การนาเสนอผลงาน “การยกระดบั คณุ ภาพผ้เู รียน ด้วย Best Practice” การจัดกิจกรรมลกู เสือด้วยรูปแบบ LTP (Learn Through the Platform) โดย นายฉลอง คณุ ประทมุ ตาแหน่ง ครู โรงเรียนวรราชาทินดั ดามาตวุ ิทยา ตาบลคลองพระอดุ ม อาเภอลาดหลมุ แก้ว จงั หวดั ปทมุ ธานี สงั กดั สานกั งานเขตพนื ้ ท่ีการศกึ ษามธั ยมศกึ ษาปทมุ ธานี
ก คำนำ จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 ซ่ึงมีผลกระทบหลายๆ ด้าน ไม่ว่า จะเปน็ ดา้ นสังคม เศรษฐกิจ วฒั นธรรม และด้านการศกึ ษา หลายโรงเรยี น รวมถงึ โรงเรยี นวรราชาทินัดดามาตุ วิทยา ได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอน จากเดิมแบบออนไซต์ มาเป็นออนไลน์ ครูแต่ละกลุ่มสาระฯ สรรหา วิธิการเทคนิคต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุ วิทยาจึงประชุมหาแนวทางการจดั กจิ กรรม และได้นวตั กรรมที่ช่ือว่า การจัดกิจกรรมลูกเสือดว้ ยรูปแบบ LTP หรือ Learn Through The Platform หมายถงึ การเรียนร้ผู ่านแพลดฟอร์ม ในการพัฒนารูปแบบ LTP (Learn Through The Platform) มีวตั ถปุ ระสงค์เพอ่ื จดั การเรียน การสอนของกจิ กรรมลูกเสอื เนตรนารสี ามัญรุ่นใหญ่ ให้สอดคลอ้ งกบั สถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID-19) และนำเสนอแนวทางในการจัดกิจกรรมลูกเสือเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่สนใจ สามารถนำไปพัฒนาตอ่ ยอดใหม้ ีความหลากหลายมากขึน้ ผู้พัฒนาหวังเป็นอย่างยิ่งว่านวัตกรรมนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนำไป พัฒนาต่อไปเพื่อ รปู แบบการศึกษาทด่ี ีขึน้ และรองรับไดก้ บั ทกุ สถานการณ์ ฉลอง คุณประทมุ ผูพ้ ฒั นา
สารบญั ข คำนำ หน้า สารบัญ ก บทคดั ย่อ ข ความสำคญั ของผลงาน 1 จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 2 กระบวนการผลติ ผลงานหรือขั้นตอนการดำเนินงาน 3 ผลการดำเนนิ การ / ผลสัมฤทธิ์ / ประโยชนท์ ี่จะได้รับ 4 ปัจจัยความสำเร็จ 5 บทเรียนทไ่ี ดร้ บั (Lesson Learned) 5 การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรบั / รางวลั ท่ไี ดร้ ับ 6 บรรณานกุ รม 7 ข้อมลู ของเจ้าของผลงาน 8 ภาคผนวก 9 10
บทคัดย่อ จากสถานการณ์การแพรร่ ะบาดของโรคติดเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ใน ประเทศไทย ในช่วงปลายปีพุทธศักราช 2063 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูหนาวและอากาศที่ เย็นนั้นส่งผลให้ไวรัสมีอายุยาวนานขึ้น จากการคาดคะเนพบว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหมใ่ นไทยคร้งั น้ีอาจจะรนุ แรงกว่าเดมิ ดงั นัน้ มาตรการการป้องกนั คอื ให้ประชาชน อยู่บา้ น ลดการเดนิ ทาง ลดการรวมกลุ่มกนั (สรุ ชัย โชควรชิดไชย, 2563, หนา้ ง-จ) อีกทง้ั โรงเรยี นวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี ได้รับคำสังให้ปิดสถานศึกษาชั่วคราวและให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน โดยประยุกต์ไป ตามความถนัดและความสะดวกในการจัดการเรยี นการสอนของครูผู้สอนและนกั เรยี น เชน่ ใชก้ ารจดั การเรียนรู้ ออนไลน์ผ่านแอพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Line, Facebook, Zoom, Google Classroom ช่องทาง DLTV หรือ ชอ่ งทางใดกไ็ ด้ แตก่ ารจดั การเรียนการสอนต้องดำเนินต่อไป ผู้พัฒนานวตั กรรมในฐานะครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ และหวั หนา้ กิจกรรมพฒั นาผู้เรียน กลุ่ม บริหารวิชาการ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวทิ ยา จังหวัดปทุมธานี และจากสถานการณ์ข้างต้นนั้น ผู้พัฒนา นวัตกรรมมีความสนใจในการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เพื่อ นำมาปรับรูปแบบการการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ส่งเสริมการร่วมเรยี นรู้ของผู้เรียน และลด ภาระงานให้กับครูผูส้ อน โดยใช้พัฒนานวัตกรรม การจัดกิจกรรมดัวย LTP (Learn Though The Platform) หรอื การเรยี นรู้ผา่ นแพลดฟอร์ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) การส่งเสริม กระตุ้นการมีส่วนร่วมในกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ของนักเรียน โรงเรียนวรราชาทนิ ดั ดามาตวุ ิทยา ลดภาระหน้าทีข่ องครูผู้สอน ในการจดั การเรยี นการสอน ในสถานการณ์การ เฝ้าระวังการติดเช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงเรยี นวรราชาทินดั ดามาตวุ ทิ ยา และผเู้ รียนมีความสุขในการร่วม กิจกรรมลกู เสือ เนตรนารีสามญั รุ่นใหญ่ ในการพฒั นานวัตกรรมการจัดกิจกรรมดวั ย LTP (Learn Though The Platform) หรือการ เรียนรู้ผ่านแพลดฟอร์ม ผู้พัฒนาได้ศึกษารปู แบบและแนวทางที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาหลายรูปแบบ และได้ เลือกวงจรบรหิ ารคณุ ภาพ PDCA ผลจากการดำเนินงานตามวงจร PDCA ทำให้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้นวัตกรรมที่มี ประสทิ ธภิ าพ โดยสังเกตได้จากการเขา้ ร่วมของผู้เรียน โดยมีสถิตกิ ารเข้ารว่ มของแตล่ ะระดบั ช้ันมากกว่ารอ้ ยละ 80 โดยได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายบริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา ผู้ปกครอง และ นักเรยี น บทเรียนที่ได้รับจากการพัฒนานวัตกรรม คือ การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ ทำให้การเรียนร้ขู องผู้เรียนเป็นไปอยางต่อเนือ่ ง ควบคกู่ ับการพฒั นาตนเองให้ทันต่อส่ือนวัตกรรม ต่าง ๆ ของครผู ู้สอน เพอื่ นำมาประยุกต์จดั รูปแบบของการจดั กจิ กรรมทที่ นั สมัย ดงึ ดูดความสนใจผูเ้ รียน นวตั กรรมการจดั กิจกรรมลูกเสอื ดว้ ยรูปแบบ LTP (Learn Though The Platform) หรือการ เรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม เป็นการจัดกิจกรรมที่สื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เป็นระบบเปิด หรือเปิดเป็น สาธารณะ ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรม หรือการศึกษาบทเรียนเป็นแบบเปิด โดยมีช่องการเข้าชมด้วยลิงก์ https://sites.google.com/ssps4.go.th/lda-wnm/
ความสำคัญของผลงาน การแพร่ระบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย หลังจากไดแ้ พร่ระบาดไป ทั่วโลก กรมควบคุมโรคติดต่อ ได้เปิดศูนย์หฉิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center: EOC) ตัง้ แต่ 4 มกราคม 2563 เพอื่ ตอบโต้การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเริ่มคดั กรองหาผู้ติดเชื้อ ทชี่ ่องทางเข้าออกประเทศ ประเทศไทย พบผตู้ ิดเช้อื รายแรกเป็นนักท่องเที่ยวจนี ท่ีเดนิ ทางเข้าประเทศไทยเมื่อ วันท่ี 12 มกราคม 2563 ภายในเวลา 2 สัปดาห์และเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ.2563 ประเทศไทยมีรายงาน ผู้ป่วยชาวไทยรายแรก อาชีพขับรถแท็กซี่ ซึ่งไม่เคยมีประวัติเดินทางไปต่างประเทศ แต่มีประวัติขับรถแท็กซี่ ให้บริการกับผู้ปว่ ยชาวจีน ในระยะต่อมาจำนวนผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้นตอ่ เน่ืองอย่างช้า ๆ ทั้งผู้ป่วยที่เดินทางมาจาก ต่างประเทศ และผู้ป่วยที่ตดิ เชื้อภายในประเทศ กระทรวงสาธารณสุขจึงได้ออกประกาศในราชกิจจานเุ บกษา โดยมผี ล บังคับใชต้ ้งั แตว่ ันท่ี 1 มนี าคม พ.ศ. 2563 ก าหนดให้โรคตดิ เชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 หรือ COVID - 19 เป็น โรคติดต่ออันตราย ลำดับที่ 14 ตามพระราชบญั ญัติโรคตดิ ต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชนใ์ นการเฝ้าระวงั ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย ในระยะต่อมาได้พบการแพร่ระบาดใหญ่ โดยเป็นการติดเช้ือเป็นกลุ่ม ก้อน (Cluster) คือ การแพร่ระบาดในสนามมวย และสถานบันเทิง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มี การรวมกลุ่มคนจำนวนมากและมีความแออัด ประกอบกับในระยะดังกล่าวมีการประกาศปิดเมืองในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร เกิดการเคลอื่ นย้ายของประชากรออกไปยังจงั หวัดต่าง ๆ ท าใหผ้ ู้สัมผสั เช้อื กระจายออกไปยัง ต่างจังหวัด จนทำให้ยอดผู้ติดเชอื้ ของประเทศไทยเพม่ิ ขน้ึ อย่างรวดเรว็ ต้ังแตก่ ลางเดือนมีนาคม เปน็ ต้นมา เป็น เหตใุ ห้รฐั บาลตอ้ งยกระดบั การบริการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ในประเทศ ไทย ให้อยู่ในวงจำกัด โดยสั่งการให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ร่วมกัน ภายใน ขอบเขตอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย และจัดตง้ั ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเช้อื ไวรัส โค โรนา 2019 (ศบค.) เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2563 การยกระดับมาตรการในการเฝ้าระวงั และควบคุม การ แพร่ระบาดของ COVID-19 ในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดมาตรการเร่งด่วนในการป้องกัน วิกฤตการณ์ จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และขอให้ส่วน ราชการ หน่วยงานของรฐั และเอกชนทกุ แห่งดำเนินการตามมาตรการดังกลา่ วใหเ้ กิดผลอยา่ งเปน็ รปู ธรรม โดย มาตรการดงั กล่าว แบ่งออกเปน็ 2 มาตรการสำคัญ ประกอบด้วย 1) การป้องกนั และสกัดกั้นการนำเชื้อ เข้าสู่ ประเทศไทย 2) การยบั ย้งั การระบาดภายในประเทศกระทรวงสาธารณสุข หลังจากมีการออกประกาศ ต่าง ๆ ประเทศไทยพบจำนวนผตู้ ิดเชื้อลดลงอย่างเหน็ ได้ชัด โดยในชว่ งเดือนพฤษภาคมเปน็ ต้นมา ผู้ตดิ เช้ือ ที่ พบส่วน ใหญ่เป็น ผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศและอยู่ในสถานที่กักกันเพื่อสังเกตอาการ วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมทั้งสิ้น 25,323 ราย เป็นการติดเช้ือ ระลอกใหม่ 21,086 ราย โดยผู้ ติดเชื้อรายใหม่ในวันนี้มีจำนวน 82 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 71 ราย คัดกรองผู้ที่เดินทางเข้า-ออก ระหวา่ งประเทศ 4,235 ราย ผู้เดนิ ทางท่ีเฝา้ ระวังอาการ ณ พ้ืนทีก่ กั กันแห่งรัฐ 81,676 ราย โดยยังคงพบผู้ติด เชื้อจากการค้นหาเชิงรุกในชุมชนและผู้ป่วยที่เข้ามาตรวจใน สถานพยาบาล อย่างต่อเนื่องจึงขอความร่วมมือ ประชาชนและผู้ดูแลสถานประกอบการโดยเฉพาะในพืน้ ที่ที่ยังคงพบผูต้ ิดเชื้อ อย่างต่อเน่ืองในการปฏิบัติตาม มาตรการป้องกันโรคอยา่ งเคร่งครัดโดยเฉพาะการสวมใส่หนา้ กากอนามยั (กล่มุ พฒั นาวิชาการโรคดิ ต่อ, 2564) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโนคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผล กระทบต่อประชากรโลกเป็นวงกว้าง โดยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากใน ระยะเวลาอันรวดเร็ว องค์การอนามัยโลกจึงได้ประกาสให้โรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคระบาดใหญ่ (Pandemic) อีกทั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนายังทำให้พฤติกรรมมนุษย์ พฤติกรรมการบริโภคและ 2
การบริการเกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในหลาย ๆ ด้าน ส่งผลให้ในหลายภาคส่วนเกิดผลกระทบ เช่น เศรษฐกิจ สังตม การท่องเที่ยว เทคโนโลยี และการศึกษา นอกจากน้ันส่งผลให้สถานศึกษาไม่สามารถจดั การ เรียนการสอนได้ตามปกติ (ทองหัตถา, 2564) สถานศึกษาเป็นสถานทีท่ มี่ ีนักเรยี นอยู่รวมกนั จำนวนมากจึงมีความเสย่ี งสงู ที่อาจจะมีการแพร่ ระบาดของเชอ้ื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ไดใ้ นกลุ่มเดก็ ไปยังบุคคลในบ้าน หากมกี ารระบาดในกลุ่มเด็ก ขึ้นจะมีผลกระทบในสังคมหรือผูใ้ กลช้ ิด เช่น ครู พ่อแม่ ผู้สูงอายุท่ีติดเชือ้ จากเด็ก องค์การอนามยั โลก WHO, UNICEF, & CIFRC (2020, pp.4-6) ได้เสนอแนวทางในการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในโรงเรยี น โดยให้ ตระหนักถึงการป้องกันทางด้านสภาวะแวดล้อมในโรงเรียน สุขอนามัยของนักเรียนและการผ่อนปรนการลา ป่วยให้กับครูนักเรยี นและบุคลากรทางการศกึ ษาเมือ่ มีอาการปว่ ยนอกจากนั้นการเว้นระยะห่างทางสังคมเป็น อีกเร่ืองหนงึ่ ทส่ี ำคญั ทค่ี วรคำนึงถงึ โดยใหม้ ีการจดั หอ้ งเรียนแบบสลับกันมาเรียน ยกเลกิ กจิ กรรมทมี่ ีการรวมตัว กัน กีฬา เกม และการชุมนุมกันเป็นกลุ่มใหญ่และจัดโต๊ะเรียนให้ห่างกัน อีกทั้งยังส่งเสริมให้โรงเรียนจัดการ เรียนการสอนออนไลนอ์ กี ดว้ ย นอกจากน้สี ำนักงานคณะกรรมการการศกึ ษาขั้นพ้ืนฐาน สถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563 เพื่อให้โรงเรียนใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการ สอนของโรงเรียนในสงั กัดอยา่ งมีประสิทธิภาพ (ศูนย์เฉพาะกิจการจดั การศึกษาทางไกลในสถานการณ์โรคติด เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 สำนกั งานคณะกรรมการการศึกษาขนั้ พ้นื ฐาน, 2563, หนา้ 2) ส่วนกาญจนา บุญภักดิ์ (2563, หน้า 2) ได้เสนอแนวคิดที่สอดคล้องกันว่า สถานศึกษาต่าง ๆ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการ เรยี นรู้อย่างเรง่ ด่วนในการพัฒนาการเรียนการสอนของครูมาเปน็ แบบออนไลนเ์ พ่อื ลดการเผชิญหน้ากนั โดยให้ มีการจัดการเรียนรูแ้ บบออนไลน์ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยงดการเดินทางมาเรียน งดการรวมกลุ่มกันเปน็ จำนวน มาก งดกิจกรรมหลาย ๆ กิจกรรมที่จัดเพ่ือพัฒนาผูเ้ รยี นมาเป็นแบบออนไลน์ (ทองหตั ถา, 2564) จากสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของโรคตดิ เชือ้ ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ใน ประเทศไทย ในช่วงปลายปีพุทธศักราช 2063 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้เขา้ สู่ฤดูหนาวและอากาศท่ี เย็นนั้นส่งผลให้ไวรัสมีอายุยาวนานขึ้น จากการคาดคะเนพบว่าการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหมใ่ นไทยคร้ังน้ีอาจจะรุนแรงกวา่ เดิม ดงั น้ันมาตรการการปอ้ งกัน คือ ให้ประชาชน อยู่บ้าน ลดการเดินทาง ลดการรวมกลมุ่ กนั (สุรชยั โชควรชดิ ไชย, 2563, หนา้ ง-จ) อีกทงั้ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี ได้รับคำสังให้ปิดสถานศึกษาชั่วคราวและให้ครูผู้สอนจัดการเรียนการสอน โดยประยุกต์ไป ตามความถนดั และความสะดวกในการจัดการเรยี นการสอนของครูผู้สอนและนักเรียน เชน่ ใชก้ ารจัดการเรียนรู้ ออนไลน์ผ่านแอพลิเคชันต่าง ๆ เช่น Line, Facebook, Zoom, Google Classroom ช่องทาง DLTV หรือ ช่องทางใดกไ็ ด้ แต่การจัดการเรียนการสอนตอ้ งดำเนนิ ต่อไป ผ้พู ฒั นานวัตกรรมในฐานะครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ และหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กลุ่ม บริหารวิชาการ โรงเรียนวรราชาทินัดดามาตุวิทยา จังหวัดปทุมธานี และจากสถานการณข์ ้างต้นนั้น ผู้พัฒนา นวัตกรรมมีความสนใจในการศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ เพื่อ นำมาปรับรูปแบบการการจดั กิจกรรมใหส้ อดคล้องกบั สถานการณ์ ส่งเสริมการร่วมเรียนรู้ของผู้เรียน และลด ภาระงานให้กับครูผู้สอน โดยใช้พัฒนานวตั กรรม การจัดกิจกรรมดวั ย LTP (Learn Though The Platform) หรือการเรียนร้ผู ่านแพลดฟอร์ม จุดประสงคข์ องการดำเนนิ งาน 1. การเฝ้าระวงั การแพร่ระบาดของการตดิ เช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักเรียน โรงเรียนวรราชาทินดั ดามาตุวิทยา 3
2. การส่งเสริม กระตุน้ การมีสว่ นร่วมในกิจกรรมลกู เสือ เนตรนารีสามญั ร่นุ ใหญ่ ของนักเรียน โรงเรยี นวรราชาทนิ ดั ดามาตวุ ิทยา 3. ลดภาระหน้าที่ของครผู ู้สอน ในการจัดการเรียนการสอน ในสถานการณ์การเฝ้าระวังการ ตดิ เชอื้ ไวรสั โคโรนา 2019 ของโรงเรยี นวรราชาทนิ ดั ดามาตุวิทยา 4. ผู้เรียนมคี วามสขุ ในการร่วมกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญร่นุ ใหญ่ ของโรงเรยี นวรราชาทิ นัดดามาตุวิทยา กระบวนการข้นั ตอนการดำเนนิ งาน ในการพฒั นานวัตกรรมการจัดกิจกรรมดวั ย LTP (Learn Though The Platform) หรือการ เรียนรู้ผา่ นแพลดฟอร์ม ผู้พัฒนาไดศ้ ึกษารปู แบบและแนวทางทีจ่ ะนำมาใช้ในการพัฒนาหลายรูปแบบ และได้ เลอื กวงจรบรหิ ารคณุ ภาพ PDCA PDCA คือ วงจรบริหารคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ Plan Do Check Act เป็น กระบวนการที่ใช้ปรับปรุงการทำงานขององค์การอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาและเกิดการ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous improvement) จุดเด่นคือเป็นกระบวนการที่ทำซ้ำได้เรื่อย ๆ จน กลายเป็น วงจร (Cycle) (Petvirojchai, 2564) จากบทความดงั กลา่ วทำให้ผพู้ ฒั นาเช่อื ม่นั ว่าการใช้วงจร PDCA ในการพฒั นานวตั กรรมจะทำ ให้ผลงานมีประสิทธิภาพมากขึน้ โดยมีขน้ั ตอนดงั น้ี 1. P (Plan) การวางแผน ผู้พัฒนาในฐานะครูผู้สอนกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และหัวหน้ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ได้รับนโยบายจากทางฝ่ายบริหารในรูปแบบการจัดการเรยี นการสอน และ การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรยี นให้สอดคล้องกบั สถานการณ์ การเฝา้ ระวังการแพร่ระบาดโรคติดเช้ือไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ทำการวางแผนร่วมกันคณะกรรมการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนซึ่งประกอบด้วย รอง ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ ผ้กู ำกับกลมุ่ ลูกเสอื ผู้กำกบั กลมุ่ เนตรนารี ผู้กำกบั กองลูกเสอื สามัญรุ่นใหญ่ ผู้ กำกับกองเนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ และครูผู้สอนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันวางแนวปฏิบัติ การจัดทำแผนการจัด กิจกรรมการเรียนร้ลู ูกเสือ เนตรนารสี ามญั ร่นุ ใหญ่ และรปู แบบของการจดั กิจกรรมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยใช้รปู แบบการจดั กจิ กรรมดัวย LTP (Learn Though The Platform) หรอื การเรียนร้ผู า่ นแพลดฟอรม์ 2. D (Do) การปฏบิ ตั ติ ามแผน เมอ่ื ได้แผนการจัดกิจกรรมการเรยี นรู้ แนวปฏบิ ัติในการเรียนรู้ และรูปแบบการจัดกิจกรรมดัวย LTP (Learn Though The Platform) หรือการเรียนรู้ผ่านแพลดฟอร์ม ผพู้ ฒั นาได้พฒั นาแพลดฟอรม์ (Platform) ในรปู แบบเว็บเพจ (Web Page) ด้วยแอพลเิ คชัน Google Site โดย มีส่วนประกอบดงั น้ี 2.1 หน้าแรก (Home Page) จะเป็นหน้าหลัก เนื้อหาภายในหน้านี้จะ ประกอบดว้ ย ผ้บู งั คับบญั ชาของกิจกรรมลกู เสอื เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ประชาสมั พนั ธท์ ีเ่ กีย่ วขอ้ งการกจิ กรรม ลูกเสอื และเมนขู องหนา้ อื่น ๆ 2.2 หนา้ หลักสตู รเคร่อื งหมายลูกเสอื หลวง เนื้อหาภายในหน้านจ้ี ะประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โครงสร้างการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สื่อมัลติมีเดีย แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม แบบทดสอบ และ ประชาสัมพันธท์ ี่เกีย่ วข้องกับหลักสูตรเครือ่ งหมายลกู เสือหลวง 2.3 หน้าหลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือชั้นพิเศษ เนื้อหาภายในหน้านี้จะ ประกอบด้วย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โครงสร้างการจัด 4
กิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 สื่อมัลติมีเดีย แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม แบบทดสอบ และประชาสัมพันธท์ ่เี กี่ยวขอ้ งกบั หลกั สตู รเครอื่ งหมายลูกเสือชนั้ พเิ ศษ 2.4 หน้าหลักสูตรเคร่ืองหมายลูกเสือโลก เนื้อหาภายในหน้านี้จะประกอบดว้ ย ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โครงสร้างการจัดกิจกรรมลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สื่อมัลติมีเดีย แหล่งเรียนรู้เพิ่มเติม แบบทดสอบ และ ประชาสมั พนั ธ์ทเี่ กย่ี วขอ้ งกับหลกั สูตรเครอื่ งหมายลกู เสอื โลก 3. C (Check) การตรวจสอบ หลังจากสรา้ งแพลตฟอร์มโดยใช้ Google Site ซ่งึ ประกอบดว้ ย เพจ (Page) จำนวน 4 เพจแล้ว ได้ดำเนินการตรวจสอบประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มโดยมอบหมายให้ ผบู้ ังคบั บญั ชาร่วมกันตรวจสอบ ในการศกึ ษาแหลง่ เรียนรู้ ใบความรู้ สื่อมลั ตมิ ีเดยี แบบทดสอบ เพ่ือใช้ในการ ปรบั ปรงุ และพัฒนาแพลตฟอรม์ ตอ่ ไป 4. A (Action) การปรับปรงุ การดำเนินการ เมอ่ื การตรวจสอบพบขอ้ บกพร่อง หรอื ส่วนที่ขาด หายไป ผูพ้ ฒั นาไดท้ ำการปรบั ปรุงเพื่อให้แพลตฟอร์มใชใ้ นการจัดกิจกรรมลกู เสอื เนตรนารสี ามญั รุ่นใหญ่ให้ได้ ประสทิ ธิภาพเป็นลำดบั ต่อไป ผลการดำเนินการ / ผลสมั ฤทธิ์ / ประโยชนท์ ีจ่ ะได้รับ การดำเนินงานตามวงจร PDCA ทำให้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนได้นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ โดยสงั เกตได้จากการเขา้ ร่วมของผู้เรยี น โดยมีสถติ กิ ารเขา้ ร่วมของแต่ละระดับช้ัน ในชว่ งสัปดาหท์ ่ี 1 – 8 ดังนี้ 1. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสือโลก มีลูกเสือ เนตรนารีสามัญร่นุ ใหญ่ทั้งระดับชั้นจำนวน 352 คน มีกิจกรรที่สำหรับเข้าร่วมจำนวน 2 กิจกรรม มีลูกเสือ เนตรนารีเข้าร่วม จำนวน 599 ครงั้ จากทงั้ หมด 704 คร้งั คิดเป็น ร้อยละ 85.09 2. ระดับชนั้ มัธยมศึกษาปีที่ 2 หลักสูตรเครื่องหมายลูกเสอื ช้ันพเิ ศษ มีลูกเสอื เนตรนารีสามัญ รุ่นใหญ่ทั้งระดับช้ันจำนวน 353 คน มีกิจกรรที่สำหรบั เข้าร่วมจำนวน 2 กิจกรรม มีลูกเสือ เนตรนารีเข้าร่วม จำนวน 609 คร้งั จากทง้ั หมด 706 ครัง้ คิดเป็น ร้อยละ 85.13 3. ระดับชั้นมัธยมศกึ ษาปีที่ 3 หลกั สูตรเคร่ืองหมายลูกเสือหลวง มลี ูกเสอื เนตรนารีสามัญรุ่น ใหญ่ทั้งระดับชั้นจำนวน 339 คน มีกิจกรรที่สำหรับเข้าร่วมจำนวน 3 กิจกรรม มีลูกเสือ เนตรนารีเข้าร่วม จำนวน 901 ครงั้ จากท้ังหมด 1,017 คร้ัง คิดเปน็ ร้อยละ 88.59 4. รวมทั้ง 3 หลักสูตร และทุกกิจกรรมมีลูกเสือ เนตรนารีเข้าร่วม จำนวน 2,101 ครั้ง จาก ท้งั หมด 2,427 ครงั้ คดิ เปน็ ร้อยละ 86.57 นอกจากสถิติการเข้ากิจกรรมของแต่ละหลักสูตรที่บ่งบอกถึงผลการดำเนินงานที่ประสบ ความสำเร็จเพราะสถิติการเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าร้อยละ 80 เกียรติบัตรที่ลูกเสือ เนตรนารีได้รับแบบ อัตโนมัติ โดยที่ลูกเสือ เนตรนารีเข้าไปทำกิจกรรมตอบคำถามท้ายหน่วยกิจกรรมการเรียนรู้ หากมีผลการ ประเมินไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ถือว่าผ่าน ลูกเสือ เนตรนารีจะได้รับเกียรติบัตรที่ระบบส่งไปทางจดหมาย อเิ ลก็ ทรอนิกส์ หรือ E-mail ซึ่งมจี ำนวนมาก ปัจจยั ความสำเรจ็ ในการดำเนินงานการพัฒนานวตั กรรม การจดั กิจกรรมลกู เสอื ด้วยรูปแบบ LTP (Learn Though The Platform) ถือได้ว่าประสบความสำเร็จ ด้วยนวัตกรรมทีม่ ีประสิทธิภาพ และมีความทันสมัย โดยความสำเร็จ ดงั กล่าวมีปจั จัยดังน้ี 5
1. ฝ่ายบริหารโดยการนำของท่านผู้อำนวยการสาคร ไปด้วย และท่านรองผู้อำนวยการฝ่าย ต่าง ๆ ในการให้นโยบายการจัดกิจกรรมสำหรับผู้เรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ ภายใต้ข้อจำกัดของสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พร้อมทั้งอำนวยความสะดวกในการจัดหาอุปกรณ์ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอน ในรูปแบบออนไลน์ ตามศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษาทุกคน รวมถึงการ กำชบั ให้นักเรยี นทกุ คนจะตอ้ งเรียนรูไ้ ด้ในทุกสถานการณ์ร้อยละ 100 2. คุณครู และบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ในการระดมความคิด ข้อเสนอแนะ และ แนวทางการจดั กิจกรรมต่าง ๆ โดยผ่านการประชุมระดมความคิด การรวบรวมสอื่ การสอนทท่ี ันสมัย ซง่ึ ในการ ทำงานในรปู แบบคณะกรรมการ เพือ่ ใหท้ กุ ฝ่ายมีสว่ นร่วมในการดำเนนิ การพฒั นานวตั กรรม 3. ผู้ปกครอง ในการเขา้ ถึงการเรยี นรขู้ องนกั เรียนทกุ คน ผ้ปู กครองเปน็ ผูส้ นบั สนนุ ในเรื่องของ อุปกรณ์ และสัญญาณอนิ เทอรเ์ น็ต เพ่อื ให้นักเรยี นจะได้ไมข่ าดโอกาสในการเรียนรู้ 4. ลูกเสือ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่ นับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเป็นผู้ที่ใช้นวัตกรรม และสะทอ้ นผลการใชอ้ อกมาในรูปแบบของสถิติของการเข้าไปใช้ การได้รับเกยี รติบตั รในกิจกรรมต่าง ๆ บทเรยี นทีไ่ ด้รบั (Lesson Learned) ในการดำเนนิ การพฒั นานวัตกรรม การจดั กิจกรรมลูกเสือด้วยรูปแบบ LTP (Learn Though The Platform) หรือการเรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม โดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ในการพัฒนา และได้รับความ ร่วมมอื จากหลาย ๆ ฝ่ายไมว่ า่ จะเป็นระดับฝ่ายบริหาร ครู บุคลากรทางการศกึ ษา ผปู้ กครอง และนักเรียน จน ทำให้นวัตกรรมประสบความสำเร็จ สิ่งที่ได้นอกจากความสำเร็จ บทเรียนที่หลากหลายในการนำไปพัฒนา เกย่ี วกบั รูปแบบการจัดกจิ กรรมการเรียนการสอน ใหส้ อดคล้องกับสถานการณต์ ่าง ๆ ทิศนา แขมมณี (2557, น. 45), ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2555, น. 17) ได้แบ่งทฤษฎกี ารเรียนรู้ ออกเปน็ 3 ชว่ ง คือ ทฤษฎกี ารเรียนรู้ในช่วงก่อนคริสตศ์ ตวรรษที่ 20 ไดแ้ ก่ ทฤษฎีการเรียนร้กู ลุม่ จติ นยิ ม หรือ กลมุ่ เน้นการฝกึ จติ หรือสมอง (Mental Discipline) ทฤษฎีการเรยี นรู้ในชว่ งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไดแ้ ก่ ทฤษฎี การเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) กลุ่มพุทธินิยมหรือความรู้ความเข้าใจ (Cognitivism) กลุ่ม มนุษยนิยม (Humanism) และกลมุ่ ผสมผสาน (Eclecticism) และทฤษฎกี ารเรยี นรู้และการสอนรว่ มสมยั (ยุค ปจั จบุ ัน) เช่น ทฤษฎพี หุปัญญา ทฤษฎีการสรา้ งความรู้ และทฤษฎีการเรียนรแู้ บบร่วมมอื เปน็ ตน้ ยุคปัจจบุ ันศตวรรษที่ 21 การระบาดของโรคตดิ เช้อื ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ถือได้ว่า เป็นปัจจัยสำคัญทีท่ ำใหเ้ กิดทฤษฎีการเรียนรู้ใหม่ ๆ รวมถึงบทเรยี นของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคลอ้ ง กบั สถานการณ์ปจั จุบันที่เป็นอุปสรรคการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่เน่ืองดว้ ยความทันสมัยของเทคโนโลยีที่พัฒนา อย่างต่อเนื่อง ก็สามารถรองรับกับปัญหาต่าง ๆ ที่จะมาขัดขวางการเรียนรู้ของนักเรียนได้ ดังคำกล่าวที่ โรงเรียนหยดุ ได้ แต่การศกึ ษาหยุดไม่ได้ การพฒั นาตนเอง และการศึกษาหาความรู้ใหท้ ันสมยั ทนั ตอ่ สื่อของครผู สู้ อนก็สำคญั เป็นอย่าง ยงิ่ ต่อการถ่ายทอดความรู้ หรือจดั รูปแบบของการเรยี นการสอนทท่ี นั ตอ่ สถานการณ์ สรปุ ไดว้ ่าบทเรียนทไ่ี ด้จากการพฒั นานวัตกรรม คือ การจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ สถานการณ์ ทำให้การเรยี นรูข้ องผู้เรียนเป็นไปอยางต่อเน่ือง ควบคู่กบั การพัฒนาตนเองให้ทันต่อส่ือนวัตกรรม ต่าง ๆ ของครผู ้สู อน เพื่อนำมาประยกุ ต์จดั รปู แบบของการจัดกจิ กรรมท่ีทนั สมยั ดงึ ดดู ความสนใจผูเ้ รียน 6
การเผยแพร่/การได้รับการยอมรบั /รางวลั ทีไ่ ดร้ ับ นวัตกรรมการจดั กิจกรรมลกู เสือดว้ ยรูปแบบ LTP (Learn Though The Platform) หรอื การ เรียนรู้ผ่านแพลตฟอร์ม เป็นการจัดกิจกรรมที่สื่อสารผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เป็นระบบเปิด หรือเปิดเป็น สาธารณะ ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรม หรือการศึกษาบทเรียนเป็นแบบเปิด โดยมีช่องการเข้าชมด้วยลิงก์ https://sites.google.com/ssps4.go.th/lda-wnm/ หรือการสแกน Qr Code ในการเข่าร่วมรับการคัดเลือกและประเมินผลวิธิปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) “การยกระดับคุณภาพผู้เรยี นด้วย Best Practice” โครงการสง่ เสรมิ พัฒนาคุณภาพการจดั การศึกษาสู่ผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ประจำปกี ารศึกษา 2564 เครือข่ายสง่ เสริมประสทิ ธภิ าพการจดั การมัธยมศกึ ษา จงั หวัดปทมุ ธานี สหวทิ ยาเขตสตั ตบงกช กจิ กรรมพัฒนา ผเู้ รยี น ได้รับรางวัลชนิเลิศอันดับ 1 เหรยี ญทอง ด้วยคะแนน 91.6 เป็นตัวแทนของสหวทิ ยากเขตสตั บงกช เข้า รับการคดั เลอื กในระดบั เขตพนื้ ท่ีการศกึ ษามธั ยมศึกษาปทุมธานตี ่อไป 7
บรรณานกุ รม Sahatorn Petvirojchai. (10 มิถนุ ายน 2564). PDCA : ความหมาย ประโยชน์ และตัวอย่างใช้ 4 ขั้นตอนเพื่อ พัฒนาองค์กรอย่างต่อเนอ่ื ง. เขา้ ถึงได้จาก HR NOTE.asia: https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/what-is-pdca-210610/ งานโรคตดิ ตอ่ อบุ ตั ิใหม่ กลุม่ พัฒนาวิชาการโรคิดต่อ. (18 สิงหาคม 2564). https://ddc.moph.go.th. เข้าถึง ได้จาก กรมควบคมุ โรค: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf ชยั วัฒน์ สุทธริ ัตน.์ (2555). ทฤษฎกี ารเรยี นรู.้ ทศิ นา แขมมณี. (2557). ทฤษฎีการเรยี นร้.ู มนธิชา ทองหัตถา. (2564). สภาพการจดั การเรยี นรแู้ บบออนไลนใ์ นสถานการณืการแพรร่ ะบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนปากพนัง จังหวดั นครศรธี รรมราช. นครศรีธรรมราช: มนธชิ า ทองหตั ถา. 8
ข้อมูลของเจา้ ของผลงาน ช่ือ-สกุล: นายฉลอง คุณประทุม Name: Mr.Chalong Khunprathum โทรศพั ท์: 086 775 3996 E mail: [email protected] [email protected] Web site: https://sites.google.com/view/chalong-khunprathum/ วัน เดอื น ปเี กิด: 18 กมุ ภาพนั ธ์ 2518 สถานทท่ี ำงาน: โรงเรยี นวรราชาทนิ ัดดามาตุวิทยา 59 หม่ทู ่ี 2 ตำบลคลองพระอุดม อำเภอลาดหลุมแก้ว จงั หวัดปทุมธานี 12140 ท่อี ยู่: บา้ นเลขที่ 58/445 หมู่ที่ 7 หมู่บา้ นขจีนุช ตำบลคลองพระอดุ ม อำเภอลาดหลมุ แก้ว จงั หวัดปทมุ ธานี 12140 ชอื่ ผลงาน: การจดั กิจกรรมลูกเสือดว้ ยรปู แบบ LTP (Learn Though The Platform) หรือการเรียนรู้ ผ่านแพลตฟอรม์ https://youtu.be/eIB_QGym9xo 9
ภาคผนวก การประชมุ ฝายบรหิ ารในการเตรียมการจัดการเรยี นการสอน ในสถานการณก์ ารแพรร่ ะบาดของเชอ้ื ไวรสั โคโรนา 2019 (COVID-19) (กอ่ นประกาศ Work from home) การประชุมออนไลน์ในการช้ีแจงการดำเนนิ การพฒั นานวัตกรรม 10
การประชุมออนไลนใ์ นการชีแ้ จงทำความเข้าใจการใช้แพลตฟอรม์ แผนการจัดกจิ กรรการเรียนรกู้ ิจกรรมลกู เสือ แนวทางในการจัดกจิ กรรม 11
แพลตฟอรม์ จากการแสดงผลของอุปกรณ์ต่าง ๆ (โทรศพั ทเ์ คลื่อนท่ี แท็บเลต็ และคอมพวิ เตอร)์ 12
13
14
15
โครงสรา้ งแตล่ ะหลักสตู ร 16
สถิติของการเขา้ รว่ มกจิ กรรม 17
ตัวอย่างเกียรตบิ ัตรแตล่ ะรายกจิ กรรม 18
Search
Read the Text Version
- 1 - 22
Pages: