สังคมศึกษา นางสาวศิริพร ปรักมาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 เลขที่ 19 กลุ่มสาระวิชาสังคมศึกษา
ประชาธิปไตยในพระพุทธศาสนา 1. พระพุทธศาสนามีพระธรรมวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุด พระธรรม คือ คำสอนที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระวินัยคือ คำสั่งอันเป็นข้อปฏิบัติที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติขึ้นเมื่อรวมกัน เรียกว่า พระธรรมวินัย ซึ่งมีความสำคัญขนาดที่ พระพุทธเจ้าทรงมอบให้เป็นพระศาสดาแทนพระองค์ ก่อนที่พระองค์จะปรินิพพาน เพียงเล็กน้อย 2. มีการกำหนดลักษณะของศาสนาไว้เรียบร้อย ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ลักษณะของพระพุทธศาสนาคือสายกลาง ไม่ซ้ายสุด ไม่ขวาสุด ทางสายกลางนี้ เป็นครรลอง อาจปฏิบัติค่อนข้างเคร่งครัดก็ได้ โดยใช้สิทธิในการแสวงหาอดิเรก ลาภตามที่ทรงอนุญาตไว้ ในสมัยต่อมา เรียกแนวกลางๆ ของพระพุทธศาสนาว่า วิภัชชวาที คือศาสนาที่กล่าวจำแนกแจกแจง ตามความเป็นจริงบางอย่างกล่าว ยืนยันโดยส่วนเดียวได้ บางอย่างกล่าวจำแนกแจกแจงเป็นกรณี ๆ ไป 3. พระพุทธศาสนา มีความเสมอภาคภายใต้พระธรรมวินัย บุคคลที่เป็นวรรณะ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทรมาแต่เดิม รวมทั้งคนวรรณะต่ำกว่านั้น เช่นพวก จัณฑาล พวกปุกกุสะคนเก็บขยะ และพวกทาส เมื่อเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธ ศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว มีความเท่าเทียมกัน คือปฏิบัติตามสิกขาบทเท่ากัน และ เคารพกันตามลำดับอาวุโส คือผู้อุปสมบทภายหลังเคารพผู้อุปสมบทก่อน 4. พระภิกษุในพระพุทธศาสนา มีสิทธิ เสรีภาพภายใต้พระธรรมวินัย เช่นในฐานะ ภิกษุเจ้าถิ่น จะมีสิทธิได้รับของแจกก่อนภิกษุอาคันตุกะ ภิกษุที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน มีสิทธิได้รับของแจกตามลำดับพรรษา มีสิทธิรับกฐิน และได้รับอานิสงส์กฐินใน การแสวงหาจีวรตลอด 4 เดือนฤดูหนาวเท่าเทียมกัน นอกจากนั้นยังมีเสรีภาพที่จะ เดินทางไปไหนมาไหนได้ จะอยู่จำพรรษาวัดใดก็ได้เลือกปฏิบัติกรรมฐานข้อใด ถือธุดงควัตรข้อใดก็ได้ทั้งสิ้นฃ
5. มีการแบ่งอำนาจ พระเถระผู้ใหญ่ทำหน้าที่บริหารปกครองหมู่คณะ การบัญญัติ พระวินัย พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง เช่นมีภิกษุผู้ทำผิดมาสอบสวนแล้วจึงทรง บัญญัติพระวินัย ส่วนการตัดสินคดีตามพระวินัยทรงบัญญัติแล้วเป็นหน้าที่ของพระ วินัยธรรมซึ่งเท่ากับศาล 6. พระพุทธศาสนามีหลักเสียงข้างมาก คือ ใช้เสียงข้างมาก เป็นเกณฑ์ตัดสิน เรียก ว่า วิธีเยภุยยสิกา การตัดสินโดยใช้เสียงข้างมาก ฝ่ายใดได้รับเสียงข้างมาก สนับสนุน ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี ☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺ หลักประชาธิปไตยในการที่พระพุทธเจ้าทรงมอบความเป็นใหญ่แก่สงฆ์ 1 จำนวนสงฆ์อย่างต่ำที่เข้าประชุม การกำหนดจำนวนสงฆ์ผู้เข้าประชุม อย่างต่ำว่าจะทำสังฆกรรมอย่างใดได้บ้าง ☺1.1 ภิกษุ 4 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้เกือบ ทุกชนิด เว้นแต่ การอุปสมบทหรือการบวชพระ การปวารณาหรือ พิธีกรรมในวัน ออกพรรษาที่ทรงอนุญาตให้ว่ากล่าวตักเตือนกันและกัน และการสวดอัพภาน หรือ การเพิกถอนอาบัติหนักของภิกษุบางรูป ☺1.2 ภิกษุ 5 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ จตุรวรรค ทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการปวารณา การอุปสมบทในชนบทชายแดน ได้อีกด้วย ☺1.3 ภิกษุ 10 รูป เข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค สามารถทำสังฆกรรมที่สงฆ์ ปัญจวรรคทำได้ทั้งหมด และยังเพิ่มการอุปสมบทในมัชฌิชนบท คือ ในภาคกลาง ของอินเดียได้อีกด้วย ☺1.4 ภิกษุ 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ทุก ชนิด รวมทั้งสวดอัพภาน เพิกถอนอาบัติหนักด้วย ☺1.5 ภิกษุกว่า 20 รูปเข้าประชุม เรียกว่า อติเรกวีสติวรรค สามารถทำสังฆกรรมได้ ทุกชนิด สำหรับประเพณีไทย นิยมนิมนต์ภิกษุเข้าประชุมให้เกินจำนวนอย่างต่ำ ของการทำสังฆกรรมนั้นๆ เสมอ เพื่อให้ถูกต้องอย่างไม่มีโอกาสผิดพลาดในเรื่อง จำนวนสงฆ์ 2 สถานที่ประชุมของสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรม เรียกว่า สีมา แปลว่า เขตแดน สีมา หมายถึงพื้นดิน ไม่ใช่อาคาร อาคารจะสร้างเป็นรูปทรงอย่างไรหรือ
ไม่มีอาคารเลยก็ได้ สีมามี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ พัทธสีมา สีมาที่ผูกแล้ว และอ พัทธสีมา สีมาที่ไม่ต้องผูก พัทธสีมามีหลายชนิด
3 การประกาศเรื่องที่ประชุม และการประกาศขอความเห็นชอบ สงฆ์จะ ประชุมกันทำสังฆกรรมเรื่องอะไรก็ตาม จะต้องมีการประกาศเรื่องนั้นให้สงฆ์ทราบ ผู้ประกาศมีรูปเดียวหรือ 2 รูป ก็ได้ เรียกว่า พระคู่สวดหรือพระกรรมวาจาจารย์ เมื่อประกาศให้ทราบแล้ว ยังมีการประกาศขอความเห็นชอบจากสงฆ์อีก ถ้าเป็น เรื่องไม่สำคัญนัก มีการประกาศให้ทราบ 1 ครั้ง และประกาศขอความเห็นชอบ อีก 1 ครั้งเรียกว่า ญัตติทุติยกรรม 4 สิทธิของภิกษุผู้เข้าประชุม ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุมทำสังฆกรรมทุกรูป มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในทางเห็นด้วยและในทางคัดค้าน ตามปกติเมื่อภิกษุ ผู้ประกาศ หรือพระคู่สวดถามความคิดเห็นของที่ประชุม ถ้าเห็นด้วย ให้ใช้วิธีนิ่ง ถ้าไม่เห็นด้วยให้คัดค้านขึ้น จะต้องมีการทำความเข้าใจกันจนกว่าจะยอมเห็นด้วย ถ้าภิกษุผู้คัดค้าน ยังคงยืนกรานไม่เห็นด้วย การทำสังฆกรรมนั้นๆ เช่น การ อุปสมบท หรือการมอบผ้ากฐินย่อมไม่สมบูรณ์ จึงเห็นได้ว่า มติของที่ประชุมต้อง เป็นเอกฉันท์คือเห็นพร้อมกันทุกรูป 5 มติที่ประชุม การทำสังฆกรรมทั้งหมด มติของที่ประชุมต้องเป็น เอกฉันท์ คือเป็นที่ยอมรับของภิกษุทุกรูป ทั้งนี้เพราะในสังฆมณฑลนั้น ภิกษุทั้ง หลายต้องอยู่ร่วมกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน กล่าวคือมีศีลและมีความเห็นเหมือน ๆ กัน จึงจะมีความสามัคคี สืบต่อพระพุทธศาสนาได้อย่างถาวร แต่ในบางกรณี เมื่อภิกษุมีความเห็นแตกต่างกันเป็นสองฝ่ายและมีจำนวนมากด้วยกันต้องหาวิธี ระงับโดยวิธีจับฉลาก หรือการลงคะแนนเพื่อดูว่าฝ่ายไหนได้เสียงข้างมาก ก็ตัดสิน ไปตามเสียงข้างมากนั้น วิธีนี้เรียกว่า เยภุยยสิกา การถือเสียงข้างมากเป็น ประมาณ ตามหลักประชาธิปไตยทั่วไป ซึ่งแสดงว่า มติที่ประชุมไม่ได้ใช้มติ เอกฉันท์เสมอไป
หลักการพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์ หลักการของพระพุทธศาสนากับหลักการของวิทยาศาสตร์มีทั้งส่วนที่ สอดคล้อง และส่วนที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ ความสอดคล้องกันของหลักการ ของพระพุทธศาสนากับหลักการวิทยาศาสตร์ 1. ในด้านความเชื่อ หลักการวิทยาศาสตร์ ถือหลักว่า จะเชื่ออะไรนั้นจะ ต้องมีการพิสูจน์ให้เห็นจริงได้เสียก่อน วิทยาศาสตร์เชื่อในเหตุผล ไม่เชื่ออะไรลอย ๆ และต้องมีหลักฐานมายืนยัน วิทยาศาสตร์ไม่อาศัยศรัทธาแต่อาศัยเหตุผล เชื่อ การทดลองว่าให้ความจริงแก่เราได้ แต่ไม่เชื่อการดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะทุกอย่างดำเนินอย่างมีกฎเกณฑ์ มีเหตุผล และวิทยาศาสตร์อาศัยปัญญา และเหตุผลเป็นตัวตัดสินความจริง วิทยาศาสตร์มีความเชื่อว่า สรรพสิ่งในจักรวาล ล้วนดำเนินไปอย่างมีเหตุผล มีความเป็นระเบียบและมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน หลักการทางพระพุทธศาสนา มีหลักความเชื่อเช่นเดียวกับหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้ สอนให้มนุษย์เชื่อและศรัทธาอย่างงมงายในอิทธิปาฏิหาริย์ และอาเทศนา ปาฏิหาริย์ แต่สอนให้ศรัทธาในอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ที่จะก่อให้เกิดปัญญาในการ แก้ทุกข์แก้ปัญหาชีวิต ไม่สอนให้เชื่อให้ศรัทธาในสิ่งที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ สอนให้มนุษย์นำเอาหลักศรัทธาโยงไปหาการพิสูจน์ ด้วยประสบการณ์ ด้วยปัญญา และด้วยการปฏิบัติ ดังหลักของความเชื่อใน “กา ลามสูตร” คืออย่าเชื่อ เพียงเพราะให้ฟังตามกันมา อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้เรียน ตามกันมา ของตน อย่าเชื่อ เพียงเพราะได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ของเรา อย่าเชื่อ เพียงเพราะเสียงเล่าลือ อย่าเชื่อ เพียงเพราะอ้างตำรา อย่าเชื่อ เพียงเพราะตรรกะ หรือนึกคิดเอาเอง อย่าเชื่อ เพียงเพราะอนุมานหรือคาดคะเนเอา อย่าเชื่อ เพียงเพราะคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าเชื่อ เพียงเพราะตรงกับทฤษฎีของตนหรือความเห็น อย่าเชื่อ เพียงเพราะรูปลักษณะน่าเชื่อ อย่าเชื่อ เพียงเพราะท่านเป็นสมณะหรือเป็นครูอาจารย์
2. ในด้านความรู้ ทั้งหลักการทางวิทยาศาสตร์และหลักการของ พระพุทธศาสนา ยอมรับความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ หมายถึง การที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้ประสบกับความรู้สึกนึกคิด เช่น รู้สึกดีใจ รู้สึกอยากได้ เป็นต้น วิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากประสบการณ์คือ จากการที่ได้พบเห็นสิ่งต่าง ๆ แล้วเกิด ความอยากรู้อยากเห็นก็แสวงหาคำอธิบาย วิทยาศาสตร์ไม่เชื่อหรือยึดถืออะไร ล่วงหน้าอย่างตายตัว แต่จะอาศัยการทดสอบด้วยประสบการณ์สืบสาวไปเรื่อย หลักการพระพุทธศาสนาและหลักการทางวิทยาศาสตร์มีส่วนที่ต่างกันในเรื่องนี้คือ วิทยาศาสตร์เน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ด้านประสาท สัมผัส (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) ส่วนพระพุทธศาสนาเน้นความสนใจกับปัญหาที่เกิด ทางจิตใจ หลักการทางพระพุทธศาสนามีส่วนคล้ายคลึงกับหลักการทาง วิทยาศาสตร์ในหลายประการ เช่น ในขณะที่มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งมุ่ง แสวงหาความจริงของธรรมชาติที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์
“วิทยาศาสตร์นำเอาความรู้จากกฎธรรมชาติ โดยสอนให้มนุษย์รู้จักใช้ เทคโนโลยี เพื่อควบคุมธรรมชาติ ส่วนปรัชญาพุทธสอนให้มนุษย์นำสัจธรรมมาส ร้างจริยธรรมเพื่อดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ สอนให้มนุษย์ใช้ปัญญา ในการแก้ปัญหาชีวิตและพัฒนาคุณภาพชีวิต”
ความแตกต่างของหลักการพระพุทธศาสนากับหลักการ ทางวิทยาศาสตร์ 1. มุ่งเข้าใจปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหลักการทางวิทยาศาสตร์ มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ต้องการรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุ อะไรเป็นผลที่ ตามมา เช่น เมื่อเกิดฟ้าผ่า ต้องรู้อะไรคือสาเหตุของฟ้าผ่า และผลที่ตามมาหลัง จากฟ้าผ่าแล้วจะเป็นอย่างไร หลักการพระพุทธศาสนาก็มุ่งเข้าใจปรากฏการณ์ ต่าง ๆ เช่นเดียวกัน แต่ต่างตรงที่ พระพุทธศาสนาเน้นเป็นพิเศษเกี่ยวกับวิถีชีวิต ของมนุษย์มากกว่ากฎเกี่ยวกับสิ่งที่ไร้ชีวิต จุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนา คือ สอนให้คนเป็นคนดีขึ้น พัฒนาขึ้น สมบูรณ์ขึ้น 2. ต้องการเรียนรู้กฎธรรมชาติ หลักการทางวิทยาศาสตร์ต้องการ เรียนรู้กฎธรรมชาติและหาทางควบคุมธรรมชาติ หรือเอาชนะธรรมชาติ พูดอีก อย่างหนึ่งก็คือ วิทยาศาสตร์เน้นการควบคุมธรรมชาติภายนอกมุ่งแก้ปัญหา ภายนอก หลักการพระพุทธศาสนาเป็นการทดสอบความรู้สึกทุกข์ หรือไม่เป็นทุกข์ ซึ่ง เป็นสิ่งที่ประจักษ์ชัดในจิตใจเฉพาะตน ไม่สามารถตีแผ่ให้สาธารณชนประจักษ์ ด้วยสายตา แต่พิสูจน์ทดลองได้ด้วยความรู้สึกในจิตใจ 3. ยอมรับโลกแห่งสสาร ธรรมชาติและสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่จริง รวมทั้งปรากฏการณ์และความเป็นจริงตามภาวะวิสัยด้วย ซึ่งสรรพสิ่งเหล่านี้มีอยู่ ต่างหากจากตัวเรา เป็นอิสระจากตัวเรา และเป็นสิ่งที่สะท้อนขึ้นในจิตสำนึกของคน เราเมื่อได้สัมผัสมัน อันทำให้ได้รับรู้ถึงความมีอยู่ของสิ่งนั้น ๆ กล่าวโดยทั่วไปแล้ว สสารมีคุณลักษณะ 3 ประการคือ 1) เคลื่อนไหวอยู่เสมอ 2) เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 3) การเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอย่างส่งเดช แต่หากเป็นการ เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างมี กฎเกณฑ์ที่เรียกกันว่า กฎแห่งธรรมชาติ
วิทยาศาสตร์ยอมรับโลกแห่งสสารซึ่งเทียบได้กับ “รูปธรรม” ในความหมายของ พระพุทธศาสนา อันหมายถึงสิ่งที่มีอยู่จริงทางภาววิสัย ที่อวัยวะสัมผัสของมนุษย์ สัมผัสได้ วิทยาศาสตร์มุ่งศึกษาด้านสสารและพลังงาน ยอมรับโลกแห่งสสาร ที่รับ รู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ว่ามีจริง 4. มุ่งความจริงมาตีแผ่ วิทยาศาสตร์นั้นแสวงหาความรู้จากธรรมชาติ และจากกฎธรรมชาติที่มีอยู่ภายนอกตัวมนุษย์ (มุ่งเน้นทางวัตถุหรือสสาร) ไม่ได้ สนใจเรื่องศีลธรรม เรื่องความดีความชั่ว สนใจเพียงค้นคว้าเอาความจริงมาตีแผ่ ให้ประจักษ์เพียงด้านเดียว เช่น วิทยาศาสตร์พบเรื่องการระเบิด แต่ควรระเบิด อะไร ไม่ควรระเบิดอะไร ไม่อยู่ในขอบข่ายของวิทยาศาสตร์ การค้นพบทาง วิทยาศาสตร์จึงมีทั้งคุณอนันต์และมีโทษมหันต์ กระบวนการผลิตทางวิทยาศาสตร์ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม คำสอนทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่องศีล ธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มีความสุข เป็นลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงความ สงบสุข อันสูงสุดคือนิพพาน ฉะนั้นกระบวนการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจึงส่ง เสริมให้มนุษย์อนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คำสอนทางพระพุทธศาสนานั้น เน้นเรื่องศีลธรรม ความดีความชั่ว มุ่งให้มนุษย์มี ความสุข เป็นลำดับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนถึงความ สงบสุข อันสูงสุดคือนิพพาน ฉะนั้นกระบวนการปฏิบัติธรรมในพุทธศาสนาจึงส่ง เสริมให้มนุษย์อนุรักษ์ธรรมชาติ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนากับการคิดแบบ วิทยาศาสตร์ การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา การคิดตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา เป็นการ ศึกษาถึงวิธีการแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา ที่เรียกว่า วิธีการแก้ปัญหาแบบ อริยสัจ มีดังนี้คือ 1. ขั้นกำหนดรู้ทุกข์ การกำหนดรู้ทุกข์หรือการกำหนดปัญหาว่าคือ อะไร มีขอบเขตของปัญหาแค่ไหน หน้าที่ที่ควรทำในขั้นแรกคือให้เผชิญหน้ากับ ปัญหา แล้วกำหนดรู้สภาพและขอบเขตของปัญหานั้นให้ได้ ข้อสำคัญคือ อย่าหลบ ปัญหาหรือคิดว่าปัญหาจะหมดไปเองโดยที่เราไม่ต้องทำอะไร 2. ขั้นสืบสาวสมุทัย ได้แก่เหตุของทุกข์หรือสาเหตุของปัญหา แล้ว กำจัดให้หมดไป ขั้นนี้เหมือนกับหมอวินิจฉัยสมุฏฐานของโรคก่อนลงมือรักษา ตัวอย่างสาเหตุของปัญหาที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้คือ ตัณหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา 3. ขั้นนิโรธ ได้แก่ความดับทุกข์ หรือสภาพที่ไร้ปัญหา ซึ่งทำให้ สำเร็จเป็นจริงขึ้นมา ในขั้นนี้ต้องตั้งสมมติฐานว่าสภาพไร้ปัญหานั้นคืออะไร เข้าถึง ได้หรือไม่ โดยวิธีใด เหมือกับการที่หมอต้องคาดว่าโรคนี้รักษาให้หายขาดได้หรือ ไม่ ใช้เวลารักษานานเท่าไร 4. ขั้นเจริญมรรค ได้แก่ ทางดับทุกข์ หรือวิธีแก้ปัญหา ซึ่งเรา มีหน้าที่ลงมือทำ เหมือนกับที่หมอลงมือรักษาคนไข้ด้วยวิธีการและขั้นตอนที่เหมาะ ควรแก่การรักษาโรคนั้น ขั้นนี้อาจแบ่งออกเป็น 3 ขั้นย่อยคือ 4.1 มรรคขั้นที่ 1 เป็นการแสวงหาและทดลองใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อค้นหาวิธีการที่ เหมาะสมที่สุด 4.2 มรรคขั้นที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ผลการสังเกตและทดลองที่ได้ปฏิบัติมาแล้ว เลือกเฉพาะวิธีการที่เหมาะสม
4.3 มรรคขั้นที่ 3 เป็นการสรุปผลของการสังเกตและทดลอง เพื่อให้ได้ความจริง เกี่ยวกับเรื่องนั้น ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าได้ข้อสรุปว่า ทางสายกลางที่ไม่ตึงเกินไป หรือไม่หย่อนเกิน เป็นทางดับทุกข์ ทางนี้เป็นวิถีแห่งปัญญาที่เริ่มต้นด้วยสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) สรุปก็คือมรรคมีองค์ 8 นั่นเองแนวคิดแบบวิทยาศาสตร์
แนวคิดแบบวิทยาศาสตร์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้น ตอนดังนี้ (พระราชวรมุนี. 2540 : 40-43) 1. การกำหนดปัญหาให้ถูกต้อง ในขั้นนี้นักวิทยาศาสตร์กำหนด ขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจนว่า ปัญหาอยู่ตรงไหน ปัญหานั้นน่าจะมีสาเหตุมาจาก อะไร 2. การตั้งสมมติฐาน นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลเท่าที่มีอยู่ในขณะ นั้นเป็นฐานในการตั้งสมมติฐานเพื่อใช้อธิบายถึงสาเหตุของปัญหาและเสนอคำ ตอบหรือทางออกสำหรับปัญหานั้น 3. การสังเกตและการทดลอง เป็นขั้นตอนสำคัญที่สุดของการ ศึกษาหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ การสังเกตเป็นการรวบรวมข้อมูลมาเป็น เครื่องมือสนับสนุนทฤษฎีที่อธิบายปรากฏการณ์ 4. การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและทดลองมี จำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์ต้องพิจารณาแยกแยะข้อมูลเหล่านั้นพร้อมจัดระเบียบ ข้อมูลเข้าเป็นหมวดหมู่และหาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่าง ๆ 5. การสรุปผล ในการสรุปผลของการศึกษาค้นคว้านัก วิทยาศาสตร์อาจใช้ภาษาธรรมดาเขียนกฎหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์ออกมา บางครั้งนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องสรุปผลด้วยคณิตศาสตร์
พระพุทธศาสนาเป็นศาสตร์แห่งการศึกษา ความหมายของคำว่าการศึกษา คำว่า “การศึกษา” มาจากคำว่า “สิกขา” โดยทั่วไปหมาย ถึง “กระบวนการเรียน “ “การฝึกอบรม” “การค้นคว้า” “การ พัฒนาการ” และ “การรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง” จะเห็นได้ว่า การศึกษาใน พระพุทธศาสนามีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับต่ำสุดถึงระดับสูงสุด เมื่อแบ่งระดับอย่าง กว้าง ๆ มี 2 ประการคือ 1. การศึกษาระดับโลกิยะ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตในทาง โลก 2. การศึกษาระดับโลกุตระ มีความมุ่งหมายเพื่อดำรงชีวิตเหนือ กระแสโลก ดังนั้นหลักในการศึกษาของพระพุทธศาสนา นั้นจะมี ลำดับขั้นตอน การศึกษา โดยเริ่มจาก สีลสิกขา ต่อด้วย จิตตสิกขาและขั้นตอนสุดท้ายคือ ปัญญาสิกขา ซึ่งขั้นตอนการศึกษาทั้ง 3 นี้ รวมเรียกว่า \"ไตรสิกขา\" ซึ่งมีความ หมายดังนี้ 1. สีลสิกขา การฝึกศึกษาในด้านความประพฤติทางกาย วาจา และ อาชีพ ให้มีชีวิตสุจริตและเกื้อกูล 2. จิตตสิกขา การฝึกศึกษาด้านสมาธิ หรือพัฒนาจิตใจให้เจริญได้ที่ 3. ปัญญาสิกขา การฝึกศึกษาในปัญญาสูงขึ้นไป ให้รู้คิดเข้าใจมอง เห็นตามเป็นจริง
พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย และวิธีการแก้ปัญหา พระพุทธศาสนาเน้นความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย หลักของเหตุปัจจัย หรือหลักความเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งเป็นหลักของ เหตุปัจจัยที่อิงอาศัยซึ่งกันและกัน ที่เรียกว่า \"กฎปฏิจจสมุปบาท\" ซึ่งมีสาระโดยย่อ ดังนี้ \"เมื่ออันนี้มี อันนี้จึงมี เมื่ออันนี้ไม่มี อันนี้ก็ไม่มี เพราะอันนี้เกิด อันนี้จึงเกิด เพราะอัน นี้ดับ อันนี้จึงดับ\"นี่เป็นหลักความจริงพื้นฐาน ว่าสิ่งหนึ่งสิ่งใดจะเกิดขึ้นมาลอย ๆ ไม่ได้ หรือในชีวิตประจำวันของเรา \"ปัญหา\"ที่เกิดขึ้นกับตัวเราจะเป็นปัญหาลอย ๆ ไม่ได้ จะต้องมีเหตุปัจจัยหลายเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาขึ้นมา หากเราต้องการแก้ไข ปัญหาก็ต้องอาศัยเหตุปัจจัยในการแก้ไขหลายเหตุปัจจัย ไม่ใช่มีเพียงปัจจัยเดียว หรือมีเพียงหนทางเดียวในการแก้ไขปัญหา เป็นต้น คำว่า \"เหตุปัจจัย\" พุทธศาสนาถือว่า สิ่งที่ทำให้ผลเกิดขึ้นไม่ใช่เหตุ อย่างเดียว ต้องมีปัจจัยต่าง ๆ ด้วยเมื่อมีปัจจัยหลายปัจจัยผลก็เกิดขึ้น ตัวอย่าง เช่น เราปลูกมะม่วง ต้นมะม่วงงอกงามขึ้นมาต้นมะม่วงถือว่าเป็นผลที่เกิดขึ้น ดัง นั้นต้นมะม่วงจะเกิดขึ้นเป็นต้นที่สมบูรณ์ได้ต้องอาศัยเหตุปัจจัยหลายปัจจัยที่ก่อให้ เกิดเป็นต้นมะม่วงได้ เหตุปัจจัยเหล่านั้นได้แก่ เมล็ดมะม่วง ดิน น้ำ ออกซิเจน แสงแดด อุณหภูมิที่พอเหมาะ ปุ๋ย เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้พรั่งพร้อมจึงก่อให้เกิดต้น มะม่วง ตัวอย่างความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย เช่น ปัญหาการมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนต่ำ ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการเรียนของนักเรียน มีเหตุปัจจัยหลายเหตุปัจจัยที่ ก่อให้เกิดการเรียนอ่อน เช่น ปัจจัยจากครูผู้สอน ปัจจัยจากหลักสูตรปัจจัยจาก กระบวนการเรียนการสอนปัจจัยจากการวัดผลประเมินผล ปัจจัยจากตัวของ นักเรียนเอง เป็นต้น ความสัมพันธ์ของเหตุปัจจัย หรือหลักปฏิจจสมุปบาท แสดงให้เห็นอาการของสิ่ง ทั้งหลายสัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุปัจจัยต่อกันอย่างเป็นกระแส ในภาวะที่เป็นก ระแสนี้ ขยายความหมายออกไปให้เห็นแง่ต่าง ๆ ได้คือ
- สิ่งทั้งหลายมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องอาศัยเป็นปัจจัยแก่กัน - สิ่งทั้งหลายมีอยู่โดยความสัมพันธ์กัน - สิ่งทั้งหลายมีอยู่ด้วยอาศัยปัจจัย - สิ่งทั้งหลายไม่มีความคงที่อยู่อย่างเดิมแม้แต่ขณะเดียว (มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ไม่อยู่นิ่ง) - สิ่งทั้งหลายไม่มีอยู่โดยตัวของมันเอง คือ ไม่มีตัวตนที่แท้จริงของ มัน - สิ่งทั้งหลายไม่มีมูลการณ์ หรือต้นกำเนิดเดิมสุด แต่มีความ สัมพันธ์แบบวัฏจักร หมุนวนจนไม่ทราบว่าอะไรเป็นต้นกำเนิดที่แท้จริง วิธีแก้ปัญหาตามแนวพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาเน้นการแก้ปัญหาด้วยการกระทำของมนุษย์ตาม หลักของเหตุผล ไม่หวังการอ้อนวอนจากปัจจัยภายนอก เช่น เทพเจ้า รุกขเทวดา ภูตผีปีศาจ เป็นต้น จะเห็นได้จากตัวอย่างคำสอนในคาถาธรรมบท แปลความว่า มนุษย์ทั้งหลายถูกภัยคุกคามแล้ว พากันถึงเจ้าป่าเจ้าเขา เจ้าภูผา ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่พึ่งแต่สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่สรณะอันเกษม เมื่อยึดเอาสิ่งเหล่านั้นเป็นสรณะ (ที่พึ่ง) ย่อมไม่สามารถหลุดพันจากความทุกข์ทั้ง ปวง…แต่ชนเหล่าใดมาถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ รู้เข้าใจ อริยสัจ 4 เห็นปัญหา เหตุเกิดของปัญหา ภาวะไร้ปัญหา และวิธีปฏิบัติให้ถึงความ สิ้นปัญหาจึงจะสามารถหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้\" ดังนั้นมนุษย์ต้องแก้ปัญหาด้วย วิธีการของมนุษย์ที่เพียรทำการด้วยปัญญาที่รู้เหตุปัจจัย หลักการแก้ปัญหาด้วย ปัญญาของมนุษย์คือ 1. ทุกข์ คือ การเกิดปัญหา หรือรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น หรือรู้ว่าปัญหาที่ เกิดขึ้นคืออะไร 2. สมุทัย คือ การสืบหาสาเหตุของปัญหา 3. นิโรธ คือ กำหนดแนวทางหรือวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก สาเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น 4. มรรค คือ ปฏิบัติตามวิธีการให้ถึงการแก้ไขปัญหา หรือวิธีการดับ ปัญหาได้ หลักการแก้ปัญหาตามหลักอริยสัจ 4 นี้ มีคุณค่าเด่นที่สำคัญพอสรุปได้ ดังนี้
1. เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ไขปัญหาตามระบบแห่ง เหตุผล เป็นระบบวิธีแบบอย่าง ซึ่งวิธีการแก้ปัญหาใด ๆ ก็ตาม ที่จะมีคุณค่าและ สมเหตุผล จะต้องดำเนินไปในแนวเดียวกันเช่นนี้ 2. เป็นการแก้ปัญหาและจัดการกับชีวิตของตน ด้วยปัญญาของ มนุษย์เอง โดยนำเอาหลักความจริงที่มีอยู่ตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ไม่ต้อง อ้างอำนาจดลบันดาลของตัวการพิเศษเหนือธรรมชาติ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ 3. เป็นความจริงที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่ามนุษย์จะ เตลิดออกไปเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสิ่งที่อยู่ห่างไกลตัวกว้างขวางมากมายเพียงใด ก็ตาม แต่ถ้าเขายังจะต้องมีชีวิตของตนเองที่มีคุณค่าและสัมพันธ์กับสิ่งภายนอก เหล่านั้นอย่างมีผลดีแล้ว เขาจะต้องเกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์จากหลักความจริงนี้ ตลอดไป 4. เป็นหลักความจริงกลาง ๆ ที่ติดเนื่องอยู่กับชีวิต หรือเป็นเรื่อง ของชีวิตเองแท้ ๆ ไม่ว่ามนุษย์จะสร้างสรรค์ศิลปวิทยาการ หรือดำเนินกิจการใด ๆ ขึ้นมา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาความเป็นอยู่ของตน และไม่ว่าศิลป-วิทยาการ หรือ กิจการต่าง ๆ นั้น จะเจริญขึ้น เสื่อมลง สูญสลายไป หรือเกิดมีใหม่มาแทนอย่างไร ก็ตาม หลักความจริงนี้ก็จะคงยืนยงใหม่ และใช้เป็นประโยชน์ได้ตลอดทุกเวลา
Search
Read the Text Version
- 1 - 21
Pages: