Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Vietnamese Phonology and Characters ระบบเสียงและอักษรภาษาเวียดนาม

Vietnamese Phonology and Characters ระบบเสียงและอักษรภาษาเวียดนาม

Published by Nuengruethai C., 2021-08-28 05:53:26

Description: ตำราระบบเสียงและอักษรภาษาเวียดนาม (Vietnamese Phonology and Characters) เป็นคู่มือการเรียนลำดับที่ 28 ของสำนักพิมพ์อินทนิล เขียนและเรียบเรียงโดย อาจารย์ ดร. หนึ่งฤทัย จันทรคามิ สังกัดสาขาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้สอนด้านภาษาเวียดนามมากว่า 10 ปี ได้ทำการเขียน เรียบเรียง และนำเสนอความรู้ ทักษะที่สำคัญ อย่างครบถ้วน โดยเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ประกอบไปด้วยเนื้อหาหลักที่เน้นความรู้ด้านเบื้องต้นเรื่องสัทวิทยาและสัทศาสตร์ กลไกการออกเสียง ความรู้เรื่องตัวอักษรภาษาเวียดนาม ความรู้ระบบเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ในภาษาเวียดนาม

Keywords: Vietnamese Phonology and Characters,ระบบเสียงและอักษรภาษาเวียดนาม,ระบบเสียง,อักษรภาษาเวียดนาม

Search

Read the Text Version

Vietnamese Phonology and Characters ระบบเสยี งและอกั ษรภาษาเวยี ดนาม หนึง่ ฤทยั จนั ทรคามิ

ระบบเสยี งและอกั ษรภาษาเวียดนาม Vietnamese Phonology and Characters พิมพค์ ร้ังแรก: พฤษภาคม 2564 จำนวน 500 เล่ม จัดพิมพโ์ ดย: สำนกั พมิ พ์อินทนิล Published by: Inthanin Press ท่ปี รกึ ษาดา้ นกฎหมาย: ร.ต.อ. วิศษิ ฐ์ เจนนานนท์ บรรณาธิการบริหาร: ภาคภมู ิ หรรนภา บรรณาธิการ: ณัชชา อาจารยตุ ต์ จดั รปู เล่ม: อิสเรศ สุขเสนี ออกแบบปก: อิสเรศ สขุ เสนี พสิ จู นอ์ กั ษร: พิมพป์ ระไพ สภุ ารี, ชิน ชมดี พมิ พท์ ี่: บริษัท มาตา การพิมพ์ จำกดั 77/261 หมทู่ ี่ 4 ต.บางครู ัด อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี โทร/แฟก็ ซ์ 02-923-5725, 089-775-9892 จัดจำหนา่ ยโดย บริษัทเคลด็ ไทย จำกัด 117-119 ถนนเฟ่ืองนคร เขตพระนคร กรงุ เทพฯ 10200 โทร 02-2259536-9 ตอ่ 11, 22 แฟก็ ซ์ 02-2225188 www.kledthai.com http://www.human.msu.ac.th ราคา 300 บาท สงวนลิขสิทธ์ติ ามกฎหมาย ขอ้ มูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแหง่ ชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data

ก คำนิยม ภาษาเป็นสัญลักษณ์ ที่ถูกใส่รหัสเอาไว้จากคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพื่อสร้าง ความเข้าใจร่วมกัน หรือเพื่อการสื่อสารระหว่างกัน อันที่จริงความหมายของการ สื่อสารที่มีความเป็นสัญลักษณ์ ไม่เพียงแต่ภาษาพูดและเขียนเท่านั้น หากยังรวมถึง ท่าทาง อากัปกริยา และปรากฏการณ์ต่าง ๆ นานาที่ผู้คนใช้เป็น “ตัวหมาย” (Signifier) เพื่อจะสื่อให้เห็นถึงความหมาย (Signify) อย่างใดอย่างหนึ่งอันเป็นท่ี เข้าใจระหว่างกัน ของแต่ละกลุ่มคน ด้วยเหตุฉะนี้ ภาษาจึงเป็นวัฒนธรรมอย่างหนงึ่ ของมนุษย์ การศกึ ษาภาษาจงึ จะตัดขาดจากมิตขิ องวัฒนธรรมไปไม่ได้ อย่างไรก็ตาม “ภาษา” โดยเฉพาะภาษาพดู และสื่อสารด้วย “การพูด” ยังมี ลักษณะของความเคยชินของอวัยวะให้กำเนิดเสียงและระบบสมอง ที่ทำให้การพูด ฝังแน่น ผนึกกับระบบการออกเสียงของอวัยวะที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น เราจึงพบว่า “เสียง” ที่ถูกเปล่งออกมา ซึ่งในที่นี้หมายรวมถึงทั้งระบบของเสียง น้ำเสียง สำเนียง ของแต่ละกลุ่มคนมีความแตกต่างกัน ปรากฏเป็น “ภาษา” ที่สามารถบ่งบอกว่า บุคคลทเี่ ป็นเจา้ ของภาษานัน้ มาจากสังคมวฒั นธรรมใด ลักษณาการดังกล่าวนี้ ภาษาพูดและการเปล่งเสียง จึงเป็นความเคยชิน ที่เกิดจากเงื่อนไข สภาพ การส่งทอดจากพ่อ แม่ ไปยังลูกตั้งแต่เป็นทารกกระทั่ง เติบโต สังคมหลอมการเปล่งเสียง จนกลายเป็นระบบเสียงเป็นแบบฉบับเฉพาะตน กลายเป็นตัวตนของคนและสังคมนั้น ๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้ นักทฤษฎีทาง มานุษยวิทยาเรียกว่าเป็นภาวะ ฮาบิตุส หรือ Habitual อันมิใช่เพียงนิสัยธรรมดา Vietnamese Phonology and Characters |

ข ชั่วครั้งคราว แต่เป็นพฤติกรรมที่ฝังแน่นอยู่ในร่างกายและถูกขับออกมาอย่างเป็น อนั ตโนมัติ ทั้งนี้ สิ่งที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ปรากฏอยู่ในตำรา “ระบบเสียงและอักษร ภาษาเวียดนาม” ของ อาจารย์ ดร.หนึ่งฤทัย จันทรคามิ อย่างน่าทึ่ง ตำราเล่มน้ี ทำให้ผมที่เคยมองภาษาและเสียงเป็นวัฒนธรรมเท่านั้น ได้เข้าใจถึงระบบของเสียง ต้นกำเนิดของเสียง ที่เกิดจากกลไกภายในร่างกายของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ดังนั้น งานเขียนชิ้นน้ีนอกจากจะมีความสำคัญต่อผู้เรียนในรายวิชาแล้ว ยังเป็น ประโยชน์ต่อวงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับภาษา ทั้งภาษาเวียดนามและภาษาอื่น ๆ อัน เป็นภาษาและการส่ือสารของมนษุ ยชาติอย่างน่าช่ืนชม ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย สงิ หย์ ะบุศย์ พฤษภาคม 2564 Vietnamese Phonology and Characters |

ค คำนำสำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์อินทนิลเป็นสำนักพิมพ์ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมการเรียนรู้ทางการ การศึกษาเป็นหลัก โดยทางสำนักพิมพ์จัดพิมพ์หนังสือ ตำราเรียน ในศาสตร์ สาขา แขนงต่างๆอย่างจริงจงั และต่อเน่อื ง ตำราระบบเสยี งและอกั ษรภาษาเวยี ดนาม (Vietnamese Phonology and Characters) เป็นคู่มือการเรียนลำดับที่ 28 ของสำนักพิมพ์อินทนิล เขียนและเรียบ เรียงโดย อาจารย์ ดร. หนึ่งฤทัย จันทรคามิ สังกัดสาขาภาษาไทยและภาษา ตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งผู้เขียน ในฐานะที่เป็นผ้สู อนดา้ นภาษาเวียดนามมากวา่ 10 ปี ได้ทำการเขยี น เรียบเรยี ง และ นำเสนอความรู้ ทักษะที่สำคัญ อยา่ งครบถว้ น โดยเน้อื หาในหนงั สือเล่มน้ีประกอบไป ด้วยเนื้อหาหลักที่เน้นความรู้ด้านเบื้องต้นเรื่องสัทวิทยาและสัทศาสตร์ กลไกการ ออกเสียง ความรู้เรื่องตัวอักษรภาษาเวียดนาม ความรู้ระบบเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกตใ์ นภาษาเวียดนาม สำนักพิมพ์อินทนิล หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำราระบบเสียงและอักษรภาษา เวียดนาม (Vietnamese Phonology and Characters) น่าจะเป็นบันไดขั้นแรก สำหรับผู้เรียนด้านภาษาเวียดนาม รวมทั้งผู้สนใจอื่น ๆ ที่ใช้เป็นคู่มือในการศึกษา ภาษาเวยี ดนามเพอื่ เพิ่มพูนความรู้ ในแง่มมุ ต่าง ๆ Vietnamese Phonology and Characters |

ง ในนามสำนักพิมพ์เล็ก ๆ ที่มุ่งมั่นผลิตหนังสือดี ๆ สู่สังคมและวงวิชาการ ตอ้ งขอขอบคุณผู้เขียน อาจารย์ดร.หน่ึงฤทัย จนั ทรคามิ ท่ีไว้วางใจให้จัดพิมพ์ผลงาน ที่มีค่าสู่ผู้อ่าน และตำราระบบเสียงและอักษรภาษาเวียดนาม เล่มนี้ คงได้รับการ ต้อนรับจากผู้อ่านด้วยดเี ชน่ เคย ดว้ ยจิตคารวะ สำนกั พิมพ์อนิ ทนิล พฤษภาคม 2564 Vietnamese Phonology and Characters |

จ คำนำจากผูเ้ ขยี น การเรียนภาษาเวียดนามในฐานะภาษาต่างประเทศนั้น มีความสำคัญ อย่างยิ่งที่ผู้เรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องระบบเสียง ตัวอักษรเพื่อเป็น พื้นฐานในการพฒั นาทักษะภาษาเวียดนาม ทง้ั การฟัง พดู อา่ นและการเขยี น อย่างมี ประสทิ ธภิ าพและนำไปสกู่ ารเรียนภาษาเวียดนามระดับทสี่ ูงขึน้ ต่อไป ตำราเล่มนี้ ใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา 0165 304 ระบบเสียงและ อักษรภาษาเวียดนาม (Vietnamese Phonology and Characters) วิชาเอกบังคับ จำนวน 3(3-5-5) หน่วยกิต สำหรับนิสิต ศศ.บ.ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน (ภาษา เวียดนาม) ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยผู้เขียนได้ประมวลเนื้อหาสาระในเรื่อง ระบบเสียงในภาษาเวียดนาม การถ่ายทอดเสียงตามแนวภาษาศาสตร์และอักษร ภาษาเวียดนาม ให้ครอบคลุมคาํ อธิบายรายวิชา โดนเนน้ ทคี่ วามรคู้ วามเข้าใจในเรื่อง ระบบเสียงและตวั อกั ษรในภาษาเวยี ดนาม การถ่ายทอดเสียงภาษาเวียดนามเป็นสทั อักษรสากล (IPA) และหลักการออกเสียงภาษาเวียดนามที่ถูกต้องตามหลัก ภาษาศาสตร์เวยี ดนามและภาษาศาสตร์สากล ตำราเล่มนี้ มเี นื้อหา 6 บท ในแตล่ ะบทประกอบไปด้วยภาคทฤษฎีในเรื่อง ระบบเสียงและอักษรภาษาเวยี ดนาม ทง้ั นเ้ี พื่อให้เกิดความเข้าใจเชิงประจักษ์ ผู้เขียน ได้ยกตัวอย่างให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยเสียงที่แสดงด้วยสัทอักษร สากลกับตัวอักษรภาษาเวียดนาม และเนื่องจากเป็นตำราในเรื่องระบบเสียงจึงมี ความสำคัญอย่างยิ่งท่ีผู้เรียนจะสามารถรับฟังการออกเสียงประกอบเนื้อหาเพื่อให้ Vietnamese Phonology and Characters |

ฉ เกิดความเข้าใจและสามารถฝึกปฏิบัติตามได้จริง และรับชมวิดีทัศน์วิธีการเขียน อักษรเวียดนาม โดยการสแกน qr code ซึ่งผู้เขียนได้จัดทำขึ้น และในส่วนท้ายของ แต่ละบทคือกิจกรรมประจำบทและแหล่งศึกษาเพิ่มเติมทั้งที่เป็นประเภทเอกสาร ตำรา เวป็ ไซด์ และสอื่ โซเชยี ลมีเดียท่ีเกีย่ วข้อง ซ่ึงผเู้ ขียนไดร้ วบรวมและอ้างอิงอย่าง เป็นระบบ เพ่ือผ้เู รียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมดว้ ยตนเองได้ อันจะช่วยเสริมให้ ผเู้ รยี นเกิดความเขา้ ใจมากย่งิ ขนึ้ ผู้เขียนขอกราบขอบพระคุณศาสตราจารย์ดร.ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์ ที่เมตตา ชแ้ี นะแนวทางการเขียนผลงานวิชาการ อกี ทัง้ ยังเมตตาอ่านและสะท้อนทรรศนะของ ท่านที่มีต่อผลงานวิชาการนี้ผ่านคำนิยมที่ท่านกรุณาเขียนให้แก่ตำราเล่มนี้ ผู้เขียน ขอกราบขอบพระคณุ ทา่ น มา ณ โอกาสน้ี ขอขอบคุณ Miss Đoàn Thị Thu Huyền อาจารย์ผู้เชย่ี วชาญชาวเวยี ดนาม สาขาภาษาและวัฒนธรรมเวียดนาม หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทีใ่ หค้ วามอนเุ คราะห์ ตรวจทานความถูกต้องภาษาเวียดนามและบันทึกเสียงภาษาเวียดนามเพื่อใช้ในการ ประกอบเนอ้ื หา ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าตำราเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ และสร้างพื้นฐานที่ ถูกต้องสำหรับนิสิตและผู้สนใจศึกษาภาษาเวียดนาม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนา ทกั ษะภาษาเวียดนามในขัน้ สูงตอ่ ไป หนึง่ ฤทัย จันทรคามิ 2564 Vietnamese Phonology and Characters |

ช สารบญั คำนยิ ม .............................................................................................................. ก คำนำสำนักพิมพ์................................................................................................ ค คำนำจากผูเ้ ขยี น................................................................................................ จ สารบญั .............................................................................................................. ฉ สารบญั ภาพ ......................................................................................................ฎ สารบญั ตาราง.................................................................................................... ฐ บทท่ี 1 ความรเู้ บ้อื งตน้ เกีย่ วกบั สัทวิทยาและสัทศาสตร์......................................2 1.1 คำจำกดั ความ ความเปน็ มา และความสำคัญของสัทศาสตร์..............................8 1.2 คำจำกัดความ ความเป็นมา และความสำคญั ของสทั วิทยา............................. 11 1.3 สัทอักษร (phonetic symbols)................................................................... 13 1.4 ประโยชนข์ องการศึกษาสัทศาสตร์และสัทวทิ ยา............................................. 18 สรุปท้ายบท.......................................................................................................... 20 แหลง่ ความรู้เพ่ิมเติม............................................................................................. 20 กิจกรรมประจำบท................................................................................................ 21 บทที่ 2 กลไกการออกเสียงและกระบวนการการผลติ เสียงพดู ......................... 23 2.1 ความสำคัญของเสียงในภาษาของมนุษย์ ........................................................ 25 2.2 แนวคดิ เบ้ืองต้นเก่ียวกับเสียงและหนว่ ยเสียง.................................................. 26 2.3 กระบวนการเกิดเสยี งพดู (speech sound)................................................... 28 Vietnamese Phonology and Characters |

ซ 2.3.1 กระบวนการทำงานของปอด (respiratory process) ...................... 28 2.3.2 กระบวนการทำงานของเสน้ เสยี ง (Phonatory Process.................. 33 2.3.3 กระบวนการทำงานของอวยั วะในชอ่ งปาก (Articulatory Process) 37 2.4 ตำแหน่งของการเกิดเสียง (place of articulation) ...................................... 43 2.5 ลกั ษณะของการเกดิ เสยี ง (manner of articulation).................................. 48 สรปุ ทา้ ยบท.......................................................................................................... 52 แหลง่ ศกึ ษาเพิ่มเติม .............................................................................................. 53 กจิ กรรมประจำบท................................................................................................ 54 บทท่ี 3 ตวั อักษรในภาษาเวียดนาม ................................................................. 58 3.1 ตวั อกั ษรภาษาเวียดนามทใี่ ชใ้ นปจั จบุ ัน .......................................................... 60 3.2 รูปอกั ษรภาษาเวียดนาม................................................................................. 61 3.3 การเรียกช่อื ตัวอกั ษรภาษาเวียดนาม .............................................................. 63 3.4 วธิ กี ารเขียนอกั ษรในภาษาเวยี ดนาม............................................................... 64 สรุปท้ายบท.......................................................................................................... 74 แหล่งความรเู้ พ่ิมเตมิ ............................................................................................. 75 กจิ กรรมประจำบท................................................................................................ 76 Vietnamese Phonology and Characters |

ฌ บทท่ี 4 ระบบเสยี งพยัญชนะในภาษาเวียดนาม.............................................. 78 4.1 เสียงพยัญชนะ................................................................................................ 81 4.2 การเรยี กชอ่ื เสยี งพยัญชนะ............................................................................. 81 4.3 พยางค์และองค์ประกอบของพยางค์ในภาษาเวียดนาม................................... 83 4.4 ระบบเสียงพยัญชนะในภาษาเวยี ดนาม .......................................................... 85 4.5 หน่วยเสียงพยญั ชนะต้นและรปู พยญั ชนะตน้ ภาษาเวียดนาม.......................... 90 4.6 หนว่ ยเสียงพยัญชนะต้นควบและรปู พยญั ชนะต้นควบภาษาเวียดนาม.......... 100 4.7 หนว่ ยเสยี งพยญั ชนะทา้ ยและรปู พยญั ชนะทา้ ยภาษาเวียดนาม................... 102 สรปุ ทา้ ยบท........................................................................................................ 108 แหล่งความรเู้ พิ่มเติม........................................................................................... 108 กิจกรรมประจำบท.............................................................................................. 109 บทที่ 5 ระบบเสยี งสระในภาษาเวยี ดนาม.....................................................114 5.1 ความรทู้ ัว่ ไปเกี่ยวกับหน่วยเสยี งสระในภาษา................................................ 117 5.2 ระบบเสยี งสระภาษาเวียดนาม ..................................................................... 121 5.3 คุณลกั ษณะของหนว่ ยเสียงสระในภาษาเวยี ดนาม....................................... 122 5.4 “Vần” ในภาษาเวียดนาม .......................................................................... 128 สรุปทา้ ยบท........................................................................................................ 136 แหลง่ ความรู้เพ่ิมเตมิ ........................................................................................... 136 Vietnamese Phonology and Characters |

ญ กจิ กรรมประจำบท.............................................................................................. 137 บทที่ 6 ระบบเสียงวรรณยกุ ต์ในภาษาเวียดนาม...........................................143 6.1 ความรูเ้ บ้อื งต้นเก่ยี วกับระบบเสียงวรรณยกุ ต์............................................... 145 6.2 การพิจารณาเสยี งวรรณยุกต์ ........................................................................ 146 6.3 ประเภทของเสียงวรรณยุกต์......................................................................... 148 6.4 การแสดงสัทสัญลกั ษณของเสียงวรรณยกุ ต์ .................................................. 150 6.5 หนว่ ยเสียงวรรณยุกต์ในภาษาเวยี ดนาม (Thanh điệu trong tiếng Việt).. 151 สรปุ ท้ายบท........................................................................................................ 171 แหล่งความรเู้ พ่ิมเติม........................................................................................... 172 กิจกรรมประจำบท.............................................................................................. 173 บรรณานุกรม ..................................................................................................... 179 ตัวอยา่ งกระดาษฝกึ คดั อักษรเวยี ดนาม แผนบรหิ ารการสอนประจำรายวิชา ประวตั ผิ ้เู ขียน Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 1 ค วาม รู้ เบื้อ งต้ นเ ก่ี ย วกับสัท วิ ทย าแ ละสั ท ศาส ตร์ | 1 บทที่ 1 ความรูเ้ บื้องตน้ เกี่ยวกบั สทั วทิ ยา และสัทศาสตร์ Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 1 ค วาม รู้ เบื้อ งต้ นเ กี่ ย วกับสัท วิ ทย าแ ละสั ท ศาส ตร์ | 5 บทท่ี 1 ความรเู้ บอ้ื งต้นเกย่ี วกับสทั วทิ ยาและสทั ศาสตร์ มนุษย์มีความพยายามในการอธิบายภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารนับตั้งแต่ยุค กรีกและโรมัน โดยนักปรัชญาได้พยายามอธิบายภาษาอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังท่ี จะทำความเข้าใจระบบของภาษารวมถึงความเชื่อมโยงระหวา่ งภาษากับศาสตร์อน่ื ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อสังคมมนุษย์ก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งความตื่นตัวทาง วิทยาศาสตร์ ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน ที่ศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ได้ส่งอิทธิพลส่งผลต่อการอธิบายภาษาศาสตร์ ภายใตพ้ ้ืนฐานแนวคดิ ทอี่ ธิบายว่าภาษาเปน็ สงิ่ ที่มวี วิ ัฒนาการ จนถึงศตวรรษที่ 19 ซึ่งถือว่าเป็นยุคแห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ในด้านภาษาศาสตร์มีการอธิบายภาษาอย่างเป็นเหตุเป็นผลโดยประยุกต์ใช้แนวคิด เปรียบเทียบเปรียบต่างช่วยในการทำความเข้าใจภาษา นอกจากนั้นในยุคแห่ง ความก้าวหน้าทางวิทยาการแขนงต่าง ๆ นี้เอง ได้ส่งผลต่อการขยายปริมณฑลใน การศึกษาภาษาศาสตร์ ให้มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับศาสตร์ในแขนงอื่น ๆ อย่าง กว้างขวางมากขึ้น เช่น จิตวิทยา (psychology) สังคมวิทยา (sociology) มานษุ ยวทิ ยา (anthropology) (วิโรจน์ อรุณมานะกลุ . 2556: 4-8) นักภาษาศาสตร์คนสำคัญที่ถือได้ว่าเป็นบิดาแห่งภาษาศา สตร์สมั ยใหม่ ในช่วงศตวรรษที่ 19-20 คือ แฟร์ดีน็อง เดอ โซซูร์ (Ferdinand de Saussure) นักภาษาศาสตร์ชาวสวิส เขาได้เสนอแนวทางใหม่ในการศึกษาภาษา คือ การศึกษา ระบบภาษาทีแ่ ฝงฝังอยู่ในแตล่ ะภาษา โซซรู ์มองว่าเราควรสนใจศึกษาภาษาในส่วนท่ี เป็นระบบนามธรรมภายในเป็นหลักไม่ใช่ให้ความสำคัญเพียงตัวภาษาที่ปรากฏ ออกมาอย่างปัจจเจกของผู้พูดแต่ละคน เพราะในความเป็นระบบนามธรรม Vietnamese Phonology and Characters |

บทท่ี 2 กลไกการออกเสียง และกระบวนการการผลิตเสยี งพดู

บท ท่ี 2 ก ลไ ก กา รออ ก เสีย งแ ละ ก ร ะ บว น กา ร ผลิต เสีย งพูด | 25 บทที่ 2 กลไกการออกเสยี งและกระบวนการผลิตเสยี งพูด 2.1 ความสำคญั ของเสยี งในภาษาของมนษุ ย์ ภาษามีความสำคัญยิ่งต่อมนุษย์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึกและความต้องการ มนุษย์สามารถสื่อสารกันด้วยภาษาพูดเป็นพื้นฐานในการ สื่อสารระหว่างกัน ปีเตอร์ บี ดีนส์และอีเลียต เอ็น พินสัน (1973) ได้กล่าวถึง กระบวนการของการพูดและการได้ยินว่าเริ่มต้นจากเมอื่ มนษุ ยม์ ีความนึกคิดและต้องการ ส่ือการให้คนอื่นรบั ร้แู ละตอบสนองต่อความต้องการในเร่ืองใดเร่ืองหนงึ่ สมองของมนุษย์ จะทำหน้าที่สั่งการและส่งสัญญาณไปยังอวัยวะต่างๆที่เกี่ยวข้องในการออกเสียง เพ่ือ ออกเสียงทีละเสียงเป็นคําและข้อความตามที่ต้องการ จากนั้นคลื่นเสียงที่เกิดขึ้นจาก กระบวนการเกดิ เสยี งในภาษามนษุ ยจ์ ะเดนิ ทางผ่านตวั กลาง คือ อากาศมากระทบหูผู้ฟัง ผู้ฟังรับคลื่นเสียงและถอดเสียงใน ถ้อยความและตีความหมายรับรู้สารที่ผู้พูดต้องการ ส่อื สาร (Zsiga, E. C., 2012) ภาพที่ 1 กระบวนการพูดและการไดย้ ิน ดดั แปลงจาก ปีเตอร์ บี ดนี สแ์ ละอเี ลยี ต เอ็น พนิ สัน (Peter B. Denes Elliot N. Pinson. 1973) Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 2 ก ลไ ก กา รออ ก เสีย งแ ละ ก ร ะ บว น กา ร ผลิต เสีย งพูด | 42 ภาพท่ี 12 ภาพแสดงอวยั วะที่ใชใ้ นการออกเสียง (The Organs of Speech) Vietnamese Phonology and Characters |

บทท่ี 3 ตัวอักษรในภาษาเวียดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 3 ตัว อั กษ รใน ภ า ษา เวีย ด นา ม | 60 บทท่ี 3 ตวั อกั ษรในภาษาเวยี ดนาม 3.1 ตัวอกั ษรภาษาเวียดนามท่ีใช้ในปจั จบุ นั อักษรแห่งชาติ (chữ quốc ngữ) ในอดีตก่อนเวียดนามเปน็ อาณานิคมฝร่ังเศส เวียดนามใช้ระบบตวั เขียนแบบจีน เรียกวา่ อักษรฮา้ น (chữ Hán) หมายถึง ภาษาของปราชญซ์ งึ่ ถกู ใช้เปน็ ภาษากลางในทาง ราชการ การศกึ ษา การติดตอ่ ค้าขายกับจนี เกาหลี ญป่ี นุ่ และเวียดนาม ในช่วงศตวรรษ ที่ 9 เมื่อปราชญ์เวียดนามต้องการเขียนวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ของชาติ จึงได้มี การใช้อักษรจีนเขียนแทนเสียงในภาษาเวียดนาม เรียกอักษรโนม (chữ Nôm) ซึ่งมี ความคลา้ ยคลึงกับอักษรจีน ต่อมาในศตวรรษที่ 17 มิชชันนารีชาวตะวันตก ได้เข้ามาเผยแผ่ศาสนา เพื่อ เรียนรู้ภาษาคนพื้นถิ่นและประโยชน์ในการถ่ายทอดความรู้ มิชชันนารีจึงใชอ้ ักษรละตนิ เขียนแทนอักษรแบบจีน เรียกว่า“อักษรก๊วกหงือ” (chữ quốc ngữ ) หมายถึง อักษร แห่งชาติ ในช่วงแรกอักษรแห่งชาติถูกใช้เพื่อแปลบทสวดและพระคัมภีร์ ทางศาสนา กระทั่งเมื่อเวียดนามตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของฝรั่งเศส นโยบายของเจ้าอาณานิคมได้ ยกเลิกระบบการศึกษาแบบเดิมของราชสำนักเวียดนาม ยกเลิกการใช้อักษรฮ้าน (chữ Nôm) โดยบงั คับให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเปน็ ภาษาหลักในเอกสารการปกครอง สง่ เสริมให้ใช้ อักษรละตินบันทึกแทนเสียงในภาษาเวียดนาม ตามแบบท่ีมิชชันนารีชาวตะวันตกท่ี นำมาใชแ้ ละพฒั นานับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1919 เป็นต้นมา อักษรแห่งชาติจึงได้รับความนิยมแพร่หลาย โดยถูกนำมาใช้มากกวา่ การแปลบทสวดและพระคัมภีร์ และทสี่ ำคญั อกั ษรแห่งชาติได้ถูก Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 3 ตัว อั กษ รใน ภ า ษา เวีย ด นา ม | 63 3.3 การเรยี กช่ือตัวอักษรภาษาเวยี ดนาม ตัวอักษรเวียดนามชื่อเรียกที่มีความสอดคล้องกับหน่วยเสียงและรูปที่ปรากฎ ตวั อกั ษรทป่ี รากฎตวั เดยี ว มชี ือ่ เรยี กดังนี้ อา อา๋ เออ๋ เบ่อ เกอ่ เสอ่ เดอ่ แอ เอ เก่อ เหอ่ อ-ี หงนั กา เหลอ่ เหมอ่ เหนอ่ ออ โอ เออ เป่อ กวี แอ-เหร่อ แอส-สี่ เตอ่ อู อือ เหว่อ อก๊ิ -สี่ อ-ี ส่าย . ตาราง 4 การเรียกช่ือตวั อักษรภาษาเวยี ดนามท่ปี รากฏรปู อักษรรูปเดยี ว สแกน QR code เพ่ือฟังเสียงการเรียกช่ือพยัญชนะในตารางที่ 4 Vietnamese Phonology and Characters |

บทท่ี 4 ระบบเสยี งพยญั ชนะในภาษาเวียดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 4 ระบบเสียงพยญั ชนะในภาษาเวยี ดนาม | 81 บทท่ี 4 ระบบเสียงพยัญชนะในภาษาเวยี ดนาม 4.1 เสียงพยัญชนะ เสียงพยัญชนะ (consonant sound) คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากปอด โดยมี การสกัดก้ันทางเดนิ ของกระแสลมในชอ่ งเสียง ตงั้ แต่ช่องปากลงไปถึงช่องคอจนถึงกล่อง เสียง ทําให้กระแสลมไม่สามารถผ่านตลอดได้อย่างสะดวก (อภิลักษณ์ ธรรมทวีธิกุล. 2547: 11-17) ท้งั น้ี เสียงพยัญชนะอาจมีการสัน่ สะเทอื นของเส้นเสียงหรอื ไม่มีก็ได้ นอกจากนั้นทิศทางการเคลื่อนที่ของกระแสลมที่ออกจากปอดไม่จําเป็นต้อง ผ่านออกทางช่องปากเพียงเท่านั้น แต่ยังสามารถเคลื่อนท่ีผ่านขึ้นสู่โพรงจมูกหรืออาจ แทรกผ่านช่องว่างระหว่างฐานกรณ์ที่เคลื่อนที่ไปใกล้กัน ทําให้เกิดเสียงเสียดแทรก ในพยางค์เสียงพยัญชนะเปน็ เสียงที่เกดิ หนา้ หรอื หลังของเสียงสระ 4.2 การเรียกชื่อเสยี งพยัญชนะ เสียงพยัญชนะมหี ลายประเภทมีลักษณะการออกเสียงแตกต่างกนั ไปหลายแบบ ความแตกตา่ งของเสยี งจะมคี วามสำคัญย่ิงข้นึ เมือ่ ความแตกต่างนั้นทำให้ความหมายของ คำในภาษาแตกต่างกัน (กาญจนา นาคสกุล. 2524: 67) ในการออกเสียงพยัญชนะนั้น สัทลักษณะทส่ี ำคญั ของเสียงพยญั ชนะ ได้แก่ 1. กลไกกระแสลมที่ใช้ในการออกเสียง (Airstream mechanism) 2. สภาพชอ่ งเส้นเสียง (The state of the glottis) 3. ทิศทางของกระแสลม (Directions of airstream) 4. สภาพของเพดานออ่ น (The state of the velum) Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 4 ระบบเสียงพยัญชนะในภาษาเวยี ดนาม | 86 ตารางแสดงหนว่ ยเสียงพยญั ชนะท้ังหมดในภาษาเวยี ดนาม Bộ vị cấu âm Môi Răng Lợi Tiền Ngạc Mạc Hầu ริมฝีปาก ฟัน ปุ่มเหงอื ก Ngạc เพดาน เสน้ ฐานกร เพดาน อ่อน เสยี ง Phương thức แข็ง Hữu thanh /b/ /d/ Tắc ก้อง /p/ nổ Vô thanh /t/ /ʈ/ /c/ /k/ /ʔ/ ไมก่ ้อง / tʰ / ระเบิด Bật hơi /m/ /n/ /ɲ/ /ŋ/ สถิ ิล /v/ /z/ /ʐ/ /ɣ/ Mũi /f/ /s/ /ʂ/ /χ/ /h/ นาสิก /l/ Hữu thanh /w/ /j/ Khe กอ้ ง xát Vô thanh เสียด ไมก่ ้อง แทรก Bên เสยี งขา้ ง Bán nguyên âm เสยี งกง่ึ สระ ตาราง 7 ตารางสทั สญั ลักษณส์ ากลหนว่ ยเสียงพยัญชนะทง้ั หมดในภาษาเวียดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บทท่ี 5 ระบบเสยี งสระในภาษาเวยี ดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 5 ร ะบบเสีย งส ระใน ภ า ษา เวีย ดนา ม | 117 บทที่ 5 ระบบเสียงสระในภาษาเวียดนาม 5.1 ความรทู้ ว่ั ไปเกี่ยวกับหน่วยเสียงสระในภาษา 5.1.1 คำจำกัดความของเสยี งสระ (Vowel) การอธิบายเสียงสระในภาษาใด ๆ นั้น สามารถอธิบายได้ 2 ลักษณะ คือ ลกั ษณะทหี่ นง่ึ ในแง่สทั ศาสตร์ เสียงสระ หมายถึง เสยี งที่เกดิ จากลมท่ีออกจากปอด โดย กระแสลมที่ออกจากปอดนั้นจะถูกแปรสภาพโดยเส้นเสียง และดันผ่านเส้นเสียงที่ปิด สนิทให้เกิดการสั่นสะเทือน การสั่นสะเทือนของเส้นเสียงนั่นเองที่ทำให้เกิดเสียงก้อง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ในแง่สัทศาสตร์เสียงสระเป็นเสียงก้อง หรือเป็นเสียงโฆษะ จากนั้น เมื่อลมจากปอดเคลื่อนที่ผ่านขึ้นไปสู่ช่องปาก และเคลื่อนผ่านด้านบนของลิ้นออกทาง ปากได้อยา่ งสะดวกโดยที่ไม่มีอวยั วะใดในช่องปากกักลมไวท้ ี่จดุ ใดจุดหนึ่ง มเี พยี งการวาง ตำแหน่งและระดบั ของล้ินรวมถงึ รปู ของริมฝีปากในลกั ษณะตา่ ง ๆ ที่ทำให้เกิดเสียงสระ ท่ีแตกตา่ งกนั (นนั ทนา รณเกียรติ. 2554: 85) ลักษณะที่สอง เมื่อพิจารณาโครงสร้างและองค์ประกอบในพยางค์ พบว่า เสียงสระเป็นเสียงที่ปรากฎในแกนกลางของพยางค์ หรือ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางของ พยางค์ (syllabic vocoid) โดยอาจมเี สียงพยัญชนะอยูข่ า้ งหนา้ หรือหลังเสียงสระ กล่าวโดยสรุป เสียงสระทุกเสียงเป็นเสียงก้องเนื่องจากเกิดจากลมที่เคลื่อนที่ ออกจากปอดแล้วดันเส้นเสียงให้เกดิ การสั่นสะเทือน ในทางสัทศาสตร์จึงถือวา่ เสียงสระ เป็นเสียงแท้ ทั้งน้ีในการออกเสียงสระ จะมีอวัยวะสองสว่ นสำคัญท่ีเกี่ยวข้องในการออก เสียง นั่นคอื รปู ของรมิ ฝีปาก ระดบั และการวางตัวของล้ิน Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 5 ร ะบบเสีย งส ระใน ภ า ษา เวีย ดนา ม | 121 5.2 ระบบเสียงสระภาษาเวยี ดนาม ในภาษาเวียดนาม เสียงสระมีความสำคัญในฐานะเสียงแท้ที่เป็นแกนกลางของ พยางค์ และเปน็ องคป์ ระกอบที่สำคัญที่สุดท่ีทำใหเ้ กิดพยางค์ (Đoàn. T.T. 2003: 139) หน่วยเสียงสระในภาษาเวียดนามมีทั้งสิ้น 16 หน่วยเสียง จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สระเดี่ยวและสระประสม กลุ่มสระเดี่ยว มี 13 หน่วยเสียง จำแนกเป็น สระเดี่ยวเสียงสั้น 4 หน่วยเสยี ง และสระเดี่ยวเสียงยาว 9 หน่วยเสยี ง และกลุ่มที่ 2 คือ กลุม่ สระประสม มี 3 หนว่ ยเสยี ง ดงั ตาราง หนว่ ยเสียงสระในภาษาเวียดนาม สระเสียงยาว /i/ /ɯ/ /u/ มี 9 หนว่ ยเสียง /e/ /ə/ /o/ สระเดีย่ ว nguyên âm dài /ɛ/ /a/ /ɔ/ nguyên âm đơn สระเสยี งส้ันมี 4 /ɤ/ หนว่ ยเสียง nguyên âm ngắn /ɛ̆ / /ɐ/ /ɔ̆ / สระประสม (nguyên âm đôi) ie ɯ͜ ə u͜ o แผนภมู สิ ระในภาษาเวยี ดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บทท่ี 6 ระบบเสยี งวรรณยกุ ตภ์ าษาเวียดนาม Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 6 ร ะบบเสีย ง วรรณ ยุ กต์ ใน ภ า ษ าเวี ย ดน าม | 145 บทที่ 6 ระบบเสยี งวรรณยกุ ต์ในภาษาเวยี ดนาม 6.1 ความรู้เบือ้ งต้นเก่ียวกับระบบเสยี งวรรณยุกต์ ในภาษาของมนุษย์ มีระดับเสียงสูงต่ำ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ เสียงวรรณยกุ ต์และทำนองเสียง เสียงวรรณยุกต์ (Tone) เป็นระดับเสียงที่เป็นองค์ประกอบของพยางค์ เช่นเดียวกับเสียงพยัญชนะและเสียงสระ ทั้งนี้ในภาษาที่มีการเปลี่ยนแปลงของ ระดับเสียงในพยางค์และการเปลี่ยนแปลงนั้นส่งผลต่อความหมาย ภาษาดังกล่าวนั้นจะ ถูกจัดให้เปน็ ภาษาทม่ี ีเสียงวรรณยุกต์ ทำนองเสียง (Intonation) คือ ระดับเสียงของถ้อยคำหรือส่วนของถ้อยคำ ในทุกภาษามีทำนองเสียงซึ่งทำหน้าที่ในการแบ่งข้อความออกจากกัน ทำนองเสียงมี หลายลักษณะ เช่น ข้อความบอกเล่ามักจะจบด้วยระดับเสียงต่ำ ข้อความคำถามมักจะ จบด้วยระดบั เสยี งสูง นอกจากน้ี ทำนองเสยี งยงั มีหน้าท่ีแสดงอารมณ์ความร้สู ึกของผู้พูด ทำนองเสียงมีความแตกต่างจากเสียงวรรณยุกต์ตรงที่ทำนองเสียงจะไม่เปลี่ยนแปลง ความหมายของคำ แตเ่ พม่ิ ความหมายใหแ้ กค่ ำ วลี และประโยค เราสามารถจัดจำแนกภาษาต่างๆในโลกนี้ออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ภาษาที่มีเสียง วรรณยุกต์และภาษาที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์ ในเอเชียของเรานั้นมีภาษาที่มีวรรณยุกต์อยู่ หลายภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาไทย ภาษาเวียดนาม ภาษาลาว และภาษาเมียนมาร์ Vietnamese Phonology and Characters |

บท ที่ 6 ร ะบบเสีย ง วรรณ ยุ กต์ ใน ภ า ษ าเวี ย ดน าม | 155 4.) วรรณยกุ ตห์ ่อย (Thanh hỏi) จัดเป็นวรรณยุกตเ์ ปล่ียนระดับ โดยจดุ เรมิ่ ตน้ ของเสยี ง (pitch level) จะเร่ิม ในระดับที่ใกล้เคียงกับวรรณยุกต์หเหวี่ยน (thanh huyền) เส้นทางเดินเสียงของ วรรณยุกต์นี้ไม่คงที่ คือ มีเส้นทางเดินเสียงที่ลดต่ำต้ังแต่เร่ิมต้น เมื่อถึงช่วงกลางพยางค์ เส้นทางเดนิ เสยี งเปลย่ี นทิศทางสงู ขนึ้ และสิ้นสดุ ในระดบั ที่เท่ากบั ระดบั เริ่มต้น รูปวรรณยุกต์นี้คือ (◌̉ ) สัทสัญลักษณ์ระบบตัวเลข คือ 313 และระบบ อักษรวรรณยุกต์ คือ ˧˩˧̰ (Nguyễn, Đ. H. 1997) มีระดับเสียง (pitch range) และ เสน้ ทางเดินเสยี ง (pitch contour) ดังน้ี 5 4 3 2 1 ตัวอย่างพยางคเ์ สียงวรรณยุกตห์ อ่ ย แปลวา่ เก่ง giỏi [zɔ 313] หรอื [zɔ ˧˩˧̰] แปลวา่ ถาม hỏi [hɔj 313] หรือ [hɔj ˧˩˧̰] แปลวา่ แต่ละ mỏi [mɔj 313] หรือ [mɔj ˧˩˧̰] Vietnamese Phonology and Characters |

บท ท่ี 6 ร ะบบเสีย ง วรรณ ยุ กต์ ใน ภ า ษ าเวี ย ดน าม | 162 เปรยี บเทียบเสยี งวรรณยกุ ต์ ngang - sắc – ngã และ ngang - huyền - hỏi 1. nhô nhố nhỗ nhô nhồ nhổ 2. khô khố khỗ khô khồ khổ 3. cô cố cỗ cô cồ cổ 4. ngan ngán ngãn ngan ngàn ngản 5. ghi ghí ghĩ ghi ghì ghỉ 6. nghe nghé nghẽ nghe nghè nghẻ 7. kiêu kiếu kiễu kiêu kiều kiểu 8. thinh thính thĩnh thinh thình thỉnh 9. nhên nhến nhễn nhên nhền nhển 10. hôi hối hỗi hôi hồi hổi ตาราง 18 เปรยี บเทียบเสยี งวรรณยุกต์ ngang - sắc – ngã และ ngang - huyền - hỏi สแกน QR code เพอ่ื ฟงั การออกเสยี ง สแกน QR code เพือ่ ฟงั การออกเสยี ง Vietnamese Phonology and Characters |

หนง่ึ ฤทยั จันทรคามิ ตำแหน่ง อาจารยป์ ระจำสาขาภาษาเวียดนาม สถานที่ทำงาน หลกั สตู รภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน ประวัติการศึกษา ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนษุ ยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิยาลยั มหาสารคาม • ปรชั ญาดษุ ฎีบัณฑิต (ปร.ด.ไทศกึ ษา) คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสงั คมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม • ศลิ ปศาสตร์มหาบัณฑิต (ศศม.ภาษาเวียดนาม) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม • สาธารณสขุ ศาสตรม์ หาบัณฑิต (สม.สาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลยั ขอนแก่น • สาธารณสขุ ศาสตร์บณั ฑติ (สบ.สาธารณสุข) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลยั มหาสารคาม Email [email protected] Vietnamese Phonology and Characters |


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook