ภาษาไทย ระดับชั้นประถมศึกษา ระพิน ชูชื่น โรงเรียน สาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง... ความหมายของร้อยกรอง กลอนดอกสร้อย วิธีฝึกอ่านทำนองเสนาะ กลอนสักวา กลอนสี่ กาพย์ยานี ๑๑ กลอนหก โคลงสี่สุภาพ กลอนสุภาพ แบบฝึกหัด กลอนบทละคร การอ้างอิง
ความหมายของร้อยกรอง บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง ร้อยกรอง ได้แก่ คำประพันธ์ที่แต่งขึ้น ๑. โคลง โดยมีข้อบังคับในการแต่ง มีความ ๒. ร่าย ไพเราะ สละสลวย มีวรรคตอนให้รับ ๓. กลอน สัมผัสกัน ตามกฎเกณฑ์ที่ได้ว่าไว้ใน ๔. กาพย์ ฉันทลักษณ์ ซึ่งจำแนกคำประพันธ์ออก ๕. ฉันท์ เป็น ๕ ชนิด ดังนี้๑
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง ความหมายของร้อยกรอง แต่ในที่นี้เราจะกล่าวเฉพาะที่นักเรียนควรศึกษาไว้เพียงบาง ส่วนเท่านั้น ก่อนที่จะได้ศึกษารูปแบบของร้อยกรองต่าง ๆ จำเป็นต้องศึกษาในเรื่องเหล่านี้ก่อน คือ ✦ จำนวนคำ ✦ สัมผัส ✦ คำเอก คำโท
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง ความหมายของร้อยกรอง หมายถึง ร้อยกรองทุกชนิดจะต้องบังคับจำนวนคำตามหลักเกณฑ์ เช่น กลอน ๑ วรรค มี ๗-๙ คำ จำนวนคำ กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บท มี ๑๑ คำ เป็นต้น สัมผัส ได้แก่ คำคล้องจองกันในวรรคหรือนอกวรรคตามข้อบังคับ แบ่งออกเป็น ✦ สัมผัสสระ ได้แก่ คำที่ประสมด้วยสระตัวเดียวกัน เช่น ดู หนู สู่ รู งู ถ้ามีตัวสะกดก็จะ ต้องเป็นตัวสะกดที่อยู่ในมาตราเดียวกันด้วย เช่น สวน ราญ มาร กาฬ หมายเหตุ สัมผัสสระนี้ใช้รับ-ส่งสัมผัสได้ทั้งภายในวรรค และระหว่างวรรค ✦ สัมผัสพยัญชนะ หรือสัมผัสอักษร ได้แก่ คำที่ใช้พยัญชนะต้นตัวเดียวกัน เช่น ลาง ลิง ลง ไล่ เลี้ยว ลอด หรือพยัญชนะที่มีเสียงคล้ายกัน เช่น ใฝ่ ฝัน ฟู เฟื่อง ซื่อ สัตว์ หมายเหตุ สัมผัสพยัญชนะใช้รับ-ส่งสัมผัสภายในวรรคเท่านั้น และไม่ถือว่าเป็นสัมผัสบังคับ
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง ความหมายของร้อยกรอง คำเอก คำโท กำหนดบังคับเฉพาะในคำประพันธ์ประเภทโคลง เช่น โคลงสี่สุภาพ ๑. คำเอก ได้แก่ คำที่มีรูปวรรณยุกต์เอกกำกับ เช่น แม่ ย่อม ทั่ว แจ่ม หมายเหตุ คำเอกนี้อาจใช้คำตายแทนได้ เช่น สุนัข กัด เจ็บ นะ ๒. คำโท ได้แก่ คำที่มีรูปวรรณยุกต์โทกำกับ เช่น ไท้ อ้าง ล้ำ พร้อง น้อง
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง วิธีฝึกอ่านทำนองเสนาะ๒ ฝึกอ่านคำประพันธ์แต่ละชนิดเป็นเสียงธรรมดา แบบอ่านร้อยแก้ว เพื่อให้รู้จักจำนวนคำ ๑ วรรคตอน และจังหวะ เช่น มีคนรัก รสถ้อย อร่อยจิต ถึงบางพูด พูดดี เป็นศรีศักดิ์ แม้นพูดชั่ว ตัวตาย ทำลายมิตร จะชอบผิด ในมนุษย์ เพราะพูดจา ๒ ฝึกอ่านคำประพันธ์ต่าง ๆ เพื่อให้รู้จักทำนองและการอ่านให้ถูกวิธี ออกเสียงวรรณยุกต์ ให้ถูกต้อง ๓ ฝึกการอ่านทอดเสียง เน้นเสียงตรงคำรับสัมผัสให้เด่นเป็นพิเศษ ต้องเอื้อนเสียงระหว่าง คำระหว่างวรรคให้เหมาะสม
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง วิธีฝึกอ่านทำนองเสนาะ๒ ๔ ฝึกการผวนเสียงและการทบเสียง การผวนเสียง ก็คือการอ่านพยางค์สุดท้ายของคำในท้ายวรรคแต่ละวรรคด้วยการ ทอดเสียง แล้วปล่อยให้หางเสียงนั้นผวนขึ้นจมูกหรือปล่อยให้เสียงหายไปในลำคอ เป็นเสียง หือ-อึ เบาๆ คล้ายเสียงคราง เช่น การอ่านกลอน “โอ้อกเรามีกรรม จะทำไฉน” เมื่อทอดเสียง ไฉน แล้วหยุดหางเสียงตรงพยางค์ ไหน ผ่อนเสียงเป็น ไหน-หือ หรือ ไหน-ฮึ ส่วนการทบเสียง ก็คือการยืดเสียงคำแต่ละคำออกไปแล้วหยุดเสียงที่ท้ายพยางค์ เช่น ใน-เพลง-ปี่/ว่า-สาม/พี่-พราหมณ์-เอ๋ย-หือ-อือ คำที่เป็นเสียงจัตวาท้ายวรรค ควรออกเสียงสูงให้ดังก้อง
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง วิธีฝึกอ่านทำนองเสนาะ๒ ๕ ออกเสียงคำแต่ละคำให้ชัดเจน ไม่รวบรัด หากมีพยางค์เกินก็ต้องอ่านเร็วเพื่อให้คำไปตก ตรงคำ หรือวรรคที่ต้องการ เช่น สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่ ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด ๖ ต้องอ่านเอื้อนสัมผัสในคำบางคำเพื่อให้เพราะเป็นพิเศษ เช่น ✦ ข้าขอเคารพอภิวันท์ (อ่าน อบ-พิ-วัน) ✦ อันรักษาศีลสัตย์กตเวที (อ่าน กัต-ตะ-เว-ที) ✦ คิดถึงบาทบพิตรอดิสร (อ่าน อะ-ดิด-สอน)
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง วิธีฝึกอ่านทำนองเสนาะ๒ ถ้ามียัติภังค์หรือการแตกคำระหว่างวรรคระหว่างบท ต้องรีบอ่านให้เสียงต่อเนื่องกัน ๗ อย่าให้ขาดช่วงนานเกินไป เช่น ณ ลำเนาพนาลัย โขดเขินสิขรเขา สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย (อ่าน ไน-ยะ-นะ) ๘ การใส่อารมณ์ในการอ่าน เช่น รู้จักทำเสียงให้สูง-ต่ำ หนัก-เบา ทอด-กระชับ หรือพลิ้ว เสียงไปตามอารมณ์ และความรู้สึกที่ปรากฏในเนื้อความ เพื่อให้ได้รสถ้อย รสความ รสเสียง และรสภาพ
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนสี่ กลอนสี่ เป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่งที่นำคำคล้องจอง ๔ คำ หรือพยางค์มาผูกเป็นเรื่องราว แผนบังคับของกลอนสี่ 0000 0000 ๑ วรรค 0000 0000 0000 0000 0000 0000 ตัวอย่างกลอนสี่ นกกา กาเหว่า ถูกอกถูกใจ เรื่องเก่าเล่ามา ต่างสัญญาไว้ มาพบกันเข้า ต้องช่วยทันที เลยเป็นเพื่อนกัน ใครมีเภทภัย
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนสี่ ข้อบังคับของกลอนสี่ 0000 ๑. กลอนสี่ ๑ บท มี ๔ วรรค วรรคละ ๔ คำ 0000 0000 0000 0000 0000 0000 0000 ๒. สัมผัสบังคับ ตามเส้นโยงที่มีสัมผัสบังคับ
กลอนหก บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง แผนบังคับของกลอนหก 000000 000000 000000 000000 000000 000000 000000 000000 ทำนาทำไร่ได้ผล อดทนทำไว้ใช้กิน ตัวอย่างกลอนหก จับหามาได้ทั้งสิ้น แผ่นดินผืนนี้มีค่า ต้องช่วยทันที ทำสวนก็ได้ไม่จน ในน้ำมีกุ้งปูปลา เมืองไทยมีทรัพย์ในดิน
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนหก ข้อบังคับของกลอนหก๓ ๑. ลักษณะ บทหนึ่งมี ๒ บาท และบาทหนึ่งมี ๒ วรรค วรรคหนึ่งมี ๖ คำ 000000 000000 000000 000000 000000 000000 000000 000000 ๒. การสัมผัส ๒.๑ คำสุดท้ายของวรรคหน้าบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ของวรรค หลังบาทที่ ๑ ๒.๒ คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้าและคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ หรือ ๔ ของวรรคหลังบาทที่ ๒ ๒.๓ คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๑ ของบท ต่อไป
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนสุภาพ แผนบังคับของกลอนสุภาพ 0 0 0 0 0 0 0 0 วรรครับ ๑ คำกลอน 0 0 0 0 0 0 0 0 วรรคส่ง ๑ คำกลอน วรรคสดับ 0 0 0 0 0 0 0 0 00000000 วรรครอง 0 0 0 0 0 0 0 0 00000000 00000000 00000000 ตัวอย่างกลอนสุภาพ แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก เจ็บจนตายก็เพราะเหน็บให้เจ็บใจ แม้เจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนสุภาพ ข้อบังคับของกลอนสุภาพ ๑. ลักษณะ จำนวนคำในวรรคหนึ่ง ๘ คำ (๗-๙ คำ) ๒ วรรคเรียก ๑ คำกลอน ๒ คำกลอน เป็น ๑บท (บทหนึ่งมี ๔ วรรค คือ วรรคสดับ วรรครับ วรรครอง วรรคส่ง) 00000000 00000000 00000000 00000000 00000000 00000000 00000000 00000000 ๒. การสัมผัส ๒.๑ คำสุดท้ายของวรรคหน้าบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคหลังบาทที่ ๑ ๒.๒ คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๑ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหน้า และคำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคหลังบาทที่ ๒ ๒.๓ คำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังบาทที่ ๑ ของบท ต่อไป
กลอนบทละคร บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง แผนบังคับของกลอนบทละคร 0000000 0000000 เมื่อนั้น 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 ลูกพระอาทิตย์ฤทธิ์กล้า เสียทีในท่าชิงชัย ตัวอย่างกลอนบทละคร เผ่นทะยานฉวยยอดฉัตรได้ บัดนั้น หักฉัตริชัยโมลี เห็นทศกัณฐ์อสุรา เท้าถีบถูกกายขุนมาร น้าวลงด้วยกำลังว่องไว
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนบทละคร ข้อบังคับของกลอนบทละคร ๑. ลักษณะและการสัมผัสคล้ายกลอนสุภาพ ต่างกันตรงที่วรรคหน้าบาทที่ ๑ ของ บทแรกมักขึ้น ต้นด้วย บัดนั้น เมื่อนั้น ครานั้น ฯลฯ จำนวนคำจะมี ๖-๙ คำ ในแต่ละวรรค เมื่อนั้น 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 ๒. กลอนบทละครมักมีการขึ้นต้นดังนี้๔ ๒.๑ เมื่อนั้น ใช้เมื่อกล่าวถึงตัวละครที่มียศสูงหรือเป็นผู้ใหญ่ในเรื่องนั้น ๆ ๒.๒ บัดนั้น ใช้เมื่อกล่าวถึงตัวละครที่มียศต่ำหรือผู้น้อย ๒.๓ มาจะกล่าวบทไป ใช้เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนใหม่
กลอนดอกสร้อย บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง แผนบังคับของกลอนดอกสร้อย 0000000 0000000 0 เอ๋ย 0 0 0000000 0000000 0 0 0 0 0 0 เอย 0000000 0000000 จักทำการใดก็สมหมาย แพ้พ่ายแรงรักสามัคคี ตัวอย่างกลอนดอกสร้อย พร้อมพวกแข็งขันขมันขมี ร่วมเอ๋ยร่วมใจ ผลดีจึงเห็นเด่นเอย ถึงมีอุปสรรคมากมาย ดูปลวกที่สร้างจอมปลวก ทีละน้อยค่อยเสริมเพิ่มทวี
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนดอกสร้อย ข้อบังคับของกลอนดอกสร้อย ลักษณะบังคับโดยทั่ว ๆ ไป เหมือนกลอนสุภาพ แต่ต่างกันที่วรรคสดับ กลอนดอกสร้อยใช้ คำ ๔ คำ คำที่สองใช้ “เอ๋ย” และกลอนดอกสร้อยบทหนึ่งจะมี ๔ คำกลอน มี ๘ วรรค และมัก ลงคำสุดท้ายว่า “เอย” 0 เอ๋ย 0 0 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 0000000 0 0 0 0 0 0 เอย
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กลอนสักวา แผนบังคับของกลอนสักวา 00000000 00000000 สักวา 0 0 0 0 0 00000000 00000000 0 0 0 0 0 0 0 เอย 00000000 00000000 ตัวอย่างกลอนสักวา ไม่เหมือนแม้นพจมานที่หวานหอม สักวาหวานอื่นมีหมื่นแสน อาจจะน้อมจิตโน้มด้วยโลมลม ดังดูดดื่มบอระเพ็ดต้องเข็ดขม กลิ่นประเทียบเปรียบดวงพวงพะยอม ใครฟังลมเมินหน้าระอาเอย แม้ล้อลามหยามหยาบไม่ปลาบปลื้ม ผู้ดีไพร่ไม่ประกอบชอบอารมณ์ ข้อบังคับของกลอนสักวา เหมือนกลอนดอกสร้อยทุกประการ ยกเว้นที่วรรคสดับเท่านั้นที่ต่างกัน กลอนสักวาขึ้นต้นด้วยคำว่า “สักวา”
บทที่ ๑๕ การเขียนบทร้อยกรอง กาพย์ยานี ๑๑ 000000 ๑ บาท 000000 ๑ บาท แผนบังคับของกาพย์ยานี ๑๑ 000000 00000 000000 00000 00000 00000 ตัวอย่างกาพย์ยานี ๑๑ ความอาวรณ์สายสัมพันธ์ จะถือเอาคำสอน เหมือนแม่อยู่คู่ลูกยา ฝังจิตนิจนิรันดร์ ข้อบังคับของกาพย์ยานี ๑๑ กำหนดจำนวนคำไว้ คือ บทหนึ่งมี ๑๑ คำ แบ่งเป็นวรรคหน้า ๕ คำ วรรคหลัง ๖ คำ ๒ วรรค เป็น ๑ บาท ๒ บาท เป็น ๑ บท กำหนดสัมผัสดังแผนบังคับ
Search
Read the Text Version
- 1 - 27
Pages: