สื่ อการเรียนการสอน เรื่องกาพย์เห่เรือ เห่ชมปลา เจ้าฟ้ าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ ากุ้ง) นางสาวปรียานุช เสนาธนศั กดิ์ ตำแหน่ งครู วิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
ประวัติผู้แต่ง ผู้แต่งกาพย์เห่เรือ : เจ้าฟ้ าธรรมธิเบศไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ (เจ้าฟ้ ากุ้ง) เป็ นพระราชโอรสพระองค์แรกในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระราชชนนี คือ พระพันวัสสาใหญ่ กรมหลวงอภัยนุชิต ผู้สื บเชื้ อสายจากตระกูลพราหมณ์ เพชรบุรี
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คลึงกัน ถวิลสุดาดวงจันทร์ แจ่มหน้า เมื่อกวีเห็นปลาสายพันธุ์ต่าง ๆว่ายปะปน กัน ทำให้นึกถึงนางอันเป็นที่รัก ที่เปรียบ มัตสยาย่อมพัวพัน พิศวาส เป็นดวงจันทร์ของกวี ทั้งที่หมู่ปลายังได้อยู่ ใกล้ชิดคลอเคลียกันแต่ตัวกวีต้องพรากจาก ควรฤพรากน้องช้า ชวดเคล้าคลึงชม นางอันเป็นที่รัก ถวิล แปลว่า คิด คิดถึง มัตสยา แปลว่า ปลา พิศวาส แปลว่า รักใคร่ เสน่หา ควรฤ แปลว่า ไม่ควร / ควรหรอ
พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์ มัตสยายังรู้ชม สมสาใจไม่พามา เมื่อกวีมองดูปลาที่ว่ายคลอเคลียกันทำให้กวีนึกถึงนางอันเป็นที่รักจนเศร้าใจ กวีคิดว่าขนาด ปลายังได้อยู่เชยชมกัน ส่วนตัวกวีได้แต่สมน้ำหน้าตนเองที่ไม่พานางอันเป็นที่รักมาด้วยกัน นวลจันทร์เป็นนวลจริง เจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา คางเบือนเบือนหน้ามา ไม่งามเท่าเจ้าเบือนชาย เมื่อกวีเห็นปลานวลจันทร์ก็บอกว่ามีสีนวลสมชื่อ แต่กวีบอกว่านางอันเป็นที่รักนั้นกลับงามนวลยิ่งกว่า เมื่อกวีเห็นปลาคางเบือนที่หันหน้ามาก็บอกว่าไม่งามเท่านางอันเป็นที่รักเมื่อเบือนหน้ามามองกวี นวลจันทร์ = เป็นปลาชนิดหนึ่งที่รูปร่างเพรียวยาว ปากเล็กตาโต ปัจจุบันได้สูญพันธุ์ไปแล้ว คางเบือน = เป็นปลาชนิดหนึ่ง ลำตัวแบน หน้างอนขึ้น ปากเชิด เพียนทอง = ปลาตะเพียนทอง ปลาน้ำจืดมีสีสันสวยงาม มีความปราดเปรียวว่องไว
เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม เมื่อกวีเห็นปลาตะเพียนทองก็เปรียบว่ามีสีงามดั่งทองแต่ไม่งามเท่านางอันเป็นที่รักเมื่อห่มสไบ เมื่อกวีเห็นปลากระแหที่ว่ายอยู่ห่างจากกวีก็เปรียบว่าดังตัวกวีที่ต้องห่างจากนางอันเป็นที่รัก ตาดพราย = สไบ โดนทอด้วยไหมควบกับเงินแล่งหรือทองแล่ง กระแห = ปลากระแห มีรูปร่างป้อมสั้น ลำตัวแบนข้าง หัวและตาเล็ก ปากสั้น แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง เมื่อกวีมองเห็นปลาแก้มช้ำก็คิดว่า ช้ำเพราะเหตุใด แต่แก้มของนางอันเป็นที่รักนั้นช้ำเพราะ ถูกเชยชมปลาทุก ชื่อเหมือนทุกข์ระทมใจ เหมือนตัวกวีที่ต้องห่างจากนางอันเป็นที่รัก แก้มช้ำ = ในที่นี้กล่าวถึงปลาแก้มช้ำเป็นปลาน้ำจืดที่อยู่ในสกุลเดียวกับปลาตะเพียนขาว ต้อง = จับ ปลาทุก = ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง เป็นปลาขนาดใหญ่ไม่มีเกล็ด มีชื่อเรียกว่าปลาเต้าดำในภาคกลา อกกรม =ทุกข์ระทมใจ
น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี เมื่อกวีมองเห็นปลาน้ำเงินมีสีขาวผ่องเป็นมันเงาวับ ดูสวยงาม แต่ไม่งามเท่าตัวของนางอันเป็นที่รักที่มีผิวสองสี น้ำเงิน =ปลาน้ำเงินรูปร่างคล้ายปลาเนื้ออ่อน ลำตัวยาวเรียว ท่อนหางโค้งเล็กน้อย สันหลังบริเวณต้นคอลาดต่ำลง จะงอยปากแบน เนื้อสองสี = ผิวสองสี สำอาง = งดงามสะอาดหมดจด โฉมนาง = ในที่นี้หมายถึงนางอันเป็นที่รัก ปลากรายว่ายเคียงคู่ เคล้ากันอยู่ดูงามดี แต่นางห่างเหินพี่ เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร เมื่อกวีมองเห็นปลากรายที่ว่ายมาเป็นคู่นั้นดูสวยงาม แต่ตัวกวีที่ต้องมาอยู่ห่างจาก นางอันเป็นที่รัก เมื่อมองเห็นปลาที่ว่ายมาคู่กันแล้ว ทำให้รู้สึกเศร้าใจ ปลากราย = เป็นปลาน้ำจืด มีรูปร่างแบนด้านข้างมาก และเรียวไปทางด้านท้าย ครีบหลังเล็ก ครีบก้นและครีบหางยาวติดกัน
หางไก่ว่ายแหวกว่าย หางไก่คล้ายไม่มีหงอน คิดอนงค์องค์เอวอร ผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร เมื่อกวีมองเห็นปลาหางไก่ที่แหวกว่ายไปมา ถึงจะชื่อหางไก่แต่ไม่มีหงอน เมื่อมองแล้วก็คิดถึงนางอันเป็นที่รักที่ไว้ผมยาวประบ่าสวยงาม หางไก่ = ชื่อปลาชนิดหนึ่ง ลำตัวแบนข้าง ปลายปากถึงครีบหลังกว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม เกร็ดเล็กหลุดง่าย ก้านครีบยาวคล้าย หนวด อนงค์ = นางอันเป็นที่รัก อร = สวยงาม เอี่ยม = สะอาด ปลาสร้อยลอยล่องชล ว่ายเวียนวนปนกันไป เหมือนสร้อยทรงทรามวัย ไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย เมื่อกวีมองเห็นปลาสร้อยที่ว่ายปะปนกันในน้ำ เหมือนสร้อยที่นางอันเป็นที่รักเคย สวมใส่แต่เพราะไม่ได้เห็นหน้านางอันเป็นที่รักจึงทำให้กวีเศร้าเสียใจ ปลาสร้อย = ปลาน้ำจืด ลำตัวสีขาว มีจุดคล้ำบนเกร็ดจนเห็นเป็นเส้นลายแถบพาดตามยาวอยูข้างตัว ชล = แม่น้ำ ทรามวัย = หญิงสาววัยรุ่น (ในที่นี้หมายถึงนางอันเป็นที่รัก)
เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย ใครต้องข้องจิตชาย ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง เมื่อกวีมองเห็นปลาเนื้ออ่อน อ่อนแค่เพียงชื่อ แต่เนื้อกายของนางอันเป็นที่รักนั้น อ่อนไปทั้งตัวหากชายคนใดได้สัมผัส จะตราตรึงอยู่ในใจไม่หาย เนื้ออ่อน = ปลาน้ำจืด ไม่มีเกร็ด มีฟันเหล็กคม ลำตัวแบนข้าง ท้องเป็นสีน้ำเงิน อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ ปลาเสือเหลือที่ตา เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง เหมือนตาสุดาดวง ดูแหลมล้ำขำเพราคม เมื่อกวีมองเห็นปลาเสือเป็นปลาที่ตาแหลมคมกว่าปลาอื่นทั้งปวง เหมือนกับนดวงตาน้องนางที่ตาแหลมคมสวยงาม ปลาเสือ = ปลาน้ำจืด ตัวลาย ในไทยพบอยู่ ๓ ชนิด ได้แก่ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาเสือสุมาตรา และปลาเสือตอ ขำเพราคม = สวย น่ามอง
แมลงภู่คู่เคียงว่าย เห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม คิดความยามเมื่อสม สนิทเคล้าเจ้าเอวบาง เมื่อกวีมองเห็นปลาแมลงภู่ว่ายเคียงคู่เหมือนกำลังเชยชมกันทำให้ คิดถึงเมื่อตอนกวีและนางอันเป็นที่รักอยู่ใกล้ชิดกัน ปลาแมลงภู่ = ปลาน้ำจืด ลำตัวกลมยาวเป็นทรงกระบอกคล้ายปลาช่อน ลำตัวสีน้ำตาล มีแถบสีส้มพาดตามลำตัว หวีเกศเพศชื่อปลา คิดสุดาอ่าองค์นาง หวีเกล้าเจ้าสระสาง เส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม เมื่อกวีมองเห็นปลาหวีเกศก็ทำให้นึกถึงเมื่อนางอันเป็นที่รักสางผม เส้นผมของนางอันเป็นที่รักสลวยและมีกลิ่นหอม ปลาหวีเกศ = ปลาน้ำจืด ไม่มีเกร็ด ลำตัวเรียวยาว คล้ายปลาสังกะวาดและปลาเนื้ออ่อนผสมรวมกัน เส้นเกศ = เส้นผม
ชะแวงแฝงฝั่งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฏบังอร เมื่อกวีเห็นฝูงปลาชะแวงที่ว่ายอยู่ตามริมน้ำที่มีปลาชะวาดว่ายปนอยู่ด้วย เหมือนกวีที่ แอบใกล้ชิดดูแลนางอันเป็นที่รัก พิศดูหมู่มัจฉา ว่ายแหวกมาในสาคร นาฎบังอร = นางอันเป็นที่รัก คะนึงนุชสุดสายสมร มาด้วยพี่จะดีใจ มัจฉา = ปลา สาคร = แม่น้ำ เมื่อกวีมองดูหมู่ปลาแหวกว่ายอยู่ในน้ำ ทำให้กวีคิดถึงนางอันเป็นที่รัก ถ้าหากนางอัน เป็นที่รักได้มาด้วยกันกับกวี กวีก็คงรู้สึกดีใจ สายสมร = นางอันเป็นที่รัก ชะแวง , ชะวาด = ชื่อปลา
ชนิดของปลาทั้งหมด ปลานวลจันทร์ ปลาแก้มช้ำ ปลาหางไก่ ปลาแมลงภู่ ปลาคางเบือน ปลาทุก ปลาสร้อย ปลาหวีเกศ ปลาตะเพียนทอง ปลาน้ำเงิน ปลาเนื้ออ่อน ปลาชะแวง ปลากระแห ปลากราย ปลาเสือ ปลาชะวาด
บทวิเคราะห์ คุณค่าวรรณคดี
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
อุปมา เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย กระแหแหห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม บาทแรก กวีได้เปรียบเทียบว่าปลาตะเพียนทองนั้นงามเหมือนทอง แต่ก็ไม่งามเหมือนน้ องยามยามห่มสไบ บาทที่สอง เปรียบเทียบปลากระแหที่อยู่ห่างกายเหมือนตัวเองที่ห่าง จากนางอันเป็นที่รัก โดยปรากฎคำที่ใช้อุปมาคือคำว่า ดั่ง และ เหมือน
อุปมา แก้มช้ำช้ำใครต้อง อันแก้มน้องช้ำเพราะชม ปลาทุกทุกข์อกกรม เหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง ในบาทที่สองแรก กวีเปรียบเทียบว่าปลาทุก ที่ชื่อทุกนั้นก็เปรียบกับ ความทุกข์ที่ต้องจากน้ องมา ใช้คำอุปมาคือคำว่า เหมือน
อุปลักษณ์ พิศพรรณปลาว่ายเคล้า คลึงกัน ถวิลสุดาดวงจันทร์ แจ่มหน้า มัตสยาย่อมพัวพัน พิศวาส ควร ฤ พรากน้องข้า ชวดเคล้าคลึงชม กวีได้เปรียบหญิงสาวเป็นดวงจันทร์ โดยการกล่าวให้ผู้อ่านได้เข้าใจว่า นางอันเป็ นที่รักเปรียบเสมือนเป็ นดวงจันทร์ของกวี
อุปลักษณ์ น้ำเงินคือเงินยวง ขาวพรายช่วงสีสำอาง ไม่เทียบเปรียบโฉมนาง งามเรืองเรื่อเนื้อสองสี กวีได้เปรียบปลาน้ำเงินเป็นดั่งเงินยวง คือมีสีขาวเงินเป็นมันวาว ปรากฎคำที่แสดงภาพพจน์คือคำว่า คือ
การเล่นคำ หวีเกศเพศชื่อปลา คิดสุดาอ่าองค์นาง หวีเกล้าเจ้าสระสาง เส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม ในบาทแรก หวีเกศ หมายถึง ปลาหวีเกศ ในบาทที่สอง คำว่า หวี หมายถึง การแต่งผม สางผม และคำว่า เกศ หมายถึง เส้นผม
การสรรคำ เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อ เนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย ใครต้องข้องจิตชาย ไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง ถึงจะชื่อปลาเนื้ออ่อน แต่ก็อ่อนแค่เพียงชื่อ แต่เนื้อของน้ องนั้นอ่อนไปกาย หากชายใดได้มาแตะต้อง จะต้องตราตรึงอยู่ในใจไม่เลือนหาย
การเล่นสัมผัสสระ-พยัญชยะ ชะแวงแฝงฝั่ งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฏบังอร สัมผัสสระ สัมผัสพยัญชนะ
รสวรรณคดี
รสวรรณคดี จากบทประพันธ์ข้างต้นนี้ลักษณะ ถ้อยคำ ใช้ถ้อยคำเกลี้ยงเกลาสละสลวย ไพเราะ ด้วยการสัมผัสและทำให้เกิดภาพพจน์ มีรสในวรรณคดีที่ปรากฏในบทประพันธ์ คือ ๑. เสาวรจนี เป็นรสความไพเราะเกี่ยวกับการชม ความงาม อาจเป็นความงามของปลา และนางอันเป็ นที่รัก ปลาเสือเหลือที่ตา เลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง เหมือนตาสุดาดวง ดูแหลมล้ำขำเพราคม ปลาเสือมีดวงตาแหลมกว่าปลาใด ๆ เหมือนดวงตาของ นางอันเป็นที่รักที่สวยดึงดูดใจ
รสวรรณคดี ๒.นารีปราโมทย์ เป็นรสที่แสดงความรักใคร่ หรือบทโอ้โลม ชะแวงแฝงฝั่งแนบ ชะวาดแอบแปบปนปลอม เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฏบังอร เมื่อกวีมองเห็นฝูงปลาชะแวงที่ว่ายอยู่ตามริมน้ำที่มีปลาชะวาดว่ายปนอยู่ด้วย เหมือน กวีที่แอบใกล้ชิดดูแลนางอันเป็นที่รัก
Search
Read the Text Version
- 1 - 23
Pages: