Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หนังสือเรียนวิชาศาสนา ม.ต้น

หนังสือเรียนวิชาศาสนา ม.ต้น

Published by nusau24, 2020-06-11 01:58:13

Description: หนังสือเรียนวิชาศาสนา ม.ต้น

Search

Read the Text Version

96 หลกั การสาํ คญั ท่ีสุดของสทิ ธมิ นษุ ยชน คอื มนุษยทกุ คนมศี ักดิศ์ รขี องความเปนมนุษย เทาเทยี มกนั รฐั ธรรมนญู แหง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ไดรับรองศักด์ิศรีความเปน มนษุ ยไ ว และกําหนดใหรฐั บาล สว นราชการ หนวยงานของรัฐดําเนินการปฏบิ ัติงานตามอํานาจ หนาท่ี โดยคํานงึ ถงึ ศกั ดิ์ศรคี วามเปนมนษุ ยข องประชาชนทกุ คน 2.1 การคมุ ครองสทิ ธิมนษุ ยชนในประเทศไทย 1. สงั คมไทยเปนสังคมทีต่ า งเชอ้ื ชาติ ศาสนา เผาพันธุ สามารถดํารงชีวิตอยูรวมกัน อยางสันติ จนกลมกลืนเปนหน่ึงเดียวในความเปนไทยโดยไมมีการแตกแยก ยอมรับความ หลากหลาย มีจิตใจเอื้อเฟอเกื้อกูลกัน จึงไมมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเร่ืองการแบงชนชั้น หรือเผาพันธุ แตการละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอยางตอเนื่อง เชน การละเมิดสิทธิ เดก็ เชน การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมขุ ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี ในสังคมไทยยังปรากฏการใชความรุนแรงตอผูหญิงในครองครัวความรุนแรงทาง เพศในท่ีสาธารณะ ท่ีบาน ทท่ี าํ งาน การลอลวงทางอนิ เตอรเ น็ต เปน ตน 2. การเขามามีสวนรวมในการคุมครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีสวนรวมในการ คุมครองสทิ ธิมนุษยชนในสงั คมไทยตอไปนี้ 1. ศึกษาเรอื่ งสทิ ธิมนษุ ยชนในสงั คมไทยท่ีพฒั นาความรู ทักษะ คานิยมในการ คุม ครองสิทธมิ นษุ ยชน 2. สงเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักด์ิศรีความเปน มนษุ ยอยางเตม็ ท่ี 3. มีสวนรว มในกิจกรรมของชาตบิ า นเมอื งอยา งมีอิสรเสรภี าพ 4. ใชส ิทธทิ างการเมือง เศรษฐกิจ สงั คมใหมปี ระสิทธิภาพ 5. ศึกษาหาความรเู ก่ยี วกับองคกรที่เกีย่ วขอ งกับสทิ ธมิ นษุ ยชนในประเทศไทย 2.2 องคก รท่ีเกยี่ วขอ งกบั สทิ ธิมนุษยชนในประเทศไทย มีดังนี้ 1. คณะกรรมการสทิ ธิมนษุ ยชนแหงชาติ 2. ศาลตา ง ๆ ไดแ ก ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยตุ ธิ รรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร 3. มูลนิธเิ พอื่ พฒั นาเดก็ 4. มลู นิธสิ งเคราะหเ ดก็ ยากจน ซี.ซ.ี เอฟ.

97 5. มลู นิธิศูนยพิทักษสิทธเิ ดก็ 6. มูลนธิ ปิ วีณาหงสกุลเพ่ือเด็กและสตรี สิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มบี ทบญั ญตั ิเกี่ยวกับสิทธิ เสรีภาพและสทิ ธมิ นุษยชนไวห ลายประการ ดงั นี้ 1. ศักดศ์ิ รขี องความเปน มนษุ ย 2. ความเสมอภาคของบุคคล 3. สทิ ธแิ ละเสรีภาพในชวี ติ และรา งกาย 4. สทิ ธขิ องผตู องหา 5. สทิ ธิของพยานและผเู สียหายในคดอี าญา 6. สทิ ธิของเด็ก 7. เสรภี าพในการนับถือศาสนา 8. เสรภี าพในการแสดงความคิดเห็น 9. เสรภี าพทางการศึกษา 10. สิทธิในทรัพยส ิน 11. สิทธใิ นบรกิ ารสาธารณสุข 12. สทิ ธิของคนพิการหรือทุพพลภาพ และของคนชรา 13. สทิ ธขิ องผบู รโิ ภค 14. สทิ ธขิ องชมุ ชนทอ งถน่ิ 15. เสรภี าพในการรวมกลุม 16. สทิ ธใิ นการรับรแู ละมสี วนรว ม 17. สิทธใิ นการรอ งทุกขแ ละฟองคดี 18. สทิ ธแิ ละเสรีภาพอน่ื ๆ

98 กิจกรรมทายบทที่ 5 1. องคการใดที่ทําหนา ที่สงเสริมและคุมครองสิทธมิ นุษยชน ก. องคก รตลุ าการ ข. ผตู รวจการแผน ดินของรัฐสภา ค. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแหง ชาติ ง. คณะกรรมการตรวจสอบการละเมดิ สิทธมิ นุษยชน 2. การพิจารณาการตรวจสอบการละเมิดสทิ ธิมนุษยชนมีขนั้ ตอนอะไร ก. การตรวจสอบ ข. การไกลเกลยี่ ค. สภาพบังคับ ง. ถกู ทุกขอ 3. สิทธิมนษุ ยชน คืออะไร ข. การมีสิทธิ เสรภี าพ มีหนาท่ี ก. ศกั ดิ์ศรคี วามเปนมนษุ ย ง. การไดร บั การคมุ ครองจากสนธสิ ัญญา ค. การไดรบั คุมครองดวยกฎหมาย 4. สทิ ธิขอ ใดไมน า จะเปนสิทธิของพลเมอื งไทย ก. สิทธกิ ารไปออกเสยี งเลือกต้ัง ข. สทิ ธกิ ารสมคั รรับเลอื กตัง้ สมาชกิ สภาทกุ ระดบั ค. สิทธิการผกู มิตรกบั กลมุ ผูคา สนิ คา ชายแดนท่ีผดิ กฎหมาย ง. สทิ ธิในการอนรุ กั ษภ มู ปิ ญ ญาพื้นบา นและการรักษาคนไขด วยสมุนไพร 5. วิธีการสรางสนั ตสิ ขุ ในสงั คมคือขอ ใด ข. การยอมรับเสยี งขา งมาก ก. ตางคนตางอยู ง. การยอมรบั ในหลกั สทิ ธิมนษุ ยชน ค. การชวยเหลือซึ่งกันและกนั 6. สิง่ ทต่ี ิดตวั มนุษยมาต้ังแตกาํ เนดิ และตดิ ตัวไปจนตายคอื อะไร ก. กลไกคมุ ครอง ข. สิทธิมนษุ ยชน ค. กฎหมาย ง. บัญญัติ ระเบยี บ

99 7. หนา ทข่ี องคณะกรรมการคุมครองสิทธิมนษุ ยชนคือขอใด ก. สงเสริมสิทธมิ นุษยชน ข. คมุ ครองสิทธมิ นษุ ยชนในประเทศไทย ค. รบั คาํ รองเรียกตรวจสอบในกรณีการละเมดิ สิทธมิ นุษยชนเกดิ ข้ึน ง. ถูกทกุ ขอ 8. แนวคดิ เรื่องใดเปนตนกาํ เนดิ ของสิทธิมนษุ ยชน ก. สังคมนิยม ข. รัฐสวัสดกิ าร ค. คอมมิวนิสต ง. กฎหมายตามธรรมชาติ 9. ขอ ใดเปนสทิ ธแิ ละเสรีภาพสว นบคุ คลของคนไทย ก. สิทธใิ นกระบวนการยตุ ิธรรม ข. สิทธิในการรับบรกิ ารทางสารธารณสขุ ค. สิทธใิ นการเดนิ ทางและการเลอื กถิ่นทีอ่ ยู ง. สิทธิทจ่ี ะไมถูกบังคบั ใชกฎหมายยอนหลงั 10. ขอใดเปน การละเมิดสทิ ธมิ นษุ ยชน ก. รฐั สง่ั ปด หนังสอื พิมพ ข. รัฐเรยี กเก็บภาษอี ากร ค. ตํารวจคน บานประชาชนโดยมีหมายศาล ง. รัฐออกพระราชกําหนดการบริหารราชการแผน ดนิ ในสถานการณฉุกเฉนิ

100 บทท่ี 6 การมสี วนรวมในการปองกันและปราบปรามการทุจรติ สาระสําคญั สํานักงาน ป.ป.ช กําหนดมาตรการในการแกไขปญ หาทุจริตคอรปั ชน่ั ที่เนนการมีสวนรวม ของประชาชนในการปองกันและปราบปรามการทุจริตใหประชาชนเขาไปมีบทบาทในฐานะที่ เปน สว นหนึง่ ของผูดาํ เนินการกลา คดิ กลา ทาํ ในสงิ่ ท่ีถูกตอ ง ผลการเรยี นรูทคี่ าดหวงั บอกวธิ กี ารมีสวนรว มในการปองกันและปราบปรามการทุจรติ ได ขอบขา ยเนอ้ื หา การมสี ว นรวมในการปองกนั และปราบปรามการทจุ รติ ส่อื ประกอบการเรียนรู 1. คอมพวิ เตอร อินเทอรเนต็ 2. เอกสารประชาสมั พนั ธของสาํ นกั งาน ป.ป.ช 3. หนงั สอื พมิ พ 4. บทความตาง ๆ

101 บทที่ 6 การมีสวนรวมในการปอ งกนั และปราบปรามการทุจริต สังคมไทยใหความสําคัญกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความดี ความซ่ือสัตย สุจริตมา ตัง้ แตสมยั โบราณถึงกบั มคี าํ พงั เพยวา “ซือ่ กนิ ไมห มด คดกินไมนาน” ไวสอนลูกหลานมาจนทุก วันน้ี และเนื่องจากเรามีศาสนาเปนท่ียึดเหน่ียวกํากับจิตใจใหต้ังมั่นอยูในความดี ความงาม ความซ่ือสตั ยไ มค ดโกงใหผอู ่นื เดอื ดรอนจงึ มคี าํ สอนทถี่ า ยทอดกันมาจากบรรพบุรุษเก่ียวกับการ ทุจรติ เชน “ทําดีไดดี ทาํ ช่ัวไดช ัว่ ” “คนดีตกน้ําไมไหล ตกไฟไมไหม” ความเชื่อเชนนี้มีอยูใน หมูคนทุกระดับในสังคมตั้งแตพระมหากษัตริย ขาราชการรัฐวิสาหกิจ เอกชน ซึ่งมีพิธีกรรม ทางการปกครองท่สี ะทอ นใหเ หน็ ถงึ คานิยมในความดีและคนดตี อ งมคี วามซ่ือสัตยท่ียังคงเช่ือมัน อยูในกลมุ ของขาราชการระดบั สาํ คญั ๆ อยูคือ พธิ ดี ่มื นํา้ พิพฒั นสัตยาสาบานตนตอ ส่ิงศกั ดสิ์ ทิ ธ์ิ อยางไรกต็ ามกระแสโลภาภิวัตนที่กําลังเกิดขึ้นทั่วโลกรวมทั้งการไหลบาของสังคมและ วัฒนธรรมนานาชาติท่ีไมสามารถหยุดยั้งได ประชาชนคนไทยโดยเฉพาะเยาวชนและผูใช แรงงานตางถูกชักนําใหห ลงไหล การเปนนกั บรโิ ภคนยิ ม วตั ถนุ ิยม ตดิ ยึดอยกู ับความสุขจากเงิน ทอง ความฟุมเฟอย ฟุงเฟอ สุรุยสุราย ความมีหนามีตาในสังคมยกยอง คนรวยมากกวาคนดี ไมใหความสําคญั กับครอบครวั และสายใยผกู พนั ในครอบครัวเหมือนเดมิ กลาวกันวา เดก็ ๆ สมยั นีจ้ ะเลือกไหวเ ลือกนบั ถือคนรวย คนมตี าํ แหนง ใหญโ ตมากกวาคนจนคนดีในสังคม พฤติกรรมทีท่ จุ รติ ไมถ ูกตอ ง บางครั้งถกู มองเปนเรื่องท่ีเปนประโยชนแกบานเมืองและ ไดรับการยกยอง เชน ผูมีอํานาจออกกฎหมายหรือจัดทําโครงการที่เปนประโยชนแกสังคม ประเทศชาติ แตเบื้องหลังมีพฤติกรรมที่แอบซอนผลประโยชนใหตนเอง ตระกูลตนเองหรือ พรรคพวกมากกวาทเ่ี รียกกนั วา มีผลประโยชนทับซอ น มองผวิ เผนิ เปน เรือ่ งที่ดยี อมรับไดแตจริง ๆ แลวเปนการทุจรติ ประพฤติมชิ อบทบ่ี า นเมืองประสบความเสียหายอยางยง่ิ จะเหน็ ไดว า การเพกิ เฉยและยอมรบั ไดห ากมีการทุจริตแตต นเองไดผลประโยชน จึงเปน เร่ืองท่ีจะตองรูเทาทัน มีจิตสํานึกและมีสวนรวมท่ีจะชวยกันปองกันแกไข ขจัดปญหาทุจริต คอรร ัปช่ันเหลานี้ใหหมดไป ซึง่ ที่สํานักงานปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติ (ป.ป.ช.) ไดกําหนดเปนมาตรการในการแกไขปญหาในภาพรวมทีเ่ นนการมสี วนรวมของประชาชนในการ ปองกันและปราบปรามการทุจริต ซ่ึงหมายถึงการใหประชาชนเขาไปมีบทบาทในฐานะท่ีเปน สว นหนงึ่ ของผูด ําเนนิ การดวย โดยไดวางระบบใหประชาชนกลา คดิ กลาทาํ ในสิ่งทถ่ี ูกตอ ง กลาตดั สนิ ใจในกรอบของการเคารพสิทธ์ิของผูอ่ืน และสงเสริมใหทํางานเปนรูปแบบเครือขาย

102 เชอื่ มโยงกนั ท้ังระดับบุคคลและระดับองคกรโดยมีฐานะเทาเทียมกัน วัตถุประสงคเดียวกันเพื่อ เพิ่มพลงั และความมัน่ ใจในการมสี วนรวมของประชาชนในการปอ งกันและปราบปรามการทุจริตให หมดไปมาตรการดงั กลา วพอสรุปไดดงั นี้ 6.1 วธิ ีสรา งความตระหนกั ใหป ระชาชนมีสวนรวมในการตอ ตานการทจุ รติ 6.1.1 ปลูกจิตสํานึก คานิยม คุณธรรมจริยธรรมและสรางวินัยแกทุกภาคสวน โดยการสงเสรมิ การดาํ เนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สงเสริมการปฏิบัติตาม หลักคุณธรรม จริยธรรมและวินัย ใชการศึกษาเปนเคร่ืองมือในการปองกันเสริมสรางความรู ทักษะ ทัศนคติ ปลูกฝงจิตสํานึกใหนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนอยางตอเน่ือง รวมทง้ั ผลักดนั คานยิ มการปอ งกันการทุจริต ความซ่ือสัตยสุจริต รังเกียจการทุจริตเปนคานิยม แหง ชาติ 6.1.2 มสี วนรวมในการปอ งกันและรวมทําเครือขา ยปองกันและปราบปรามการ ทุจริตในทกุ ภาคสว นโดย 1) การประชาสมั พนั ธต อตา นการทจุ รติ ประพฤตมิ ชิ อบทุกรูปแบบ 2) เสรมิ สรา งกระบวนการมสี ว นรว มของประชาชนทุกภาคสวน 3) เสริมสรา งความเขมแขง็ ของเครือขายใหม ขี วัญและกาํ ลังใจในการทาํ งาน 6.1.3 สงเสริมความเปนอิสระและสรางประสิทธิภาพใหแกองคกรที่มีหนาท่ี ตรวจสอบการทจุ รติ โดยเฉพาะสํานักงาน ป.ป.ช. ใหปราศจากการแทรกแซงของอิทธิพลจาก ภาคการเมือง ภาคราชการ และภาคธุรกิจ และถวงดุลอํานาจภาครัฐท่ีเกี่ยวของทุกระดับ เปด โอกาสใหประชาชนเขา ถึงขอ เทจ็ จริง 6.1.4 สงเสริมการสรางมาตรฐาน จรรยาบรรณ วิชาชีพแกบุคลากรของ หนว ยงานทม่ี ีหนา ที่ตรวจสอบการทุจริต รวมท้ังการเสริมสรางความรูทักษะ และจริยธรรมแก บุคลากรรวมทั้งเสรมิ สรา งขวญั กาํ ลงั ใจและการบริหารงานบุคลากร การสรางความรวมมือดาน วชิ าการกับองคก รตา งประเทศดวย 6.2 สรางความเขา ใจท่ถี ูกตอ งใหกับประชาชนและหนวยงานเครอื ขาย เก่ียวกบั กฎหมายท่ี เกี่ยวของในการปองกันและปราบปรามการทจุ รติ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตอ งรับเปนหนาทใ่ี นการดาํ เนินงานรวมกบั หนวยงานเครือขายใน การสงเสริมใหประชาชนชาวไทยมีความรู ความเขาใจที่ถูกตองในเร่ืองกฎหมาย ระเบียบและ มาตรการตาง ๆ ที่จะเปนประโยชนในการรวมมือกันปองกันพฤติกรรมการทุจริตคอรรัปชั่น

103 รปู แบบตาง ๆ ตามท่ีกําหนดไวในรัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทยกําหนดใหรัฐตองมีหนาที่ สงเสริมสนับสนุนการมีสวนรวมของประชาชนในการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐทุกระดับใน รูปแบบองคก รทางวิชาชีพโดยเฉพาะขอ กฎหมายทเ่ี กยี่ วขอ งในการปฏบิ ัติงานเพื่อปอ งกันปญหา การทุจรติ คอรัปชั่นที่ผูปฏิบัติงานและเครือขายภาคประชาชนควรทราบ เชน รัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 87 (3) ท่ีกําหนดใหมีการสงเสริมและสนับสนุน การมีสวนรวมของประชาชนในการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐทุกระดับ และพระราชบัญญัติ ประกอบรฐั ธรรมนญู วาดวยการปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต พทุ ธศักราช 2542 (ฉบับท่ี 2) พุทธศักราช 2554 มาตรา 19 (13) วาดวยการเสริมสรางทัศนคติและคานิยมเก่ียวกับความ ซื่อสัตยสุจริตรวมทั้งดําเนินการใหประชาชนหรือกลุมบุคคลมีสวนรวมในการปองกันและ ปราบปรามการทจุ ริต ท้ังนี้ มีรายละเอียดที่สามารถศึกษาคนควาไดจากเว็บไซตของสํานักงาน ป.ป.ช 6.3 การกระตนุ จิตสาํ นกึ การมีสว นรวมในการปองกันและปราบปรามการทุจรติ เพื่อใหผูเรียนเกิดความเขาใจ ตระหนักและมีจิตสํานึกในการมีสวนรวมในการปองกัน และปราบปรามการทุจริต หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาข้ันพ้ืนฐาน พุทธศักราช 2551 จงึ ไดกาํ หนดแนวทางการเรยี นรู ในรูปแบบกรณศี ึกษา ใหผูเรียนไดฝกทักษะ การคิด วิเคราะห การมีสวนรวมในการแกปญหาการทุจริตรูปแบบตาง ๆ ดวยเจตนาท่ีจะให ผูเรียนสามารถนําไปเปน แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อประโยชนตอตนเอง ครอบครัว ชุมชน และ สังคม จนเกิดการพัฒนาจิตสํานึกในการปองกันและปราบปรามการทุจริตได ตามกิจกรรม ดังนี้ 1. เร่ือง “เศรษฐีใหม” หรอื “แมค รวั ” 2. เรือ่ ง “การตรวจรับสงเดช”

104 กรณีศึกษาเรอ่ื งท่ี 1 เร่ือง “เศรษฐีใหม” หรอื “แมครัว” วตั ถุประสงค 1. ระบุปญหาการทจุ รติ จากการใชอ ํานาจหนา ทใี่ นทางท่ไี มถกู ตอง 2. บอกคุณธรรมในการปฏิบัติงานได 3. เกดิ จิตสาํ นกึ ในการปองกนั การทจุ ริต เนื้อหาสาระ 1. คณุ ธรรมในการทาํ งานเพื่อปอ งกันหรอื หลกี เลี่ยงการทุจริต 2. สาํ นกึ ดา นความซอ่ื สัตยต อการปฏิบตั ิงาน กรณีศกึ ษา เจาหนาท่ี ป.ป.ช. ช่ือคุณสืบไดไปตรวจดูบัญชีที่ ป.ป.ช. จัดไวใหประชาชนเขามา ตรวจสอบ บัญชีทรัพยสินของนักการเมืองที่แสดงตอ ป.ป.ช. คุณสืบเปดดูบัญชีตาง ๆ ของ นักการเมืองพบวา หุนของนักการเมือง ระดับหัวหนาพรรครายหน่ึงในบริษัทยักษใหญที่เปนของ นกั การเมืองผูน ั้นเองทาํ ไมจึงมีหนุ อยไู มมาก แตผูถอื หนุ รายใหญของบรษิ ัทคือ คุณสมศรี ซ่ึงเปน แมครวั บานนักการเมืองใหญรายน้นั คุณสืบเร่ิมไดเคาของการถือหุนแทนนักการเมือง จึงไดทํา การปลอมตัวเขาไปเพ่ือหาหลักฐานและพบวา คุณสมศรีเปนผูถือหุนรายใหญของบริษัท นกั การเมืองที่คุณสมศรเี ปนแมครวั ประเดน็ 1. จากเนื้อหาเรื่อง “เศรษฐีใหม” หรือ “แมครัว” การกระทําของนางสมศรีขัดตอ กฎหมายวาดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ หรอื ไม เพราะเหตใุ ด 2. จากเนอ้ื หาเรือ่ ง “เศรษฐีใหม” หรือ “แมค รวั ” การกระทําของนายจางของ นางสมศรีสะทอนถึงการขดั ตอ คุณธรรม จรยิ ธรรม อยางไร

105 ใบความรู - เร่อื งความซอ่ื ตรงกบั ความซอ่ื สัตย ใบงาน 1. ใหผ ูเ รยี นศึกษากรณีศกึ ษา 2. แบงกลุม อภิปรายตามประเด็นที่กําหนด 3. ใหตัวแทนกลมุ ออกมานาํ เสนอผลของการอภปิ รายกลุม 4. ใหผ สู อนและผเู รยี นรวมกนั สรปุ แนวคิดทไ่ี ดจากผลการอภิปรายกลมุ 5. ใหผ เู รียนรวมกันวางแผนและจดั ทํากิจกรรมการเรยี นรูตอเน่อื งพรอมสรุปรายงานผล กิจกรรมเรียนรตู อเน่อื ง ผูเรียนรวมกันจัดทํากิจกรรม/โครงการ เพ่ือสงเสริมการปองกันและปราบปรามการ ทุจรติ พรอมจัดทาํ สรปุ รายงานผล เสนอผสู อน สื่อและแหลงการเรียนรู - อินเทอรเ น็ต - ส่อื สงิ่ พมิ พ วารสาร หนงั สือพมิ พ

106 กรณศี กึ ษาเรอ่ื งที่ 1 เรื่อง “เศรษฐใี หม” หรอื “แมค รัว” กฎหมาย ป.ป.ช. กําหนดใหนักการเมืองต้ังแต นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. รวมทง้ั เจา หนาท่ีของรัฐทม่ี ีตาํ แหนง ระดบั สงู ตองยื่นบัญชแี สดงรายการทรพั ยสินและหน้ีสิน ตอ ป.ป.ช. เมื่อเขาดํารงตําแหนงและพนจากตําแหนง เพ่ือตรวจสอบวามีทรัพยสินอะไรเพ่ิมข้ึน ผิดปกติหรือไม หลังจากยื่นบัญชีแลว ป.ป.ช. ตองเปดเผยบัญชีทรัพยสินของนักการเมืองตอ สาธารณะ เจาหนา ที่ ป.ป.ช. ชอ่ื คุณสบื ไดไปตรวจดบู ัญชีทรัพยสิน ที่ ป.ป.ช. จัดไวใหประชาชน เขามาตรวจสอบ คุณสืบเปดดูบัญชีฯ ตาง ๆ ของนักการเมืองแลวก็มาสะดุดสงสัยและต้ัง ขอสังเกตวา หุนของนักการเมืองระดับหัวหนาพรรครายหน่ึงในบริษัทยักษใหญที่เปนของ นักการเมืองผนู ัน้ เอง ทาํ ไมจงึ มหี นุ อยไู มม าก แลว หนุ ทเ่ี หลอื เปนของใคร เมอื่ คุณสืบตง้ั ขอสงั เกตแลว จงึ คน หาความจริงโดยคุณสบื เร่มิ จากการไปคน หารายชือ่ ผถู ือหุนในบริษัทยักษใหญดงั กลา ว จึงพบวามีผูถอื หนุ รายใหญข องบรษิ ทั คอื คุณสมศรี แสดงวา คุณสมศรตี องเปน “เศรษฐใี หม” แน ๆ เพราะไมเคยไดยื่นชื่อติดอันดับเศรษฐีเมืองไทยมากอน คุณสืบจึงไปตรวจสอบจากทะเบยี นราษฎรของกระทรวงมหาดไทย ซ่งึ จะมชี ื่อของคนไทยทุกคน ที่มีบัตรประจําตัวประชาชนในทะเบียนราษฎรจะมีขอมูลบุคคลวา ช่ือ-สกุล ใดเคยเปล่ียนชื่อ สกลุ อยา งไร อายเุ ทา ใด หนาตาเปนอยางไร บิดามารดาช่อื อะไร พรอมท่ีอยูอ าศยั คณุ สบื ทราบวา คณุ สมศรนี ั้น มีบา นพักอยใู นจดั หวัดภาคอีสาน คุณสืบจึงเก็บสัมภาระ เดินทางไปจังหวัดภาคอีสานเพื่อไปหาคุณสมศรี เมื่อไปถึงบานเลขท่ีตามท่ีปรากฏในทะเบียน ราษฎร คณุ สืบไดพบกับบานไมเกา ๆ หลังหนึ่ง ตั้งอยูนอกเขตอําเภอเมืองเล็กนอย คุณสืบคิด อยใู นใจวา “เศรษฐีใหม” เปนคนสมถะ มบี า นหลังเล็ก ๆ พออยูอาศัย ไมฟุงเฟอเหมือนเศรษฐี คนอ่นื จงึ ไดเ ขาไปเคาะประตบู า น ปรากฎวา มคี ุณยายคนหนึง่ เดนิ ออกมาเปด ประตู คุณสืบอาง วา รูจักกับคุณสมศรีจะมาหาคุณสมศรี ไดรับคําตอบจากคุณยายวาคุณสมศรีไปทํางานอยู กรุงเทพฯ คุณสืบจึงถามคุณยายวา คุณสมศรี ทํางานที่ไหน จะติดตอไดอยางไร คุณยายจึงให หมายเลขโทรศัพทแตไมไดบอกวาทํางานที่ไหนเมื่อคุณสืบ ไดรับแลวก็ขอลาและขอบคุณคุณ ยายตามมารยาทสังคมไทย

107 จากน้ัน คณุ สืบจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ และไดโทรศัพทไปตามหมายเลขท่ีคุณยายให ไวโ ดยขอพูดกบั คุณสมศรี คนรับสายตอบวา คณุ สมศรีไปจายกับขาวที่ตลาด คุณสืบยังคิดในใจ วา เด๋ียวน้ีเศรษฐีใหมไปจายกับขาวที่ตลาดเอง จึงไดบอกกับคนรับโทรศัพทวา วันน้ีคุณสมศรี ออกไปจายกับขา วเองเลยหรอื ผรู บั โทรศัพทจ งึ ตอบวา ไปจา ยกบั ขาวทกุ วนั เพราะเปน แมครวั คุณสืบเริ่มไดเคาของการถือหุนแทนนักการเมือง แตเพื่อความชัดเจนในเร่ืองนี้ คุณสืบ จึงไดป ลอมตัวไปทีบ่ านหลงั ดงั กลา ว เพอื่ หาขอมูลใหแ นชัดวา เปนบานของนักการเมืองเจาของ บริษัทยกั ษใหญจริงหรือไม โดยคุณสบื ไดห าขอมูลมากอนวา คุณสมศรีจะไปจายกับขาวในเวลา บา ย ๆ จึงไดว างแผนเขาไปเวลาประมาณบายสองโมง และจากการทคี่ ุณสบื ปลอมตวั เขาไป จึงมีหลักฐานยืนยันไดวา คุณสมศรี เปนแมครัวบานนักการเมืองใหญรายนี้จริง และเปนคุณ สมศรีรายเดียวกับท่ีเปนผูถือหุนรายใหญของบริษัทนักการเมืองท่ีคุณสมศรีเปนแมครัว คุณ สมศรจี งึ เปล่ียนฐานะใหมจากเศรษฐีใหม กลายเปนแมครวั ซะแลว ประเด็น 1.จากกรณีศึกษาเรื่อง “เศรษฐีใหมหรือแมครัว” การกระทําของนางสมศรีขัด ตอกฎหมายวาดว ยการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ หรอื ไม เพราะเหตใุ ด 2. จากกรณศี ึกษาเรื่อง “เศรษฐีใหมหรือแมครัว” การกระทําของนายจางของ นางสมศรีสะทอ นถึงการขดั ตอคุณธรรม จริยธรรม อยา งไร ใบความรู “ซื่อตรง” กับ “ซื่อสัตย” ความหมายของคําสองคํา คือ “ซื่อตรง” กับ “ซ่ือสัตย” ตามพจนานุกรมฉบบั ราชบัณฑิตยสถานป 2542 ไดกลา วไว คือ “ซ่ือตรง” แปลวา ประพฤติตรง ไมเอนเอง ไมคดโกง ใหสังเกตคําวาประพฤติ ประพฤตคิ อื วาจา และการกระทาํ ถา ทางพระจะหมายถึง วจกี รรม กายกรรม “ซ่อื สัตย” หมายถึง ประพฤตติ รงและจรงิ ใจ ไมค ิดคดทรยศไมคดโกงและไมหลอกลวง เหมือนกับคําวา คุณธรรม จริยธรรม คําวาจริยธรรมบอกแตเพียงความประพฤติ คือ คําพูด และการกระทาํ แตถาพูดถึงคุณธรรมตองรวมใจดวย สรุปไดว า ซ่ือตรง คือสง่ิ ทีป่ ระพฤติออกมาใหป รากฏ แลวสังคมตัดสินวาตรงหรือไมตรง แตถา ซอื่ สตั ย นอกจากจะประพฤตติ รงแลว ยงั ตอ งพฒั นาที่จติ ใจ มคี วามจรงิ ใจดวย สุภาษิตสะทอ นความซือ่ ตรง

108 สุภาษติ เรื่อง ความซอ่ื ตรงและความซอ่ื สตั ยซ ง่ึ ความจรงิ คนไทย ไต ลาว ซ่ึงเปนคนกลุม เดยี วกนั และมจี ํานวนกวา รอยลานคนยกยอ งเรือ่ งความซอ่ื ตรงและความซื่อสัตยมาเปนความดี อนั ดับหนง่ึ โดยสุภาษิตโบราณจากสถานทต่ี าง ๆ มีดงั น้ี คอื กับขา วอรอยเพราะเกลอื (The meal is good, thanks to the salt) คนดีเพราะซ่อื สัตย (A man is good due to his honesty) (ภาษิตไทยใหญ) สวนดี ตองรวู ธิ ปี ลกู ซ่อื กินไมหมด ลูกดี ตอ งรูวธี ีสอน คด กินไมนาน (ภาษติ ไทยเหนือ) สมัยกอนในปมนํ้ามันสามทหาร ท่ีตัวถังน้ํามันจะมีปายวา “ซื่อกินไมหมด คดกินไม นาน” ซ่ึงเม่อื กอ นคาํ นมี้ ีเยอะ แตป จจุบนั หายไป ที่หายไปไมใ ชเ พราะสามทหารหมดไป แตอาจ หายไปเพราะคนไทยไมเช่ือคานิยมนแี้ ลว คานิยมอาจเปลี่ยนแปลงไปเปน “ซื่อไมมีกิน แตคดมี กนิ จนเหลือกนิ ” กเ็ ปน ได แตห ากพจิ ารณาแบบยาว ๆ แลว จะเหน็ วา ซื่อกินไมหมดหรอก แตค ดกินไมนาน นนั่ แหละที่เปน จริง

109 ใบงาน 1. ใหผเู รียนศกึ ษากรณีศึกษา 2. แบงกลุมอภิปรายตามประเด็นทีก่ ําหนด 3. ใหตัวแทนกลุม ออกมานาํ เสนอผลของการอภปิ รายกลมุ 4. ใหผ ูส อนและผเู รียนรวมกนั สรปุ แนวคดิ ที่ไดจากผลการอภปิ รายกลุม 5. ใหผูเรยี นรว มกนั วางแผนและจัดทาํ กิจกรรมการเรยี นรูตอเนือ่ งพรอมสรุปรายงานผล กิจกรรมการเรียนรูตอเน่ือง ผูเรียนรวมกนั จัดกิจกรรม/โครงการ เพ่ือสงเสริมการปองกันและปราบปรามการทุจริต พรอมจัดทาํ สรปุ รายงานผลเสนอผสู อน .

110 กรณศี กึ ษาเรอ่ื งที่ 2 เรือ่ ง การตรวจรับสง เดช วัตถุประสงค 1. บอกคุณธรรมในการปฏบิ ตั ิงานได 2. มสี วนรว มในการปอ งกันการทจุ ริตในหนว ยงาน 3. เกดิ จติ สํานึกในการปองการการทุจริต เน้อื หาสาระ 1. ชอ งทางการสง เรื่องรองเรยี นการทุจริต 2. คณุ ธรรม จรยิ ธรรม ของผปู ฏบิ ตั ิงาน กรณศี กึ ษา จากการไตส วนขอเท็จจรงิ ของ ป.ป.ช. ไดความวา เม่ือป พ.ศ. 2545 องคการบรหิ าร สวนตําบลแหงหนึ่ง ไดสอบราคาจางเหมากอสรางอาคารอเนกประสงคคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ช้ัน วงเงนิ 1,904,000 บาท โดยมีนาย ก ผูถูกกลาวหา เมื่อครั้งดํารงตําแหนงนายกองคการบริหาร สวนตําบลเปนประธานกรรมการตรวจการจาง ในการดําเนินการกอสรางปรากฏวา ผูรับจาง กอ สรา งไมถูกตองตามแบบรูปรายการที่องคก ารบริหารสวนตาํ บลกําหนดหลายรายการ เปนเหตุ ใหหัวหนาสวนโยธาในฐานะผูควบคุมงานทําบันทึกเสนอผูถูกกลาวหาในฐานะประธานกรรมการ ตรวจการจางแจง ใหผ ูร ับจา งแกไขใหถูกตองตอ มาผูรับจางไดเ ขา มาดําเนินการแกไขงานแลวแตก็ ยังไมถูกตองตามแบบรูปรายการท่ีกําหนดอีก หัวหนาสวนโยธาในฐานะผูควบคุมงานและ คณะกรรมการตรวจการจาง จึงไดมีบันทึกเสนอผูถูกกลาวหาอีกครั้งเพ่ือแจงใหผูรับจาง ดาํ เนนิ การแกไ ขโดยดวน แตปรากฏวาผูถูกกลาวหาไดมีคําส่ังอนุมัติเบิกจายเงินใหแกผูรับจาง ทาํ ใหอ งคการบรหิ ารสวนตาํ บลตองเบิกจายเงินคาจางกอสรางใหแกผูรับจางไปโดยที่งานยังไม เสรจ็ สมบูรณเปนเหตุใหท างราชการไดรับความเสียหาย ประเดน็ จากกรณีศึกษา เรื่อง “ตรวจรับสงเดช นายก อบต. กระทําความผิดในเรื่องใด และ สง ผลตอ คุณธรรมในการบรหิ ารงานอยางไร

111 ใบความรู - ชอ งทางการสงเรอ่ื งรองเรยี นการทจุ ริต ใบงาน 1. ใหผ เู รยี นศึกษากรณศี ึกษา 2. แบง กลุมอภปิ รายแสดงความคดิ เห็นตามประเดน็ ทีก่ าํ หนดให 3. ใหผสู อนและผูเรยี นสรุปแนวคิดทไ่ี ดจ ากการอภิปรายกลมุ รวมกนั กิจกรรมการเรียนรูอยางตอเนอ่ื ง - ใหผูเรียนรวมกันจัดทํากิจกรรม/โครงการในการรณรงคการปองปรามการทุจริตใน ชุมชน พรอ มจดั ทาํ สรุปรายงานเสนอผูสอน สือ่ /แหลงคนควา - หนงั สอื พมิ พ/ วารสาร - สื่ออนิ เทอรเนต็ - สํานักงาน ป.ป.ช.

112 ใบความรู ชอ งทางการสงเร่อื งรองเรียนการทุจริต หากพบเหน็ เจา หนาทีข่ องรฐั กระทําความผิดทุจริตตอหนาท่ี กระทําความผิดตอตําแหนง หนาท่ีหรือกระทําความผิดตอตําแหนงหนาท่ีในความยุติธรรม รํ่ารวยผิดปกติหรือมีทรัพยสิน เพิม่ ขน้ึ ผดิ ปกติ สามารถทาํ หนังสือรองเรียนตอ สาํ นกั งาน ป.ป.ช. ตามหลักเกณฑตอไปน้ี 1. มีหนังสือ “เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.” หรือ “ตู ปณ. 100 เขตดุสิต กรงุ เทพฯ 10300” หรือเขารอ งทุกขก ลา วโทษตอ พนักงานสอบสวน ณ สถานีตํารวจในเขตอํานาจ สอบสวน โดยพนักงานสอบสวนจะสงเร่อื งไปยงั สาํ นกั งาน ป.ป.ช. เพือ่ ดําเนินการตอ ไป 2. ใหมรี ายละเอียดการรอ งเรยี น ดังน้ี (1) ชื่อ – สกุล ทีอ่ ยู และหมายเลขโทรศัพทข องผูกลา วหา (2) ชอื่ – สกุล ตาํ แหนง สังกดั ของผถู กู กลา วหา (ตองเปน เจา หนาที่ของรัฐ หรือ พน จากตําแหนง ไมเกนิ 5 ป) (3) ระบุขอกลาวหาการกระทําความผิดฐานทุจริตตอหนาที่ การกระทําความผิดตอตําแหนงหนาที่ ราชการ หรอื ตาํ แหนง หนา ทีใ่ นการยุติธรรม รํา่ รวยผิดปกติ หรือ มีทรพั ยส นิ เพม่ิ ขึ้นผิดปกติ (4) บรรยายการกระทําความผดิ อยา งละเอียดตามหวั ขอ ดงั นี้ - กรณกี ลา วหากระทาํ ความผิดฐานทุจริตตอ หนา ท่ี กระทาํ ความผิดตอ ตําแหนง หนา ท่รี าชการ หรือ กระทําความผดิ ตอ ตําแหนง หนาทใี่ นการยตุ ิธรรม ก. การกระทาํ ความผิดเกิดขึ้นเมือ่ ใด ข. มีข้ันตอนหรอื รายละเอียดการกระทาํ ความผดิ อยางไร ค. มีพยานบคุ คลรูเ หน็ เหตกุ ารณห รอื ไม ง.ในเรื่องนไ้ี ดรอ งเรียนตอหนว ยงานใด หรือยื่นฟอ งตอศาลใดเมอื่ ใด และผลเปนประการใด - กรณกี ลาวหาวา ร่ํารวยผิดปกตหิ รอื มีทรพั ยสินเพ่มิ ขึ้นผดิ ปกติ ก. ฐานะเดมิ ของผูกลาวหา และภรยิ าหรือสามี รวมทั้งบิดามารดาของทง้ั สองฝายเปน อยา งไร ข. ผูถูกกลาวหา และภริยาหรือสามี มีอาชีพอ่ืนๆ หรือไม ถามีอาชีพอื่นแลวมีรายไดมากนอย เพยี งใด ค. ทรพั ยส นิ ทจี่ ะแสดงใหเ ห็นวารํ่ารวยผิดปกติ อะไรบา ง

113 3. ลงลายมือช่ือ และเขียนช่ือ – สกุล ดวยตัวบรรจง พรอมแจงท่ีอยูของผูกลาวหาให ชดั เจน หากตองการใหสํานกั งาน ป.ป.ช. ปกปดช่ือ – สกุล และที่อยูใหระบุชัดเจนดวย สวนกรณี ทีไ่ มเ ปดเผยชอื่ – สกลุ จรงิ ถอื วา เปน บตั รสนเทห ใหสงแบบไปรษณียตอบรับ (เพ่ือจะไดรับทราบ วาหนังสือรอ งเรียนสงถงึ ป.ป.ช. แลว ) เพราะสาํ นักงาน ป.ป.ช. จะติดตอกับผูรองเรียนโดยตรงกับ ผูรอ งเรียนทแ่ี จงชอ่ื – สกุล และทอี่ ยเู ทาน้ัน 4. สายดวน Call Center 1205 5. สํานักงาน ป.ป.ช. ประจําจังหวัด มีอํานาจหนาท่ีในการสงเสริมการปองกันและ ปราบปรามการทุจรติ โดยประสานความรว มมือกบั ประชาชนและสวนราชการเพื่อเผยแพรความรู แกประชาชน การเสริมสรางทัศนคติและคานิยมในความซื่อสัตยสุจริต การสงเสริมใหประชาชน หรอื กลุมบุคคลทุกภาคสวนเขามามีสวนรวมในการปองกันและปราบปรามการทุจริตรวมทั้งการ เสนอมาตรการความเห็นหรอื ขอเสนอแนะตอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพ่ือประโยชนในการปองกัน และปราบปรามการทจุ ริต นอกจากนีก้ รรมการปอ งกันและปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัดยัง ไดแบงเบาภาระงานของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เชน การตรวจสอบขอเท็จจริงเพื่อเสนอ คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาตอ ไป การตรวจสอบความถูกตองและความมีอยูจริง รวมท้ังความ เปล่ียนแปลงของทรัพยสินและหนี้สินท่ีผูมีหนาท่ีย่ืนบัญชีไดย่ืนตอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ การดาํ เนินการดังกลาวคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเปนผูกําหนดหลักเกณฑและวิธีการใหกรรมการ ป.ป.ช. ประจําจงั หวดั ดาํ เนินการ อนงึ่ กรรมการ ป.ป.ช. ประจําจังหวัด มีหนาที่ย่ืนบัญชีแสดงรายการทรัพยสินและหน้ีสิน ตอคณะกรรมการ ป.ป.ช. และอาจถูกตรวจสอบโดยประชาชนได กลาวคือ ประชาชนผูมีสิทธิ เลอื กต้งั จาํ นวนไมน อ ยกวาหาพนั คนสามารถเขา ชอื่ รองเรียนตอคณะกรรมการ ป.ป.ช วากรรมการ ปองกนั และปราบปรามการทุจริตประจําจังหวัดผูใดขาดความเท่ียงธรรม จงใจฝาฝนรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมาย หรือมีพฤติการณท่ีเปนการเสื่อมเสียแกเกียรติศักดิ์ของการดํารงตําแหนงอยาง รายแรง ซ่ึงหากมีการกลาวหาดังกลาวแลว คณะกรรมการ ป.ป.ช. อาจกําหนดใหกรรมการ ป.ป.ช. ประจาํ จังหวดั ผูนั้นยุติการปฏิบตั ิหนาทไี่ วกอ นก็ได

114 ใบงาน 1. ใหผูเรยี นศกึ ษากรณีศกึ ษา 2. แบง กลุมอภปิ รายแสดงความคิดเหน็ ตามประเด็นที่กาํ หนดให 3. ใหผ สู อนและผูเรียนสรปุ แนวคดิ ที่ไดจากการอภิปรายกลมุ รว มกัน กิจกรรมการเรียนรูต อเนอ่ื ง ใหผูเรียนรวมกันจัดกิจกรรม/โครงการในการรณรงคการปองปราการทุจริตในชุมชน พรอมจัดทําสรุปรายงานเสนอผสู อน

115 กจิ กรรมทายบทท่ี 6 1. ขอ ใดไมใ ชภารกจิ หลกั ของสาํ นกั งาน ป.ป.ช. ก. ภารกจิ ดา นปองกันการทจุ รติ ข. ภารกิจดานปราบปรามการทจุ ริต ค. ภารกจิ ดา นประชาสมั พนั ธ ง. ภารกิจดานตรวจสอบทรพั ยสินและหนส้ี ิน 2. ขอ ใดเปนการทจุ รติ ตอ หนา ที่ของราชการ ก. การรบั สวยและการรีดไถของประชาชน ข. การรับสนิ บนของกาํ นัล ค. การซอื้ ขายวงิ่ เตน ขอตําแหนงในวงราชการ ง. ถกู ทุกขอ 3. ประชาชนสามารถเขามามีสว นรวม กบั สํานกั งาน ป.ป.ช. ในการปองกันและ ปราบปรามการทจุ รติ ไดอ ยางไร ก. เสนอความคิดเห็น ขอเสนอแนะ หรอื มาตรการปองกันและปราบปรามการทุจริต ข. รวมเปน เครอื ขายในการเฝา ระวงั การทจุ ริต ค. แจงเบาะแสการเลนพนันในหมูบาน ง. ถกู ท้ังขอ ก และ ข 4. ขอใดคือการสง เสริมการมีสว นรว มของประชาชนในการปองกนั และปราบปรามการ ทจุ รติ ในระดบั ชมุ ชน ก. สง เสรมิ สนบั สนุน สรา งบคุ คลตนแบบดา นการประพฤตดิ ี มีคณุ ธรรม จรยิ ธรรม ข. สงเสริมการดาํ รงชีวติ อยูอยางพอเพียง ค. กาํ หนดมาตรการปองกนั การทุจริตในชุมชน ง. ถกู ทกุ ขอ

116 5. ประชาชนสามารถเขา รว มตรวจสอบการดําเนนิ งานและเฝา ระวงั การทุจริตของรฐั ในเบอ้ื งตนไดอ ยางไร ก. กรณีจดั ซ้อื จัดจาง ควรตรวจสอบวสั ดุอุปกรณมคี ุณภาพตํ่ากวา มาตรฐานหรอื ราคาสงู กวามาตรฐานในทอ งตลาดหรอื ไม ข. กรณีการเงนิ การบญั ชี ควรตรวจสอบการซือ้ สินคา หรือส่ิงของทีม่ คี วามหรหู รา และ สวยงาม ค. กรณงี านกอสราง ตอ งจา งบรษิ ทั ทีม่ ชี อื่ เสียง มเี งินทุนหมนุ เวียนสูงและ กรรมการบรหิ ารตอ งเปน ผกู วา งขวาง ง. ถูกท้งั ขอ ก และ ข 6. ขอ ใดไมถกู ตอ ง “พบเห็นเจา หนา ทีร่ ฐั ทุจริตหรือร่ํารวยผดิ ปกติ สามารถรองเรียน ไดท ่ใี ด ก.ทาํ เปน หนงั สือสง ท่ีสํานักงาน ป.ป.ช. ข.รองเรียนผา นสายดวน 1025 ค.รองเรียนผา นเว็ปไซต สาํ นกั งาน ป.ป.ช. www.nacc.go.th ง. กลาวหาดว ยวาจาตอพนกั งานเจา หนา ที่ สํานกั งาน ป.ป.ช. 7. ขอใด มใิ ช รายละเอยี ดการรองเรียน ตาม พ.ร.บ.ประกอบรฐั ธรรมนูญวา ดวยการ ปอ งกันและปราบปรามการทุจรติ ก. ช่ือและทอ่ี ยขู องผูกลาวหา ข. ชื่อหรือตาํ แหนงของผถู กู กลาวหา ค. ช่อื และที่อยคู สู มรสของผถู กู กลา วหา ง. ขอ กลา วหาการกระทาํ ความผิด 8. ประชาชนควรมีความตระหนักท่ีเก่ยี วของกบั การปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต ดา นใดบาง ก. ดา นปญหาท่อี าจเกิดข้ึนจากการทุจริต ข. ความสาํ คญั ของการปฏบิ ัติตามระเบียบและขอ บังคับทเ่ี ก่ยี วของ ค. ดานผลกระทบของการทจุ รติ ทม่ี ีโอกาสเกิดข้นึ ในกิจกรรมการทาํ งาน ง. ถูกทุกขอ

117 9. นักศกึ ษาคดิ วาการกระทาํ ขอใด เปนการชวยแกไ ขปญหาการทุจริตของประเทศมาก ที่สดุ ก. ศึกษากฎหมายทเ่ี ก่ียวของกับการปองกันและปราบปรามการทจุ รติ ข. รวมตรวจสอบการปฏิบัตงิ านของเจาหนา ที่รัฐ และแจง ขอ มลู ใหหนว ยงานท่ี เก่ยี วของทราบ ค. ประพฤติ ปฏบิ ัตติ น ดวยความซอ่ื สัตยส ุจรติ และตดิ ตามวิเคราะหขาวสารการ ทจุ รติ จากส่อื ตางๆ ง. ถกู ทัง้ ขอ ก และ ค 10. ทานสามารถติดตามขอมูลของสํานกั งาน ป.ป.ช. ไดทางเวบไซตใด ก. www.nacc.go.th ข. www.pacc.go.th ค. www.ocsc.go.th ง. www.oncb.go.th

118 เฉลยกิจกรรมทา ยบท เฉลยกิจกรรมทายบทท่ี 1 เฉลยกจิ กรรมทา ยบทท่ี 2 1. ง 6. ข 2. ก 7. ข 1. ค 6. ค 3. ค 8. ก 2. ค 7. ข 4. ง 9. ง 3. ค 8. ก 5. ก 10. ก 4. ง 9. ข 5. ข 10. ก เฉลยกจิ กรรมทา ยบทท่ี 3 เฉลยกิจกรรมทา ยบทที่ 5 1. ก 6. ก 1. ค 6. ข 2. ง 7. ง 2. ง 7. ง 3. ง 8. ง 3. ก 8. ง 4. ค 9. ก 4. ค 9. ค 5. ข 10. ข 5. ง 10. ก

เฉลยกจิ กรรมทา ยบทที่ 4 119 1. นายสมศักด์ิ ดงี าม จะตองปฏบิ ัตติ น หรือดาํ รงชวี ิตอยา งไรจงึ จะถือวาเปนพลเมืองดีของ ประเทศที่มีการปกครองในระบอบประชาธปิ ไตยอนั มีพระมหากษัตรยิ ท รงเปน ประมขุ แนวตอบ ขอ 1 ตอ งมบี ทบาทหนา ที่และความรับผิดชอบตอ ตนเอง ขอ 2 ตองมีความรบั ผิดชอบตอ ครอบครวั ขอ 3 บทบาทหนา ท่ีและความรบั ผิดชอบตอสงั คมและประเทศชาตดิ านการ ประกอบอาชีพ เชน การเสยี ภาษี การใชจา ยอยา งประหยัด สนับสนุนการเมือง ไปออกเสียง เลอื กต้ัง เปน ตน 2. ใหยกตวั อยางหลกั การอยรู ว มกันในสงั คมอยา งสันตสิ ุข แนวตอบ ขอ 1 เคารพสทิ ธขิ องบุคคล ขอ 2 เคารพผอู าวโุ ส ขอ 3 สรา งจิตสาํ นึกทดี่ ใี หกับบคุ คลในครอบครัว เฉลยกิจกรรมทายบทที่ 6 ขอ 6. ข. ขอ 7. ค. ขอ 1. ค. ขอ 8. ง. ขอ 2. ง. ขอ 3. ง. ขอ 9. ง. ขอ 4. ง. ขอ 10. ก. ขอ 5. ง.

120 บรรณานุกรม เว็บไซต www.oknation.net เร่อื ง การทุจริตคอื อะไร สบื คนเม่ือวนั ที 19 มีนาคม 2556 การศาสนา, กรม. เอกสารเผยแพรเก่ียวกับองคการศาสนาตางๆ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ กรมการ ศาสนา, มปพ. การศึกษานอกโรงเรียน,กรม. ชุดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนตน. กรงุ เทพฯ : เอกพิมพไ ทย จํากัด, มปพ. ____________________ชุดวิชาพัฒนาสังคมและชุมชน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. กรงุ เทพฯ : เอกพมิ พไ ทย จํากดั , มปพ. จม่ืนอรดรุณารกั ษ (แจม สุนทรเวช). พระราชประเพณี (ตอน 3). กรุงเทพฯ : องคการการคา ของคุรสุ ภา, 2514. จกั ราวุธ คาํ ทวี. สันติ/สามัคค/ี ปรองดอง/คา นิยม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจดั กจิ กรรมเพือ่ นครู, 2557. (เอกสารอดั สาเนา). ชุลีพร สสุ ุวรรณ และสุทธิราภรณ บรสิ ทุ ธ์ิ. ความรูรอบตวั ขนบธรรมเนียมและประเพณีไทย. กรุงเทพฯ : โรงพมิ พทิพยสิทธ์,ิ 2544. เดือน คําดี.ศาสนาเบื้องตน. กรุงเทพฯ : ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวทิ ยาลัยเกษตรศาสตร, 2531. มหามกฎุ ราชวทิ ยาลัยในพระราชูปถัมภ. พระสูตรและอรรถกถาแปลงทุกขกนกิ ายชาดก เลม ที่ 3 ภาคที่ 4. กรงุ เทพฯ : โรงพมิ พมหามกุฎราชวทิ ยาลยั 2534. ทองสบื ศุภมารค . พระพุทธศาสนาในกัมพชู า. กรงุ เทพฯ : สภาวิจยั แหงชาติ, 2544. ประยูรศักด์ิ ชลายนเดชะ. มุสลิมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : อมรินทรพร้ินติ้งกรุฟ จํากัด, 2531. ____________________มสุ ลิมในประเทศไทย. คร้ังที่ 2 กรุงเทพฯ : โครงการหอสมุดกลาง อิสลาม, 2546 บรรเทิง พานจิตร. ประเพณี วัฒนธรรมไทยและคติความเช่ือ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร. 2549.

121 ราชกจิ จานเุ บกษา เลม ท่ี 127 ตอนท่ี 69 ก. ประกาศวนั ท่ี 12 พฤศจกิ ายน 2553. พระราชบัญญตั วิ ัฒนธรรมแหงชาติ พุทธศักราช 2553. วศิน อิสทสระ. พุทธโอวาทกอนปรินิพพาน. คร้ังที่ 4 กรุงเทพฯ : ศิลปะสยามบรรจุภัณฑ และ การพิมพ จาํ กัด, 2548. สมโพธิ ผลเตม็ (น.อ.) ปรัชญาคมคํากลอน 100 เร่ืองแรก. กรุงเทพฯ : ทรงสิริวรรณ จํากัด, 2545. สุชีพ ปญุ ญานภุ าพ. ศาสนาเปรียบเทยี บ. กรงุ เทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคําแหง, 2534. สาํ นักงานคณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทจุ รติ แหงชาติ (ป.ป.ช.),สาํ นักกฎหมาย รวมกฎหมาย ระเบียบ ประกาศ ท่ีเกย่ี วของกบั การปอ งกนั และปราบปรามการทจุ ริต , 2555. _______. “ยุทธศาสตรช าติวา ดวยการปองกนั และปราบปรามการทุจริต”. สาํ นกั งาน คณะกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาต.ิ _______. กรอบเนื้อหาสาระ เร่ือง การมีสวนรวมของประชาชนในการปองกันและ ปราบปราม การทจุ ริต, 2556. เอกสารอัดสําเนา คณะกรรมการปอ งกนั และปราบปรามการทุจรติ แหง ชาติ (ป.ป.ช.),สํานกั งาน รวมพลังเดินหนาฝาวกิ ฤตคอรรัปชัน, เอกสารประชาสัมพันธ มปป. _______. โครงการเสริมสรางเครือขายประชาชนในการพิทักษสาธารณสมบัติ, 2553 (เอกสารอดั สาํ เนา) เวบ็ ไซต http://www.k-tc.co.th/festival.php สืบคนเม่ือวนั ท่ี 2 มีนาคม 2553. เวบ็ ไซต http://www.larnbuddhism.com/grammathan/promvihan.html เรื่อง “พรหมวหิ าร 4” สืบคน เมือ่ วนั ที่ 2 มนี าคม 2553. เว็บไซต http://www.th.wikipedia.org/wiki เรื่อง “ประวัติพุทธศาสนา” จากวิกิพีเดีย สารานกุ รม เสรี สบื คน เมอ่ื วนั ท่ี 3 มีนาคม 2553 เว็บไซต http://www.wlc2chaina.com/about_china.html บทความเร่ืองประเพณี วัฒนธรรมจีน สบื คนเม่ือวันที่ 3 มนี าคม 2553.

122 เวบ็ ไซต http://www.e-learning.mfu.ac.th/mflu/16041010/chapter1/Lesson1.htm#13 รวมบทความของพงศเ พญ็ ศกนุ ตาภัย. เรอื่ งรัฐธรรมนูญและการปกครอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพจ ฬุ าลงกรณมหาวทิ ยาลยั , 2534. สืบคนเม่อื วนั ท่ี 3 มนี าคม 2553 เว็บไซต http://www.riis3.royin.go.th/dictionary.asp สืบคนเม่ือวันที่ 11 กุมภาพันธ 2553. เว็บไซต http://www.gotoknow.org/blog/works-of-archannop/51974 บทความของ นายนพนิธิ สุริยะ เรื่อง “วิวัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย ตอนท่ี 2” สืบคน เมอื่ วนั ที่ 3 มีนาคม 2553. เว็บไซต http://www.kittibodee.blogspot.com/2009/02/blog-post-20.html. โดย กิติตบดี ไยพลู . 2552. บทความเร่อื ง “สิทธิมนษุ ยชน : การบรรยายสรุปวิชาสิทธิขั้น พื้นฐาน” สืบคน เมือ่ วนั ที่ 3 มนี าคม 2553 เวป็ ไซต http://jukravuth.blogspot.com/ บทความเร่ือง “ความเคล่ือนไหวทางการจัด การศึกษาของ ศธ.กบั คสช. ที่นา รู. สืบคน เม่ือวันท่ี 26 สิงหาคม 2557 เว็ปไซต http://www.slideshare.net/jukravuth เรือ่ ง “สนั ติ/สามัคคี/ปรองดอง/คานิยม 12 ประการ ของ คสช. : เน้ือหาชวยสอน และจัดกจิ กรรมเพอื่ นครู” สืบคน เมื่อ วนั ที่ 26 สงิ หาคม 2557 เวป็ ไซต www.rlpd.go.th/rlpdnew/images/rlpd_/HRC/Chr.pdf ชุดความรสู ทิ ธมิ นุษยชน สทิ ธแิ ละเสรีภาพตามรฐั ธรรมนญู สนธสิ ญั ญาหลกั ระหวา งประทศดา นสิทธิมนษุ ยชนที่ กรมคุมครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม สืบคนเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559 เว็ปไซต http://th.wikipedia.org/wiki/เรอ่ื งรฐั ประหารในประเทศไทย พ.ศ.2557 สืบคน เมอ่ื วันท่ี 17 พฤษภาคม 2559

123 คณะผูจัดทาํ ทปี่ รกึ ษา เลขาธิการ กศน. นายสุรพงษ จาํ จด รองเลขาธกิ าร กศน. นายประเสริฐ หอมดี ผอู าํ นวยการกลุมพัฒนาการศึกษานอกระบบ นางตรนี ุช สขุ สเุ ดช และการศึกษาตามอัธยาศัย ผูอ าํ นวยการ สถาบัน กศน. ภาคกลาง นายวมิ ล ชาญชนบท รองผูอ ํานวยการ สถาบนั กศน. ภาคกลาง ด.ต.ชาติวุฒิ เพ็ชรนอย ผสู รปุ เนื้อหา ผอู าํ นวยการ กศน.อาํ เภอเมอื งเพชรบุรี นางละเอยี ด สะอาดเอี่ยม ครู สถาบัน กศน.ภาคกลาง นางพรทิพย เอ้อื ประเสริฐ ครู กศน.อําเภอเมอื งเพชรบุรี นางนงนาฏ วิเชียรวฒุ ิชัย ครู กศน.อาํ เภอเมืองเพชรบุรี นางสาวกญั ญาภคั ประสานสารกจิ ครู สถาบัน กศน.ภาคกลาง นางสาวปยะพร ทองสุข ผตู รวจและบรรณาธกิ าร ผอู าํ นวยการสํานักงาน กศน.จงั หวัดราชบุรี นางสาวดารตั น กาญจนาภา ครู กศน.อาํ เภอโพธาราม นายสันติ อิศรพันธุ ครู กศน.อําเภอปากทอ นางฟาหมน รัตนฉายา ครู กศน.อําเภอดําเนินสะดวก นางสาวจติ รา ถนั อาบ ครู กศน.อาํ เภอเมืองราชบุรี นางสาวอัญชลี ภวู พานชิ ผพู มิ พต น ฉบบั ครู สถาบัน กศน.ภาคกลาง นางสาวปยะพร ทองสขุ ผอู อกแบบปก กลุม พฒั นาการศกึ ษานอกระบบ นายศภุ โชค ศรีรัตนศิลป และการศกึ ษาตามอัธยาศัย

124


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook