Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Geotectonics

Geotectonics

Published by Sakdanai Sawatpon, 2021-09-25 14:23:43

Description: ธรณีแปรสัณฐาน

Search

Read the Text Version

สรุปเน้ือหา . แบบฝึกหดั วิทยาศาสตร์โลก 3 ธรณีแปรสัณฐาน GEOTECTONICS สันติ ภัยหลบล้ี

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน วัตถุประสงค์การเรยี นรู้ 1. เพ่อื เข้าใจหลกั ฐานและเหตุผลของทฤษฎธี รณีแปรสัณฐาน 2. เพ่ือจาแนกสภาพแวดลอ้ มทางธรณแี ปรสณั ฐานแบบตา่ งๆ 3. เพอ่ื ทราบพ้ืนทบี่ นโลกท่เี ปน็ ตวั แทนและแสดงสภาพแวดล้อมทางธรณี แปรสัณฐานแบบต่างๆ สารบญั สารบญั หนา้ 1. ธรณแี อ่นตัว (Geosyncline) 1 2. หลักฐานการแปรสณั ฐาน (Evidence of Tectonic) 2 3. แผน่ เปลือกโลกและการเคล่อื นท่ี (Plate and Movement) 5 4. การเคลอื่ นที่ออกจากกนั (Divergent Movement) 15 5. การเคลือ่ นท่เี ขา้ หากัน (Convergent Movement) 23 6. การเคล่ือนท่ีผา่ นกนั (Transform Movement) 28 34 อ้างอิง 36 แบบฝึกหดั 37 เฉลยแบบฝกึ หดั 56 1

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 1 ธรณแี อ่นตัว Geosyncline ในอดีตหลังจากท่ีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบพ้ืนที่ต่างๆ ของโลกมากข้ึน เกิด ข้อสงสัยจานวนมากเกี่ยวกับการกระจายตัวของภูมิประเทศและชนิดหินที่พบ ซ่ึง แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โดยนักวทิ ยาศาสตรเ์ ชื่อว่าความแตกต่างของหินและภูมิ ประเทศดงั กลา่ ว นา่ จะเกดิ จากกระบวนการบางอยา่ งของโลก ธรณีแอ่นตัว (geosyncline) เป็นทฤษฏีหรือแบบจาลองเริ่มต้น ซึ่ง เจมส์ ฮอลล์ (Hall J.) และ เจมส์ ไดว์ ดาน่า (Dana J.D.) นักวิทยาศาสตร์ชาว อเมริกัน ได้นาเสนอขึ้นในปี พ.ศ. 2402 เพ่ืออธิบายการกระจายตัวของหินชนิด ต่ า ง ๆ ท่ี พ บ ใน พื้ น ท่ี เทื อ ก เข า แ อ ป พ า เล เชี ย น (Appalachian) ท า ง ตะวันออกเฉียงเหนอื ของประเทศสหรัฐอเมริกา (รูป 1) 2

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน รปู 1. แบบจาลองจากทฤษฏีธรณแี อน่ ตัว [Briegel และ Xiao, 2001] 3

สนั ติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน ทฤษฏีธรณีแอ่นตัว อธิบายว่าเมื่อโลกเริ่มเย็นตัว พ้ืนผิวโลกจะหดตัว เกิด แรงตึงผิวยืดแผ่นเปลือกโลกให้บางลง ทาให้พ้ืนผิวโลกมีความสูง-ต่าแตกต่างกัน (รูป 1ก) ต่อมาตะกอนท่ีผุพังมาจากพ้ืนท่ีสูงถูกพัดพามาสะสมในแอ่ง ส่งผลให้มี โอกาสเกิดหินทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ 1) เกิดแรงกดทับตะกอนด้านล่างจากน้าหนักของ ตะกอนด้านบน เกิดการเชื่อมประสานและแข็งตัวกลายเป็น หินตะกอน (sedimentary rock) 2) หินบางส่วนถูกแรงกดทับสูงจนแปรสภาพกลายเป็น หินแปร (metamorphic rock) และ 3) บางพื้นที่แผ่นเปลือกโลกเกิดการปริแตก แมกมาสามารถแทรกดนั ข้นึ มาและเยน็ ตวั เป็น หินอัคนี (igneous rock) (รูป 1ข) นอกจากน้ีหากน้าหนักของตะกอนที่กดทับมีปริมาณมหาศาลและครอบคลุมพ้ืนที่ กว้าง ก็อาจทาให้หินเหล่าน้ันยกตัวขึ้นเกิดเป็นแนวเทือกเขาได้ เช่น เทือกเขาแอป พาเลเชยี น (Appalachian) (รปู 1ค) ทฤษฎีธรณีแอ่นตัว เป็นท่ียอมรับและนิยมมากจากสังคมวิทยาศาสตร์ ในช่วงต้น-กลางศตวรรษที่ 19 แต่เน่ืองจากทฤษฎีธรณีแอ่นตัว ไม่สามารถใช้ อธิบายการเกิดหินหรือภูมิประเทศในพื้นท่ีอื่นๆ ของโลกได้ จึงทาให้ทฤษฎีธรณี แอ่นตัวเริ่มถูกแทนที่ด้วย ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) และจางหายไป จากความเชอื่ ของสังคมนกั วทิ ยาศาสตร์ในปัจจุบัน ธรณีแอน่ ตวั (geosyncline) คือทฤษฏที ี่นกั วิทยาศาสตร์ เคยใชอ้ ธิบายการกระจายตวั ของดนิ หนิ แร่ทพ่ี บบนโลก ก่อนทจ่ี ะมีทฤษฎีธรณแี ปรสณั ฐาน (tectonic) 4

สนั ติ ภยั หลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 2 หลักฐานการแปรสัณฐาน Evidence of Tectonic 2.1. แนวคดิ ทวปี เลือ่ น (Continental Drift) ปี พ.ศ. 2455 อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A.) นักวิทยาศาสตร์ชาว เยอรมัน นาเสนอ แนวคิดทวีปเล่ือน (continental drift) โดยอธิบายว่า เม่ือ ประมาณ 200 ล้านปี ท่ีผ่านมา พ้ืนทวีปปัจจุบันเคยอยู่ติดเป็นแผ่นดินเดียวกันมา ก่อน เรียกว่า มหาทวีปพันเจีย (Pangaea supercontinent) ต่อมามหาทวีป พันเจียเร่ิมปริแตกและเลื่อนตัว (drift) ออกจากกันเป็น 2 ส่วน คือ 1) ลอเรเซีย (Laurasia) ทางซีกโลกเหนือ และ 2) กอนด์วานาแลนด์ (Gondwanaland) ทางซีกโลกใต้ และแผ่นดินทั้งสอง เกิดการปริแตก แยกย่อยและเล่ือนตัวตลอด ช่วงเวลา 200 ล้านปี ที่ผ่านมา จนมีการกระจายตัวของทวีปต่างๆ ดังท่ีเห็นใน ปัจจุบนั (รปู 2) โดยอลั เฟรด เวเกเนอร์ อ้างองิ หลกั ฐานสนับสนุน ดงั นี้ (รปู 3) 5

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน รูป 2. วิวัฒนาการเลื่อนตัวของทวีปต่างๆ ในมหาทวีปพันเจีย จากแนวคิดทวีป เลอ่ื นของอัลเฟรด เวเกเนอร์ [Rolf และคณะ, 2017] 6

สนั ติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน รูป 3. หลักฐานสนบั สนนุ แนวคดิ ทวปี เลื่อนของอลั เฟรด เวเกเนอร์ 7

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 1) รูปร่างทวีป (continental shape) อัลเฟรด เวเกเนอร์พบว่าเมื่อตัดพื้น น้าออก รูปร่างของทวีปอเมริกาใต้และทวีปแอฟริกาสามารถเชื่อมต่อกันสนิท เหมือนกบั จิ๊กซอว์ (รูป 3ก) 2) ชนิดหิน (rock type) อัลเฟรด เวเกเนอร์พบว่าหินที่ขอบตะวันออกของ ทวีปอเมริกาเหนือและขอบตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซ่ึงปัจจุบันอยู่ห่างกันหลาย พนั กโิ ลเมตรเปน็ หินชนิดเดยี วกนั (รูป 3ข) 3) ฟอสซิล (fossil) อลั เฟรด เวเกเนอร์พบว่ามีฟอสซิลหลายชนดิ อยคู่ นละฝ่ัง มหาสมุทร โดยไมม่ ีอวยั วะท่เี ช่อื ว่าจะสามารถว่ายนา้ ขา้ มมหาสมุทรได้ (รูป 3ค) 4) ธารนาแข็ง (glacial deposit) อัลเฟรด เวเกเนอร์พบหลักฐานของหินที่ แสดงลักษณะการสะสมตัวแบบธารน้าแข็งในอดีตกระจายตัวอยู่ในหลายทวีป ซ่ึง เม่ือลองนามาต่อกันตามรูปร่างทวีป (รูป 3ง) พบว่าธารน้าแข็งน้ันกระจุกตัวอยู่ใน พน้ื ท่ีเดยี วกัน จงึ สรปุ วา่ ในอดตี พนื้ ท่ีดังกล่าวนา่ จะอยู่ตดิ กันในบรเิ วณที่มีภมู ิอากาศ หนาวเยน็ เชน่ ข้ัวโลก (รูป 3ง) ถึงแม้ว่าหลักฐานต่างๆ ที่อัลเฟรด เวเกเนอร์นาเสนอต่อสังคม วิทยาศาสตร์น้ันมีความน่าเช่ือถือและสมเหตุสมผล แต่เนื่องจากเขาไม่สามารถ อธิบายได้ว่าแรงหรือกลไกใดที่ทาให้แผ่นดินเคล่ือนท่ีได้ กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะแถบยุโรปจึงคัดค้านแนวคิดของเขาอย่างรุนแรงและไม่ยอมรับแนวคิดน้ี ในเวลานัน้ การที่ไม่สามารถอธิบายกลไกท่ีทาใหแ้ ผน่ เปลอื กโลก เคล่ือนที่ได้ ทาให้แนวคิดทวปี เล่อื นของ อลั เฟรด เวเกเนอร์ จงึ ถูกต่อตา้ นอย่างหนกั จากสังคมวิทยาศาสตร์ 8

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 2.2. แนวคิดพืน้ ทะเลแผก่ วา้ ง (Sea-floor Spreading) ในช่วงสงครามโลกคร้ังที่ 2 (พ.ศ. 2482-2488) กองทัพเรือของประเทศ สหรัฐอเมริกา นาโดยกับตันแฮรีย์ เฮส (Hess H.) ได้รับภารกิจสารวจและค้นหา เรือดาน้าของฝ่ายศัตรูโดยใช้ เคร่ืองหย่ังความลึกน้า (echo sounder) ซ่ึงใช้ หลักการเดียวกันกับท่ีชาวประมงใช้ค้นหาฝูงปลาใต้ทะเล โดยส่ิงที่แฮรีย์ เฮส พบ ไม่ใชเ่ รือดาน้าอย่างที่คาดหวัง แต่กลบั พบ ภมู ิประเทศใต้ทะเล (bathymetry) ท่ี น่าสนใจจานวนมาก (รูป 4) [Almalki และคณะ, 2014] เช่น สันเขากลาง มหาสมุทร (mid-oceanic ridge) โซนรอยแยก (fracture zone) รอ่ งลกึ กน้ สมุทร (trench) ทร่ี าบทะเลลกึ (abyssal plain) และภเู ขาใต้ทะเล (seamount) เป็นตน้ รูป 4. ลกั ษณะภูมปิ ระเทศใต้มหาสมทุ รแอตแลนตกิ 9

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน จากข้อมูลภูมิประเทศใต้ทะเลท่ีค้นพบโดยบังเอิญ ทาให้แฮรีย์ เฮส วิเคราะห์ว่าน่าจะมีการสร้างแผ่นเปลอื กโลกมหาสมุทรขึ้นมาใหม่อยู่ตลอดเวลา ซ่ึง เกิดจากการแทรกดันของแมกมาบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร ทาให้แผ่นเปลือก โลกมหาสมุทรเก่าถูกแทนท่ีและดันให้แยกออกท้ังสองฝ่ังของสันเขากลาง มหาสมุทรอย่างช้าๆ โดยแฮรีย์ เฮส นาเสนอแนวคิดนี้ต่อสังคมวิทยาศาสตร์ และ เรยี กแนวคดิ นวี้ ่า แนวคดิ พ้ืนทะเลแผ่กวา้ ง (sea-floor spreading) ซ่งึ แนวคดิ นี้ สอดคล้องกับแนวคิดทวีปเล่ือนของอัลเฟรด เวเกเนอร์ โดยช่วยอธิบายกลไกการ เคลื่อนตัวออกท้ังสองด้านของมหาสมุทรแอตแลนติก จึงทาให้ทวีปอเมริกาใต้และ ทวปี แอฟริกาซง่ึ ในอดีตเคยอย่ชู ิดติดกนั น้ันแยกออกจากกันในปจั จุบัน ภูมปิ ระเทศใตท้ ะเล (bathymetry) ที่เปิดเผยโดยแฮรยี ์ เฮส ทาใหแ้ นวคิดทวีปเล่อื นของอลั เฟรด เวเกเนอร์ ถูก ยกขึน้ มากลา่ วถึงอีกคร้งั ในสงั คมวิทยาศาสตร์ 2.3. แนวคดิ ของไวน-์ แมททวิ -มอร์เลย์ (Vine-Matthews-Morley) ในเวลาตอ่ มา เฟรเดรกิ จอร์น ไวน์ (Vine F.J.) ดรมั มอนด์ ฮอยล์ แมททิว (Matthews D.H.) แ ล ะ ล า เว น ค์ ดั บ เบิ้ ล ยู ม อ ร์ เล ย์ (Morley L.W.) นักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดา ได้สารวจพ้ืนมหาสมุทรอีกคร้ังและเก็บตัวอย่างทั้ง ตะกอนและหิน ตัดขวางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก (รูป 4) จากน้ันแปล ความหมายและวิเคราะห์ตัวอย่างดังกล่าว ซ่ึงผลการศึกษาพบข้อมูลหลายอย่างท่ี ช่วยสนับสนุนแนวคิดทวีปเล่ือนของอัลเฟรด เวเกเนอร์ และแนวคิดพ้ืนทะเลแผ่ กวา้ งของแฮรีย์ เฮส ไดแ้ ก่ (รปู 5) 10

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน รูป 5. หลกั ฐานทถ่ี กู คน้ พบเพิม่ เตมิ จากทีมสารวจไวน์-แมททวิ -มอร์เลย์ 1) ความหนาของช้ันตะกอน (thickness of sediment) โดยไวน์- แมททิว-มอร์เลย์ พบว่ามีการสะสมตัวของตะกอนหนาขนึ้ อยา่ งตอ่ เน่ืองในบริเวณท่ี ห่างออกไปจากสันเขากลางมหาสมุทร (รูป 5ก) ซ่ึงโดยธรรมชาติ กระแสน้าใน มหาสมุทรจะค่อนข้างนิ่ง ทาให้อัตราการสะสมตัวของตะกอนจึงสม่าเสมอ ไวน์- แมททิว-มอร์เลย์ จึงตั้งข้อสังเกตว่าพื้นทะเลบริเวณที่ห่างจากสันเขากลาง มหาสมุทรอาจจะเกิดข้ึนก่อนพื้นทะเลท่ีใกล้สันเขากลางมหาสมุทร ทาให้มีเวลาใน การสะสมตัวของตะกอนมากกว่าและมีการสะสมตะกอนหนากวา่ 11

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน น อ ก จ า ก นี้ ใน ช้ั น ต ะ ก อ น ที่ ห่ า ง จ า ก สั น เข า ก ล า ง ม ห า ส มุ ท รมี ค วา ม ห ล า ก ห ล าย ขอ งช นิ ด ฟ อส ซิ ล ม า กก ว่ า ที่ พ บ ใน บ ริเวณ สั น เข า กล าง ม ห า ส มุ ท ร (สัญลักษณ์ a b c d ในรูป 5ก แสดงฟอสซิลชนิดต่างๆ ท่ีถูกพบอยู่ในช้ันตะกอน) โดยฟอสซิลท่ีบ่งบอกอายุท่ีแก่ จะเร่ิมหายไปในชั้นตะกอนเมื่อเข้าใกล้สันเขากลาง มหาสมทุ ร (รูป 5ก) 2) อายุหินบะซอลต์ (age of basaltic rock) นอกจากน้ีไวน์-แมททิว- มอรเ์ ลย์ วเิ คราะห์และกาหนดอายุหินบะอลต์จากพ้ืนมหาสมุทร ซึ่งแสดงถึงอายุที่ แมกมาเย็นตัวกลายเปน็ หินแข็ง ผลการกาหนดอายุบ่งช้ีว่าหินบะซอลต์ทง้ั 2 ฝัง่ ซึ่ง มรี ะยะห่างจากสันเขากลางมหาสมุทรใกล้เคียงกันจะมีอายใุ กล้เคียงกัน โดยหนิ บะ ซอลตท์ อี่ ยใู่ กลส้ ันเขากลางมหาสมทุ รจะมีอายุอ่อนกว่าหินบะซอลต์ที่อยู่หา่ งออกไป จากสันเขากลางมหาสมุทร (รปู 5ข) 3) การกลับข้ัวของสนามแม่เหล็กโลก (magnetic reveral) สืบเน่ือง จาก Cox และคณะ (1967) ศึกษาและพบองค์ความรู้ใหม่ที่บ่งช้ีว่าในอดีต สนามแม่เหล็กโลกเคยกลับข้ัวไป-มาหลายคร้ัง (magnetic reversal) (รูป 6) และ จากการตรวจสอบตัวอย่างหินบะซอลต์ที่เก็บมาได้ ไวน์-แมททิว-มอร์เลย์พบว่า หินบะซอลต์มกี ารกลบั ข้ัวสนามแม่เหลก็ ไป-มา หลายคร้ัง ซ่ึงหากพับครึง่ บริเวณสัน เขากลางมหาสมุทรจะพบว่าพฤติกรรมการกลับข้ัวของทั้ง 2 ฝ่ังซ้าย-ขวานั้น สมมาตรกัน (รูป 5ค) ไวน์-แมททิว-มอร์เลย์ จงึ สรุปว่า 1) มีการเกิดข้ึนใหม่ของพ้ืน มหาสมุทรอยู่ตลอดเวลาในบริเวณสันเขากลางมหาสมุทร และ 2) แนวคิดทวีป เลื่อนของอัลเฟรด เวเกเนอร์ และแนวคิดพ้ืนทะเลแผ่กว้างของแฮรีย์ เฮส นั้น ถกู ต้องและเปน็ จริง 12

สันติ ภยั หลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน จากแนวคิดและหลักฐานต่างๆ ดังที่อธิบายในข้างต้น ทาให้ในปี พ.ศ. 2508 วิลเลียม เจสัน มอร์แกน (Morgan, W.J) นักวิทยาศาสตร์ประเทศ สหรัฐอเมริกา จึงประมวลผลหลักฐานและแนวคิดต่างๆ ท่ีเคยมีการนาเสนอมา สรุปและนาเสนอทฤษฎี ธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) โดยอธิบายว่าโลก ประกอบด้วยชน้ั ธรณีภาค (lithosphere) ซ่ึงเป็นของแข็งแตกเป็นแผ่นๆ วางตัว และเคลื่อนท่ีอย่างช้าๆ ยู่บนชั้น ฐานธรณีภาค (asthenosphere) ซ่ึงมีสถานะ เป็นของหนืดไหลวนอยใู่ ตพ้ ้นื ผิวโลก รปู 6. การกลบั ข้ัวสนามแม่เหลก็ โลก 13

สันติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน รูป 7. แบบจาลองแสดงการกลับข้ัวสนามแม่เหล็กไป-มาซึ่งถูกบันทึกไว้ในหินบะ ซอลตใ์ นพน้ื มหาสมทุ ร 14

สนั ติ ภยั หลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 3 แผ่นเปลอื กโลกและการเคลื่อนท่ี Plate and Movement 3.1. แผน่ เปลือกโลก (Tectonic Plate) จากทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแผ่นเปลือกโลก (tectonic plate) ในแต่ละแผ่นเคล่ือนท่ีอยู่ตลอดเวลาท้ังในอดีต ปัจจุบัน และจะ ยังเคล่ือนท่ีต่อไปอีกในอนาคต ซ่ึงผลจากการเคล่ือนที่และกระทบกระท่ังกัน ระหว่างขอบแผ่นเปลือกโลก ทาให้เกิดกระบวนการต่างๆ มากมาย เช่น การเกิด ภูเขา (mountain building หรือ orogeny) ภูเขาไฟ (volcano) แผ่นดินไหว (earthquake) รวมทั้งการเกิดแหล่งทรัพยากร (earth resource) ท้ังแร่และ ปิโตรเลียม ดังน้ันจากการจาแนกและกาหนดขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกโดยใช้ ข้อมูลการกระจายตัวของภูเขาไฟและแผ่นดินไหวรวมท้ังชนิดของหิน เป็นเกณฑ์ 15

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน บ่งช้ีว่าโลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลก 14 แผ่น (รูป 8) แบ่งย่อยเป็น แผ่น เปลือกโลกทวีป (continental plate) จานวน 7 แผ่น ได้แก่ แผ่นยูเรเชีย (Eurasian Plate) แผ่นอเมริกาเหนือ (North American Plate) แผ่นอเมริกาใต้ (South American Plate) แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australian Plate) แผ่นแอฟริกา (African Plate) แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctica Plate) และ แผ่น อาหรับ (Arabian Plate) และ แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร (oceanic plate) จานวน 7 แผ่น ได้แก่ แผ่นแปซิฟิก (Pacific Plate) แผ่นทะเลฟิลิปปินส์ (Philippine-sea Plate) แผ่นนัซกา (Nazca Plate) แผ่นสโกเชีย (Scotia Plate) แผ่นฮวนเดฟูกา (Juan de Fuca Plate) แผ่นโคโคส (Cocos Plate) และแผ่น แคริบเบียน (Caribbean Plate) โดยแผ่นเปลือกโลกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ แผ่น แปซิฟกิ รองลงมาคือแผ่นยเู รเซียและแผน่ แอฟรกิ าตามลาดับ ส่วนแผน่ เปลือกโลก ที่เลก็ ท่สี ุด คือ แผน่ ฮวนเดฟกู า รปู 8. การกระจายตวั ของแผน่ เปลอื กโลกและการเคล่อื นท่ี 16

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน ปจั จุบนั นักวิทยาศาสตรเ์ ชอ่ื ว่ากลไกหลักของการเคล่อื นที่ของแผน่ เปลอื ก โล ก คื อ ก ระแส พ าความ ร้อ น (convection current) (รูป 9) ซึ่ งเป็ น กระบวนการที่โลกพยายามลดอุณหภูมิภายในโลก เน่ืองจากโลกในช่วงแรกยังมี อุณหภูมิสูง แต่ภายนอกโลกสัมผัสกับอวกาศซ่ึงมีอุณหภูมิต่ากว่ามากเมื่อ เปรียบเทียบกับอุณหภูมิของโลก ทาให้ต่อมาส่วนนอกสุดของโลกจึงแข็งตัว กลายเป็นแผ่นเปลือกโลกปิดก้ันการระบายความร้อนที่เหลืออยู่ภายในโลก ดังน้ัน หินหนืดภายในเนื้อโลกจึงใช้วิธีการถ่ายเทความร้อนภายในด้วยการหมุนเวียนหิ น หนืด ซึ่งหินหนืดท่ีอยู่ดา้ นล่างของโลกมอี ณุ หภูมสิ งู กวา่ และความหนาแน่นน้อยกว่า เมอื่ เปรยี บเทียบกบั หินหนดื ด้านบน มวลหินหนดื ด้านลา่ งจึงลอยตวั ขึ้นสดู่ ้านบน ใน ขณะเดียวกนั หินหนืดด้านบนเมื่อสมั ผัสกับแผ่นเปลือกโลกทาใหอ้ ุณหภมู ิลดลงและ มีความหนาแน่นสูงจึงจมตัวลงสู่ด้านล่าง การหมุนเวียนของมวลหินหนืดนี้เกิดขึ้น ไปอย่างตอ่ เนือ่ งเปน็ กระแสขับเคล่ือนใหแ้ ผ่นเปลือกโลกเคลอื่ นท่ี รปู 9. แบบจาลองกระแสพาความรอ้ น (ก) ตวั อย่างในหมอ้ ต้มน้า (ข) ภายในโลก 17

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน หินหนืดบางส่วนจะแทรกดันผ่านแผ่นเปลือกโลกขึ้นมาสร้างเป็นแผ่น เปลือกโลกมหาสมุทรใหม่และผลักใหส้ องแผ่นเปลือกโลกแยกออกจากกัน ในขณะ ท่ีส่วนท่ีจมตัวจะช่วยดึงแผ่นเปลือกโลกเก่าอกี ด้านหนึ่งลงสู่ภายในโลก เกดิ การมุด ตวั ของแผน่ เปลือกโลกเปน็ วัฏจกั ร (Randy และ Kunstatter, 2010) 3.2. จุดรอ้ น (Hot Spot) หลักฐานสาคัญที่สนับสนุนว่าแผ่นเปลือกโลกมีการเคล่ือนท่ีคือการเกิด จุดร้อน (hot spot) ซึ่งทูโซ วิลสัน (Wilson T.) ได้นาเสนอในปี พ.ศ. 2506 โดย จากการสังเกตการณ์กระจายตัวของ แนวหมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ (Hawaiian-Emperor volcanic chain) ในมหาสมุทรแปซิฟิก และผลการ กาหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ พบวา่ อายุหินบนภูเขาไฟเรยี งลาดบั กันจากแก่ไปออ่ น ตั้งแต่ 3.8 ลา้ นปี บนเกาะคาวายอิ จนถึง 0.7 ลา้ นปบี นหม่เู กาะฮาวาย (รปู 10) รูป 10. (ก) การกระจายตัวของแนวหมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย-เอ็มเพอเรอร์ (ข) แบบจาลองการเกดิ จุดรอ้ น 18

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน จากหลักฐานดังกล่าวบ่งช้วี ่าแนวภูเขาไฟเหลา่ นี้เกดิ จากการมีอยู่ของ จุด ร้อน (hot spot) ใต้แผ่นเปลือกโลก โดยจุดร้อนจะปล่อยแมกมาพุ่งข้ึนมาทะลุ ผ่านแผ่นเปลือกโลกสร้างเป็นภูเขาไฟเป็นระยะๆ ซ่ึงเมื่อแผ่นเปลือกโลกมีการ เคล่อื นท่ีทาใหเ้ กดิ เป็นแนวของภเู ขาไฟตามทศิ ทางการเคล่อื นที่ของแผน่ เปลอื กโลก จากการสารวจเพิ่มเติมในปัจจุบัน พบจุดรอ้ นจานวนมากทั่วโลก (รูป 11 ก) ซึ่งหากจุดร้อนเกิดขึ้นในทะเลจะเกิเป็น แนวหมู่เกาะภูเขาไฟ (volcanic chain) (รูป 11ข) แตห่ ากจุดรอ้ นเกดิ ขน้ึ บนพน้ื ทวีปจะพบลักษณะ ท่รี าบสงู หนิ บะ ซอลต์ไหลหลาก (flood basalt plateau) (รปู 11ค) สันเขาลองจจิ ูด 90 องศาตะวนั ออก (Ninety East Ridge) คือ จดุ รอ้ นในมหาสมุทรอนิ เดีย บง่ ชี้ว่าแผน่ เปลือกโลก อินเดีย-ออสเตรเลียเคลอ่ื นทีช่ นแผน่ ยเู รเซยี (รปู 11ค) 3.3. แนวคดิ ขว้ั โลกเปลี่ยนตาแหนง่ (Polar Wandering) นอกจากนี้ ข้อมูลงานวิจัยอีกหน่ึงชิ้นท่ีมีนัยสาคัญและสนับสนุนว่าแผ่น เปลือกโลกมีการเคลื่อนท่ีคือการศึกษาตาแหน่งหรือ ภูมิศาสตร์บรรพกาล (paleogeography) ของหินในแต่ละพ้ืนท่ี [Pan, 1968] โดยจากหลักการของ สนามแม่เหล็กโลก นักวิทยาศาสตร์พบว่าเส้นแรงแม่เหล็กโลกที่ถูกเก็บรักษาไว้ใน หนิ นน้ั จะมี มุมเอียง (inclination) แตกตา่ งกนั เม่ือเปรยี บเทียบกับพื้นผวิ โลก (รปู 12ก) เช่น หินท่ีอยู่ในบริเวณ 1) ข้ัวโลกใต้ เส้นแรงแม่เหล็กจะช้ีข้ึนฟ้าต้ังฉาก 90 องศา กบั พ้ืนผิวโลก 2) ซีกโลกใต้ เส้นแรงแมเ่ หลก็ เฉียงขน้ึ ฟ้า 3) เส้นศนู ยส์ ตู ร เส้น แรงแม่เหล็กขนานกับพื้นผิวโลก 4) ซีกโลกเหนือ เส้นแรงแม่เหล็กกดหัวลงไปใน 19

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน พ้ืนผิวโลก และ 5) ขั้วโลกเหนือ เส้นแรงแม่เหล็กพุ่งปักลงพื้นผิวโลกตั้งฉาก 90 องศา (รูป 12ก) โดยมุมเอียงเทจะถูกบันทึกในช่วงที่แมกมาแข็งตัวเป็นหิน จึง เปรียบได้กบั ตาแหนง่ ในช่วงทเ่ี กิดหนิ เม่ือเปรยี บเทยี บกบั ข้วั แม่เหลก็ โลกในเวลานนั้ รูป 11. การกระจายตัวของจุดร้อน (จุดสีเหลือง) และแนวหมู่เกาะภูเขา (เส้นสี แดง) รวมทง้ั ท่รี าบสงู หนิ บะซอลตไ์ หลหลาก (พื้นท่สี ีดา) 20

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน จากการศึกษาชุดหินท้ังในทวีป อเมริกาเหนือและทวีปเอเชีย (แผ่นยูเร ซีย) นักวิทยาศาสตร์พบว่าหินในแต่ละ ชุด ตาแหน่งของหินที่วิเคราะห์มีระยะ ขจัดและทิศทางท่ีแตกต่างกันในแต่ละ ช่วงอายุเม่ือเปรียบเทียบกับข้ัวแม่เหล็ก โลกในอดีต (รูป 12ข) ซ่ึงคาดว่า 1) หิน น้ั น อ ยู่ ต า แ ห น่ ง ค ง ที่ แ ต่ ข้ั ว โ ล ก มี ก า ร เปลี่ยนตาแหน่งอยู่ตลอดเวลา หรือ 2) ทวีปอาจมีการเคลื่อนที่ในขณะข้ัวโลก คงที่ อย่างไรก็ตามข้อมูลสนามแม่เหล็ก บรรพกาลที่ได้จากชุดหินในแต่ละอายใุ น ทวีปอเมรกิ าเหนอื และทวปี เอเชยี มีความ แตกต่างกัน (รูป 12ข) ซึ่งเป็นไปไม่ได้ท่ี ในเวลาเดียวกัน (หินอายุเดียวกัน) จะมี ข้ั ว โ ล ก เ ห นื อ 2 ต า แ ห น่ ง รูป 12. (ก) แนวคิดตาแหน่งของหิน นกั วิทยาศาสตร์จึงสรุปว่าข้ัวโลกน้ันคงท่ี ตามมุมเอียงเทของเส้นแรง แต่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่อยู่ แม่เหล็ก (ข) แบบจาลองข้ัว ตลอดเวลา (Steinberger และ Torsvik, โลกเคล่ือนท่ี (ค) แบบจาลอง 2008) (รูป 12ค) ซึ่งเป็นไปตามแนวคิด แผ่น เป ลือกโลกเคล่ือน ท่ี ทวีปเล่ือนและพื้นทะเลแผ่กว้าง ดังที่ [Pan, 1968] อธบิ ายในขา้ งต้น 21

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน หลกั ฐานการศึกษามุมเอยี งเทบ่งชว้ี า่ ประเทศไทยเคยอยตู่ ดิ กบั ประเทศออสเตรเลียทางซกี โลกใต้ (ปัญญา จารุศิริ และคณะ, 2545) นอกจากน้ีดว้ ยเทคโนโลยใี นปัจจุบัน นกั วิทยาศาสตร์สามารถตรวจวดั การ เคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกได้อย่างถูกต้องและแม่นยา โดยใช้ระบบดาวเทียมนา ร่อง (Global Positioning System, GPS) ซ่ึงผลจากการติดตั้งสถานี GPS แบบ ถาวรทั่วโลกตลอดระยะเวลาหลายปี นักวิทยาศาสตร์สามารถคานวณทิศทางและ อัตราการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกแผ่นต่างๆ ได้ เช่น แผ่นแปซิฟิกมีอัตราการ เคลื่อนทส่ี งู ทสี่ ุดเม่ือเปรยี บเทียบกบั แผ่นเปลอื กโลกอื่นๆ (รูป 8) โดยเคลือ่ นทใ่ี นทิศ ตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งสัมพันธ์กับแนวการวางตัวของแนวหมู่เกาะภูเขาไฟฮาวาย- เอ็มเพอเรอร์ ท่ีวางตัว 2 แนว คือ แนวแรกวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ส่วนแนวท่ี 2 วางตัวในแนวตะวนั ตกเฉียงเหนอื -ตะวนั ออกเฉยี งใต้ (รปู 10) ผลจากการเคลื่อนท่ีของแผ่นเปลือกโลกท่ีแตกต่างกันท้ังในด้านความเร็ว และทิศทางของการเคล่ือนท่ี (รูป 8) ทาให้แผ่นเปลือกโลกในแต่ละแผ่นมี ปฏิสัมพันธ์หรือกระทบกระท่ังซึ่งกันและกัน และมีนัยสาคัญต่อกระบวนการทาง ธรณีวิทยาต่างๆ ทั้งภูมิประเทศ หิน ทรัพยากร และภัยพิบัติ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ แบ่งรปู แบบการเคลอ่ื นทอี่ อกเปน็ 3 รปู แบบ คือ 1) การเคลอื่ นทอี่ อกจากกนั (divergent movement) 2) การเคลอ่ื นทเี่ ขา้ หากนั (convergent movement) 3) การเคลอ่ื นท่ผี า่ นกัน (transform movement) 22

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 4 การเคล่อื นทีอ่ อกจากกนั Divergent Movement กลไกการเคลื่อนท่ีออกจากกันของแผ่นเปลือกโลกเกิดจากแมกมาในเน้ือ โลกลอยตัวขึ้นใต้แผ่นเปลือกโลกตามกลไกของกระแสพาความร้อน เกิดการแทรก ดันของแมกมาและทาให้เกิดการปริแตกและเคลื่อนที่ออกจากกันของแผ่นเปลือก โลกเดิม ซ่ึงจากกรณีศึกษาท่ีพบกระจายอยู่ในพ้ืนท่ีต่างๆ ของโลกใน ปัจจุบัน กระบวนการเคลือ่ นที่ออกจากกันแบง่ ยอ่ ยเปน็ 4 ระยะ คือ (รปู 13) 4.1. แผ่นเปลอื กโลกทวปี ยกตัว (Continental Upwarping) เป็นช่วงแรกที่แมกมาลอยตัวขึ้นมาสัมผัสและหลอมละลายแผ่นเปลือก โลกทวีป ทาให้แผ่นเปลือกโลกบางลง และในบางพ้ืนที่อาจเกิดภูเขาไฟแทรกตาม 23

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน แนวแตกร่วมด้วย (รูป 13ก) ลักษณะทางธรณีแปรสัณฐานแบบน้ีพบชัดเจนใน อทุ ยานแห่งชาติเยลโลวส์ โตน (Yellow Stone National Park) บนเทือกเขาร็อคก้ี ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซ่ึงจากการสารวจทางธรณีวิทยาพบว่าบริเวณใต้อุทยาน แห่งชาติเยลโลวส์ โตนมีกระเปาะแมกมาขนาดใหญ่มาก กาลังแทรกดันแผ่นเปลือก โลกอยู่ ทาให้มีกิจกรรมเก่ียวกับภูเขาไฟและน้าพุร้อนเกิดข้ึนจานวนมากในบริเวณ ใตอ้ ุทยานแห่งชาตเิ ยลโลว์สโตน (รูป 14) รปู 13. วิวัฒนาการเคล่อื นที่ออกจากกันของแผน่ เปลือกโลก 4.2. แผ่นเปลือกโลกทวปี แตกร้าว (Continental Rift) แผน่ เปลือกโลกเรมิ่ ปริแตกและแยกออกจากกัน ซึ่งโดยธรรมชาติการแตก ในช่วงแรกหลังจากถูกแมกมาแทรกดันนั้น แผ่นเปลอื กโลกจะแตกออกเป็น 3 แฉก ท่ีสมมาตรกัน (รูป 13ข และรูป 15ก) และต่อมาแมกมาจะเลือกแทรกดันเพียง 2 แกนที่มีความอ่อนไหวมากกว่า ทาให้เกิดวิวัฒนาการเปิดแอ่ง ส่วนแกนท่ีเหลือจะ หยุดการพัฒนา กลายเป็น แอ่งรอยเล่ือนปกติ (aulacogen) (รูป 15ข) โดย 24

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน ลักษณะภมู ิประเทศท่ีชดั เจนที่สุดในบรเิ วณนค้ี อื เทือกเขาและแอง่ ขนาดใหญข่ นาน กับแนวรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก บางพื้นท่ีอาจมีภูเขาไฟแทรกสลับอยู่ใน บริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งพื้นที่ซึ่งแสดงการแยกตัวระยะน้ี ได้แก่ ร่องทรุดแอฟริกา ตะวนั ออก (East African Rift) (รปู 15ข) รปู 14. น้าพุร้อนในอทุ ยานแหง่ ชาตเิ ยลโลว์สโตน ประเทศสหรฐั อเมรกิ า [Lorcel] 4.3. มหาสมทุ รเริ่มเปดิ ออก (Sea Opening) แผ่นเปลือกโลกเร่ิมแยกออกจากกันมากข้ึน และเกิดเป็นแอ่งตะกอนท่ี เปิดกว้าง ซึ่งฐานด้านล่างของแอ่งตะกอนเร่ิมเกิดกระบวนการพื้นทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) เป็นหินบะซอลต์ของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ในบาง 25

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน กรณีมีน้าทะเลรุกล้าเข้ามาในพ้ืนที่กลายเป็นทะเลแคบๆ ในบริเวณแอ่ง เช่น ทะเล แดง (Red Sea) และอา่ วเอเดน (Gulf of Aden) (รูป 15ก) รูป 15. (ก) แผนที่แสดงการแยกตัวในพ้ืนที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีป แอฟริกา (ข) รอยแยกฝง่ั ตะวันออกของทวีปแอฟรกิ าท่ีเกิดจากการแยกตัว ของแผ่นเปลือกโลก [Ebinger, 2005] 4.4. พืน้ ทะเลแผ่กวา้ ง (Sea-floor Spreading) เป็นระยะที่สมบูรณ์ท่ีสดุ ของการเคล่อื นท่ีออกจากกันของแผ่นเปลือกโลก โดยแผ่นเปลือกโลกทวีปเดิมแยกออกจากกันและมีการสร้างแผ่นเปลือกโลก มหาสมทุ รขน้ึ ใหม่ ตัวอย่างของการแยกตัวในระยะนี้ ได้แก่ สันเขากลางมหาสมุทร แอตแลนติก (Mid-Atlantic Ridge) สันเขากลางมหาสมุทรอินเดีย (Mid-Indian Ridge) และเนินเขามหาสมทุ รแปซฟิ ิกตะวันออก (East Pacific Rise) (รปู 16) 26

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน รูป 16. (ก) สันเขากลางมหาสมุทรที่สาคัญของโลก (ข) อุทยานแห่งชาติธิงเวลลีร์ (Thingvellir National Park) ประเทศไอซ์แลนด์ [Hervas I.] 27

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 5 การเคล่อื นที่เขา้ หากนั Convergent Movement เม่ือพิจารณาแผ่นเปลือกโลกใดๆ ในขณะท่ีขอบด้านหน่ึงของแผ่นเปลือก โลกถูกผลักให้เคล่ือนท่ีออกจากกันและสร้างแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรใหม่แทนท่ี ขอบอีกด้านหน่ึงของแผ่นเปลือกโลกก็จะเคล่ือนที่เข้าหาแผ่นเปลือกโลกท่ีอยู่ด้าน ตรงกัน ข้าม ท าให้ เกิดรูป แบ บ การเคลื่ อน ท่ี เข้ าห ากั น (convergent movement) ซ่ึงเพ่ือเป็นการรักษาปริมาณ พ้ืนที่พ้ืนผิวโลกให้คงเดิม ใน กระบวนการเคล่ือนที่เข้าหากันโดยส่วนใหญ่จึงมีแผ่นใดแผ่นหน่ึงมุดตัวลงไปใต้อีก แผ่นเปลือกโลกหน่ึงเสมอ เรียกโซนการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกว่า เขตมุดตัว ของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) โดยนักวิทยาศาสตร์จาแนกชนิดการ เคลือ่ นท่ีเข้าหากนั เป็น 3 กรณี ตามชนดิ ของแผ่นเปลือกโลก คือ 28

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 5.1. แผน่ เปลอื กโลกมหาสมุทรชนแทวปี (Oceanic-Continent Collision) ในกรณีของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป (oceanic- continent collision) เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรบางกว่าและมีความ หนาแน่นมากกวา่ แผ่นเปลือกโลกทวีป ทาให้ในกระบวนการชนกัน แผ่นเปลือกโลก มหาสมทุ รจะมดุ ตวั ลงไปใต้แผน่ เปลือกโลกทวปี เสมอ (รูป 17ก) รูป 17. (ก) แบบจาลองการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรและแผ่น เปลอื กโลกทวีป (ข) ทวีปอเมรกิ าใต้ หากไม่มกี ารมดุ ตวั พื้นผวิ โลกจะโปง่ เพม่ิ ขนึ้ อย่างตอ่ เนอ่ื ง จากแผน่ เปลือกโลกมหาสมทุ รท่ถี กู สร้างข้นึ ใหม่อยู่ ตลอดเวลาในโซนการแยกตวั ของแผน่ เปลอื กโลก 29

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน ลักษณะทางธรณวี ิทยาที่สาคัญท่ีพบไดใ้ นบริเวณนี้ ได้แก่ ร่องลึกก้นสมทุ ร (trench) (รูป 18) และแนวภเู ขาไฟรปู โค้งบนทวีป (continental arc) ซึง่ จะขนาน ไปกับเขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก กรณีศึกษาของการเคล่ือนท่ีเข้าหากันแบบน้ี ได้แก่ การเคล่ือนที่เข้าหากันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรนัซกาและแผ่นเปลือก โลกทวีปอเมรกิ าใต้ ผลจากการชนกนั ทาให้แผ่นนัซกามดุ ตวั ลงไปใต้แผ่นอเมรกิ าใต้ เกิดเป็นรอ่ งลึกก้นสมุทรเปรู-ประเทศชิลี (Peru-Chile Trench) และเกิดแนวภูเขา ไฟรปู โค้งเป็นเทอื กเขาแอนดสี (รูป 17ข) นอกจากน้ี ผลจากการชนและมุดกันของแผ่นเปลอื กโลกทั่วโลก ทาใหเ้ กิด ร่องลึกก้นสมุทรมากมาย ได้แก่ ร่องลึกก้นสมุทรตองกา ร่องลึกก้นสมุทรเอลูเทียน รอ่ งลึกก้นสมุทรแคสเคเดีย ร่องลึกก้นสมุทรอเมริกากลาง รอ่ งลึกก้นสมุทรเปรู-ชิลี ร่องลกึ กน้ สมุทรเปอรโ์ ตรโิ ก และร่องลกึ กน้ สมุทรชวา เปน็ ตน้ (รปู 18) รปู 18. ร่องลึกก้นสมทุ ร 30

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน 5.2. แผ่นเปลอื กโลกมหาสมทุ รชนมหาสมุทร (Oceanic-Oceanic Collision) กลไกการชนกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนกนั คล้ายกับการชนกัน ระหวา่ งแผ่นเปลอื กโลกมหาสมทุ รชนแผ่นเปลือกโลกทวีป คอื จะมแี ผ่นหนึ่งท่ีมดุ ตัว ลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่ง แต่แนวภูเขาไฟที่เกิดขึ้นน้ันจะเกิดขึ้นกลางทะเล เรียก หมู่ เกาะภูเขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) (รูป 19ก) ซ่ึงตัวอย่างที่แสดง สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบน้ี ไดแ้ ก่ ประเทศญ่ปี ุ่น (รูป 19ข) และหมู่ เก าะเอลู เที ยน (Aleutian Islands) (รูป 19ค ) ใน รัฐอล าส ก้ า ป ระเท ศ สหรัฐอเมริกา ซ่ึงในปัจจุบันพบว่ายังมกี ิจกรรมทางภูเขาไฟและแผ่นดินไหวเกิดข้ึน อยา่ งต่อเนื่อง รปู 19. (ก) แบบจาลองการชนและมุดกันของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรและแผ่น เปลือกโลกมหาสมุทร (ข) ประเทศญีป่ ่นุ (ค) หมเู่ กาะเอลเู ทยี น 31

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน 5.3. แผน่ เปลือกโลกทวีปชนทวปี (Continent-Continent Collision) เน่ืองแผ่นเปลือกโลกทวีปมีความหนามากว่าแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ดังน้ันกรณขี องแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผน่ เปลือกโลกทวปี จึงทาให้เกิดการบีบอัด กันเป็นสว่ นใหญ่ ทาใหแ้ ผน่ เปลอื กโลกในแนวการชนกันนั้นมีความหนามากขึ้น เกิด เป็นเทือกเขาสูงตามแนวการชนกัน เรียกว่า ตะเข็บธรณี (suture) (รูป 20ก) กรณีศึกษาของแผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวีป ได้แก่ การชนกันของ ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นเปลือกโลกแผ่นอินเดีย-ออสเตรเลียและ ชนกบั ทวีปเอเชียซึ่งเป็นสว่ นหนึ่งของแผน่ เปลอื กโลกยเู รเซยี (รปู 20) รูป 20. (ก) การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอินเดียชนกับแผ่นยูเรเซีย (ข-ค) ภูมิ ประเทศทวีปเอเชียแสดงตาแหนง่ และการวางตัวของทรี่ าบสูงทเิ บต 32

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน โดยอินเดียเร่ิมเคล่ือนที่จากใต้ข้ึนเหนือเมื่อประมาณ 71ล้านปี ที่ผ่านมา และเร่ิมชนกับแผ่นยูเรเซียโดยในช่วงแรกเป็นการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก มหาสมทุ รทเี่ ชอ่ื มตอ่ กบั ส่วนท่ีเป็นแผน่ เปลือกโลกทวปี ของอนิ เดยี ทาให้ในช่วงแรก เมื่อประมาณ 10-38 ล้านปี ที่ผา่ นมาเป็นการมุดตวั ของแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทร ลงไปใต้แผ่นเปลือกโลกทวีปยูเรเซีย ทาให้เกิดแนวภูเขาไฟรูปโค้ง และ สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานอื่นๆ เน่ืองจากแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชน แผน่ เปลือกโลกทวีป หลังจากน้ันเมื่อแผ่นอินเดียซ่ึงเปน็ แผ่นเปลือกโลกทวีปเร่ิมชน กบั แผ่นเปลือกโลกทวีปของยูเรเซีย ผลจากการชนกันระหวา่ งแผน่ เปลือกโลกทวีป และแผ่นเปลือกโลกทวีปทาให้เกิดการยกตัวข้ึนอย่างรุนแรงในบริเวณการชนกัน เกิดเป็นท่ีราบสูงทิเบต (Tibetan Plateau) และเทือกเขาหิมาลัยในปัจจุบัน (รูป 20ข และ ค) 33

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน 6 การเคลือ่ นทผี่ ่านกนั Transform Movement การเคล่ือนท่ีผ่านกัน (transform movement) เป็นปฏิสัมพันธ์การเคลื่อนที่ ของแผ่นเปลือกโลกทีไม่มีทั้งการสร้างแผ่นเปลือกโลกใหม่ (การเคล่ือนท่ีแยกออก จากกัน) และการทาลายแผ่นเปลือกโลกเดิม (การเคล่ือนท่ีเข้าหากัน) และไม่มี ความซบั ซ้อนดา้ นการเกิดหินมากนัก แต่การเคล่อื นท่ีแบบผา่ นกันเป็นแหลง่ กาเนิด แผ่นดินไหวท่ีสาคัญ เพราะสามารถสร้างแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ได้ โดยกรณีศึกษา ของการเคลื่อนท่ีแบบผ่านกัน ได้แก่ รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา (รูป 21) [Kim และคณะ, 2016] ซ่ึงเป็นรอยเลื่อนท่ีเกิดจากการเคลื่อนที่ผ่านกันของแผ่นเปลือกโลกฮวนเดฟูกาด้าน ตะวันตกและแผ่นอเมริกาเหนือด้านตะวันออก (รูป 21ก-ข) ผลจากการเคลื่อนท่ี 34

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน ผ่านกันของท้ัง 2 แผ่นทาให้เกิดภูมิลักษณ์ที่แสดงถึงการเคลื่อนตัวตามแนวระดับ (strikeslip) ของรอยเลื่อน เช่น ทางน้าหักงอ (offset stream) (รูป 21ง) โดยรอย เลื่อนซานแอนเดรียสเปน็ แหล่งกาเนิดแผน่ ดินไหวขนาดใหญ่จานวนมากท้ังในอดีต และปจั จบุ ัน เชน่ แผ่นดนิ ไหวขนาด 7.9 ท่เี มอื งซานฟรานซสิ โก ปี พ.ศ. 2449 รูป 21. (ก) ภูมิประเทศ (ข) แบบจาลองการเกิด (ค-ง) ภายจากมุมสูงในบริเวณ รอยเล่ือนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของ ประเทศสหรัฐอเมริกา 35

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณีแปรสณั ฐาน อ้างอิง Almalki, K.A., Betts, P.G., and Ailleres, L. 2014. Episodic sea-floor spreading in the Southern Red Sea. Tectonophysics 617: 140-149. Briegel, U., and Xiao, W. 2001. Paradoxes in Geology. Elsevier Science, 478p. ISBN: 978-0-444-50560-6. Ebinger, C.J. 2005. Continental Break-up: The East African Perspective. Astronomy and Geophysics 46: 216-21. Kim, W., Hong, T.-K., Lee, J., and Taira, T. 2016. Seismicity and Fault Geometry of the San Andreas Fault Around Parkfield, California and Their Implications. Tectonophysics 677–678: 34-44. Pan, C. 1968. On the Dynamical Theory of Polar Wandering. Tectonophysics 5(2): 125-149. Rolf, T., Capitanio, F.A., and Tackley, P.J. 2017. Constraints on Mantle Viscosity Structure from Continental Drift Histories in Spherical Mantle Convection Models. Tectonophysics, [In press] 36

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน แบบฝกึ หดั วัตถปุ ระสงค์ของแบบฝึกหดั แบบฝึกหัดนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพ่ือให้ผู้อ่านมีโอกาส 1) ทบทวนเน้ือหา และ 2) คน้ คว้าความรู้เพิ่มเติม โดยผ่านกระบวนการสอ่ื สารแบบถาม-ตอบ ระหว่างผู้เขียน- ผู้อ่าน เท่านั้น โดยไมม่ เี จตนาวิเคราะห์ข้อสอบเกา่ หรือแนวขอ้ สอบแตอ่ ย่างใด 1) แบบฝึกหัดจบั คู่ คาอธิบาย : เลือก ตัวอักษร หน้าคาบรรยายด้านขวา และเติมในชอ่ งว่างด้านซ้าย ของแต่ละข้อท่ีมีความสัมพันธ์กัน ตามสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานต่างๆ ดงั แสดงในรูป 37

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 1. _____ ก. แมกมาบะซอลต์ (basaltic magma) 2. _____ ข. สนั เขากลางมหาสมทุ ร (mid-oceanic ridge) 3. _____ ค. พ้ืนทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) 4. _____ ง. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่นเปลือกโลกทวีป 5. _____ (oceanic-continent collision) 6. _____ จ. แผน่ เปลือกโลกทวปี (continental crust) 7. _____ ฉ. หมู่เกาะภเู ขาไฟรูปโค้ง (volcanic island arc) 8. _____ ช. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก (subduction zone) ซ. การยกลอยตัวของแมกมาในเน้ือโลก (upwelling 9. _____ mantle) 10. _____ ฌ. แผน่ เปลือกโลกมหาสมทุ รชนแผน่ เปลือกโลกมหาสมทุ ร (oceanic-oceanic collision) ญ. แนวภเู ขาไฟรูปโคง้ บนทวีป (continental arc) 2) แบบฝึกหดั ถูก-ผิด คาอธิบาย : เติมเคร่ืองหมาย T หน้าข้อความท่ีกล่าวถูก หรือเติมเคร่ืองหมาย F หน้าขอ้ ความท่ีกล่าวผดิ 1. _____ เส้นผ่านศูนย์กลางและพ้ืนผิวโลกเพิ่มข้ึนอย่างช้าๆ เนื่องจาก กระบวนการพน้ื ทะเลแผ่กวา้ ง (sea-floor spreading) 2. _____ แผ่นเปลือกโลกทวีปมีแร่องค์ประกอบโดยรวมคล้ายกับหินแกรนิต ในขณะทีแ่ ผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรคล้ายกบั หนิ บะซอลต์ 38

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 3. _____ แผ่นเปลือกโลกทวีปมีความหนาแน่นมากกว่าแผ่นเปลือกโลก มหาสมุทร 4. _____ นักวิทยาศาสตรศ์ ึกษาโครงสร้างภายในโลกจากข้อมูลสภาวะแม่เหล็ก โลกบรรพกาล (paleomagnetism) 5. _____ หมู่เกาะฮาวายเกิดจากการเคลอื่ นที่ของแผ่นอเมริกาเหนือบนจุดรอ้ น (hot spot) ซึ่งอยู่ใต้แผ่นเปลือกโลก เหมือนกับอุทยานแห่งชาติเยล โลวส์ โตน 6. _____ เทือกเขาแอนดีส คือตัวอย่างการเคลื่อนที่เข้าหากันของแผ่นนัซกา และแผ่นอเมริกาใต้ 7. _____ เมอ่ื แผ่นเปลือกโลกมหาสมทุ รชนกับแผ่นเปลือกโลกทวปี แผ่นเปลอื ก โลกมหาสมุทรจะมดุ ลงใต้แผ่นเปลือกโลกทวปี เสมอ 8. _____ นักวิทยาศาสตร์ใช้จุดร้อน (hot spot) เป็นหลักฐานในการวิเคราะห์ ทิศทางและอัตราการเคล่ือนท่ีของแผ่นเปลือกโลกในแต่ละแผ่น โดย ก า ร ก า ห น ด อ า ยุ แ ล ะ ต ร ว จ วั ด ร ะ ย ะ ท า ง ร ะ ห ว่ า ง ภู เข า ใ ต้ ท ะ เล (seamount) 9. _____ ทะเลแดง (Red Sea) เกิดจากกระบวนการชนกันของแผ่นแอฟริกา ในปัจจุบัน 10. _____ รอ่ งทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือ แขนส่วนที่หยุด การพัฒนาแอ่งรอยเลื่อนปกติ (aulacogen) เน่ืองจากเคลื่อนที่ออก จากกันของแผ่นเปลือกโลก 11. _____ หินทมี่ ีอายุแก่ทีส่ ดุ ในโลกสามารถพบได้ในมหาสมุทร 39

สันติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 12. _____ ในทางธรณีแปรสัณฐาน ประเทศญ่ีป่นุ คือส่วนของหมูเ่ กาะภูเขาไฟรูป โค้ง (volcanic island arc) 13. _____ แนวคิดทวีปเลอื่ น (continental drift) เป็นท่ีนิยมอย่างมากในสังคม วิท ย าศ าส ต ร์ นั บ ตั้ งแ ต่ อั ล เฟ รด เวเก เน อ ร์ (Wegener A) นกั วทิ ยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ไดน้ าเสนอในปี พ.ศ. 2455 14. _____ การเกิดเทือกเขาหิมาลัยคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นแอฟริกาและ แผน่ ยูเรเซีย 15. _____ รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของ ประเทศสหรัฐอเมริกาคือตัวอย่างแผ่นเปลือกโลกเคล่ือนที่ผ่านกัน (transform movement) 16. _____ การปะทุอย่างรุนแรงของภูเขาไฟโดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณสันเขา กลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) 17. _____ ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐาน (tectonic) ถูกพัฒนาข้ึนมาแทนทฤษฏีธรณี แอน่ ตวั (geosyncline) 18. _____ ทิศทางและอตั ราการเคลื่อนทขี่ องแผ่นเปลือกโลกคงท่ตี ลอดเวลา 19. _____ ภูเขาไฟและแผ่นดินไหว โดยส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามขอบแผ่นเปลือก โลก และเปน็ หลักฐานสาคญั ทใ่ี ช้กาหนดขอบเขตแผ่นเปลือกโลก 20. _____ เทือกเขาท่ีเกิดข้ึนบนโลก เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบเดยี วกัน 40

สันติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 3) แบบฝึกหดั ปรนัย คาอธิบาย : ทาเคร่ืองหมาย X หน้าคาตอบท่ีถูกต้องท่ีสุดเพียงข้อเดียว จาก ตวั เลือกที่กาหนดให้ 1. ขอ้ ใด ไมใ่ ช่ หลักฐานสนบั สนุนแนวคิดทวีปเลื่อน (continental drift) ก. แรงโนม้ ถว่ งของโลก ข. ฟอสซลิ พืชและสตั ว์ ค. สนามแม่เหลก็ โลก ง. รปู รา่ งทวีป 2. ข้อใด ไม่ใช่ หลักฐานสนบั สนุนทฤษฎพี ื้นทวปี แผก่ ว้าง (sea-floor spreading) ก. ความหนาของตะกอนมหาสมุทร ข. รูปรา่ งทวปี ค. การกลบั ข้วั ของสนามแม่เหลก็ ง. แนวคิดขวั้ โลกเปลีย่ นตาแหน่ง 3. รอยเล่ือนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ทางตะวันตกของประเทศ สหรฐั อเมรกิ า คอื ตัวอย่างขอบแผน่ เปลือกโลกแบบใด ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากัน (convergent) ค. ผา่ นกนั (transform) ง. จดุ ร้อน (hot spot) 4. สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือตัวอย่างขอบแผ่นเปลือก โลกแบบใด ก. ออกจากกนั (divergent) ข. เขา้ หากนั (convergent) ค. ผา่ นกัน (transform) ง. จุดรอ้ น (hot spot) 5. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะท่ีพบได้ในบริเวณแผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชนแผ่น เปลือกโลกทวปี ก. รอยเล่ือนตามแนวระดบั ข. ภูเขาไฟรปู โล่ (strike-slip fault) (shield volcano) ค. รอ่ งลกึ ก้นสมุทร (trench) ง. ถกู ทกุ ข้อ 41

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 6. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดทาให้เกิดทะเลประเทศญี่ปุ่น (Japan Sea) ก. ออกจากกนั (divergent) ข. เขา้ หากนั (convergent) ค. ผา่ นกัน (transform) ง. ถูกทกุ ขอ้ 7. ข้อใด ไม่สัมพันธ์ กับ มหาทวีป (supercontinent) ซึ่งต่อมาเคล่ือนท่ีออก จากกัน ก. กอนดว์ านาแลนด์ ข. พนั เจีย (Pangaea) (Gondwanaland) ค. ทีทสี (Tethys) ง. ลอเรเซีย (Laurasia) 8. พน้ื ท่ใี ดคอื ตวั อยา่ ง จดุ ร้อน (hot spot) ในทางธรณีแปรสณั ฐาน ก. ประเทศญีป่ ุ่น ข. ประเทศเปรแู ละประเทศชลิ ี ค. หมเู่ กาะฮาวาย ง. เทอื กเขาหมิ าลยั 9. พน้ื ท่ใี ดคือตัวอย่างการชนกันของแผน่ เปลือกโลกมหาสมุทร 2 แผน่ ก. ประเทศญ่ปี ุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชลิ ี ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทอื กเขาหมิ าลัย 10. พื้นท่ีใดคือตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลือกโลกทวีปและแผ่นเปลือกโลก มหาสมทุ ร ก. ประเทศญป่ี ุ่น ข. ประเทศเปรแู ละประเทศชลิ ี ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทอื กเขาหิมาลยั 11. พ้ืนทีใ่ ดคอื ตัวอย่างการชนกันของแผ่นเปลอื กโลกทวปี 2 แผน่ ก. ประเทศญปี่ ุ่น ข. ประเทศเปรูและประเทศชิลี ค. หมู่เกาะฮาวาย ง. เทือกเขาหิมาลยั 42

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 12. พ้ืนท่ีใดคือตัวอยา่ งการเคล่อื นท่ีออกจากันของแผ่นเปลือกโลก (ระยะท่ียงั ไม่มี การเปลย่ี นแปลงภูมปิ ระเทศแต่มีกิจกรรมทางภเู ขาไฟและแผ่นดินไหว) ก. เยลโลวส์ โตน (Yellow Stone) ข. ทะเลแดง (Red Sea) ค. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก ง. เทือกเขาหมิ าลยั (Himalaya) (East African Rift) 13. พนื้ ท่ีใดคือตวั อย่างการเคล่อื นท่ีออกจากันของแผน่ เปลือกโลก (ระยะทเี่ ร่ิมมนี ้า ทะเลรกุ ลา้ และมกี ารสรา้ งแผ่นเปลือกโลกมหาสมทุ ร) ก. เยลโลวส์ โตน (Yellow Stone) ข. ทะเลแดง (Red Sea) ค. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก ง. เทือกเขาหมิ าลยั (Himalaya) (East African Rift) 14. ลักษณะการปรแิ ตกของแผ่นเปลอื กโลก จากการแทรกดันของแมกมาเป็นแบบ ใด ก. ปรแิ ตกและแยกเปน็ 2 ฝงั่ ข. แผ่นดนิ บริเวณนั้นแตกละเอยี ด ค. หลอมละลายอย่างช้าๆ และ ง. แยกออกเป็น 3 แฉกเหมือนกับ แยกออกจากัน ตรารถเบนซ์ 15. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่น เปลอื กโลกทวีปชนแผน่ เปลือกโลกทวีป ก. รอยเล่ือนตามแนวระดับ ข. ภเู ขาไฟรูปโล่ (strike-slip fault) (shield volcano) ค. ร่องลกึ กน้ สมุทร ง. แนวตะเข็บธรณี (trench) (suture zone) 43

สนั ติ ภยั หลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 16. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ที่ใช้ วิเคราะห์ละตจิ ูดของพืน้ ท่ใี นอดีต ก. มุมเอยี ง (inclination) ข. มมุ เยอ้ื ง (declination) ค. ฟลักซแ์ มเ่ หลก็ (magnetic flux) ง. พายสุ รุ ิยะ (Solar wind) 17. ข้อใดคือข้อมูลสภาวะแม่เหล็กโลกบรรพกาล (paleomagnetism) ท่ีใช้ วิเคราะหก์ ารหมุนของพ้ืนท่ใี นอดตี ก. มมุ เอียง (inclination) ข. มุมเยอื้ ง (declination) ค. ฟลกั ซ์แมเ่ หลก็ (magnetic flux) ง. พายุสุรยิ ะ (Solar wind) 18. แนวภเู ขาไฟพน้ื ทใ่ี ด ไมส่ มั พนั ธ์ กับขอบแผน่ เปลือกโลก ก. ร่องทรุดแอฟริกาตะวันออก ข. ประเทศญี่ปุน่ แอฟรกิ าตะวนั ออก ค. หมเู่ กาะฮาวาย ง. ประเทศไอซ์แลนด์ 19. อลั เฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ตั้งช่ือมหาทวีปท่ีอยู่ทางซีกโลกเหนอื วา่ อะไร ก. พันเจีย (Pangaea) ข. ลอเรเซีย (Laurasia) ค. กอนดว์ านาแลนด์ ง. กลอสซอพเทอริส (Gondwanaland) (Glossopteris) 20. อลั เฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ต้งั ช่ือมหาทวีปที่อยทู่ างซกี โลกใต้ว่าอะไร ก. พันเจยี (Pangaea) ข. ลอเรเซยี (Laurasia) ค. กอนดว์ านาแลนด์ ง. กลอสซอพเทอริส (Gondwanaland) (Glossopteris) 44

สนั ติ ภยั หลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 21. มหาทวีปขนาดใหญท่ เ่ี คยมีอยู่เมอื่ ประมาณ 225 ล้านปี ท่ีผ่านมา มีชอื่ วา่ อะไร ก. พนั เจยี (Pangaea) ข. ลอเรเซีย (Laurasia) ค. กอนด์วานาแลนด์ ง. กลอสซอพเทอรสิ (Gondwanaland) (Glossopteris) 22. แผน่ เปลอื กโลก (crust) อยูใ่ นสว่ นใดของโลก ก. ฐานธรณภี าค (asthenosphere) ข. เนอื้ โลก (mantle) ค. ธรณภี าค (lithosphere) ง. แกนโลก (core) 23. ในทางธรณี แปรสัณ ฐาน สมมุติฐานไวน์ -แมททิว-มอร์เลย์ (Vine- Matthews-Morley) อธบิ ายเก่ยี วกับอะไร ก. การเคลอ่ื นตาแหนง่ ของข้ัวโลก ข. ค่าผดิ ปกติของสนามแม่เหลก็ (polar wandering) (magnetic anomaly) ค. แนวคิดทวปี เลอื่ น ง. ไมม่ ีข้อใดถูก (continental drift) 24. ข้อใดคือลักษณะเฉพาะที่พบในสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่น เปลือกโลกมหาสมทุ รชนแผ่นเปลอื กโลกมหาสมุทร ก. รอยเลือ่ นตามแนวระดบั ข. ภูเขาไฟรูปโล่ (strike-slip fault) (shield volcano) ค. จุดรอ้ น (hot spot) ง. ไมม่ ขี อ้ ใดถกู 25. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดท่ีทาให้เกิด แอ่งรอยเล่ือนปกติ (aulacogen) ก. ออกจากกนั (divergent) ข. เขา้ หากนั (convergent) ค. ผา่ นกนั (transform) ง. ถกู ทกุ ข้อ 45

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณีแปรสณั ฐาน 26. อายขุ องของพ้ืนมหาสมทุ ร โดยปกติจะอ่อนวา่ พน้ื ทวีปเน่ืองจากสาเหตุใด ก. มหาสมุทรเกิดใหม่บริเวณสัน ข. มหาสมุทรถูกทาลายบริเวณเขต เขากลางมหาสมุทร มุดตัว ค. ข้อ ก. และ ข. ถกู ง. ไม่มีข้อใดถูก 27. แผ่นเปลอื กโลกเคลื่อนท่ดี ้วยความเร็ว 20 มิลลเิ มตร/ปี เม่อื เวลาผ่านไป 1 ลา้ น ปี แผน่ เปลือกโลกจะเคลอื่ นทไ่ี กลเท่าใด ก. 2,000 กโิ ลเมตร ข. 20 กิโลเมตร ค. 20 เซนตเิ มตร ง. 20 เมตร 28. รอ่ งทรุดแอฟริกาตะวันออก (East African Rift) คือตวั อยา่ งสภาพแวดล้อม ทางธรณแี ปรสณั ฐานแบบใด ก. การเคลอ่ื นทอี่ อกจากกัน ข. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชน แผน่ เปลือกโลกทวีป ค. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชน ง. แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่น แผน่ เปลือกโลกมหาสมุทร เปลือกโลกทวีป 29. ข้อใดแสดงถงึ หลกั ฐานการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ก. การเหลื่อมของหินตามแนว ข. อายุหินบะซอลต์ที่แตกต่างกัน รอยเลื่อน บริเวณสันเขากลางมหาสมทุ ร ค. อายุของหมู่เกาะฮาวาย ง. ถูกทกุ ข้อ 30. พ้ืนทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) โดยท่ัวไปมีอัตราการแผ่กว้าง ประมาณเทา่ ใด ก. 0.1-1 เซนตเิ มตร/ปี ข. 1-24 เซนตเิ มตร/ปี ค. 100-1000 เซนตเิ มตร/ปี ง. 10-100 เมตร/ปี 46

สันติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 31. พน้ื ที่ใดแสดงสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบ triple junction ก. เทือกเขาแอนดสี ข. สมุ าตรา-อนั ดามัน ค. ทะเลจีนใต้ ง. แอฟรกิ า 32. เหตุใดแนวคิดทวีปเล่ือน (continental drift) ของ อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) จงึ ถูกปฏเิ สธในชว่ งแรก ก. ภ าษ าอังกฤษ แ ย่มากจน ไม่ ข. แนวชายฝั่งไม่ฟิตเข้าด้วยกัน สามารถเข้าใจได้ อยา่ งแท้จริง ค. ไม่สามารถอธิบายกลไกการ ง. หลักฐานยืนยันการมีอยู่จริง เคลอ่ื นทขี่ องแผ่นเปลือกโลกได้ ของมหาทวปี ไมห่ นกั แน่น 33. หม่เู กาะฮาวาย เกิดจากกระบวนการธรณีแปรสณั ฐานแบบใด ก. ออกจากกนั (divergent) ข. เข้าหากนั (convergent) ค. ผ่านกนั (transform) ง. จดุ รอ้ น (hot spot) 34. แผ่นเปลือกโลกทวีป (continental crust) มีองค์ประกอบโดยรวมของหิน คล้ายกบั หนิ ชนิดใด ก. หินบะซอลต์ (basalt) ข. หนิ แกรบโบ (gabbro) ค. หนิ แกรนติ (granite) ง. หนิ ไดโอไรท์ (diorite) 35. ขอ้ ใดคอื คุณสมบัติของ แผ่นเปลอื กโลกมหาสมุทร (oceanic crust) ก. หนาประมาณ 33-45 กโิ ลเมตร ข. องคป์ ระกอบคลา้ ยหินแกรนิต ค. บางมากท่ีสุดบริเวณสันเขา ง. ความหนาแน่นน้อยกว่าแผ่น กลางมหาสมทุ ร เปลือกโลกทวีป 47

สนั ติ ภัยหลบลี้ ธรณแี ปรสณั ฐาน 36. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทาให้เกิด รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ตอนกลางของประเทศพม่า ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เข้าหากนั (convergent) ค. ผา่ นกัน (transform) ง. ถูกทกุ ขอ้ 37. ใครคือผู้ค้นพบและนาเสนอ แนวคิดพ้ืนทะเลแผ่กว้าง (sea-floor spreading) ก. ทูโซ วลิ สนั (Wilson T) ข. แฮรยี ์ เฮส (Hess H) ค. อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Wegener A) ง. เดวทิ ทอยท์ (Toit D) 38. ในทางธรณีแปรสัณฐาน สันเขากลางมหาสมุทร (mid-oceanic ridge) คือ ตัวอย่างของขอบแผ่นเปลอื กโลกแบบใด ก. ออกจากกนั (divergent) ข. เขา้ หากัน (convergent) ค. เขตมุดตัวของแผ่นเปลือกโลก ง. จดุ ร้อน (hot spot) (subduction zone) 39. แผ่นเปลอื กโลก (crust) ประกอบดว้ ยอะไรบ้าง ก. แกนโลกและเนื้อโลกตอนลา่ ง ข. ธรณีภาคและเน้ือโลกตอนบน ค. เนอื้ โลกตอนล่างและธรณภี าค ง. เนือ้ โลกตอนบนและตอนล่าง 40. เทือกเขาใดคือตัวอย่างสภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบแผ่นเปลือก โลกทวีปชนแผ่นเปลือกโลกทวปี ก. เทอื กเขาแอนดีส (Andes) ข. เทื อ ก เข า แ อ ป พ า เล เชี ย น (Appalachian) ค. เทือกเขารอ็ คก้ี (Rockies) ง. เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) 48

สนั ติ ภัยหลบล้ี ธรณแี ปรสณั ฐาน 41. สภาพแวดล้อมทางธรณีแปรสัณฐานแบบใดที่ทาให้เกิดบริเวณที่ลึกที่สุดของ มหาสมทุ ร ก. สันเขากลางมหาสมุทร ข. รอยเล่อื นตามแนวระดบั ค. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรชน ง. แผ่นเปลือกโลกทวีปชนแผ่น แผน่ เปลือกโลกทวปี เปลอื กโลกทวปี 42. แผ่นเปลอื กโลกมหาสมุทรท่มี ีอายุแก่ทส่ี ดุ อยู่ในพนื้ ทีใ่ ด ก. ขอบมหาสมทุ รใกลท้ วปี ข. สนั เขากลางมหาสมทุ ร ค. ตามแนวภเู ขาไฟรูปโค้งบนทวปี ง. กระจายอยไู่ ดท้ กุ พน้ื ท่ี 43. ขอบทวีปสถิต (passive continental margin) เกิดจากการเคล่ือนท่ีของ แผ่นเปลือกโลกแบบใด ก. ออกจากกัน (divergent) ข. เขา้ หากนั (convergent) ค. ผ่านกัน (transform) ง. ถกู ทุกขอ้ 44. ขอ้ ใดกล่าวถูกตอ้ งเกยี่ วกับ triple junction ในทางธรณแี ปรสณั ฐาน ก. แผ่นเปลือกโลกท่ีมีหินแตกต่าง ข. แผ่นเปลือกโลกท่ีมีการเกิด กัน 3 ชนิด คือ หินตะกอน หิน ภูเขาไฟทั้ง 3 ชนิด คือ ภูเขาไฟ อัคนแี ละหนิ แปร รูปโล่ ภูเขาไฟกรวยกรวด และ ภูเขาไฟสลับช้นั ค. แ ผ่ น เป ลื อ ก โล ก ที่ ถู ก แ ย ก ง. ไมม่ ีข้อใดถูก ออกเปน็ 3 แผ่น 45. แผ่นเปลือกโลกมหาสมุทรประกอบชุดหินท่เี รียกวา่ อะไร ก. มิลานโควิทช์ (Milakovitch) ข. เมอร์คัลล่ี (Mercalli) ค. โบเวน (Bowen Series) ง. โอฟิโอไลต์ (ophiolite suite) 49


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook