คำนำ แหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และกูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอโพธิ์ตากเล่มนี้เป็น เอกสารที่รวบรวมเหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่นในอำเภอ โพร์ตาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ศึกษาเกี่ยวกับ แหล่ง เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน โดยจะแบ่งออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลโพธิ์ตาก ตำบล โพนทอง และตำบลด่านศรีสุข ในเนื้อหาแต่ละตำบลจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเภทของ เหล่งเรียนรู้ สถานที่ตั้งประวัติความเป็นมา ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียน และผู้รับ ผิดชอบในสถานที่นั้นผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ ให้ความรู้ในการศึกษาค้นคว้าต่อไป ห้องสมุดประชาชนอำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
สารบัญ หน้า 1 1.แหล่งเรียนรู้ตำบลโพธิ์ตาก 7 2.แหล่งเรียนรู้ตำบลโพนทอง 13 3.แหล่งเรียนรู้ตำบลด่านศรีสุข 20 4.ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น จั ด ทำ โ ด ย ห้ อ ง ส มุ ด ป ร ะ ช า ช น อำ เ ภ อ โ พ ธิ์ ต า ก
แหล่ง เรียนรู้ ตำบลโพธิ์ตาก 1
ประเภท 2 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ วิ ช า ก า ร ห้องสมุดประชาชน อำเภอโพธิ์ตาก ที่ตั้ง บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ตําบลโพธิ์ตาก อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย 43130 ประวัติความเป็นมา ห้องสมุดประชาชนอําเภอโพธิ์ตากตั้งอยู่ที่ บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ตําบลโพธิ์ตาก อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 เพื่อให้ประชาชนใน เขตอําเภอที่บริการมีข่าวสารข้อมูลได้อ่าน ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จากหนังสือและสื่อความรู้ต่าง ๆ และเป็นการ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน และเป็นที่เผยแพร่วัฒนธรรม และความบัน- เทิงสําหรับประชาชนด้านการจัดสร้างห้องสมุดประชาชนอําเภอส่วน- ใหญ่ได้รับความร่วมมือจากชุมชน และภาคีเครือข่าย ห้องสมุดประชาชน มีบทบาทหน้าที่เป็นองค์กรหลักในชุมชน เพื่อ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ของประชาชนกล่าวคือ
3 1.เป็นแหล่งความรู้ตลอดชีวิตของประชาชนโดยแบ่งเป็นแหล่งวิทยาการและสถานที่คนทุกเพศ ทุกวัยทุก สถานะจะมาใช้บริการเพื่อการนเรียนรู้และพัฒนาความรู้อย่างอิสระ 2.เป็นแหล่งที่ประชาชนจะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้อย่างกว้างขวาง นอกเหนือไปจากการส่งเสริมการเรียนรู้จากสื่ ออิเล็กทรอนิกส์อื่ นๆ 3.เป็นแหล่งที่กระตุ้นและตอบสนองความกระหายใคร่รู้ของประชาชนในชุมชนซึ่งจะรับรองการ เปลี่ยนแปลงใหม่ๆในชุมชนและขณะเดียวกันก็จะเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาขึ้นใน ชุมชนด้วย 4.เป็นแหล่งรวมความรู้ ข้อมูล มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ ซึ่ง เป็น ทรัพยากรของชุมชน ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ ส่งเสริมการใช้บริการ ซึ่งเป็นการพัฒนาทักษะการเรียน รู้ผ่านกิจกรรมการศึกษาต่างๆ เช่น กิจกรรมส่งเสริม การอ่านการแลกเปลี่ยนความรู้ กิจกรรมพัฒนาทักษะ ฯลฯ ตลอดจนการสร้างความเข้าใจต่อการเรียนรู้อย่าง อิสระการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การนําความรู้ที่ ได้จากการศึกษาตามอัธยาศัยไปใช้ประโยชน์ในชีวิต ประจําวัน ผู้รับผิดชอบ กศน. อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย
4 วิถีไทพวน ประเภท ที่ตั้ง บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ วั ฒ น ธ ร ร ม ป ร ะ เ พ ณี ประวัติความเป็นมา ไทพวน ได้รวมตัวกันขึ้นมานานแล้วซึ่งวิถีชีวิตจะแตกต่างจากคน ไทยทั่วไป ไทพวนในอำเภอโพธิ์ตากได้เข้าร่วมกิจกรรมกับชมรมไทพวน หลายจังหวัดในประเทศไทย แต่ไม่มีสถานที่ที่จะใช้ในการดำเนินงาน ต่อ มาประมาณปี 2559 ได้ขอใช้ที่สาธารณะในการก่อสร้างสถานที่ดำเนิน การจัดกิจกรรมและรวบรวมข้อมูลต่างๆของชาวไทพวน ไทพวนเป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคว้นเชียงขวางหรือ บริเวณที่ราบสูง ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มี อาณาเขตติดต่อกับเวียดนามได้ชื่อว่าพวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำ สายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้าง ที่ทำกิน บริเวณลุ่มแม่น้ำ ด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ไถนา ชาว พวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัย กรุงธนบุรีตอนปลาย สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ
5 เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย ชาวไทพวนกลุ่มหนึ่งเข้ามาอาศัยอยู่ในอำเภอโพธิ์ตาก ทุกคนมี อุปนิสัยยิ้มแย้มแจ่มใส โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้ อเผื่อแผ่ และรักสงบ ยึดมั่นใน ขนบธรรมเนียม ประเพณี มีวัฒนธรรม มีภาษา มีความผูกพันในระบบเครือญาติ เผ่าพันธุ์ เป็นเอกลักษณ์ของ ตนเองมาช้านาน ชาวไทพวนจะพูดได้ทั้งภาษาไทยกลาง และภาษา ไทพวน โดยจะใช้ภาษาไทย กลางพูดกับคนต่างถิ่น แต่จะพูดภาษาไทยพวนกับกลุ่มชนเดียวกัน ภาษาพูดของไทยพวนมี สำเนียงไพเราะ ซึ่งจะแตกต่างจากภาษาพูดของลาวเวียง ที่มีสำเนียงสั้น และห้วน วิถีชีวิตของ ชาวไทพวนที่อาศัยอยู่ในอำเภอโพธิ์ตากส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม และหัตถกรรม ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรม เครื่อง มือ เครื่องใช้ในการดำเนินชีวิตไทพวน รวมทั้งได้จำลอง บ้านเรือนของชาวไทพวน ผู้รับผิดชอบ ชาวไทพวนโพธิ์ตาก บ้านโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก
ประเภท 6 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ สื่ อ น วั ต ก ร ร มม่องเบิ่งนวัตกรรม ที่ตั้ง บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย ประวัติความเป็นมา ม่องเบิ่งนวัตกรรมตำบลโพธิ์ตาก แต่เดิมเป็นศูนย์สามวัยสาน สายใยรักแห่งครอบครัวโพธิ์ตาก หลังจากที่ ศูนย์สามวัยสานสายใยรัก แห่งครอบครัวโพธิ์ตาก ได้เลิกใช้อาคารแล้วองค์การบริหารส่วนตำบล โพธิ์ตาก จึงได้ดูแลรักษา ซึ่งทางองค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ตาก ได้ใช้สถานที่ดังกล่าวเพื่อจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุและรวบรวนวัต- กรรมท้องถิ่น สำหรับคำว่า “ม่องเบิ่ง” เป็นภาษาถิ่น หมายถึง สถานที่ ดู มอง ชม ดังนั้นคำว่า “ม่องเบิ่งนวัตกรรม” หมายถึง สถานที่ดู มอง ชม สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงผลการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่เกิดจาก ภูมิปัญญ าชาวบ้าน เพื่อใช้สืบทอดให้คนรุ่นหลังในท้องถิ่นได้ใช้ศึกษา เรียนรู้สืบไป ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นสถานที่ศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาชาวบ้านของตำบลโพธิ์ตากสำหรับ เด็ก และเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ผู้รับผิดชอบ ชาวไทพวนโพธิ์ตาก บ้านโพธิ์ตาก อำเภอโพธิ์ตาก
แหล่ง เรียนรู้ ตำบลโพนทอง 7
ประเภท 8 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ ชุ ม ช นสวนมะนาวเกษตร ด้ า น น วั ต ก ร ร ม แ ล ะ เ ท ค โ น โ ล ยีตามอำเภอใจ ที่ตั้ง บ้านโคกบุญสนอง หมู่ที่ 11 ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ประวัติความเป็นมา เดิมพื้นที่เป็นศูนย์การเรียนรูของชุมชนทางดานเกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ พลังงานทดแทน และการปศุสัตว โดยมีแนวคิด ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ 5.2 เพื่อส่งเสริมให้ มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และ ยั่งยืน ภายใต้แนวทางปรัชญา เศรษฐกิจ พอเพียง และการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เดิมพื้นที่แห่งนี้ ได้ดําเนินการประกอบอาชีพด้านการเกษตรพื้นบ้าน ทําไรมันสําปะหลัง ทําไรอ้อย ตามปกติ วิถีชีวิตพื้นบ้านแต่ด้วยวิวัฒนาการมีความเจริญ มากขึ้น ด้านเทคโนโลยีตามกระแสโลกยุค โลกาภิวัฒนจึงไดมีแนวคิด เปลี่ยนการประกอบอาชีพ ทําไรมันสําปะหลัง ปรับเปลี่ยนมาปลูก มะนาวแปน พิจิตร พุทธศักราช ปี 2557 แต่ยังขาดประสบการณ์ใน การดูแลผลผลิต
9 พ.ศ. 2558 สํานักงาน กศน. จังหวัดหนองคายได้จัดอบรมใหความรู้ เรื่อง รู้แล้วรวยโลดที่ โรงแรมนาข่าบุรี จังหวัดอุดรธานี โดยเป็นตัวแทน กศน.อําเภอโพธิ์ตาก ได้รับเขาการอบรม หลังจากได้รับการอบรมได้มาทดลองทําน้ํามะนาวเกล็ดหิมะระยะหนึ่งแจกให้กับนักเรียน ประชา ชนทั่วไป เพื่อได้ดื่มน้ํามะนาวเกล็ดหิมะได้รับความตอบรับดีมาก ปลายปี พ.ศ 2560 ได้รับ อนุญาตจดทะเบียนการคา อย./เลขที่ 43-2-01359-2-000-2 นอกจากนั้นสวนมะนาวแห่งนี้มีจุด น่าสนใจตรงที่มีฐานการเรียนรูเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เช่น ฐานการปลูก พืชอินทรีย์ ฐานการทําน้ําหมักชีวภาพ ฐานเทคโนโลยีชาวบ้าน ฐานการทําปุ๋ยหมัก ฐานการเลี้ยง ปลา และมีห้องอบรมเผยแพร่วิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะนาวอีกด้วย ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ มีห้องทดลองในการคิดค้นสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จากมะนาวและเปิดโอกาสให้คนทั่วไปได้ เขาชมโดยไม่ เสียค่าใช้จ่าย และมีห้องอบรมเผยแพร่วิธีการแปรรูป ผลิตภัณฑ์จากมะนาวอีกด้วย ผู้รับผิดชอบ นายพัฒน์ ธรรมวงศา
ประเภท 10 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ วิ ช า ก า ร วัดป่าบ้านโพนทอง (วัดปู่ลี) ที่ตั้ง บ้านโพนทอง หมู่ 2 ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย ประวัติความเป็นมา วัดป่าบ้านโพนทอง (วัดปู่ลี) ตั้งอยู่ที่ บ้านโพนทอง หมู่ 2 ตำบล โพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย สร้างขึ้นโดย หลวงปู่สมัย เมื่อครั้งท่านธุดงค์มาที่บ้านโพนทอง และเห็นว่าที่ตรงนี้สงบร่มรื่น มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น และอยู่ไม่ห่างจากหมู่บ้าน จึงได้ร่วมกับชาวบ้าน บ้านสร้างวัดขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2500 โดยมีหลวงปู่สมัย เป็นเจ้าอาวาส ต่อมาหลวงปู่สมัยได้ละสังขารหลวงปู่ชาลี จึงได้เป็นเจ้าอาวาสต่อจาก ท่านและได้พัฒนา บำรุง สถานที่วัดให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น ในวันก่อนออก พรรษา 1 สัปดาห์ จะมีชาวบ้านทั้งชายและ หญิง มาปฏิบัติธรรมจำนวน 7 วัน 7 คืน จนเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปทั้งใกล้และไกล ต่อมาเดือน กุมภาพันธ์ 2547 หลวงปู่ชาลี ได้มรณภาพ พระอาจารย์จำนงจึงได้ เป็นเจ้าอาวาสต่อมาจนถึงปัจจุบัน
11 ปัจจุบันนี้วัดป่าบ้านโพนทอง (วัดปู่ลี) มีศาลาอุโบสถ 3 หลัง ซึ่งเป็นที่ประกอบพิธีสงฆ์ และเป็น ที่ฉันภัตตาหาร เรือนครัว 1 หลัง ถังเก็บน้ำคอนกรีต 2 ถัง มีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม จำนวน 50 หลัง และห้องน้ำจำนวนมาก โดยใช้ระบบประปาหมู่บ้าน ทำให้มีแหล่งน้ำใช้อย่างสะดวกและ สะอาด วัดป่าบ้านโพนทอง (วัดปู่ลี) ดำรงคงอยู่ด้วยความสมดุลของป่าไม้ที่ทวีความอุดม สมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ โดยบุคคลผู้มีความศรัทธาและระลึกคุณของชาติ โดยมีพระพุทธศาสนาเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและมีพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่ชาวไทยทุกคนควรทด- แทนเป็นกำลังใจส่งเสริมพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบให้ดำรงปฏิปทาของพระป่ากรรมฐานเพื่อ บูชาคุ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จนถึงที่สุด ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ มีสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ เยาวชน และประชาชนในเขตให้บริการ ในการทำนุบำรุง ศาสนา ผู้รับผิดชอบ พระอาจารย์จำนง (เจ้าอาวาส)
ประเภท 12 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ วิ ช า ก า ร วัดเวฬุวัน (วัดถ้ำพระ) ที่ตั้ง วัดเวฬุวัน บ้านดงเหล่า หมู่ 8 ตำบลโพนทอง อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย 43130 ประวัติความเป็นมา วัดเวฬุวันเดิมเป็นพื้นที่เลี้ยงโค เลี้ยงกระบือของชาวบ้าน และหา อาหารป่าเพื่อมาเลี้ยงชีวิต ในพื้นที่แห่งนี้เป็นลานหินกว้างป่าไม้หนา แน่นมาก ปราชญ์ชาวบ้านได้เล่าว่า ณ สถานตรงนี้เป็นป่ามีถ้ำ มีการ เลี้ยงผีบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านโดยนิยมเอาดอกบัวมากราบไหว้ บูชาตั้งแต่ยังไม่มีวัด มีแต่ลานหินโขดหิน มีป่าไม้เบญพรรณจำนวน มากเป็นที่น่ากลัวน่าเกรงขามมากเพราะชาวบ้านจะมีความเชื่อเรื่องผี ไม่มีใครที่กล้าเข้าไปตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณนี้ ต่อมาได้มีพระธุดงค์มา ปฏิบัติธรรมภายในถ้ำ และได้มรณภาพโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงได้เรียก ว่า ถ้ำพระ ต่อมาพระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมมือกันสร้างวัดโดยได้ตั้ง ชื่อว่าวัดเวฬุวัน และปัจจุบันมีพระอธิการจันที จักกวะโร เป็นเจ้าอาวาส ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นสถานที่สำหรับสร้างประโยชน์สุขให้แก่ประชาชน สังคม ให้มี แสงสว่างทางธรรมในการดำเนินชีวิตของประชาชน และได้เข้าถึงแก่ นพระธรรม เป็นที่พึ่งทางใจได้ ผู้รับผิดชอบ เจ้าอธิการจันที จักกะวโร
แหล่ง เรียนรู้ ตำบลด่านศรีสุข 13
ประเภท 14 แ ห ล่ ง เ รี ย น รู้ วิ ช า ก า ร วัดดอนขนุน (วัดถ้ำฮ้าน) ที่ตั้ง บ้านดอนขนุน หมูที่ 5 ตําบลดานศรีสุข อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัด หนองคาย ประวัติความเป็นมา วัดดอนขนุน ตั้งอยู่ที่ บานดอนขนุน หมูที่ 5 ตําบลดานศรีสุข อําเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย วัดดอนขนุน หรือ วัดถ้ำฮ้าน ที่ชาว บ้านรู้จักกันดีเมื่อแต่ก่อนสมัยโบราณเคยเป็นที่พักของนายพรานที่ได้ เข้ามาอาศัยพักพิงในการล่าสัตว์และหาของป่า โดยนายพรานได้ตั้ง ร้านหรือแคร่เอาไว้เพื่อเป็นที่พักพิงหรือพักผ่อนหลักจากเหน็ดเหนื่อย จากการล่าสัตว์และหาของป่าถ้าได้สัตว์มาก็เอามาย่างกินกันบริเวณ สถานที่แห่งนี้ โดยพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเชิงเพดานหินปูนซ้อน กันสามารถเข้าไปหลบฝนได้ และพื้นที่ดังกล่าวยังมีความสูงโดยที่สัตว์ ป่าไม่สามารถเข้ามาได้ ในเวลาต่อมาได้มีการเดินธุดงภาวนาศีลของ พระอธิการพวง ธมฺมทีโป ได้เข้ามานั่งภาวนาศีลในสถานที่แห่งนี้เพราะ เป็นพื้นที่เงียบสงบ
15 หลังจากนั้น พระอธิการพวง ธมฺมทีโป เจ้าอาวาสวัดดอนขนุน ได้เริ่มมีการพัฒนา เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2527 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน การเดินทาง เข้าพื้นที่เริ่มจากอำเภอโพธิ์ตาก ระยะทาง 16 กิโลเมตร ใช้ถนนหมายเลข 2266 เลี้ยวซ้ายที่ โรงเรียนบ้านโพนทอง เข้าเขตบ้านกาหม ตำบล โพนทอง มุ่งสู่ตำบลด่านศรีสูข เมื่อถึงวงเวียนใช้ทางออกที่ 1 แยกขวาที่โรงเรียนอาโอยาม่า 2 ตรงไปตามถนน เลี้ยวซ้ายที่แยก ผ่านโรงเรียนบ้านดอนขนุน ตรงไปจะพบกับป้ายบอกทางเข้าสู่ วัดดอนขนุน ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับไฟป่า และเป็นศูนย์ระวังไฟป่า อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย และ เป็นสถานที่ ปฏิบัติธรรมสำหรับเด็ก และเยาวชน นักศึกษา และ ประชาชนทั่วไป ผู้รับผิดชอบ พระครูธรรมญานโสภณ (พระอาจารย์พวง ธัมมทิโป)
16 ล่องแพ ณ บางกอกน้อย ประเภท ที่ตั้ง บ้านบางกอกน้อย หมู่ 4 ตำบลด่านศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว เ ชิ ง นิ เ ว ศ จังหวัดหนองคาย 43130 ประวัติความเป็นมา อ่างเก็บน้ำห้วยทอนตอนบน บ้านบางกอกน้อย หมู่ 4 ตำบลด่าน ศรีสุข อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย ซึ่งชาวบ้านบางกอกน้อย ได้ เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ของจังหวัดหนองคาย ไว้เป็นสถานที่ ผักผ่อนหย่อนใจเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวทั้งใน จังหวัดหนองคายและใกล้เคียงพาครอบครัวไปพักผ่อน ลงเล่นน้ำใน อ่างเก็บน้ำห้วยทอนตอนบน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสาธารณะอันเนื่องมาจาก พระราชดำริขนาดใหญ่ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดมีนักท่องเที่ยวจำนวน มาก ส่งผลให้คิวจองแพเต็ม นายสมชาย อุปฮาด ประธานคณะกรรมการแพบางกอกน้อย กล่าวว่า แพบางกอกน้อยเริ่มต้นจากการล่องเรือกินผลไม้ ซึ่งล่องเรือ กินผลไม้ใช้เวลาแค่เดือนเดียวก็หมดรายได้ของชาวบ้านจึงต่อยอด
17 ด้วยการทำแพ ส่งผลให้ชาวบ้านก็มีรายได้ทุกๆ เดือน ซึ่งการทำแพครั้งนี้ทางชุมชนได้รับการ สนับสนุนจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำทอนอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดหนองคาย สำนักงาน เกษตรจังหวัดหนองคายธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และองค์การบริหารส่วน ตำบลด่านศรีสุข โดยเปิดบริการทุกวัน เฉพาะวันหยุดจะมีคนพาครอบครัวมาเที่ยวจำนวนมาก โดยจะมีแพไว้ให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวน 28 หลัง ซึ่งยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของนัก ท่องเที่ยว ตนและชาวบ้านได้เตรียมที่จะต่อแพเพิ่มอีกจำนวน 7 หลัง รวมเป็น 35 หลัง เตรียม พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวช่วงวันหยุดยาว ให้นักท่องเที่ยวได้เล่นน้ำชมธรรมชาติอันสวยงาม ท่ามกลางป่าเขา น้ำใสสะอาด เย็นสบาย ตลอดจนมีอาหารพื้นบ้านอร่อยๆ ที่เป็นร้านอาหารของ ชาวบ้านในพื้นที่ไว้คอยให้รับประทาน ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศของชุมชน ผู้เรียน หรือผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจาก สถานที่จริงส่งผลให้เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบ กลุ่มนวัตวิถีอำเภอโพธิ์ตาก
18 น้ำตกห้วยตาด ประเภท ที่ตั้ง บ้านห้วยหินขาว หมู่ 6 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย แ ห ล่ ง ท่ อ ง เ ที่ ย ว เ ชิ ง นิ เ ว ศ ประวัติความเป็นมา น้ำตกห้วยตาด เป็นน้ำตกที่ไหลผ่านลานหิน เป็นระยะทางยาวกว่า ร้อยเมตร ตั้งอยู่ที่ บ้านห้วยหินขาว หมู่ 6 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย เชื่อมมาจากโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยไฮอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ จึงทำให้มีน้ำตลอดทั้งปี เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่ง หนึ่งของตำบลด่านศรีสุข ทางชุมชนได้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม วิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวน้ำตกห้วยตาด มีการบริหารจัดการอย่าง เป็นระบบ โดยมี อบต. ด่านศรีสุข ให้การสนับสนุน ในวันหยุดเสาร์- อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดหนองคาย และจังหวัดใกล้เคียง เดินทางมาพักผ่อน เล่นน้ำคลายร้อน และรับประทานอาหารกันเป็น จำนวนมาก จึงถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะคลายร้อนให้กับนักท่อง เที่ยวในช่วงฤดูร้อนนี้ได้เป็นอย่างดี น้ำตกห้วยตาด ได้มีการพัฒนา โดยทีมวิจัยตำบลด่านศรีสุข พบว่ามีศักยภาพให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ของชุมชนได้ จึงได้มีการพัฒนาขึ้นจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวประจำตำบล ด่านศรีสุข
19 ซึ่งนอกจากน้ำตกห้วยตาดแล้ว ในพื้นที่ตำบลด่านศรีสุข ยังมีแพบางกอกน้อยเป็นแหล่งท่อง เที่ยว ที่เป็นเส้นทางการท่องเที่ยวที่เชื่อมโยงกัน การเดินทางมีความสะดวกสบาย รถสามารถเข้า ถึงในพื้นที่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าท่องเที่ยวโดยเฉพาะในวันหยุด และเป็นน้ำตกเพียงแห่งเดียว ในจังหวัดหนองคาย ที่มีน้ำตลอดทั้งปี จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดหนองคายและ จังหวัดใกล้เคียงมาเที่ยวที่น้ำตกห้วยตาดแห่งนี้ ซึ่งในวันเสาร์-อาทิตย์ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วย ไฮอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จะมีการเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อส่งน้ำให้กับเกษตรกรได้ทำการ เกษตร ทำให้น้ำตกแห่งนี้ได้รับน้ำที่ระบายออกมาด้วย จึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับ ชุมชนบ้านห้วยหินขาว ความสำคัญ/เนื้อหาการเรียนรู้ เป็นห้องเรียนทางธรรมชาติ เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงระบบนิเวศของชุมชน ผู้เรียน หรือผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงจาก สถานที่จริงส่งผลให้เกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผู้รับผิดชอบ กลุ่มนวัตวิถีอำเภอโพธิ์ตาก
ห้องสมุดปรชาชนอำเภอโพธิ์ตาก 21 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอโพธิ์ตาก 20
21 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลโพธิ์ตาก การจักสานไม้ไผ่ นายสารี บุญธรรม ที่อยู่ บ้านสาวเเล ม.1 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านสาวแลนําไม้ไผ่มาสานเป็นเครื่องใช้สอยอย่างอื่น เพื่อจําหน่ายในชุมชนและนําไปขายส่งให้กับร้านค้า เครื่องจักสานสามารถ นําไปใช้ในการดําเนินชีวิตประจําวันได้เป็นอย่างดี ไม่เพียงแต่ด้านประโยชน์ ใช้สอยเท่านั้น ยังพัฒนาขึ้นให้มีความสวยงามและความทนถาวร ข้าวฮางงอก นางสุนันท์ กองทอง ที่อยู่ บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ. 43130 กลุ่มข้าวที่นํามาแปรรูปเป็นข้าวที่คัดสรรเป็นพิเศษ และเป็นข้าวที่ ปลูกเองโดยสมาชิกกลุ่ม แจ่วหนังเค็ม นางหนูเวียง จําปาทอง ที่อยู่ บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 2 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ. 43130 แจ่วหนังเค็มโพธิ์ตากมีรสชาติที่กลมกล่อมสามารถเก็บไว้ได้นาน และเป็นที่นิยมซื้อเป็นของฝาก
22 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลโพธิ์ตาก การเลี้ยงเเพะ นายวิทยา โคตรรักษา ที่อยู่ บ้านสาวเเล ม.4 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 เป็นศูนย์อบรมการเลี้ยงแพะของชุมชนเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้สามารถนํา ความรู้ที่ได้รับนําไป ประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ นางสุนันท์ กองทอง ที่อยู่ บ้านโพธิ์ตาก หมู่ที่ 1 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ. 43130 เป็นสถานที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับ การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์สําหรับ เด็ก และเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่ง เรียนรู้ที่ให้เด็ก และเยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามา รถนํา ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการลดราย จ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้
23 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลโพนทอง การทอสื่อกก นางสาวปราณี คําใบ ที่อยู่ บ้านนาฝาก ม.7 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 ลวดลายบนเสื่อเป็นลายพื้นบ้านของชาวอีสานและลายที่โดดเด่นมาก ที่สุดและเป็นที่นิยมของนักซื้อคือเสื่อกกลายพญานาค การจักสานกระติบข้าว นางอัมพันธ์ เลียงคํา ที่อยู่ บ้านกาหม หมู่ที่ 3 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ. 43130 กลุ่มจักสานบ้านกาหมใช้เครื่องมือด้านจักสานที่ได้นําไม้ไผ่ไม้บงมา พัฒนาเป็นเครื่องจักสาน มีลวดลายสีสันแต่คงรักษาเอกลักษณ์ความ ประณีตและคุณภาพได้ สม่ำเสมอเป็นการอนุรักษ์การทํา กระติบข้าวตะกร้า เครื่องดัก สัตว์ปู ปลา อีกด้วยเพื่อให้คนรุ่น หลังได้ศึกษา เรียนรู้ถึงความ เป็นไทยด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไข่เค็มสมุนไพร นางคําพาว ยมปัดชา ที่อยู่ บ้านโพนทอง หมู่ที่ 1 ต.โพธิ์ตาก อ.โพธิ์ตาก จ. 43130 ความพิเศษของไข่เค็มของ กลุ่มแม่บ้านตําบลโพนทองที่ไม่เหมือน กับไข่เค็มตามท้องตลาดจึงได้รับความนิยม โดยความพิเศษของกลุ่มแม่ บ้านตําบลโพนทอง
24 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลโพนทอง การแปรรูปมะนาว นายพัฒน์ ธรรมวงศา ที่อยู่ บ้านโคกบุญสนอง ม.11 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 เป็นฐานการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมี ห้องทดลองในการคิดค้นสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะนาว และเปิด โอกาสให้คนทั่วไปได้เข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย การทอผ้าหมี่ขิด นางปราณี ภิรมย์เชย ที่อยู่ บ้านโคกบุญสนอง หมู่ที่ 11 ต.โพนทอง อ.โพธิ์ตาก จ. หนองคาย 43130 กลุ่มจักสานบ้านกาหมใช้เครื่องมือด้านจักสานที่ได้นําไม้ไผ่ไม้บง มาพัฒนาเป็นเครื่องจักสาน มีลวดลายสีสันแต่คงรักษาเอกลักษณ์ความ ประณีตและคุณภาพได้ สม่ำเสมอเป็นการอนุรักษ์การทํา กระติบข้าวตะกร้า เครื่องดัก สัตว์ปู ปลา อีกด้วยเพื่อให้คนรุ่น หลังได้ศึกษา เรียนรู้ถึงความ เป็นไทยด้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น
25 ปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาท้องถิ่น ตำบลด่านศรีสุข การเพาะต้นอ่อนทานตะวัน นายไพบูรณ์ วงศ์มาตรา ที่อยู่ บ้านภูพนังม่วง ม.8 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 กลุ่มการเพาะต้นอ่อนทานตะวัน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะแก่เด็กและ เยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้าไปศึกษาค้นคว้าวิธีการ เพาะปลูกด้วยวิธี การเกษตรธรรมชาติ การเลี้ยงวัว นายประเสริฐ สังฆะพันธ์ ที่อยู่ บ้านพรเจริญ หมู่ที่ 9 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ. หนองคาย 43130 เป็นศูนย์อบรมการเลี้ยงวัวของ ชุมชนเปิดโอกาสให้เด็กแลเยาวชน นักเรียน นักศึกษาประชาชนทั่วไปให้สามารถนําความรู้ที่ได้รับนําไประกอบ อาชีพเพิ่มรายได้ให้ครอบครัว การเลี้ยงแพะเนื้อ นายวินัย จันทาคีรี ที่อยู่ บ้านน้ำทอน หมู่ที่ 2 ต.ด่านศรีสุข อ.โพธิ์ตาก จ.หนองคาย 43130 เป็นศูนย์อบรมการเลี้ยงแพะของ ชุมชนเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไปให้สามารถนํา ความรู้ที่ได้รับนําไป ประกอบอาชีพ เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ตาก สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดหนองคาย สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ
Search
Read the Text Version
- 1 - 29
Pages: