Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย

Published by Poonsak, 2023-01-30 09:25:55

Description: หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย

Search

Read the Text Version

หน่วยที่ 4 การเขียน โครงร่างการวิจัย

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 1 หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หลักการวางแผนการดำเนินงานโครงการวิจัย หมายถึง แนวคิดที่แสดงถึงแผนการดำเนินงานเพื่อขอเสนอทำการ วิจัย จะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ที่ได้ค้นคว้า เอกสารที่เกี่ยวข้องจนเห็นแนวทางในการทำวิจัย จึงได้นำข้อมูลมาเขียน โครงการวิจัย หรือโครงร่างการวิจัย เสนอครูที่ปรึกษาเพื่อขอความเห็น ก่อนดำเนินการวิจัยต่อไป หลักการวางแผนการดำเนินงานโครงการวิจัย หัวข้อขององค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยหรือโครงการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญ ดังนี้ 1.ชื่อเรื่อง 2.ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย 3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 2 4.คำถามของการวิจัย 5.ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6.สมมติฐาน และกรอบแนวความคิดในการวิจัย 7.ขอบเขตของการวิจัย 8.การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย 9.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 10.ระเบียบวิธีวิจัย 11.ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย 12.งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย 13.บรรณานุกรม 14.ภาคผนวก 15.ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย รายละเอียดขององค์ประกอบของโครงร่างการวิจัยหรือโครงการวิจัย ������ ชื่อเรื่อง (Title) ควรมีความหมาย สั้น กะทัดรัด และชัดเจน ประกอบด้วย ตัวแปรต้น และ ตัวแปรตาม เพื่อระบุถึงเรื่องที่จะทำการศึกษาวิจัย ว่าทำอะไร กับใคร ที่ไหน อย่างไร เมื่อใด หรือต้องการผลอะไร ������ ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background and Rationale) หัวข้อนี้อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำวิจัย หรือความสำคัญของโครงการวิจัย เป็นต้น ต้องระบุ ว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่า และประโยชน์ที่จะได้จากผลวิจัยในเรื่องนี้ ������ วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) เป็นการกำหนดว่าต้องการศึกษาในประเด็นใดบ้าง ในเรื่องที่จะทำวิจัย ต้อง ชัดเจน และเฉพาะเจาะจง ไม่คลุมเครือ โดยบ่งชี้ถึงสิ่งที่จะทำ ทั้งขอบเขตและ คำตอบที่คาดว่าจะได้รับ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 3 ������ คำถามของการวิจัย (Research Question) เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้วิจัยต้องกำหนดขึ้น Problem Identification โดยการ นิยามปัญหาการวิจัยให้ชัดเจน เพราะปัญหาที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้วิจัยกำหนด วัตถุประสงค์ ตั้งสมมติฐานของการวิจัย การให้นิยามตัวแปร ������ ทฤษฎีและงานวิจัยเกี่ยวข้อง (Review of Related Literatures) การศึกษาทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึง การรวบรวม สารสนเทศจากตำรา หนังสือ วารสาร งานวิจัย และเอกสารต่างๆที่ เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ทำ ซึ่งเป็นการทบทวนวรรณกรรมจากแหล่งต่างๆ ������ สมมติฐาน (Hypothesis)และกรอบแนวความคิดในการวิจัย (Conceptual Framework) การตั้งสมมติบานเป็นการคาดคะเนหรือการทายคำตอบอย่างมีเหตุผล มัก เขียนในลักษณะการแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรอิสระหรือตัวแปร ตาม สมมติฐานทำหน้าที่เสมือนเป็นทิศทางและแนวทางในการวิจัย ������ ขอบเขตของการวิจัย เป็นการระบุให้ทราบว่าการวิจัยที่จะศึกษามีขอบข่ายกว้างขวางเพียงใด เนื่องจากผู้วิจัย เนื่องจากผู้วิจัยไม่สามารถทำการศึกษาได้ครบถ้วนทุกแง่ ทุกมุมของปัญหานั้น จึงต้องกำหนดขอบเขตของการวิจัยให้แน่นอน ว่าจะ ครอบคลุมอะไรบ้าง ������ การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย (Operational Definition) นิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัยหรือนิยามศัพท์เฉพาะที่ใช้ในการวิจัย เป็น หัวข้อที่ผู้วิจัยใช้กำหนดความหมายของคำ กลุ่มคำ เป็นวลีต่างๆ ที่ใช้ในการ วิจัยเฉพาะเรื่องที่จะทำวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านงานวิจัยเข้าใจความหมายของคำ ศัพท์ต่างๆ อย่างชัดเจนและเข้าใจตรงกับผู้วิจัย ������ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย (Expected Benefits and Application) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัยหรือความสำคัญของการวิจัย เป็นการอธิบายถึงคุณค่าหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการวิจัย โดยทั่วไป นิยมเขียน 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการเพิ่มพูนความรู้ และด้านการนำไปประยุกต์ ใช้หรือนำไปใช้ได้จริงโดยครอบคลุมผลทางตรง

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 4 ������ ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) เป็นการให้รายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอน ในการการดำเนินการวิจัยแต่ละขั้น ตอน โดยทั่วไปประกอบด้วยหัวข้อย่อย 4 หัวข้อ ได้แก่ ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ������ ระยะเวลาในการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยต้องระบุระยะเวลาที่จะใช้ในการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดว่าจะใช้เวลา นานเท่าไร และต้องระบุระยะเวลาทีใช้สำหรับแต่ละขั้นตอนของการวิจัย ������ งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย (Budget) การกำหนดงบประมาณค่าใช้จ่ายเพื่อการวิจัยควรกำหนดเป็นหมวด โดย ระบุในแต่ละหมวดจะใช้งบประมาณเท่าไร ������ บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหัวข้อที่ใช้แสดงรายการของวัสดุอ้างอิงต่างๆ เป็นตอนสุดท้ายของ โครงร่างการวิจัย จะต้องมีเอกสารอ้างอิงหรือรายการอ้างอิง เช่น รายชื่อ หนังสือ สิ่งพิมพ์อื่นๆ ������ ภาคผนวก (Appendix) เป็นหัวข้อที่อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมที่จำเป็นต้องแนบเป็นหลักฐานสำคัญเพื่อ ยืนยันข้อมูลเพิ่มเติมที่ได้เสนอไว้ในแต่ละบทแล้ว ������ ประวัติของผู้ของดำเนินการวิจัย (Biography) เป็นข้อมูลที่ผู้ให้ทุนวิจัยมักจะใช้ประกอบการพิจารณาให้ทุนผู้วิจัย ซึ่งถ้ามีผู้ วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยหลายคนก็ต้องมีประวัติของผู้วิจัยที่ อยู่ในตำแหน่งสำคัญๆ ทุกคนซึ่งต้องระบุว่า ใครเป็นหัวหน้าโครงการ ใคร เป็นผู้ร่วมโครงการในตำแหน่งใด และใครเป็นที่ปรึกษาโครงการ

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 5 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หลักในการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - เอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - มีการเชื่อมโยงปัญหาที่ศึกษากับกรอบทฤษฎีหรือกรอบแนวคิด การค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - วิธีค้นคว้า - การค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต - การค้นคว้าทุกแหล่ง - วิธีเรียบเรียงเนื้อหาที่ค้นคว้า - วิธีการย่อเนื้อหาที่ค้นคว้า - วิธีการคัดลอกเนื้อหาที่ค้นคว้า - การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การค้นคว้าเอกสาร ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง - นำมาใช้เป็นข้อมูลสำหรับเขียนโครงร่าง - นำข้อมูลไปใช้เขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ - ใช้เป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎีสำหรับนำไปใช้ในการอภิปรายให้เหตุผล

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 6 ขั้นตอนการเสนอโครงร่างการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องมีการวางแผนเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้าโดย การศึกษารายละเอียด รูปแบบ วิธีการ ผู้วิจัยจะต้องเตรียมการติดต่อ ผู้วิจัยจะต้องศึกษาหาข้อมูลแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนการวิจัย ผู้วิจัยจะต้องจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยหรือโครงร่างการวิจัยให้ได้ คุณภาพตามระเบียบวิธีวิจัย ผู้วิจัยจะต้องดำเนินโครงการวิจัยที่ได้รับอนุมัติแล้วให้เสร็จตรงตาม วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 1.ชื่อเรื่องวิจัย 2.ความสำคัญและที่มาของปั ญหาการวิจัย 3.วัตถุประสงค์ของการวิจัย 5.ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4.คำถามของวิจัย 12. บรรณานุกรม 6.สมมุติฐานของการวิจัย 8.คำนิยามเชิงปฏิบัติหรือ 7.ขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ 10.ระเบียบวิธีวิจัย 9.ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 11.ระยะเวลาในการดำเนินงาน และงบประมาณในการวิจัย

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 7 ประโยชน์ของโครงร่างการวิจัย 1.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถวางแผนการจัดทำงานวิจัยอย่างเป็ นระบบ เสนอเค้าโครงวิจัยสามารถวางแผนการจัดทำงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ จัดเตรียมการดำเนินงานตามโครงร่างการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติ 2.ช่วยให้ผู้วิจัยปฏิบัติงานให้เป็ นไปตามแผนงานที่กำหนด อย่างเป็ นขั้นตอน ดำเนินการวิจัยตามที่กำหนดไว้ในโครงร่างการวิจัย บันทึกรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานวิจัย 3.ช่วยให้ผู้วิจัยตรวจสอบผลการดำเนินงานวิจัยกับ แผนดำเนินงาน 4.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถปรับปรุงดำเนินงานการวิจัยให้เหมาะสม ตามผลการประเมิน

หน่วยที่ 4 การเขียนโครงร่างการวิจัย หน้า 8 การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการเขียนโครงร่างการวิจัย 1.แนวทางในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักความพอประมาณ หลักความมีเหตุผล หลักภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่ อนไขความรู้ เงื่ อนไขคุณธรรม 2.การวิเคราะห์โครงร่างการวิจัยเพื่อตัดสินเลือกทำการวิจัย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook