Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore บันทึก สองแพรก

บันทึก สองแพรก

Published by รังสิมันตุ์ ใยทอง, 2021-11-16 18:33:58

Description: บันทึก สองแพรก

Search

Read the Text Version

ไดอารี่ ตำ บ ล สองแพรก เ พ ลิ ด เ พ ลิ น กั บ ตำ บ ล แ ห่ ง ธ ร ร ม ช า ติ จั ด ทำ โ ด ย ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี นั ก ศึ ก ษ า ฝึ ก ป ร ะ ส บ ก า ร ณ์ วิ ช า ชี พ จั ง ห วั ด สุ ร า ษ ฎ ร์ ธ า นี ชั้ น ปี ที่ 4 / 2 5 6 4 ส า ข า รั ฐ ป ร ะ ศ า ส น ศ า ส ต ร์

MEMBERS IN SONGPHRAEK SUBDISTRICT นาย รังสิมันตุ์ ใยทอง 6116209001097 รปศ.61035.163 นาย ศรัญยู นามบุศย์ 6116209001098 รปศ.61035.163 นางสาว เพ็ญนภา วรินทร์เวช 6116209001100 รปศ.61035.163

พระราชดำรัส ค น เ ร า ต้ อ ง มี ค ว า ม ส บ า ย ใ จ . . . \" ค ว า ม ส บ า ย ใ จ ข อ ง ค น เ ป็ น ข อ ง ที่ ห า ย า ก ค น เ ร า ต้ อ ง มี ค ว า ม ส บ า ย ใ จ จึ ง จ ะ มี ชี วิ ต ที่ ร า บ รื่ น ไ ด้ \" พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะกรรมการจัดงาน '๕ ธันวา วันมหาราช’ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๕ เมษายน ๒๕๒๑

คำ นำ หนังสือฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ รัฐประศาสนศาสตร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูล พื้นฐาน โครงสร้างของชุมชนโครงสร้างเศรษฐกิจและอาชีพสถานที่สำคัญ และการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนการจัดทำหนังสือได้ทำการค้นคว้า รวบรวม ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน วิศวกรสังคม ประชาชน และการ ค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ผู้จัดทำต้องขอขอบคุณ อาจารย์ อยับ ซาดัดคาน ซึ่งเป็นทั้ง อาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้และอาจารย์ที่ปรึกษาได้ให้คำปรึกษาแนะนำ ตรวจ สอบความถูกต้องของเนื้อหาข้อมูลให้มีความสมบูรณ์มากที่สุด ขอบคุณ พี่ๆวิศวะกรสังคมตำบลสองแพรกที่ให้ข้อมูล รวมทั้งผู้นำชุมชน ประชาชน ที่ให้ความกรุณาในการสัมภาษณ์ และที่สำคัญเพื่อนๆในกลุ่มที่ช่วยเหลือ กันอย่างเต็มที่ พวกเราหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่สนผู้ใจบ้าง ตามความสมควร หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย คณะผู้จัดทำ 30 ตุลาคม 2564

ส า ร บั ญ ส่วนที่1 ข้อมูลพื้นฐาน 2 3 1.1 ประวัติความเป็นมาของตำบล 4 1.2 ขนาดและที่ตั้งของตำบล 5 1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ 5 1.4 ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ 1.5 การเดินทาง คมนาคม 7 9 ส่วนที่2 โครงสร้างชุมชน 10 11 2.1 ด้านการเมืองการปกครอง 12 2.2 ข้อมูลประชากร 2.3 ด้านการศึกษา /ศาสนา /วัฒนธรรม 16 2.4 บริบททางสังคม/ความเป็นอยู่ 18 2.5 ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม 19 22 ส่วนที่3 โครงสร้างเศรษฐกิจและ 24 อาชีพ 3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ 3.2 แหล่งอาหาร 3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี ของขึ้นชื่อ 3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจ 3.5 วิสาหกิจชุมชน

ส า ร บั ญ ( ต่ อ ) ส่วนที่4 สถานที่สำคัญ 26 27 4.1 แหล่งท่องเที่ยว 29 4.2 แหล่งโบราณสถาน 30 4.3 ศาสนสถานของทุกศาสนา 4.4 แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน /ห้องสมุดชุมชน 33 34 ส่วนที่5 การวิเคราะห์ศักยภาพ 35 ชุมชน 37 38 5.1 สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี(จุดแข็ง) 40 5.2 สิ่งที่ชุมชนต้องพัฒนา(จุดอ่อน) 5.3 โอกาสของชุมชน 5.4 อุปสรรคและความท้าทาย บรรณานุกรรม/อ้างอิง ภาคผนวก

ส า ร บั ญ ภ า พ ชื่อภาพ 12 13 2.1 ภาพโครงการงานชักพระ 14 2.2 ภาพประเพณีลอยกระทง 18 2.3 ภาพประเพณีสารทเดือนสิบ 19 3.1 ภาพอาหารท้องถิ่น 20 3.2 ภาพเครื่องแกง 21 3.3 ภาพปลาดุกร้า 24 3.4 ภาพเครื่องแกง2 24 3.5 ภาพเครื่องแกง 26 3.6 ถั่วดาวอินคา 26 4.1 ภาพบรรยากาศภูเขาเพชร 27 4.2 ภาพพ่อท่านเพชร 28 4.3 ภาพอุโบสถวัดสมัยสุวรรณ 29 4.4 ภาพสวนน้ำธรรมสุวรรณ 29 4.5 ภาพศาลาหลังเก่า 30 4.6 ภาพสิ่งของเรื่องใช้ 31 4.7 ภาพอุโบสและศาลาหลังเก่า 4.5 ภาพธรรมสถานไกวัลยบางน้ำอุ่น

1 1 ข้ อ มู ล พื้ น ฐ า น

2 1 . 1 ป ร ะ วั ติ ค ว า ม เ ป็ น ม า ตำบลสองแพรก เป็นตำบลหนึ่งในเขตการปกครองของอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอชัยบุรี มีระยะห่างจากที่ ว่าการอำเภอชัยบุรี ประมาณ 6 กิโลเมตร แต่เดิมทีเป็นตำบลหนึ่งที่ขึ้นอยู่กับ อำเภอพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อมาเมื่อ วันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2515 พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดสมัยสุวรรณ หลวงพ่อข ลุด ได้ทูลต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ว่า ราษฎรในตำบล สองแพรก และตำบลชัยบุรี อยู่ห่างไกลจากอำเภอพระแสงมากจึงทูลขอให้มี การตั้งหน่วยงานราชการที่ตำบลสองแพรกในขณะนั้น ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะจาก สภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน มีการบริหารงานโดยองค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรกตั้งอยู่ หมู่ที่1 ตำบล สองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี(แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ตำบลสองแพรก ที่มาของชื่อ \"สองแพรก\" เนื่องจากมีลำคลอง สองสายมาบรรจบกันบริเวณใกล้ที่ตั้งของ วัดสองแพรก ลำคลองโตรมจึง เป็นลำคลองสายหลักที่เป็นแห่ลงน้ำและหาอาหารสำคัญของผู้คนบริเวณนั้น ตั้งแต่เมื่อก่อนจนถึงปัจจุบันและลำคลองศกซึ่งเป็นลำคลองสายรองที่มา จากบริเวณบ้านปลายศอกจึงเป็นที่มาของชื่อ สองแพรก แต่คนในท้องถิ่นจะ เรียกบริเวณนั้นว่าคลองศอก (องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก.2564 )

3 1.2 ขนาดและที่ตั้ง ของตำบล ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ ของอำเภอชัยบุรีมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบุรีประมาณ 6 กิโลเมตรห่างจาก ศาลากลางจังหวัสุราษฎร์ธานีประมาณ 106 กิโลเมตรมีเนื้อที่ประมาณ78.86 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 49,287.50ไร่โดยมีอาณาเขตดังนี้ (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ตำบลสองแพรก ประกอบด้วย 9 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านโตรม ,หมู่ ที่ 2 บ้านคลองศอก ,หมู่ที่ 3 บ้านทางข้าม ,หมู่ที่ 4 บ้านในช่อง ,หมู่ที่ 5 บ้านหารยาง ,หมู่ที่ 6 บ้านปากช่อง ,หมู่ที่ 7 บ้านคลองโซง ,หมู่ที่ 8 บ้านหู เชี่ยว และหมู่ที่ 9 บ้านย่านยูง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) N ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลคลองน้อย อำเภอชัยบุรี ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง ทิศใต้ ติดต่อกับ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลชัยบุรี อำเภอชัยบุรี ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง

4 1.3 ทรัพยากรธรรมชาติที่ สำคัญ แหล่งน้ำ คลองโตรม ต้นน้ำกำเนิดจากเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นสายน้ำขนาด ใหญ่ มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตร เริ่มต้นที่บ้านสองแพรก ตำบล ไทรทอง ไหลไปทางทิศเหนือ ผ่านตำบลไทรทอง ตำบลชัยบุรี สู่ตำบลสอง แพรก ลงสู่คลองอิปันที่ตำบลไทรขึง อำเภอพระแสง ส่วนคลองสายที่ 2 คือ คลองทางข้าม ต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขาหน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่คลองโตรม ที่บ้านทางข้าม หมู่ที่ 3 ตำบล สองแพรก มีความยาว 11 กิโลเมตร และคลองศอก ต้นกำเนิดจากเทือกเขา หน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่คลองโตรม ที่ บ้านคลองศอก หมู่ที่ 2 ตำบลสองแพรก มีความยาวประมาณ 9 กิโลเมตร (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ป่าไม้ ตำบลสองแพรกยังมีพื้นที่ป่าไม้ คือป่าสงวนไสท้อน – คลองโซง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ภูเขา ตำบลสองแพรกยังประกอบไปด้วยภูเขา 2 ลูก ด้วยกัน ได้แก่ ภูเขา เพชร และเขาหมี อยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านในช่อง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

1.4 ลักษณะภูมิประเทศ 5 ภูมิอากาศ ลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศของตำบลสองแพรก เป็นเทือกเขา และมี ที่ราบสูงอยู่ทางทิศตะวันออกมีพื้นที่ราบต่ำประมาณครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ทั้งหมด มีลำคลองที่สำคัญ คือ คลองโตรม คลองศอก และคลอง บางปัด (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562 ลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะอากาศของตำบลสองแพรกมีลักษณะแบบมรสุมได้รับ อิทธิพลจากฝั่งอ่าวไทย คือ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และจากฝั่ง ทะเลอันดาหมัน คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีฝนตกชุก ตลอดทั้งปีคือมีฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคมและเป็น ฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายนไม่มีฤดูหนาว(แผนพัฒนา ท้องถิ่น. 2562) 1.5 การเดินทาง การเดินทาง คมนาคม การเดินทางไปตำบลสองแพรกอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัด สุราษฎร์ธานีประมาณ106กิโลเมตรและมีระยะห่างจากที่ว่าการอำเภอชัยบุรี ประมาณ6กิโลเมตรมีถนนภายในเขตตำบลดังนี้ถนนทางหลวงแผ่นดิน จำนวน 1 สาย ,ถนนลาดยางจำนวน 14สาย, ถนนคอนกรีตจำนวน 20 สาย, ถนนลูกรัง และหินผุ จำนวน 32 สาย และถนนดินเดิม จำนวน 1 สาย (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

6 2 โครงสร้างชุ มชน

2.1ด้านการเมืองการปกครอง 7 ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี ได้ยกฐานะจาก สภาตำบล เป็นองค์การ บริหารส่วนตำบลชัยบุรี โดย ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การ บริหารส่วนตำบล ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2539 และประกาศลงในราชกิจจานุ เบกษา ฉบับทั่วไป เล่มที่ 113 ตอนพิเศษ 52 ง. ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2539มี ผลการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งแต่วันที่23กุมภาพันธ์2540แบ่งการ ปกครองตามลักษณะการ ปกครองท้องที่ จำนวน 9 หมู่บ้าน (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) เขตการปกครอง บ้านโตรม นายประจักษ์ ปุณยานุเดช หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน 1 บ้านคลองศอก นายสมเจต เข็มเพรช หมู่ที่ บ้านทางข้าม นายสุภักดี โยธาทัย หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน 2 ผู้ใหญ่บ้าน 3 บ้านในช่อง นายวุฒิชัย มะลิวรรณ์ หมู่ที่ บ้านหารยาง นายไชยยศ ไพภักดิ์ หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน 4 ผู้ใหญ่บ้าน 5 บ้านปากช่อง นายวิโรจน์ ทองอ่อน หมู่ที่ บ้านคลองโซง นายจรัญ แก้วศรีมล หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน 6 กำนันของตำบล 7 บ้านหูเชี่ยว นายไพทูล ชูนาวา หมู่ที่ บ้านย่านยูง นายอนันต์ อินโตรม หมู่ที่ ผู้ใหญ่บ้าน 8 ผู้ใหญ่บ้าน 9 (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

8 การเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก มีการ เลือกตั้งสมาชิกสภาท้อง ถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 17 มาตรา 18 และ มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้อง ถิ่น พ.ศ.2545 ข้อ 18 และข้อ 22 ของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วย การ เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2554 โดยความเห็น ชอบของคณะกรรมการการ เลือกตั้งประจำองค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก ใน คราวประชุมครั้งที่ 3/2556 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2556 ได้ประกาศกำหนด หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้งในเขตเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนตำบลสองแพรกและนายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลสองแพรก จำนวน 9 เขตเลือกตั้ง รวม จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2556 มีจำนวนทั้งหมด 3,614 คน (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

9 2.2 ข้อมูลประชากร จำนวนประชากรทั้งหมดในเขตการปกครองของตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษร์ฎธานี มีจำนวน 9 หมู่บ้าน ประชากรรวมทั้ง ชาย และหญิงจำนวน 6,083 คน แยกเป็นชาย จำนวน 3,007 และเป็น หญิง จำนวน 3,076 มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อคน 77 คน/ตาราง กิโลเมตร(สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอชัยบุรี .2562) ช่วงอายุเรียงตามละลำดับอายุประชากรแต่ละช่วงวัย อายุตั้งแต่ 0 -17 ปี จำนวนทั้งหมด 1,521 คนแยกเป็นเพศชายจำนวน 791 คน หญิงจำนวน 730 , วัย กลางคนอายุตั้งแต่ 18-59 ปี จำนวนทั้งหมด 3,887 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 1,941 คน หญิงจำนวน 1,973 คน และผู้สูงอายุอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน ทั้งหมด 675 คน แยกเป็นเพศชายจำนวน 302 คน หญิงจำนวน 373 คน ประชา กรส่วใหญ่อยู่ในช่วงวัย กลางคน (สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอชัยบุรี .2562)

2.3 ด้านการศึกษา /ศาสนา 10 /วัฒนธรรม ก า ร ศึ ก ษ า สถานศึกษาในตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีจำนวนทั้งหมด 4 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษา คือ โรงเรียนชัย บุรีพิทยา ,โรงเรียนประถมศึกษา คือ โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ ทั้งยังมีศูนย์ พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ และการศึกษานอกโรงเรียนอีก 1แห่ง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ศาสนา ประชาชนส่วนใหญ่ตำบลสองแพรก นับถือ ศาสนาพุทธ โดยมีวัดสมัยสุวรรณและสำนักสงฆ์บาง นำ้อุ่น เป็นสถานที่ สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวด มนต์ การทำสมาธิ(แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) วั ฒ น ธ ร ร ม ประชาชน ตำบลสองแพรกส่วนใหญ่พูดภาษาถิ่น คือ ภาษาใต้ ในพื้นที่ ยังมีผู้ความรู้ด้านยาสมุนไพร ยาแผนโบราณ ที่นำมารักษาโรคได้ ทำให้เกิดเป็น ภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ที่สามารถถ่ายทอดวิธีการรักษาที่สืบ ทอดให้คนรุ่นหลัง อย่างเช่น หมอเอ็น หมอกระดูก และความรู้ด้านสมุนไพรต่างๆ และในด้าน ของอาหารมีอาหารพื้นบ้านและขนมไทยโบราณ(แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

11 2.4 บริบททางสังคม/ ความเป็นอยู่ บ ริ บ ท ท า ง สั ง ค ม บริบททางสังคมของประชากรตำบลสองแพรกยังยึดถือขนบธรรม เนียมและวัฒนธรรมดั้งเดิม ประชาชนมีอุปนิสัยเอื้ออารี สามัคคี และช่วย เหลือซึ่ง กันและกัน สังเกตได้จากการช่วยกันในงามงคล และ ทำบุญในวัน สำคัญทางศาสนา (แผนพัฒนาสามปี. 2558) ค ว า ม เ ป็ น อ ยู่ ความเป็นอยู่ของประชากร ตำบลสองแพรก มี ความเป็นอยู่แบบเรียบ ง่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ยางพารา ปาล์ม นำ้มัน ไม้ผล และการ หาปลาตามแม่นำ้ลำคลอง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

12 2.5 ความเชื่อ ประเพณี ประเพณีชัก และพิธีกรรม พระบก ประเพณีชักพระบก สรงนำ้พระรดนำ้ผู้สูงอายุในวันปากปีปาก เดือนเป็นพิธีกรรมหนึ่งของชาวบ้านตำบลสองแพรกที่ส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธซึ่งตรงกับแรม 15 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปีจัดกันเป็นประจำ ทุกปีณวัดสมัยสุวรรณ(วัดโตรม)ต.สองแพรก อ.ชัยบุรีจ.สุราษฎร์ธานี (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ภาพ โครงการชักพระบก

วันปลระอเพยณกีระทง 13 ประเพณีวันลอยกระทง เป็นประเพณีในคืนวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุกปี โดย จะมีการนำดอกไม้ ธูป เทียนหรือสิ่งของใส่ลงในสิ่งประดิษฐ์รูปต่างๆที่ไม่ จมนำ้ เช่น กระทง เรือ แพ ดอกบัว แล้วนำไปลอยตาม ลำนำ้ โดยมีวัตถุประสงค์และ ความเชื่อต่างๆกัน ตำบลสองแพรกได้มีจัดงานประเพณีวันลอยกระทงเป็น ประจำ ทุกๆปี มีกิจกรรมประกวดต่าง เช่น นางนพมาศ กระทงสวยงาม (แผนพัฒนาท้อง ถิ่น. 2562) ภาพ งานประเพณีลอยกระทง

ประเพณเดีืวอันนสสิาบรท 14 วันสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ จุดหมายสำคัญ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพ ชนและญาติที่ล่วงลับ ไปแล้ว ในตำบลสองแพรก เองถือ ว่าเป็นประเพณีท้องถิ่นที่ปฏิบัติกันมาอย่าง ต่อเนื่อง ซึ่ง องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก ได้จัดประเพณีวัน สารท เดือนสิบ ณ วัดสมัยสุวรรณ ตำบลสองแพรก ใน วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ภาพ โครงการวันสารทเดือนสิบ

15 3 โครงสร้างเศรษฐกิจ และอาชีพ

16 3.1 แหล่งทุนทางธรรมชาติ แหล่งน้ำ ตำบลสองแพรก มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับอุปโภค บริโภค ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำ ตามธรรมชาติและแหล่งน้ำที่สร้างขึ้นโดยมีแหล่งน้ำ คือ คลองโตรม ต้นน้ำกำเนิด จากเขาพนม จังหวัดกระบี่ เป็นสายน้ำขนาดใหญ่มีความยาวประมาณ 50 กิโลเมตรเริ่ม ต้นที่บ้านสองแพรกตำบลไทรทองไหลไปทางทิศเหนือผ่านตำบลไทรทองตำบลชัย บุรีสู่ตำบลสองแพรกลงสู่คลองอิปันที่ตำบลไทรขึงอำเภอพระแสง,คลองทางข้าม ต้นน้ำกำเนิดจากเทือกเขาหน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่ คลองโตรม ที่บ้านทางข้าม หมู่ที่ 3 ตำบลสองแพรก มีความยาว 11 กิโลเมตร และ คลองศอก ต้นกำเนิดจากเทือกเขาหน้าแดง ตำบลคลองน้อย ไหลไปทางทิศตะวัน ออก ลงสู่คลองโตรม ที่บ้านคลองศอก หมู่ที่ 2 ตำบลสองแพรก มีความยาว ประมาณ 9 กิโลเมตร (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

17 ป่าไม้ ตำบลสองแพรก มีพื้นที่ป่าไม้ คือ ป่าสงวนไสท้อน-คลองโซง โดยมี หน่วยป้องกันรักษาป่าที่สุราษฎร์ธานี17สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่11 สุราษฎร์ธานี กรมป่าไม้กระทรวงทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมคอยดูแลจัดการ (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา 59-63 .2556) ภูเขา ตำบลสองแพรก มีภูเขา 2 ลูกด้วยกัน คือ ภูเขาเพชร และเขาหมี อยู่ใน พื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านในช่อง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ดิน ตำบลสองแพรก มีลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประชาชน ตำบลสองแพรก นิยมปลูกปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ (แผนพัฒนาท้อง ถิ่น. 2562)

3.2 แหล่งอาหาร 18 แหล่งอาหาร ในตำบลสองแพรก มาจากชาวบ้านบางส่วน เลี้ยงสัตว์ เป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ ทั้งยัง มีการหาปลาตามแม่น้ำลำคลองเพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) อาหารพื้นถิ่นได้แก่ ขนมจีน ข้าวต้มมัด แกงไตปลา (คมสัน สุขเจริญ ,สัมภาษณ์ 13 กันยายน 2564) ภาพ อารหารท้องถิ่น

3.3 ผลิตภัณฑ์ชุมชน ของดี 19 ของขึ้นชื่อ เครื่องแกงชุมชนบ้านโตรม ตำบลสองแพรก มีชาวบ้านหมู่ที่ 1 ได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเครื่อง แกงขึ้นมาชื่อ เครื่องแกงชุมชนบ้านโตรม มีทั้งแกงกะทิ แกงส้ม แกงพริก มี จำหน่ายในร้านค้าชุมชนทั่วไป(องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก .2564) ภาพ เครื่องแกง

20 ปลาดุกร้า บ้านย่านยูง กลุ่มผลิต ปลาดุกร้า บ้านย่านยูง เป็นผลิตภัณฑ์จากชุมชน หมู่ ที่ 9 บ้านย่านยูง ตำบลสองแพรก ปลาดุกรสชาติอร่อย เนื้อนิ่มรับ ประทานง่าย ผลิตสดใหม่ตามสั่งซื้อ (กลุ่มวิศกรสังคมตำบลสอง แพรก.2564) ภาพ ปลาดุกร้า

21 ภาพ เค รื่องแกง ที่ 2 เครื่องแกงตำมือรจทิพย์ เครื่องแกงตำมือรจทิพย์ เป็นผลิตภัณฑ์จากกลุ่มแม่บ้าน หมู่ที่ 7 ตำบลสองแพรกคิดริเริ่มขึ้นมาเพราะในชุมชนมีการปลูกวัตุดิบในการตำ เครื่องเกือบทุกชนิดอยู่แล้ว ซึ่งในหมู่บ้านมีการปลูก ขมิ้น ตะไคร้ พริก ขี้หนู พริกไทย กันเกือบทุกครัวเรือน เป็นการสร้างรายได้ให้ผู้ปลูกนำ วัตถุดิบมาขายให้กับกลุ่ม ทำเครื่องแกงสร้างเป็นรายได้ต่อไป (เครื่องแกง ตำมือ ม. 7 สองแพรก.2561)

22 3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจ ของประชาชน การเกษตร ตำบลสองแพรกประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และไม้ผล (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ก า ร ป ศุ สั ต ว์ การปศุสัตว์ในตำบลสองแพรกเป็นการประกอบการใน ลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลัก และอาชีพเสริม เช่น การ เลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือเพื่อจำหน่ายและบริโภคเองในครัวเรือน (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ก า ร บ ริ ก า ร แหล่งให้บริการความสะดวกต่างๆ ภายในตำบลสองแพรก มีดังนี้ สถานีบริการน้ำมัน ที่มีมาตรฐานจำนวน 3 แห่ง ,อู่เคาะพ่นสีจำนวน 3 แห่ง , บริการห้องพักจำนวน 3 แห่ง, ที่ตั้งของโรงผลิตต่างๆได้แก่ โรงผลิต บรรจุ สะสมแก๊สหุงต้มจำนวน 1 แห่ง ,โรงจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จจำนวน 3 แห่ง และ ร้านค้าสะดวกซื้อจำนวน 2 แห่ง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562)

การพาณิชย์และ 23 กลุ่มอาชีพ ธุรกิจพาณิชย์ที่เกิดในตำบลสองแพรก ได้แก่ ธนาคารจำนวน 3 แห่ง ,บริษัทสินเชื่อจำนวน 3 แห่ง ,สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนบ้านควนเจริญ จำนวน 1 แห่ง กลุ่มอาชีพที่เปิดร้านค้าหรือรวมกลุ่มกันเปิดตลาดขายของ ตลาดสดและตลาดนัดจำนวน 3 แห่ง ,ร้านขายยาจำนวน 4 แห่ง และยังมี กลุ่มปุ๋ยเกษตรอินทรีย์ อีกจำนวน 1 แห่ง (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) แรงงาน ตำบลสองแพรก มีแรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ การ รับจ้างกรีดยางพารา รับจ้างแทงทลายปาล์มน้ำมัน และรับจ้างทั่วไป (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ภาพรับจ้างตัดปาล์ม และ กรีดยาง

24 3 . 5 วิ ส า ห กิ จ ชุ ม ช น วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลููกถั่วดาวอินคา ตั้งอยู่เลขที่ 7/9 หมู่ที่ 3 ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0904847220 เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ชาผสมจากใบและเปลือกถั่วดาว อินคา (รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน .2560) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงชุมชนบ้านโตรม ตั้งอยู่เลขที่ 122/11 หมู่ที่ 1 ถนน ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0878981219 เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องแกงจากชาวบ้านหมู่ที่ 1 (รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน .2560) วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องแกงบ้านในช่อง ตั้งอยู่เลขที่ 24/5 หมู่ที่ 4 ถนน ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 0848401498 เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องแกงจากชาวบ้านหมู่ที่ 4 (ราย ชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน .2560) ภาพเครื่องแกง และถั่วดาวอินคา

25 4 ส ถ า น ที่ สำ คั ญ

26 4 . 1 แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว ภาพ บรรยากาศบนภูเขาเพรช ภาพ พ่อท่านเพรช จุดชมวิวภูเขาเพรช จุดชมวิวภูเขาเพรช ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 บ้านในช่อง ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรีจังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นบริเวณพื้นที่ป่าชุมชนเดิมโดยกลุ่มวิศวกร สังคมและผู้นำชุมชนได้คิดริเริ่มพัฒนาขึ้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่เหมาะ สำหรับท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ชมป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ชมทะเลหมอกยามเช้า สำหรับจุดชมวิวนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเปิดใหม่ของตำบลสองแพรกจะมีการ เปิดเป็นทางการปีใหม่นี้ มีจุดเช็คอินถ่ายรูป ตามจุดต่างๆ (ทรงพล สาระ พิจิตร ,สัมภาษณ์ 2564)

27 วัดสมัยสุวรรณ วัดสมัยสุวรรณเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมตั้งอยู่ที่บ้านโตรมเลข ที่205 หมู่ที่ 1 ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดสมัยสุวรรณ เดิมชื่อว่าวัดโตรมเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดของอำเภอชัยบุรีเป็นสถานที่ทำบุญแลประกอบ กิจกรรมทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆสิ่งสำคัญที่มีในวัดคือพระพุทธรูปปูนปั้นปาง สมาธิ(หลวงพ่อเพชร)ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถซึ่งเป็นอุโบสถแบบเปิดหนึ่ง เดียวในภาคใต้ทั้งยังสามารถเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์สิ่งของเครื่องใช้นับ 100 ปี ในศาลา วัดหลังเก่า กว่า 1,000 ชื้น และตามรอยการเสด็จของ ร.9 มาเยี่ยมเยือนราษฎร์ใน พื้นที่วัดสมัยสุวรรณ ในปี 2515 ( วิศกรสังคมตำบลสองแพรก .2564 ) ภาพ อุโบสถวัดสมัยสุวรรณ

28 ภาพ สวนน้ำธรรมสุวรรณ สวนน้ำธรรมสุวรรณ สวนน้ำธรรมสุวรรณ ตั้งอยู่บริเวณท่าน้ำวัดสมัยสุวรรณ บ้านโตรม ม.1 ต.สองแพรก อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี สวนน้ำแห่งนี้ เป็นความคิดริเริ่มของ กำนันและผู้ใหญ่บ้านตำบลสองแพรก เห็นว่าท่าน้ำแห่งนี้มีจุดลงเล่นน้ำ มีน้ำ ไหลผ่านตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง จะมีเด็กๆ มาเล่นเป็นจำนวนมาก โดยเปิดให้บริการคิดค่าบริการคนละ 10 บาท โดยมีเสื้อชูชีพ และมีคนดูแลความ เรียบร้อย เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อายจะเกิดขึ้น และในพื้นที่มีพี่น้องประชาชนมา ขายอาหารและเครื่องดื่มสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี .2564)

29 4.2 แหล่งโบราณสถาน วัดสมัยสุวรรณ วัดสมัยสุวรรณ เป็นวัดเก่าแก่อายุ 124 ปี มีหลักฐานว่าถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ.2440 ตั้งอยู่ หมู่ที่1บ้านโตรมตำบลสองแพรกอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี(วิศวกรสังคมตำบลสอง แพรก.2564) โบราณวัตถุ ภาพศาลาวัดหลังเก่า ภาพ สิ่งของเครื่องใช้ 1 โบราณวัตถุในตำบลสองแพรก เป็น ของเก่า สิ่งของเครื่องใช้โบราณชนิดต่างๆ อายุนับ100 ปี ตั้งอยู่ใน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดสมัยสุวรรณตำบลสองแพรก อำเภอชัย บุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่กำลังดำเนินการ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเพื่อเป็นแหล่งเรียน รู้ที่สำคัญของชุมชน(สำนักงานวัฒนธรรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี .2564)

4.3 ศาสนสถานของ 30 ทุกศาสนา วัดสมัยสุวรรณ วัดสมัยสุวรรณตั้งอยู่ที่บ้านโตรมเลขที่ 205 หมู่ที่ 1 ตำบลสอง แพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี วัดสมัยสุวรรณเดิมชื่อว่าวัดโตรมเป็น วัดที่เก่าแก่ที่สุดของอำเภอชัยบุรีก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2461 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2435 เป็นสถานที่ทำบุญและประกอบ กิจกรรมทางศาสนา ในวันสำคัญต่างๆ สิ่งสำคัญที่มีในวัดคือ พระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ(หลวงพ่อ เพชร) ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในอุโบสถ ศาลา โรงฉันโบราณ อุโบสถ เจดีย์ (สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี.2558) ภาพ อุโบสถวัดสมัยสุวรรณ ภาพศาลาวัดหลังเก่า

31 สำนักสงฆ์ธรรมสถานไกวัลยธรรมบางน้ำอุ่น ธรรมสถานไกวัลยธรรมบางน้ำอุ่น ตั้งอยู่ในพื้นที่ หมู่ 3 บ้านทาง ข้าม ตำบล สองแพรก อำเภอ ชัยบุรี สุราษฎร์ธานี เกิดขึ้นเมื่อเดือนยี่ พ.ศ. 2549 เกิดจากอิทัปปัจจยตา โดยมีพระอาจารย์ บรรเชิง ชยนโต จัด ตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น (กลุ่มวิศวกรสังคมตำบลสองแพรก .2564) ภาพ ธรรมสถานไกวัลยธรรมบางน้ำอุ่น

4.4 แหล่งเรียนรู้ / โรงเรียน / 32 ห้องสมุดชุมชน แหล่งเรียนรู้ โรงเรียน ห้องสมุดชุมชน ของตำบลสองแพรก มีด้วยกัน ดังนี้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ ตั้งอยู่ เลขที่ 188 หมู่ 1 บ้านโตรม ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุ ราษฏร์ธานี สอนในระดับปฐมวัย(พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ .2564) โรงเรียนประถมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านโตรม ตำบลสองแพรกอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี มีพื้นที่จำนวน 80 ไร่ 1 งาน 6 ตารางวา ปัจจุบันโรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ จัดการศึกษา 2 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย และระดับประถมศึกษา (โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ.2564) โรงเรียนมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนชัยบุรีพิทยา เป็นโรงเรียน มัธยมศึกษาประจำอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2525 ตั้งอยู่ใน หมู่ที่ 2 ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัด สุราษฎร์ธานี เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย (โรงเรียน ชัยบุรีพิทยา .2561) การศึกษานอกโรงเรียน 1 แห่ง คือการศึกษานอกโรงเรียนตำบลสองแพรก ตั้งอยู่ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านโตรม ตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ ธานี ใกล้กับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ (แผนพัฒนาท้องถิ่น. 2562) ห้องสมุดตำบลสองแพรก มีชื่อว่าห้องชวลิต ตั้งอยู่ที่ ศาลาหมู่ที่ 1 บ้าน โตรม ตำบลสองแพรกอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฏร์ธานี เป็นห้องสมุด สำหรับประชาชน ได้ศึกษาหาความรู้ (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556)

33 5 ส่ ว น ที่ 5 ก า ร วิ เ ค ร า ะ ห์ ศั ก ย ภ า พ ชุ ม ช น

5.1สิ่งที่ชุมชนทำได้ดี (จุดแข็ง) 34 ด้านสภาพแวดล้อม ชุมชนตำบลสองแพรก อำเภอชัยบุรี สิ่งที่ทำได้ดี ถือเป็นจุดแข็งในด้านสภาพแวดล้อม คือ การมีสภาพแวดล้อมที่ดีอุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วย ป่าไม้ชุมชนเป็นพื้นที่มีแหล่งอากาศบริสุทธ์ ทั้ง ยังมีแม่น้ำลำธาร มีแหล่งอาหารอยู่ภายในชุมชน ระบบสาธารณูอุปโภคที่ครบครัน สิ่งอำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้คน และมีการจัดระเบียบขยะในชุมชน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ, จีรวุฒิ อินดำ,คมสัน สุขเจริญ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านเศรษฐกิจ ในด้านเศรษฐกิจชุมชนตำบลสองแพรก ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะประกอบอาชีพทำสวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน และส่วนผลไม้ท้องถิ่น มีการส่งเสริมการเกษตรที่ดี มีพืชผลอุดมณ์สมบูรณ์ และมีการ ร่วมมือในการจัดกลุ่มวิสาหกิจชุมชน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ชาวบ้านตำบลสองแพรกมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เพราะมีสภาพแวดล้อมที่อุดมณ์สมบูรณ์ ทำให้มีโครงสร้างพื้นฐานที่มั่นคงโดยเฉพาะเรื่องน้ำประปาที่มีน้ำใช้ตลอดทั้งปีและระบบสาธารณะสุขที่ดี (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,คมสัน สุขเจริญ จีรวุฒิ อินดำ,ลลิตวรรณ พิศลย์กุลสุภา ,สัมภาษณ์.2 ตุลาคม 2564) ด้านคุณภาพชีวิต ชาวบ้านตำบลสองแพรกมีระบบการบริการสาธารณสุขที่พร้อม สนับสนุนให้ความรู้ ด้าน เศรษฐกิจพอเพียงรณรงค์ให้ชุมชนรู้จักสัมมาชีพให้เกิดการใช้จ่ายที่ดีในเครือเรือนและมีสวัสดิการทุน การศึกษาส่งให้เด็กได้เรียนถึงระดับปริญญาตรี ปีล่ะสองหมื่นบาท (จีรวุฒิ อินดำ ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช,สุขธิพงศ์ ชูนาวา,อรวรรณ หนูขำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564)

5.2 สิ่งที่ชุมชนตองพัฒนา (จุดออน ) 35 ด้านสภาพแวดล้อม สิ่งที่ชุมชนตำบลสองแพรกต้องพัฒนา ในด้านของสิ่งแวดล้อม มีชาวบ้านบางส่วนปล่อย น้ำเสียทิ้งลงแม่น้ำลำคลองและทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมไม่ดีขึ้นมาในชุมชนเอง (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ,สุขธิพงศ์ ชูนาวา ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของตำบลสองแพรก ในช่วงฤดูผลไม้ มีผลไม้ล้นตลาด ราคาผลไม้ตกต่ำ ไม่มี พ่อค้าคนกลางมารับซื้อควรจะมีนโยบายหรือโครงการมาสนับสนุนชาวบ้านที่มีสวนผลไม้และการดูแล รักษาสถานที่ท่องเที่ยวให้ยั่งยืน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ,พิสิทธิ์ หวานช่ำ,อรวรรณ หนูขำ สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐานของตำบลสอกแพรกที่ชุมชนต้องพัฒนาในเรื่องของ น้ำประปาในไม่ ค่อยสะอาดขาดการดูแล น้ำมีหินปูนเกินมาตราฐานและยังขาดน้ำสะอาดมาบริโภค (กฤษณะ มูสิกะเจริญ, จีรวุฒิ อินดำ ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช ,ลลิตวรรณ พิศลย์กุลสุภา ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านคุณภาพชีวิต ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ทำให้ชาวบ้านบางส่วนตกงาน ,การจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน และใช้รถใช้ถนนของเด็กและเยาวชนที่ยังขาดความรู้เรื่องกฎหมายจราจร (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช ,สันติพงศ์ หวานฉ่ำ , สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564)

5.3 โอกาสของชุมชน 36 ด้านสภาพแวดล้อม โอกาสของชุมชนตำบลสองแพรก ในด้านสภาพแวดล้อม หากชุมชนมีโอกาสที่จะมีการจัดการ อบรมแบบออนไลน์ในเรื่องต่างๆให้ความรู้แก่ชาวบ้านในชุมชนเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆในเรื่องการ อนุรักษ์แหล่งน้ำลำคลอง และการถมดินขวางทางน้ำ (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,คมสัน สุขเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ , อรวรรณ หนูขำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) โอกาสในพัฒนาวัดสมัยสุวรรณ ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อนในชุมชนได้ และยังมี พื้นที่ที่สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เช่นบ่อน้ำร้อนเขาเพชรหน้าทั่ง (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา 59-63 .2556) ด้านเศรษฐกิจ เศรษฐกิจของชุมชนตำบลสองแพรก ต้องการให้มีการส่งเสริมการจัดกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรม ท้องถิ่นเพื่อกระตุ้นการขายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเป็นรายได้เสริมแก่ชาวบ้าน ส่งเสริมการแปรรูปผลไม้ ต่างๆและส่งเสริมให้เกิดตลาดชุมชน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ประจักษ์ ปุณยานุเดช ,ลลิต วรรณ พิศลย์กุลสุภา ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ตำบลสองแพรกมีพื้นที่และสภาพอากาศ เหมาะสมกับการทำการเกษตร โดยเฉพาะการปลูกพืช เศรษฐกิจ ได้แก่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อีกทั้งพื้นที่เหมาะสมในการลงทุนสำหรับการรับซื้อและแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร และยังสามารถพัฒนาวัดสมัยสุวรรณ ภูเขาเพรช ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและ สถานที่พักผ่อนที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐานของชุมชนตำบลสองแพรกประชาชนต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลให้ ความสำคัญกับน้ำประปา และจัดการให้เข้าถึงทุกครัวเรือน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,จีรวุฒิ อินดำ ,สันติ พงศ์ หวานฉ่ำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์กรเพื่อปฏิบัติงานมีอินเตอร์เน็ต ความเร็วสูง และระบบเชื่อมต่อภายในองค์กร มีเว็ปไซต์ ขององค์กร เพื่อเป็นช่องทางของการติดต่อ สื่อสารและประชาสัมพันธ์กับประชาชน (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556) ด้านคุณภาพชีวิต ชาวบ้านตำบลต้องการการส่งเสริมอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้เสริมหลังจากการทำการเกษตร ,โอกาสในการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียน และการ จัดอบรมการใช้รถใช้ถนนให้แก่เด็กและเยาวชน (จีร วุฒิ อินดำ ,พิสิทธิ์ หวานช่ำ ,สุขธิพงศ์ ชูนาวา สัมภาษณ์ 2 ตุลาคม 2564) ในพื้นที่ตำบลสองแพรกส่วนใหญ่ยังเป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยกัน และมีกลุ่มองค์กรทางสังคมที่ เข้มแข็งหลายกลุ่ม(แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556)

5.4อุปสรรคและความทาท าย 37 ด้านสภาพแวดล้อม อุปสรรคและความท้าทายของตำบลสองแพรก ในด้านสภาพแวดล้อม ชาวบ้านบางส่วนใน ชุมชนไม่ค่อยสนใจและไม่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำหน่วยงานท้องถิ่นไม่ค่อยสนใจใน เรื่องการถมดินปิดกั้นทางน้ำทำให้ชาวบ้านบางส่วนเดือดร้อนและยังขาดการประชาสัมพันธ์จากผู้นำ ชุมชน (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,พิสิทธิ์ หวานช่ำ ,สันติพงศ์ หวานฉ่ำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ด้านเศรษฐกิจ ปัญหาหลักๆคือ ราคาผลผลิตทางการเกษตร ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับนายทุนและกลไกทางการตลาด ,ราคาน้ำมันในท้องตลาดสูง ส่งผลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ค่าครองชีพสูงขึ้น ,ขาดแคลนแรงงานด้านการเกษตร ,พื้นที่ทำกิน ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ,ขาดการรวมกลุ่มในการประกอบ อาชีพ และประชาชนบางส่วนไม่มีที่ทำกิน (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556) ปัจจุบันนี้มีโรคระบาดทำให้บางอาชีพที่ได้รับผลกระทบในการใช้ชีวิตชาวบ้านในชุมชนขาดเงินทุนใน การประกอบอาชีพ (กฤษณะ มูสิกะเจริญ ,คมสัน สุขเจริญ ,ลลิตวรรณ พิศลย์กุลสุภา ,อรวรรณ หนูขำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) โครงสร้างพื้นฐาน โครงสร้างพื้นฐานของตำบลสองแพรก หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดการน้ำประปาขาดอุปกรณ์ ที่ใช้ในการกรองน้ำประปาที่กระจายให้ชุมชนใช้อุปโภคบริโภค หน่วยงานมองข้ามความสำคัญของน้ำ ประปาและขาดแหล่งทุนที่จะนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (พิสิทธิ์ หวานช่ำ ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช , อรวรรณ หนูขำ ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564 ) การบริการทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่นไฟฟ้า ประปา ยังไม่ครอบคลุมทั้งพื้นที่ (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนา 59-63 .2556) ด้านคุณภาพชีวิต ชุมชนขาดและต้องการอุปกรณ์ในการทำอาชีพเสริม การอบรมทำอย่างไรให้ชาวบ้านเข้าใจมากที่สุด ต้องการให้ชาวบ้านในชุมชนผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้งานโดยการลงมือทำจิงๆเพื่อให้มีความรู้อย่างเพียง พอเข้าใจมากขึ้น และปัญหาของประชากรแฝง(กฤษณะ มูสิกะเจริญ,ประจักษ์ ปุณยานุเดช,สันติพงศ์ หวาน ฉ่ำ ,สุขธิพงศ์ ชูนาวา ,สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) เกษตรกรยังขาดความรู้ ทักษะ ในการประกอบอาชีพเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และเยาวชนบาง ส่วนไม่จบการศึกษาภาคบังคับ (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63 .2556)

38 กรมส่งเสริมการเกษตร. (2560).รายชื่อวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. [Online]. :https://smce.doae.go.th/ProductCategory/SmceCategory.php [2564,กรกฎาคม 26] กลุ่มวิศกรสังคมตำบลสองแพรก. (2564).ผลิตภัณฑ์จากชุมชน. [Online].เข้าถึงได้ https://www.facebook.com/101667488814284/posts/121046426876390.[2564,กรกฎาคม 26] กลุ่มวิศกรสังคมตำบลสองแพรก. (2564).วัดสมัยสุวรรณ [Online].เข้าถึงได้ https://www.facebook.com/U2TSongprak/photos/a.101894668791566/116602287320804. [2564,กันยายน15] กลุ่มวิศกรสังคมตำบลสองแพรก. (2564).สถานที่ท่องเที่ยว [Online].เข้าถึงได้ https://www.facebook.com/U2TSongprak/photos/a.102477478733285/115535404094159. [2564,กันยายน15] (กฤษณะ มูสิกะเจริญ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) (คมสันสุขเจริญ,สัมภาษณ์. 26กรกฎาคม 2564) (คมสัน สุขเจริญ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) (จีรวุฒิ อินดำ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) (ทรงพล สาระพิจิตร, สัมภาษณ์. 15กันยายน 2564) (ประจักษ์ ปุณยานุเดช, สัมภาษณ์. 10 ตุลาคม 2564) (พิสิทธิ์ หวานช่ำ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) (ลลิตวรรณ พิศลย์กุลสุภา, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ. (2564).ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก [Online].เข้าถึงได้จาก : https://www.facebook.com/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนวัดสมัยสุวรรณ/ 446010962847789/. [2564,กันยายน15] (สันติพงศ์ หวานฉ่ำ , สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) (สุขธิพงศ์ ชูนาวา, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564).สวนน้ำธรรมสุวรรณ [Online].เข้าถึงได้จาก https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG210405192808626 .[2564,กันยายน 15]

39 สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี. (2564). พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน[Online].เข้าถึงได้จาก: https://www.m-culture.go.th/th/article_view.php.[2564,กันยายน 15] องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก.(2563).ทะเบียนภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน. [Online].เข้าถึงได้จาก https://www.songprak.go.th/datacenter.[2564,กรกฎาคม 26] องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก. (2564).ประวัติความเป็นมา[Online].เข้าถึงได้จาก https://www.songprak.go.th/history.php [2564,กรกฎาคม 26] องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก. (2562).สำนักบริหารการทะเบียน อำเภอชัยบุรี [Online].เข้าถึงได้จาก https://www.songprak.go.th/datacenter/detail.php [2564,กรกฎาคม 26] องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก. (2562).แผนพัฒนาท้องถิ่น[Online].เข้าถึงได้จาก https://www.songprak.go.th/datacenter/detail.php [2564,กรกฎาคม 26] องค์การบริhหttาpรsส:่/ว/นwตwำwบ.ลsสoอngงpแrพaรk.กg.o.(t2h5/d5a8t)a.ceแnผteนr พ/ัdฒeนtaาilส.pาhมpปี.[2[5O6n4li,nกeร]ก.เฎข้าาถคึงมได้2จ6า]ก องค์การบริหารส่วนตำบลสองแพรก. (2556).แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา 59-63. [Online].เข้าถึงได้จาก https://www.songprak.go.th/datacenter/detail.php [2564,กรกฎาคม 26] (อรวรรณ หนูขำ, สัมภาษณ์. 2 ตุลาคม 2564) โรงเรียนชัยบุรีพิทยา (2564).ข้อมูลพื้นฐาน โรงเรียนชัยบุรีพิทยา [Online].เข้าถึงได้จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldata-view.php [2564,กันยายน15] โรงเรียนวัดสมัยสุวรรณ. (2564). ประวัติโรงเรียน[Online].เข้าถึงได้จาก https://data.bopp-obec.info/web/index_view.php [2564,กันยายน15] เครื่องแกงตำมือ ม.7 สองแพรก. (2561). เครื่องแกงตำมือ [Online].เข้าถึงได้จาก https://www.facebook.com/1347945138653610/posts/1860954840685968.[2564,กรกฎาคม 26

40 ภาคผนวก






Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook