นหนา 4.1.8 ให้สมาชิกทุกคนในบ้านทราบหมายเลขโทรศัพท์ของสถานที่ท่ีควรจะติดต่อ ในกรณีฉุกเฉิน เช่น หน่วยดับเพลิงเทศบาล สถานีตารวจดับเพลิง ที่ว่าการอาเภอ สานักงาน เทศบาล หรือโรงพยาบาลท่อี ยู่ใกล้บ้าน เป็นตน้ 4.1.9 ควรตดิ ตั้งโทรศพั ท์พ้นื ฐานไว้ในบ้านอย่างน้อยหน่ึงหมายเลข เพราะเมื่อเกิด แผน่ ดินไหวสญั ญาณโทรศัพท์มือถือมักจะใชง้ านไมไ่ ด้ เนือ่ งจากมีผูใ้ ชง้ านพร้อม ๆ กนั เปน็ จานวนมาก การเตรียมตัวสาหรับรับมือเหตุแผ่นดินไหว ควรมีการจัดเตรียมสิ่งของจาเป็นเอาไว้ ล่วงหน้า เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวข้ึน จะสามารถใช้อุปกรณ์ในการเอาตัวรอดเฉพาะหน้าได้ ในเบื้องตน้ ซ่งึ อปุ กรณ์ท่ีควรจัดเตรียมไว้สาหรับอุปโภคบริโภคในช่วงเวลาอยา่ งนอ้ ย 3 - 5 วนั ดงั นี้ 1) อาหารแหง้ และอปุ กรณท์ าอาหารฉกุ เฉิน 2) น้าดม่ื และกระติกนา้ แบบพกพา 3) เสือ้ ผา้ เครอ่ื งน่งุ ห่ม สาหรับกันอากาศหนาว ลม และฝน ชุดวิชาการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 103
ได้รับบาดเจ็บ 4) รองเท้าหุ้มส้น ป้องกันเศษแก้วหรือวัตถุแหลมคมอื่น ๆ ที่อาจทาให้ เตอื นภยั ตา่ ง ๆ เพลิงไหม้ 5) ชดุ ปฐมพยาบาลและยา เช่น ยารกั ษาโรคประจาตัว รกั ษาบาดแผล 6) เอกสารสาคญั ประจาตัว เพื่อใช้เปน็ หลักฐานยนื ยนั สถานะบุคคล 7) วิทยุแบบพกพาพร้อมแบตเตอรี่สารอง ใช้ฟังข่าวสารและประกาศ 8) นกหวีด ใช้สาหรบั เป่าเรียกความช่วยเหลอื ในกรณฉี กุ เฉนิ 9) ไฟฉาย พร้อมแบตเตอรส่ี ารอง 10) เครื่องมือดับเพลิงประจาบ้าน สาหรับการเตรียมความพร้อมเหตุ 4.2 การปฏบิ ัติขณะเกดิ แผ่นดินไหว เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ให้ต้ังสติ อยู่อย่างสงบ คิดหาหนทางท่ีปลอดภัย หมอบอยู่ บริเวณที่สามารถป้องกันส่ิงของหล่นใส่ เช่น บริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง หลีกเลี่ยงให้ห่างจากหน้าต่าง หากอยู่นอกอาคารให้อยู่ในที่โล่ง อยู่ให้ห่างจากสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ตนเองจากภัยแผน่ ดนิ ไหว ดังน้ี 4.2.1 กรณีอยู่ในอาคาร 1) กรณสี ่นั สะเทอื นมากให้ ปิดสวิทชไ์ ฟหลัก และปิดถังแกส๊ 2) มดุ ใตโ้ ตะ๊ เกา้ อี้ พงิ ผนงั ดา้ นใน แล้วอยูน่ ิง่ ๆ ถ้าไม่มีโตะ๊ ใช้แขนปดิ หน้า ปิดศีรษะ หมอบตรงมุมห้อง อยู่ให้ห่าง กระจก หน้าต่าง และเล่ียงบริเวณที่สิ่งของหล่นใส่ หรือล้ม ทับ เช่น โคมไฟ ตู้ 3) ถ้ายังนอนอยู่ ให้อยู่บนเตียง ใช้หมอนปิดบังศีรษะ หลีกเลี่ยงบริเวณที่ สง่ิ ของหล่นใส่ และอยใู่ นบริเวณท่ีปลอดภัย 4) อยู่ในอาคารจนกว่าการสั่นสะเทือนหยุดจึงออกไปภายนอกบริเวณที่ ปลอดภยั อนั ตรายส่วนใหญ่เกดิ จากสงิ่ ของหล่นใส่ 5) คาดว่าหรือตระหนักเสมอว่าไฟฟ้าอาจดับหรือสปริงเกอร์อาจทางาน หรือมีเสยี งเตอื นไฟไหม้ ชดุ วิชาการเรยี นรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 104
6) อย่าใช้ลิฟต์ขณะมีการส่ันไหว ถ้าอยู่ในลิฟต์กดทุกปุ่มและออกจาก ลฟิ ต์ทนั ทีบรเิ วณใกล้ลิฟต์จะเป็นสว่ นท่ีแขง็ แรงของอาคารเหมาะแกก่ ารหลบและหมอบ 7) อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทาให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะ อาจมีแกส๊ รว่ั อยู่บริเวณนน้ั 8) อย่ากรูกันว่ิงออกนอกอาคาร เมื่อการสั่นไหวหยุดแล้วจึงทยอยออก ด้านนอกบรเิ วณทค่ี ดิ ว่าปลอดภัย 9) ช้ันบนสุดของอาคารเป็นท่ีปลอดภัยท่ีหนึ่งแต่ความสั่นสะเทือนและ การโยกจะมากกวา่ ชน้ั ที่ต่าลงมา 10) ถ้าเกิดไฟไหม้ชว่ งแรกให้รีบดบั ไฟ ให้เจ้าหน้าท่ีตรวจสอบความเสยี หาย ของอาคารก่อน หากปลอดภยั จงึ จะกลับเข้าในอาคารได้ 11) หากเป็นแผ่นดินไหวใหญ่ให้ระลึกเสมอว่าอาจเกิดแผ่นดินไหวตามมา แต่มขี นาดเลก็ กวา่ 4.2.2 กรณีอยู่นอกอาคาร ใหอ้ อกมาอยบู่ ริเวณด้านนอกในที่โล่งแจ้งจะปลอดภัย ท่ีสุด อยู่ให้ห่างจากอาคาร เสาไฟ สายไฟฟ้า ต้นไม้ ป้ายโฆษณา หรือบริเวณที่อาจจะมีส่ิงของหล่น ใส่ หาทกี่ าบังจากเศษวัสดุทีอ่ าจจะร่วงหลน่ ลงมาได้ 4.2.3 กรณอี ยู่ในรถ ให้จอดรถเม่ือสามารถจอดได้โดยปลอดภยั และในท่ไี มม่ ขี อง หล่นใส่ อยใู่ หห้ า่ งอาคาร ตน้ ไม้ ทางด่วน สะพานลอย เชงิ เขา เป็นต้น 4.2.4 กรณีอยู่ในเรือ ความส่ันสะเทือนเน่ืองจากแผ่นดินไหวไม่ทาอันตรายผู้ อาศยั อยบู่ นเรอื กลางทะเล ยกเวน้ ในกรณีเกิดสึนามิเรอื ท่ีอยู่ใกลช้ ายฝัง่ จะได้รับความเสียหายให้นา เรอื ออกสู่ทะเลลึก 4.2.5 กรณีอยู่ในโรงงาน เมื่อรู้สึกสั่นสะเทือน ตั้งสติ อย่าตกใจว่ิงหนีออกนอก อาคาร ให้หมอบอยู่ใกล้เสา หรือเครื่องจักรท่ีแข็งแรง อยู่ให้ห่างสายไฟฟ้า โคมไฟ ส่ิงห้อยแขวน สิ่งของที่อาจล่มคว่า หรือหลีกเล่ียงการอยู่ใกล้ภาชนะท่ีเป็นสารเคมีอันตราย วัตถุระเบิด หรืออยู่ ใกล้เคร่ืองจักรทก่ี าลงั ทางาน เม่อื ความส่ันสะเทือนหยดุ จงึ ออกไปทโ่ี ลง่ แจง้ 4.2.6 กรณีติดอยู่ใต้ซากอาคาร อย่าจุดไฟ อยู่อย่างสงบ ใช้ผ้าปิดหน้า เคาะท่อ ฝาผนัง หรือใช้นกหวีดเพ่ือให้สัญญาณต่อหน่วยช่วยชีวิต การตะโกนอาจสูดสิ่งที่เป็นอันตรายเข้าสู่ รา่ งกาย ใหค้ วามช่วยเหลอื กัน และให้กาลงั ใจต่อกนั ชุดวิชาการเรยี นรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 105
ภาพตัวอยา่ งการปฏิบัตติ นเมอ่ื เกดิ แผน่ ดนิ ไหว (จาก Japan Metrological Agency) 4.3 การปฏบิ ัติหลังเกดิ แผ่นดนิ ไหว สาหรับผู้ประสบเหตุ 4.3.1 ปิดสวิตซ์ไฟฟ้า ยกสะพานไฟ ตรวจการชารุดของสายไฟฟ้า ให้ ออกจากบรเิ วณทส่ี ายไฟขาด และวสั ดุสายไฟพาดถงึ 4.3.2 อย่าจุดไมข้ ีดไฟหรือกอ่ ไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สร่ัว ตรวจสอบ วา่ แก๊สรว่ั ดว้ ยการดมกลิ่นเท่านน้ั ถา้ ได้กลน่ิ ใหเ้ ปิดประตูหน้าตา่ งทกุ บาน 4.3.3 อพยพออกจากอาคารที่ได้รับความเสียหาย และเตรียมพร้อมรับ การเกดิ แผน่ ดนิ ไหวระลอกตอ่ ไป 4.3.4 หลกี เล่ยี งการเข้าไปในเขตทีม่ ีความเสียหายสงู หรอื อาคารพัง 4.3.5 หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์ เว้นแต่กรณีจาเป็นจริง ๆ เช่น มี ผบู้ าดเจบ็ หรอื เกิดไฟไหม้ ฯลฯ เพราะผอู้ ่นื อาจมคี วามจาเป็นต้องส่งข่าวสารท่ีสาคัญกว่า 4.3.6 สารวจความเสียหายของบ้าน/อาคารเพ่ือความปลอดภัย ก่อนจะ เข้าไปภายในบ้าน/อาคาร 4.3.7 สารวจดูความเสียหายของท่อสว้ มและทอ่ นา้ ท้งิ ก่อนใช้ 4.3.8 เตรยี มนา้ สาหรบั ใชอ้ ุปโภคบรโิ ภคในกรณีฉกุ เฉิน 4.3.9 ติดตามข่าว สถานการณ์ การเตือนภัย และคาแนะนาต่าง ๆ เพื่อ ความปลอดภยั 4.3.10 หลีกเล่ียงการขับข่ียวดยาน พาหนะบนถนนและเข้าใกล้อาคารที่ ได้รบั ความเสียหาย ยกเวน้ กรณีฉุกเฉินเพ่อื ไม่ใหก้ ดี ขวางการปฏบิ ตั งิ านของเจ้าหน้าที่ ชดุ วิชาการเรยี นรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 106
4.3.11 อย่าตื่นตระหนกและใหค้ วามชว่ ยเหลือผอู้ นื่ เทา่ ทีจ่ ะทาได้ 4.3.12 เตรยี มรบั มืออาฟเตอร์ชอ็ ก ซง่ึ ทั่วไปมคี วามรุนแรงน้อยกว่าแต่ก็อาจ สรา้ งความเสยี หายเพิ่มข้ึนได้ จงึ ควรเปิดวิทยุหรือโทรทัศนฟ์ ังข่าวเพิม่ เติม 4.3.13 เปิดตู้ดว้ ยความระมดั ระวงั ระวงั สารเคมีทีต่ กหลน่ 4.3.14 ใสร่ องเท้าหมุ้ สน้ หลกี เลี่ยงบรเิ วณสิ่งกอ่ สร้างทเี่ สยี หายหรอื พงั ทลาย ยกเว้นได้รบั การรอ้ งขอจากเจา้ หนา้ ท่ี 4.3.15 แจ้งเจ้าหน้าทถี่ ึงจานวนและตาแหน่งที่มผี ตู้ ดิ อยใู่ นอาคารหากทราบ 4.3.16 หากอยู่ชายฝ่ังหรือใกล้บริเวณปากแม่น้าให้รีบขึ้นที่สูงบริเวณ ทป่ี ลอดภัยโดยเฉพาะบริเวณที่เคยมีประวตั ิการเกดิ อนั ตรายจากสึนามิ 4.3.17 อย่าเชื่อข่าวลือและอย่าแพรข่ ่าวลอื ชดุ วิชาการเรียนร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 107
หนว่ ยการเรยี นรทู้ ี่ 8 สนึ ามิ สาระสาคัญ สึนามิ เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดข้ึนต่อเน่ืองจากการเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ทาให้เกิดคลื่น ยักษข์ นาดใหญ่ ท้ังมีขนาดสูงมากและมีความยาวคลื่นหลายร้อยเมตรถาโถมเข้าหาชายฝง่ั คร่าชวี ิต ผู้คน เป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถพยากรณ์การเกิดล่วงหน้าได้ ความรุนแรงของภัยจากสึนามิ สามารถทาลายชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งก่อสร้างให้แก่พื้นท่ีชายฝ่ังทะเลเป็นบริเวณกว้าง ปัจจุบันไดม้ ี การพัฒนาระบบเตือนภัยคลื่นยักษ์สึนามิขึ้นใช้ท่ัวโลก หากได้ศึกษาหาความรู้และฝึกทักษะ การเผชญิ เหตภุ ัยสึนามิอยา่ งต่อเนอ่ื ง จะสามารถลดการสูญเสยี ได้ ตวั ช้ีวัด 1. บอกความหมายของสึนามิ 2. บอกสาเหตแุ ละปจั จยั ในการเกดิ สนึ ามิ 3. บอกสญั ญาณบอกเหตุก่อนเกดิ สึนามิ 4. บอกผลกระทบท่ีเกิดจากสึนามิ 5. ตระหนกั ถงึ ภัยและผลกระทบท่ีเกดิ จากสนึ ามิ 6. บอกพน้ื ที่เส่ียงภัยในการเกิดสนึ ามิ 7. บอกสถานการณ์การเกดิ สนึ ามิในประเทศไทย 8. บอกวิธีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สึนามิ 9. บอกวธิ กี ารปฏบิ ัตขิ ณะเกิดสึนามิ 10.บอกวธิ ีปฏิบัติตนหลงั เกิดสึนามิ ชดุ วชิ าการเรยี นร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 108
ขอบขา่ ยเนื้อหา เรือ่ งท่ี 1 ความหมายของสึนามิ 1.1 ความหมายของสนึ ามิ 1.2 ข้อแตกตา่ งระหว่างคลื่นสนึ ามิและคล่ืนธรรมดา เรื่องท่ี 2 ลกั ษณะการเกิดสึนามิ 2.1 สาเหตุและปัจจัยการเกิดสึนามิ 2.2 ส่ิงบอกเหตกุ อ่ นเกิดสนึ ามิ 2.3 ผลกระทบที่เกิดจากสนึ ามิ 2.4 พนื้ ท่เี ส่ยี งภยั ในการเกดิ สึนามิ เรอ่ื งที่ 3 สถานการณ์สนึ ามิ สถานการณ์การเกดิ สนึ ามิในประเทศไทย เรอ่ื งที่ 4 แนวทางการป้องกันและการแกไ้ ขปัญหาผลกระทบท่เี กดิ จากสึนามิ 4.1 การเตรยี มความพรอ้ มรบั สถานการณ์การเกดิ กบั สึนามิ 4.2 การปฏิบตั ขิ ณะเกดิ สนึ ามิ 4.3 การปฏบิ ตั หิ ลงั เกดิ สึนามิ เวลาทใ่ี ชใ้ นการศึกษา 10 ชว่ั โมง ส่อื การเรียนรู้ 1. ชุดวิชาการเรียนรสู้ ้ภู ัยธรรมชาติ 1 2. สมุดบนั ทึกกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดวชิ าการเรยี นรสู้ ้ภู ยั ธรรมชาติ 1 3. ส่อื ประกอบอืน่ ท่ีสามารถหาไดใ้ นทอ้ งถิ่น 4. สอ่ื เก่ยี วกบั การเกดิ คลน่ื สึนามิจากเว็บไซต์ ชดุ วิชาการเรียนรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 109
เร่อื งท่ี 1 ความหมายของสนึ ามิ 1.1 ความหมายของสนึ ามิ สึนามิ (tsunami) หมายถึง คลื่นซ่ึงเคลื่อนตัวในมหาสมุทรด้วยความเร็วสูงมาก และมีพลังรุนแรง สามารถเคล่ือนที่ไปได้เป็นระยะทางไกล ๆ เม่ือเคลื่อนท่ีเข้าสู่บริเวณชายฝ่ัง จะทาให้เกิดเป็นคลื่นขนาดใหญ่มาก ท่ีเรียกกันว่า “คลื่นยักษ์” ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่ หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนท่ีอาศัยอยู่ตามบริเวณชายฝั่ง คล่ืนชนิดนี้จึงแตกต่างจากคล่ืน ธรรมดา ทีเ่ กดิ จากแรงลมพดั ผ่านเหนือพื้นผวิ น้าในท้องทะเล คาว่า “tsunami” มาจากภาษาญ่ปี ุ่น แปลว่า คลื่นอ่าวจอดเรือ (harbour waves) ทั้งนี้ เน่ืองจากบริเวณชายฝั่งของประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นอ่าวจอดเรือทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก มักได้รับภัยจากคล่ืนชนิดน้ีอยู่บ่อย ๆ ต่อมาช่ือน้ี ได้นาไปใช้แพร่หลาย จนเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป สาหรับประเทศไทย ราชบัณฑิตยสถานได้ บญั ญตั ศิ ัพทข์ องคาว่า tsunami เป็นภาษาไทยว่า คลนื่ สึนามิ ลกั ษณะทสี่ าคญั ของคลื่นสนึ ามิ คอื เป็นคลืน่ ท่ีเคลอ่ื นตวั ในมหาสมุทร ประกอบดว้ ย ชุดคล่ืนท่ีมีความยาวมาก โดยมีระยะทางระหว่างยอดคลื่นแต่ละลูก ต้ังแต่ 100 จนถึง 200 กิโลเมตร และมีคาบคลื่น คือ ช่วงเวลาเคลื่อนท่ีของยอดคล่ืนแต่ละลูก ตั้งแต่ 10 นาที ไปจนถึง 1 ช่ัวโมง สามารถเคลื่อนท่ีด้วยความเร็วสูงต้ังแต่ 700 จนถึงมากกว่า 800 กิโลเมตร ตอ่ ช่วั โมง และเคลอ่ื นทไ่ี ปได้ในระยะทางไกลหลายรอ้ ยหรือหลายพันกโิ ลเมตร หากไมม่ ผี นื แผ่นดิน ใด ๆ กนั้ ขวางอยใู่ นทะเล ขณะเคลอ่ื นทีอ่ ย่ใู นบรเิ วณน้าลึก ความสูงของคลืน่ มเี พียง 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตร แต่เม่ือเข้าไปถึงบริเวณน้าตื้น ใกล้ชายฝ่ัง จะเพ่ิมความสูงและความรุนแรงมากขึ้น ตามลาดับ จนอาจมีลักษณะคล้ายกาแพงน้าขนาดใหญ่ท่ีถาโถมเข้าหาชายฝั่ง ยิ่งถ้าบริเวณชายฝั่ง เป็นอ่าวแคบ หรือมีรูปทรงเป็นกรวยยื่นเข้าไปภายในพื้นแผ่นดินด้วยแล้ว คลื่นอาจเพิ่มความสูง ได้มากถึง 30 เมตร มวลน้ามหาศาลที่คลื่นพัดพาขึ้นไปบนฝั่ง จะปะทะกับอาคารบ้านเรือนท่ีตั้งอยู่ ขวางหน้า ซ่ึงถ้าหากเป็นอาคารเตี้ย ๆ ที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรง ก็จะถูกทาลายจนราบเรียบ คลื่นสึนามิจงึ นบั เป็นพิบัติภยั ทรี่ ้ายแรงมากอย่างหนงึ่ ของมนษุ ย์ ชดุ วิชาการเรียนรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 110
1.2 ข้อแตกตา่ งระหว่างคลนื่ สนึ ามิและคลื่นธรรมดา การเปรียบเทียบความแตกต่าง ระหว่างคลื่นสึนามิกับคล่ืนธรรมดา ท่ีเกิดจาก กระแสลม สามารถเปรียบเทยี บใหเ้ ห็นได้ ดังต่อไปนี้ ลกั ษณะของคลื่น คลืน่ ธรรมดา คลืน่ สึนามิ ความยาวคล่ืน 100 - 1,000 เมตร 100 - 200 กิโลเมตร คาบคล่ืน เปน็ วนิ าที ถงึ นาที 10 นาที - 1 ช่ัวโมง ความเรว็ ในการเคลื่อนที่ ไม่เกิน 80 กโิ ลเมตร/ช่ัวโมง 700 - 800 กโิ ลเมตร/ชัว่ โมง ความสูงของคลื่นเม่ือชัดเขา้ ฝ่ัง ประมาณ 1 เมตร อาจสูงถงึ 30 เมตร แนวคล่นื ถดถอย แนวน้าลง ระดบั น้าชายฝัง่ ลดลงมาก อย่างผิดปกติ แนวคลื่นท่วมฝงั่ แนวน้าขน้ึ ระดบั นา้ สงู มาก จนไหลบ่าเข้าไป ทว่ มบรเิ วณชายฝ่ัง ในตารางข้างต้น มีลักษณะแตกต่างระหว่างคลื่นธรรมดากับคล่ืนสึนามิ ที่เห็นได้ อยา่ งชดั เจนอย่างหน่ึง คือ ถ้าเปน็ คลนื่ ธรรมดา เม่ือเคลอื่ นตวั เข้าสู่บริเวณชายฝั่ง ความสงู ของคลื่น จะมีความสูงไม่มาก แนวคล่ืนท่ีซัดเข้าหาฝ่ังท่ีเรียกว่า แนวคล่ืนท่วมฝั่ง (run - up) มีเพียงแค่ แนวน้าขึน้ เท่านน้ั และเมอื่ คล่นื ถอยกลับ ระดับน้ากจ็ ะลดลงไปเพยี งแคแ่ นวนา้ ลง ผิดกบั คล่นื สึนามิ ซ่ึงก่อนที่คลื่นยักษ์จะเคล่ือนตัวเข้าสู่ฝั่ง ระดับน้าชายฝั่งจะลดลงอย่างผิดปกติ หลังจากนั้นระยะหนึ่ง กจ็ ะมีคลื่นสูงมากเคลือ่ นที่เข้าหาฝ่ัง ตดิ ตามกันมาเป็นชุด โดยชุดแรกอาจมีความสงู ไมม่ าก แต่คล่ืน ลูกตอ่ ๆ มาจะเพ่ิมความสูงมากขนึ้ ชุดวชิ าการเรยี นรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 111
เรือ่ งที่ 2 ลักษณะการเกิดสึนามิ 2.1 สาเหตุและปัจจัยการเกิดสึนามิ คลื่นสึนามิ ไม่ได้เกิดจากลมพายุเหมือนกับคล่ืนธรรมดา เพราะเม่ือเกิดคลื่นสึนามิ ท้องฟ้าอาจปลอดโปร่งไม่มีลมพายุเลยก็ได้ นักวิชาการในสมัยก่อนคิดว่า การเกิดคลื่นสึนามิ อาจเก่ียวข้องกับน้าข้ึนน้าลงท่ีผิดปกติในท้องทะเล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปล่ียนแปลงของจุดดับ บนดวงอาทิตย์ (sun spots) หรือจากการวางตัวของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับตาแหน่ง ของโลก ดังนั้นจึงเรียกคลื่นชนิดนี้ว่า “คล่ืนน้าขึ้นลง” (tidal waves) แต่ปัจจุบันเราทราบแล้วว่า คลื่นสึนามิ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการข้ึนลงของน้าทะเล แต่เกิดจากการไหวสะเทือนของเปลือกโลก อย่างรนุ แรงใตพ้ น้ื ทอ้ งทะเลและมหาสมทุ ร โดยมีการเคลอ่ื นตวั ของแผน่ เปลอื กโลก มีอยู่ 3 แบบ คือ 2.1.1 แบบกระจายตวั คือ แผน่ เปลอื กโลกสองแผ่นเคลื่อนที่ออกจากกัน 2.1.2 แบบมุดตวั คือ แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนเขา้ หากนั โดยที่แผ่นเปลือกโลกแผน่ หนง่ึ มดุ เขา้ ไปอยใู่ ตแ้ ผน่ เปลอื กโลกอกี แผน่ หนง่ึ 2.1.3 แบบเปล่ียนรูป คือ แผ่นเปลือกโลกจานวนสองแผ่น เคลื่อนท่ีในแนวนอน ผา่ นซ่ึงกนั และกัน ในการปลดปล่อยพลังงานมหาศาลออกมา ทาให้มวลน้าในมหาสมุทรเกิดการ เคล่ือนไหวกลายเป็นคลื่นขนาดใหญ่ แผ่กระจายเป็นวงกว้างออกไปจากบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลาง ของการเกิดแผ่นดนิ ไหว และเนื่องจากคล่ืนชนิดน้ี ไม่ได้เกิดจากการข้ึนลงของน้าทะเล นักวิชาการ ในปัจจุบันจึงไม่นิยมเรียกว่า tidal waves แต่เปล่ียนมาเรียกว่า tsunami ดังช่ือที่เรียกกัน ในปัจจบุ ัน อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเกิดคลื่นสึนามิส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากการเกิด แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงใต้พ้ืนท้องมหาสมุทร แต่ถ้ามีสาเหตุอ่ืนที่ทาให้เกิดคล่ืนขนาดใหญ่ในท้อง ทะเลโดยมิใชจ่ ากการกระทาของลมพายแุ ล้ว กถ็ ือเป็นคลน่ื สนึ ามไิ ด้เช่นกัน ชดุ วิชาการเรยี นรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 112
2.2 สิ่งบอกเหตกุ อ่ นเกิดสนึ ามิ 2.2.1 สนึ ามเิ กดิ ขนึ้ หลังจากเกดิ แผน่ ดินไหวใต้ทอ้ งทะเล การเกดิ แผน่ ดนิ ไหว ท่รี สู้ กึ ถึงแรงส่นั สะเทอื นของแผน่ ดินและส่งิ ที่อยู่รอบตวั หรือได้รบั แจ้งขา่ วแผน่ ดนิ ไหวจากสอ่ื ต่าง ๆ สนั นิษฐานไวก้ อ่ นเลยวา่ อาจจะเกิดสนึ ามิตามมา 2.2.2 สนั คลนื่ เปน็ กาแพงขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นสันคลื่นเป็นกาแพงขนาดใหญ่ ระลอกคล่ืนก่อตัวเป็น กาแพงขนาดใหญ่ 2.2.3 นา้ ทะเลลดลงผิดปกติ สถานการณ์ระดับน้าทะเลลดลงอย่างผิดปกติ นับเป็นสัญญาณเตือนว่า คลื่นยักษ์กาลังก่อตัว ต้องรีบออกจากพ้ืนท่ีโดยด่วน ทั้งนี้สาเหตุที่น้าทะเลลดลง เกิดจากแผ่น เปลือกโลกแผ่นหนึ่งมุดลงไปอยู่ข้างใต้แผ่นเปลือกโลกอีกแผ่นหน่ึง (เพื่อให้ง่าย ในการจินตนาการ ให้ผู้เรียนนึกถึงกรณีที่แผ่นกระเบื้องปูพ้ืนแผ่นหน่ึง มุดเข้าไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง) ทาให้น้าปริมาณหนึ่ง ถูกดูดลงมาในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมุดซ้อนกัน จึงทาให้น้าบริเวณชายฝั่งทะเลลดลงอย่าง ผิดปกติ และน้าดังกลา่ วจะกลับมาอีกครัง้ พรอ้ มกับนาคลน่ื มาด้วย ทม่ี า : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=8&page=t30-8-infodetail06.html ชุดวชิ าการเรยี นรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 113
2.3 ผลกระทบท่ีเกดิ จากสึนามิ ประเทศไทยยังไม่มีระบบเตือนภัยคล่ืนสึนามิ และขาดเจ้าหน้าท่ีซ่ึงมีความรู้ความ ชานาญเกี่ยวกับเรื่องคล่ืนสึนามิโดยตรง ทั้งนี้ เน่ืองจากในบริเวณทะเลอันดามันไม่เคยเกิดพิบัติภัย จากคลื่นสึนามิมาก่อน ประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ท่ีอยู่ติดชายฝ่ังทะเลอันดามัน จึงขาด การระมัดระวังป้องกันภัย ไม่เหมือนกับประเทศที่อยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ซ่ึงมีการสร้าง ระบบเตือนภัยจากคลื่นสึนามิไว้เรียบรอ้ ยแลว้ ในตอนเช้าของวันท่ี 26 ธันวาคม 2557 น้ัน กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีเคร่ืองตรวจจับ ความสั่นสะเทือนของแผ่นเปลือกโลกจากแผ่นดินไหว อยู่ท่ีสานักงาน ได้ทราบว่าเกิดแผ่นดินไหว ขน้ึ ทบ่ี รเิ วณนอกฝั่งตะวนั ตกของหวั เกาะสมุ าตรา จงึ ได้ประกาศแจ้งใหป้ ระชาชนทราบ แตไ่ ม่มีการ เตือนภัยว่า จะมีคลื่นสึนามิเกิดขึ้น เพราะไม่มีเคร่ืองมือตรวจวัดความสูงของคลื่นในทะเล และเจ้าหน้าท่ีก็ไม่มีความรู้ความชานาญเก่ียวกับเร่ืองคล่ืนสึนามิ ดังน้ันเมื่อเกิดคลื่นสึนามิขึ้น ที่เกาะสุมาตรา และกาลังเคลื่อนตัวเข้ามาท่ีพ้ืนที่ชายฝั่งภาคใต้ของไทย จึงไม่มีการแจ้งเตือนภัย ใหป้ ระชาชนในท้องถิ่นได้ทราบล่วงหนา้ ทาใหเ้ กิดความสูญเสียเป็นจานวนมาก บริเวณที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจานวนมาก อยู่ในพ้ืนท่ีซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว ชายฝ่ังทะเลท่ีสาคัญของไทย และเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก นักท่องเท่ียวทั้งชาวไทยและชาว ต่างประเทศนิยมเดินทางมาพักผ่อนกันมาก ประกอบกับอยู่ในช่วงเวลาเทศกาลคริสต์มาสและใกล้ วันข้ึนปีใหม่ จานวนนักท่องเท่ียวจึงมีมากเป็นพิเศษ เม่ือเกิดพิบัติภัยข้ึน จานวนผู้เสียชีวิตและ บาดเจ็บ จึงมีท้ังนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวท่ีเดินทางมาจากประเทศ ในยโุ รปเหนอื เชน่ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมารก์ มจี านวนมากกว่านักทอ่ งเทีย่ วชาตอิ ื่น ๆ นักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ ไม่มีความรู้และประสบการณ์เก่ียวกับ ปรากฏการณ์คลื่นสึนามิมาก่อน จึงขาดการเฝ้าระวังภัยและการหนีภัย เห็นได้มีนักท่องเท่ียว จานวนหน่ึง เดินลงไปดูที่บริเวณชายหาดเมื่อเกิดน้าลงผิดปกติ ก่อนท่ีคลื่นใหญ่จะเคล่ือนตวั เข้ามา และไม่สามารถหนีภัยได้ทัน ต้องเสียชีวิตท้ังหมด นอกจากน้ีผู้ท่ีพักอยู่ในบังกะโลหรือนั่งพักผ่อน อย่ทู ร่ี ้านคา้ และรา้ นอาหารบริเวณชายหาด สว่ นใหญก่ ็ไมส่ ามารถหนีภยั ได้ทันเช่นกัน เน่ืองจากมิได้มีการเตรียมแผนแก้ไขสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า การช่วยเหลือผู้ท่ีรอด ชีวิตและบาดเจ็บจึงเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแหล่งท่องเท่ียวท่ีเป็นเกาะห่างจากฝั่ง ความช่วยเหลอื ไปถงึ ลา่ ช้ากว่าบนผืนแผน่ ดนิ ใหญ่ จานวนผเู้ สียชีวิตจากการบาดเจ็บ จึงมเี พ่ิมมากข้นึ ชุดวิชาการเรียนร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 114
2.4 พืน้ ท่ีเสีย่ งภยั ในการเกดิ สนึ ามิ พ้ืนท่ีเสี่ยงภัยในประเทศไทยมีท้ังหมด 19 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร จนั ทบรุ ี ฉะเชงิ เทรา ชลบุรี ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขนั ธ์ ปัตตานี พังงา เพชรบรุ ี ภเู กต็ ระนอง ระยอง สงขลา สตลู และจังหวดั สรุ าษฏรธ์ านี ภาพแสดงพนื้ ที่เส่ยี งภยั สนึ ามิ ทมี่ า : กรมการปอ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั กระทรวงมหาดไทย ชดุ วิชาการเรียนร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 115
เรอื่ งที่ 3 สถานการณ์สนึ ามิ สถานการณก์ ารเกดิ สนึ ามิในประเทศไทย ในอดีตเคยเช่ือกันว่า ในบริเวณมหาสมุทรอินเดียคงจะไม่มีปรากฏการณ์คลื่นสึนามิท่ี รนุ แรงเกิดขน้ึ เพราะถงึ แม้วา่ ทางด้านตะวันออกของทะเลอนั ดามันจะเป็นแนวรอยต่อระหว่างแผ่น เปลือกโลกอนิ เดีย (Indian Plate) กับแผน่ เปลอื กโลกยเู รเชีย (Eurasian Plate) และมีแผน่ ดินไหว เกิดขึ้นบ่อยคร้ังก็ตาม แต่ก็ไม่เคยมีคลื่นสึนามิ ท่ีทาลายชีวิตผู้คนและทรัพย์สินให้เสียหายตลอด ระยะเวลาทผ่ี า่ นมา จนกระทั่งในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ฝ่ังทางด้านตะวันออกของทะเลอันดามัน ได้เกิดคลื่นสึนามิครั้งที่รุนแรงท่ีสุดในประวัติศาสตร์ มีผู้คนเสียชีวิต ประมาณ 220,000 คน นับเป็น ภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติที่มี ผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เม่ือ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300,000 คน และภัยทางธรรมชาติท่ีมีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหว ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เม่ือ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิต ประมาณ 255,000 คน แผนที่แสดงความสูงต่าของแผน่ ดนิ ในเอเชยี ใตแ้ ละเอเชยี ตะวันออกเฉยี งใต้ ท่มี า : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=30&chap=8&page=t30-8-infodetail05.html การเกิดคลื่นสึนามิทางฝ่ังทางด้านตะวันออกของทะเลอันดามัน เกิดจากแนวท่ีแผ่นเปลอื ก โลกอนิ เดียมดุ ลงใตแ้ ผน่ เปลอื กโลกยูเรเชยี ในทะเลอันดามนั ทบ่ี ริเวณหมู่เกาะอนั ดามนั หมู่เกาะนิ โคบาร์ และเกาะสุมาตรา คลื่นสึนามิดังกล่าว เริ่มต้นข้ึนท่ีจุดกาเนิดของแผ่นดินไหว ชดุ วชิ าการเรียนร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 116
นอกชายฝ่ังด้านตะวันตกของหัวเกาะสุมาตราในประเทศอินโดนีเซีย แล้วเคลื่อนตัวแผ่ขยายไปท่ัว ทะเลอันดามัน จนถึงชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดียและเกาะศรีลังกา บางส่วนของ คล่ืนยังเคลื่อนตัวไปถึงชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกาด้วย รวมประเทศท่ีประสบภัยจากคล่ืน สึนามิ และมีผู้เสียชีวิตใน 11 ประเทศ คือ ประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย พม่า บังกลาเทศ อินเดีย ศรีลังกา มัลดีฟส์ โซมาเลีย แทนซาเนีย และเคนยา ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจาก คล่ืนสึนามิได้ก่อให้เกิดความต่ืนตระหนกแก่ประชาชนทั่วท้ังประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้คนเป็นจานวนมาก ใน 6 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยที่มีพ้ืนท่ีอยู่ติดกับ ชายฝ่ังทะเลอันดามัน คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบ่ี ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัดพังงา กระบ่ี และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด นับเป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติท่ีเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและ รวดเร็ว โดยไม่มีผใู้ ดคาดคดิ มาก่อน จึงไม่ได้มีการระมดั ระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า ลาดับเหตุการณ์ของการเกิดคล่ืนสึนามิในทะเลอันดามัน เม่ือวันที่ 26 ธันวาคม 2547 มี ดังนี้ เวลา 07.59 น. ตามเวลาในประเทศไทย ได้เกิดแผ่นดินไหว มีศูนย์กลางอยู่ท่ีบริเวณนอก ฝั่งด้านตะวันตก ทางตอนเหนอื ของหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนเี ซีย ที่ละตจิ ดู 3.3 องศาเหนือ ลองจจิ ูด 95.8 องศาตะวนั ออก ลกึ ลงไปในแผ่นดนิ ประมาณ 30 กิโลเมตร มีขนาดความรุนแรง 8.9 ตามมาตราริกเตอร์ นับเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงท่ีสุดที่เกิดข้ึนในทะเลอันดามัน และรุนแรงมาก เปน็ อันดบั 5 ของโลก นับต้งั แต่ พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ดังแสดงในตารางน้ี อันดับที่ ความรนุ แรง สถานทเี่ กดิ พ.ศ. 1 9.5 ประเทศชลิ ี 2503 2 9.2 รัฐอะลาสกา ประเทศสหรัฐอเมรกิ า 2507 3 9.1 รัฐอะลาสกา ประเทศสหรัฐอเมรกิ า 2500 4 9.0 คาบสมุทรคัมซตั คา ประเทศรัฐเซีย 2500 5 8.9 เกาะสมุ าตรา ประเทศอนิ โดนเี ซีย 2547 6 8.7 รัฐอะลาสกา ประเทศสหรฐั อเมรกิ า 2508 7 7.5 หม่เู กาะดรู ลิ ประเทศญ่ีปุ่น 2506 ชดุ วชิ าการเรยี นรูส้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 117
หลังจากเกิดแผ่นดินไหวไม่นาน ได้เกิดคลื่นสึนามิเคล่ือนตัวเข้าสู่ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ สุดของเกาะสุมาตรา ในจังหวัดอาเจะห์ ความสูงและความรุนแรงของคลื่น ทาให้เมืองและชุมชน ตามชายฝ่งั ถกู ทาลายอย่างกวา้ งขวาง มผี ูเ้ สยี ชีวิตรวมกันทัง้ หมดมากกว่า 150,000 คน บริเวณท่ีมี ผู้เสียชีวิตมากที่สุดอยู่ที่เมืองบันดาอาเจะห์ ซึ่งเป็นเมืองหลักของจังหวัด รองลงมา คือ ที่เมืองเมอลาโบะห์ ซึ่งเป็นเมืองชายทะเลทางใต้ของเมืองบันดาอาเจะห์ นับเป็นการสูญเสียชีวิต ของผู้คนจากภัยธรรมชาติคร้ังใหญ่ท่ีสุดในประเทศอินโดนีเซีย จากนั้นเวลาประมาณ 10.00 น. คลื่นสึนามิได้เริ่มเคลื่อนตัวมายังชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรมลายู ซึ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลาง แผ่นดินไหวประมาณ 500 - 600 กิโลเมตร ก่อให้เกิดความเสียหายในบริเวณชายฝ่ังตอนเหนือ ของประเทศมาเลเซียและภาคใต้ของไทย มผี ู้เสียชีวติ ทีเ่ กาะปนี งั ในประเทศมาเลเซีย ประมาณ 70 คน และใน 6 จังหวัดภาคใต้ของไทย คือ จังหวัดสตูล ตรัง กระบ่ี พังงา ภูเก็ต และระนอง รวมกัน ประมาณ 5,400 คน คลื่นสึนามิส่วนหน่ึงเคลื่อนตัวต่อข้ึนไปทางเหนือ จนถึงชายฝั่งของประเทศพม่า และ ประเทศบังกลาเทศ ซ่ึงอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 1,500 - 1,700 กิโลเมตร มี ผู้เสียชีวิตที่บริเวณปากแม่น้าอิรวดี ของประเทศพม่า ประมาณ 60 คน ส่วนในประเทศบังกลาเทศ มีรายงานผเู้ สยี ชีวติ 2 คน สาหรับคลื่นสึนามิ ส่วนที่เคลื่อนตัวจากเกาะสุมาตรามุ่งไปทางตะวันตก เคล่ือนที่ผ่านหมู่ เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ซ่ึงเป็นดินแดนของประเทศอินเดีย กลางทะเลอันดามัน จากนั้นเคล่ือนตัวต่อไปถึงชายฝ่ังของรัฐทมิฬนาฑู และทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย รวมท้ังบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นเกาะใหญ่ทางใต้ของอินเดีย ทาให้มี ผูเ้ สยี ชวี ติ ที่หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ประมาณ 900 คน และที่รัฐทมิฬนาฑู ประมาณ 8,000 คน ซงึ่ สว่ นใหญ่อาศัยอยูท่ ี่เมืองนาคาปัตตินมั สว่ นในประเทศศรีลังกามผี ู้เสยี ชีวิต ประมาณ 40,000 คน ต่อจากศรีลังกา คล่ืนสึนามิได้เคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรอินเดียไปถึงหมู่เกาะมัลดีฟส์ ซึ่งเป็นประเทศเล็ก ๆ ต้ังอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากเกาะศรีลังกาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ประมาณ 650 กิโลเมตร เน่ืองจากประเทศน้ีมีภูมิประเทศท่ีเป็นหมู่เกาะปะการังเต้ีย ๆ จึงได้รับ ความเสียหายมาก มีรายงานผ้เู สียชีวติ ประมาณ 82 คน ชุดวิชาการเรียนร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 118
นอกจากน้ี คลื่นสึนามิส่วนหน่ึงยังคงเคลื่อนตัวต่อไปจนถึงชายฝั่งตะวันออกของทวีป แอฟริกา ซ่ึงอยู่ห่างจากจุดกาเนิดแผ่นดินไหว ประมาณ 5,500 กิโลเมตร ถึงแม้คล่ืนจะอ่อนกาลัง บ้างแล้ว แต่ก็ทาความเสียหายให้แก่บริเวณชายฝ่ังของประเทศโซมาเลีย และประเทศเคนยามาก พอสมควร มผี ู้เสียชวี ติ ท่ีประเทศโซมาเลยี ประมาณ 300 คน และท่ีประเทศเคนยา 1 คน ทมี่ า : http://www.manager.co.th/asp-bin/viewgallery.aspx?newsid=9470000102479&imageid=237665 ชุดวิชาการเรยี นรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 119
เรือ่ งที่ 4 แนวทางการปอ้ งกันและการแกไ้ ขปญั หาผลกระทบที่เกดิ จากสึนามิ 4.1 การเตรยี มความพรอ้ มรับสถานการณ์การเกิดสึนามิ เหตุการณ์คล่ืนสึนามิ ไม่เคยเกิดข้ึนในประเทศไทย แต่เมื่อมีเหตุการณ์คลื่นสึนามิ เกดิ ขน้ึ นบั เปน็ อุทาหรณ์สาหรับคนไทย โดยเฉพาะผทู้ ่ีอาศัยในพ้นื ที่ภาคใต้ เสีย่ งตอ่ การเกิดสึนามิ ต้องมีการทบทวน ศึกษาหาแนวทางเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความรุนแรงจากสึนามิให้ได้ การเตรยี มพร้อมดังกลา่ วสามารถทาได้ ดงั น้ี 4.1.1 เม่อื ไดร้ บั ฟงั ประกาศจากทางราชการเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดนิ ไหว ให้เตรียม รบั สถานการณ์ทอ่ี าจจะเกิดคลืน่ สึนามิตามมาได้ 4.1.2 สังเกตปรากฏการณ์ของชายฝ่ัง หากทะเลมีการลดของระดับน้าลงมาก หลังการเกิดแผ่นดินไหว ให้สันนิษฐานว่าอาจเกิดคลื่นสึนามิตามมาได้ ให้อพยพคนในครอบครัว สตั วเ์ ลีย้ ง ให้อย่หู า่ งจากชายฝ่งั มาก ๆ และอยู่ในท่ดี อนหรือน้าท่วมไมถ่ ึง 4.1.3 ตดิ ตามการเสนอขา่ วของทางราชการอยา่ งใกลช้ ดิ และต่อเนือ่ ง 4.1.4 หากทพ่ี กั อาศัยอยใู่ กลช้ ายหาด ควรจัดทาเข่อื น กาแพง ปลกู ต้นไม้ วางวัสดุ เพื่อลดแรงปะทะของน้าทะเล และก่อสร้างที่พักอาศัยให้ม่ันคงแข็งแรง ในบริเวณย่านที่มีความ เสีย่ งภยั ในเร่อื งคลน่ื สึนามิ 4.1.5 หลกี เล่ียงการก่อสร้างใกล้ชายฝงั่ ในย่านทม่ี คี วามเสี่ยงสงู 4.1.6 วางแผนในการฝึกซ้อมรับภัยจากคลื่นสึนามิ เช่น กาหนดสถานท่ีในการ อพยพ แหลง่ สะสมนา้ สะอาด เป็นต้น 4.1.7 คล่ืนสนึ ามใิ นบริเวณหน่ึงอาจมีขนาดเล็ก แตอ่ ีกบริเวณหนง่ึ อาจมขี นาดใหญ่ ดังน้ันเมอื่ ไดร้ ับฟังข่าวการเกดิ คลน่ื สึนามขิ นาดเล็กในสถานท่หี นงึ่ จงอยา่ ประมาทให้เตรยี มพร้อม รบั สถานการณ์ 4.2 การปฏิบัตขิ ณะเกดิ สึนามิ 4.2.1 ในกรณีท่ีได้รับการเตือนภัยว่าจะเกิดคล่ืนสึนามิ ให้ต้ังสติให้ดี และปฏิบัติ ตามข้ันตอนท่ีได้รับการอบรมมา ควรเตรียมอาหารแห้ง น้าด่ืม ยา และเวชภัณฑ์ เอกสารสาคัญ และเงนิ สดจานวนหน่งึ ตดิ ตัวไปดว้ ย ใหอ้ พยพขน้ึ ไปยงั ทเ่ี นนิ สูงหรือใชเ้ สน้ ทางที่ทางราชการกาหนด ไวใ้ ห้ ชดุ วิชาการเรียนรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 120
4.2.2 เม่ือเห็นน้าทะเลลดลงอย่างผิดปกติ อย่าลงไปในชายหาด เพราะหากเกิด คลื่นเคล่ือนตัวเข้ามา จะไม่สามารถว่ิงหลบหนีคลื่นได้ทัน ควรรีบออกให้ห่างจากบริเวณฝ่ัง ชายทะเลใหม้ ากท่ีสดุ 4.2.3 ผู้ที่เดินเรืออยู่ในทะเลเมื่อได้รับข่าวการเตือนภัย ห้ามนาเรือเข้ามาบริเวณ ชายฝั่งเด็ดขาด ถ้าอยู่ในท่าเรือหรืออ่าวให้รีบนาเรือออกไปกลางทะเลห่างจากชายฝ่ัง เพราะคลื่น สึนามิท่ีอยู่ไกลชายฝั่งมาก ๆ จะมขี นาดเลก็ 4.2.4 คล่ืนสึนามิสามารถโถมเข้าหาชายฝั่งได้หลายระลอก แต่ละระลอกอาจทิ้ง ช่วงประมาณ 20 นาที ควรรอสักระยะหรอื จนกว่าจะได้รบั การยนื ยันว่าปลอดภัยแล้ว ผูท้ อ่ี พยพข้นึ ทส่ี งู จึงลงมาจากท่ีหลบภยั หรือเรือที่ลอยลาอยูก่ ลางทะเลจึงกลับเข้าฝั่ง 4.2.5 เมื่อรู้ว่ามีแผ่นดินไหวเกิดขึ้น ขณะที่อยู่ในทะเลหรือบริเวณชายฝ่ัง ให้รีบ ออกจากบริเวณชายฝ่ังไปยังบริเวณที่สูงหรือที่ดอนทันที โดยไม่ต้องรอประกาศจากทางราชการ ท้งั นีเ้ น่อื งจากคลนื่ สึนามีเคลือ่ นท่ีดว้ ยความเรว็ สูง 4.2.6 คลืน่ สึนามอิ าจเกดิ ขึ้นไดห้ ลายระลอกจากการเกิดแผน่ ดินไหวครัง้ เดยี ว 4.2.7 อย่าลงไปในชายหาดเพื่อดูคล่ืน เพราะเมื่อเห็นคลื่นแล้วก็ใกล้เกินกว่าจะ หลบหนีได้ทนั 4.3 การปฏิบตั ิหลังเกิดสึนามิ 4.3.1 สารวจดูตนเองและคนท่ีใกล้ชิดว่ามีใครได้รับบาดเจ็บหรือเป็นอันตราย หรอื ไม่ ถา้ มีควรรบี ปฐมพยาบาลและนาสง่ โรงพยาบาลโดยด่วน 4.3.2 หลังจากคลื่นสึนามิพัดเข้าสู่ชายฝั่ง เม่ือเหตุการณ์สงบลง สิ่งท่ีควรระวัง คือ การเกิดแผน่ ดนิ ไหวเบา ๆ หรือทเี่ รียกว่า อาฟเตอรช์ อ็ ก (aftershock) ตามมา ซึง่ มักจะเกิดตามมา หลังจากเกิดแผ่นดินไหวประมาณคร่ึงช่ัวโมงถึง 2 วัน และหากเกิดอาฟเตอร์ช็อกขึ้น ไม่ควรออก จากตัวอาคารบ้านเรือน ไม่ควรยืนใกล้หน้าต่าง ประตู เพราะกระจกอาจจะแตกทาให้ได้รับ อนั ตรายได้ 4.3.3 สารวจความเสียหายของอาคารบ้านเรือน ส่ิงก่อสร้างต่าง ๆ แจ้งให้ ทางราชการทราบ 4.3.4 คอยฟังประกาศจากทางราชการ หากให้มีการอพยพออกนอกพ้ืนที่ ควรหยิบเอกสารสาคญั และทรพั ยส์ นิ มีค่า แลว้ ออกจากบรเิ วณดงั กลา่ ว ไปอยใู่ นเขตปลอดภยั ต่อไป ชุดวิชาการเรียนรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 121
หน่วยการเรียนรทู้ ่ี 9 บคุ ลากรและหนว่ ยงานท่เี ก่ยี วข้องกบั การให้ความช่วยเหลือ การประสบภัยธรรมชาติ สาระสาคัญ การเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติแต่ละครั้ง นามาซ่ึงความสูญเสียอย่างมากมายมหาศาล ประมาณค่ามิได้ สูญเสียท้ังชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากน้ีทางด้านจิตใจนับเป็นความสูญเสียท่ียาก จะทาใจได้ จาเป็นอย่างย่ิงที่ผู้ได้รับผลจากภัยพิบัติทางธรรมชาติต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือ และเยียวยา ดังนั้นจาเป็นอย่างย่ิงที่ต้องมีองค์กร บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความ ช่วยเหลือผ้ปู ระสบภยั ในทุกขั้นตอน ตัวช้วี ัด 1. ระบุบคุ ลากรที่เก่ียวข้องกบั การให้ความช่วยเหลอื ผู้ประสบภัยธรรมชาติ 2. ระบุหน่วยงานที่เกย่ี วขอ้ งกับการให้ความชว่ ยเหลือผูป้ ระสบภัยธรรมชาติ ขอบขา่ ยเนอื้ หา 1. บุคลากรท่ีเกีย่ วข้องกับการใหค้ วามช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ 2. หน่วยงานท่ีเกยี่ วข้องกับการใหค้ วามชว่ ยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ เวลาท่ีใชใ้ นการศึกษา 4 ช่วั โมง ส่ือการเรียนรู้ 1. ชดุ วชิ าการเรยี นรูส้ ู้ภัยธรรมชาติ 1 2. สมดุ บนั ทึกกิจกรรมการเรยี นรู้ ประกอบชุดวชิ าเรียนรู้ส้ภู ยั ธรรมชาติ 1 3. เวบ็ ไซต์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกบั ภัยธรรมชาติ 4. สื่อประกอบอนื่ ทสี่ ามารถหาได้ในท้องถน่ิ ชุดวชิ าการเรยี นร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 122
เรือ่ งที่ 1 บุคลากรท่ีเกยี่ วข้องกบั การใหค้ วามช่วยเหลอื ผ้ปู ระสบภัยธรรมชาติ ความสูญเสียและความเสียหายท่ีเกิดจากภัยทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง วาตภัย อทุ กภยั ดินโคลนถลม่ ไฟป่า หมอกควนั แผน่ ดินไหว รวมถงึ ภัยจากการเกิดคลนื่ สึนามิ ล้วนเป็นภยั ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาล บางคร้ังประชาชนบางกลุ่ม บางพ้ืนที่ ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสูญเสียท่ีเกิดจากการเสียชีวิต ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์และพันธ์ุพืชต่าง ๆ ฉะนั้น เม่ือเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ข้ึนมา ผู้ประสบภัยจึงควร ได้รบั การดแู ล ชว่ ยเหลือจากบุคคลหรือบุคลากรทเี่ กี่ยวขอ้ งเพอ่ื เป็นการบรรเทาความเดือดรอ้ นได้ บุคลากรที่สามารถให้ความช่วยเหลือเม่ือเกิดความรุนแรงของภัยธรรมชาติมีอยู่จานวน มาก หากเป็นพื้นที่ในชุมชน เช่น ภายในหมู่บ้าน ตาบล หรือชุมชนที่เราอยู่อาศัย เมื่อเกิดภัย ทางธรรมชาติคร้งั ใด ผู้ที่เราสามารถขอความชว่ ยเหลือ ไดแ้ ก่ ผูน้ าในชุมชน เช่น 1. ผู้ใหญ่บ้าน กานัน 2. นายกองค์การบรหิ ารส่วนตาบล หรือ นายก อบต. 3. นายกเทศมนตรเี ทศบาลตาบล 4. นายกเทศมนตรเี มือง นายกเทศมนตรีนคร 5. ผู้ที่ได้รับการยอมรับและเคารพนบั ถอื ในแตล่ ะชุมชน แต่ถ้าเป็นการขอความช่วยเหลือระดับ อาเภอ จังหวัด หรือในระดับประเทศ สามารถแจง้ ความประสงคเ์ พอื่ ขอความช่วยเหลอื จาก 1. นายอาเภอ ผวู้ า่ ราชการจังหวัด 2. นายกองคก์ ารบริหารสว่ นจังหวดั หรือ อบจ. 3. หวั หนา้ หนว่ ยงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภยั ทตี่ งั้ อยใู่ นจงั หวดั 4. ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานหรือองค์กรท่ีรับผิดชอบ เช่น รัฐมนตรีว่าการ ปลัดกระทรวงต่าง ๆ ท่ีเก่ียวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม กระทรวง สาธารณสขุ และกระทรวงดิจิทัลเพอ่ื เศรษฐกิจและสงั คม เปน็ ตน้ ท้ังน้ีเน่ืองจากบุคลากรระดับสูงแต่ละองค์กร เป็นผู้มีอานาจ หน้าท่ีและศักยภาพในการ ให้ความช่วยเหลือได้มากกว่าระดับท้องถิ่น อีกทั้งสามารถประสานงานเพ่ือขอความช่วยเหลือ จากผู้บรหิ ารระดบั สูง ๆ ไดง้ า่ ยและมีความรวดเรว็ กวา่ ระดบั ท้องถน่ิ ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 123
เร่ืองที่ 2 หน่วยงานที่เกยี่ วขอ้ งกับการใหค้ วามชว่ ยเหลือผู้ประสบภยั ธรรมชาติ หน่วยงานหรือองค์กรที่สามารถขอความช่วยเหลือ กรณีเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติ ทางธรรมชาตทิ ุกประเภท หน่วยงานดังกลา่ ว ไดแ้ ก่ 2.1 หน่วยงานระดับท้องถ่ิน ตั้งแต่ระดับตาบล อาเภอ จังหวัด ได้แก่ องค์การ บริหารส่วนตาบล ที่ทาการเทศบาลตาบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร ท่ีว่าการอาเภอ ศาลากลาง จงั หวัด ปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เป็นตน้ 2.2 หน่วยงานระดับประเทศ ประกอบด้วย กรม กองและระดับกระทรวง เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม และกระทรวง ดิจิทลั เพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซ่งึ แต่ละหนว่ ยงานจะมีบทบาท หน้าทีแ่ ละการให้ความช่วยเหลือได้ ดงั น้ี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานท่ีมีบทบาทหน้าท่ีโดยตรงในการป้องกัน และให้ความชว่ ยเหลือผปู้ ระสบภัย จากเหตุการณ์ภยั พบิ ัติทางทางธรรมชาติทุกประเภท ท้ังภยั จาก การเกิดอทุ กภยั วาตภยั แผน่ ดินไหว ดนิ โคลนถลม่ หรือภยั อน่ื ๆ หน่วยงานหรือองค์กรสังกัดกระทรวงมหาดไทยหลายองค์กร มีหน้าที่หลัก และบทบาทสาคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อันเนื่องมาจาก ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ซ่ึงก็รวมถึงการเกิดอุทกภัยและวาตภัยด้วย แต่หน่วยงานท่ีถือว่ามีบทบาท โดยตรงเม่ือเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติทุกประเภท คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึง่ มีหน่วยงานทตี่ ั้งอยปู่ ระจาแตล่ ะจังหวดั คือ ศูนยป์ ้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจงั หวัด (ปภ.) กระทรวงคมนาคม กระทรวงคมนาคม มหี น้าทีย่ กระดับการให้บรกิ ารประชาชน พฒั นา ปรับปรงุ ระบบโครงสร้างพ้นื ฐานและบริการคมนาคมขนส่ง ใหม้ คี วามคมุ้ ค่าและทั่วถึง ทาให้ระบบคมนาคม ขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและ เชื่อมโยงโครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคทว่ั ถงึ กัน ชุดวิชาการเรยี นรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 124
การเกิดอุทกภัยและวาตภัยมักจะทาให้เกิดความเสียหายต่อระบบ การคมนาคมขนส่ง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้า หรือทางอากาศ กระทรวงคมนาคมจะมีหน้าที่ ในการแกไ้ ขปญั หาร่วมกับหน่วยงานท่ีเกี่ยวข้อง เช่น ทางหลวงชนบท ปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณ ภัยจงั หวดั เป็นต้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เม่ือเกิดอุทกภัยและวาตภัย ย่อมส่งผลเสียหายต่อพื้นท่ีดินทากิน และพืชผล ทางการเกษตร จนบางคร้ังทาให้เกษตรกรแทบสิ้นเน้ือประดาตัว ไม่สามารถพื้นตัวดาเนินอาชีพ หลักทางการเกษตรได้ ด้วยเหตุนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงเข้ามามีบทบาทสาคัญในการ ใหค้ วามช่วยเหลอื แนะนาและฟ้นื ฟูอาชีพของเกษตรกรได้อยา่ งเปน็ รปู ธรรม หน่วยงานหรือองค์กร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น กรมวิชาการ เกษตร กรมการข้าว กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาท่ีดิน กรมส่งเสริม การเกษตร สานักงานปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม รวมถึงหน่วยงานราชการบริหารส่วนภูมิภาค ได้แก่ สานักงานเกษตรจังหวัด เกษตรอาเภอ สานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ฯลฯ จะมีส่วน ชว่ ยแกไ้ ขปญั หาทีเ่ กี่ยวขอ้ งกบั หนว่ ยงานหรือองคก์ ารนัน้ ๆ ได้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม เป็นองคก์ รทถี่ ือไดว้ ่ามีบทบาท และหน้าท่ีโดยตรง หากเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างย่ิง ภัยจากน้าท่วมหรืออุทกภัย ภยั จากความรนุ แรงของลมหรอื วาตภัย ภัยจากดนิ โคลนถล่ม ไฟปา่ หมอกควนั เปน็ ต้น กระทรวงดิจทิ ัลเพอื่ เศรษฐกิจและสงั คม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกระทรวงท่ีทาหน้าท่ีดูแลด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ ประกอบด้วย 3 หน่วยงานทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชน แต่หน่วยงานท่ีมีส่วนเก่ียวข้อง รับผิดชอบและให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภยั จากภยั พบิ ตั ิทางธรรมชาติมากท่ีสดุ ประกอบดว้ ย กรมอตุ ุนยิ มวิทยา และศนู ยเ์ ตอื นภยั พบิ ัตแิ ห่งชาติ เป็นต้น ชุดวิชาการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 125
หน่วยงานที่เก่ียวข้องกับการดูแล รักษา ป้องกันและให้คาแนะนา ช่วยเหลือ เม่ือเกิด ภยั ธรรมชาติในพื้นท่ี เชน่ 1. ศูนยเ์ ตอื นภัยพิบัติแหง่ ชาติ ทอี่ ยู่ : 120 หมู่ 3 อาคารรวมหน่วยราชการ (อาคาร B) ช้นั 6 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธนั วาคม 2550 แขวงทุ่งสองหอ้ ง เขตหลกั ส่ี กทม. 10210 โทร : 02-152-1230 ศูนยป์ ระสานงานเหตุฉกุ เฉิน โทร : 192 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง 2. กรมการป้องกนั และบรรเทาสาธารณภยั ท่ีอยู่ : 3/12 ถ.อ่ทู องนอก แขวงดสุ ิต กทม. 10300 โทร : 02-637-3000 สายด่วนตลอด 24 ช่ัวโมง โทร : 1784 3. กรมอตุ นุ ยิ มวิทยา ทอี่ ยู่ : 4353 ถ.สขุ ุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กทม. 10260 โทร : 02-399-4566, 02-399-4568-74 สายดว่ น โทร : 1182 4. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉนิ แห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ที่อยู่ : 88/40 หมู่ 4 สาธารณสุข ซอย 6 (ภายในกระทรวงสารณสขุ ) ถนนติวานนท์ ตาบลตลาดขวัญ อาเภอเมือง จังหวดั นนทบุรี 11000 โทร : 02-287201669, 02-2872-1601-05 เจ็บป่วยฉุกเฉนิ โทร : 1669 ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 126
5. สมาคมเพอ่ื นเตอื นภยั ทอ่ี ยู่ : 125/37 หมู่ 1 ตาบลลปิ ะนอ้ ย อาเภอเกาะสมุย จังหวดั สุราษฎร์ธานี 84140 โทร : 07-741-5545 หนว่ ยประสานงานการปอ้ งกันไฟป่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแล รักษา ป้องกันและให้คาแนะนา ช่วยเหลือ เม่ือเกิด ปัญหาไฟปา่ และหมอกควนั เช่น 1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ เช่น สานักงานป่าไม้อาเภอ สานักงานป่าไม้ จงั หวดั วนอุทยาน/กรมอทุ ยานแห่งชาติสตั ว์ปา่ และพันธพุ์ ืช หนว่ ยพิทกั ษ์ไฟป่า เป็นตน้ 2. สานกั งานปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยอาเภอ/จงั หวดั (สายดว่ น 1784) 3. กรมควบคุมมลพิษกรมควบคุมไฟป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิง่ แวดลอ้ ม 4. หนว่ ยแจ้งเหตดุ ับเพลิง (199) ชุดวิชาการเรยี นร้สู ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 127
เฉลยแบบทดสอบกอ่ นเรียน 1. ค. ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนนา้ ในพน้ื ท่ีใดพ้ืนท่ีหนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความ แหง้ แล้ง และสง่ ผลกระทบตอ่ ชมุ ชน 2. ง. ผลกระทบทางด้านวฒั นธรรม 3. ก. สมควรปลกู ต้นไมใ้ นสวนหลงั บา้ น 4. ง. การรักษาปา่ ไม้ใหค้ งความอดุ มสมบรู ณ์ 5. ก. ประเทศไทย 6. ค. ภาคเหนือ และภาคตะวนั ออกเฉียงเหนอื 7. ง. อากาศร้อนอบอา้ ว ทอ้ งฟ้ามดื มัว 8. ข. หลบอยู่ในบ้าน 9. ง. การเฝา้ ระวงั การเตือนภัย การปอ้ งกันภยั และการแกป้ ัญหาเมอื่ เกดิ ภัย 10. ก. สูบบุหร่หี รือจุดไฟใกลถ้ ังแก๊ส 11. ข. พ้ืนดิน ไมว่ า่ จะเป็นก้อนหิน ดิน ทราย โคลน เกิดการไหล เล่ือน เคล่ือน ถลม่ พังทลายหล่นลงมาตามทีล่ าดเอยี ง อนั เน่ืองมาจากแรงดึงดูดของโลก 12. ข. ทีร่ าบตา่ ช่มุ นา้ มนี า้ ทว่ มขัง ชน้ื แฉะตลอดเวลา 13. ง. ไฟท่ีเกิดจากสาเหตอุ นั ใดก็ตาม แลว้ เกิดการลุกลามไปได้โดยอสิ ระ ปราศจาก การควบคุม ไมว่ า่ ไฟน้นั จะเกิดข้ึนในปา่ ธรรมชาติหรือสวนป่ากต็ าม 14. ค. ไฟป่าสน 15. ข. ระหว่างเดอื น เมษายน - พฤษภาคม ของทุกปี 16. ข. ภาคเหนือ 17. ง. ฝุ่นควันและอนภุ าคแขวนลอยในอากาศรวมตัวกันในสภาวะท่อี ากาศปดิ 18. ง. การประกอบอาหาร 19. ก. ประชาชนป่วยเป็นโรคท้องรว่ ง 20. ง. สวมแวน่ และใช้หน้ากากอนามยั ปดิ ปากและจมูก ชุดวิชาการเรียนร้สู ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 128
21. ง. การเคลอื่ นทีข่ องเปลือกโลก 22. ข. อาคารที่มีการออกแบบโครงสร้างไม่ดเี สยี หาย กาแพงลม้ พงั 23. ค. บรเิ วณที่อยหู่ ่างจากรอยเลอ่ื ยของแผน่ เปลือกโลก 24. ง. เพอ่ื ให้ทราบถงึ ผลกระทบและความเสียหายท่เี กดิ ขึ้น 25. ง. คลน่ื ซึ่งมพี ลงั รุนแรงเคลอ่ื นตวั ในมหาสมทุ รดว้ ยความเรว็ สงู 26. ค. แผ่นดินไหวใต้พ้ืนมหาสมุทร 27. ข. วนั ที่ 26 ธนั วาคม 2547 28. ข. เกดิ แผน่ ดนิ ไหวในมหาสมุทร 29. ค. ผู้ใหญ่บ้าน 30. ง. ศูนย์ปอ้ งกนั และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ชดุ วชิ าการเรยี นรูส้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 129
เฉลยแบบทดสอบหลงั เรยี น 1. ค. ผลกระทบทางดา้ นวฒั นธรรม 2. ข. สมควรปลูกต้นไมใ้ นสวนหลังบ้าน 3. ง. การรกั ษาปา่ ไม้ใหค้ งความอดุ มสมบรู ณ์ 4. ค. ภยั ที่เกิดจากการขาดแคลนนา้ ในพื้นทใ่ี ดพ้ืนท่ีหน่ึงเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิด ความแหง้ แลง้ และสง่ ผลกระทบตอ่ ชมุ ชน 5. ง. ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ 6. ก. ทะเลจีนใต้ 7. ง. อากาศรอ้ นอบอ้าว 8. ข. พยายามควบคมุ สตอิ ยางสงบ 9. ก. สร้างเข่อื น 10. ข. บริเวณทร่ี าบล่มุ แมน่ ้า 11. ค. พ้ืนทท่ี ากินและพืชผลทางการเกษตรเสียหาย 12. ก. การตดั ไม้ทาลายปา่ ทาไรเ่ ลื่อนลอย 13. ค. ไฟทเี่ กิดจากสาเหตุอันใดกต็ าม แล้วเกดิ การลุกลามไปได้โดยอิสระปราศจาก การควบคุมทง้ั นไี้ มว่ ่าไฟนั้นจะเกดิ ขึน้ ในป่าธรรมชาตหิ รือสวนป่ากต็ าม 14. ก. ไฟป่าสน 15. ง. ระหวา่ งเดือน เมษายน - พฤษภาคม ของทุกปี 16. ข. ฤดรู ้อน 17. ก. ฝ่นุ ควันและอนภุ าคแขวนลอยในอากาศรวมตวั กันในสภาวะท่ีอากาศปดิ 18. ค. เกิดจากการเดนิ ทางของนกั ท่องเท่ียว 19. ข. จานวนนักทอ่ งเท่ียวลดลง 20 ง. ถูกทกุ ข้อ ชุดวิชาการเรยี นรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 130
21. ค. แผ่นดนิ ไหวเกิดจากการเคลื่อนทขี่ องแผน่ เปลือกโลก 22. ก. ขนาด 23. ก. มดุ ใตโ้ ตะ๊ ท่มี ีความแข็งแรง 24. ข. ตง้ั สติอยู่ในความสงบ แลว้ หลบในทปี่ ลอดภยั 25. ง. คล่ืนซงึ่ มีพลังรุนแรงเคล่ือนตัวในมหาสมุทรดว้ ยความเรว็ สงู 26. ค. แผ่นดินไหวใตพ้ นื้ มหาสมุทร 27. ค. 8.9 - 9.0 รกิ เตอร์ 28. ข. รีบหนขี ึน้ ฝง่ั ไปยังทส่ี งู โดยเรว็ ทสี่ ดุ 29. ข. ผูใ้ หญบ่ ้าน 30. ก. ศูนยป์ อ้ งกันและบรรเทาสาธารณภยั จงั หวัด ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 131
แนวตอบกิจกรรมท้ายหนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 1 ภัยแล้ง กิจกรรมท่ี 1.1 1. ภัยแล้ง หมายถึง ภัยท่ีเกิดจากการขาดแคลนน้าในพ้ืนที่ใดพื้นท่ีหน่ึงเป็นเวลานาน จนกอ่ ให้เกิดความแห้งแล้ง 2. ฝนแล้ง หมายถึง ความแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศอันเกิดจากการท่ีฝนน้อยกว่าปกติ ไมเ่ พยี งพอต่อความต้องการ หรอื ฝนไมต่ กตอ้ งตามฤดูกาล ระยะเวลาท่เี กดิ ความแห้งแลง้ และความ กว้างใหญ่ของพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ฝนแล้งที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมาก ได้แก่ ฝนแล้ง ที่เกิดในช่วงฤดูฝน โดยเฉพาะอย่างย่ิงช่วงฝนท้ิงช่วงท่ียาวนาน ระหว่างเดือนมิถุนายนต่อเน่ืองเดือน กรกฎาคม 3. ฝนทิ้งชว่ ง หมายถงึ ชว่ งทีม่ ปี ริมาณฝนตกไม่ถงึ วนั ละ 1 มลิ ลเิ มตร ตดิ ต่อกนั เกนิ 15 วนั ในชว่ งฤดูฝน เดือนทีม่ ีโอกาสเกดิ ฝนทงิ้ ช่วงสูง คือ เดือนมถิ นุ ายน และกรกฎาคม กิจกรรมท่ี 1.2 1. สาเหตขุ องการเกิดภัยแล้ง เกดิ ขน้ึ ทง้ั จากธรรมชาติและมนษุ ย์ ดังนี้ 1.1 โดยธรรมชาติ 1) การเปลีย่ นแปลงอณุ หภูมิโลก 2) การเปลีย่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศ 3) การเปลยี่ นแปลงของระดับนา้ ทะเล 4) ภัยธรรมชาติ เชน่ วาตภัย แผน่ ดินไหว 1.2 โดยการกระทาของมนุษย์ 1) การทาลายชั้นโอโซน 2) ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก 3) การพัฒนาด้านอตุ สาหกรรม 4) การตดั ไม้ทาลายป่า ชุดวิชาการเรียนรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 132
2. ผลกระทบทเี่ กิดจากภัยแล้ง 2.1 ด้านเศรษฐกิจ สิ้นเปลืองและสูญเสียผลผลิตด้านเกษตร ปศุสัตว์ ป่าไม้ การประมง เศรษฐกิจทั่วไป เช่น ราคาท่ีดินลดลง โรงงานผลิตเสียหาย การว่างงาน สูญเสีย อตุ สาหกรรมการทอ่ งเทยี่ ว พลังงานอุตสาหกรรมขนสง่ 2.2 ด้านส่ิงแวดล้อม ส่งผลกระทบตอ่ สัตว์ต่าง ๆ ทาให้ขาดแคลนน้า เกิดโรคกับสัตว์ สูญเสียความหลากหลายพันธุ์ รวมถึงผลกระทบด้านอุทกวิทยา ทาให้ระดับและปริมาณน้าลดลง พ้ืนท่ีชุ่มน้าลดลง ความเค็มของน้าเปลี่ยนแปลง ระดับน้าในดินเปล่ียนแปลง คุณภาพน้า เปลีย่ นแปลง เกดิ การกัดเซาะของดิน ไฟปา่ เพม่ิ ขึ้น ส่งผลต่อคณุ ภาพอากาศและสญู เสียทศั นียภาพ เปน็ ตน้ 2.3 ด้านสังคม เกิดผลกระทบในด้านสุขภาพอนามัย เกิดความขัดแย้งในการใช้น้า และการจดั การคุณภาพชีวติ ลดลง กิจกรรมท่ี 1.3 ศกึ ษาขอ้ มูลจากตารางตอ่ ไปนี้ แล้วตอบคาถาม ใต้ ภาค/เดือน เหนอื ตะวันออกเฉยี งเหนือ กลาง ตะวันออก ฝัง่ ฝ่ัง ตะวนั ออก ตะวนั ตก ม.ค. ฝนแลง้ ก.พ. ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแล้ง มี.ค. ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแลง้ ฝนแลง้ ฝนแลง้ ฝนแล้ง เม.ย. ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแลง้ ฝนแล้ง ฝนแลง้ พ.ค. ฝนแลง้ ม.ิ ย. ฝนทิ้งช่วง ฝนท้ิงช่วง ฝนท้งิ ช่วง ฝนท้งิ ช่วง ก.ค. ฝนทงิ้ ชว่ ง ฝนทงิ้ ช่วง ฝนทิง้ ช่วง ฝนท้ิงช่วง 1. เดือนท่เี กิดเหตุการณ์ฝนทงิ้ ช่วงคือ เดอื นมถิ นุ ายน และกรกฎาคม 2. ในทุกภาคจะเกิดเหตุการณฝ์ นแลง้ ในเดือน มนี าคม มากทส่ี ดุ ชดุ วชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 133
แนวตอบกิจกรรมทา้ ยหน่วยการเรียนรู้ท่ี 2 วาตภยั กจิ กรรมที่ 2.1 1. วาตภัย หมายถึง ภัยที่เกิดจากพายุลมแรงจนทาให้เกิดความเสียหายแก่อาคาร บ้านเรอื น ต้นไมแ้ ละส่งิ กอ่ สรา้ งตา่ ง ๆ 2. วาตภัย หรอื พายุ แบ่งเปน็ 3 ประเภทใหญ่ ๆ 2.1 พายุฝนฟา้ คะนอง 2.2 พายหุ มนุ เขตร้อน 2.3 พายุทอรน์ าโด กจิ กรรมท่ี 2.2 1. สาเหตสุ าคัญท่ที าใหเ้ กิดวาตภัย มาจากปรากฏการณท์ างธรรมชาติ 2. อันตรายท่ีเกิดจากวาตภัย มที ัง้ บนบกและในน้า ดงั น้ี 2.1 บนบก ต้นไม้ถอนรากถอนโคน ต้นไม้ล้มทับบ้านเรือนพัง ผู้คนได้รับบาดเจ็บ จนอาจถึงเสียชีวติ 2.2 ในทะเลมีลมพัดแรง คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่อาจถูกพัดพาไปเกยฝั่ง หรือชนหิน โสโครก ทาให้จมได้ กิจกรรมที่ 2.3 1. ในประเทศไทยวาตภัยหรอื พายุลมแรง มสี าเหตุมาจากพายุหมุนเขตร้อน พายุฤดูรอ้ น ลมงวง หรือเทอร์นาโด นอกจากน้ี วาตภัยยังอาจเกิดขึ้นได้จากมรสุมมีกาลังแรง ซ่ึงประเทศไทย จะอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ สาหรับพายุหมุน เขตร้อนที่เคล่ือนเข้าสู่ประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชั่น เนื่องจากพายุอ่อนกาลังลงก่อนถงึ ประเทศไทย ส่วนที่มีกาลังแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่นมีโอกาสเคล่ือนเข้าสู่ประเทศไทยน้อย กรณีของประเทศไทย พายุหมุนเขตร้อนอาจก่อตัวในทะเลจีนใต้แล้วเคลื่อนตัวผ่านปลายแหลม ญวนเข้าสู่อ่าวไทย หรือก่อในบริเวณอ่าวไทยตอนล่างโดยตรง เริ่มต้ังแต่กลางเดือนตุลาคม- กลางเดือนธันวาคม ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 134
3. สถิติพายุหมุนเขตร้อนเคล่ือนท่ีเข้าสู่ประเทศไทย มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ ประเทศไทย ปีละประมาณ 3 ลูก พายุจะเร่ิมเคล่ือนเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแต่เดือนเมษายน แต่มีโอกาสน้อยมาก พายุจะมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากข้ึนเป็นลาดับ ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมเป็นต้นไป และเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากท่ีสุด รองลงไป คือ เดือนกันยายน พายุหมุนเขตร้อนที่เข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากด้านตะวันออก ของประเทศ พายุฤดูร้อนส่วนมากจะเกิดระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยจะเกิดบ่อย ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีการเกิดน้อยคร้ัง กวา่ สาหรบั ภาคใต้ก็สามารถเกิดได้แต่ไม่บ่อยนัก กิจกรรมท่ี 2.4 1. การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์วาตภัย เม่ือทราบข่าวว่าจะเกิดวาตภัย ควร ปฏบิ ัติ ดงั น้ี 1.1. ตดิ ตามฟังข่าวอากาศจากแหล่งขา่ วรัฐบาลตลอดเวลา และปฏบิ ตั ติ ามอย่างเครง่ ครัด 1.2 หากอาศัยอยู่ในท่ีราบหรือริมน้า ควรรีบทาการอพยพผู้คน สัตว์เล้ียง และ ทรพั ยส์ ินข้ึนไปอยู่ในทส่ี งู ท่มี ่นั คงแข็งแรง 1.3 ควรตอกปิดรัดบานประตู หนา้ ตา่ งให้แน่นหนา โดยเฉพาะประตหู น้าต่าง กระจก ควรหาไม้ตอกตรึง หรือหาเทป กาวหนังกาวกระดาษปิดทับให้แน่น เพ่ือป้องกันลมแรงกระจกแตก การปดิ ประตหู นา้ ตา่ ง จะช่วยปดิ กัน้ ชอ่ งลมทางน้าได้ 1.4 เก็บสิ่งของ เรือแพ รถยนต์ และอพยพสัตยเ์ ลยี้ งไว้ในทสี่ ูง 1.5 เตรียมเครื่องมือช่าง เช่น ตะปู ค้อน ลวด เพื่อทาแพไม้ หรือแพถังน้ามันสาหรบั อพยพ 1.6 ควรดับไฟในเตา ปลดสะพานไฟฟา้ ปิดวาล์วแกส๊ 1.7 จัดเตรยี มน้า อาหารแห้ง ยารักษาโรค 1.8 เตรียมตะเกยี ง ไมข้ ดี ไฟ ไฟฉาย พรอ้ มถ่านแบตเตอรี่ 2. ขณะเกิดวาตภยั ควรปฏิบัติ ดงั นี้ 2.1 พยายามคมุ สติใหด้ ขี ณะมลี มพายุ 2.2 ควรอยภู่ ายในอาคาร 2.3 ห้ามอยู่ใต้ต้นไม้ ชดุ วชิ าการเรียนรู้สภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 135
2.4 ห้ามใชโ้ ทรศัพท์มอื ถือ 2.5 อยู่ให้ไกลจากส่ือไฟฟา้ ทกุ ชนิด 3. หลังจากเกดิ วาตภยั ควรปฏบิ ัติ ดังน้ี 3.1 เม่อื พายุสงบควรรออย่างนอ้ ย 3 ช่วั โมงก่อน เพ่ือใหแ้ นใ่ นวา่ พายุสงบแน่นอน 3.2 หากมีผู้บาดเจ็บใหช้ ่วยเหลอื ทนั ที หรือนาส่งโรงพยาบาล 3.3 หากมีสิ่งหกั พัง ต้นไมล้ ้ม ควรเก็บหรือจัดการใหป้ ลอดภัย 3.4 ถา้ มที อ่ ประปาแตก ไม่ควรใชน้ า้ ประปา เพราอาจทาให้เกิดโรคได้ ควรรบี แจ้งให้ เจ้าหนา้ ทท่ี ราบ 3.5 หากมีเสาไฟฟ้าล้ม สายไฟขาด อย่าเข้าใกล้ ให้ทาเคร่ืองกีดขวาง เพ่ือแจ้งอันตราย และแจง้ ให้เจา้ หน้าที่มาจัดการโดยเรว็ ชดุ วิชาการเรียนรู้สภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 136
แนวตอบกิจกรรมทา้ ยหนว่ ยการเรยี นรู้ที่ 3 อุทกภยั กจิ กรรมท่ี 3.1 อุทกภัย หมายถึง ภัยหรืออันตรายท่ีเกิดจากน้าท่วม หรืออันตรายอันเกิดจากภาวะท่ีน้า ไหลเอ่อล้นฝ่ังแม่น้า ลาธาร หรือทางน้าเข้าท่วมพื้นท่ี ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ไดอ้ ยู่ใต้ระดับน้า หรือเกิด จากการสะสมนา้ บนพื้นท่ีซง่ึ ระบายออกไม่ทัน ทาให้พื้นท่ีน้ันปกคลุมไปดว้ ยนา้ กิจกรรมที่ 3.2 1. สาเหตุและปัจจัยสาคัญท่ีทาให้เกิดอุทกภัยมี 2 ประการ คือ การเกิดภัยธรรมชาติและ การกระทาของมนุษย์ 1.1 การเกดิ ภัยธรรมชาติ ได้แก่ 1) ฝนตกหนักจากพายุหรือพายุฝนฟ้าคะนอง เป็นพายุท่ีเกิดข้ึนติดต่อกันเป็น เวลานานหลายชั่วโมง มีปริมาณฝนตกหนักมาก จนไม่อาจไหลลงสู่แม่น้าลาธารได้ทัน จึงท่วมพื้นที่ ที่อยู่ในท่ีตา่ ซ่งึ มกั เกิดในชว่ งฤดฝู นหรือฤดรู อ้ น 2) ฝนตกหนักจากพายุหมุนเขตร้อน เมื่อพายุน้ีเกิดที่ใดท่ีหนึ่งเป็นเวลานานจะ ทาใหบ้ รเิ วณนน้ั มีฝนตกหนกั ตดิ ตอ่ กัน ยิง่ พายุมีความรุนแรงมาก เชน่ มคี วามรุนแรงขนาดพายุโซน รอ้ นหรอื ไตฝ้ ่นุ เมอ่ื เคลอ่ื นตัวไปถึงทใี่ ดก็ทาให้ที่น้นั เกิดพายุลมแรง ฝนตกหนกั เป็นบริเวณกว้างและมี นา้ ท่วมขงั นอกจากน้ี ถา้ ความถ่ขี องพายุท่ีเคลื่อนที่เข้ามาหรอื ผ่านเกดิ ขึ้นต่อเนอ่ื งกัน ถงึ แม้จะในช่วง สนั้ แตก่ ท็ าให้น้าท่วม 3) ฝนตกหนักในป่าบนภูเขา ทาให้ปริมาณน้าบนภูเขาหรือแหล่งต้นน้ามีมาก มีการไหลเชี่ยวอย่างรุนแรงลงสู่ท่ีราบเชิงเขา เกิดน้าท่วมขึ้นอย่างกะทันหัน เกิดขึ้นหลังจากท่ีมีฝน ตกหนักในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเกดิ กอ่ นท่ฝี นจะหยุดตก มักเกิดขึน้ ในลาธารเลก็ ๆ โดยเฉพาะตอนที่อยู่ ใกล้ต้นนา้ ของบริเวณล่มุ น้า ระดบั นา้ จะสงู ขน้ึ อย่างรวดเร็ว 4) ผลจากน้าทะเลหนุน ในระยะท่ีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์อยู่ในแนวที่ทาให้ ระดับน้าทะเลข้ึนสูงสุด น้าทะเลจะหนุนให้ระดับน้าในแม่น้าสูงข้ึนอีก ประกอบกับระยะเวลาที่น้าป่า และน้าจากภูเขาไหลลงสู่แม่น้า น้าในแม่น้าจึงไม่อาจไหลลงสู่ทะเลได้ ทาให้เกิดน้าเอ่อล้นตล่ิงและ ท่วมเป็นบรเิ วณกว้าง ยง่ิ ถ้ามฝี นตกหนกั หรอื มีพายุเกิดข้นึ ในช่วงนี้ ความเสยี หายกย็ ่งิ จะมีมากขึน้ ชุดวชิ าการเรียนรสู้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 137
5) ผลจากลมมรสุมมีกาลังแรง มรสุมตะวันตกเฉียงใต้เป็นมรสุมที่พัดพา ความชืน้ จากมหาสมุทรอนิ เดยี เข้าสู่ประเทศไทย ตั้งแตเ่ ดือนพฤษภาคมถงึ เดือนตลุ าคม เม่อื มีกาลัง แรงเป็นระยะเวลาหลายวัน ทาให้เกิดคล่ืนลมแรง ระดับน้าในทะเลตามขอบฝั่งจะสูงขึ้น ประกอบ กับมีฝนตกหนักทาให้เกิดน้าท่วมได้ ย่ิงถ้ามีพายุเกิดข้ึนในทะเลจีนใต้ก็จะย่ิงเสริมให้มรสุมดังกล่าว มีกาลังแรงข้ึนอีก ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทย ปะทะขอบ ฝง่ั ตะวันออกของภาคใต้ เม่ือบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนมีกาลังแรงขนึ้ จะทาให้มีคล่ืน ค่อนข้างใหญ่ในอา่ วไทย และระดบั น้าทะเลสูงกวา่ ปกติ บางคร้ังทาให้มีฝนตกหนักในภาคใต้ ตั้งแต่ จงั หวัดชมุ พรลงไปทาให้เกดิ น้าทว่ มเป็นบริเวณกว้าง 6) ผลจากแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟระเบิด เมื่อเกิดแผ่นดินไหว หรือภูเขาไฟ บนบกและภูเขาไฟใต้น้าระเบิด เปลือกของผิวโลกบางส่วนจะได้รับความกระทบกระเทือน ต่อเนื่องกัน บางส่วนของผิวโลกจะสูงข้ึน บางส่วนจะยุบลง ทาให้เกิดคลื่นใหญ่ในมหาสมุทรซัดขึ้นฝ่ัง เกดิ น้าท่วมตามหม่เู กาะและเมืองตามชายฝ่งั ทะเลได้ 1.2 การกระทาของมนษุ ย์ ไดแ้ ก่ 1) การตัดไม้ทาลายป่าในพ้ืนท่ีเส่ียงภัย เมื่อเกิดฝนตกหนักจะทาให้อัตราการ ไหลสูงสุดเพิ่มมากข้ึนและไหลมาเร็วขึ้น เป็นการเพ่ิมความรุนแรงของน้าในการทาลายและยังเป็น สาเหตุของดินถล่มด้วย นอกจากน้ียังทาให้ดินและรากไม้ขนาดใหญ่ถูกชะล้างให้ไหลลงมาในท้อง นา้ ทาใหต้ น้ื เขนิ ไมส่ ามารถระบายนา้ ไดท้ ันที 2) การขยายเขตเมืองลุกล้าเข้าไปในพื้นท่ีลุ่มต่า ซ่ึงเป็นแหล่งเก็บน้าธรรมชาติ ทาใหไ้ มม่ ที ี่รบั นา้ เมื่อนา้ ลน้ ตลงิ่ ก็จะเขา้ ไปท่วมบริเวณทเี่ ปน็ พนื้ ทล่ี ุ่มต่า 3) การก่อสร้างโครงสร้างขวางทางน้าธรรมชาติ ทาให้มีผลกระทบต่อการ ระบายนา้ และกอ่ ให้เกดิ ปัญหาน้าท่วม 4) การออกแบบทางระบายน้าของถนนไม่เพียงพอ ทาให้น้าล้นเอ่อในเมือง ทาความเสยี หายใหแ้ กช่ มุ ชนเมืองใหญ่ เนื่องจากการระบายนา้ ไดช้ ้ามาก 5) การบริหารจัดการน้าที่ไม่ดี เป็นสาเหตุหน่ึงท่ีทาให้เกิดน้าท่วมโดยเฉพาะ บรเิ วณด้านท้ายเขื่อนหรืออ่างเก็บนา้ ชุดวิชาการเรียนรูส้ ภู้ ัยธรรมชาติ 1 - 138
2. ลกั ษณะการเกิดของอทุ กภยั จากภาพท่ี 1 และภาพที่ 2 น้าท่วมขัง/น้าล้นตล่ิง เกิดขึ้นเน่ืองจากระบบระบาย น้าไม่มีประสิทธิภาพ มักเกิดข้ึนในบริเวณที่ราบลุ่ม แม่น้าและบริเวณชุมชนเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งเกิดจากฝนตก หนักบริเวณน้ัน ๆ ติดต่อกันหลายวัน หรือเกิดจาก น้าล้นตลิ่ง น้าท่วมขังส่วนใหญ่จะเกิดบริเวณท้ายน้า มีลักษณะแผ่เป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากไม่สามารถ ภาพท่ี 1 ระบายได้ทัน ความเสียหายจะเกิดกับพืชผลทางการ เกษตรและอสังหาริมทรัพยเ์ ปน็ สว่ นใหญ่ น้าท่วมฉับพลัน เกิดข้ึนเน่ืองจากฝนตกหนัก ในบริเวณพื้นที่ซ่ึงมีความชันมากและกักเก็บหรือมกี าร ต้านน้าน้อย เช่น บริเวณต้นน้า พ้ืนท่ีป่าถูกทาลาย ทาให้การกักเก็บหรือการต้านน้าลดน้อยลง หรือเกิด จากสาเหตุอ่ืน ๆ เช่น เขื่อนหรืออ่างเก็บน้าพังทลาย นา้ ท่วมฉบั พลนั มักเกิดขนึ้ หลังจากฝนตกหนัก เกนิ 6 ภาพที่ 2 ช่ัวโมง และมักเกิดข้ึนในบริเวณที่ราบระหว่างหุบเขา ซ่ึงอาจจะไม่มีฝนตกหนักในบริเวณน้ันมาก่อนเลย แต่มีฝนตกหนักมากบริเวณต้นน้าท่ีอยู่ห่างออกไป เน่ืองจากน้าท่วมฉับพลันมีความรุนแรงและเคล่ือนที่ ดว้ ยความรวดเร็วมาก โอกาสทีจ่ ะปอ้ งกนั และหลบหนี จึงมีน้อย ดังนั้นความเสียหายจากน้าท่วมฉับพลันจึงมี มากทัง้ แกช่ ีวิตและทรัพยส์ ิน ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 139
3. ผลกระทบท่เี กดิ จากอทุ กภัย ในดา้ นตา่ ง ๆ ดงั น้ี 3.1 ด้านการศึกษา สถานศึกษาที่ถูกน้าท่วมเกิดความเสียหาย เพื่อความปลอดภัย ของนักเรียน นักศึกษา และลดปัญหาการเดินทาง ทาให้ต้องปิดการเรียนการสอน ซ่ึงจาเป็นต้องมี การสอนชดเชย หรือการปดิ ภาคเรียนไมต่ รงตามเวลาท่กี าหนด 3.2 ด้านการเกษตร เม่ือเกิดอุทกภัย จะทาให้ผลผลิตทางด้านการเกษตร เช่น ข้าว พืชไร่ พืชสวน ฯลฯ ได้รับความเสียหาย ส่วนด้านการประมง การปศุสัตว์ ก็ได้รับผลกระทบท้ังสิ้น นอกจากนี้ เคร่ืองมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ได้รับความเสียหาย ส่งผลกระทบต่อราคาข้าว พืชไร่ พืชสวน สัตว์น้าและผลผลิตอ่ืน ๆ ทาให้การผลิต การขนส่งมีต้นทุนสูงขึ้นกว่าปกติ โดยเฉพาะ อย่างยงิ่ เกษตรกรท่ไี ม่มเี งินทนุ สารอง จะตอ้ งกหู้ น้ยี มื สนิ เพือ่ ลงทุนทาการเกษตรต่อไป 3.3 ด้านอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากการเกิด อุทกภัย ทาให้เกิดความขัดข้องในการผลิตและการขาดแคลนปัจจัยเพื่อป้อนโรงงานท่ัวโลก ประเทศท่ีมีฐานการผลิตในประเทศไทย เช่น ญ่ีปุ่น ก็ได้รับผลกระทบ ส่งผลให้กาไรของบริษัท ลดลงตามไปด้วย รายได้ลูกจ้างในไทยก็ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน นอกจากน้ียังส่งผลต่อการ สง่ ออก เพราะขาดวตั ถุดบิ ในการผลิตสินคา้ 3.4 ด้านเศรษฐกิจ จากการขาดวัตถุดิบในการผลิตสินค้า อาจทาให้สินค้าขาดตลาด ประกอบกับการจัดส่งท่ียากลาบาก จะยิ่งทาให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้นและอาจส่งผลกระทบทั่วโลก เพราะไทยเป็นแหล่งผลิตใหญข่ องโลกในปจั จุบัน อุทกภัยยังส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ลดลง เน่ืองจากความเสียหายทางด้านทรัพย์สินและความสูญเสียจากค่าเสียโอกาส เช่น การผลิต การส่งออก เปน็ ตน้ 3.5 ด้านสาธารณสุขเมื่อเกิดน้าท่วมติดต่อกันยาวนาน มักจะพบกับปัญหาเกิดสิ่ง ปนเปื้อนของแหล่งน้า และโรคท่ีมากับน้า ทาให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคตาแดง โรคไข้ฉ่ีหนู โรค อุจจาระร่วง น้ากัดเท้า น้ากัดเล็บ ฯลฯ จึงส่งผลให้ประสบปัญหาการขาดยาและเวชภัณฑ์ รวมถึง สุขภาพจติ ของประชาชนมีเพิ่มขึ้นด้วย ชดุ วชิ าการเรยี นรสู้ ภู้ ยั ธรรมชาติ 1 - 140
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179