Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Academic Journal of Thailand National Sports University Vol.14 No.3

Academic Journal of Thailand National Sports University Vol.14 No.3

Published by library dpe, 2022-09-22 01:54:27

Description: Academic Journal of Thailand National Sports University Vol.14 No.3

Search

Read the Text Version

บทนำ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ซ่ึงส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนท่ัวโลก เศรษฐกิจตกต่ำ มีผู้ติดเช้ือและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก การดำเนินชีวิต ประจำวันจำเป็นต้องปรับเปล่ียนไปเพ่ือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว โดยการใช้ชีวิตรูปแบบ ใหม่ (new normal) การเว้นระยะห่างทางสังคม (social distancing) การทำงานอยู่ท่ีบ้าน (work from home) การสวมใส่หน้ากาก และการล้างมือบ่อย ๆ เป็นมาตรการหลักท่ีนำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นอย่างมากเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างย่ิงในภาคการท่องเที่ยว ซึ่งถือว่าเป็นภาคท่ีสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก การที่ นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศได้ ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไม่ขยายตัวและตกต่ำอีกด้วย นอกจากผลกระทบในด้านของเศรษฐกจิ แล้ว ในด้านของการศึกษาก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกนั แต่ประเทศไทย ได้รับคำชน่ื ชมจากนานาประเทศ ว่าเป็นประเทศที่สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ได้อย่างดีเย่ียมเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก มาตรการหน่ึงท่ีประเทศไทยได้นำมาใช้ คือ การใช้ การจดั การเรยี นการสอนแบบออนไลน์ (Online) แทนการสอนในโรงเรียนและสถาบนั การศึกษาตา่ ง ๆ ท้ังของ ภาครัฐและเอกชน แทนการเรียนการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องอยู่ในห้องเรียนรวมกัน ท้ังนี้มีจุดประสงค์เพ่ือให้ การเรียนการสอนยังคงดำเนนิ ตอ่ ไปได้อย่างต่อเน่ือง และเปน็ การปอ้ งกนั การแพรเ่ ช้อื ในสถานศึกษา เนื่องจากการปรับเปล่ียนการเรียนการสอนแบบปกติเป็นแบบออนไลน์เกิดข้ึนโดยกะทันหัน ส่งผลให้ ทง้ั ผสู้ อนและผูเ้ รยี นต้องมีการปรับตวั เพอื่ เรยี นรู้วิธีการทใี่ ช้สำหรบั การเรียนการสอนแบบออนไลน์ เช่น ZOOM, Line, Microsoft Teams และ Google Meet เป็นต้น เพื่อเป็นช่องทางในการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ตลอดจนการปรับเปล่ียนเทคนิคการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับสภาพจริง ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์น้ัน เป็นการยากท่ีจะปฏิเสธได้ว่า เป็นความท้าทายของผู้สอนและผู้เรียนในการท่ีจะทำให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาที่ต้องปฏิบัติทักษะหรือพลศึกษา ซ่ึงเมื่อพิจารณาแล้วในการท่ีจะทำให้การจัด การเรียนการสอนพลศกึ ษาบรรลุตามวัตถุประสงค์ท่ีตงั้ ไว้คงเป็นไปได้ยาก เน่ืองจากการเรียนการสอนพลศึกษา ต้องมีการเคลื่อนไหวและเคล่ือนที่นั้น มีลักษณะเฉพาะเจาะจง แตกต่างไปจากการเรียนการสอนที่อยู่ในห้องเรียน กล่าวคือ ผู้เรียนไม่ได้นั่งฟังหรือทำกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมส่วนใหญ่ผ้เู รียนต้องมีการเคลื่อนที่อยู่ในสนาม ซ่ึงมีลักษณะแตกต่างกันออกไป (Salee Supaporn, 2007) บทความนี้มวี ัตถุประสงค์ท่ีจะแสดงใหเ้ ห็นถึงข้อจำกัด ปัญหา และอุปสรรคในการจดั การเรยี นการสอน พลศึกษาออนไลน์ รวมไปถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้การเรียนการสอนพลศึกษาได้ดำเนินต่อไปได้ ภายใตส้ ถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โคโรนา 2019 (COVID - 19) ซ่ึงการที่จะทำให้การเรียน การสอนพลศึกษาออนไลน์บรรลุตามวัตถุประสงค์น้ัน ผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับการ เรยี นการสอนออนไลน์เป็นสง่ิ สำคญั ประการแรก รปู แบบการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning) เม่ือต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่ทำให้ผู้สอนและผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์กันน้อยลง การจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนรูปแบบปกติ (face to face) ไม่สามารถกระทำได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปล่ียนรปู แบบการจัด การเรียนการสอนให้มีความเหมาะสม ซ่ึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ถือเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งท่ีจะ ทำให้เกิดการเรียนรู้และสามารถดำเนินการต่อไปได้อย่างต่อเน่ือง และการมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้สอนกับ ผู้เรียนยังคงต้องคำนึงถึง เพราะจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้เพ่ือนำไปสู่การพัฒนาและยังส่งผลให้การเรียนรู้

มีคุณภาพ (Hussin, Shukor & Shukor, 2019) ซ่ึงในปัจจุบันรูปแบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์มีด้วยกัน หลากหลายวิธี ดังนี้ 1. รูปแบบออนไลน์ทั้งระบบ (Fully Online) เป็นแบบนำชั้นเรียนที่มีผู้สอนและผู้เรียนในห้องเรียน ร่วมกนั เขา้ มาอยใู่ นระบบอนิ เทอรเ์ นต็ จงึ เน้นการเรียนร้แู ละสอ่ื สารแบบประสานเวลา (Synchronous) 2. รูปแบบท่ีให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างอิสระตามความก้าวหน้าของผู้เรียนเอง (Self - Pace e - Learning) ผเู้ รียนเรียนร้ดู ้วยตนเองโดยใช้ชดุ สื่อการสอน โดยท่ีผ้เู รียนสามารถเลอื กบทเรยี นได้ตามความสะดวกของตนเอง และส่ือสารกับผู้สอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) โดยใช้จดหมาย อเิ ลก็ ทรอนิกส์ และ Text Chat 3. รูปแบบที่ใช้การผสมผสานกับห้องเรียน (Blended Learning) เป็นการผสมผสานแบบออนไลน์กับ การสอนแบบทผี่ ูส้ อนและผเู้ รียนอยู่ในหอ้ งเรียนเข้าด้วยกัน 4. รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative e - learning) ใช้วิธีการเรียนรู้ร่วมกันเข้ามาผสมผสาน ในการเรยี น ในปัจจุบันมักจะใช้คำว่าอีเลิร์นนิง (e - learning) กับการเรียนการสอนหรือการอบรมต่าง ๆ โดยใช้ เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการส่งต่อหรือถ่ายทอดเน้ือหา ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า ในลักษณะออนไลน์หรือจากแผ่นซีดี - รอมก็ได้ นอกจากน้ีเนื้อหาต่าง ๆ ของอีเลิร์นนิงยังสามารถนำเสนอโดยใช้ เทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และการใช้เทคโนโลยีในเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology) (Piya Laihlikphan, 2020) สำหรับข้อดีของการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ผู้สอนและผู้เรียนสามารถทำกิจกรรม การเรียนการสอนได้ทุกท่ีทุกเวลา ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปในสถานที่เดียวกัน และยังเป็นการเปิดโอกาส ให้ผู้เรียนท่ีอยู่ห่างไกล ตลอดจนผู้ที่ไม่สามารถเรียนในเวลาปกติสามารถเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมเพ่ือป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ก็สามารถทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนไม่ แตกต่างจากรูปแบบการเรียนการสอนในชั้นเรยี นปกติ (Suwat Bunlue, 2017) การสอนพลศกึ ษาแบบออนไลน์ (Online Physical Education Teaching) จากการแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) เป็นสาเหตุทำให้เกิดความท้าทาย ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับสถาบันการศึกษาและการจัดการศึกษาทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างย่ิงการจัดการเรียน การสอนพลศึกษา ต้องเผชิญกับปัญหาท่ีหนักหน่วงกว่าการจัดการเรียนการสอนในสาขาหรือในรายวิชาอื่น ๆ ซ่ึงโดยปกติแล้วผู้สอนและผู้เรียนจะต้องอยู่ในห้องเรียนหรือสถานท่ีเดียวกัน (face to fact) แต่ในสถานการณ์ เช่นน้ีไม่สามารถกระทำได้ ทั้งน้ี เพ่ือเป็นการป้องกันและหยุดการแพร่กระจายของเช้ือโรค การใช้รูปแบบการสอน แบบออนไลน์ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่จะทำให้การจัดการเรียนการสอนพลศึกษาได้ดำเนินต่อไปได้ และยังเป็น การตอบสนองมาตรการของภาครัฐเพื่อให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนปลอดภัยจากเชื้อโรคดังกล่าว ดังน้ัน ผู้สอนจึง จำเป็นต้องทำความเข้าใจถึงสภาพและสิ่งแวดล้อมที่เปล่ียนแปลงไป และสามารถจัดการเรียนการสอนพลศึกษาให้ บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการสอนให้มากที่สุดตามความจำเป็นเท่าท่ีจะกระทำได้ ซึ่งการเรียนการสอนพลศึกษาท่ี จะประสบความสำเร็จมปี ระสิทธิภาพและเกิดประสทิ ธิผลน้ัน ผู้สอนจะต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ ให้ชัดเจน ควบคู่ไปกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีสอนท่ีสอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชานั้น ๆ และนำเอาความรู้วชิ าที่เกยี่ วกับการเรยี นการสอนในส่วนของแขนงวิชาพลศกึ ษาท่ีมีความสมั พันธ์กนั นำมาผสมผสาน ให้เข้ากันและสอดคล้องกลมกลืนกัน แล้วนำมาจัดการเรียนรู้ภายใต้หัวข้อเดียวกัน โดยเน้นในภาพรวมของเน้ือหา ท่ีเรยี นรู้ท้ังภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ (Phong - ek Suksai, 2018) วิธีการสอนพลศึกษาเป็นกระบวนการท่ีจะ ทำใหผ้ ู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ ซ่ึงมีวิธกี ารสอนที่หลากหลายและแตกตา่ งกนั ในการฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ ในขณะท่ี

ทำการสอนครูผู้สอนจะต้องเปล่ียนบทบาทใหม่จากเคยเป็นผู้สอนหรือผู้ให้ความรู้มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) มาเป็นผู้แนะแนวทาง (Guide / Coach) และเป็นผู้ร่วมเรียน / ผู้ร่วมศึกษา (Co - Learning / Co - Investigator) โดยนำคุณลักษณะของครูในศตวรรษท่ี 21 และทักษะที่จำเป็นสำหรับครูในอนาคตมาใช้มาพัฒนา ตนเองเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการจดั การเรียนการสอนพลศึกษาใหเ้ กิดประสิทธภิ าพกับผเู้ รียน การเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์เป็นวิธีการถ่ายทอดเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอ และการใช้ส่ือหลาย ๆ ประเภท (multimedia) (Alibak, Talebi, & Neshatdoost, 2019) ร่วมกับการสนทนาและเปล่ียนความคิดเห็น ผ่านช่องทางการเรียนการสอน ได้แก่ Google classroom, Zoom meeting, Line, Meet, Hangout, Facebook, You Tube และอ่ืน ๆ ซ่ึงผู้เรียนสามารถเข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้การนำรูปแบบ การสอนพลศึกษาแบบปกติ (face to face) 5 ข้ันตอน คือ ข้ันเตรียมหรือการนำเขา้ สู่บทเรียน (Introductory phase) ข้ันการสอน (Teaching skill phase) ข้นั การฝกึ ปฏิบตั ิ (Practice phase) ขั้นการนำไปใช้ (Skill laboratory phase) และข้ันสรุปและสุขปฏิบัติ (Closing phase) มาเป็นรูปแบบหลักแล้วนำเสนอในรูปแบบการสอนออนไลน์ และการเลือกใช้รูปแบบการสอนท่ีเหมาะสมสอดคล้องกับข้ันตอนการสอนพลศึกษา จะทำให้สามารถพัฒนา การเรียนการสอนและทำให้ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนสูงขึ้น (Suppawan Vongsrangsap, Theeranan Tanphanich, Thitikamolsiri Lapho, Wichanon Poonsri, & Tanawat Chalanon, 2021) รูปแบบการสอนท่ีสามารถนำมาใช้ ในการสอนพลศึกษาออนไลน์ ได้แก่ 1) ข้ันเตรียมหรือขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ใช้วิธีสอนแบบบรรยาย (lecture method) ซ่ึงเป็นวิธที ี่เหมาะสำหรบั การเสนอแนวคิดและเนื้อหาสาระใหม่ ๆ เพราะจะสามารถจัดลำดับขั้นตอนใน การอธิบายเรื่องที่สลับซับซ้อนและมีเนื้อหาวิชามาก และการเรียนรู้ในส่วนที่เกี่ยวกับเน้ือหาสาระที่เก่ียวกับ วิชาการ (Boontip Siritarungsri, 2020) 2) ข้ันการสอน ใช้วิธีสอนแบบอธิบายและสาธิต (explanation and demonstration) เป็นข้ันตอนที่ผู้สอนจะต้องทำให้ผู้เรียนได้รับรู้และเข้าใจภาพรวมของขั้นตอนการปฏิบัติ ทักษะที่ถูกต้อง ได้แก่ ท่าเตรียม การส่งแรง การออกแรงกระทำหรือแรงปะทะ และการผ่อนแรง 3) ข้ันการฝึก ปฏิบัติและขั้นการนำไปใช้หรือขั้นยืนยันความรู้ท่ีได้เรียนไป ใช้วิธีสอนแบบแยกส่วน (part method) โดยฝึก ทักษะที่แยกออกเป็นส่วน ๆ (distributed practice) และเมื่อเห็นว่าผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้ดีในระดับหนึ่ง แล้วจึงใช้วิธีสอนแบบรวม (whole method) โดยมีการฝึกทักษะที่แน่นอน ตายตัว (fixed method) ซ่ึงใน ขัน้ ตอนน้ีผู้สอนสามารถใช้วิธีสอนแบบเพอ่ื นช่วยเพ่ือนมาใช้ควบคู่กันได้ โดยทำการคัดเลือกผ้เู รียนหรืออาสาสมัคร ที่มีความสามารถด้านทักษะมาเป็นผู้ช่วยสอน คอยให้คำแนะนำผู้เรียนคนที่ปฏิบัติทักษะยังไม่ถูกต้อง และ 4) ข้ันสรุปและสุขปฏิบัติ ใช้วิธีสอนแบบส่ือสารสองทางหรือสอนแบบปฏิสัมพันธ์ (two way communication) เพราะเป็นการแลกเปล่ียนความคิดเห็นระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียน ทำให้ได้รับรู้ถึงความเข้าใจ ของผู้เรียนต่อการสอน ตลอดท้ังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ท่ีดีให้เกิดข้ึน ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้สอนและ ผู้เรยี น ซึ่งแนวทางในการจดั การเรียนการสอน พลศึกษาแบบออนไลนส์ ามารถสรุปได้ดงั ตารางท่ี 1 ตารางท่ี 1 แนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศกึ ษาแบบออนไลน์ การสอนพลศกึ ษา (5 ขน้ั ตอน) รูปแบบ/วธิ ีสอนพลศึกษา ขั้นเตรยี มหรอื ข้ันนำเขา้ ส่บู ทเรยี น ข้ันการสอน วธิ ีสอนแบบบรรยาย (lecture method) วิธสี อนแบบอธบิ ายและสาธิต (explanation and ข้ันการฝึกปฏิบตั /ิ ข้ันการนำไปใชห้ รือขัน้ ยืนยนั ความรู้ทไ่ี ด้ demonstration) เรียนไป วิธีสอนแบบแยกสว่ น (part method)/วิธสี อนแบบรวม ขัน้ สรุปและสขุ ปฏิบัติ (whole method) วธิ สี อนแบบส่ือสารสองทางหรือสอนแบบปฏิสมั พนั ธ์ (two way communication)

หลักการของวิธีการสอนและข้ันตอนการสอน คือ เพ่ือสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ซ่ึงวิธีการสอน ท่ีดีมีหลากหลายวิธีด้วยกัน แต่ต้องคำนึงถึงว่าไม่มีวิธีใดเป็นวิธีที่ดีท่ีสุดหรือนำไปใช้แล้วเกิดผลสัมฤทธิ์ได้อย่าง มั่นใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เป็นหลัก ซ่ึงเป็นที่ แน่นอนว่าปัญหาและอุปสรรคจะปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ อย่างไรก็ตามการรับรู้ถึงสภาพปัญหาและอุปสรรคจะทำให้การสอนพลศึกษาแบบออนไลน์นั้นสามารถรองรับ กบั สถานการณ์ท่เี กดิ ข้นึ ในปัจจุบนั ไดเ้ ป็นอยา่ งดี ปญั หา อปุ สรรค และแนวทางการแก้ไขในการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ การสอนแบบออนไลน์น้ันมีข้อดีหลายประการแต่ในขณะเดียวกันปัญหา และอุปสรรคของการสอน แบบออนไลน์ก็มีไม่น้อยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ ซ่ึงปัญหาท่ีสำคัญ คือ ความพร้อมในเร่ืองอุปกรณ์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมที่ใช้ สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความเครียดเน่ืองจากการใช้เทคโนโลยี (Techno - stress) อีกทั้งในการส่ือสารระหว่างกันยังมีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่บ้างเพราะผู้สอนและผู้เรียนอยู่กันคนละท่ี (Monthira Damrongmanee, 2013) ดังน้ัน จึงอาจกลา่ วได้ว่า การเรียนออนไลน์ทั้งแบบออนไลน์ทั้งระบบ และแบบที่ผู้เรียน เรียนได้อย่างอิสระตามความก้าวหน้าของผู้เรียนเองจะส่งผลในทางที่ดีกับการเรียนแบบการให้ข้อมูลทางเดียว เช่น การสอนแบบบรรยาย แต่ไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนในรายวิชาท่ีต้องใช้ทักษะ ความเช่ียวชาญ และประสบการณ์ในด้านวิชาชีพของผู้สอน ซึ่งในรายวิชาดังกล่าวจะต้องเรียนโดยการฝึกการคิด วิเคราะห์ การปฏบิ ัติ จำเปน็ ต้องเรยี นด้วยการลงมือกระทำ (Learning by doing) ซ่งึ ในการสอนพลศึกษาแบบออนไลนก์ ็ เชน่ เดียวกนั มกั ประสบกบั ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ พอสรปุ ได้ดังนี้ 1. ดา้ นผู้สอน (Instructor) ผสู้ อนเป็นบุคคลท่ีมีความสำคัญย่งิ จะตอ้ งมจี ิตวญิ ญาณของการเป็นผู้ให้หรือความเป็นครู ถึงแม้ว่า ในปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อระบบการศึกษาเป็นอย่างมากก็ตาม ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผู้สอนหรือครูยังคงมีบทบาทและความสำคัญต่อผู้เรียน เพราะผู้เรียนเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ มีครอบครัวและสังคม ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีมากมายและหลากหลายก็ไม่ สามารถทดแทนได้ แต่เป็นเพียงเครื่องมือในการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้เท่าน้ัน (Boontip Siritarungsri, 2020) ในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้สอนอย่างมาก เพราะโดย ปกติแล้วผู้สอนกับผู้เรียนต้องอยู่ร่วมกันในชั้นเรียน การท่ีผู้สอนและผู้เรียนอยู่กันคนละที่จึงเป็นการยากท่ีจะให้ คำแนะนำได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ อย่างไรกต็ ามการขจัดปัญหาและลดอุปสรรคต่าง ๆ ท่อี าจจะเกิดข้ึน โดยผู้สอน จะต้องถ่ายทอดเนื้อหา องค์ความรู้ต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์และความเช่ียวชาญ มีส่วนทำให้การสอนพลศึกษาออนไลน์บรรลุวัตถุประสงค์ ซ่ึงบทบาทของผู้สอนเป็นผู้ให้คำแนะนำ (Guide) พ่ีเลี้ยง (Mentor) เป็นผู้ฝึก (Coach) อำนวยความสะดวก (Facilitator) (Belarmino, & Bahle - Lampe, 2019) เพื่อให้ผู้เรียนได้มองเห็นศักยภาพด้านการเรียนรู้ที่มีอยู่ในตัวเอง การพัฒนาด้านสมรรถนะในการเรียน ทักษะปฏบิ ตั ิและวิชาชีพพลศึกษาที่ใช้ในการทำงาน การพัฒนาด้านอารมณ์ และความสามารถในการอยรู่ ว่ มกับ ผ้อู ่นื ในสังคม ดงั น้นั ผสู้ อนควรมีวางแผนในการจัดการเรียนการสอนพลศกึ ษาแบบออนไลน์ตามข้ันตอนดังทีก่ ล่าวมา ตอนต้น เพราะจะให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบร่ืน ซึ่งการเตรียมความพร้อมเก่ียวกับเนื้อหาของรายวิชา จะต้องกระทำให้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด เพราะหากเน้ือหาตอนใดหรือเร่อื งหน่ึงเรื่องใดขาดตกบกพร่องจะส่งผล กระทบต่อผู้เรียนโดยตรงและเป็นการยากที่จะแกไ้ ขหรือเปลี่ยนแปลง ผู้สอนหรือครูพลศึกษาควรได้รับการส่งเสริม และศกึ ษาหาความรู้เก่ียวกับการใช้เทคโนโลยสี ำหรับการสอนอย่างสมำ่ เสมอ เพราะการเรยี นการสอนพลศึกษา

จะต้องใช้การเคลื่อนไหวของร่างกายและการปฏิบัติทักษะท่ีถูกต้อง การนำเสนอด้วยวิดโี อ วีดิทัศน์ภาพเคล่ือนไหว (animations) เพื่อแยกแยะองค์ประกอบและข้ันตอนในการเคล่ือนไหวและการปฏิบตั ิทักษะจะทำให้ผู้เรียนทำ ความเข้าใจได้เป็นอย่างดี (Chunlei, Joe, & Olivia, 2020) การเลือกใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมจะมีส่วนสำคัญ ท่ีทำให้การเรียนการสอนเกิดผลสัมฤทธ์ิ ผู้เรียนมีความสนุกสนาน ปฏิบัติกิจกรรมอย่างกระตือรือร้นด้วยความ อยากที่จะกระทำ นอกจากน้ีการเรียนการสอนท่ีมีความยืดหยุ่นทำให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียน ไม่เคร่งเครียด เพราะการมรี ะเบยี บวินยั กฎเกณฑท์ มี่ ากเกนิ ไปอาจจะทำใหผ้ เู้ รยี นไมร่ ้สู กึ ผอ่ นคลายและเกรงกลัวผสู้ อน 2. ดา้ นผู้เรียน (Student) เปน็ องค์ประกอบที่ทำใหเ้ กิดการเรียนรู้อย่างมีประสทิ ธิภาพ และมีความสำคัญในการเรียนการสอน แบบออนไลน์ (Pelz, 2010) ผู้สอนจะต้องออกแบบและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ควรคำนึงคุณลักษณะของผู้เรียนเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล และความสามารถของ ผู้เรียน ซึ่งการเรียนการสอนในรายวิชาท่ีมีการฝึกปฏิบัติทักษะกีฬาหรือพลศึกษา ระดับความสามารถของ ผู้เรียนแต่ละคนในการเรียนรู้แตกต่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อผู้สอนบ้าง ดังนั้น วางแผนการ สอนท่ีดี การเลือกรูปแบบและวิธีการการสอนท่ีเหมาะสม ตลอดจนการใช้เทคนิคการสอนท่ีถูกต้องจะส่งผลต่อ พัฒนาการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี (Sule, 2020) ซ่ึงในการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์น้ัน ผู้สอนสามารถ ประเมินทักษะปฏิบัติของผู้เรียนผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ แล้วทำการแยกกลุ่มผู้เรียนตามระดับ ความสามารถ และจัดรูปแบบในการฝึกตามระดับความสามารถของผู้เรียน นอกจากน้ีการให้ผู้เรียนชมวิดีโอ เก่ียวกับการฝึกทักษะส้ัน ๆ ในการสอนพลศึกษาออนไลน์มีส่วนช่วยพัฒนาด้านทักษะกลไกและสามารถแก้ไข เทคนิคต่าง ๆ ของผู้เรยี นได้เป็นอยา่ งดี (Tolga, 2021) 3. ส่งิ สนับสนุนการเรียนการสอน (Teaching Facilities) ถอื ว่ามีความสำคญั เป็นอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษา สงิ่ สนับสนุนการเรียนการสอนที่ดจี ะช่วยให้ผู้เรียน สามารถทำความเข้าใจเน้ือหาในขณะที่เรียนได้เป็นอย่างดี สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนท่ีมีความแปลกใหม่ ดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นการเรียนรู้ ซ่ึงปัญหาและอุปสรรคของการสอนแบบออนไลน์ท่ีสำคัญ คอื ความพร้อมในเรื่องอุปกรณ์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมท่ี ใช้สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดความเครียดเนื่องจากการใช้เทคโนโลยี (Techno - stress) อีกทั้งในการส่ือสารระหว่างกันยังมีปัญหาหรืออุปสรรคอยู่บ้างเพราะผู้สอนและผู้เรียนอยู่ กันคนละท่ี (Monthira Damrongmanee, 2013) ดังนั้น เพ่ือให้การสอนออนไลน์ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการสอนพลศึกษา การได้รับการสนับสนุนด้านส่ิงสนับสนุนการเรียนการสอน และการได้รับการฝึกอบรม ด้านเทคนิคการสอนออนไลน์ท่ีถูกต้อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน (Yu, & Jee, 2020) และประสิทธิผลจากการเรียนการสอนทมี่ ปี ระสิทธภิ าพ 4. การวัดและประเมนิ ผล (Measurement and Evaluation) การประเมินผลการเรียนรู้ (learning assessment) เป็นการประเมินการจัดการเรียนรู้เพ่ือให้ได้ ทราบวา่ การจัดการเรยี นการสอนน้ันมคี ณุ ภาพมากน้อยเพียงใด เพ่ือนำไปปรบั ปรุงและพฒั นาการเรยี นการสอน ให้ดีขึ้นต่อไป จึงเป็นการประเมินการปฏิบัติของผู้เรียนและประเมินจากผู้เรียนเป็นหลัก เพ่ือให้การสอนเป็นไป ตามที่ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ไว้ในรายวิชา (Boontip Siritarungsri, 2020) และ ผู้สอนจะป้อนข้อมูลกลับไป (Feedback) สูผ่ ู้เรียนหลังจากมีการประเมิน ในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา แบบออนไลน์ การบรรลุวัตถุประสงค์ของการสอนในรายวิชาต่าง ๆ อาจจะเป็นไปได้ยาก เน่ืองจากผู้เรียน อาจจะไม่มีพร้อมด้านอุปกรณ์และเครื่องอำนวยความสะดวก ผู้สอนควรมีการประเมินโดยการเชื่อมโยงด้าน ทักษะปฏิบัติ ความรู้ ความเข้าใจ และวิชาชีพพลศึกษาเข้าด้วยกัน (Sule, 2020) การวัดและประเมินผลการ

เรียนรู้ในการเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์สามารถกระทำได้ท้ังในระหว่างเรียน (Formative assessment) เช่น การต้ังคำถาม การสังเกตพฤติกรรมผู้เรียน เป็นต้น และภายหลังการจัดการเรียนการสอน (Summative assessment) เช่น การทดสอบด้วยแบบทดสอบต่าง ๆ โดยจะต้องทำการวัดและประเมินผลผู้เรียนท้ัง 5 ด้าน เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เรียน ประสิทธิผลของการเรียน และสะท้อนความสามารถของผู้เรียน สำหรับการวัดและประเมินผลด้านทักษะพิสัยหรือทักษะปฏิบัติ ผู้สอนควรสร้างแบบทดสอบทักษะที่มีความ สอดคล้องกับทักษะนั้น เพ่ือใชใ้ นการประเมินความก้าวหน้าของผู้เรยี น ดังตารางที่ 2 ตารางท่ี 2 การวดั และประเมินผลการเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ (พลศึกษา 5 ดา้ น) จุดมุ่งหมายของการวัดและการ วธิ ีการ/เครือ่ งมอื ระยะเวลา ประเมินผล (พลศึกษา 5 ด้าน) 1. ดา้ นความรู้ - การใช้แบบทดสอบความรทู้ างพลศกึ ษา - ระหว่างเรยี น - การตั้งคำถาม - ภายหลงั การเรียน 2. ด้านเจตคติ - การสงั เกตพฤติกรรมผูเ้ รยี น 3. ด้านทกั ษะ - แบบวัดเจตคตติ ่อรายวิชาพลศกึ ษา - ระหว่างเรยี น 4. ดา้ นสมรรถภาพทางกาย - การสงั เกตพฤติกรรมผเู้ รยี น 5. ด้านคุณลักษณะทพี่ ึงประสงค์ - แบบวดั ทักษะทางพลศกึ ษา - ระหวา่ งเรยี น - การสังเกตการฝกึ ปฏิบัติ - ภายหลงั การเรียน - แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย - ระหว่างเรยี น - การสงั เกตการฝกึ ปฏิบตั ิ - ภายหลงั การเรยี น - แบบวดั คณุ ลักษณะอนั พึงประสงค์ - ระหว่างเรียน - การสงั เกตพฤติกรรมผเู้ รยี น - ภายหลังการเรียน บทสรปุ การแพร่ระบาดของโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ ชวี ิตหรือชีวติ วิถใี หม่ (New Normal) โดยทง้ั ภาครัฐและเอกชนได้มีการปรับตวั ครั้งสำคญั เพื่อให้สามารถดำเนิน ชีวิตได้อย่างเป็นปกติ สำหรับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จำเป็นอย่างยิ่งท่ีจะต้องมีการปรับตัวโดยการออกแบบ การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งมีการวางแผนเพื่อรับมือกับภาวะ ชะงักงันทาง การศึกษา เพ่ือให้การจัดการเรียนการสอนดำเนินไปได้ตามปกติและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ตลอด ชวี ติ การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์จึงเข้ามามบี ทบาททีส่ ำคญั และถกู ใชแ้ ทนรูปแบบการเรียนการสอน แบบปกติหรอื แบบเดมิ ซง่ึ มขี ้อดี คือ ผู้สอนและผเู้ รียนสามารถจัดกิจกรรมการเรยี นการสอนได้ทกุ ทที่ กุ เวลาโดย ไม่มีขอ้ จำกัด แต่ความพร้อมของทงั้ ผู้สอนและผู้เรียนด้านการใช้เทคโนโลยี รวมท้ังความพร้อมของอุปกรณ์และ สิ่งอำนวยความสะดวกยังคงเปน็ อปุ สรรคอยู่บ้าง สำหรับการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ เป็นเรื่องใหม่และเป็นสิ่งที่ท้าทายผู้สอนเป็น อย่างมาก ซึง่ โดยปกติแล้วในเรยี นการสอนพลศึกษาน้ันทั้งผู้เรียนและผสู้ อนจะต้องอยู่ในห้องเรียนร่วมกัน และ ทำการฝึกปฏิบัติทักษะต่าง ๆ โดยผู้สอนจะต้องเป็นผู้คอยแนะนำและแก้ไขข้อผิดพลาดให้แก่ผู้เรียน แต่ใน สภาวการณ์เช่นนี้ไม่สามารถกระทำเช่นน้ันได้ แต่อย่างไรก็ตามการนำเทคโนโลยีท่ีมีความทันสมัยมาใช้เป็นสื่อ ในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์ สามารถทำให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์และหลักการ ทางพลศึกษา โดยผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ ฝึกฝนในการใช้อุปกรณ์ และส่ิงอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นอกจากนี้ประสบการณ์และความเช่ียวชาญของผู้สอนยังเป็นอีกหน่ึงปัจจัยหลักที่จะท ำให้การเรียนการสอน พลศึกษาแบบออนไลน์มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ดังน้ัน การนำรูปแบบการเรียนการสอนพลศึกษา

5 ข้ันตอน มาประยุกต์ใช้เป็นหลักในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน และในแต่ละข้ันตอนได้มีการใช้ รูปแบบการสอนที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับเน้ือหาและวัตถุประสงค์ ด้านการวัดและประเมินผลผู้สอน จำเป็นต้องกระทำท้ังระหว่างและภายหลังการเรียนการสอน โดยการต้ังคำถาม การสังเกต และการใช้แบบทดสอบ ผู้สอนควรตระหนกั ถงึ ปัจจัยสำคัญท่ีทำใหก้ ารเรียนการสอนท้ังแบบปกติและแบบออนไลน์สมั ฤทธผ์ิ ล คือ การมี ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และการช้ีนำให้ผู้เรียนเห็นถึงคุณค่าของพลศึกษาท่ีทำให้เกิดการพัฒนา ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซ่ึงจะทำให้เกิดแรงจูงใจในการเรียนของผู้เรียน นอกจากน้ี การเรียนการสอนพลศึกษาแบบออนไลน์จะถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาภายหลังสิ้นสุดการ ระบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อย่างแนน่ อน References Alibak M., Talebi H., & Neshatdoost H. (2019). Development and validation of a test anxiety inventory for online learning students. Journal of Educators Online 2019, 16(2). Belarmino J. & Bahle - Lampe A. (2019). A Preliminary historical report on embracing online education in occupational therapy. Open Journal of Occupation Therapy (OJOT), 7(3). Boontip Siritarungsri. (2020). The management of online learning and teaching towards the professional standards framework for teaching and supporting learning in higher education. The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1 - 17. Chunlei, L., Joe, B. & Olivia, L. (2020). Teaching physical education teacher education (PETE) online challenges and solutions. Brock Education a Journal of Education Research and Practice, 29(2), 13 - 17. Hussin W., Shukor H., & Shukor N. (2019). Online interaction in social learning environment towards critical thinking skill: A framework. Journal of Technology and Science Education, 9(1), 4 - 12. Monthira Damrongmanee. (2013). Online teaching from procedures and strategies to obstacles and solutions: A case of the lower Mekong initiative project 2012. Journal of Language Teaching and Learning, 28, 76 - 78. Pelz, B. (2010). Three principles of effective online pedagogy. Journal of Asynchronous Learning Networks, 14(1), 103 - 116. Piya Laihlikphan. (2020). Problems and Opportunities of Online Teaching in the COVID - 19. Knowledge Bank at Sripatum University School of Architecture, Bangkok: Sripatum Press. Phong - ek Suksai. (2018). Physical education teacher in the 21st century. FEU Academic Review, 12(Supplement), 8 - 21. Salee Supaporn. (2007). Qualitative Research in Physical Education and Sport. Bangkok: Threelada. Sule, K. (2020). The views of physical education and sports teaching instructors on education in the COVID-19 period. Journal of Education and Learning, 9(6), 196 – 205.

Suppawan Vongsrangsap, Theeranan Tanphanich, Thitikamolsiri Lapho, Wichanon Poonsri, & Tanawat Chalanon. (2021). The development of teaching and learning by using google classroom in physical education course for students of Kasetsart University. Journal of Health, Physical Education and Recreation, 47(2), 166 - 176. Suwat Bunlue. (2017). The suitable model of online learning and teaching for Ubon Ratchathani Rajabhat University. Journal of Roi Et Rajabhat University, 11(1), 150 - 160. Tissana Khemmani. (2009). Teaching Science (10th ed.). Bangkok: Chula Press. Tolga, S. (2021). Self - evaluated teacher effectiveness in physical education and sports during schools closedown and emergency distance learning. International Journal of Curriculum and Instruction, 13(2), 1493 - 1507. Yu J., & Jee Y. (2021). Analysis of online classes in physical education during the COVID - 19 pandemic. Multidisciplinary Digital Publishing Institute (MDPI) Education Science, 11(3). Received: April, 12, 2021 Revised: August, 19, 2021 Accepted: August, 20, 2022

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ได้ดำเนินการจัดทำวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ซึ่งกำหนดจัดทำปีละ 3 ฉบับ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านพลศึกษา การกีฬา การสร้างเสรมิ สุขภาพ วิทยาศาสตร์การกีฬา การบริหารจัดการกฬี า การประกอบธุรกิจทางการกีฬา การศึกษา และสาขาที่เกี่ยวข้อง และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลีย่ นความรู้ เพื่อให้การจัดทำวารสารฯ เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ และวัตถปุ ระสงค์ ทางกองบรรณาธกิ ารจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ของการสง่ บทความใหก้ ับผู้วิจัย และผูส้ นใจ ดังน้ี 1. ประเภทของบทความ 1.1 บทความวิจัย (Research article) เป็นบทความทเี่ รียบเรียงอยา่ งเปน็ ระบบจากงานวิจยั 1.2 บทความวชิ าการ (Academic article) มลี กั ษณะ ดังน้ี 1.2.1 เป็นบทความจากการทบทวนเอกสาร ที่มุ่งถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์หรือความ ชำนาญ แนวคิด ของผูเ้ ขียน หรือขอ้ คน้ พบซ่งึ อาจเป็นผลมาจากงานวจิ ยั หลาย ๆ เร่อื ง มีการเรียบเรยี งนำเสนอ อย่างเปน็ ระเบยี บ 1.2.2 เป็นบทความท่ีนำเสนอกระบวนการสรา้ งและพัฒนานวัตกรรม 2. ส่วนประกอบของบทความ 2.1 ส่วนหน้าของบทความ แยกเป็น ส่วนภาษาไทย และภาษาอังกฤษ แต่ละส่วนความยาวไม่เกิน 1 หนา้ ของกระดาษ A4 ประกอบดว้ ย 2.1.1 ชอื่ บทความ (ไมเ่ กิน 3 บรรทดั ) 2.1.2 ชือ่ ผูเ้ ขยี น (ไม่ใสค่ ำนำหน้า) ช่อื หนว่ ยงาน 2.1.3 บทคัดย่อ (Abstract) ไมเ่ กิน 200 - 300 คำ 2.1.4 คำสำคัญ (Keywords) กำหนดไว้ไม่นอ้ ยกว่า 3 คำ และไม่เกิน 5 คำ 2.1.5 Corresponding author (ผู้รับผดิ ชอบบทความ) 2.2 สว่ นบทความ 2.2.1 บทความวิจัย ประกอบด้วย (1) บทนำ (Introduction) อธิบายถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา รวมถึงการ ทบทวนเอกสารและงานวจิ ยั ที่เก่ยี วข้องอนั เปน็ ทีม่ าของวัตถุประสงค์การวิจยั และสมมตฐิ านของการวิจยั

(2) วธิ ีดำเนินการวจิ ยั (Methods) อธิบายอย่างชัดเจนถงึ รปู แบบการวจิ ัย เคร่ืองมอื และการ หาคุณภาพเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ขั้นตอน/วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูล และ/หรอื วธิ ที ใ่ี ชใ้ นการตรวจสอบความถูกตอ้ งของการรวบรวมขอ้ มูล (3) ผลการวจิ ัย (Results) เสนอผลการเก็บรวบรวมขอ้ มูล ตรงประเด็นตามวัตถุประสงค์ของ การวิจัย ควรมีตารางและ/หรือภาพประกอบ หากมีบรรยายใต้ตารางควรเป็นการชี้ประเด็นที่สนใจหรือหมาย เหตขุ องการแสดงสัญลกั ษณท์ ่ีระบุไวใ้ นตาราง (4) บทสรุป (Conclusion) สรปุ สาระสำคญั ของการค้นพบของการวจิ ัยครงั้ นี้ (5) การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการอธิบายถึงประเด็นผลการวิจัย เพื่อให้ผู้อ่าน มองเห็นชัดเจนว่าผลการวิจัยครั้งนี้เป็นตามที่นำเสนอสมมติฐาน หรือสิ่งที่ค้นพบสอดคล้องมีทฤษฎีและ/หรือ ผลงานวิจัยก่อนหน้านี้สนับสนุนหรือขัดแย้งหรือไม่ พร้อมทั้งอภิปรายผลการวิจัยเพื่อนำเสนอแนวทางนำ ผลการวจิ ยั ไปใชป้ ระโยชน์ (6) กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) เป็นการเขยี นแสดงความขอบคณุ ผู้มีส่วนใน ความสำเร็จ เช่น ผู้มอบทุนวิจัย ผู้สนับสนุนการทำวิจัย หรืออาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งควรเขียนไม่เกิน 3 บรรทดั (7) เอกสารอา้ งอิง (References) ให้ใชห้ ัวขอ้ “References” เปน็ รายการเอกสารที่ถูกเขียน อ้างอิงไว้ในเนื้อหาบทความเท่านั้น โดยยึดรูปแบบการเขียนอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของ APA6 (American Psychological Association Version 6) หากเอกสารอ้างอิงเปน็ ภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษทงั้ หมด 2.2.2 บทความวชิ าการ บทความวิชาการ ประกอบด้วย (1) บทนำ (Introduction) เพ่อื อธบิ ายถึงที่มาและความสำคัญของเร่ืองท่ีนำมาเขยี นบทความ (2) วิธีศึกษาหรือวิธีดำเนินการ (Methods) ที่เป็นการอธิบายถึงการได้มาซึ่งข้อมูลหรือ ความร้หู รอื เรือ่ งราวทน่ี ำเสนอในครง้ั นี้ (3) บทสรปุ (Conclusion) เพื่อบอกถึงประเด็นหรือสาระสำคัญท่ีนำเสนอ โดยการเขียนส่วน เนอ้ื หาของบทความวชิ าการควรจะตอ้ งมกี รอบแนวคิดทางหลักวชิ าการ ท่แี สดงใหเ้ หน็ ความเชื่อมโยงของเหตุท่ี นำไปส่ผู ล นอกจากนี้ในการใช้ภาษาเพื่อนำเสนอเรื่องที่เขียน ควรเรียบเรียงอย่างดีชัดเจน เช่น ลำดับเนื้อหา เชื่อมโยงต่อเนื่อง บรรยายอ้างอิงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ประกอบเรื่องที่เขียน เป็นต้น เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ ความเขา้ ใจ และมองเห็นความสำคัญ

3. รูปแบบการพมิ พ์ 3.1 ต้ังค่าหน้ากระดาษ 3.1.1 จำนวนหน้าของบทความ ไมเ่ กนิ 12 หน้า กระดาษ A4 (8.27” x11.69”) 3.1.2 ตงั้ กนั หน้า ซา้ ย – ขวา – บน – ลา่ ง เทา่ กับ 2.54 เซนติเมตร หรอื 1 น้ิว 3.1.3 ตั้งย่อหนา้ แรก 0.5 นิว้ 3.1.4 แต่ละหัวข้อหลกั เวน้ บรรทดั 10 pt. ส่วนระหวา่ งหวั ข้อหลักและหวั ข้อรองไมเ่ วน้ บรรทัด 3.2 แบบตัวอักษร 3.2.1 ใชอ้ กั ษร TH SarabunPSK ทัง้ บทความภาษาไทยและภาษาองั กฤษ 3.2.2 ชื่อเรื่อง (Title) จัดกลางหน้า ใช้อักษรขนาด 18 ตัวหนา (ภาษาอังกฤษใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ ท้ังหมด) 3.2.3 ชื่อผเู้ ขยี น (Author) ให้เวน้ บรรทดั 1 ชว่ ง (10 pt.) จัดชดิ ขวาใชอ้ ักษรขนาด 16 ตัวหนา - การพิมพ์ชื่อผู้เขียนเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้อักษรตัวแรกพิมพ์ใหญ่ต่อด้วยพิมพ์เล็ก เช่น Sombat Karnjanakit เป็นตน้ - กรณีทีผ่ เู้ ขยี นอยู่หน่วยงาน/สงั กดั เดียวกนั ไมต่ อ้ งพมิ พเ์ ลขยก - กรณที ผ่ี ูเ้ ขียนมากกว่า 1 ท่าน และอยหู่ น่วยงาน/สังกัดต่างกัน ใหพ้ มิ พเ์ ลขยกต่อท้ายนามสกุล ผเู้ ขยี น เชน่ สวรรยา จนั ทูตานนท์1 และชูพงศ์ แสงสวา่ ง2 3.2.4 ชื่อหนว่ ยงาน/สงั กดั ของผเู้ ขยี น จัดพิมพ์ชดิ ขวาบรรทดั ตอ่ มา - กรณที ่ผี เู้ ขยี นอยู่หน่วยงาน/สังกัดเดียวกนั ไมต่ อ้ งพิมพเ์ ลขยก - กรณีผู้เขียนมากกว่า 1 ท่าน และอยู่หน่วยงาน/สังกัดต่างกัน ให้พิมพ์เลขยกด้านหน้า หนว่ ยงานตามลำดบั ผูเ้ ขียน เช่น สวรรยา จันทตู านนท์1 และชพู งศ์ แสงสวา่ ง2 1สำนักงานปองกนั ควบคุมโรคท่ี 12 สงขลา 2ศูนยฝ์ ึกอบรมนักระบาดวิทยาภาคสนาม (FETC) สำนักงานปองกันควบคุมโรคท่ี 12 สงขลา 3.2.5 คำสำคัญ (Keywords) ชื่อหัวข้อ คำสำคญั หรอื Keywords จัดใหอ้ ยู่ชดิ ขอบซ้าย ใช้ ตวั อกั ษรขนาด 16 ตวั หนา ภาษาไทย ใช้สญั ลักษณ์ ; ค่นั ระหวา่ งคำ เช่น คำสำคญั : กีฬา; ชวี กลศาสตร์; กอลฟ์ ภาษาองั กฤษ ใชส้ ญั ลกั ษณ์ , ค่นั ระหว่างคำ เช่น Keywords: Sport, Biomechanics, Golf

3.2.6 ชอ่ื หวั ข้อหลักในบทความ เช่น บทคัดยอ่ บทนำ วธิ ีดำเนนิ การวจิ ัย บรรณานกุ รม กำหนดให้ จดั ชดิ ซา้ ยใช้ขนาดอักษร 16 ตัวหนา 3.2.7 ชื่อหัวเรือ่ งรอง เช่น กลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นต้น จัดชิดซ้ายตรงกับหัวขอ้ หลักไม่เวน้ ช่วงบรรทดั ใชข้ นาดอักษร 16 ตัวหนา 3.3 ชื่อตาราง ใช้ข้อความว่า ตารางที่ “พิมพ์อักษรขนาด 16 ชิดซ้าย ตัวหนา” ส่วนเนื้อหาในตารางใช้ อักษรขนาด 14 หรือขนาดทเ่ี หมาะสม ตารางท่ี 1 ลกั ษณะทางระบาดวิทยาของผู้ติดเช้อื ไวรสั โคโรนา 2019 สายพันธุเบตา จงั หวัดนราธวิ าสและสตลู เดอื นเมษายน-กนั ยายน 2564 (n = 286) ปัจจัย จำนวนทั้งหมด (n = 286) อาการรนุ แรง (n=14) 146 (51.05) 10 (71.43) เพศ ชาย 140 (48.95) 4 (28.57) 61 (21.33) 0 (0.00) หญงิ 199 (69.58) 5 (35.71) 26 (9.09) 9 (64.29) อายุ ‹ 15 ปี 11 (3.85) 4 (28.57) 6 (2.10) 1 (7.14) 15 – 59 ปี 3 (1.05) 2 (14.29) 4 (1.40) 2 (14.29) ≥ 60 ปี 3 (1.05) 2 (14.29) 22 (7.69) 4 (28.57) โรคเรือ้ รัง เบาหวาน 212 (74.13) 8 (57.14) 22 (7.69) 1 (7.14) โรคหัวใจ 52 (18.18) 5 (35.72) 2 (0.70) 0 (0.00) ไตวายเรอ้ื รัง 284 (99.30) 14 (100.00) 280 (97.90) 13 (92.86) โรคปอดเรือ้ รงั 4 (1.40) 1 (7.14) 2 (0.70) 0 (0.00) หลอดเลือดสมอง 3 (11.19) 8 (57.14) 254 (88.81) 6 (42.86) ความดันโลหติ สงู 13 (4.92) 8 (57.14) 251 (95.08) 6 (42.86) BMI ≥ 30 3 วัน (0-10 วนั ) 3 วัน (0-8 วัน) 2 วนั (0-9 วัน) 3 วนั (0-8 วนั ) ‹ 30 ไม่ทราบ ต้งั ครรภ์ ใช่ ไม่ใช่ วัคซนี โควิด 19 ไมไ่ ดร้ ับ 1 เขม็ /2 เขม็ ไม่ถึง 14 วนั 2 เข็ม ไม่เกนิ 14 วัน Favipiravir ไดร้ บั ไมไ่ ดร้ ับ Dexamethaxone ได้รบั ไม่ไดร้ บั วนั พบเชื้อถงึ รับยา Favipiravir (มธั ยฐาน/พสิ ัย) วนั พบเชอ้ื ถงึ รบั ยา Dexamethaxone (มัธยฐาน/พสิ ัย)

3.4 ภาพประกอบ ใชข้ ้อความวา่ “ภาพท”่ี ตามด้วยช่อื ภาพ และทีม่ าของภาพ (ถ้าม)ี ใช้ตวั อกั ษรขนาด 16 ไวก้ ลางหนา้ ของใต้ภาพ โดยเวน้ ชว่ งระหว่างภาพกบั ขอ้ ความใต้ภาพ 10 pt. ภาพท่ี 1 การพัฒนาสว่ นการผสมทางการตลาดด้วยกลยุทธ์ 4P’s + 4C’s + 4E’s Marketing Strategy 4Ps+4Cs+4Es, By Kiattiphong Udomtanateera, 2019, retrieved from https://www.iok2u.com/index.php/article/11-marketing/327-4ps-4cs-4es-marketing-mix- marketing-mix-4ps-4cs-4es 4. การเขียนเอกสารอา้ งอิง การเขียนอ้างอิงเอกสารให้ใช้ตามแนวทางของ The American Psychological Association (APA) 6th Edition โดยเรยี งตามลำดบั ตัวอกั ษร ท้งั นใี้ หผ้ แู้ ตง่ แปลงเอกสารอ้างอิงภาษาไทยใหเ้ ปน็ ภาษาองั กฤษ การเรียงรายชื่อหนังสือหรือวัสดุท่ีพิมพ์ในรายการบรรณานกุ รม ใช้หลักการเดียวกันกับการเรียงคำใน พจนานุกรม ฉบับราชบณั ฑิตยสถาน หรือ dictionary ซึ่งเป็นทีย่ อมรบั กันท่วั ไป ดงั นี้ 1) เรียงตามลำดบั รูปพยญั ชนะ ตัง้ แต่ A - Z 2) กรณีทีไ่ ม่มชี ือ่ ผแู้ ตง่ ให้เรียงตามช่ือเรือ่ งแทน 3) กรณีทผ่ี ้แู ต่งคนเดียวกันแต่มีบรรณานุกรมหลายรายการให้เรยี งตามเลขปีพิมพ์ โดยเรียงเลขปีพิมพ์ คา่ นอ้ ยมากอ่ น 4) กรณีที่ผู้แต่งคนเดียวกันและปีพิมพ์ซ้ำกัน ให้เรียงตามลาดับอักษรของชื่อเรื่อง และกำกับตัวอักษร a b c ท้ายปีพิมพน์ ัน้

5) กรณีที่รายการแรกเป็นชื่อเรื่อง และชื่อเรื่องขึ้นต้นด้วยคำนำหน้านาม (article) คือ a an the ใน การเรียงลำดับให้เว้นคำนำหน้านามนั้น ๆ โดยเรียงตามลำดับของคำถัดไป ในกรณีที่คำนำหน้านามเป็นส่วน หนงึ่ ของชื่อเรอ่ื ง ใหน้ ำมาพิจารณาในการจดั เรียงลำดบั ดว้ ย 6) รายการบรรณานุกรมให้พมิ พช์ ิดขอบซ้าย ถา้ ข้อความมีความยาวเกนิ 1 บรรทัดให้พิมพ์ตอ่ บรรทัดใหม่ โดยย่อหน้าไปประมาณ 0.5 นิ้ว ถ้าไม่จบสามารถพิมพ์ต่อในบรรทัดถัดไปโดยให้ตรงกับบรรทัดที่ 2 จนจบ รายการ โดยรปู แบบน้ันขึน้ อยู่กบั วัสดุท่ีใชอ้ ้างอิงแตล่ ะประเภท อา้ งอิงในเนื้อหา รายการอา้ งอิง หนังสือ สำหรับผูแ้ ต่งชาวต่างชาติ ลงเฉพาะชอื่ สกลุ สำหรับผู้แต่งชาวไทย ลงช่ือ - ชอื่ สกุล ผแู้ ต่ง 1 คน Kelly (1987) believed that experience…. Kelly, J. R. (1987). Freedom to be: A New Sociology of Leisure. New York: MacMillan. ตัวแปรอิสระต้องเป็นมาตรวัดประเภทนามบัญญัติ Kanlaya Vanichbuncha. (2019). Statistics for Research (12nd (Nominal scale) (Kanlaya Vanichbuncha, 2019) ed.). Bangkok: Samlada. ผู้แต่ง 2 คน It was introduced by Mehrabian and Russell Mehrabian, A., and Russell, J. A. (1974). An Approach to (1974), who posited that the environment Environmental Psychology. The MIT Press. contained stimuli…... การแปลความหมายของคะแนนรวมของศักยภาพ Sumatana Klangkarn, & Worapot Phromsattayaprot. (2010). ชมุ ชนในการส่งเสรมิ การออกกำลงั กาย (Sumatana Principle of Health Science Research (6th ed.). Sarakham Klangkarn, & Worapot Phromsattayaprot, Printing 2010) ผูแ้ ตง่ 3 - 5 คน Lofthouse, R., Leat, D., & Towler, C. (2010). Coaching for การอ้างองิ ในเนอ้ื หา teaching and learning: A practical guide for ครั้งแรก ใหใ้ ส่ชือ่ ทกุ คน schools. Reading: CfBT Education Trust. ครง้ั ตอ่ ไป ให้ใสแ่ ค่คนแรก และตอ่ ด้วย et al. For teacher, it often supports experimentation with new classroom strategies. (Lofthouse, Leat, & Towler, 2010) การอา้ งอิงในเนอ้ื หาครั้งตอ่ ไป (Lofthouse et al., 2010)

อา้ งอิงในเนอ้ื หา รายการอ้างอิง ผ้แู ตง่ 6 คนขน้ึ ไป การอา้ งองิ ในเน้อื หา ให้ใสแ่ ค่คนแรก และตอ่ ดว้ ย et al. The Russian Revolution may never have Bulliet, R. W., Crossley, P. K., Headrick, D. R., Hirach, S. W., succeeded if there hadn’ t already been Johnson, L. L., & Northrup, D. (2011). The earth widespread discontent among the Russian and its peoples: A gloval history (5th ed.). Boston, populace (Bulliet et al., 2005) Ma: Wadsworth. งานตพี มิ พห์ ลายคร้งั These techniques have changed markedly Greenspan, A. (2000). Orthopedic radiology: A practical in the last decade (Greenspan, 2000, 2011). approach (3rd ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins. Greenspan, A. (2011). Orthopedic radiology: A practical approach (3rd ed.). Philadelphia, PA: Lippincott Williams & Wilkins. ผแู้ ตง่ เดียวกนั ปพี ิมพ์เดียวกัน Leadership and change in schools have Fullan, M. (1996a). Leadership for change. In International been major topics of discussion for several handbook for education leadership and years (Fullan, 1996a, 1996b) and this administration. New York, NK: Kluwer Academic. conference… “Educational change” has taken on a new Fullan, M. (1996b). The new meaning of educational meaning in recent years (Fullan, 1996b) … change. London, United Kingdom: Cassell. อา้ งอิงมากกวา่ 1 แหล่ง The cyclical process (Carr & Kemmis, 1986; Carr, W., & Kemmis, S. (1986). Becoming critical: Education Dick, 2000; Kemmis & McTaggart, 1988; knowledge and action research. London, United Maclsaac, 1995) suggests… Kingdom: Falmer Press. eBook และ online book Dick, B. (2000). A beginner’s guide to action research. We found helpful information about deaf Retrieved from http://www.scu.edu.au/schools/ children (Niemann, Greenstein, & David, gcm/ar/arp/ guide.html 2004) that meant we could… Kemmis, S., & McTaggart, R. (Eds.). Z1988X. The action research planner (3rd ed.). Melbourne, Australia: Deakin University Press. Niemann, S., Greenstein, D., & David, D. (2004). Helping Children who are deaf: Family and community support for children who do not hear well. Retrieved from http://www.hesperian.org/ publications_download _deaf.php

อา้ งอิงในเนอ้ื หา รายการอ้างอิง วารสาร สำหรับผแู้ ต่งชาวต่างชาติ ลงเฉพาะชื่อสกุล สำหรบั ผแู้ ต่งชาวไทย ลงชอื่ - ชอื่ สกลุ ผู้แต่ง 1 คน การท้างานต้องเป็นพหุภาคีอย่างบูรณาการและ Anucha Muangyai. (2016). Development approach to เป็นเครือข่ายส่งผลให้ชุมชนสามารถจัดการตนเอง enchancing the potential of community and lacal หรอื พัฒนาตนเองใหเ้ ปน็ ชุมชนทเ่ี ขม้ แข็ง (Anucha in the twenty-first century. EAU Heritage Journal Muangyai, 2016) Social Science and Humanities, 6(3), 12-26 ผแู้ ต่ง 2 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 201 คน คน จากการเปิด Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample ตารางเครซี่ และมอร์แกน (Krejcie, & Morgan, size for research activities. Education and 1970) Psychological Measurement, 30(3), 607–610. ผแู้ ต่ง 3 - 5 คน การอ้างอิงในเน้ือหา ครั้งแรก ใหใ้ สช่ ่อื ทกุ คน ครั้งตอ่ ไป ใหใ้ ส่แค่คนแรก และต่อด้วย et al. การฝึกด้วยแรงต้านส่งผลให้ร่างกายของนักกีฬา Sander, A., Keiner, M., Wirth, K., & Schmidtbleicher, D. เกิดการปรับตัวทางสรีรวิทยาและกระบวนการเม (2013). Influence of a 2-year strength training ตาบอลิซึมหลายอย่างพื้นฐานสำคัญของการฝึก programme on power performance in elite youth ด้วยแรงต้านในนักกีฬาเด็กน้ันมปี ระโยชน์ส่งผลให้ soccer players. European Journal of Sport ความแข็งแรงของนักกีฬาเพิ่มมากขึ้น(Sander, Science, 13, 445–451. Keiner, Wirth, & Schmidtbleicher, 2013) การอ้างอิงในเน้ือหาครงั้ ต่อไป (Sander et al., 2013) การศึกษาประสิทธิผลของแบบฝึกการสร้างเสริม Chaturong Hemara, Umaporn Kong-u-rai, Gosol Rodma, & ความแข็งแรงและการทรงตัวของผู้สูงอายุด้วย Bhumip Dhanajyasit. (2020). Training Drill for กิจกรรมโยคะประยุกต์ ใช้การทดสอบสถิติค่าที Enhancing Strength and Balance of the Elderly ( Chaturong Hemara, Umaporn Kong- u- rai, with Applied Yoga Activities. Academic Journal of Gosol Rodma, & Bhumip Dhanajyasit, Thailand National Sports University, 12(2), 14 - 25. 2020) การอ้างอิงในเน้ือหาครั้งตอ่ ไป (Chaturong Hemara et al., 2020)

อา้ งอิงในเนือ้ หา รายการอา้ งอิง ผแู้ ตง่ 6 - 7 คน ใหใ้ ส่แคค่ นแรก และตอ่ ดว้ ย et al. Valeria Biasi et al. (2018) ที่พบว่า การคิดถึง Valeria Biasi, Luca Mallia, Paolo Russo, Francesca Menozzi, บ้านอาจส่งผลเสยี ตอ่ ด้านต่าง ๆ ของจติ ใจและการ Rita Cerutti, & Cristiano Violani. (2018). ทำงาน Homesickness experience, distress and sleep quality of first–year university students dealing with academic environment. Journal of Educational and Social Research, 8(1), 9 –17. Retrieved from http://archive.sciendo.com/JESR/ jesr.2018.8. issue-1/jesr-2018-0001/jesr-2018-0001.pdf ผ้แู ต่ง 8 คน ขน้ึ ไป ใหใ้ ส่แคค่ นแรก และตอ่ ดว้ ย et al. Or in terms of maximal performance in Ruiz, J. R., Fernandez del Valle, M., Verde, Z., Diez-Vega, I., jumps (Ruiz et al., 2011) Santiago, C., Yvert, T., …& Lucia, A. (2011). ACTN3 R577X polymorphism does not influence explosive leg muscle power in elite volleyball players. Scand J Med Sci Sports, 21(6), e34-41. doi:10.1111/j.1600- รายงานสืบเนอื่ งการประชมุ วชิ าการ M. Ravinder Rao (2019) The energy required M. Ravinder Rao. (2019). Effect of Aerobic Training, by the body to perform an aerobic activity Anaerobic Training and On Blood Lipid Profiles are derived from carbohydrates and fats. among Sports Persons of Osmania University In Poolum Mana (Eds.), Proceedings of 9th Institute of Physical Education International Conference, Bangkok: Thailand Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1OCUN1DaI7Dn US2poCOT6gnhA2wt67aZB/view วิทยานพิ นธ์ การศึกษาของอาระวี ทบั ทิม (Arawee Tubtim, Arawee Tubtim. (2017). The study explores the problems 2017) พบว่า นักเรียนท่อี ยู่หอพักจะมีปัญหาและ of nursing students Royal Thai Army Nursing รูส้ กึ ห่วงใยคนในครอบครัวมากที่สดุ เนอ่ื งจากต้อง College (Master’s thesis), Ramkhamhaeng แยกออกมาอย่หู อพักภายในโรงเรยี น University. Huang Huangjia (2001) pointed out that Huang Huangjia. (2001). Research on the leisure benefits of leisure benefit is an individual's breaking through leisure activities (Unpublished participation in leisure activities. Master's thesis), Taiwan Normal University, Taipei: Taiwan.

อา้ งอิงในเน้อื หา รายการอ้างอิง พจนานกุ รม หรือ สารานุกรม VandenBos, G. R. (Ed.). (2007). APA dictionary of psychology. แบบเลม่ Washington, DC: Amerrican Psychological According to one definition of “bivalence” Association. (VandenBos, 2007, p.123) … Arcus, D. (2001). Attention deficit/hyperactivity disorder แบบออนไลน์ (ADHD). In B. Strickland (Ed.). The Gale encyclopedia A psychological overview of ADHD (Arcus, of psychology. Retrieved from 2001) … http://www.gale.cengage.com/ สบื ค้นออนไลน์ World Bank. (2019). Macao SAR, China Retrieved from China has become one of the richer https://data.worldbank.org.cn/country/ macao-sar- regions in the world (World Bank, 2019). china?view=chart 5. การตอบรบั การตีพิมพแ์ ละลงตพี ิมพ์ 5.1 เมื่อผ้ทู รงคณุ วฒุ พิ จิ ารณาว่าสามารถลงตพี ิมพ์ และเจ้าของบทความได้ปรบั แกไ้ ขตามขอ้ เสนอแนะ ของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว เจ้าของบทความจะได้รับเอกสารตอบรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลยั การกีฬาแห่งชาติ โดยในเอกสารแบบตอบรับจะแจ้งข้อมูลปที ี่ – ฉบับที่ของวารสารฯ ที่บทความ ของทา่ นไดเ้ ผยแพร่ 5.2 ภายหลังการตอบรับลงตีพิมพห์ ากมีการตรวจพบว่า บทความที่สง่ มาน้นั มกี ารคัดลอก ลอกเลียน ส่งซำ้ หรือมกี ารดำเนนิ การใด อนั แสดงถงึ การผดิ จริยธรรมจรรยาบรรณของนกั วิจยั ทางกองบรรณาธกิ ารจะส่ง หนงั สือแจง้ ยกเลิกการตีพิมพ์และยกเลิกตอบรบั ไปยังหน่วยงานตน้ สังกดั และระงับการพิจารณาบทความ จาก เจ้าของบทความเป็นระยะเวลา 5 ปี เอกสารอา้ งองิ คณะพาณชิ ยศาสตรแ์ ละการบัญชี มหาวทิ ยาลยั ธรรมศาสตร.์ (ม.ป.ป). การอ้างอิงแบบแทรกในเน้ือหาตาม หลักเกณฑ์ APA. สบื คน้ จาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/APA_Style.pdf American Psychological Association. (2010). Publication manual of the American Psychological Association (6th ed.). Washington, DC: Author. University of Canberra Library & Academic Skills Program. (2010). A guide to referencing with examples in the APA & Harvard styles (6th ed.). Retrieved from http://www.canberra. edu.au/library/attachments.pdf/apa.pdf

American University of Sharjah. (n.d.). APA 6th Edition Citation Style. Retrieved from https://aus.libguides.com/apa/apa-website Himmelfarb Health Sciences Library. (n.d.). APA Citation Style (6th ed.). Retrieved from https: //guides.himmelfarb.gwu.edu/APA

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 1. สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 2. สาขาการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 3. สาขาวิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) คณะศิลปศาสตร์ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.) 1. สาขาบริหารจัดการกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 2. สาขาการบริหารจัดการฑุรกิจสุขภาพ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) 1. สาขาการท่องเที่ยวและนันทนาการ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 2. สาขาสื่อสารการกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.) - สาขาบริหารจัดการกีฬาและนันทนาการ คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) 1. สาขาพลศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 2. สาขาพลศึกษาสำหรับบุคคลพิเศษ (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 3. สาขาสุขศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) 4. สาขาพลศึกษาและสุขศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.) - สาขาพลศึกษาและกีฬา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) - สาขาพลศึกษาและกีฬา (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook