อาจารย์บุ ญจันทร์ เพชรเมืองเลย นายสิทธิเดช ศรีเคน นักศึ กษาปฏิบัติ การสอนในสถานศึ กษา สืบสรรค์ภูมิปัญญา สานต่อรัตนโกสินทร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การสร้างสรรค์ภูมิปัญญาและผลงานบุคคลสำคัญในสมัยรัตนโกสินทร์
เพราะเหตุใดถึงต้องสร้างภูมิปัญญา แล้วภูมิปัญญานั้นสามารถสร้างสำเร็จได้ด้วยวิธีการใด
ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ มีอะไรบ้าง
ความหมายภูมิปัญญา ภูมิปัญญา (WISDOM) คือ ความรู้ ความคิด ความเชื่อ ความสามารถของกลุ่ม คนที่ได้มาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ใช้แก้ปัญหาและพัฒนาแนวทางในการ ดำรงชีวิต และทำการถ่ายทอด พัฒนา สืบสานต่อกันมาจากคนอีกรุ่นสู่คนอีกรุ่น ภูมิปัญญาไทย คือ ความรู้ ความสามารถ วิธีการ ผลงานของคนไทยที่ได้ศึกษา และเก็บรวบรวมความรู้ และจัดเป็นองค์ความรู้ ปรับปรุง พัฒนา และถ่ายทอดจาก คนอีกรุ่นสู่คนอีกรุ่น
ลักษณะของภูมิปัญญาไทย ความรู้ ทักษะ ความเชื่อ แสดงความสัมพันธ์ วิิถีชีวิต การแก้ไขปัญหา การเรียนรู้เพื่อความอยู่รอด พฤติกรรม ระหว่างคนกับสิ่งต่าง ๆ กิจกรรมในการดำรงชีวิต พื้นฐานในการดำรงชีวิต มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนา สังคมอยู่ตลอดเวลา
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ภูมิปัญญาไทย สภาพภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ลมมรสุม มีน้ำไหลผ่านทั่วทุกภูมิภาค บางส่วนของประเทศอยู่ติดกับทะเล บางส่วนมีลักษณะเป็นภูเขา และป่าไม้ มีฤดูที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ลักษณะสังคมและวัฒนธรรม ในอดีตภายใต้ระบบมูลนาย-ไพร่ คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ตลอดจนศาสนาและความเชื่ออื่น ๆ ทำใหผู้คนต่างใช้พื้นที่วังและวัด หรือศาสนสถานเป็นพื้นที่ในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมต่าง ๆ
กิจกรรมการเรียนรู้ ให้นักเรียนศึกษาประวัติและผลงานบุคคลสำคัญในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ส 23103 ประวัติศาสตร์ 3 หน้า 79-82 และสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย 9 สาขา ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดในเอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ส 23103 ประวัติศาสตร์ 3 หน้าที่ 76-77 และแบบฝึกหัดทบทวนหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 หน้าที่ 83-84
การแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาทางด้านการแพทย์แผนไทยจะใช้สมุนไพรในการรักษาโรค โดยความรู้ได้มาจากการ ทดลองคิดค้นคุณสมบัติของพืชพันธุ์ สัตว์ และธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ โดยมีวิธีการรักษาโรค 3 วิธี การใช้สมุนไพร การนวด - การบริหารร่างกาย การใช้พิธีกรรมความเชื่อทางศาสนา
การทอผ้าพื้นบ้าน ภูมิปัญญาทางด้านการทอผ้าพื้นบ้าน เป็นหัตถกรรมในครัวเรือนทที่ได้รับการสืบทอดกันมา ซึ่งเกิด จากการสั่งสมประสบการณ์ด้านการทอผ้า การทำลวดลาย อย่างประณีต โดยเฉพาะการทอผ้ามัดหมี่ซึ่ง ได้รับการสนับสนุนจากพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งพระองค์ได้ทำการฟื้นฟูลายผ้ามัดหมี่แบบโบราณ การทอผ้าพื้นบ้านสะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาไทย ดังนี้ การรู้จักนำวัสดุธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ การรู้จักประดิษฐ์ คิดค้น ลวดลายในการย้อมหรือทำลวดลายบนผ้า การทำงานแบบพึ่งพาอาศัยคนในครอบครัว
ผ้ามัดหมี่ลายขอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
ข้าวในวัฒนธรรมไทย ข้าวมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมายาวนานตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงปัจจุบัน โดยข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ทำให้มีวัฒนธรรม ประเพณี และความเชื่อต่าง ๆ เกี่ยวกับข้าว เช่น พิธีกรรมบูชาพระแม่โพสพ การลงแขกเกี่ยวข้าว พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ การสร้างเครื่องมือพื้นบ้าน
งานเครื่องไม้จำหลัก การเครื่องไม้จำหลักภาพ คือ การแกะสลักรูปแบบ หรือ ลวดลายต่าง ๆ ลงในเนื้อไม้ที่มีคุณภาพดี ไม่มีตาหรือยางไม้ ตกค้างในเนื้อไม้ โดยจะนิยมใช้ไม้สัก งานเครื่องไม้จำหลักใช้เพื่อ ประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมต่าง ๆ เช่น บานประตูโบสถ์ บาน ประตูหอไตร
ชื่นชอบผลงาน ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมไทย สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ใดมากที่สุด
แล้วนักเรียนคิดว่ามันขายได้ไหม ? แล้วทำไรขายดี ?
Search
Read the Text Version
- 1 - 16
Pages: