วัฒนธรรมสรรค์สร้าง เศรษฐกิจสร้างสรรค์
คำนำ
สารบัญ
สารบัญ
นาซิดาแฆ
นาซิดาแฆ น า ซิ ด า แ ฆ \" เ ป็ น อ า ห า ร พื้ น เ มื อ ง ที่ นิ ย ม ม า ก ใ น จั ง ห วั ด ย ะ ล า เ ป็ น อ า ห า ร ที่ มี ชื่ อ แ ป ล ก แ ล ะ มี ร ส ช า ติ ที่ เ ป็ น เ อ ก ลั ก ษ ณ์ เ ฉ พ า ะ นาซิดาแฆ สุดยอดอหารเช้าที่ขึ้นชื่อของชาวไทย มุ ส ลิ ม มั ก เ รี ย ก ค ว า ม ส น ใ จ จ า ก นั ก ชิ ม อ า ห า ร ไ ด้ เ ส ม อ \"นาซิดาแฆ\" เป็นอาหารคาวชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้าย ข้าวมันของไทย ใช้ข้าวสามชนิดคือข้าวเหนียว ข้าว เจ้า และข้าวซ้อมมือ นิยมทำเลี้ยงรับรองแขก สำหรับ วิธีการกินมันทานคู่กับแกงกะหรี่ แกงไก่ แกงเนื้อ และ แกงปลาโอสดๆ แกงไข่ เป็นแกงกะทิที่มีส่วนผสมของ เครื่องเทศกลิ่นหอม ชวนน่ารับประทาน คำว่า นาซิดาแฆ มีหลายความหมาย หนึ่งในนั้น หมายถึง ข้าวสำหรับคนอนาถา การได้ชื่อนี้สืบเนื่องมา จากส่วนประกอบสำคัญ ของนาซิดาแฆ เป็นส่วนผสม ระหว่างข้าวข้าวกับข้าวเหนียว ผู้มีรายได้น้อยถ้ามีข้าว จ้าวกับข้าวเหนียวเพียงบางส่วน ก็สามารถนำมาปนกัน ทำ เ ป็ น อ า ห า ร ไ ด้ แ ล้ ว ประเพณี นาซิดาแฆ เป็นอาหารพื้นเมืองที่เป็น เอกลักษณ์ของคนไทยนับถือศาสนาอิสลาม ในภาคใต้ รั บ ป ร ะ ท า น เ ป็ น อ า ห า ร มื้ อ ห ลั ก ใ น ต อ น เ ช้ า แ ล ะ ง า น ป ร ะ เ พ ณี สำ คั ญ
ข้าวยำ
ข้าวยำ เป็นอาหารประจำถิ่นของชาวบ้านในพื้นที่ จังหวัดยะลา จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งนี้ ข้าวยำ นิยมรับประทานในมื้อเช้า และมื้อเย็น เป็น อาหารที่ทำรับประทานง่าย หรือหาซื้อง่ายมีขายเกือบทุก ชุมชน เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงมีอยู่ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น ผักสดจากริมรั้ว ปลาที่ที่คั่วสามารถหาได้ตามตลาดในชุมชน พร้อมกับภูมิปัญญาในการถนอมอาหารแปรรูปจากปลาสดก ลายเป็นบูดูที่มีรสชาติอร่อย กลมกล่อม ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงข้าวยำ ข้าวยำเป็นอาหารพื้นบ้านที่ดูเรียบง่าย แต่อุดมด้วย คุณค่าทางโภชนาการ รสชาติอร่อย พร้อมสีสันครบถ้วน ชวนน่ารับประทานเครื่องปรุงในการทำข้าวยำ ประกอบด้วย4 ส่วน คือ เครื่องปรุงที่ทำข้าว ได้แก่ ข้าวเจ้า ตะไคร้ซอย เครื่องปรุงที่ทำน้ำบูดู ได้แก่ บูดู กะทิ พริกแห้ง,หอมแดง,ส้มแขก,น้ำตาลแว่น,ตะไคร้,ใบมะกรูด ส้มแขก เครื่องปรุงที่ทำซามาได้แก่ กุ้ง,พริกไทย มะพร้าวคั่ว และผักข้างเคียงเช่น ถั่วฝักยาวซอย,แตงกวาซอย,ใบมะกรูด ถั่วงอก ดอกดาหลา เนื้อส้มโอ มะนาว มะม่วงสับเป็นเส้น วิธีทำ ซาวข้าวให้สะอาด หุงด้วยน้ำผสมขมิ้น หุงจนสุก พักไว้ วิธีทำน้ำบูดู ปั่นพริกแห้ง หอมแดงตั้งไว้ นำหัวกะทิ ตั้งไฟ ใส่ส้มแขก ใส่พริกแห้งที่ปั่นไว้ จนแตกมัน ใส่บูดู น้ำตาลแว่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ส่วนวิธีทำซามา กุ้งปอกเปลือกล้างให้สะอาด นำไปต้ม ใส่เกลือ น้ำตาลแว่น เคี่ยวจนแห้งสุก จากนั้นโขลกพริก ไทย หอมแดง มะพร้าวคั่ว ให้เข้ากัน แล้วนำไปคลุกกับกุ้ง เวลารับประทานจะตักข้าว ใส่ซามา ใส่ผัก และราดบูดู
ไก่กอและหรือไก่ฆอและ
การทำไก่กอและ ประวัติความเป็นมาของไก่ กอและ(สูตรโบราณ)เป็นอาหารมลายูปักษ์ ใต้ คำว่า \"golek\" ในภาษามลายู หรือ ฆอ และ หมายถึง กลิ้งก็คือการเอาไก่ไปกลิ้งบน ไฟ รสชาติของไก่กอและคือเนื้อไก่จะนุ่มรส กลมกล่อมด้วยเครื่องปรุงรับประทานกับข้าว สวยไก่กอและสูตรโบราณนี้ ได้รับการ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่นเรื่อย มาจนถึงปัจจุบัน ไก่กอและสูตรโบราณนี้จะ เป็นสูตรเฉพาะเป็นของโบราณจริงๆ ไม่มี การเติมแต่งสี และกลิ่นลงไป นอกจากวัสดุ ธรรมชาติเท่านั้น สมัยก่อนทำไก่กอและรับ ประทานกับข้าวเหนียวใบพ้อ (ตูปะ) ข้าวหลาม ข้าวเหนียวและทำกินในวันสำคัญ โดยเฉพาะวันรายอ หรือวันจัดงานแต่งงาน เป็นต้น ที่สำคัญ การทำไก่กอและถ้าไม่มีไก่ สามารถทำกับปลา,หอย,กุ้ง,หมึก,ปู และ เนื้อก็ได้ จะมีรสชาติไปอีกแบบ ไก่กอและ หรือ ไก่ฆอและเป็นอาหารมลายูปักษ์ใต้ของไทย คำว่า\"golek\" ในภาษา มลายู หรือ ฆอและ หมายถึง กลิ้ง คงหมายถึงการเอาไก่ไปกลิ้งบนไฟ การราดน้ำกระทิปรุงรส มาราดบนตัวไก่แล้วย่างไฟ เมนูไก่กอและเป็นอาหารที่ชาวมุสลิมแถบชายแดนใต้ของไทยทำรับ ประทานกัน โดยเฉพาะที่ปัตตานีจะมีชื่อเสียงมาก บางแห่งจะทำไก่ฆอและขายคู่กับข้าวหลาม ด้วย ไก่กอและในภาษามลายูปัตตานีจะอ่านว่า \"อาแยฆอและ\" คำว่า อาแย (Ayam) แปลว่า ไก่ ฆอและ (Golek) แปลว่า กลิ้ง อาแยฆอและ จึงแปลว่า ไก่กลิ้ง ก็น่าจะหมายถึงการย่าง เพราะต้องคอยพลิกกลับไปมา นอกจากจะใช้ไก่ทำแล้ว ยังสามารถใช้เนื้อสัตว์อื่น ๆ ทำได้ ถ้า ใช้หอยแครงสดทำ เรียกว่า \"กือเปาะห์ฆอและ\" ใช้ปลาทำ เรียกว่า \"อีแกฆอและ\" ถ้าใช้เนื้อทำ เรียกว่า \"ดาฆิงฆอและ\"
ซอเลาะลาดอ
ซอเลาะลาดอ แปลว่า พริกยัดไส้ เป็นอาหารพื้นถิ่น ของทางภาคใต้ ตอนล่าง เกิดจากการนำวัตถุดิบประจำถิ่นที่หาได้ง่าย อย่าง มะพร้าว พริกหยวก และปลาทู มา ประกอบอาหารที่ให้รสชาตที่มี เอกลักษณ์ เฉพาะตัว วิธีทำ ซอเลาะลาดอ เริ่มจากการไส้โดยนำ เนื้อปลาทูนึ่งโขลกรวมกับ หัวแดง กระเทียม พริกไทย และเนื้อมะพร้าวขูด จนเป็นเนื้อ เดียวกัน จากนั้นนำมานวดกับไข่ไก่ จนเข้า กันดีอีกครั้งหนึ่ง นำพริกกยวกมาผ่ากลาง เอาเมล็ดออกล้างให้สะอาดแล้วนำไส้ที่ทำไว้ ยัดใส่ตรงกลางพริกหยวกให้แน่น น้ำกะทิตั้ง ไฟจนเดือดปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าวและ เกลือ นำพริกหยวกที่ยัดไส้ไว้ใส่ลงในน้ำกะทิ เคี่ยวจนพริกสุกใส เป็นอันเสร็จ บางบ้าน อาจใช้วิธีน้ำพริกหยวกที่ยัดไส้แล้วนำไปย่าง หรือทอด แทนการเคี่ยวในน้ำกะทิก็ได้
น้ำกระเจี๊ยบ
สมุนไพรกระเจี๊ยบแดง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่าผักเก็งเค็ง, ส้มเก่งเค็ง, ส้มตะเลงเครงอีสาน), มีถิ่นกำเนิดในประเทศ ซูดาน อินเดีย มาเลเซียและประเทศไทย โดยในประเทศไทย มีแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ จังหวัดลพบุรี, สระบุรี อุตรดิตถ์ กาญจนบุรีและฉะเชิงเทรา จัดเป็นไม้พุ่มมีความสูงประมาณ ๕๐-๑๘๐ เซนติเมตร มีอยู่หลายสายพันธุ์ ลำต้นและกิ่งก้าน มีสีม่วงแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด มีใบเป็นใบเดี่ยว ใบมีหลายลักษณะ ลักษณะคล้ายรูปฝ่ามือ ๓ แฉก หรือ ๕ แฉกใบเว้าลึก หรือเรียบ หรือใบเป็นรูปรีแหลม หรือรูป เรียวแหลม ขอบใบมีจักเป็นฟันเลื่อย ใบมีความกว้างและ ความยาวใกล้เคียงกันประมาณ ๘-๑๕ ซ.ม. และก้านใบมี ความยาวประมาณ ๕ เซนติเมตร ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกตามซอกใบ มีกลีบดองสีชมพูหรือสีเหลือง บริเวณกลางดอกจะมีสีเข้มกว่า คือสีม่วงแดงดอกมีเกสร ตัวผู้ เชื่อมกันเป็นหลอด ก้านดอกสั้นมีริ้วประดับเรียวยาว ปลายแหลมมี ๘ - ๑๒ กลีบ กลีบเลี้ยงจะแผ่ขยายติดกัน ออกหุ้มเมล็ดไว้มีสีแดงเข้ม และหักง่าย เมื่อดอกบานเต็ม ที่ จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ลักษณะของ ผลเป็นรูปวงที่มีปลายแหลม ผลมีความยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จะแห้งแตกเป็น ๕ แฉก ในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายรูปไตอยู่จำนวนมาก ประมาณ ๓๐-๓๕ เมล็ดต่อผล และผลยังมีกลีบเลี้ยงหนาสี แดง น้ำหุ้มผลอยู่เราจะเรียกส่วนนี้ว่า กลีบกระเจี๊ยบหรือ กลีบรองดอก (CALYX) หรือที่คนทั่วไปเข้าใจว่า เป็นดอกระเจี๊ยบนั่นเอก
Search
Read the Text Version
- 1 - 26
Pages: