Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วิชาการพัฒนาตน ชุมชนและสังคม

วิชาการพัฒนาตน ชุมชนและสังคม

Published by s.pannawitt, 2021-02-22 06:35:29

Description: วิชาการพัฒนาตน ชุมชนและสังคม

Search

Read the Text Version

41 ทรายเปน ทอ นทต่ี ัดและตกแตง อกี ที นับวาแปลกจากศิลปวัฒนธรรมยุคอื่นใด ทาํ นบสระตราว สรางดวยทอนหิน ทรายซึง่ ตัดมาจากแหลงตัดหินมาวางเรียงกันอยางเปนระเบียบและตอนนีไ้ ดมีการบูรณะและทําความสะอาด บริเวณสระตราว สามารถเก็บกักน้ํา นําข้ึนมาใชอุปโภคบริการแกเจาหนาที่ และนักทองเที่ยว ณ บริเวณ ผามออแี ดง และปราสาทเขาพระวิหารไดอยางเพียงพอ ในเขตชายแดนฝง ตะวันออกและตะวันตกของประเทศไทย ซึง่ มีอาณาเขตติดตอกับสาธารณรัฐ ประชาชนลาว สหภาพพมา ราชอาณาจักรกัมพูชา มีสภาพภูมิประเทศสวยงามดวยทิวเขายาวสุดสายตา ปกคลุม ดวยปาไม น้าํ ตก และแมน้าํ สายสําคัญ เชน แมน้าํ โขง แมน้าํ สาละวิน นอกจากเปนแหลงทองเทีย่ วแลวยังเปนที่ จับจายใชสอยขาวของเครือ่ งใชของประเทศเพือ่ นบาน เชน ตลาดการคาชายแดนอําเภอแมสาย จังหวัดเชียงราย ตลาดการคาชายแดนอําเภอแมสอด จังหวัดตาก ตลาดการคา ชายแดนชอ งเมก็ อําเภอสริ ินธร จังหวัดอุบลราชธานี ตลาดการคาชายแดนจังหวัดมุกดาหาร นอกจากเปนชองทางการคาระหวางประเทศไทยกับประเทศเพือ่ นบาน แลว ยังเปนเสนทางการเดินทางไปทองเที่ยวในประเทศเพื่อนบานไดอีกดวย เรือ่ งที่ 3 ศกั ยภาพประเทศไทยกับการพัฒนาอาชพี 3.1 ภมู ศิ าสตร ประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตรทีห่ ลากหลาย ภาคเหนือเปนพืน้ ทีภ่ ูเขาสูงสลับซับ ซอน จุดที่สูง ทีส่ ุดในประเทศไทย คือ ดอยอินทนนท ประมาณ 2,565 ตารางกิโลเมตรเหนือระดับน้ําทะเล รวมทัง้ ยังปกคลุม ดวยปาไมอันเปนตนน้ําลําธารที่สําคัญของประเทศ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสวนใหญเปนพืน้ ที่ของทีร่ าบสูง โคราช สภาพของดินคอนขางแหงแลงและไมเอื้ออํานวยตอการเพาะปลูกผัก แมนํา้ เจาพระยาเกิดจากแมน้ําหลาย

42 สายทีไ่ หลมาบรรจบกันทีป่ ากน้าํ โพ จังหวัดนครสวรรค อันไดแก แมน้ําปง แมนํ้าวัง แมนํ้ายม และแมน้าํ นาน ทําใหภาคกลางกลายเปนที่ราบลุมแมน้ําที่มีความอุดมสมบูรณที่สุดในประเทศ และถือไดวาเปนแหลงปลูกขาวที่ สําคัญแหงหนึ่งของโลก ภาคใตเ ปนสวนหนึ่งของคาบสมุทรไทย-มาเลย ขนาบดวยทะเลทัง้ สองดาน มีจุดทีแ่ คบ ลง ณ คอคอดกระ แลว ขยายใหญเ ปน คาบสมุทรมลายู สวนภาคตะวันตกเปนหุบเขาและแนวเทือกเขาซึง่ พาดตัว มาจากทางตะวันตกของภาคเหนือ แมน้ําเจาพระยาและแมน้ําโขงถือเปนแหลงเกษตรกรรมที่สําคัญของประเทศไทย การผลิตของ อุตสาหกรรมการเกษตรจะตองอาศัยผลผลิตที่เก็บเกี่ยวไดจากแมน้ําทั้งสองและสาขาทั้งหลาย อาวไทยกนิ พ้ืนที่ ประมาณ 320,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งไหลมาจากแมน้ําเจาพระยา แมนาํ้ แมก ลอง แมน้ําบางปะกง และแมน้ําตาป ซึง่ เปน แหลง ดึงดูดนกั ทองเที่ยว เนือ่ งจากนา้ํ ตื้นใสตามแนวชายฝงของภาคใตและคอคอดกระ อา วไทยยังเปน ศูนยกลางทางอุตสาหกรรมของประเทศ เนื่องจากมีทาเรือหลักในสัตหบี และถือไดวาเปนประตูท่ีจะนาํ ไปสู ทา เรืออื่น ๆในกรุงเทพมหานคร สว นทะเลอันดามันถอื ไดวาเปน แหลงทรัพยากรธรรมชาติทมี่ ีคณุ คามากทส่ี ุด ของไทยเนื่องจากมี รสี อรททไ่ี ดรับความนิยมอยางสูงในทวีปเอเชีย รวมไปถึงจงั หวัดภูเกต็ จงั หวดั กระบ่ี จงั หวดั ระนอง จงั หวดั พงั งา จงั หวดั ตรัง ผานกแอน ในอุทยานแหง ชาตภิ กู ระดึง

43 ภมู ิภาค สภาวิจัยแหงชาติไดแบงประเทศไทยออกเปน 6 ภูมิภาค ตามลกั ษณะธรรมชาติ รวมไปถงึ ธรณี สันฐานและทางน้าํ รวมไปถึงรูปแบบวัฒนธรรมมนษุ ย โดยภูมภิ าคตาง ๆ ไดแ ก ภาคเหนอื ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวนั ออก ภาคตะวันตก และภาคใต ภูมิภาคทางภูมิศาสตรทั้งหกนี้มีความ แตกตา งกนั โดยมีเอกลักษณของตนเองในดา นประชากร ทรพั ยากรพ้ืนฐาน ลกั ษณะธรรมชาติ และระดับของ พัฒนาการทางสังคมและเศรษฐกิจ ความหลากหลายในภูมิภาคตาง ๆ เหลานี้ไดเปนสวนสําคัญตอลักษณะทาง กายภาพของประเทศไทย ปา สนในจงั หวัดเชยี งใหม ภาคเหนือ มีลักษณะภูมิประเทศแบบภูเขาสูงสลับกับหุบเขาและพืน้ ทีส่ ูงซึง่ ติดตอกับเขตทีร่ าบลุม ตอนกลางของประเทศ มีทิวเขาทีว่ างตัวยาวในแนวเหนือ-ใต ระหวางทิวเขาจะมีหุบเขาและแองทีร่ าบระหวาง ภูเขาเปนที่ตั้งของตัวจังหวัด เชน จังหวัดเชียงราย เชียงใหม แมฮองสอน นาน และแพร ทิวเขาทีส่ ําคัญไดแก ทิว เขาถนนธงชัย ทิวเขาแดนลาว ทิวเขาขุนตาน ทิวเขาผีปนน้าํ และทิวเขาหลวงพระบาง ชวงฤดูหนาวในเขตภูเขา ของภาค อุณหภูมิต่ําเหมาะสมตอการปลูกไมผลเมืองหนาว อาทิ ล้ินจ่ีและสตรอเบอรี่ แมน้าํ ในภาคเหนือหลาย สาย รวมไปถึงแมน้ําปง แมนํ้าวัง แมน้ํายมและแมนํ้านาน ไหลมาบรรจบกันและกอใหเกิดเปนที่ราบลุมแมน้าํ เจาพระยา ในอดีต ลักษณะทางธรรมชาติเหลานีท้ ําใหภาคเหนือสามารถทําการเกษตรไดหลายประเภท รวมไป ถึงการทํานาในหุบเขาและการปลูกพืชหมุนเวียนในเขตพื้นที่สูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ประกอบดวยจังหวัด 19 จังหวัดมีเนื้อที่ 168,854 ตาราง กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสามของพืน้ ทีท่ ัง้ ประเทศ สภาพพืน้ ทีอ่ ยูบ นทีร่ าบสูง มีแมน้าํ โขงเปนแมน้าํ สาย หลกั อาชีพหลกั คือ การทํานา ปลูกออ ย มันสาํ ปะหลงั ยางพารา และผลิตผาไหมเปนอุตสาหกรรม ซ่ึงมีบทบาท

44 สําคัญตอเศรษฐกิจ เนือ่ งจากผาไหมเปนทีน่ ิยมทัง้ คนไทยและชาวตางชาติ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบง ลกั ษณะภมู ปิ ระเทศเปน 5 เขต ไดแ ก ทวิ เขาดา นทศิ ตะวนั ตก ประกอบดว ยทิวเขาดงพญาเย็น มีลักษณะเดนคอื สว นทเ่ี ปน หินทรายจะยกตัวสูงขึน้ เปนขอบชันกับพื้นทีภ่ าคกลาง และมีภูเขายอดตัดจํานวนมาก ไดแก ภูเรือ ภูหอ ภูหลวง ภกู ระดึง ภเู ขาดงั กลาวสว นใหญเ ปน ภูเขาหนิ ทราย พบภูเขาหินปูนแทรกสลับอยูบาง ทวิ เขาทางดา นใต มีทิวเขาสันกําแพงและทิวเขาพนมดงรักเปนทิวเขาหลัก ทิวเขา สันกําแพงมีลักษณะเปนหินปูน หินดินดานภูเขาไฟ และหินทราย สวนทิวเขาพนมดงรักเปนทิวเขาที่เปนภูเขา หนิ ทราย และยงั มีภูเขาไฟดับแลวต้งั อยู ทิวเขาตอนกลาง เปน เนินและภูเขาเตี้ย เรียกวา ทวิ เขาภูพาน ท่ีราบแองโคราช เปนพื้นทีร่ าบของลุมน้ําชี และมูล ที่ไหลลงสูแมน้ําโขง เปนที่ราบที่มีเนื้อที่ กวางที่สุดของประเทศ จุดเดนของแองโคราชคือ มีการพบซากดึกดําบรรพ ไมกลายเปนหิน ชางโบราณและ ไดโนเสารจาํ นวนมาก แองสกลนคร เปนที่ราบบริเวณฝง แมน้ําโขง มีแมน้าํ สายสัน้ ๆ เชน แมน้าํ สงคราม เปนตน บรเิ วณนม้ี ีหนองนํ้าขนาดใหญ เรียกวา \"หนองหาน\" เกิดจากการยุบตัวจากการละลายของเกลอื หนิ ทวิ เขาเพชรบรู ณ ภาคกลาง เปนพ้ืนที่ที่มีความสมบูรณทางธรรมชาติ จนไดรับการขนานนามวา \"อูขาวอูน้ํา\" มีระบบ ชลประทานท่ีไดพัฒนาสําหรับเกษตรกรรมทํานาในภาคกลาง โดยไดพัฒนาตอเนือ่ งมาตัง้ แตอาณาจักรสุโขทัย มาจนถึงปจจุบัน ภูมิประเทศเปนที่ราบลุม มีแนวภูเขาเปนขอบดานตะวันออกและตะวันตก ไดแก ทิวเขา

45 เพชรบรู ณ และทิวเขาถนนธงชัย ลักษณะทางภูมิศาสตรบริเวณภาคกลางตอนบนเปนทีร่ าบเชิงเขา ลานพักลําน้าํ และเนินตะกอนรูปพัด สวนดานตะวันออกเปนทีร่ าบลาดเนินตะกอนเชิงเขาและภูเขาโดดเตีย้ ๆ ซึ่งเปนภูเขาไฟ เกา พบทั้งหินบะซอลต หินไรโอไลต และหินกรวดภูเขาไฟ มีพื้นที่ราบลุมแมน้ํายม แมน้ําเจาพระยาตอนบน และแมน้าํ ปาสัก สวนภาคกลางตอนลางมีลักษณะเปนทีร่ าบลุม โดยตลอด มีลานตะพักลําน้ํา เปนทีร่ าบน้าํ ทวม ถึง และคันดินธรรมชาติยาวขนานตามแมน้าํ เจาพระยา แมน้าํ ลพบุรี แมน้าํ ปาสัก แมน้ําทาจีน ทีร่ าบภาคกลาง ตอนกลางมีช่ือเรยี กวา \"ทุงราบเจาพระยา\" เรม่ิ ต้ังแตจงั หวดั นครสวรรคไ ปจนสุดอา วไทย ภาคตะวนั ออก ประกอบดวย 7 จังหวัด มีอาณาเขตติดกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางทิศเหนือ ประเทศราชอาณาจักรกัมพูชาทางทิศตะวันออก ติดกับอาวไทยทางทิศใต ตดิ กบั ภาคกลางดา นตะวนั ตก มีเนื้อท่ี 34,380 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบงได 4 ลักษณะ คอื ภูมปิ ระเทศสว นทวิ เขา มที ิวเขาสัน กําแพง ทิวเขาจันทบุรี และทิวเขาบรรทัด ภมู ปิ ระเทศสว นที่เปนที่ราบลุมนํ้า คือท่ีราบลมุ นํ้าบางปะกง ทร่ี าบ ชายฝง ทะเล ต้ังแตป ากแมน ้ําบางปะกงไปจนสุดเขตแดนที่ จังหวดั ตราด สว นใหญชายฝงทะเลจะมีหาดทราย สวยงาม ท้งั สว นเกาะและหมเู กาะ เชน เกาะสีชัง เกาะเสมด็ หมูเกาะชาง และเกาะกูด เมอื งพทั ยา ภาคตะวันตก ประกอบดวย 5 จงั หวัด มีเน้ือที่ 53,679 ไร มีเทอื กเขาตะนาวศรีเปนเทือกเขายาวตั้งแต ภาคเหนือมาถึงภาคตะวันตกของประเทศ และเปนพรมแดนทางธรรมชาติระหวางไทยกับพมา สภาพภูมิประเทศ ของภาคตะวันตกมีลักษณะเชนเดยี วกบั ภาคเหนือ โดยมีภูเขาสูงสลับกบั หบุ เขาซ่งึ มแี มนาํ้ ไหลผาน มที ่ีราบลุมนาํ้ สาํ คัญไดแก ที่ราบลุม นา้ํ ปง -วงั ท่ีราบลุมนํา้ แมก ลอง และท่ีราบลมุ นา้ํ เพชรบุรี ภาคตะวันตกมีพืน้ ทป่ี า ทอ่ี ุดม สมบูรณเ ปนจํานวนมาก ทรัพยากรน้ําและแรธาตุเปนทรัพยากรที่สําคัญของภาค โดยอุตสาหกรรมเหมืองแรถือ วาเปน อุตสาหกรรมหลกั นอกจากนี้ ภาคตะวนั ตกยังเปนทีต่ งั้ ของเขอื่ นทสี่ ําคัญของประเทศ

46 หาดมาหยา ในหมูเ กาะพีพี ภาคใต เปนสวนหนึ่งของคาบสมุทรแคบ ๆ มีความแตกตางกับภาคอืน่ ๆ ของไทยทัง้ ในดานสภาพ ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และทรัพยากร ลักษณะภูมิประเทศของภาคใตแบงเปน 4 แบบ ไดแ ก ทวิ เขา ประกอบดวยทิวเขาสําคัญ ไดแก ทิวเขาภูเก็ต ทิวเขานครศรีธรรมราช และทิวเขาสันกา ลาคีรี ทีร่ าบฝงอา วไทยและทรี่ าบฝง อันดามนั โดยที่ราบฝง อาวไทยจะตัง้ อยูท างตะวันออกของภาค มี ลักษณะเปนอาวขนาดใหญกระจัดกระจาย ชายฝง คอนขางเรียบตรงและมีหาดทรายสวยงาม และยังมีสวนทีเ่ ปน หาดเลนและโคลน จะเปนปาชายเลน มีลักษณะเดนคือมีแหลมทีเ่ กิดจากการทับถมของทรายและโคลน 2 แหง ไดแก แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช และแหลมตาชี จังหวัดปตตานี และมีทะเลสาบสงขลา เปน ทะเลสาบ 3 นํ้า คือ นํ้าเค็ม น้ําจืด และน้ํากรอย ซึง่ จะตางกันตามสภาพการรับน้าํ ที่ไหลเขาทะเลสาบ ที่เกิดจาก คลืน่ และกระแสน้ําพัดพาตะกอนทรายไปทับถมเปนแนวสันทราย สวนทีร่ าบฝงทะเลอันดามัน จะอยูด าน ตะวันตกของภาค มีลักษณะเปนชายฝง แบบยุบตัว มีทีร่ าบแคบเนือ่ งจากมีชายเขาและหนาผาติดชายฝง และมี หาดทรายขาวแคบ ๆ เกาะ ภาคใตมีเกาะและหมูเกาะมากมาย โดยฝงอาวไทยมีเกาะสําคัญเชน เกาะสมุย เกาะพงัน หมูเกาะ อางทอง เปนตน สวนฝงอันดามันมี เกาะภูเก็ต ซึง่ เปนเกาะทีใ่ หญทีส่ ุดในประเทศไทย หมูเกาะพีพี หมูเกาะสิมิ ลัน เกาะตะรุเตา เศรษฐกิจของภาคใตขึ้นอยูกับการผลิตยางสําหรับอุตสาหกรรม การปลูกมะพราว การทําเหมืองแร ดีบุก และการทองเที่ยว โดยเฉพาะอยางยิ่ง จังหวัดภูเก็ต ซึง่ ไดรับความนิยมอยางมาก ลักษณะเดนของ ภูมิประเทศแบบมวนตัวกับภูเขาและการขาดแมน้ําสายใหญ ๆ มแี นวภูเขาซึง่ เรียงตัวกันในแนวเหนือ-ใต และปา

47 ฝนเขตรอนอันลึกลับไดทําใหเกิดการโดดเดี่ยวในยุคเริม่ ตนและการพัฒนาทางการเมืองแยกตางหากกับสวน อื่น ๆ ของประเทศ การเขาถึงทะเลอันดามันและอาวไทยทําใหภาคใตเปนทางผานของทั้งพระพุทธศาสนานิกาย เถรวาท โดยมีศูนยกลางอยูท ี่ จังหวัดนครศรีธรรมราช และศาสนาอิสลาม โดยมีศูนยกลางอยูท ี่อดีตอาณาจักร ปต ตานซี ึ่งมีพรมแดนติดตอกับประเทศมาเลเซีย 3.2 ภูมอิ ากาศ พื้นที่สวนใหญของประเทศไทยมีลักษณะภูมิอากาศแบบรอนชื้นหรือแบบสะวันนาตามการแบงเขต ภูมิอากาศแบบคอบเปน ในขณะที่ภาคใตและทางตะวันออกสุดของภาคตะวันออกเปนเขตภูมิอากาศแบบมรสุม เขตรอน ท่ัวประเทศมีอณุ หภูมิเฉลย่ี ระหวา ง 19-38°C ในฤดแู ลง อณุ หภมู ิเพ่มิ สงู ขึน้ อยา งรวดเรว็ ในชวงคร่ึงหลัง ของเดือนมีนาคม โดยสูงกวา 40°C ในบางพื้นที่ในชวงกลางเดือนเมษายนเมื่อดวงอาทิตยเคลื่อนผานจุดเหนือ ศรี ษะ มรสุมตะวันตกเฉียงใตซึ่งพัดเขาสูประเทศไทยระหวางเดือนพฤษภาคมและกรกฎาคม (ยกเวน ภาคใต) เปน จดุ บง ช้ีวา ประเทศไทยเขาสูฤ ดูฝน ซ่งึ กนิ เวลาจนถึงเดือนตลุ าคม และเมฆซง่ึ ปกคลุมทําใหอุณหภูมลิ ดลง แตม คี วามชนื้ สูงมาก เดือนพฤศจกิ ายนและเดือนธนั วาคมเปน จดุ เรม่ิ ตนของฤดูแลง และอณุ หภมู ิในเวลากลางคืนเหนือพน้ื ดินสามารถลดตา่ํ ลงกวาจดุ เยอื กแขง็ อณุ หภมู เิ พมิ่ สงู ข้นึ อกี ครัง้ ในชวง เดือนมกราคม เมื่อดวงอาทิตยสองแสงมายังภูมิประเทศ ฤดูแลงในภาคใตมีระยะเวลาสั้นที่สุด เนื่องจากการที่ ภาคใตต ั้งอยใู กลทะเลจากทกุ ดานในคาบสมุทรมลายู พืน้ ที่ทั้งประเทศไดรับปริมาณฝนอยางเพียงพอ ยกเวนบาง พื้นที่เทานั้น แตระยะเวลาของฤดูฝนและปริมาณฝนมีความแตกตางกันไปตามภูมิภาคและระดับความสูง ประเทศไทยยังคงมีความหลากหลายทางชีวภาพของท้งั พืชและสัตวอยูมาก อันเปนรากฐานอันมั่นคง ของการผลิตในภาคการเกษตร และประเทศไทยไดมผี ลไมเมอื งรอนหลากชนิดพนื้ ท่ีราว 29% ของประเทศไทย เปนปาไม รวมไปถึงพื้นที่ปลูกยางพาราและกิจกรรมปลูกปาบางแหงประเทศไทยมีเขตรักษาพันธุสัตวปากวา 50 แหง เขตหามลาสัตวป า อกี 56 แหง โดยพื้นท่ี 12% ของประเทศเปนอุทยานแหงชาติ (ปจ จุบนั มี 110 แหง ) และ อกี เกอื บ 20% เปนเขตปาสงวนประเทศไทยมีพืช 15,000 สปชีส คดิ เปน 8% ของสปชีสพืชทั้งหมดบนโลกใน ประเทศไทย พบนกจํานวน 982 ชนดิ นอกจากนี้ ยงั เปน ถิ่นท่ีอยขู องสัตวสะเทนิ นาํ้ สะเทินบก นก สัตวเลยี้ งลกู ดว ยนาํ้ นม และสตั วเ ล้ือยคลานกวา 1,715 สปช ีส

48 3.3 ทรพั ยากรธรรมชาติ ประเทศไทยเปนประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติอยูอยางมากมาย แบง ได ดงั น้ี ทรพั ยากรดิน ในประเทศไทยแบงออกเปน 4 ชนดิ ไดแ กดนิ เหนยี ว พบไดใ นบริเวณแอง โคราช ท่ี ราบลุมแมน้ําบางปะกง แมน้ําแมกลอง แมน้ําตาป แมน้ําปากพนัง ดินรวน พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลางตอนบนและภาคเหนือ ดินทราย พบมากในภาค ตะวนั ออกเฉียงเหนอื ดนิ อินทรยี  พบ มากในปาพรุ เชน ปาพรสุ ิรนิ ธร จงั หวดั นราธวิ าส ทรัพยากรปาไม ปาไมจะกระจายอยูท ว่ั ประเทศ มีลักษณะแตกตางกันตามภูมิประเทศและภูมิอากาศ มี 2 ประเภท ไดแ ก ปา ผลัดใบ พบไดใ นทกุ ภูมิภาค แตภาคใตพ บนอ ยที่สดุ และปา ไมผ ลัดใบ สว นใหญอยใู นพ้นื ที่ ภาคใต และบนภูเขาสูงที่มีความชุมชื้น เชน อุทยานแหงชาติดอยอินทนนท แหง ชาติเขาใหญ แหง ชาติภสู อยดาว เปน ตน ทรพั ยากรนาํ้ ในประเทศไทยมีแหลงน้ําสําคัญ 2 แหลง คือ จากนํา้ ผวิ ดิน ซึ่งมีแมนํา้ เจา พระยาเปน แมนา้ํ สายสําคญั ท่ีสุดของประเทศ นอกจากนี้ยังมแี มนาํ้ ตาง ๆ ตามภมู ภิ าค เชน แมนํ้ามูล ชี ปง วงั ยม นาน แม กลอง ตาป เปนตน และจากน้ําบาดาล ทรพั ยากรแรธ าตุ พบอยูทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แตกตางกันตามสภาพทางธรณีวิทยา เชน สังกะสพี บมากในภาคตะวันตกและภาคเหนือ ดบี ุกพบมากในภาคใต แรรตั นชาติพบมากในภาคตะวันออก และแรเชอื้ เพลิง ซง่ึ พบมากในอา วไทย เชน แกส ธรรมชาติ สว นลกิ ไนตจะพบมากในภาคเหนือ 3.4 ศิลปะ วฒั นธรรม ประเพณี และวถิ ชี วี ิต ประเทศไทย ตั้งอยูบนพื้นฐานของเอกลักษณและศรัทธาของไทยสมัยใหม ทําใหพทุ ธศาสนาใน ประเทศไทยไดมีการพัฒนาตามกาลเวลา ซึ่งรวมไปถึงการรวมเอาความเชื่อทองถิ่นที่มาจากศาสนาฮนิ ดู การถือผี และการบูชาบรรพบุรุษสวนชาวมุสลิมอาศัยอยูทางภาคใตของประเทศไทยเปนสวนใหญ รวมไปถึงชาวจีนโพน ทะเลที่เขามามีสวนสําคัญอยูในสังคมไทย โดยเฉพาะอยางยิ่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและใกลเคียง ซึ่งการ ปรับตัวเขากับสังคมไทยไดเปนอยางดี ทําใหกลุมชาวจีน มตี าํ แหนง และบทบาททางเศรษฐกิจและการเมือง วัฒนธรรมไทยมีสว นที่คลา ยคลงึ กบั วฒั นธรรมเอเชีย กลา วคอื มีการใหค วามเคารพแกบรรพบุรษุ ซ่ึง เปนการยึดถือปฏิบัติกันมาอยางชานาน ชาวไทยมักจะมีความเปนเจาบานและความกรุณาอยางดี แตก็มี ความรูสึกในการแบงชนชั้นอยางรุนแรงเชนกัน ความอาวุโสเปน แนวคดิ ที่สําคัญในวัฒนธรรมไทยอยางหนงึ่ ผู อาวุโสจะตองปกครองดูแลครอบครัวของตนตามธรรมเนียม และนองจะตอ งเชื่อฟงพ่ี การทักทายตามประเพณีของไทย คือ การไหว ผูนอยมักจะเปน ผูทกั ทายกอนเมื่อพบกนั และผูที่ อาวุโสกวาก็จะทักทายตอบในลกั ษณะที่คลาย ๆ กนั สถานะและตําแหนง ทางสังคมก็มีสวนตอ การตัดสนิ วาผใู ด

49 ควรจะไหวอกี ผหู นง่ึ กอนเชนกนั การไหวถือวาเปนสัญลักษณใ นการใหค วามเคารพและความนบั ถือแกอกี ผู หนง่ึ ศลิ ปะ พระทน่ี ั่งไอศวรรยท ิพยอ าสน พระราชวังบางปะอิน จังหวดั พระนครศรีอยธุ ยา จิตรกรรมไทย เปนลักษณะอุดมคติ เปนภาพ 2 มิติ โดยนําสิง่ ใกลไวตอนลางของภาพ สิ่งไกล ไวตอนบนของภาพ ใชสีแบบเบญจรงค คือ ใชหลายสี แตมีสีทโ่ี ดดเดนเพียงสีเดียว ประติมากรรมไทยเดิม ชางไทยทํางานประติมากรรมเฉพาะสิง่ ศักดิส์ ิทธิ์ เชน พระพุทธรูป เทวรูป โดยมีสกุลชางตางๆ นับตัง้ แตกอนสมัยสุโขทัย เรียกวา สกุลชางเชียงแสน สกุลชางสุโขทัย อยุธยา และ รัตนโกสินทร โดยใชทองสําริดเปนวัสดุหลักในงานประติมากรรม เนือ่ งจากสามารถแกะแบบดวยขีผ้ ึง้ และ ตกแตง ได แลว จึงนาํ ไปหลอ โลหะ เมอ่ื เทยี บกบั ประติมากรรมศิลาในยุคกอ นนนั้ งานสําริดนับวาออนชอยงดงาม กวามาก สถาปต ยกรรมไทย มีปรากฏใหเห็นในชั้นหลัง เนื่องจากงานสถาปตยกรรมสวนใหญชํารุดทรุด โทรมไดงาย โดยเฉพาะงานไม ไมปรากฏรองรอยสมัยโบราณเลย สถาปตยกรรมไทยมีใหเห็นอยูใ นรูปของ บานเรือนไทย โบสถ วัด และปราสาทราชวัง ซึ่งลวนแตสรางขึ้นใหเหมาะสมกับสภาพอากาศและการใชสอย จรงิ

50 แกงมัสมนั่ อาหารไทย อาหารไทยเปนการผสมผสานรสชาติความหวาน ความเผ็ด ความเปรี้ยว ความขมและความเค็ม สว นประกอบซ่งึ มกั จะใชในการปรุงอาหารไทย รวมไปถึง กระเทียม พรกิ นาํ้ มะนาว และนาํ้ ปลา และวตั ถดุ บิ สําคัญของอาหารในประเทศไทย คือ ขาว โดยมขี า วกลองและขา วซอ มมอื เปน พื้น มีคุณลกั ษณะพเิ ศษ คือ ให คุณคาทางโภชนาการครบถวน และใหสรรพคุณทางยาและสมุนไพร อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ําพริกปลาทู พรอมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเปนชุด สวนอาหารที่ไดรับความนิยมและเปนที่รูจกั ไปทัว่ โลกนั้นคือ ตมยํากุงเมือ่ พ.ศ. 2554 เวบ็ ไซต CNNGO ไดจ ดั อันดบั 50 เมนูอาหารที่อรอยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนน เสียงทางเฟสบคุ ปรากฏวา แกงมัสมัน่ ไดร บั เลือกใหเ ปนอาหารทอี่ รอยทีส่ ุดในโลก ภาพยนตรไ ทย ภาพยนตรไทยมีประวัติความเปนมาที่ยาวนาน ปจจุบันประเทศไทยมภี าพยนตรท่มี งุ สตู ลาดโลก เชน ภาพยนตรเร่ือง ตม ยํากงุ ที่สามารถขึ้นไปอยูบนตารางบ็อกซอ อฟฟส ในสหรฐั อเมรกิ า และยงั มภี าพยนตรไ ทย หลายเร่ืองท่ีเปน ทย่ี อมรับในเทศกาลภาพยนตร ลา สุด ภาพยนตรเร่ือง ลุงบุญมีระลึกชาติ กํากบั โดยอภิชาติพงศ ระเศรษฐกลุ ไดรบั รางวัลปาลมทองคํา จากงานเทศกาลภาพยนตรเมืองคานสครง้ั ที่ 63 นับเปนภาพยนตรจาก ภมู ภิ าคเอเชยี ตะวนั ออกเฉยี งใตเรื่องแรกทไ่ี ดรบั รางวัลน้ี นอกจากนน้ั ปจจบุ นั เยาวชนไทยไดห นั มาสนใจผลติ หนงั สน้ั เขา ประกวดในระดบั นานาชาติ เปน ความคิดสรางสรรคงาน ทั้งที่เปนหนังสั้นและแอนนิเมชั่น

51 ดนตรไี ทย ดนตรใี นประเทศไทยนน้ั ไดรับอทิ ธพิ ลมาจากประเทศตางๆ ดนตรไี ทยเปนดนตรีที่มีความไพเราะนา ฟง มี 4 ประเภท ไดแ ก ดีด สี ตี เปา ในอดตี ดนตรไี ทยนยิ มเลน ในการขบั ลาํ นาํ และรองเลน ตอ มามีการนาํ เอา เครื่องดนตรีจากตางประเทศเขามาผสม ดนตรีไทยนิยมเลนกันเปนวง เชน วงปพาทย วงเครื่องสาย วงมโหรี ดนตรีไทยเขามามีบทบาทในชีวิตประจําวันมากขึ้น โดยใชประกอบงานมงคล งานอวมงคล ฯลฯ ในปจ จุบนั ดนตรไี ทยไมคอยเปน ท่ีนิยมกนั แพรหลายนกั เน่ืองจากหาดไู ดย าก คนสวนใหญจึงไมคอยรจู ักดนตรีไทย การปลอ ยโคมลอยในงานประเพณีย่ีเปง เทศกาลประเพณี เทศกาลประเพณีในประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายและอลังการ ทั้งประเพณไี ทยด้งั เดิม เชน ประเพณีสงกรานต ประเพณีลอยกระทง ประเพณตี กั บาตรดอกไม ประเพณีบุญบั้งไฟ และประเพณที ี่เปนสากล เชน เทศกาลวันคริสตมาส เทศกาลวันขึ้นปใหม ฯลฯ สรุปจุดเดนของประเทศไทย ทั้งดานทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศและทําเลที่ตั้ง ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิต และความสามารถของคนไทย ที่สามารถนํามาเปนจุดขายเพื่อการสรางงาน

52 อาชีพใหกับคนไทยไดอยางมากมาย หากสามารถดึงศักยภาพเหลานั้นมาคิดและหาแนวทางการสรางงานที่ สอดคลองกับความรู ความสามารถของตนเองได 4. กลุมอาชพี ท่ีสัมพันธกับศักยภาพของประเทศไทย อาชีพ หมายถึง การทํากิจกรรม การทํางาน การประกอบการทีไ่ มเปนโทษแกสังคม และมรี ายไดต อบแทน โดยอาศัยแรงงาน ความรู ทักษะ อุปกรณ เคร่ืองมือ วธิ ีการ แตกตา งกนั ไป ประเภทและลักษณะของอาชีพ การแบงประเภทของอาชีพ สามารถจัดแบงตามลักษณะไดเปน 2 ลกั ษณะ คือ การแบงตามเนื้อหาวิชาของอาชีพ และแบงตามลักษณะของการประกอบอาชีพ ลกั ษณะที่ 1 การแบงอาชีพตามเนือ้ หาวิชาของอาชีพ สามารถจัดกลุม อาชีพตามเนื้อหา วิชาไดเปน 6 ประเภท ดงั นี้ 1. อาชีพเกษตรกรรม ถือวาเปนอาชีพหลัก และเปนอาชีพสําคัญของประเทศ ปจจุบันประชากรของ ไทยไมนอยกวารอยละ 60 ยังประกอบอาชีพนีอ้ ยู อาชีพเกษตรกรรมเปนอาชีพเกี่ยวเนือ่ งกับการผลิต การจัด จาํ หนา ยสินคา และบริการทางดานการเกษตร ซงึ่ ผลผลติ ทางการเกษตร นอกจากใชในการบริโภคเปนสวนใหญ แลวยังใชเปนวัตถุดิบในการผลิตทางอุตสาหกรรมอีกดวย อาชีพเกษตรกรรม ไดแก การทํานา ทําไร ทําสวน เลยี้ งสตั ว ฯลฯ 2. อาชีพอุตสาหกรรม การทําอุตสาหกรรม หมายถึง การผลิตสินคาอันเนือ่ งมาจาก การนําเอาวัสดุ หรือสินคาบางชนิดมาแปรสภาพใหเกิดประโยชนตอผูใ ชมากขึน้ กระบวนการประกอบการ อุตสาหกรรม ประกอบดวย ในขน้ั ตอนของกระบวนการผลติ มปี จ จยั มากมายนับตั้งแตแ รงงาน เคร่ืองจักร เครื่องมือ เครอื่ งใช เงินทนุ ทีด่ ิน อาคาร รวมทั้งการบริหารจัดการ การประกอบอาชีพอุตสาหกรรมแบงตามขนาด ไดด งั น้ี 2.1 อตุ สาหกรรมในครอบครัว เปนอุตสาหกรรมทีท่ ํากันในครัวเรือน หรือภายในบาน ใชแรงงานคน ในครอบครวั เปน หลกั บางทีอาจใชเครื่องจักรขนาดเล็กชวยในการผลิต ใชว ัตถดุ ิบ วัสดุที่หาไดในทองถิน่ มาเปน ปจจัยในการผลิตอุตสาหกรรมในครัวเรือนเชน การทอผา การจักสาน การทํารม การทําอิฐมอญ การทําถัว่ เนา

53 แผน นา้ํ พรกิ ลาบ นํา้ มนั งา ฯลฯ ลักษณะการดําเนินงานไมเปนระบบมากนัก รวมทั้งการใชเทคโนโลยีแบบงาย ๆ ไมยงุ ยากซับซอน และมีการลงทุนไมมาก 2.2 อตุ สาหกรรมขนาดยอ ม เปน อตุ สาหกรรมที่มีการจางคนงานไมเ กนิ 50 คน ใชเ งนิ ทุนดาํ เนินการ ไมเกิน 10 ลานบาท อุตสาหกรรมขนาดยอม ไดแก โรงกลึง อูซอมรถ โรงงานทําขนมปง โรงสีขาว เปน ตนใน การดําเนินงานของอุตสาหกรรม ขนาดยอมมีขบวนการผลิตไมซับซอน และใชแรงงานที่มีฝมือไมมาก 2.3 อุตสาหกรรมขนาดกลาง เปนอุตสาหกรรมทีม่ ีการจางคนงานมากกวา 50 คน แตไมเกิน 200 คน ใชเงินทุนดําเนินการมากกวา 10 ลานบาท แตไมเกิน 100 ลานบาท อุตสาหกรรมขนาดกลาง ไดแก อุตสาหกรรมทอกระสอบ อุตสาหกรรมเสือ้ ผาสําเร็จรูป เปนตน การดําเนินงานของอุตสาหกรรมขนาด กลางตองมีการจัดการที่ดี แรงงานทีใ่ ชตองมีทักษะ ความรู ความสามารถในกระบวนการผลิตเปนอยางดี เพือ่ ทจี่ ะไดส นิ คา ทม่ี คี ณุ ภาพระดับเดียวกัน 2.4 อุตสาหกรรมขนาดใหญ เปนอุตสาหกรรมทีม่ ีคนงานมากกวา 200 คนขึ้นไป เงินทุน ในการดําเนินการมากกวา 200 ลานบาท อุตสาหกรรมขนาดใหญ เชน อุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ อุตสาหกรรม ถลุงเหล็ก อุตสาหกรรมประกอบรถยนต อุตสาหกรรมผลิตเครื่องใชไฟฟา เปนตน อุตสาหกรรมขนาดใหญมี ระบบการจัดการที่ดี ใชคนที่มีความรู ทักษะ ความสามารถเฉพาะดาน หลายสาขา เชน วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส ในการดําเนินงานผลิตมีกรรมวิธีที่ยุงยาก ใชเครือ่ งจักร คนงาน เงินทุน จํานวนมากขึ้น มีกระบวนการผลิตที่ ทนั สมัยและผลิตสนิ คา ไดท ีละมาก ๆ มีการวาจางบุคคลระดับผูบริหารที่มีความสามารถ 3. อาชีพพาณิชยกรรมและอาชีพบรกิ าร 3.1 อาชีพพาณิชยกรรม เปนการประกอบอาชีพทีเ่ ปนการแลกเปลีย่ นระหวางสินคากับเงิน สวน ใ ห ญ จ ะ มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป น ก า ร ซื อ้ ม า แ ล ะ ข า ย ไ ป ผู ป ร ะ ก อ บ อ า ชี พ ท า ง พ า ณิ ช ย ก ร ร ม จึ ง จั ด เปนคนกลาง ซึ่งทําหนาที่ซื้อสินคาจากผูผ ลิตและนํามาขายตอใหแกผูบริโภค ประกอบดวย การคาสงและการคาปลีก โดยอาจจัดจําหนายในรูปของการขายตรงหรือขายออม 3.2 อาชีพบริการ หมายถึง อาชีพที่ทําใหเกิดความพอใจแกผูซ ือ้ การบริการอาจเปนสินคาที่มี ตัวตน หรือไมมีตัวตนก็ได การบริการทีม่ ีตัวตน ไดแก บริการขนสง บริการทางการเงิน สว นบรกิ ารท่ีไมม ตี วั ตน ไดแก บริการทอ งเทีย่ ว บริการรักษาพยาบาล เปนตน 3.3 อาชีพพาณิชยกรรม จึงเปนตัวกลางในการขายสินคา หรือบริการตาง ๆ นับตั้งแตการนํา วัตถุดิบจากผูผ ลิตทางดานเกษตรกรรม ตลอดจนสินคาสําเร็จรูป จากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทัง้ คหกรรม ศลิ ปกรรม หัตถกรรม ไปใหผูซ ื้อ หรือผูบริโภค อาชีพพาณิชยกรรมจึงเปนกิจกรรมทีส่ อดแทรกอยูท ุกอาชีพ ใน การประกอบอาชีพ พาณิชยกรรม หรือบริการ ผูป ระกอบอาชีพจะตองมีความสามารถในการจัดหา มีความคิด รเิ รมิ่ และมคี ุณธรรม จึงจะทําใหการประกอบอาชีพเจริญกาวหนา

54 4. อาชพี คหกรรม การประกอบอาชีพคหกรรม เชน อาชีพที่เกี่ยวกับการประกอบอาหาร ขนม การ ตดั เยบ็ การเสริมสวย ตดั ผม เปน ตน 5. อาชพี หตั ถกรรม การประกอบอาชีพหัตถกรรม เชน อาชีพทีเ่ กีย่ วกับงานชาง โดยการใชมือในการ ผลติ ชิ้นงานเปนสวนใหญ เชน อาชพี จักสาน แกะสลัก ทอผา ดวยมอื ทอเสอ่ื เปน ตน 6. อาชีพศิลปกรรม การประกอบอาชีพศิลปกรรม เชน อาชีพเกีย่ วของกับการแสดง ออกในลักษณะ ตา ง ๆ เชน การวาดภาพ การปน การดนตรี ละคร การโฆษณา ถา ยภาพ เปน ตน ลักษณะท่ี 2 การแบง อาชีพตามลักษณะของการประกอบอาชีพ การจัดกลุมอาชีพตาม ลักษณะการประกอบอาชีพ เปน 2 ประเภท คือ อาชพี อสิ ระ และอาชีพรับจาง 1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพทุกประเภททีผ่ ูป ระกอบการดําเนินการดวยตนเอง แตเพยี งผเู ดยี วหรอื เปนกลุม อาชีพอิสระเปนอาชีพที่ไมตองใชคนจํานวนมาก แตหากมีความจําเปนอาจมีการจาง คนอื่นมาชวยงานได เจาของกิจการเปนผูลงทุน และจําหนายเอง คิดและตัดสินใจดวยตนเองทุกเรือ่ ง ซึง่ ชวยให การพัฒนางานอาชีพ เปนไปอยางรวดเร็วทันตอเหตุการณ การประกอบอาชีพอิสระ เชน ขายอาหาร ขายของชํา ซอมรถจักรยานยนต ฯลฯ ในการประกอบอาชีพอิสระ ผูป ระกอบการจะตองมีความรู ความสามารถในเรือ่ งการ บริหารการจัดการ เชน การตลาด ทําเลทีต่ ั้ง เงินทุน การตรวจสอบ และประเมินผล นอกจากนี้ยังตองมีความ อดทนตองานหนัก ไมทอถอยตอปญหาอุปสรรคทีเ่ กิดขึ้น มีความคิดริเริ่มสรางสรรค และมองเห็นภาพการ ดาํ เนนิ งานของตนเองไดต ลอดแนว 2. อาชีพรับจาง หมายถึง อาชีพที่มีผูอ ื่นเปนเจาของกิจการ โดยตัวเองเปนผูรับจาง ทํางานให และไดรับคาตอบแทนเปนคาจาง หรือเงินเดือน อาชีพรับจางประกอบดวย บุคคล 2 ฝาย ซึง่ ไดตกลง วาจางกัน บุคคลฝายแรกเรียกวา \"นายจาง\" หรือผูว าจาง บุคคลฝายหลังเรียกวา \"ลูกจาง\" หรือผูร ับจาง มี คาตอบแทนที่ผูวาจางจะตองจายใหแก ผูร ับจางเรียกวา \"คาจาง\" การประกอบอาชีพรับจาง โดยทัว่ ไปมีลักษณะ เปนการรับจางทํางานในสถานประกอบการหรือโรงงาน เปนการรับจางในลักษณะการขายแรงงาน โดยไดรับ คาตอบแทนเปนเงินเดือน หรือคาตอบแทนที่คิดตามชิ้นงานที่ทําได อัตราคาจางขึ้นอยูกับการกําหนดของเจาของ สถานประกอบการ หรือนายจาง การทํางานผูร ับจางจะทําอยูภ ายในโรงงาน ตามเวลาทีน่ ายจางกําหนด การ ประกอบอาชีพรับจางในลักษณะนีม้ ีขอดีคือ ไมตองเสี่ยงกับการลงทุน เพราะลูกจางจะใชเครือ่ งมือ อุปกรณที่ นายจางจัดไวใหทํางานตามที่นายจางกําหนด แตมีขอเสีย คือ มักจะเปนงานทีท่ ําซ้าํ ๆ เหมือนกันทุกวัน และตอง ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบของนายจาง ในการประกอบอาชีพรับจางนั้น มีปจจัยหลายอยางที่เอื้ออํานวยใหผู ประกอบอาชีพ รับจางมีความเจริญกาวหนาได เชน ความรู ความชํานาญในงาน มีนิสัยการทํางานที่ดี มีความ กระตือรือรน มานะ อดทน และมีวินัยในการทํางาน ยอมรับกฎเกณฑและเชือ่ ฟงคําสั่ง มีความซื่อสัตย สุจริต ความขยันหมั่นเพียร รับผิดชอบ มีมนุษยสัมพันธที่ดี รวมทัง้ สุขภาพอนามัยที่ดีอาชีพตาง ๆ ในโลกมีมากมาย

55 หลากหลายอาชีพ ซึง่ บุคคลสามารถจะเลือกประกอบอาชีพไดตามความถนัด ความตองการ ความชอบ และ ความสนใจ ไมวาจะเปนอาชีพประเภทใด จะเปนอาชีพอิสระ หรืออาชีพรับจาง ถาหากเปนอาชีพที่สุจริต ยอมจะทําใหเกิดรายไดมาสูตนเอง และครอบครัว ถาบุคคลผูนั้นมีความมุง มัน่ ขยัน อดทน ตลอดจนมีความรู ขอมูลเกีย่ วกับอาชีพ ตาง ๆ จะทําใหมองเห็นโอกาสในการเขาสูอาชีพ และพัฒนา อาชีพใหม ๆ ใหเกิดขึน้ อยู เสมอ กระทรวงศึกษาธิการ โดย ฯพณฯทานรัฐมนตรีวาการกระทรวงศึกษาธิการ ไดมีนโยบายการจัด การศึกษาเพือ่ การมีงานทําใหสถาบันการศึกษา และสถานศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จัดการศึกษา อาชีพใน 5 กลุม ดังน้ี 1. เกษตรกรรม 2. อตุ สาหกรรม 3. พาณชิ ยกรรม 4. ความคิดสรางสรรค 5. บริหารจัดการและบริการ โดยพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนใหสอดคลองกับศักยภาพที่มีอยูในทองถิ่น รวมถึงสนองตอ ตลาดแรงงานในระดับทองถิ่น ประเทศ และภูมิภาคของโลก ประชาชนไทยสามารถรับบริการการศึกษาอาชีพ ได ณ ศูนยฝกอาชีพชุมชนของสถาบันการศึกษา สถานศึกษา ตาง ๆ โดยเฉพาะศูนยฝกอาชีพชุมชน กศน. ใน ระดบั อําเภอไดทวั่ ประเทศ การมองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพ การมองเห็นโอกาสและความสามารถทีจ่ ะนําโอกาสนั้นมาประกอบอาชีพไดกอนผูอืน่ เปนหัวใจ สําคัญของการประกอบอาชีพ หากผูใ ดประกอบอาชีพ ตามที่ตลาดตองการ และเปนอาชีพที่เหมาะสมกับ สภาพการณในขณะนัน้ ผูน ัน้ ยอมมีโอกาสประสบความสําเร็จ เราสามารถพัฒนาตนเองใหมองเห็นโอกาสใน การประกอบอาชีพ ดังนี้ 1. ความชํานาญจากงานทีท่ ําในปจจุบัน การงานทีท่ ําอยูใ นปจจุบันจะเปนแหลงความรู ความคิดทีจ่ ะ ชวยใหมองเห็นโอกาสในการประกอบอาชีพไดมาก บางคนมีความชํานาญ ทางดานการทําอาหาร ตัดเย็บเสือ้ ผา ซอมเครือ่ งใชไฟฟา ตอทอน้าํ ประปา ชางไม ชางปูกระเบื้อง เปนตน ซึง่ ความสามารถ นําความชํานาญดังกลาว มาพัฒนาและประกอบ เปนอาชีพขึน้ มา บางคนเคยทํางานทีโ่ รงงานทําขนมปง เมือ่ กลับไปภูมิลําเนาของตนเอง ที่ตางจังหวัด ก็สามารถใชประสบการณ ที่ไดรับไปประกอบอาชีพของตนเองได

56 2. ความชอบ ความสนใจสวนตัว หรืองานอดิเรก เปนอีกทางหนึง่ ทีจ่ ะชวยใหมองเห็นโอกาส ในการ ประกอบอาชีพ บางคนชอบประดิษฐดอกไม บางคนชอบวาดรูป เปนตน บุคคลเหลานีอ้ าจจะพัฒนางานที่ชอบ งานอดิเรกไดกลายเปนอาชีพหลักที่ทาํ รายไดเปนอยา งดี 3. การฟงความคิดเห็นจากแหลงตาง ๆ การพูดคุยแลกเปลีย่ นความคิดเห็นกับบุคคลกลุม ตาง ๆ เปน แหลงความรูและกอใหเกิดความคิดริเริม่ เปนอยางดี ในบางครัง้ เรามีความคิดอยูแ ลว การไดคุยกับบุคคลตางๆ จะชว ยใหการวิเคราะหความคิดชัดเจนขึ้น ชวยใหมองไปขางหนาไดอยางรอบคอบ กอนที่จะลงมือทํางานจริง 4. การศึกษา คนควาจากหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ การดูวีดีทัศน ฟงวิทยุ ดูรายการโทรทัศน เปนตน จะชว ยทําใหเกดิ ความรแู ละความคิดใหม ๆ ได 5. ขอมูล สถิติ รายงาน ขาวสารจากหนวยราชการและเอกชน รวมทัง้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจของ ประเทศ ในการมองหาชองทางในการประกอบอาชีพ ผูท ี่จะมองหาอาชีพ พัฒนาอาชีพจึงควรใหความสนใจใน ขอมูลขาวสารตางๆ เพือ่ ติดตามใหทันตอเหตุการณ แลวนํามาพิจารณา ประกอบการตัดสินใจในการประกอบ อาชีพ 6. ทรัพยากรรอบ ๆ ตัว หรือ ในชุมชน ทีเ่ กีย่ วของกับการประกอบอาชีพ ทัง้ ดานทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ประเพณี ศิลปวฒั นธรรมและวิถีชีวิต ที่เอ้ือตอการประกอบอาชีพ ซ่ึงแตละพื้นท่ีแตกตาง กัน นอกเหนือไปจากความรู ความสามารถที่มีอยู

57 กิจกรรม 1. ใหยกตัวอยางอาชีพของคนไทยที่ใชศักยภาพดานทรัพยากรธรรมชาติ มาเปนองคประกอบในการ เลอื กประกอบอาชพี 1 อาชีพ 2. อาชีพสมัยใหม ที่พึงมีขึ้นในประเทศไทย ที่เกิดจากความคิดสรางสรรคของคนไทย มีอะไรบางให ยกตัวอยาง 1 อาชีพ พรอมอธิบายประกอบดวย 3. ในทองถิ่นที่นักศึกษาอยู มีความโดดเดนในเรื่องใดบางที่สามารถนํามาประกอบการตดั สนิ ใจเลอื ก ประกอบอาชีพได ใหยกตัวอยาง 1 อาชีพ

58 บรรณานกุ รม การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. ชุดวิชาการพัฒนาโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัทสามเจริญพาณิชย จํากัด, 2537. การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. ชุดวิชาวิจยั ทางการศึกษานอกโรงเรียน การเก็บรวบรวมขอ มลู เพือ่ การวิจยั . กรุงเทพฯ : บริษัทประชาชน จาํ กดั , 2538. การศึกษานอกโรงเรียน, กรม. ชุดวิชาวจิ ยั ทางการศึกษานอกโรงเรียน การวิเคราะหขอมลู . กรุงเทพฯ : บรษิ ทั ประชาชน จาํ กัด, 2538. เกรียงศกั ดิ์ หลวิ จนั ทรพ ัฒนา. การวเิ คราะหขอมูลทางการแพทยและสาธารณสุขดว ยคอมพิวเตอร. กรุงเทพฯ : สํานักพิมพจฬุ าลงกรณมหาวิทยาลัย, 2538. ชยนั ต วรรธณะภูติ. คมู อื การวิจยั เชงิ คณุ ภาพเพือ่ งานพัฒนา. ขอนแกน : สถาบันวิจัยเพ่ือการพฒั นามหา วิทยาลยั ขอนแกน , เอกสารอดั สาํ เนา. ณัฐนรี ศรีทอง. การเพิ่มศกั ยภาพภาวะความเปนผูน ําในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โอ เอส พร้ินตง้ิ เฮาส, 2552. ทวปี ศิริรัศมี. การวางแผนพัฒนาและประเมนิ โครงการ. กรุงเทพฯ : สาํ นกั งานกองทุนสนบั สนนุ การวิจยั (สกว), 2544. ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. กระบวนการและเทคนิคการทาํ งานของนักพฒั นา. กรงุ เทพฯ : สํานักงาน กองทุน สนบั สนนุ การวจิ ยั (สกว), 2543. ศูนยเทคโนโลยีทางการศึกษา. ความหมายเกีย่ วกับแผนงานโครงการ. กรุงเทพฯ : กราฟฟค โกร, 2545. ศูนยการศึกษานอกหองเรียนภาคใต. ชุดวชิ าแผนแมบทชมุ ชน. สงขลา : เทมการพิมพ, 2548. คมู ือการทําวจิ ยั อยา งงา ย. สถาบันการพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ. อุบลราชธานี : บริษัท ยงสวัสดอ์ิ นิ เตอรก รปุ จาํ กดั , 2552. สถาบันการศกึ ษาและพัฒนาตอเนื่องสิรนิ ธร. กระบวนการจดั การศกึ ษานอกโรงเรียนและอธั ยาศัย. เอกสาร ประกอบการอบรมวิทยากรกระบวนการจัดการศึกษาเพื่อเสริมสรางความเขมแข็งของชุมชน, นครราชสีมา : 2544. สญั ญา สญั ญาววิ ัฒน. ทฤษฎีและกลยุทธการพัฒนาสงั คม. กรุงเทพฯ : สาํ นกั พิมพแ หงจฬุ าลงกรณม หา วทิ ยาลัย, 2543. สํานักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. คมู อื การจดั กระบวนการเรยี นรเู พอื่ จัดทําแผนชมุ ชน. กรุงเทพฯ : รงั ษี การพิมพ, 2546. เสรี พงศพ ิศ. วธิ ที ําและวิธคี ดิ แผนชีวิตเศรษฐกจิ ชมุ ชน. กรุงเทพฯ : 2546.

59 สุภางค จนั ทวานชิ . วธิ ีการวจิ ยั เชิงคณุ ภาพ. (พมิ พค รั้งท่ี 10) กรุงเทพฯ : สํานกั พมิ พแ หง จฬุ าลงกรณ มหาวิทยาลัย, 2545. http://www.jd.in.th/e.learning/th33101/pan08/t305.8002.htm. http://www.tddf.or.th/tddf//:braly/doc/libraly-2007-02-28-240.doc. http://www.bic.moe.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=192&Itemid =148 http://www.nmt.or.th/TOTOP/Lists/OTOP2/AllItems.aspx http://www.aseanthailand.org/index.php http://www.geocities.com/jea_pat/ http://blog.eduzones.com/offy/5174 ดร.กระมล ทองธรรมชาติ และคณะ, สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ม.1, สํานักพิมพ อกั ษร เจริญทศั น อจท. จาํ กัด, 2548, หนา 24-25 วิรชั มณสี าร, เรือโท. ลักษณะภูมิประเทศและลักษณะอากาศตามฤดูกาลของภาคตาง ๆ ในประเทศไทย. เอกสารวชิ าการเลขที่ 551.582-02-2538, ISBN:974-7567-25-3, กันยายน 2538 ฝา ยกรรมวิธีขอ มลู . สถิติภูมิอากาศของประเทศไทยในคาบ 30 ป (พ.ศ.2504-2533). รายงาน ขอมูลอุตุนยิ มวทิ ยาเลขที่ 551.582-02-2537, ISBN : 974-7554-80-1, กองภูมิอากาศ, กรมอุตุนยิ มวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วริ ัช มณีสาร, เรือโท. สถิติองคประกอบอุตุนิยมวิทยาของภาคตางๆ ในประเทศไทย คาบ 30 ป (พ.ศ.2504-2533) เอกสารวิชาการเลขที่ 551.582-03-2538, ISBN : 974-7567-24-5, กันยายน 2538 กลุมภมู อิ ากาศ, สาํ นกั พัฒนาอุตุนยิ มวิทยา, กรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงเทคโนโลยสี ารสนเทศ และการสื่อสาร. 2552. ความรูอุตุนิยมวิทยา - เปอรเซน็ ตความถท่ี ่ีศนู ยก ลางพายุเคลอ่ื นที่ผา นพืน้ ที่ของประเทศไทย จากกรมอุตุนิยมวิทยา, กระทรวงคมนาคม.

60 ภาคผนวก ตัวอยางการเขียนโครงการ โครงการ คา ยอาสาพฒั นาชมุ ชนโรงเรยี นหนองมวง ต.เมืองไผ อ.หนองกี่ จ.บรุ รี มั ย องคก ร/สถาบนั โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน ทีต่ ้ัง สํานกั งานเขตจตุจกั ร กรงุ เทพมหานคร ผปู ระสานงานโครงการ นายประจวบ ใจดวง 1. ความเปน มาโครงการ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แกไขเพิ่มเตมิ (ฉบบั ท่ี 2) 2545 ใน หมวดที่ 1 มาตราท่ี 6 วาดวยการจัดการศึกษาตองเปนไปเพ่อื พัฒนาคนไทยใหเปน มนษุ ยท่ี สมบูรณ ทง้ั รา งกายจติ ใจ สติปญ ญา ความรแู ละคณุ ธรรม มีจริยธรรมและวฒั นธรรมในการ ดาํ รงชวี ิต สามารถอยรู ว มกับผอู ืน่ ไดอยา งมคี วามสขุ ซึ่งเปน เปาหมายสําคัญในการสราง ทรัพยากรมนษุ ยท ่ีทุก สถานศึกษา พึงรบั มาปฏิบัติความสาํ เรจ็ ของเปาหมายมิใชอ ยทู ค่ี วาม เขมแข็งของสถานศกึ ษาเทา น้ัน ความรว มมอื ของภาคครวั เรอื น ชมุ ชน จนถงึ ระดับรัฐมคี วาม จาํ เปนทีจ่ ะตองสรา งความแข็งแกรง ดานคณุ ธรรมในทกุ ภาคสวน ทั้งนี้จะตอ งอาศัยความรู ความเขาใจ และแบบอยา งการประพฤติ ปฏบิ ตั ิ โดยผา นการปลกู ฝงคานยิ ม และจิตสํานึกที่ดีใน ทุกกลไกในการดาํ เนินการสรา งคณุ ธรรมสู สงั คมไดแ ก ครู ผปู กครองและนักเรียน ในการดาํ เนนิ การ ทุกขัน้ ตอนและขณะเดียวกนั จะตอง เสริมสรางพ้นื ฐานจิตใจของคนในชาติ ใหม จี ิตสาํ นึกในคุณธรรม ความซ่ือสตั ย และใหมีความรอบ รทู ่เี หมาะสม ดาํ เนนิ ชีวิตดวยความ อดทน ความเพยี ร มสี ตปิ ญญา และความรอบคอบ เพื่อใหสมดุล และพรอ มรบั การเปลย่ี นแปลง อยา งรวดเรว็

61 ทางสาํ นกั งานศึกษากรงุ เทพมหานครไดส ง เสริมใหเ ยาวชน นักเรียน มีจติ สาธารณะ ในการ ใชช วี ติ อยา งพอเพยี ง คือพอมพี อกนิ พึง่ พาตนเองไดแ ละชวยเหลอื ผอู ่ืนได โดยให เยาวชนจัดคา ย อาสาพฒั นาชุมชนเพื่อเปน การปลูกฝงวินัยในการทําดีเพ่อื สังคม โดยเหน็ ประโยชนส วนรวม มากกวา เหน็ ประโยชนสวนตน ปจ จบุ นั ความวนุ วายของสงั คมมีมากนัก การ แขงขนั ท่รี อนแรงใน ทกุ ๆ ดาน การทาํ ลายส่ิงแวดลอ ม การเอาเปรยี บผดู อ ยโอกาส การปลอ ย มลพษิ สูสังคม การวาราย เสียดแทง การแกงแยงชงิ ดี ฯลฯ ลว นแลว แตม าจากสาเหตุเบ้อื งตน คลายๆกัน คือ ความเห็นแกตวั หรือเอาแตไดใ นสว นตนเปน หลกั ทาํ อยา งไรจงึ จะลดความ เอาแตไ ดลงบา ง ตรงกันขา มกบั การเอา เขา มาใสตัวกค็ ือ “การให” แกคนอ่นื ออกไป เมอ่ื คนตางๆ เริ่มมองออกสภู ายนอก แคน อกจาก ตวั เองเทา นน้ั มองเห็นผูอ ืน่ อยางลกึ ซึง้ แทจรงิ มากข้ึน เรม่ิ เขา ใจมุมมองของคนอื่น เขาตอ งการอะไร เขาอยใู นสภาพไหน เราชว ยอะไรไดบ า ง มองเหน็ สงั คม เหน็ แนวทางท่จี ะชวยกันลดปญ หา เริ่มแรก ใหเร่ิมสละสิ่งท่เี รามีอยู ไมว าจะเปน เวลา แรงงาน เงนิ สง่ิ ของ อวัยวะหรอื แมกระท่งั สละความเปน ตวั เราของเรา ซึง่ นัน่ เปน หนทางการ พฒั นาจติ ใจแตละคนไดอ ยา งเปนรปู ธรรม จติ สาธารณะตรงนีท้ ม่ี องเหน็ ผอู ่ืนเห็นสงั คมดังนเ้ี อาทีเ่ ราเรียกกนั วา “จติ อาสา” จติ ใจ ท่ี เห็นผูอ่นื ดว ยไมเ พียงแตตัวเราเอง เราอาจจะยืน่ มอื ออกไปทําอะไรใหไดบ าง เสยี สละอะไร ไดบ าง ชวยเหลอื อะไรไดบา ง แบบเพอื่ นชวยเหลอื ซ่ึงกนั และกนั ไมใชผ เู หนอื กวา มีนํา้ ใจแกก นั และกนั ไมนง่ิ ดดู ายแบบทีเ่ ร่ืองอะไรจะเกิดขึน้ ไมเก่ยี วกับฉัน ฉันไมส นใจ สามารถแสดงออก มาไดในหลาย รปู แบบ ทัง้ การใหรูปแบบตางๆ ตลอดจนการอาสาเพื่อชวยเหลือสงั คม ดังนน้ั โครงการจิตอาสาพฒั นาจึงจะจัดกิจกรรมใหนักเรียนไดมคี วามรทู ่ีถูกตอ ง เกย่ี วกับ จิตอาสาเพ่ือกระตนุ ใหแตละคนลุกข้ึนมาทาํ ความดกี ันคนละนิด คนละนดิ เดยี วเทา น้นั ประเทศชาติ ของเรานา จะงดงามข้นึ อีกไมนอ ย เชน เพยี งรว มกนั บริจาคเงนิ กนั เพยี งคนละเล็ก ละนอยเรากจ็ ะมี งบประมาณชว ยเหลอื สังคมขน้ึ มาทันที ในกรณีโรงเรยี นมัธยมประชานเิ วศน จงึ จดั ตง้ั โครงการจติ อาสาขึ้นโดยใหนักเรยี นโรงเรียนมธั ยมประชานเิ วศน ไดร ว มกันทําความดี เพอ่ื พฒั นาโรงเรยี นใน ชนบท เชน บูรณะพน้ื ทตี่ างๆ ในโรงเรยี น รับบรจิ าคหนังสอื เครอ่ื งใช ตา งๆ ไปมอบใหแ กโ รงเรียน วดั หนองมวง ตาํ บลเมอื งไผ อาํ เภอหนองก่ี จังหวดั บุรีรมั ย ในวนั ท่ี 23 ตุลาคม 2551-26 ตุลาคม 2551

62 2. วตั ถปุ ระสงค 3. เปา หมายของโครงการ 3.1 ดา นปรมิ าณ บุคลากรครูที่รับผิดชอบโครงการ และนักเรียนระดับมธั ยมศึกษาตอนตน และ ตอนปลาย โรงเรียนมธั ยมประชานเิ วศน แบง เปน บุคลากรครู จํานวน 6 คน และการรบั สมัครและคัดเลือกจํานวน 60 คน 3.2 ดา นคุณภาพ บุคลากรและนกั เรียนในโรงเรียนเปนผมู จี ติ สาธารณะ และเกิดความ ภาคภมู ิใจ ในการชวยเหลือผูอ ื่นอยูเสมอ 4. กิจกรรมดาํ เนนิ การ โครงการจติ อาสาพฒั นาชมุ ชนประกอบดว ย 4 กจิ กรรม ดังนี้

63 5. ระยะเวลาดาํ เนินโครงการจติ อาสาพัฒนาชมุ ชนเดอื น พ.ค. 2551 ต.ค. 2551

64 6. งบประมาณ รายละเอยี ดของงบประมาณดําเนินการจัดกิจกรรม ในการออกคายอาสาพัฒนาชมุ ชน จํานวน 110,000 บาท โดยงบประมาณทัง้ หมดไดจ ากการบริจาคของผูป กครอง นักเรียน คณะครู พอคาประชาชน 7. ปญหาและอปุ สรรค จํานวนส่งิ ของและเงินบริจาคอาจไมเพยี งพอ 8. ผลทค่ี าดวาจะไดร บั นักเรียนและบคุ ลากรท่ีเขารว มโครงการมีนาํ้ ใจและจิตสาธารณะ 9. การติดตามและประเมินผลโครงการ 9.1 ผูต ิดตามและประเมินผล 9.1.1 ครู บุคลากรและนักเรียนท่ีเขา รวมโครงการ 9.2 วิธตี ิดตามและประเมินผล 9.2.1 การสงั เกตพฤติกรรมของนกั เรยี น 9.2.2 การตอบแบบสอบถาม

65 คณะผูจดั ทํา ทปี่ รึกษา บญุ เรอื ง เลขาธิการ กศน. 1. นายประเสริฐ อมิ่ สุวรรณ รองเลขาธิการ กศน. 2. ดร.ชัยยศ รองเลขาธิการ กศน. จําป ทีป่ รึกษาดา นการพัฒนาหลักสูตร กศน. 3. นายวชั รนิ ทร แกว ไทรฮะ ผอู าํ นวยการกลมุ พัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 4. ดร.ทองอยู ตณั ฑวฑุ โฒ 5. นางรักขณา สถาบัน กศน. ภาคใต จังหวัดสงขลา ผเู ขยี นและเรียบเรียง 1. นางมยุรี สวุ รรณเจรญิ ผบู รรณาธกิ ารและพัฒนาปรับปรุง กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 1. นายววิ ฒั นไ ชย จนั ทนส คุ นธ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 2. นางพิชญาภา ปติวรา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 3. นางสาววรรณพร ปทมานนท กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 4. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป ศึกษานิเทศกเชี่ยวชาญ ขาราชการบํานาญ 5. นายสุรพงษ ม่นั มะโน ครูชํานาญการพิเศษ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 6. นางสาวเพชรินทร เหลอื งจิตวฒั นา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน ผูพฒั นาและปรบั ปรุงครั้งที่ 2 กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 1. นางสาวสดุ ใจ บุตรอากาศ 2. นางพรทิพย เข็มทอง 3. นางบุษบา มาลินีกลุ 4. นางพรทิพย พรรณนติ านนท 5. นางสาวกรวรรณ กววี งษพพิ ฒั น คณะทํางาน ม่ันมะโน 1. นายสรุ พงษ

66 2. นายศุภโชค ศรีรัตนศิลป กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 3. นางสาววรรณพร ปทมานนท กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 4. นางสาวศริญญา กุลประดิษฐ กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 5. นางสาวเพชรินทร เหลอื งจิตวฒั นา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน ผูพมิ พต นฉบับ คะเนสม กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 1. นางปย วดี เหลอื งจิตวฒั นา กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 2. นางเพชรินทร กววี งษพ ิพัฒน กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 3. นางสาวกรวรรณ ธรรมธษิ า บานชี กลุมพัฒนาการศึกษานอกโรงเรียน 4. นางสาวชาลีนี 5. นางสาวอริศรา ศรีรัตนศิลป ผูออกแบบปก 1. นายศุภโชค


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook