Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore คู่มือระบบสวนครัวน้ำหยด

คู่มือระบบสวนครัวน้ำหยด

Published by บันทึกเกษตร, 2021-05-21 06:33:09

Description: คู่มือระบบสวนครัวน้ำหยด

Search

Read the Text Version

ii ระบบสวนครวั นำ�้ หยด

คำ� นำ� การเพาะปลกู พชื นน้ั “น�ำ้ ” ถือเปน็ ปัจจยั การผลิตทีม่ ีความสำ� คญั ท่สี ดุ ในพื้นท่ีที่มีน้�ำอุดมสมบูรณ์นอกจากสามารถเพาะปลูกได้มากกว่า 1 ฤดูกาล ต่อปีแล้วผลผลิตท่ีได้ก็จะดีตามไปด้วย แต่พื้นท่ีเพาะปลูกส่วนใหญ่ของประเทศไทย เปน็ พน้ื ทเ่ี กษตรนำ้� ฝนทเ่ี กษตรกรไทยยงั ตอ้ งเผชญิ กบั ปญั หาฝนแลง้ ฝนทงิ้ ชว่ ง หรอื ปรมิ าณนำ�้ ไมเ่ พยี งพอตอ่ การทำ� การเกษตร สง่ิ เหลา่ นค้ี อื รากเหงา้ ของปญั หา ความยากจนของเกษตรกรไทยทสี่ ำ� นกั พฒั นาพนื้ ทป่ี ฏริ ปู ทดี่ นิ (สพป.) สำ� นกั งาน การปฏิรูปท่ีดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) พยายามแสวงหาแนวทางแก้ไข เพราะการเพาะปลูกพืชในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถจะพึ่งพาน�้ำฝนได้เพียงอย่างเดียว การจัดหาน�้ำเพ่ือใช้ในการเพาะปลูกและวิธีการให้น้�ำแก่พืชจึงเป็นเรื่องจ�ำเป็น และทวีความส�ำคัญ ทั้งน้ีเพื่อเป็นหลักประกันว่าพืชจะได้รับน้�ำอย่างเพียงพอ ตลอดฤดูกาลเพาะปลูก แนวทางการพัฒนาแหล่งน้�ำของ ส.ป.ก. ในปัจจุบัน นอกจากการจัดหาและก่อสร้างแหล่งน้�ำต้นทุนแล้ว ยังให้ความส�ำคัญกับ วธิ ีการให้นำ�้ และใช้น้ำ� อยา่ งมปี ระสิทธภิ าพ ระบบสวนครัวน้�ำหยดเป็นระบบการให้น้�ำรูปแบบหนึ่ง ท่ี ส.ป.ก. ได้น�ำรูปแบบมาจากต่างประเทศ โดยมี ผศ.วิทวัส ยมจินดา อดีตหัวหน้า สาขาวิศวกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เป็นผู้ริเร่ิมน�ำมาสอน ในมหาวิทยาเทคโนโลยีสุรนารีในปี 2543 โดย ส.ป.ก. ได้น�ำรูปแบบมาปรับ ใหเ้ หมาะสมกบั พนื้ ทแี่ ละการปลกู พชื ในประเทศไทย จนไดเ้ ปน็ รปู แบบมาตรฐาน ทส่ี ามารถนำ� ไปตดิ ตง้ั ใชง้ านไดท้ วั่ ทกุ พนื้ ที่ ทงั้ นกี้ ด็ ว้ ยมงุ่ หวงั เพอ่ื ตอ้ งการสง่ เสรมิ ใหเ้ กษตรกรมรี ะบบนำ�้ ทดี่ แี ละเหมาะสมไวส้ ำ� หรบั เพาะปลกู พชื เพอ่ื การบรโิ ภค ภายในครัวเรือน อันจะช่วยให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางด้านอาหาร มีความ อยู่ดีกนิ ดี และสามารถพง่ึ พาตนเองได้อย่างย่ังยนื ระบบสวนครัวนำ้� หยด iii

ผู้เขียนในนามของ ส.ป.ก. ขอขอบพระคุณ ผศ.วิทวัส ยมจินดา อาจารย์ ท่ีสอนและถ่ายทอดวิชาความรู้ด้านระบบน�้ำต่างๆ ให้แก่ศิษย์ ขอขอบคุณ ทีมงานโครงการระบบสวนครัวน�้ำหยด ส�ำนักพัฒนาพื้นท่ีปฏิรูปที่ดิน (สพป.) ส�ำนักพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี (สพท.) และผู้บริหารของส�ำนักงานการ ปฏิรูปที่ดินเพ่ือเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ท่ีได้ให้ความส�ำคัญต่อการพัฒนาด้าน ระบบการให้นำ้� พชื แก่เกษตรกรในพ้นื ทีเ่ ขตปฏริ ปู ทด่ี ิน มา ณ โอกาสน้ี ธราวุฒิ ไก่แก้ว วศิ วกรการเกษตรช�ำนาญการ กลุ่มออกแบบแหล่งนำ�้ และเกษตรชลประทาน ส�ำนกั พฒั นาพ้นื ที่ปฏริ ูปท่ดี ิน สงิ หาคม 2559 iv ระบบสวนครวั น้�ำหยด

สารบัญ หน้า 1 คำ� น�ำ 4 ระบบสวนครวั นำ้� หยด 6 หลักการของระบบสวนครวั น�ำ้ หยด 20 ข้อควรรู้กอ่ นการติดตง้ั ระบบสวนครัวน�ำ้ หยด 21 ตน้ ทนุ ของระบบสวนครัวน�ำ้ หยด 22 เครือ่ งมอื ส�ำหรบั การติดตงั้ สวนครวั นำ้� หยด 24 รายการอปุ กรณ์สวนครวั น�้ำหยด 30 ข้ันตอนการติดตง้ั สวนครวั น�้ำหยด 33 ตัวอยา่ งการค�ำนวณ 43 ตัวอยา่ งแปลงข้าวโพดหวานทป่ี ลกู โดยใช้ระบบสวนครวั น้ำ� หยด 45 แบบแปลนแสดงการติดตั้งระบบสวนครัวนำ�้ หยด 55 ตารางความตอ้ งการนำ้� ของพืชแต่ละภาค ประวตั ิผู้เขียน ระบบสวนครัวน�้ำหยด v

vi ระบบสวนครวั นำ�้ หยด

ระบบ สวนครัวน้�ำหยด ระบบสวนครัวน�ำ้ หยดคืออะไร ระบบสวนครัวน้�ำหยด เป็นระบบการให้น�้ำพืชรูปแบบหน่ึง คือระบบ การให้น้�ำแบบน�้ำหยด (Drip or Trickle Irrigation) เหตุที่เรียกว่าระบบ สวนครัวน้�ำหยดก็เพราะเป็นระบบการให้น�้ำท่ีเน้นการให้น้�ำส�ำหรับแปลง ปลูกพืชผักสวนครัวในพ้ืนท่ีขนาดไม่เกิน 200 ตารางเมตร เพื่อส่งเสริม ให้เกษตรกรสามารถปลูกพืชผักเพ่ือการบริโภคได้ตลอดทั้งปีแม้จะมีน้�ำ ต้นทุนน้อย ระบบสวนครัวน�้ำหยดเป็นระบบการให้น�้ำที่มีประสิทธิภาพ การใหน้ ำ้� สูง ใช้น�้ำน้อย ใช้แรงดนั น้�ำในระบบต่�ำ สามารถใช้ได้ดีกบั พืชและดนิ ทุกชนิด ลงทุนไม่สูงมาก เทคนิคการใช้งานและการดูแลรักษาไม่ยุ่งยาก ให้ผลตอบแทนทางการผลิตสงู ระบบสวนครวั นำ้� หยด 1

รปู ที่ 1 รูปแบบและอปุ กรณ์ของ รปู ที่ 2 ระบบสวนครัวนำ�้ หยดท่ี ระบบสวนครัวน้�ำหยด ติดตงั้ ภายในศูนย์เรียนรู้ จ.อุทยั ธานี ทีม่ าของระบบสวนครวั น�้ำหยด ระบบสวนครัวน้�ำหยดเป็นระบบการให้น้�ำพืชท่ี ส.ป.ก.น�ำรูปแบบ มาจากตา่ งประเทศ เพอื่ นำ� มาปรบั ใชใ้ หเ้ หมาะสมสำ� หรบั พน้ื ทใี่ นเขตปฏริ ปู ทดี่ นิ โดยเทคนิควิธกี ารไดม้ าจาก ผศ.วิทวสั ยมจินดา หวั หนา้ สาขาวศิ วกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ระบบสวนครัวนำ�้ หยดตดิ ต้ังครงั้ แรกท่ีใด ระบบสวนครัวน้�ำหยดน้ีได้ด�ำเนินการน�ำร่องในพื้นท่ีเขตปฏิรูปท่ีดิน ครั้งแรกที่ จ.มหาสารคาม เม่ือปี พ.ศ. 2553 โดยมีเป้าหมายที่ส�ำคัญคือ การสง่ เสรมิ ใหเ้ กษตรกรสามารถปลกู พชื เพอ่ื การบรโิ ภคไดต้ ลอดทงั้ ปี เพอื่ สรา้ ง ความมั่งคงทางด้านอาหาร และเสริมสร้างองค์ความรู้เร่ืองระบบการให้น�้ำพืช แบบน�้ำหยด ซึ่งเป็นระบบการให้น้�ำพืชที่มีประสิทธิภาพสูง ผลการด�ำเนินงานท่ี จ.มหาสารคาม พบวา่ เกษตรกรทเ่ี ขา้ รว่ ม สามารถใชง้ านระบบสวนครวั นำ้� หยด ท่ีได้จากโครงการได้เป็นอย่างดี โดยเกษตรกรให้น�้ำพืชในปริมาณท่ีพอเหมาะ เพยี งครงั้ ละ 1-2 ถงั (200 ลติ ร - 400 ลติ ร) ตอ่ วนั พชื ทเี่ กษตรกรปลกู นนั้ ไดแ้ ก่ 2 ระบบสวนครัวน้�ำหยด

พริก ถั่วฝักยาว กระเจ๊ียบขาว ผักชี บวบ มะเขือ เป็นต้น ทั้งน้ีพบว่าพืชท่ี ปลกู ทง้ั หมดมอี ตั ราการงอกทดี่ สี ม�่ำเสมอทว่ั ทง้ั แปลงและงอกเรว็ กวา่ การใหน้ ้�ำ ดว้ ยวธิ กี ารเดิมของเกษตรกร (ตักรด ใชฝ้ กั บวั หรอื สปริงเกลอร์) พชื สามารถ เจริญเติบโตได้ดี รวมท้ังได้ผลผลิตที่ดี ในระหว่างการด�ำเนินงานโครงการ เกษตรกรสามารถมีพืชผักไว้บริโภคและเกษตรกรยังสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิต ไปขายยังตลาดชุมชนและตลาดในเมือง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่ 500-4,000 บาท ซึ่งเม่ือเทียบกับค่าอุปกรณ์ท้ังหมดท่ีเกษตรกรได้รับรายละ 3,000 บาทแล้ว การคืนทุนน้ันหากเกษตรกรปลูกเพื่อการพาณิชย์ในพื้นท่ี ไม่เกนิ 200 ตารางเมตร สามารถทำ� ได้ตง้ั แตก่ ารปลกู ฤดูกาลแรกหรืออย่างช้า ไม่เกิน 1 ปี รูปที่ 3-6 การตดิ ตงั้ ระบบสวนครวั น�ำ้ หยดใน จ.มหาสารคาม ระบบสวนครวั น้ำ� หยด 3

หลกั การของระบบสวนครัวน้ำ� หยด ระบบสวนครัวน้�ำหยดเป็นระบบที่ใช้หลักการแรงโน้มถ่วงของโลก (Gravity) ช่วยให้นำ้� ไหลจากถงั พกั น�้ำทยี่ กสูง 1-2 เมตร ส่งน�ำ้ กระจายไปตาม พ้ืนท่ีที่ต้องการให้น�้ำ ระบบจึงไม่จ�ำเป็นต้องใช้เคร่ืองสูบน้�ำเพื่อส่งน�้ำ ให้กับระบบ วธิ กี ารของระบบสวนครัวน้ำ� หยด คือ การใช้ถังน้�ำขนาด 200 ลิตร เป็นแหล่งพักน้�ำและส่งจ่าย ให้กับระบบ โดยยกถังน�้ำดังกล่าว ให้สูงจากพื้นที่ที่ต้องการให้น�้ำ 1-2 เมตร ติดต้ังท่อพีวีซีขนาด 1 นิ้ว บริเวณหัวแปลงพื้นท่ีแปลงปลูกพืช ส�ำหรับเทป น้�ำหยดใช้ระยะรูจ่ายน�้ำ 10-30 เซนติเมตร อัตราการจ่ายน�้ำของรูจ่ายน�้ำ แต่ละรู 1-2 ลิตรต่อช่ัวโมง โดยติดตั้งในแปลงปลูกเป็นแถวยาวตามแถว ของต้นพืช ซ่ึงการให้น้�ำรูปแบบนี้จะประหยัดน้�ำมากกว่าระบบการให้น้�ำแบบอ่ืน ๆ และไมต่ อ้ งใชเ้ ครอ่ื งตน้ กำ� ลงั ในการสง่ นำ�้ ใหก้ บั ระบบขนาดของพนื้ ทท่ี เ่ี หมาะสม ในการปลูกพืชด้วยวิธีการให้น�้ำแบบนี้ไม่เกิน 200 ตารางเมตรส�ำหรับถังน�้ำ 1 ใบ และจะมีการใช้น�ำ้ ประมาณ 200-400 ลติ รตอ่ วัน 4 ระบบสวนครวั นำ�้ หยด

ข้อดขี องระบบสวนครัวน�้ำหยด 1. ประสทิ ธภิ าพการใหน้ ำ้� สงู มาก พชื จะไดร้ บั นำ้� สมำ�่ เสมอทว่ั ทง้ั แปลง 2. ประหยัดน�้ำ เนื่องจากเป็นระบบท่ีให้น้�ำเฉพาะในเขตรากพืช จึงท�ำให้ระบบสวนครัวน�้ำหยดประหยัดน�้ำมากเม่ือเทียบกับการ ให้น้�ำรปู แบบอื่น ๆ (ระบบสวนครวั น�ำ้ หยดใชน้ �ำ้ ประมาณ 50 ลูกบาศกเ์ มตรตอ่ ฤดูกาลเพาะปลกู ) 3. ประหยัดแรงงานและประหยัดเวลาในการให้น้�ำ (10-30 นาที ต่อการใหน้ �ำ้ 1 ครั้ง) 4. ใชไ้ ด้ดีกับพืชและดินทกุ ชนดิ 5. ติดตัง้ งา่ ย บำ� รงุ ดแู ลรักษางา่ ย เกษตรกรสามารถท�ำได้ด้วยตัวเอง 6. ค่าใช้จ่ายในการใช้งานระบบต�่ำ เพียง 200 บาทต่อฤดูกาล เพาะปลูก (ประมาณ 100 วนั ) ข้อจ�ำกัดของระบบสวนครัวน้ำ� หยด 1. พ้ืนท่ีติดตั้งระบบสวนครัวน�้ำหยดไม่ควรเกิน 200 ตารางเมตร หรือคร่ึงงาน 2. ความยาวเทปน�ำ้ หยดต่อเส้นไมค่ วรเกิน 20 เมตร 3. จ�ำนวนเทปน�้ำหยดรวมไม่ควรเกิน 400 เมตรต่อระบบสวนครัว น�้ำหยด 1 ชุด 4. ความสูงขาต้งั ฐานส�ำหรบั ถัง 200 ลิตรควรต้ังสูง 1-2 เมตร ท้ังน้ีหากต้องการน�ำระบบสวนครัวน้�ำหยดไปขยายใช้ส�ำหรับพื้นท่ี ทีม่ ากกวา่ 200 ตารางเมตร ควรท�ำการยกถังใหส้ งู มากกวา่ 2 เมตร และขยาย ขนาดท่อให้ใหญก่ ว่า 1 นิ้ว เพ่ือให้น�ำ้ สามารถไหลได้อยา่ งเพยี งพอและปรมิ าณ การหยดของน้ำ� จากเทปน้�ำหยดสม�ำ่ เสมอทัว่ ทงั้ แปลง ระบบสวนครวั น้ำ� หยด 5

ข้อควรรู้ก่อนการตดิ ตงั้ ระบบสวนครวั น้ำ� หยด ระบบสวนครัวน้�ำหยด โดย ส.ป.ก. น้ีเป็นระบบการให้น�้ำพืชที่ได้รับ การปรับให้เหมาะสมส�ำหรับพ้ืนที่ในพ้ืนท่ีเขตปฏิรูปท่ีดิน ทั้งน้ีเพ่ือให้ง่าย ต่อการน�ำไปใช้งานของเกษตรกร โดยยึดหลักที่ว่า “ราคาถูก ติดตั้งง่าย ใช้งานได้จริง” ดังน้ันระบบสวนครัวน้�ำหยดจึงเป็นระบบการให้น�้ำที่ติดต้ัง ไดง้ า่ ย ไม่ยุ่งยาก เกษตรกรสามารถติดตง้ั ไดเ้ อง ในการเตรียมพ้ืนท่ีส�ำหรับติดต้ังระบบสวนครัวน้�ำหยดน้ัน มีวิธีการท่ี ไม่ยุ่งยากเพราะเป็นระบบท่ี ส.ป.ก. ได้พัฒนาให้สามารถน�ำไปติดตั้งได้กับ แปลงปลูกหลากหลายรูปร่างไม่ว่าพื้นท่ีปลูกของเกษตรกรจะเป็นรูปร่างแบบไหน ท้ังน้ีพ้ืนท่ีที่จะน�ำระบบสวนครัวไปติดต้ังสามารถท�ำได้ท้ังแบบปลูกไม่ยกร่อง หรอื จะปลกู แบบยกรอ่ ง หรอื ยกเปน็ แปลงปลกู สำ� หรบั พชื ผกั กส็ ามารถตดิ ตงั้ ได้ ทงั้ นีก้ ารเตรยี มพ้นื ทป่ี ลกู สามารถให้เป็นไปตามท่เี กษตรกรต้องการ ระยะหา่ งระหวา่ งแถวของการวางเทปนำ�้ หยด การก�ำหนดระยะห่างของเทปน้�ำหยดนั้นโดยทั่วไปแล้วจะพิจารณา จากรปู แบบการปลูกและระยะปลกู ทเี่ กษตรกรต้องการ คอื ถา้ ต้องการปลกู ผัก ท่ีเป็นตน้ เช่น พริก มะเขอื มะเขือเทศ ถั่วฟกั ยาว แตงกวา กส็ ามารถตดิ ตง้ั เทปน�้ำหยดระยะห่างทุกๆ 50 เซนติเมตรได้ เพ่ือให้สามารถปลูกพืช ได้หลากหลายชนิด หรือในกรณีที่เกษตรกรต้องการปลูกพืชผักกินใบ เช่น ผักชี ผักบุ้ง ตน้ หอม กระเทยี ม คะน้า ผกั กาด ผักกวางตงุ้ ซง่ึ ผกั กลุ่มนน้ี ิยม ปลูกแบบยกร่อง เป็นแปลงกว้าง 1-1.2 เมตร ระยะวางเทปน�้ำหยดก็ควรใช้ ระยะห่างน้อยกว่า 50 เซนติเมตร และควรติดต้ังเทปน�้ำหยด 3-5 เส้น ตอ่ แปลงปลกู เพอื่ ใหน้ ำ�้ เปยี กท่ัวท้งั แปลงปลูก 6 ระบบสวนครวั น้�ำหยด

รปู ท่ี 7 ลกั ษณะการหยดของนำ�้ รูปท่ี 8 ลกั ษณะการซึมลึกของน้ำ� จากเทปนำ�้ หยด จากเทปนำ้� หยด ท้ังนี้ระยะห่างของเทปน้�ำหยดน้ันนอกจากจะพิจารณาจากชนิดพืชท่ี ปลูกแลว้ เกษตรกรตอ้ งพจิ าณาจากชนดิ ของดินในพื้นที่ทต่ี ดิ ตงั้ ระบบด้วย เช่น ถ้าเป็นดินเน้ือหยาบหรือกลุ่มดินทรายผสมอยู่มากการซึมของน�้ำจะเป็นใน รูปแบบซึมลึก ระยะวงเปียกจะแคบ ถ้าเป็นดินประเภทเนื้อดินละเอียดหรือ กลุ่มดินเหนียวผสมอยู่มาก การซึมของน้�ำจะแผ่ออกด้านข้าง ดังนั้นชนิด ของดนิ จะเปน็ ปัจจยั หน่งึ ที่จะกำ� หนดระยะหา่ งของเทปน้ำ� หยดดว้ ยเชน่ กัน เส้นเขตเปยี กคอื อะไร เพื่อให้เกษตรกรหรือผู้อ่านคู่มือนี้ได้มีความเข้าใจมากยิ่งข้ึน จึงจ�ำเป็น ต้องอธิบายเสริมในเรื่องของเส้นเขตเปียก เส้นเขตเปียกของระบบสวนครัว น้�ำหยดหมายถึง ขอบเขตการเปียกของพ้ืนดินทีร่ ับน�้ำจากเทปน้�ำหยด 1 เส้น เส้นเขตเปียกเกิดข้ึนจากเวลาที่เปิดให้น้�ำ น�้ำท่ีหยดจากรูน้�ำหยดแต่ละรู จะซมึ เข้าไปเติมชอ่ งวา่ งของเมด็ ดินจนดินมีความชนื้ ท่พี ชื จะน�ำไปใชไ้ ด้ ระบบสวนครัวนำ้� หยด 7

รปู ที่ 9 เสน้ เขตเปียก ท่มี ีลกั ษณะเปน็ วง รปู ที่ 10 เส้นเขตเปียกท่ี เชอ่ื มชนกนั จนเปน็ ผนื เดียวกัน เส้นเขตเปียกนี้จะสัมพันธ์กับชนิดของดิน ปริมาณน้�ำที่หยดและ ระยะห่างของรูหยด (Spacing) ถ้าระยะห่างของรูหยด 10-20 เซนติเมตร เส้นเขตเปียกของแต่ละรูหยดมักจะเชื่อมชนกันจนกลายเป็นเส้นเดียวกัน ดงั รปู ท่ี 10 แต่ถ้าระยะหา่ งของรนู �้ำหยดหา่ งมากกว่าน้นั เชน่ 30 เซนติเมตร หรือ 60 เซนติเมตร เส้นเขตเปียกมักจะมีลักษณะเป็นวง ดังรูปที่ 9 ในกรณี ของเส้นเขตเปียกมีลักษณะเป็นวงถ้าต้องการให้เส้นเขตเปียกเชื่อมชน ถงึ กันจะท�ำได้โดยการเพิ่มเวลาในการเปิดให้น�้ำ จากลักษณะของเส้นเขตเปียกนี่เองท�ำให้ระบบสวนครัวน้�ำหยดเลือก ใช้เทปน้�ำหยดที่มีระยะรูหยด (Spacing) 20 เซนติเมตร เพราะเป็นระยะ ทเ่ี หมาะสมส�ำหรบั การปลกู พืชผักสวนครัวไดห้ ลายชนิด 8 ระบบสวนครัวน้ำ� หยด

ระยะห่างของรหู ยดข้ึนอย่กู บั ชนดิ ของพชื และชนดิ ของดนิ การเลือกระยะห่างรูน�้ำหยดของเทปน�้ำหยด (Spacing) มักจะเป็น ปัญหาส�ำหรับเกษตรกรที่จะเลือกใช้เทปน้�ำหยด เพราะไม่รู้จะเลือกระยะห่าง ไหนดี ข้อพจิ ารณาในการเลือกระยะรูหยดใหพ้ จิ ารณาดงั น้ี • ชนิดของพืชท่ีจะปลูก ถ้าเป็นพืชผักโดยเฉพาะพืชกินใบ เช่น ผกั ชี หอม ผกั บงุ้ หรอื พชื ทม่ี ีระยะปลูกไมห่ ่างกนั มากนัก แนะนำ� ใหใ้ ช้ระยะรหู ยด 10-20 เซนติเมตร ถา้ พืชผักทีป่ ลกู มรี ะยะท่ีหา่ ง จากกล่มุ แรกก็สามารถเลอื กใชร้ ะยะรูหยด 30 เซนตเิ มตรได้ ทั้งนี้ ระยะรหู ยด 30 เซนติเมตรนี้ ยังเปน็ ระยะรหู ยดทเี่ หมาะท่ีจะใช้กบั กลมุ่ พืชไรด่ ้วย เช่น ขา้ วโพด หรอื มนั ส�ำปะหลัง • ชนิดของดิน ถ้าเป็นดินเน้ือหยาบหรือกลุ่มดินทรายผสมอยู่มาก การซึมของน้�ำจะเป็นในรูปแบบซึมลึกระยะเส้นเขตเปียกจะแคบ ดินกลุ่มน้ีควรเลือกใช้ระยะรูหยด 10-20 เซนติเมตร ถ้าเป็น ดินประเภทเนื้อดินละเอียดหรือกลุ่มดินเหนียวผสมอยู่มาก การซมึ ของน้ำ� จะแผอ่ อกดา้ นขา้ ง ดนิ กลมุ่ นค้ี วรเลอื กใชร้ ะยะรหู ยด 30 เซนติเมตร จากท่ีกล่าวมาในข้อน้ีหากยังเป็นเร่ืองท่ียากในการเลือก ก็แนะน�ำให้ เลอื กใช้ระยะรูหยด 20 เซนติเมตร ซ่งึ ถอื เปน็ ระยะกลางๆ ท่เี หมาะสมสำ� หรบั พชื หลากหลายชนดิ ในโครงการระบบสวนครวั นำ้� หยดเองกเ็ ลอื กใชร้ ะยะรหู ยด 20 เซนติเมตรเปน็ สว่ นใหญ่ ระบบสวนครัวน�้ำหยด 9

ระบบสวนครวั น�้ำหยดควรใชค้ วามยาว เทปนำ�้ หยดก่เี มตร ในการใชง้ านระบบนำ�้ หยดทว่ั ไป เกษตรกรสว่ นใหญม่ กั จะประสบปญั หา ว่าควรใช้เทปน้�ำหยดยาวก่ีเมตรดีปริมาณน้�ำที่หยดจึงจะสม่�ำเสมอ จากปัญหา ข้อนี้ในระบบสวนครัวน้�ำหยด จึงแนะน�ำให้ใช้ระยะเทปน�้ำหยดยาวได้ไม่เกิน 20 เมตร เพราะจากการเก็บข้อมูลปริมาณการหยดของน�้ำจากหลายๆ แปลงทดลอง พบว่า หากตั้งถังพักน้�ำสูง 1-2 เมตร ความยาวเทปน้�ำหยดที่ เหมาะสมทส่ี ุดที่ปรมิ าณน้ำ� หยดยงั คงสม่ำ� เสมอคือระยะ 15 เมตร (ขนาดแปลง ปลูก 12 x 15 เมตร จ�ำนวนเทปน้�ำหยดไม่เกิน 24 เส้น) แต่ทั้งน้ีก็สามารถ เพ่ิมระยะเทปนำ�้ หยดใหย้ าวไดถ้ งึ 20 โดยการลดจำ� นวนเทปนำ�้ หยดไม่ใหเ้ กิน 20 เส้น ขาตัง้ ส�ำหรบั ใช้ตงั้ ถงั 200 ลติ รในระบบสวนครัวน�้ำหยด ขาตงั้ ส�ำหรับต้ังถงั 200 ลติ รนี้ สามารถเลือกทำ� ได้หลากหลายรปู แบบ ตามแต่ผ้ใู ช้งานสะดวกในการจัดหา ขอ้ พิจารณาที่สำ� คัญคือ ความแข็งแรงของ ขาต้ังส�ำหรับการรับน�้ำหนัก 200 กิโลกรัม และความสูงของขาตั้ง ควรมี ความสูงประมาณ 1-2 เมตร เพ่ือให้มีแรงดันเพียงพอที่จะส่งน�้ำกระจาย สม่�ำเสมอได้ท่ัวทั้งพ้ืนท่ี วัสดุท่ีน�ำมาใช้ท�ำขาต้ังก็ควรเลือกใช้วัสดุท่ีหาได้ง่าย และมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป เช่น ถ้าใช้เหล็กเป็นโครงสร้างแม้จะแข็งแรง ทนทานแต่ราคาอาจจะมากกว่า 1,000 บาท หรือถ้าใช้บ่อวงซีเมนต์ 3 บ่อ วางซอ้ นกนั ราคาจะประมาณ 300-400 บาท หรอื ในกรณที มี่ ถี งั 200 ลติ รอยแู่ ลว้ จะใช้ถังเป็นขาต้ังก็ได้เช่นกัน หรือในบางรายที่มีเศษไม้อยู่แล้วจะใช้ไม้ ท�ำเป็นขาตัง้ ก็ไดเ้ ช่นกัน 10 ระบบสวนครวั นำ้� หยด

รูปท่ี 11 ขาต้งั แบบบอ่ วงซเี มนต์ รปู ที่ 12 ขาตัง้ แบบขาเหล็กกลม รูปท่ี 13 ขาต้งั แบบใช้อิฐบลอ็ ก รูปที่ 14 ขาตง้ั แบบ ใช้ถังเหล็ก 200 ลิตร ระบบสวนครวั น�ำ้ หยด 11

รูปที่ 15 ขาต้ังแบบใชไ้ ม้ ตัวอยา่ งรูปแบบการตดิ ตง้ั ระบบสวนครัวน้�ำหยด รปู ที่ 16 แบบตง้ั ถงั กลางแปลง รูปที่ 17 แบบตั้งถังข้างแปลง 12 ระบบสวนครวั นำ้� หยด

รปู ท่ี 18 แบบตั้งถงั ข้างแปลง รปู ท่ี 19 แบบต้ังถงั กลางแปลง ระบบสวนครัวน�้ำหยด 13

ตวั อยา่ งพืชทป่ี ลูกโดยระบบสวนครวั น้ำ� หยด รปู ที่ 20 ขา้ วโพดหวาน รปู ท่ี 21 ผลผลิตข้าวโพดหวาน รูปที่ 22 ตะไคร้ รปู ท่ี 23 มะเขือเทศ 14 ระบบสวนครวั นำ�้ หยด

รปู ที่ 24 ตะไคร้ มะเขือ พริก รปู ท่ี 25 ผกั ชีไทย รปู ที่ 26 ฟกั ทอง รูปที่ 27 ถ่วั ฝกั ยาว ระบบสวนครวั น�้ำหยด 15

รูปท่ี 28 แตงกวา รูปท่ี 29 ผักหวานปา่ ตวั อย่างการสนับสนุนและสง่ เสรมิ การปลูกพืช โดยระบบสวนครัวนำ้� หยดในพน้ื ท่ีเขตปฏิรปู ที่ดนิ รูปท่ี 30 ระบบสวนครัวนำ�้ หยด จ.มหาสารคาม 16 ระบบสวนครวั นำ้� หยด

รปู ท่ี 31 ระบบสวนครวั น้�ำหยด จ.อทุ ัยธานี รปู ท่ี 32 ระบบสวนครวั นำ�้ หยด จ.กาญจนบรุ ี ระบบสวนครัวน�้ำหยด 17

รปู ที่ 33 ระบบสวนครวั นำ�้ หยด จ.ลพบุรี รปู ท่ี 34 ระบบสวนครัวน้�ำหยด จ.ฉะเชงิ เทรา 18 ระบบสวนครัวน�้ำหยด

รปู ท่ี 35 ระบบสวนครวั น้�ำหยด จ.กาฬสินธ์ุ ระบบสวนครวั น�้ำหยด 19

ตน้ ทุนของระบบสวนครัวน�้ำหยด ประมาณ 2,500 - 3,000 บาท รายการอปุ กรณร์ ะบบสวนครวั น�ำ้ หยด ท่ี รายการ หน่วย จำ� นวน ราคา รวม ตอ่ หนว่ ย 1 ถงั พลาสตกิ ขนาด 200 ลติ ร ถัง 1 700 700 2 ทอ่ พวี ีซี ชัน้ 8.5 ขนาด 1 นิ้ว ทอ่ น 4 75 300 3 วาล์วน�้ำพวี ซี ีขนาด 1 นวิ้ ตวั 1 65 65 4 ข้อตอ่ ตรงพวี ีซีเกลียวนอก 1 นิว้ ตัว 1 7 7 5 ขอ้ ต่อตรงพวี ีซีเกลียวใน 1 น้วิ ตัว 3 9 27 6 ข้อต่อสามทาง 1 น้ิว ตัว 1 14 14 7 ขอ้ งอพีวซี ี 1 น้ิว ตวั 2 10 20 8 ฝาครอบพวี ซี ี 1 น้วิ ตัว 2 8 16 9 กรองเกษตรชนิดตะแกรง 1 น้ิว ตัว 1 185 185 10 ขอ้ ต่อเทปน้ำ� หยดตอ่ กบั พีวซี ีพร้อม ชุด 35 13 455 ลกู ยาง 11 เทปนำ้� หยดระยะรูหยด 20 ซม. ม้วน 1 1,000 1,000 (500 ม.) 12 อ่ืนๆ เช่น เทปพนั เกลียว ข้อตอ่ ชดุ 1 160 160 ตรง 1” รวม 2,949.00 หมายเหตุ : 1. ราคาในตารางเป็นโดยประมาณ ราคาอาจต่างกนั ในแต่ละพน้ื ที่ 2. จำ� นวนข้อต่อเทปน�ำ้ หยดข้อที่ 10 ท่ีใชจ้ ริงอาจจะตา่ งจากในรายการ 3. ขอ้ ตอ่ ตรง 1” ในรายการ 12 ส�ำหรบั กรณที ่ีใชท้ อ่ พีวซี ี 1” ชนิดปลายเรยี บ 20 ระบบสวนครัวนำ�้ หยด

เครอื่ งมือส�ำหรบั การตดิ ตั้งสวนครัวน้�ำหยด • สว่าน • เลอื่ ยตดั เหลก็ หรือกรรไกรตดั ทอ่ • โฮลซอว์ขนาด 16 มม. และ 32 มม. สวา่ น กตรัดรทไก่อร โฮลซอว์ ระบบสวนครวั น้ำ� หยด 21

รายการอุปกรณส์ วนครวั น้�ำหยด 1. ถังพลาสติกขนาด 200 ลติ ร ดา้ นบน ควรเปิดไดเ้ พ่ือสะดวก ในการตดิ ตั้งทางน้ำ� ออก และผสมปุ๋ย 2. ท่อพวี ซี ี ช้นั 8.5, วาลว์ น้�ำและขอ้ ต่อพวี ีซี ตา่ งๆ ขนาด 1 นว้ิ 3. กรองน้�ำเกษตรชนิด ตะแกรงขนาด 1 น้วิ 22 ระบบสวนครวั น้ำ� หยด

4. ข้อต่อเทปนำ�้ หยด สามารถ เลือกใช้งานไดต้ ามความ เหมาะสม 5. เทปน้�ำหยด ระยะรูหยด 20-30 ซม. อัตราการหยด 1-2 ลติ ร/ชวั่ โมง ระบบสวนครวั น้�ำหยด 23

ขั้นตอนการติดตง้ั สวนครัวนำ�้ หยด โฮลซอว์ 32 มม. 1. เจาะรูถงั พลาสตกิ สงู จากกน้ ถงั ประมาณ 5 ซม. โดยใช้โฮลซอว์ 32 มม. 24 ระบบสวนครวั น้�ำหยด

2. ติดตั้งทางน�้ำออก โดยน�ำข้อตอ่ ตรงพีวีซีเกลียวนอกพันด้วย เทปพนั เกลยี ว ขนั เขา้ ไปในรูถงั ทเ่ี จาะในข้อ 1 ใหแ้ น่น 3. ลอ็ คขอ้ ต่อตรงพีวซี เี กลยี วนอก โดยใชข้ อ้ ตอ่ ตรงพวี ซี ีเกลยี ว ในหมุนลอ็ คดา้ นในของถัง ระบบสวนครวั นำ้� หยด 25

5. ติดตัง้ ชดุ กรอง 4. ติดตงั้ วาล์ว เกษตร โดยให้ พวี ีซี และ หัวลูกศรท่ี ขอ้ ต่อต่างๆ ตัวกรองหันไป ทิศทางเดยี ว ตามสภาพ กับการไหล พน้ื ที่ ของน้ำ� 6. ตดิ ตั้งท่อ พีวซี ีตาม 26 ระบบสวนครัวนำ�้ หยด ความกว้าง ของหวั แปลง

7. เจาะท่อพวี ีซใี นตำ� แหนง่ ทต่ี อ้ งการวางสายเทปน้ำ� หยดโดยใช้ โฮลซอว์ขนาด 16 มม. จากนน้ั ใส่ลูกยางกันร่ัวเขา้ กบั รูท่เี จาะและ ติดตัง้ ขอ้ ตอ่ เทปนำ้� หยด ระบบสวนครวั น�้ำหยด 27

8. ไล่เศษตะกอนออกจากระบบ โดยปลอ่ ยน�ำ้ จากถงั ให้เศษตะกอนถกู ชำ� ระทิ้งไป จากน้ันใชฝ้ าครอบพวี ีซีปิดท่ปี ลายทง้ั สองดา้ น 9. ตดิ ต้งั เทปน้�ำหยด โดยเสียบ เทปนำ�้ หยดเข้ากบั ข้อตอ่ จากนั้น ลอ็ คเทปน�ำ้ หยดให้แน่น จัดเทป น้�ำหยดใหเ้ รยี บรอ้ ย โดยให้รเู ทป นำ้� หยดหงายขึ้น 28 ระบบสวนครวั น้ำ� หยด

10. ทดสอบระบบโดยเปดิ วาลว์ ปล่อยนำ้� รอจนน้ำ� ไหลออกจาก ปลายสายเทปนำ้� หยดจากนน้ั พบั ปลายสายเทปน้ำ� หยดใหแ้ น่น ตรวจเชค็ ความเรียบร้อยของเทปนำ�้ หยดและการหยดของนำ�้ หมายเหต ุ : ขอ้ ต่อพวี ซี ที ่ใี ช้ในระบบสวนครวั น้ำ� หยดจะทานำ้� ยาประสานท่อหรอื ไมก่ ็ได้ ระบบสวนครวั น�้ำหยด 29

ตวั อย่างการค�ำนวณ การหาปริมาณน้�ำท่ีให้แก่พืชผักส�ำหรับระบบสวนครัวน้�ำหยด พื้นที่ 200 ตารางเมตร ตัวอย่างท่ี 1 พืชทีป่ ลูกเปน็ แถวไมย่ กรอ่ งแปลง เช่น พรกิ มะเขือ มะเขือเทศ ข้อมลู พ้ืนฐาน • ขนาดพื้นที่ 200 ตารางเมตร กวา้ ง 10 เมตร ยาว 20 เมตร • ระยะระหว่างแถวปลกู ประมาณ 50 เซนตเิ มตร • ความยาวเทปนำ�้ หยดต่อ 1 แถว 20 เมตร การคำ� นวณ ข้นั ท่ี 1 หาจ�ำนวนเทปนำ�้ หยด จำ� นวนเทปน�้ำหยด = (ความกวา้ งแปลง/ระยะวางเทปน�ำ้ หยด)+1 = (10/0.5) + 1 = 21 เสน้ ข้ันที่ 2 พนื้ ทเี่ ขตเปยี ก พ้ืนทีเ่ ขตเปียก หมายถึง พ้นื ท่ที ี่เปยี กน้�ำเม่อื ทำ� การเปดิ ให้น�ำ้ ซ่ึงพน้ื ทเ่ี ขตเปยี กนีจ้ ะขึ้นอยกู่ ับชนิดของดิน เช่น ถา้ เปน็ ดินเหนยี ว พ้ืนท่ีเขตเปียกจะแผ่ออกข้าง ถ้าเป็นดินทรายพื้นท่ีเขตเปียกจะ ซึมลึก โดยปกติแล้วพ้ืนที่เขตเปียกจากเทปน้�ำหยดจะแผ่เปียก ออกดา้ นขา้ งเทปนำ�้ หยดไดป้ ระมาณ 20-40 เซนตเิ มตร (ขนึ้ อยกู่ บั ชนดิ ของดนิ และปริมาณน้�ำ) แตท่ ้ังน้รี ะยะเขตเปยี กทแี่ ผอ่ อกขา้ งเทปนำ�้ หยด ในกรณขี องระบบสวนครวั นำ้� หยดจะแผอ่ อกขา้ งไดน้ อ้ ยกวา่ ระบบนำ�้ หยด แบบใชป้ ม๊ั สง่ นำ้� เขา้ ระบบ จากการเกบ็ ขอ้ มลู ในพน้ื ทโ่ี ครงการนำ� รอ่ งระบบ สวนครัวน�้ำหยด พบว่า ระยะเขตเปียกท่ีได้จากระบบสวนครัว นำ้� หยดจะแผ่ออกขา้ งประมาณ 15-30 เซนตเิ มตร 30 ระบบสวนครวั น�้ำหยด

พ้ืนทเี่ ขตเปียก = ความยาวเทปน�ำ้ หยด x ความกว้างเขตเปยี ก = 20 เมตร x 0.25 เมตร = 5 ตารางเมตรตอ่ เทปนำ้� หยด 1 เส้น พ้นื ท่เี ขตเปยี กรวม = 21 เสน้ x 5 ตารางเมตร = 105 ตารางเมตร ข้นั ที่ 3 หาปริมาณความต้องการน้�ำของพืช (Consumptive Use Crop Water Requirements) ค่าปริมาณความต้องการน้�ำของพืชสามารถดูได้จากตาราง ปรมิ าณความตอ้ งการนำ้� ของพชื ทก่ี รมชลประทานจดั ทำ� ไวด้ งั ตาราง แนบท้ายที่ 1-10 ซ่งึ จะจำ� แนกเป็นพืชชนิดต่างๆ เมอื่ พจิ ารณาจากตารางการใชน้ ำ�้ ของพชื ดงั กลา่ วมขี อ้ สงั เกตวา่ พืชผักจะใช้น�้ำอยู่ท่ีประมาณ 3-5 มิลลิเมตรต่อวัน ส�ำหรับ ข้อแนะน�ำในการน�ำค่าความต้องการน้�ำของพืชไปใช้งานนั้น มขี ้อแนะน�ำดังน้ี • ในกรณีท่ีเป็นพืชผักที่กินผลส่วนใหญ่จะใช้ค่าความ ตอ้ งการนำ้� ของพชื ทป่ี ระมาณ 5 มลิ ลเิ มตรตอ่ วนั เชน่ มะเขอื หอมหวั ใหญ่ มะระ ถ่ัวฝักยาว กะหล่ำ� ดอก เปน็ ต้น ระบบสวนครัวน้ำ� หยด 31

• ในกรณที เ่ี ปน็ กลมุ่ พชื กนิ ใบ จะใชค้ า่ ความตอ้ งการนำ้� ของ พชื ที่ประมาณ 3 มลิ ลิเมตรตอ่ วนั เช่น คะนา้ ผักกาดขาว กระเทยี ม เป็นตน้ ขั้นท่ี 4 หาอตั ราการตกของนำ�้ (Precipitation Rate, PR) อัตราการตกของน้�ำ หมายถึง ปริมาณน�้ำท่ีตกต่อพ้ืนท่ีรับน�้ำ ในกรณีการหาอัตราการตกของน้�ำของระบบสวนครัวน�้ำหยดจะ คดิ ปรมิ าณน�้ำคือ ปริมาณน้ำ� ทีไ่ ด้จากการเปดิ น้ำ� จากถงั 200 ลติ ร 1 ถังคือ 200 ลิตร หรือ 0.2 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับน้�ำในที่น้ี ก็คือพื้นที่เขตเปียกของระบบสวนครัวน�้ำหยดท่ีได้จากการคิดใน ขน้ั ตอนที่ 2 PR = 0.2 ลูกบาศก์เมตร/105 ตารางเมตร = 0.0019 เมตร หรอื 1.9 มิลลเิ มตรต่อการให้น�ำ้ 1 ถงั ข้นั ที่ 5 หาปรมิ าณน�้ำทีต่ อ้ งให้แก่พืช ปรมิ าณการใหน้ �้ำในระบบสวนครัวนำ�้ หยด คอื จ�ำนวนครัง้ ที่ ตอ้ งเปดิ ใหน้ ำ้� จากถงั 200 ลิตรตอ่ 1 วนั เพ่ือให้เพยี งพอต่อความ ตอ้ งการของพชื ปริมาณในการใหน้ �ำ้ ในกรณพี ืชใชน้ ำ�้ 3 มลิ ลิเมตรตอ่ วนั = อัตราการใชน้ ำ�้ ของพืช / อัตราการตกของนำ้� = 3 มิลลเิ มตรตอ่ วัน / 1.9 มลิ ลิเมตรต่อ 1 ถงั = 1.6 ถงั ต่อวัน หรือ 320 ลิตรตอ่ วัน ปรมิ าณในการใหน้ ้�ำ ในกรณพี ืชใช้นำ้� 5 มิลลเิ มตรตอ่ วัน = อัตราการใชน้ �้ำของพชื /อัตราการตกของน�้ำ = 5 มิลลิเมตรตอ่ วัน / 1.9 มลิ ลเิ มตรตอ่ 1 ถงั = 2.6 ถงั ตอ่ วัน หรือ 520 ลิตรต่อวัน 32 ระบบสวนครวั น�้ำหยด

ตัวอย่างแปลงข้าวโพดหวาน ทป่ี ลูกโดยใชร้ ะบบสวนครวั นำ้� หยด ขอ้ มลู เบ้อื งตน้ • พื้นท่ีปลกู ท่ี ต.สุรนารี อ.เมอื ง จ.นครราชสีมา • ขนาดแปลงปลกู กวา้ ง 10 เมตร ยาว 20 เมตร • เตรยี มดนิ โดยใชไ้ ถผาน 4 1 เทยี่ ว จอบหมนุ แบบโรตารี่ 1 เทย่ี ว • ระยะห่างระหวา่ งเทปน้ำ� หยด 50 เซนติเมตร • ระยะรูหยดของเทปน�ำ้ หยด (Spacing) 20 เซนติเมตร • จ�ำนวนแถวของเทปนำ้� หยด 21 เส้น ยาวเสน้ ละ 20 เมตร • ขาต้ังถังสูง 1.5 เมตร • ระยะปลูก 50x40 เซนติเมตร • เมล็ดพันธ์ปุ ระมาณ 1,100 เมลด็ • ปุ๋ยทใี่ ช้ 46-0-0, 15-15-15, 13-13-21 • วธิ กี ารใหป้ ยุ๋ ผสมปยุ๋ ลงในถงั 200 ลติ รเปดิ ใหพ้ รอ้ มกบั การใหน้ ำ�้ • สารเคมที ี่ใช้ ยาหยอดปอ้ งกนั หนอนเจาะตน้ • การให้น้ำ� 2 คร้งั เชา้ -เยน็ คร้ังละ 300 ลติ ร • ผลผลติ ท่เี ก็บไดป้ ระมาณ 350 กิโลกรัม ระบบสวนครวั น�ำ้ หยด 33

เตรยี มพนื้ ท่ี วนั ที่ 30 เมษายน 2559 โดยใชไ้ ถผาน 4 และจอบหมุนแบบโรตารี่ รปู ที่ 37 เตรียมดินวันท่ี 30 เมษายน 2559 โดยใชไ้ ถผาน 4 และ จอบหมนุ แบบโรตาร่ี 34 ระบบสวนครวั น�ำ้ หยด

ตดิ ต้งั ระบบสวนครัวน้�ำหยด วนั ที่ 1 พฤษภาคม 2559 หยอดเมลด็ วนั ที่ 5 พฤษภาคม 2559 รปู ที่ 38 ตดิ ต้ังระบบสวนครัวนำ�้ หยด พ้นื ทีป่ ลูก 10 x 20 เมตร ระบบสวนครวั น�้ำหยด 35

รปู ท่ี 39 ข้าวโพดอายุ 5 วัน รูปที่ 40 ข้าวโพดอายุ 8 วัน 36 ระบบสวนครัวน�้ำหยด

รปู ที่ 41 ขา้ วโพดอายุ 30 วัน ระบบสวนครัวน้ำ� หยด 37

รูปท่ี 42 ขา้ วโพดอายุ 50 วัน 38 ระบบสวนครัวน�้ำหยด

รปู ที่ 43 ขา้ วโพดอายุ 60 วัน ระบบสวนครัวน้ำ� หยด 39

รูปท่ี 44 ขา้ วโพดอายุ 66 วัน 40 ระบบสวนครัวน�้ำหยด

เกบ็ ผลผลติ 10 กรกฎาคม 2559 รปู ท่ี 45 เกบ็ ผลผลติ ข้าวโพดอายุ 66 วนั ระบบสวนครวั น�้ำหยด 41

รูปท่ี 46 ผลผลิตขา้ วโพดจากแปลงระบบสวนครัวน้ำ� หยด 42 ระบบสวนครัวน้�ำหยด


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook