Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore ใบความรู้ เรื่องการสื่อสารในยุคดิจิทัล

ใบความรู้ เรื่องการสื่อสารในยุคดิจิทัล

Published by pitipan.torz, 2022-07-05 04:56:13

Description: ใบความรู้ เรื่องการสื่อสารในยุคดิจิทัล

Search

Read the Text Version

ใบความรู้ ครั้งท่ี 14 วชิ า คุณธรรมจรยิ ธรรมในการใชส้ ื่อสงั คมออนไลน์ รหัสวชิ า สค 0200035 ระดับมธั ยมศึกษาตอนต้น เรอื่ ง การส่ือสารในยุคดจิ ทิ ลั ความหมายการรดู้ จิ ทิ ัล การรู้ดจิ ิทลั (Digital Literacy) คอื การผนวกกันของทักษะความรู้และความ เข้าใจทีผ่ ู้เรียน ต้องเรยี นรู้เพ่ือที่จะมีสว่ นร่วมอยา่ งเต็มท่แี ละมีความปลอดภยั ในโลกยคุ ดิจทิ ัลมากขึ้น ทักษะความรู้ และความเข้าใจน้ีเปน็ กญุ แจสำคัญของหลกั สูตรการศึกษาข้ันพ้นื ฐานทัง้ ระดับประถมศึกษาและ มธั ยมศกึ ษา และ ควรจะผสานให้อยู่ในการเรยี นการสอนของทุกรายวชิ าทกุ ระดับชน้ั นอกจากน้ียัง เกยี่ วข้องกบั ความรคู้ วามสามารถ และทักษะของบุคคลในการเข้าถงึ ดจิ ิทลั ประเมนิ คุณภาพของดิจิทลั และใช้ดิจิทัลอยา่ งมปี ระสทิ ธิภาพทุกรูปแบบ ผูร้ ู้ดจิ ิทัลจะตอ้ งมีทกั ษะในด้านตา่ งๆ เช่น ทกั ษะการคดิ วิเคราะห์และ/หรือ การคดิ อยา่ งมวี จิ ารณญาณ ทักษะการ ใชภ้ าษา ทกั ษะการใช้คอมพิวเตอร์ เปน็ ตน้ นอกจากนี้ Digital literacy หมายถงึ ทักษะความเข้าใจและใช้ เทคโนโลยีดิจทิ ัล โดยเปน็ ทักษะในการน าเคร่ืองมอื อุปกรณ์ และเทคโนโลยีดิจิทัลทม่ี ีอยใู่ นปัจจบุ ัน อาทิ คอมพวิ เตอร์ โทรศัพท์ แทปเลต โปรแกรมคอมพวิ เตอร์ และส่อื ออนไลน์ มาใช้ให้เกิดประโยชนส์ งู สุด ในการ สอื่ สาร การ ปฏบิ ตั ิงาน และการท างานร่วมกัน หรือใชเ้ พ่ือพฒั นากระบวนการท างาน หรอื ระบบงานในองค์กรให้ มี ความทันสมยั และมปี ระสิทธิภาพ ความสำคญั ของการรดู้ ิจทิ ัล เทคโนโลยใี ห้โอกาสในการมสี ่วนรว่ มของการเรยี นรู้ ชมุ ชน สงั คม และ กจิ กรรมการทำงาน ทุกคนจะตอ้ งมีความรดู้ ิจทิ ัลเพ่ือใชป้ ระโยชน์สูงสดุ ดังนี้ 1. ดา้ นการศึกษา การรดู้ ิจิทลั เปน็ ส่งิ จ าเป็นสำหรับการศกึ ษาของบุคคลทกุ ระดับ ท้ังการศกึ ษาในระบบ โรงเรยี น การศกึ ษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอธั ยาศยั และการเรียนรู้ตลอดชวี ติ โดยเฉพาะ อย่างยง่ิ การศึกษาในปจั จุบันที่ มกี ารปฏิรปู การเรยี นรู้ทีเ่ น้นผเู้ รยี นเปน็ สำคญั ดงั นั้นบทบาทของผู้สอน จงึ เปลีย่ นเป็นผใู้ ห้ คำแนะน าชแี้ นะโดยอาศัยทรพั ยากรเป็นพ้ืนฐานสำคญั รวมไปถงึ ทรัพยากรทาง เทคโนโลยีดว้ ย 2. ดา้ นการด ารงชวี ิตประจ าวนั การรดู้ ิจิทัลเป็นส่ิงสำคญั ยิ่งในการดำรงชวี ติ ประจำวนั เพราะผูร้ ดู้ จิ ิทลั จะ เปน็ ผู้ท่สี ามารถ วิเคราะห์ประเมนิ และใชง้ านเทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแกต่ นเอง เมื่อต้องการ ตดั สนิ ใจเร่อื งใดเรื่องหนงึ่ ไดอ้ ย่างมปี ระสิทธิภาพ กส็ ามารถใชค้ วามรู้จากการรู้ดจิ ิทัลเขา้ มาชว่ ยในการ หาขอ้ มูล แลว้ จึงค่อยตดั สินใจ เป็นต้น 3. ด้านการประกอบอาชีพ การรู้ดิจิทัลมคี วามสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบคุ คล เพราะสามารถ แสวงหาดจิ ทิ ัล เพอ่ื เป็นตัวช่วยดา้ นสารสนเทศ ที่มีความจ าเปน็ ตอ่ การประกอบอาชพี ของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมอ่ื ประสบปัญหาโรคระบาดกบั พชื ผลทางการเกษตรของตน สามารถใชค้ วามร้ดู ้านการรดู้ ิจทิ ัลเขา้ มา ชว่ ยในการ หาตัวยาหรือสารเคมีเพอื่ มาก าจดั โรคระบาด ดงั กลา่ วได้ เป็นตน้

4. ดา้ นสงั คม เศรษฐกิจ และการเมอื ง การร้ดู จิ ทิ ัลเปน็ สิง่ สำคญั โดยเฉพาะสังคมในยคุ เทคโนโลยี สารสนเทศ บุคคลจำเป็นตอ้ งรู้ ดิจทิ ัล รสู้ ารสนเทศเพือ่ ปรบั ตนเองใหเ้ ข้ากับสังคม เศรษฐกจิ และการเมือง เชน่ การอย่รู ว่ มกนั ใน สังคม การบรหิ ารจดั การ การดำเนินธรุ กจิ และการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผูน้ ำประเทศ เปน็ ตน้ การรู้ดิจทิ ัลจะทำใหก้ า้ วหน้ามากกวา่ ผอู้ ื่นหนง่ึ ก้าวเสมออาจกลา่ วได้ว่าผรู้ ดู้ จิ ิทลั คอื ผู้ที่มี อ านาจ สามาร ถาชี้วัดความสามารถขององคก์ รหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรทเี่ ปน็ ผรู้ ู้ดิจิทัล จงึ ถือวา่ เปน็ ทรัพยากรทมี่ ีคา่ มากท่สี ดุ ของประเทศ ประเภทของการส่อื สาร การสื่อสารแบบเป็นทางการ (Formal communication) มีรปู แบบของภาษาเปน็ ทางการหรือภาษา ราชการ เป็น ประเภทของการสอื่ สารทีม่ ีระเบียบ แบบแผนและมี ขอ้ กำหนดทีไ่ ด้วางไวเ้ ปน็ มาตรฐานขององคก์ ร หรอื สงั คม สว่ นมากมกั จะใช้ในการตดิ ตอ่ ในระดับหนว่ ยงานและ องคก์ รตา่ ง ๆ การส่อื สารแบบไมเ่ ป็นทางการ (Informal Communication) เปน็ ประเภทของการสือ่ สารทไ่ี มอ่ งิ รูปแบบการส่ือสาร แบบเป็นทางการไม่มี ขอ้ กำหนดรปู แบบของภาษาที่ชดั เจน ซึ่งจะเปน็ การตดิ ต่อส่ือสารระหวา่ งบคุ คลหรือกลมุ่ สังคมท่ี อ้างอิงระดับการ ส่อื สารจากระดับความสัมพันธ์ของแต่ละ บุคคล รูปแบบการตดิ ตอ่ สอื่ สาร การส่อื สารแบบตวั ตอ่ ตวั (1-1 Communication) เปน็ การสอ่ื สารท่ีมีผู้รับสารและผูส้ ่งสารเพยี งไม่เกิน 3 คน ครอบคลุมท้ังการส่ือสารระยะใกล้และระยะไกลอาจเผชญิ หน้า กนั หรือไมก่ ็ได้ ขึน้ อย่กู บั บริบทและจดุ ประสงค์ ของการส่อื สาร ซึ่งมีจดุ ประสงค์ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การสรา้ งความสมั พันธ์ การแจ้งข่าว การถ่ายทอด ความรู้ และการเสนอแนะชกั จงู เปน็ ตน้ การส่อื สารแบบกลมุ่ (Group Communication) เปน็ การสอื่ สารระหวา่ งกลมุ่ บุคคลจำนวนมากทมี่ ีความ สนใจร่วม หรือต้องการแสดงออกในเรอ่ื งราวเดียวกนั ซึ่งสามารถเปน็ ไดต้ ้ังแต่ การสื่อสารภายในกลุ่มเลก็ เชน่ การ ลอ้ มวงสนทนา การอภปิ ราย การส่ือสารแบบกลมุ่ ใหญ่ เชน่ การสัมมนา การบรรยาย เปน็ ต้น การสื่อสารยุคดิจิทัลให้ปลอดภัย จุดประสงค์หลัก คือ เพอ่ื ใหเ้ กดิ การ ส่ือสารท่มี ีคุณภาพ ทไี่ ม่เพียงแต่การ บรรลวุ ัตถุประสงค์ แต่ยงั ต้องมี ความ สร้างสรรค์ และปลอดภัยตอ่ ผรู้ ับสาร โดยมีการพิจารณาว่าผู้ส่งสารจะสง่ สาร อะไรมายงั ผ้รู บั สาร เพ่ือเป็น การเสริมสร้างความ ปลอดภยั ในการใชก้ ารสอ่ื สาร ดจิ ทิ ัล ผู้ใช้ควรคำนงึ ถงึ หลกั 2P และ 2F ซง่ึ ประกอบด้วย รายละเอยี ด ดงั น้ี

แนวปฏิบัตมิ ารยาทในสังคมดิจิทัล มารยาทเนต็ ในบรทิ บสงั คมไทย สิ่งทค่ี วรกระทำในการสอ่ื สารบนโลก อนิ เทอร์เน็ต ไมค่ วรใช้คำหยาบ คำ ย่อ คำทมี่ ีความหมายคลุมเครือไม่ ชัดเจน คำนงึ ถึงความเหมาะสมกับบุคลท่ีสนทนาด้วย หลกี เล่ียง การใชต้ วั สะกด เพ่อื แสดงอารมณห์ รือความรู้สกึ เกินไป เชน่ สยุ อดดดด เก่งมากกกกกกก รวมถงึ การใชเ้ คร่อื งหมายสัญลกั ษณ์ทาง ภาษา เช่น สัญลกั ษณ์อิ โมติคอน สญั ลกั ษณอ์ โิ มจิ สติกเกอร์ มมี (meme) การน ากระแส บนโลกออนไลน์ มา เผยแพร่ชา้ ผ่านลักษณะของบคุ คลอื่น มารยาทในการใช้โทรศพั ท์ในพ้นื ท่สี าธารณะ • ควรปดิ โทรศพั ท์เมื่ออยู่ในโรงภาพยนตร์ โรง ละคร • ไม่รับสายเรยี กเข้าขณะกำลังขึ้นรถโดยสาร หรือ ขบั รถ ถ้าจำเป็นควรใชอ้ ปุ กรณ์เสริม • ระวังภาษาที่ไม่สุภาพ • ไม่ควรใชโ้ ทรศพั ท์ในพน้ื ท่สี าธารณะเพ่อื เล่น โทรศพั ท์จนกลายเปน็ การลิดรอนสิทธขิ องผู้อ่ืน • ไม่ควรใช้งานแล้วรบกวนผู้อ่นื การเอาใจใสผ่ ูอ้ ่นื (Empathy) หมายถงึ การกระทำทน่ี ึกถงึ ผลท่ีคนอื่นจะได้รับ โดยการนกึ ถงึ ความรสู้ กึ ของผ้อู ื่นท้ัง ความรู้สกึ ทแี่ สดงออกทางกิรยิ าและแสดงออกทางความรู้สกึ การแสดงความคดิ เห็น (Comment) ใน ปจั จบุ นั เปน็ การ วพิ ากษ์วิจารณ์และแสดงความคิดเห็นโดยไม่ไดค้ ำนึงถึงวา่ ตัวเองไม่ได้อยใู่ นเหตุการณ์ จึงไมท่ ราบ สาเหตุทแ่ี ท้จรงิ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook