Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore pdf24_merged

pdf24_merged

Published by Guset User, 2021-12-09 02:53:02

Description: pdf24_merged

Search

Read the Text Version

หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๙ หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๙ ห่างจากตัวเมืองยะลามาตาม เส้นทางสู่เขื่อนบางลาง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลาบาลา อำเภอธารโต บริเวณหมู่บ้านจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ แสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆรวมทั้งเครื่องใช้ และอนุสาวรีย์ วีรชนของ จคม. โดยรอบแวดล้อมด้วยลำธารและทัศนียภาพที่ สวยงาม นอกจากนี้ยังมีฟาร์มกวางดาว สถานที่กางเต้นท์ และ บ้านพักสำหรับนักท่องเที่ยว



สวนสาธารณะเทศบาลเมืองเบตง สวนสาธารณะแห่งนี้มีพื้นที่ประมาณ ๑๒๐ ไร่ ตั้งอยู่บนเนินเขากลางเมือง เบตงเป็นจุด ชมทัศนียภาพมุมกว้างของเมืองเบตงภายในสวนร่มรื่นไปด้วยไม้ ยืนต้นไม้ดอกนานาพันธุ์ นอกจากนั้นแล้วยังมีสิ่งที่น่าสนใจ ได้แก่ สวนนก สวนสัตว์ สถานที่แสดงพันธุ์สัตว์น้ำ สวนสุขภาพ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตง



บ่อน้ำร้อน บ่อน้ำร้อน เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติอย่างหนึ่งของเบตงที่มีน้ำพุ เดือดขึ้นมาจากพื้นดินในหมู่บ้านนะเราะปะไร ตำบลตาเนาะแมเราะ ห่างจากอำเภอเบตงประมาณ ๔ กิโลเมตร แยกขวาเข้าไปอีก ๖ กม. ตรงจุดบริเวณที่น้ำเดือด สามารถต้มไข่สุกภายใน ๗ นาที และเชื่อ กันว่าน้ำแร่นี้สามารถรักษาโรคผิวหนังได้



สวนไม้ดอก เมืองหนาวเบตง สวนไม้ดอกเมืองหนาวเบตง ตั้งอยู่ที่ บ้านปิยมิตร ๒ ต. เนาะแมเราะ ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บนเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ละลานตาด้วย สวน ไม้ดอกเมืองหนาวที่เกิดจากพระราชดำริ ของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะต้องการสร้างอาชีพให้กับคนในพื้นที่



พระมหาธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ ตั้งอยู่ที่วัดพุทธาธิวาส ถนนรัตนกิจ องค์เจดีย์ตั้ง อยู่บนเนินเขา มีความกว้าง ๓๙ เมตร สูง ๓๙.๙ เมตร เป็นมหาธาตุเจดีย์ที่สวยงาม และใหญ่ ที่สุดในภาคใต้ ภายในพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุศิลปะการก่อสร้างเป็น สถาปั ตยกรรมแบบศรีวิชัยประยุกต์



หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ พื้นที่นี้เป็นติดชายแดนมาเลเซีย ในช่วงหนึ่งจึงเป็นฐานที่มั่นของพรรค คอมมิวนิสต์มลายา ต่อมาได้มีข้อตกลงสันติภาพจึงเลิกต่อสู้ และเข้ามาเป็นผู้ ร่วมพัฒนาชาติไทย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัครราช กุมารี มีพระราชประสงค์จะพัฒนาโครงการฟื้ นฟูสภาพแวดล้อมและชีวิตความ เป็นอยู่ ของราษฎรในพื้นที่จังหวัดยะลา ปั ตตานี นราธิวาส เพื่อให้เกิดความ มั่นคง ภายในพื้นที่แนวชายแดน จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมทรงรับหมู่บ้าน รัตนกิตติ เข้าร่วมโครงการสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และทรงพระราชทานชื่อหมู่ บ้านให้เป็น หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา ๑๐ อยู่ติดกับเขตชายแดนไทย-มาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองเบตงราว ๒๘ กม.



อุ โ ม ง ค์ เ บ ต ง อุโมงค์เบตง ตั้งอยู่หมู่ ๒ บ้านปิยะมิตร๑ ตำบลตาเนาะแมเราะ เข้าทาง เดียวกับบ่อน้ำร้อนเบตง อยู่ถัดจากน้ำตกอินทรสรไปอีก ๓ กิโลเมตร เป็น อุโมงค์ดิน ซึ่งอดีตขบวนการโจรคอมมิวนิสต์มลายา (จคม.) สร้างขึ้นบน เนินเขาในป่าทึบ สำหรับเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ทางการเมือง ปัจจุบันเป็น สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง



ตู้ไปรษณีย์ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตู้ไปรษณีย์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อำเภอเบตง ในเขตเทศบาลมุม ถนนสุขยางค์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ โดยคุณสงวน จิระจินดา อดีตนาย ไปรษณีย์โทรเลข อำเภอเบตง เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของอำเภอเบตงในเรื่องการ ติดต่อสื่อสารลักษณะของตู้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นรูปกลมทรงกระบอก แยก ได้เป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนฐานและส่วนตัวตู้ ส่วนสูงของตู้ คือ ๒๙๐ เซนติเมตร นับ จากฐานขึ้นไปรวมความสูงของตู้ด้วย วัดได้ ๓๒๐ เซนติเมตร ปั จจุบันตู้ไปรษณีย์ ใบนี้ยังใช้งานอยู่



มัสยิดกลางอำเภอเบตง มัสยิดกลางอำเภอเบตง เดิมเป็นไม้หลังตามุงด้วยสังกะสี บางคน เรียกว่า บาแล แลดัง จนสมัยหะยีหะมะ ดาเดะ เป็นอิหม่ามจึงได้ริเริ่ม ระดมเงินจากชาวมลายูเป็นทุนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลงรูปแบบมา จากมัสยิดในประเทศมาเลเซีย ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๔๐ ปี ตั้งอยู่ ในเขตเทศบาลเมืองเบตง ถนนสุขยางค์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา