Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore วัจนภาษาและอวัจนภาษา

วัจนภาษาและอวัจนภาษา

Description: วัจนภาษาและอวัจนภาษา

Search

Read the Text Version

วัจนภาษา และ อวัจนภาษา จัดทำโดย บุษบา เสี้ยวภูเขียว



ก คำนำ Introduction หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรือ่ งวัจนภาษาและ อวัจนภาษาเล่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสารการศึกษา และการเรียนรู้ (ED13201) เป็นหนังสือหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ วัจนภาษาและ อวัจนภาษา โดยผู้จัดทำได้ทำการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ ความหมาย ลักษณะ การใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษา รวมถึงมีแบบฝึกหัดเพื่อให้ผู้อ่านได้ทดสอบความรู้ ของตนเอง ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เล่มนี้ จะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจศึกษา เกี่ยวกับวัจนภาษาและอวัจนภาษา ได้เป็นอย่างดี บุษบา เสี้ยวภูเขียว ผู้จัดทำ 12 กุมภาพันธ์ 2566



ข สารบัญ Contents คำนำ......................................................................................ก สารบัญ..................................................................................ข ความหมายของภาษา..................................................1 ความหมายของวัจนภาษา.......................................2 ภาษาพูด....................................................................3 ภาษาเขียน..............................................................4 การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร..........................5 ความชัดเจนและถูกต้อง..............................5 ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา.........6 สรุปวัจนภาษา.................................................................7



ค สารบัญ (ต่อ) Contents ความหมายของอวัจนภาษา...............................8 การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา.......................9 ประเภทของอวัจนภาษา..................................10 สรุปอวัจนภาษา......................................................14 ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษา และอวัจนภาษา......................................................15 แบบฝึกหัด..................................................................18 เฉลยแบบฝึกหัด....................................................22 อ้างอิง............................................................................24 ประวัติผู้จัดทำ..........................................................25

1 ภาษาคืออะไร? ภาษา คือ สัญลักษณ์ ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครือ่ งมือที่สำคัญ ที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ช่วยสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน ช่วยสร้างความสัมพันธ์ ของคนในสังคม ถ้าคนในสังคมพูดกันด้วยถ้อยคำที่ดี จะช่วยให้คนในสังคมอยู่กันอย่างปกติสุข ถ้าพูดกันด้วยถ้อยคำไม่ดี จะทำให้เกิดความบาดหมางน้ำใจกัน ภาษาจึงมีส่วนช่วยสร้างมนุษยสัมพันธ์ ของคนในสังคม ภาษาเป็นสมบัติของสังคม ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร มี ๒ ประเภท คือ วัจนภาษาและอวัจนภาษา

2 วัจนภาษา ข้อควรจำ : คำพูด, ตัวอักษร วัจนภาษา หมายถึง ภาษาถ้อยคำ ได้แก่ คำพูดหรือตัวอักษร ที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์ อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้น อย่างมีระบบ มีหลักเกณฑ์ทางภาษา หรือไวยากรณ์ ซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจนถูกต้อง ตามหลักภาษา และความเหมาะสมกับลักษณะ การสื่อสาร ลักษณะงาน เป้ าหมาย สื่อและผู้รับสาร วัจนภาษาแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ภาษาพูด และภาษาเขียน

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 3 1. ภาษาพูด ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมา เป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูด เป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ ส่วนภาษาเขียนเป็นเพียง วิวัฒนาการขั้นหนึ่งของภาษาเท่านั้น มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูด ติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ทั้งในเรือ่ งส่วนตัว สังคม และหน้าที่การงาน ภาษาพูดจึงสามารถสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 4 2. ภาษาเขียน ภาษาเขียนเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครือ่ งหมายแทน เสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ ของการพูด ภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึก ภาษาพูด เป็นตัวแทนของภาษาพูดในโอกาสต่าง ๆ แม้นักภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาเขียนมิใช่ภาษาที่แท้จริง ของมนุษย์ แต่ภาษาเขียนเป็นเครือ่ งมือสำคัญในการสื่อสาร ของมนุษย์ มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ใช้ภาษาเขียนสื่อสาร ทั้งในส่วนตัว สังคมและหน้าที่การงาน ภาษาเขียนสร้างความรัก ความเข้าใจ และช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ ได้มากมายหากมนุษย์รู้จักเลือกใช้ให้เหมาะสมกับบุคคล โอกาส และสถานการณ์

5 การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร 1. ความชัดเจนและถูกต้อง กล่าวคือ ต้องเป็นภาษาที่เข้าใจตรงกัน ทั้งผู้รับสาร และ ผู้ส่งสาร และถูกต้องตามกฎเกณฑ์และเหมาะสมกับวัฒนธรรมในการใช้ภาษาไทย ดังนี้ ๑.๑ ลักษณะของคำ หน้าที่ของคำ ตำแหน่งของคำ และความหมาย ของคำ ซึ่งความหมายของคำมีทั้งความหมายตรง และความหมายแฝง ๑.๒ การเขียนและการออกเสียงคำ ในการเขียนผู้ส่งสารต้องระมัดระวัง เรือ่ งสะกดการันต์ ในการพูดต้องระมัดระวังเรือ่ งการออกเสียง ต้องเขียนและออกเสียงถูกต้อง ๑.๓ การเรียบเรียงประโยค ผู้ส่งสารจำเป็นต้องศึกษาโครงสร้าง ประโยคเพื่อวางตำแหน่งของคำในประโยคให้ถูกต้อง ถูกที่ ไม่สับสน

6 การใช้วัจนภาษาในการสื่อสาร 2. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึง ๒.๑ ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร เหมาะกับเวลาและสถานที่ โอกาส และบุคคล ผู้ส่งสารต้องพิจารณาว่าสื่อสารกับบุคคล กลุ่มบุคคล มวลชน เพราะขนาดของกลุ่มมีผลต่อการเลือกใช้ภาษา ๒.๒ ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานโฆษณา งานประชุม ฯลฯ ๒.๓ ใช้ภาษาให้เหมาะสมกับสื่อ ผู้ส่งสารจะต้องรู้จักความต่างของสื่อ และความต่างของภาษาที่ใช้กับแต่ละสื่อ ใช้ภาษาให้เหมาะสม กับผู้รับสารเป้ าหมาย ผู้รับสารเป้ าหมายได้แก่ กลุ่มผู้รับสารเฉพาะ ที่ผู้ส่งสารคาดหวังไว้ ผู้ส่งสารต้องวิเคราะห์ ผู้รับสาร ที่เป็นเป้ าหมาย ของการสื่อสาร และเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับผู้รับสารนั้น ๆ

7 สรุปวัจนภาษา วัจนภาษา คือ คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำ เป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบซึ่งคนในสังคมต้องเรียนรู้ และใช้ภาษาในการฟัง พูด อ่าน เขียนและคิด การใช้วัจนภาษาในการสื่อสารต้องคำนึงถึงความชัดเจน ถูกต้องตามหลักภาษา ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์ เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำเพื่อสื่อสารกับผู้อื่น นักภาษาศาสตร์ถือว่าภาษาพูดเป็นภาษาที่แท้จริงของมนุษย์ มนุษย์ได้ใช้ภาษาพูดติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นอยู่เสมอ ภาษาพูดจึงสามารถ ช่วยแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมมนุษย์ได้มากมาย ภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูดภาษาเขียนนั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์ ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้บันทึกภาษาพูด

8 อวัจนภาษา ข้อควรจำ : ไม่ใช้ถ้อยคำ, สัญลักษณ์ อวัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ การใช้สัญญาณ และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หรือแสดงออกทางด้านอื่นที่สามารถรับรู้กันได้ สามารถแปลความหมายได้และทำความเข้าใจต่อกันได้

9 การแสดงออกด้วยอวัจนภาษา อวัจนภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มีแหล่งแสดงออกด้วยอากัปกิริยา หรือที่เกิดการแสดงออก ในหลายแหล่งด้วยกัน ได้แก่ สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา มีดังนี้ 1. สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา เกิดขึ้นตามธรรมดาวิสัย เกิดจากอารมณ์ แรงเป็น เช่น การยิ้ม การโบกมือ เครือ่ งเร้า เช่น เวลาที่มีอารมณ์ การส่ายหน้า การปัดเมื่อ โกรธเลือดจะสูบฉีดจนหน้าแดง แมลง ไต่ตอม เป็นต้น มือเกร็ง กำหมัด เป็นต้น 2. สัญลักษณ์แสดงออกที่ร่างกาย เป็นการใช้วัตถุประกอบกับร่างกาย แล้วบ่งบอกความหมาย ได้โดยไม่ได้ แสดงกิริยาอาการ เช่น การแต่ง กาย เครื่องประดับ ทรงผม เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความหมายทั้งสิ้น 3. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม เป็นสิ่งที่บุคคลให้ความ หมายหรือตกลงให้ สิ่งนั้นมีความหมายหนึ่ง ๆ ลักษณะและขนาด ของบ้านเรือนสามารถบอกรสนิยม ฐานะ หรือเชื้อชาติได้ สัญลักษณ์ บางอย่างต้องการให้รู้ทั่วกัน เช่น ลูกศรบอกทาง สี แสง เสียง เป็นต้น 4. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยพฤติกรรมแวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็น วัตถุหรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่างๆเกี่ยวข้องกับเราทำให้เรา ต้องแสดงพฤติกรรมตอบสนอง เช่น การปฏิบัติตามประเพณีต่างๆ

10 ประเภทของอวัจนภาษา 1. สายตา (เนตรภาษา) การแสดงออกทางสายตา เช่น การสบตากันระหว่างผู้ส่งสารและ ผู้รับสารก็มีส่วนช่วยในการตีความหมาย เช่น การสบตา แสดงออกถึงความจริงใจ การรีต่ าแสดงออกถึงความสงสัย ความไม่แน่ใจ ฯลฯ การแสดงออกทางสายตาจะต้องสอดคล้อง กับการแสดงออกทางสีหน้า การแสดงออกทางสีหน้าและสายตา จะช่วยเสริมวัจนภาษาให้มีน้ำหนักยิ่งขึ้น และใช้แทนวัจนภาษาได้อย่างดี

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 11 2. กิริยาท่าทาง (อาการภาษา) การแสดงกิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดย ไม่ต้องใช้คำพูด หรือใช้เสริมคำพูดให้มีน้ำหนักมากขึ้นได้ ได้แก่ กิริยาท่าทาง การเคลือ่ นไหวร่างกายและอากัปกิริยา ท่าทางต่าง ๆ สามารถสื่อความหมายได้มากมาย เช่น การเคลือ่ นไหวมือ การโบกมือ การส่ายหน้า การพยักหน้า การยกไหล่ การยิ้มประกอบ การพูด การยักไหล่ การยักคิ้ว อาการนิ่ง ฯลฯ 3. น้ำเสียง (ปริภาษา) เป็นอวัจนภาษาที่แฝงอยู่ในภาษาพูด ได้แก่ สำเนียงของผู้พูด ระดับเสียงสูงต่ำ การเปล่งเสียง จังหวะการพูด ความดัง ความค่อยของเสียงพูด การตะโกน การกระซิบ น้ำเสียงช่วย บอกอารมณ์ และความรู้สึก นอกจากนี้ยังช่วยแปลความหมาย ของคำพูด เช่น การใช้เสียงเน้นหนักเบา การเว้นจังหวะ การทอดเสียง สิ่งเหล่านี้ทำให้คำพูดเด่นชัดขึ้น การพูดเร็ว ๆ รัว ๆ การพูดที่หยุดเป็นช่วง ๆ แสดงให้เห็นถึงอารมณ์ กลัว หรือตื่นเต้นของผู้พูด เป็นต้น

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 12 4. สิ่งของหรือวัตถุ (วัตถุภาษา) สิ่งของหรือวัตถุต่าง ๆ ที่บุคคลเลือกใช้ เช่น ของใช้ เครือ่ งประดับ เสื้อผ้า กระเป๋ า รองเท้า นาฬิกา ปากกา แว่นตา เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอวัจนภาษาที่สื่อความหมาย ได้ทั้งสิ้น 5. เนื้อที่หรือช่องว่าง (เทศภาษา) ช่องว่างของสถานที่หรือระยะใกล้ไกลที่บุคคลสื่อสารกัน เป็น อวัจนภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจได้ เช่น ระยะห่างของหญิงชาย พระกับสตรี คนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนสองคนนั่งชิดกันบนม้านั่ง ตัวเดียวกัน ย่อมสื่อสารให้เข้าใจได้ว่า ทั้งสองคนมีความสนิท สนมเป็นพิเศษ เป็นต้น

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 13 6. กาลเวลา (กาลภาษา) การสื่อความหมายโดยให้เวลามีบทบาทสำคัญ เวลาแต่ละช่วง มีความหมายในตัว คนแต่ละคน และคนต่างวัฒนธรรม จะมีความคิดและความหมายเกี่ยวกับเวลาแตกต่างกัน เช่น การตรงต่อเวลาวัฒนธรรมตะวันตกถือว่ามีความสำคัญมาก การไม่ตรงต่อเวลานัดหมายเป็นการแสดงความดูถูก เป็นต้น 7. การสัมผัส (สัมผัสภาษา) อวัจนภาษาที่แสดงออกโดยการสัมผ้สเพื่อสื่อความรู้สึก อารมณ์ ความปรารถนาในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร เช่น การจับมือ การแลบลิ้น การลูบศีรษะ การโอบกอด การตบไหล่ ซึ่งสัมพันธ์ กับวัฒนธรรมของแต่ละสังคม เช่นคนไทยถือมิให้เด็กสัมผัส ส่วนหัวของผู้ใหญ่ เป็นต้น

14 สรุปอวัจนภาษา อวัจนภาษา เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษาที่มนุษย์ ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา สัญลักษณ์ ที่แสดงออกด้วย อากัปกิริยา ได้แก่ สัญลักษณ์ ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยา ร่างกาย วัตถุที่แวดล้อม พฤติกรรมแวดล้อม โดยประเภทของ อวัจนภาษา ได้แก่ เนตรภาษา อาการภาษา ปริภาษา วัตถุภาษา เทศภาษา กาลภาษา สัมผัสภาษา

15 ความสัมพันธ์ระหว่าง วัจนภาษาและอวัจนภาษา 1. ใช้ซ้ำกัน การใช้อวัจนภาษาที่มีความหมายเช่นเดียวกันกับวัจนภาษาช่วยให้สื่อความหมาย ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น เพื่อนชวนเราไปดูภาพยนตร์ เราตอบปฏิเสธว่าไม่ไป พร้อมกับส่ายหน้าไปด้วย อาการส่ายหน้าเป็นอวัจนภาษาที่ซ้ำกับคำพูดที่ปฏิเสธ ออกไปนั่นเอง หากเราพูดเบาเพื่อนไม่ได้ยินเสียง แต่เห็นการส่ายหน้าก็สามารถเข้าใจได้ 2. ใช้แทนกัน การใช้อวัจนภาษาทำหน้าที่แทนคำพูดเช่น เพื่อนถามว่า เธอไปเป็นเพื่อนฉันได้ หรือไม่ ผู้ตอบพยักหน้าโดยไม่พูดอะไร ก็สื่อความหมายได้ว่าเป็นการตอบตกลง

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 16 3. ใช้เสริมกัน การใช้อวัจนภาษาเพิ่มหรือเสริมน้ำหนักให้แก่คำพูดเพื่อแสดงอารมณ์ ความรู้สึก หรือแสดงภาพจากตัวอักษรให้จริงจังมากขึ้น เช่น เมื่อเราไปขอความเห็นใจจากใคร สักคน ถ้าลำพังถ้อยคำที่ พูดอย่างเดียวอาจจะแสดงอารมณ์ไม่เต็มที่ แต่ถ้าเราใช้ น้ำเสียงและการแสดงออกบน ใบหน้าและดวงตาประกอบ ก็จะทำให้ผู้รับสาร มีปฏิกิริยาตอบสนองในทางอารมณ์เข้าใจและเห็นใจเรามากขึ้น 4. ใช้เน้นกัน การใช้อวัจนภาษาเน้นบางจุดที่ผู้พูดต้องการจะเน้นประกอบกับวัจนภาษา ซึ่งการเน้นนั้นมีน้ำหนักแตกต่างกัน มีเน้นมาก เน้นพอสมควรหรือเน้นเล็กน้อย เครื่องมือที่ช่วยในการเน้นที่สำคัญ ๆ เช่น การบังคับเสียงให้ดังขึ้นกว่าปกติ การเคลื่อนไหวมือและแขน การเคลื่อนไหวของศีรษะ เป็นต้น

Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat Date : 17 5. ใช้ขัดแย้งกัน การใช้อวัจนภาษาที่สื่อความหมายตรงกันข้ามกับสารในคำพูด เช่น เราได้รับรางวัล มารยาทดีเด่น เพื่อนมากล่าวคำยินดีด้วยแต่สีหน้าไม่ได้ยิ้มแย้มไม่ได้แสดงออกถึง ความยินดีนั้นเลย เช่นนี้แสดงว่าการใช้วัจนภาษาขัดแย้งกับอวัจนภาษา

18 แบบฝึกหัด ตอนที่ 1 คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูก โปรดทำเครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าผิด 1. ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด 2. อวัจนภาษาคือภาษาพูดและภาษาเขียน 3. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น 4. สัญญาณไฟจราจรคือวัจนภาษา 5. การยิ้มทักทายคืออวัจนภาษา 6. อวัจนภาษาเป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูด และภาษาเขียน 7. สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยาคือการปัดเมื่อแมลงไต่ตอม 8. วัตถุภาษาเป็นการใช้ เสื้อผ้า กระเป๋า แหวน กำไล 9. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรา 10. กิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด

19 ตอนที่ 2 คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว 1. ข้อใดคือความหมายของภาษา? ก. คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ข. ภาษาที่มนุษย์ใช้อักษรเป็นเครื่องหมายแทนเสียงพูดในการสื่อสาร ค. สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจระหว่างกันของคนในสังคม ง. คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ภาษาถ้อยคำเป็นภาษาที่มนุษย์สร้างขึ้นอย่างมีระบบ 2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง? ก. วัจนภาษา หมายถึง เป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูดและภาษาเขียน เป็นภาษา ที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน โดยใช้อากัปกิริยา ท่าทาง น้ำเสียง สายตาหรือ ใช้วัตถุ ข. วัจนภาษา หมายถึง คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ค. อวัจนภาษา หมายถึง คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร ง. อวัจนภาษา หมายถึง คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ยกเว้นเสียง และลายลักษณ์อักษร 3. วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง? ก. ภาษาพูดและสัญลักษณ์ ข. สัญลักษณ์และภาษาเขียน ค. ภาษาพูดและการได้ยิน ง. ภาษาพูดและภาษาเขียน

20 4. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง? ก. ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะการสื่อสาร เหมาะกับเวลาและสถานที่ และโอกาส ข. ใช้ภาษาให้เหมาะกับลักษณะงาน ค. ไม่มีข้อถูก ง. ถูกทั้ง ก และ ข 5. ข้อใดไม่ใช่การแสดงออกด้วยอากัปกิริยา? ก. การส่ายหน้า ข. ลูกศรบอกทาง ค. มือเกร็ง ง. โบกมือทักทาย 6. การเคลื่อนไหวร่างกายคืออวัจนภาษาประเภทใด? ก. ปริภาษา ข. เนตรภาษา ค. อาการภาษา ง. เทศภาษา 7. ข้อใดคืออวัจนภาษาประเภทกาลภาษา? ก. การเดินข้ามทางม้าลาย ข. การปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณี ค. นาฬิกาข้อมือ ง. การตรงต่อเวลา

21 8. การลูบศีรษะ การโอบกอด คืออวัจนภาษาประเภทใด ก. กาลภาษา ข. ปริภาษา ค. สัมผัสภาษา ง. เทศภาษา และ ปริภาษา 9. หากเราได้รับรางวัลมารยาทดีเด่น เพื่อนมากล่าวคำยินดีด้วยแต่สีหน้า ไม่ได้ยิ้มแย้มไม่ได้แสดงออกถึงความยินดีนั้นเลย เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาในข้อใด? ก. ใช้ขัดแย้งกัน ข. ใช้ซ้ำกัน ค. ใช้แทนกัน ง. ใช้เสริมกัน 10. หากเพื่อนชวนเราไปซื้อของ เราตอบปฏิเสธว่าไม่ไปพร้อมกับส่ายหน้าไป ด้วย เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาในข้อใด? ก. ใช้ขัดแย้งกัน ข. ใช้ซ้ำกัน ค. ใช้แทนกัน ง. ใช้เสริมกัน

22 เฉลยแบบฝึ กหั ด ตอนที่ 1 คำชี้แจง โปรดทำเครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าถูก โปรดทำเครื่องหมาย หน้าข้อความที่เห็นว่าผิด 1. ภาษาเขียนเป็นสัญลักษณ์ของการพูด 2. อวัจนภาษาคือภาษาพูดและภาษาเขียน 3. ภาษาพูด ภาษาพูดเป็นภาษาที่มนุษย์เปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ เพื่อสื่อสารกับผู้อื่น 4. สัญญาณไฟจราจรคือวัจนภาษา 5. การยิ้มทักทายคืออวัจนภาษา 6. อวัจนภาษาเป็นการสื่อสารโดยไม่ใช้ถ้อยคำ ทั้งที่เป็นภาษาพูด และภาษาเขียน 7. สัญลักษณ์ที่แสดงออกด้วยอากัปกิริยาคือการปัดเมื่อแมลงไต่ตอม 8. วัตถุภาษาเป็นการใช้ เสื้อผ้า กระเป๋า แหวน กำไล 9. สัญลักษณ์แสดงออกด้วยวัตถุที่แวดล้อม ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นวัตถุ หรือคนที่แวดล้อมที่แสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับเรา 10. กิริยาท่าทางของบุคคล สามารถสื่อความหมายได้โดยไม่ต้องใช้คำพูด คะแนน : 10/10

เฉลยแบบฝึ กหั ด 23 (ต่ อ) 1. ข้อใดคือความหมายของภาษา? ตอบ : ค. สัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อความเข้าใจ ระหว่างกันของคนในสังคม 2. ข้อใดกล่าวถูกต้อง? ตอบ : ข. วัจนภาษา หมายถึง คำพูดหรือตัวอักษรที่กำหนดใช้ร่วมกันในสังคม ซึ่งหมายรวมทั้งเสียง และลายลักษณ์อักษร 3. วัจนภาษาแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่อะไรบ้าง? ตอบ : ง. ภาษาพูดและภาษาเขียน 4. ความเหมาะสมกับบริบทของภาษา เพื่อให้การสื่อสารบรรลุเป้าหมาย ผู้ส่งสารต้คำนึงถึงสิ่งใดบ้าง? ตอบ : ง. ถูกทั้ง ก และ ข 5. ข้อใดไม่ใช่การแสดงออกด้วยอากัปกิริยา? ตอบ : ข. ลูกศรบอกทาง 6. การเคลื่อนไหวร่างกายคืออวัจนภาษาประเภทใด? ตอบ : ค. อาการภาษา 7. ข้อใดคืออวัจนภาษาประเภทกาลภาษา? ตอบ : ง. การตรงต่อเวลา 8. การลูบศีรษะ การโอบกอด คืออวัจนภาษาประเภทใด ตอบ : ค. สัมผัสภาษา 9. หากเราได้รับรางวัลมารยาทดีเด่น เพื่อนมากล่าวคำยินดีด้วยแต่สีหน้าไม่ได้ยิ้มแย้มไม่ได้แสดงออก ถึงความยินดีนั้นเลย เป็นการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาในข้อใด? ตอบ : ก. ใช้ขัดแย้งกัน 10. หากเพื่อนชวนเราไปซื้อของ เราตอบปฏิเสธว่าไม่ไปพร้อมกับส่ายหน้าไปด้วย เป็นการแสดงความ สัมพันธ์ ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาในข้อใด? ตอบ : ข. ใช้ซ้ำกัน

24 อ้างอิง Reference ทักษะการสื่อสารของมนุษย์. (2564). อวัจนภาษา. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก. https://sites.google.com/site/11sirithippa/xwac- npha-sa ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2564). วัจนภาษาและอวัจนภาษา. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566, จาก. http://www.digitalschool.club/digit alschool/m1/th1_1/lesson3/content1/content02 .php.

ประวัติผู้จัดทำ 25 นางสาวบุษบา เสี้ยวภูเขียว โปรไฟล์ ชื่อเล่น : จาว นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ เกิด : 23 พฤษภาคม 2545 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี CONTACT ที่อยู่ [email protected] บ้านเลขที่ 134 หมู่ที่ 4 บ้านวังไห 0916621105 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังสะพุง Facebook : Jaw Budsaba จังหวัดเลย รหัสไปรษณีย์ 42130 หมายเลขโทรศัพท์ 091-6621105 Marketing ข้อดี/ข้อเสียของตนเอง ข้อดี เป็นคนที่มีความอดทนสูง สามารถจัดการกับปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ชอบความเงียบสงบ ข้อเสีย ตื่นสาย ผัดวันประกันพรุ่งในการทำงาน จัดระเบียบในชีวิตประจำวันได้ไม่ดีเท่าที่ควร

มรดกปัญญา รู้รักษ์ภาษา คุณค่าของไทย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook