โครงการพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
โครงการแกล้งดิน แกล้งดิน เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เพื่อแก้ไข ปัญหาดินเปรี้ยวจะทำด้วยการขังน้ำไว้ในพื้นที่จนกระทั่ง เกิดปฏิกิริยาทางเคมีจนทำให้ดินเปรี้ยวจัด เมื่อถึงที่สุด แล้วจะมีการระบายน้ำออกแล้วปรับสภาพดิน ด้วยปูนขาว จนกระทั่งสามารถใช้ดินในการเพาะปลูกได้
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2516 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน และทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่ภาคใต้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ พระองค์ทรงทราบว่าราษฎรในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และจังหวัด ใกล้เคียง ประสบปัญหาด้านพื้นที่ในการทำการเกษตร ขาดแคลน ที่ทำกิน ซึ่งเนื่องมาจากพื้นที่ดินพรุที่มีการระบายน้ำออก ได้แปรสภาพ เป็นดินเปรี้ยวจัดจนไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตร หรือถ้า จะปลูกพืชผลผลผลิตที่ได้จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน จึงมี พระราชดำริให้จัดตั้ง \"โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ\" ขึ้น ณ จังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2524 เพื่อศึกษา ปรับปรุง และแก้ไขพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ ทางการเกษตรและอื่น ๆ ได้ต่อมาเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2527 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชดำริ เกี่ยวกับการแก้ปัญหาดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกำมะถันโดยทรง แนะนำให้ทำเรื่องแกล้งดิน \"...ให้มีการทดลองทำดินให้เปรี้ยวจัด โดยการระบายน้ำให้แห้ง และศึกษาวิธีการแกล้งดินเปรี้ยว เพื่อนำผล ไปแก้ปัญหาดินเปรี้ยว ให้แก่ราษฎรที่มีปัญหาเรื่องนี้ในเขต จังหวัดนราธิวาส โดยให้ทำโครงการศึกษาทดลอง ภายในกำหนด เวลา 2 ปี และพืชที่ใช้ทดลองควรเป็นข้าว...\"
โครงการปลูกหญ้าแฝก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้ทรงศึกษาเรื่องการใช้หญ้าแฝกในการอนุรักษ์ดินและน้ำจาก เอกสารของธนาคารโลก ที่นาย Richard Grimshaw ได้ทูลเกล้าฯ ถวายและพระองค์ได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝก โดยให้ทรงทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน จนปัจจุบันมีหน่วยงานกว่า 50 หน่วยงานดำเนินงานสนองพระ ราชดำริการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝก ส่ งผลให้ การดำเนินงานก้าวหน้ามากขึ้นตามลำดับ
เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2534 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานพระ ราชดำริเกี่ยวกับหญ้าแฝกเป็นครั้งแรกกับ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้นว่า ให้ทำการศึกษาทดลองปลูกหญ้าแฝก เพื่อป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน และอนุรักษ์ความชุ่มชื้ น ไว้ในดิน เพราะขั้นตอนการดำเนินงานเป็นวิธีการแบบง่าย ๆ ประหยัด และที่สำคัญคือเกษตรกรสามารถดำเนินการเองได้ โดยไม่ต้องให้การ ดูแลภายหลังการปลูกมากนัก และได้พระราชทาน พระราชดำริอีกกว่า 20 ครั้ง เกี่ยวกับการนำหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ ในลักษณะต่างๆ “ปลูกหญ้าแฝกจะต้องปลูกให้ชิดติดกันเป็นแผงและวางแนวให้เหมาะสม กับลักษณะภูมิประเทศ เป็นต้นว่าบนพื้นที่สูงจะต้องปลูกตามแนวขวางของ ความลาดชันของร่องน้ำ บนพื้นที่ราบจะต้องปลูกรอบแปลงหรือปลูกตาม ร่องสลับกับพืชไร่ ในพื้นที่เก็บกักน้ำจะต้องปลูกเป็นแนวเหนือแหล่งน้ำ หญ้าแฝกมีหลักวิธีดังนี้ จะช่วยการป้องกันการพังทลายของหน้าดิน รักษาความชุ่มชื้ นในดิน เก็บกักตะกอนดินและสารพิษต่าง ๆ ไม่ให้ไหล ลงในน้ำ ซึ่งจะอำนวยผลประโยชน์อย่างยิ่งแก่การอนุรักษ์ดินและน้ำ ตลอดจนการฟื้ นฟูดินและป่าไม้ให้สมบูรณ์ขึ้น” พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลย เดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2540
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 พระราชทานโครงการแพทย์หลวง พระราชทาน เมื่อปี พ.ศ. 2510 โดยที่มีการจัดเจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อตรวจรักษา ราษฎรในถิ่นทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า และอบรม หมอหมู่บ้านเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพของประชาชน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญกับงานสาธารณสุขเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ เป็นการ พระราชทานพระราชทรัพย์ส่ วนพระองค์ในการก่อสร้างสถานบริการ สาธารณสุขและระยะต่อมาเป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ ประชาชน เมื่อประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่ สุขภาพจิตที่ดี และส่ งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสั งคมดีตามไปด้วย โดยในการเสด็จ พระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรแต่ละครั้ง พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้โปรดฯให้คณะ แพทย์ในขบวนเสด็จ ทำการตรวจรักษาราษฎร และทรงพบว่าราษฎร จำนวนมากขาดการดูแลรักษาในด้านสุขภาพอนามัย โครงการหน่วยแพทย์ พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ๒๕๑๐ ต่อมาเมื่อมีการเสด็จแปรพระ ราชฐานไปประทับแรมเพื่อเยี่ยมราษฎรในพื้นที่โครงการต่างๆ โครงการ พระราชดำริด้านการแพทย์ จึงได้ขยายขอบข่ายออกไปอย่างกว้างขวาง โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน ประกอบด้วย การบำบัดรักษาจากหน่วย แพทย์พระราชทาน และการอบรมหมอประจำหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไข ปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และระบบการ รักษาตามปกติยากแก่การดูแลได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราษฎร ส่ วนใหญ่ที่มีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การที่มี หน่วยแพทย์พระราชทานออกไปบำบัดรักษา ทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับการ รักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสี ยค่าใช้จ่ายใด ๆ และสำหรับการอบรมหมอ ประจำหมู่บ้านนั้นจะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและรู้จักวิธี ติดต่อกับหน่วยราชการในกรณีที่การเจ็บป่วยเกินขีดความสามารถที่จะดูแล รักษาตนเองได้ อันจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาในระยะยาว
โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ได้จัดทำขึ้น ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยจัดขึ้นเป็นรูปเล่ม และบางส่ วนได้เผยแพร่ออนไลน์ อันรวบรวมเนื้อหา จากหลายสาขาวิชา โดยที่ฉบับปกติมีทั้งหมด 37 เล่ม และฉบับเสริมการเรียนรู้มีทั้งหมด 20 เล่ม
ทรงพระราชดำริว่า หนังสื อประเภทสารานุกรมนั้น บรรจุสรรพวิชาการ อันเป็นสาระไว้ครบทุกแขนง เมื่อมีความต้องการ หรือพอใจจะเรียนรู้ เรื่องใด ก็สามารถค้นหา อ่านทราบโดยสะดวก นับว่า เป็นหนังสื อที่มี ประโยชน์ เกื้อกูลการศึกษา เพิ่มพูนปัญญาด้วยตนเองของประชาชน อย่างสำคัญ โดยเฉพาะในยามที่มีปัญหาการขาดแคลนครู และที่เล่าเรียน เช่นขณะนี้ หนังสื อสารานุกรมจะช่วย คลี่คลายให้บรรเทาเบาบางลงได้ เป็นอย่างดี จึงมีพระราชดำรัสให้ตั้ง โครงการสารานุกรมไทยสำหรับ เยาวชนฯ เพื่อดำเนินการสร้างหนังสื อสารานุกรมฉบับใหม่อีกชุดหนึ่ง มีความมุ่งหมายที่จะนำวิชาการแขนงต่างๆ ที่ควรศึกษา ออกเผยแพร่ แก่เยาวชน ให้แพร่หลายทั่วถึง เพื่อเยาวชนจักได้หาความรู้ ช่วยตัวเองได้ จากการอ่านหนังสื อ และเพื่อให้ได้ประโยชน์อันกว้างขวางยิ่งขึ้น ทรงกำหนดหลักการทำคำอธิบายเรื่องต่างๆ แต่ละเรื่อง เป็นสามตอน หรือสามระดับ สำหรับให้เด็กรุ่นเล็กอ่านเข้าใจระดับหนึ่ง สำหรับเด็กรุ่น กลางอ่านเข้าใจได้ระดับหนึ่ง และสำหรับเด็กรุ่นใหญ่ รวมถึงผู้ใหญ่ ผู้สนใจอ่านได้อีกระดับหนึ่ง เพื่ออำนวยโอกาสให้บิดามารดา สามารถ ใช้หนังสื อนั้น เป็นเครื่องมือแนะนำวิชาแก่บุตรธิดา และให้พี่แนะนำวิชา แก่น้องเป็นลำดับกันลงไป นอกจากนั้น เมื่อเรื่องหนึ่งเรื่องใดมี ความเกี่ยวพันต่อเนื่องถึงเรื่องอื่นๆ ก็ให้อ้างอิงถึงเรื่องนั้นๆ ด้วยทุกเรื่องไป ด้วยประสงค์จะให้ผู้ศึกษาทราบตระหนักว่า วิชาการแต่ละสาขา มีความสั มพันธ์เกี่ยวเนื่องถึงกัน พึงจะศึกษาให้ครบถ้วนทั่วถึง
โครงการฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระราชดำริส่ วนพระองค์ในเรื่อง การจัดทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำ ในการเกษตร โดยมีการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝน หลวงขึ้น ซึ่งจะใช้สารเคมีโปรยในท้องฟ้าจนกระทั่ง ไอน้ำอิ่มตัวและกลั่นตัวออกมากลายเป็นเม็ดฝน
เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกร เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๘ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ทรงรับทราบถึงความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎร และเกษตรกรที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตร จึงได้มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานโครงการ พระราชดำริ \"ฝนหลวง\"(Artificial rain) ให้กับ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ไปดำเนินการ ซึ่งต่อมาได้ เกิดเป็นโครงการค้นคว้าทดลองปฏิบัติการฝนเทียมหรือ ฝนหลวงขึ้น ในสั งกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ด้วยความสำเร็จ ของ โครงการ จึงได้ตราพระราชกฤษฎีการก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวงขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๑๘ ในสั งกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเป็นหน่วยงาน รองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป
กังหันน้ำชัยพัฒนา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มีพระราชดำริให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการวิจัย และพัฒนา กังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้น เพื่อบำบัดน้ำเสี ยด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำให้น้ำเสี ยกลายเป็นน้ำดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการ อุปโภคบริโภคของประชาชน น้ำเสี ยจากโรงงานอุตสาหกรรม และเพิ่มออกซิเจนให้บ่อเพาะเลี้ยงสั ตว์น้ำทางการเกษตร
พระราชดำริ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสี ย โดย การเติมออกซิเจนในน้ำ การเติมออกซิเจนในน้ำมี 2 วิธี คือ วิธีหนึ่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟอง และอีกวิธีหนึ่ง น่า จะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ๆ ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นฝอย ซองน้ำนี้จะถูก ขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบ ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า ระบบแรงดัน 380 โวลต์ 3 เฟส 50 เฮิ ร์ท ผ่านระบบส่ งกำลังด้วยเฟืองเกียร์ทดรอบและ/หรือจานโซ่ ซึ่งจะทำให้ การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำวิดตักน้ำด้วยความเร็ว 5 รอบ/นาที สามารถวิดน้ำลึกลงไป ใต้ผิวน้ำ ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำด้วยความสูง ประมาณ 1.00 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสั มผัสระหว่างน้ำกับอากาศกว้างขวางมากขึ้น เป็น ผลทำให้ออกซิเจนในน้ำละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในขณะที่นำเสี ยถูกยกขึ้น ไปสาดกระจายสั มผัสกับอากาศแล้วตกลงไปยังผิวน้ำนั้น จะเกิดการอัดอากาศภายในซอง น้ำภายใต้ผิวน้ำจนกระทั่งซองน้ำจมน้ำเต็มที่ ทำให้เพิ่มประสิ ทธิภาพในการถ่ายเท ออกซิเจนได้สูงขึ้นตามไปด้วย หลังจากนั้นน้ำที่ได้รับการเติมอากาศแล้ว จะเกิดการ ถ่ายเทของน้ำเคลื่อนที่ออกไปด้วยการผลักดันของซองน้ำด้วยความเร็วของการไหล 0.20 เมตร/วินาที จึงสามารถผลักดันน้ำออกไปจากเครื่อง มีระยะทางประมาณ 10.00 เมตร และผลพลอยได้อีกประการหนึ่งได้แก่ การโยกตัวของทุนลอยในขณะทำงานจะส่ ง ผลให้แผ่นไฮโดรฟลอยที่ติดตั้งไว้ในส่ วนขนาดเล็กไม่เกิน 2 แรงม้า หรืออาจจะใช้พลังน้ำ ไหลก็ได้ จึงสมควรพิจารณาสร้างต้นแบบ แล้วนำไปติดตั้งทดลองใช้บำบัดน้ำเสี ย ที่ ภายในบริเวณโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า และวัดบวรนิเวศวิหาร
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : เกษตรทฤษฎีใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวพระราชดำริเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเป็นตัวอย่างการใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในขั้นต้น โดยการ ทำเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นได้แก่ ขั้นต้น คือ การแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 ส่ วน ตามอัตรา 30-30-30-10 เพื่อขุดเป็นสระกักเก็บน้ำ 30% ปลูกข้าวในฤดูฝน 30% ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผักสมุนไพร 30% และเป็นที่อยู่อาศัยอีก 10%
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริในการจัดการ ทรัพยากรระดับไร่นา เน้นการพึ่งพาตนเองและช่วยเหลือตนเองเป็น หลัก โดยเน้นไปที่การพึ่งพาตนเองในด้านอาหารก่อน เช่น ข้าว พืช ผักผลไม้ ฯ จากนั้นค่อยไปเน้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่ใน 3 ขั้นตอนที่ กล่าวมา และทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาการปลูกพืชชนิด เดียวซึ่งมีความเสี่ ยงเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาที่ผันผวน ควบคุมไม่ได้และความไม่แน่นอนของธรรมชาติ ฯ เกษตรทฤษฎีใหม่นำไปสู่ การทำเกษตรที่ยั่งยืนและเกษตร ธรรมชาติ ที่เน้นไปที่การลดคาใช้จ่ายและการพึ่งพิงธรรมชาติเป็น ปัจจัยสำคัญ เช่น การปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหมุนเวียนเพื่อให้ได้ ปุ๋ยจากธรรมชาติ โดยเป็นการหันมาใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติแทนปุ๋ย เคมีที่มีราคาสูง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมในระยะยาว อัตราพื้นที่ 4 ส่ วนของเกษตรทฤษฎีใหม่ 30:30:30:10 ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คือเกษตรยั่งยืน มีลักษณะการผลิตที่เลียนแบบ ระบบนิเวศของธรรมชาติ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ลดการ พึ่งพาปัจจัยภายนอกให้น้อยที่สุด ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธี ธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมีซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ใช้และส่ งผลเสี ย ต่อดินในระยะยาว ปลูกพืชที่เกื้อกูลกันเพื่อสร้างความสมดุลของ ธรรมชาติในระยะยาว เป็นการจัดการระบบเกษตรที่ยั่งยืน
โครงการแก้มลิง โครงการพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีพระราชดำริไว้แก้ปัญหาอุทกภัย ในประเทศไทย และยังคงใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมจวบจนปัจจุบัน ปัญหาน้ำท่วมในประเทศไทยเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน และตั้งแต่ เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑล ยาวนานกว่า 2 เดือน เมื่อปี พ.ศ. 2538 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงมีพระราชดำริ จัดทำโครงการแก้มลิง เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาอุทกภัย โดยอิงจาก หลักการกินกล้วยของฝูงลิง
โครงการแก้มลิง กับความเป็นมา สื บเนื่องจากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. 2538 และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช บรมนาถบพิตร ทอดพระเนตรเห็นว่า ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้น นั้นเรื้อรังกว่า 2 เดือน ในวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538 จึงมี พระราชดำริโครงการแก้มลิงขึ้นครั้งแรก เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย พร้อมทั้งช่วยอนุรักษ์น้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โครงการแก้มลิง พระราชดำริจากพฤติกรรมลิง แนวคิดโครงการแก้มลิงเกิดจากการที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกา ธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำรัส ถึงลิงที่อมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มได้คราวละมาก ๆ โดยมีพระราช กระแสอธิบายว่า \"ลิง โดยทั่วไปถ้าเราส่ งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอก เปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้ จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมา เคี้ยวและกลืนกินภายหลัง\" เช่นเดียวกับทฤษฎีแก้มลิง ที่พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้สร้างพื้นที่กัก เก็บน้ำไว้รอการระบายและเพื่อใช้ประโยชน์ในภายหลัง วัตถุประสงค์ของโครงการแก้มลิง โครงการแก้มลิง สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมขัง โดยใช้หลักการทาง ธรรมชาติ คือ กักเก็บน้ำฝนเอาไว้ เพื่อรอเวลาระบายออก ซึ่งลักษณะการ
โครงการหลวงดอยคำ จากสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช หลังจากการเสด็จประพาสต้นภาคเหนือ เมื่อพ.ศ. 2512 ทรงเล็งเห็นถึงความทุกข์ยากลำบากของเหล่าชาว ไทยภูเขา จึงพระราชทานแนวพระราชดำริให้จัดตั้ง “โครงการ พระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่ น และทำไร่เลื่อนลอย โดยส่ งเสริมให้หันมาปลูกพืชผักผลไม้ทดแทน หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นท้อ ลิ้นจี่ แอปเปิ้ ล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ เป็นต้น
\"ต้นน้ำ\" คือ การผลิตพืชผลที่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน และต้องมี ประสิ ทธิภาพที่ดีในการผลิตด้วยเช่นกัน บ้านเมืองเราได้ชื่อว่าสุวรรณภูมิ เพราะเปรียบเสมือนแผ่นดินทองคำที่ปลูกอะไรก็ขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อได้เปรียบของ ประเทศเราอยู่แล้ว \"กลางน้ำ\" คือการรู้จักสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสิ นค้า ขั้นตอนนี้นับเป็นจุดอ่อน ของคนไทยมากที่สุด เพราะปัจจุบันคนไทยมักเน้นการผลิตจำนวนมาก เน้นปริมาณให้เยอะ ขายราคาถูก และเน้นส่ งออก เมื่อเกิดการแข่งขันหรือราคา พืชผลตกต่ำตามฤดูกาลจึงทำให้เกิดปัญหา หรือในขณะที่เงินไหลเข้าประเทศไทย ก็ทำให้ค่าเงินบาทแข็งและทำให้เราขาดทุนเพิ่มมากขึ้นและแน่นอนว่าการสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับสิ นค้าได้นั้น เราจำเป็นต้องมีโครงการที่สามารถช่วยเหลือด้าน การรับซื้ อพืชผลในราคาเป็นธรรม แล้วนำไปแปรรูปต่อได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งสหกรณ์ชาวเขา และโรงงาน หลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกขึ้น เพื่อรองรับด้านการซื้ อผลผลิตจากพืช ในโครงการในราคาที่เป็นธรรม และนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายใต้ แบรนด์ “ดอยคำ” เพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลผลิตทางการเกษตร รวมถึงการจัดหา ช่องทางกระจายสิ นค้าสู่ ตลาดระดับประเทศ โดยมีคำขวัญว่า “โรงงานหลวงฯ เพื่อปวงชน” ที่ถูกออกแบบตามภูมิสั งคมให้กลมกลืนและสอดคล้องกับวิถีชีวิต ในแต่ละพื้นที่เพื่อช่วยเหลือและส่ งเสริมด้านเกษตรกรรม รวมทั้งยังพัฒนาความ เป็นอยู่ของชุมชน และรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อความอยู่ดีกินดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ. 2537 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์ อาหาร จำกัด (Doi Kham Food Products Co.,Ltd.) เพื่อรองรับ ผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวง อาหารสำเร็จรูปทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย อ.เต่างอย จ.สกลนคร และโรงงานแห่งใหม่ที่กำลังจะเปิดในปี 2561 ที่อ.ละหานทราย จ.บุรีรัมย์
โครงการชั่งหัวมัน เมื่อ ปี พ.ศ.2551 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้ อที่ดินจาก ราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสื อ ประมาณ 120 ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ.2552 ทรงซื้ อแปลงติดกันเพิ่มอีก 130 ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด 250 ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี และพื้นที่ใกล้ เคียงมาปลูกไว้ที่นี่ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ.2552 เป็นต้นมา และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมัน ที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”
โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ เป้าหมายต้องการให้เป็น ศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์ พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูก แล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วม ดูแลด้วยกัน เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด คุณดิสธรฯ บอกว่า โครงการชั่วหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายาม เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยคาดว่าอนาคตจะเป็นแหล่งเรียนรู้ ให้กับประชาชนโดยทั่วไปได้เข้าชม ที่ตั้งของโครงการอยู่ที่ บ้านหนองคอกไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก กะเพรา โหระพา มะนาวแป้น ผักชี ผลไม้ ได้แก่ สั บปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ อัอยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันเทศ ออสเตรเลีย มันต่อเผือก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียว พันธุ์ชิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวหอม ข้าวจ้างพันธุ์ลีซอ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่เพชร
โครงการพระดาบส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระราชหฤทัยอย่างลึกซึ้งถึงเหตุที่ทำให้ ราษฎรจำนวนไม่น้อยตกอยู่ในวงจรแห่งทุกข์เข็ญ โดยเฉพาะผู้ยากไร้ ขาดโอกาสเล่าเรียน ไม่มีอาชีพ ไม่สามารถเลี้ยงตนเองได้ ทรงมุ่งมั่นที่จะแก้ไข ปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรเสมอมา พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ เลขาธิการคนแรกของมูลนิธิพระดาบส ถ่ายทอดพระราชกระแสพระราชทาน ในเรื่องนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ความตอนหนึ่งว่า “…ขณะนี้ ยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่มีความตั้งใจจริง มีศรัทธา ขวนขวายหาความรู้เป็นวิชาชีพใส่ ตน แต่ประสบปัญหา ไม่มีความรู้พื้นฐาน และไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาวิชาชีพ ระดับต่างๆ ได้ หากมีช่องทางช่วยเหลือบุคคลเหล่านี้ ให้มีความรู้ วิชาชีพ ที่เขาปรารถนา ย่อมจะเป็นประโยชน์ต่อสั งคมและประเทศชาติได้…”
ด้วยความใส่ พระราชหฤทัยอย่างจริงจังในการพระราชทานโอกาส ครั้งที่สองของชีวิตในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ จึงทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างโครงการจัดตั้งโรงเรียน วิชาช่างประกอบด้วย หม่อมหลวงจิรายุ นพวงศ์ เป็นประธาน ดร. เชาวน์ ณศีลวันต์ คุณหญิง สมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา พล.ต.ต. สุชาติ เผือกสกนธ์ นายขวัญแก้ว วัชโรทัยและนายพูนเพิ่ม ไกร ฤกษ์ เป็นกรรมการ โดยให้จัดตั้งในรูปแบบ โรงเรียนช่างแบบนอกระบบ non – formal education หลักสูตรเน้นภาคปฏิบัติ เพื่อให้ผู้ที่ไม่ สามารถเข้าเรียนในระบบปกติมีโอกาสเรียนวิชาช่างในระดับที่ใช้ประกอบ อาชีพได้ ผู้เรียนจบไม่จำเป็นต้องได้รับคุณวุฒิเช่นเดียวกับของรัฐ ขอให้ประกอบอาชีพได้จริงและอบรมให้เป็นคนดีก็เพียงพอแล้ว โรงเรียนช่างแบบนอกระบบนี้ เป็นมิติใหม่นอกระบบการศึกษาปกติของ ประเทศไทยไม่เคยจัดตั้งมาก่อน ในยุคนั้นเอกชนใดจะจัดการให้การศึกษา แก่นักเรียนเกินกว่า ๗ คนขึ้นไปต้องขออนุญาตจัดตั้งเป็นโรงเรียนราษฎร์ ตามพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๙๗ ในความควบคุมของ กระทรวงศึกษาธิการคณะทำงานถวายความเห็นว่าควรจัดตั้งเป็น โรงเรียนอาชีวะ หลักสูตรพิเศษในมูลนิธิอานันทมหิดล ซึ่งเป็นมูลนิธิเพื่อ การศึกษา ชื่อโรงเรียนราชศิลป์ หรืออานันทอุปถัมภ์ หรืออานันทานุสรณ์ เปิดสอนวิชาช่างวิทยุและไฟฟ้า รับนักเรียน มศ.๓ ราว ๒๐ คน แบ่งการ สอนเป็นรอบ รอบละ ๖ – ๗ คน ผู้สมัครเรียนต้องตั้งใจ เต็มใจ สนใจอาชีพอย่างแท้จริงและไม่ต้องเสี ยค่าเล่าเรียน
โครงการอ่าวลึก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระ ราชกระแสให้มีการพัฒนาโรงงานสกัดปาล์มน้ำมันขนาดเล็กที่ใช้เงิน ลงทุนต่ำ เพื่อส่ งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันรายย่อย มีโอกาสรวมกลุ่มก่อสร้างโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มดิบจำหน่าย ดังนั้น สหกรณ์นิคมอ่าวลึก จึงได้จัดทำโครงการโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดเล็ก อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ที่ อ.ปลายพระยา โดยได้ผลิตน้ำมันไบโอ ดีเซลเพื่อพลังงานทดแทน โดยใช้น้ำมันปาล์มดิบที่ใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบ ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล เพื่อให้ได้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิด ประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นการพัฒนา ที่ยั่งยืน
เป็นพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี 2530 ที่ทรงห่วงใยที่เกษตรกรในจังหวัดกระบี่ พากันทิ้งอาชีพทำนาข้าว หันมาปลูกปาล์มเป็นหลัก หากแหล่งปลูกข้าวในส่ วนอื่นของประเทศ เกิดปัญหาจะทำให้ชาวกระบี่ไม่มีข้าวบริโภค จึงทรงมีพระราชดำริ ให้เกษตรกรทำนาปลูกข้าวเพื่อบริโภคกันเองในสหกรณ์นิคม โดยให้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมส่ งเสริม สหกรณ์ กรมการปกครอง และกรมส่ งเสริมการเกษตร เพื่อสร้างระบบ ชลประทาน สร้างอ่างเก็บน้ำ ส่ งเสริมการปลูกข้าว และ สร้างโรงสี ข้าว ขนาดเล็กแบบครบวงจร ที่อำเภอปลายพระยา ซึ่งโรงสี ดังกล่าวมี เครื่องสี ข้าวขนาด 4.75 แรงม้า กำลังผลิต 200 กิโลกรัมข้าวเปลือก ต่อชั่วโมง 1 เครื่อง และ เครื่องสี ข้าวขนาด 10 แรงม้า กำลังผลิต 500 กิโลกรัมข้าวเปลือกต่อชั่วโมงอีก 1 เครื่อง ซึ่งในปีที่ผ่านมา จังหวัดกระบี่มีพื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มขึ้น โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกคือ พันธุ์ข้าวไร่ พันธุ์ดอกพะยอม และพันธุ์ดอกข่า “...ข้าวต้องปลูก เพราะอีก ๒๐ ปี ประชากรอาจจะ ๘๐ ล้านคน ข้าวจะไม่ พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อยๆ ข้าวจะไม่พอ เราต้องซื้ อข้าวจากต่าง ประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าว ที่ปลูกในเมืองไทย จะสู้ ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก...” พระราชดํารัส พระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสเสด็จ พระราชดําเนิน ทอดพระเนตร โครงการโคกกูแว จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. ๒๕๓๖
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริ จัดตั้งโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ให้พ้นจากวิกฤตความ เสื่ อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิด ปัญหา 4 น้ำ (น้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำเค็ม น้ำเสี ย) 3 รส (เปรี้ยว เค็ม จืด)
แรกเริ่มโครงการได้มีการก่อสร้าง \"ประตูระบายน้ำอุทก วิภาชประสิ ทธิ\" เพื่อกั้นระหว่างน้ำทะเลและแม่น้ำปากพนัง เพื่อไม่ให้น้ำทะเลรุกล้ำเข้ามายังน้ำจืด และกักเก็บน้ำไว้ใช้ใน หน้าแล้ง มีการขุดลอกคูคลองต่างๆให้น้ำไหลเวียนสะดวก เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสี ย มีการสร้างประตูระบายน้ำฉุกเฉิน ใช้งานร่วมกับการบริหารจัดการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ อุทกวิภาชประสิ ทธิ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในฤดูฝน และมีการแบ่งพื้นที่เกษตรกรรมตามลักษณะของน้ำ โดยมีภาครัฐคอยให้คำแนะนำ ผลจากการดำเนินการเหล่านี้ ทำให้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ในหน้าแล้ง น้ำท่วมในฤดูฝน ปัญหาการรุกล้ำของน้ำทะเล ปัญหาน้ำกร่อย ปัญหาน้ำเสี ยที่เกิดจากการทำนากุ้ง รวมถึงความขัดแย้งจากการใช้ที่ดินของเกษตรกรคลี่คลาย ลง ปริมาณผลผลิตในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ส่ งผลให้มีชีวิตความ เป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ สมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับคืนมา
เพราะการอ่านสำคัญ ห้องสมุดประชาชน เมืองสามลำห้วย อำเภอชำนิ สกร.อำเภอชำนิ
Search
Read the Text Version
- 1 - 28
Pages: