Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore KM. ค้ามนุษย์

KM. ค้ามนุษย์

Description: KM. ค้ามนุษย์

Keywords: KM,ค้ามนุษย์

Search

Read the Text Version

รู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การจัดการรายกรณีในการคืนสู่สังคม สำหรับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์

ความรูค้ วามเขา้ ใจเก่ยี วกับการจัดการรายกรณี ในการคนื สูส่ งั คม สำหรับผู้เสียหายจากการคา้ มนุษย์

คำนำ การค้ามนุษยเ์ ป็นอาชญากรรมร้ายแรงท่ลี ายสทิ ธิ เสรีภาพ ศักด์ิศรี และความมั่นคงของมนุษย์ รัฐบาล ได้ประกาศให้การป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกส่วนราชการท้ัง ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสงั คม และภาคประชาชน จะต้องบูรณาการการทำงานรว่ มกันอย่างจริงจังและ ต่อเนอ่ื ง เพ่ือให้การดำเนินงานเปน็ ไปอยา่ งมีประสทิ ธภิ าพ ท้ังน้คี วามสำเรจ็ ในการใหค้ วามช่วยเหลือผู้เสียหาย จากการค้ามนุษย์ที่ผ่านมาของจังหวัดเชียงใหม่มีองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนหลากหลายองค์กร ที่มาบูรณา การการทำงานร่วมกนั การช่วยเหลือผู้เสียหายในกระบวนการส่งกลับอย่างปลอดภัยและการป้องกันมิให้เกิดการกระทำต่อ ผู้เสียหายมใิ ห้ตกเป็นเหย่ือซ้ำ ถือเป็นหัวใจสำคัญ ซึ่งต้องอาศัยการประสานงานความร่วมมือจากกองค์กรภาคี หลายภาคสว่ น สำนกั งานพฒั นาสงั คมและความม่นั คงของมนุษยจ์ ังหวัดเชียงใหม่ เปน็ หนว่ ยงานประสานหลักในการ ป้องกันและให้การช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ได้จัดทำคู่มือ ความรู้ความเข้าใจการจัดการรายกรณี ในการคืนสู่สังคม สำหรบั ผู้เสยี หายจากการค้ามนษุ ย์ โดยมีวตั ถปุ ระสงค เพื่อเปนกรอบแนวทางการดำเนินงาน ในกระบวนการจัดการรายกรณี (Case Management : CM) สำหรับผูที่เกี่ยวของ กับการให้ความช่วยเหลอื ผูเ้ สียหายจากการคา้ มนษุ ย์ ให้ได้รบั การคุ้มครอง ชว่ ยเหลอื และกลบั คนื สังคมอย่างปลอดภัย สำนกั งานพฒั นาสงั คมและความมน่ั คงของมนษุ ยจ์ ังหวัดเชยี งใหม่

บทที่ ๑ สารบัญ หนา้ บทท่ี 2 1 นิยามความหมายของการจัดการรายกรณี บทท่ี 3 3 บทท่ี 4 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดั การายกรณขี องนักสงั คมสงเคราะห์ 4 - การบรหิ ารจดั การรายกรณีของนกั สังคมสงเคราะห์ 4 - วัตถุประสงคข์ องการจัดการรายกรณี Case Management 6 - ท่มี าของแนวคิด Case Management - บทบาท Case Manager 10 กระบวนการจดั การรายกรณี 13 กระบวนการจดั การรายกรณใี นการคนื สูส่ งั คม สำหรับ ผูเ้ สียหายจากการค้ามนุษย์ …………………………………………………….

1 บทท่ี 1 นิยามความหมายของการทำงาน Case Management การบริหารจัดการให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพ มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จ และผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือแก้ปัญหา ของตนได้ รวมท้งั ไดพ้ ฒั นาศกั ยภาพตนเอง เข้าสู่วิถชี วี ิตทป่ี กติในท่ีสุด กระบวนการทำงานที่อาศัยความร่วมมือในการประเมิน การวางแผน การประสานงานเพื่ออำนวย ความสะดวก ให้เกิดการพิทักษ์สิทธิผู้ใช้บริการ โดยมีการประเมินบริการที่สอดคล้องและตอบสนองความ ตอ้ งการของผ้ใู ช้บริการ ผา่ นการจดั การทรัพยากร ให้เกดิ บรกิ ารท่มี ปี ระสิทธิภาพ และเกดิ การเปล่ียนแปลงที่ดี ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ ที่มา : Case Manager Society of America –CMSA Standards of Practice for Case Management, The Case Manager 14,no.3(2003):54 เป็นกระบวนการร่วมมือกัน ประเมิน วางแผน อำนวยความสะดวก และพิทักษ์สิทธิ เพื่อสร้าง ทางเลอื กและบริการท่ีตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นด้านสุขภาพอนามยั ของผู้ใชบ้ ริการ โดยใช้การส่ือสาร และทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลลัพธ์ (outcome) ที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ (Case Management Society of America, 2004) การบริหารจัดการให้เกิด การบริการที่มีคุณภาพ (Quality) มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ (Systematic) และเป็นกระบวนการ (Process) เพื่อเป็นการสร้างหลักประกัน (Quality Assurance) ให้การทำงานบรรลุผลสำเร็จ (Acheivement) และผู้ใช้บริการได้รับการช่วยเหลือแก้ปัญหาของตนได้ (Assist for self problem solving) รวมทั้งได้พัฒนา ศ ั ก ย ภ า พ ต น เ อ ง เ ข ้ า ส ู ่ ว ิ ถ ี ช ี ว ิ ต ท ี ่ ป ก ต ิ ใ น ท ี ่ สุ ด ( potential Development to normal Life) (อภญิ ญา เวชยชัย, มปป.) กระบวนการทำงานที่อาศัยความร่วมมือ (cooperation) ในการประเมิน วางแผน ดำเนินการ การ ประสานงาน การติดตามกำกับงาน และการประเมนิ ทางเลือกบริการ ทสี่ อดคล้องและตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้บริการ โดยอาศัยการสื่อสารและการจัดการทรัพยากร ให้เกิดบริการที่มีประสิทธิภาพ และเกิดการ เปลี่ยนแปลงที่ดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ (The Commission for Case Manager Certification- CCMC Certification Guide(Rolling Meadows,IL:2003 เน้น patient care quality ) กระบวนการทำงานที่อาศัยความร่วมมือในการประเมิน การวางแผน การประสานงานเพื่ออำนวย ความสะดวก ให้เกิดการพิทักษ์สิทธิผู้ใช้บริการ โดยมีการประเมินบริการที่สอดคล้องและตอบสนองความ ต้องการของผใู้ ช้บรกิ ารและครอบครัว ผ่านการสือ่ สารและการจัดการทรพั ยากร ใหเ้ กดิ บรกิ ารที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสรมิ ให้เกิดคณุ ภาพชีวติ และผลลัพธ์การบรกิ ารทมี่ คี วามค้มุ ค่าคุม้ ทนุ (วรณณั ประสารอธคิ ม) เป็นกระบวนการประสานงาน การดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง ทั้งในสถานบริการและชุมชน มีการวาง แผนการออกแบบการดูแลให้แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย แบบองค์รวม ในทุกระยะของการเจ็บป่วย เพื่อตอบสนอง ความต้องการที่ซับซ้อนด้านสุขภาพของผู้ป่วยและครอบครัว มีการพิทักษ์สิทธิ์การเจรจาต่อรองของผู้ป่วย

2 ผู้ให้บริการ ผู้ซื้อบริการมีการจัดการเพื่อลดความผันแปรในกระบวนการ ดูแลรักษาผู้ป่วย มีการประสานให้ เข้าถึงแหล่งทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงคุณภาพทั้งด้านคลินิก ด้านค่าใช้จ่าย ด้านรายได้และด้าน มูลค่าเพิ่ม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการส่งเสรมิ สุขภาวะและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย (ปัฐยาวัชร ปราก ฏผล, 2560)

3 บทที่ 2 ความรเู้ กยี่ วกบั การจดั การรายกรณี การบรหิ ารจัดการรายกรณขี องนกั สังคมสงเคราะห์ เป็นวธิ ีการในการจัดบริการ ซึ่งนกั สงั คมสงเคราะห์ประเมนิ ความจำเป็นของผู้ใช้บริการและครอบครัว อย่างเหมาะสม และดำเนินชดุ ของกิจกรรม/บริการ (การจดั การ ประสาน ติดตาม ประเมนิ ผล การพิทักษ์สิทธิ ฯลฯ) เพื่อตอบสนองความจำเป็นและให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บรกิ าร และบริการนั้นต้องมีประสิทธิภาพ และประสทิ ธิผล (National Association of Social Worker, 2004) ผู้จะที่เปน็ Case Management

4 วตั ถปุ ระสงค์ของการจัดการรายกรณี Case Management การทำงานกับผู้ใช้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ ผลักดันให้มีการดำเนินการตามแผนการให้บริการเฉพาะราย (Service Plan หรอื Individual Plan) และกำกบั ให้ client เข้าถงึ ระบบบริการอยา่ งมีคณุ ภาพ (Caseworker) การจัดการระบบบริการ หรือ ระบบงบประมาณที่ทับซ้อน การจัดการระบบทรัพยากรให้เอื้ออำนวยต่อความ ตอ้ งการของ client และก่อใหเ้ กิดความเปล่ยี นแปลงท่ีมีคณุ ภาพ (System / Process Manager) ที่มาของแนวคิด Case Management 1. การทำงานของนกั สงั คมสงเคราะหม์ ภี าวะงานล้นเกนิ 2. การให้บริการรายบุคคลใช้ระยะเวลาทีย่ าวนาน 3. การทำงานกลายเปน็ การว่งิ ตามปัญหา มากกว่าการทำงานเชงิ ป้องกัน 4. ขาดการพฒั นาระบบงาน 5. ผู้ชว่ ยงานสังคมสงเคราะห์และอาสาสมัคร ไมส่ ามารถช่วยรับภารกิจไดเ้ ต็มท่ี การเกดิ บทบาท Case Manager การพัฒนาบทบาทบุคลากร ทำหน้าที่ติดตามความช่วยเหลือ จัดหาทรัพยากรที่เหมาะสม การวางแผน ชว่ ยเหลือ การตดิ ตาม ผ้ปู ่วยเรือ้ รัง หรือผู้สงู อายทุ ่บี ้าน เรยี กกลมุ่ นี้วา่ Case Manager Case Manager กับงาน in home and community-based services Case Manager กบั งานคมุ้ ครองเด็ก เยาวชน และเดก็ ในกระบวนการยตุ ธิ รรม กลุ่มเป้าหมายในการทำงานของ Case Manager ผสู้ งู อายุ / เด็ก เยาวชน / กลมุ่ สตรี (จากปัญหาความรุนแรงลกั ษณะตา่ ง ๆ) ผู้ตดิ สารเสพตดิ ผูป้ ว่ ยเร้อื รงั / ผ้ตู ดิ เช้ือเอดส์ ผู้มีความบกพร่องทางการเคล่อื นไหว / ผู้ทีม่ ีปญั หาทางสมอง/สขุ ภาพจติ ผตู้ อ้ งโทษท่ไี ด้รบั การปลอ่ ยตวั กลุ่มผ้ทู ่ีมีความเส่ียงในการเผชญิ ปญั หาซ้ำ ฯลฯ

5 ท่ีมาของ Case Manager ในสงั คมไทย การเรียนรู้จากพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงในต่างประเทศ องค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) ตระหนักถึงสถานการณ์การพัฒนากลไกการช่วยเหลือและคุ้มครองเด็กในระดับท้องถิ่น/จังหวัด ผลักดันให้มีบคุ ลากรทีเ่ ปน็ คนในพื้นที่ และบุคคลที่เป็นวิชาชพี สังคมสงเคราะห์/จิตวทิ ยา เข้ามาทำงานกับเดก็ เพอ่ื ชว่ ยเหลือ ป้องกันความเสยี่ ง สามารถจดั บรกิ ารฟน้ื ฟูสภาวะ หรือจัดระบบส่งตอ่ อย่างเหมาะสม บุคคลนั้นทำหน้าท่เี ป็น “ผจู้ ัดการงานคุ้มครองเด็กในชมุ ชน”(CM) จดุ เด่นของงาน Case Manager เปน็ งานทีม่ คี วามเปน็ อสิ ระ วางแผนบริหารจดั การด้วยตนเอง เป็นนายของตัวเอง ไมม่ นี ายบังคบั ทางตรง แต่มี สังกัดและถูกตรวจสอบด้วยผลงานเป้าหมาย ความเข้มแข็งของการวางระบบงาน Performance-Based, Result-Based ใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองได้อย่างเต็มที่ สร้างกิจกรรม โครงการใหม่ ๆ ได้อย่าง สม่ำเสมอ งานไม่นิ่ง มีสีสันสมบูรณ์ด้วยเพื่อนมิตร บริหาร connection ให้มั่นคง และขยายสัมพันธภาพ ตลอดเวลา พฒั นาสมั พันธภาพเกา่ ใหม่ ให้รอ้ ยรัดเชือ่ มโยง เสรมิ สง่ พลังในงานได้ตลอดเวลา Case Manager กบั การพัฒนางานบรกิ าร ตวั ผ้ใู ชบ้ ริการ (client) จะไดร้ ับการตดิ ตามงานอย่างใกลช้ ดิ มีแผนการทเ่ี หมาะสมกับสถานการณ/์ ปัญหา มี Case Manager รบั ผิดชอบเฉพาะงาน เกาะติดปญั หา ทำหน้าท่ีประสานและสื่อสารขอ้ มลู ติดตามผลของ งานอย่างใกล้ชดิ ผใู้ หบ้ ริการ(ตัวผ้ปู ฏบิ ตั ิงาน) ลักษณะงานมีความเป็นอิสระในตัวเอง สามารถวางแผนการทำงานของตนเอง ทง้ั แผนบริการ(service plan) แผนปฏบิ ัติการ (Contract Plan / Task Plan) การทำงานท่มี ีความคลอ่ งตวั ทา้ ทายในการคิดคน้ หาบริการ/ ทางเลือกใหม่ ๆ ในการจดั บริการงานประสานทำใหว้ สิ ยั ทศั นเ์ ปิดกวา้ ง ไดเ้ รยี นรู้เพม่ิ เติม ไดเ้ พ่ือน มติ ร

6 บทบาท Case Manager ผู้ปฏบิ ัตงิ านด้านการบรกิ ารสังคม ท่ที ำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ประสบปญั หา กบั แหลง่ ทรัพยากร แหลง่ ความ ช่วยเหลือ ทำหน้าที่บริหารจัดการให้เกิดการคิด การวางแผนร่วมกันระหว่างนักวิชาชีพสาขาต่าง ๆ เป็นผู้ ประสานงาน จัดกระบวนการ จดั การวางแผนหรือเปน็ ผู้ตอ่ รองผลกั ดนั ใหเ้ กิดการบรกิ ารทด่ี ีท่ีสุดแก่ผ้ใู ชบ้ รกิ าร ผปู้ ระกอบวิชาชีพท่ีทำงานด้านการบริการสังคม ใหค้ ำแนะนำ ปรึกษา ประสานให้ผใู้ ช้บรกิ ารรับทราบ เข้าถึงข้อมลู ทั้งเรื่องแหลง่ ทรพั ยากร สถานที่ บคุ คล ความรู้ ทำให้ผใู้ ช้บรกิ ารมีความเขา้ ใจและมีทางเลือกมาก ขึ้นในการตัดสินใจต่อปัญหาของตน ผู้จัดการในการกำกับ ติดตามงาน ประเมินผลงานที่เกิดขึ้น ประเมิน ความก้าวหนา้ ของผใู้ ชบ้ ริการ ประเมิน output , outcome และ impact Case Manager กบั การทำงานแบบ All in One ขอบเขตงานของ Case Manager มงี านทตี่ อ้ งเกีย่ วพนั 3 ระดับ Three in One a.) Micro level - ทำงานในระดับปัจเจกบุคคล เป็น Caseworker ที่ต้องมีความรู้ และสามารถทำความเข้าใจ กับสถานะบุคคลอย่างครอบคลมุ (the individual client’s bio-psycho-social status) - การประเมินสภาวะบุคคล ความสมั พันธใ์ นครอบครวั ในสังคม

7 b.) Meso level - การประสาน จัดการ การสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบ ระเบียบ ในหน่วยงาน/ องค์การการเชื่อมโยงให้ผู้ใช้บริการ สามารถเข้าถึงบริการ ได้รับบริการตามที่กำหนดไว้ใน แผนฯ - การทำงานกับทีมสหวิชาชีพในการพัฒนาระบบ กลไกการบริการ โดยการแสวงหาความรอบ รใู้ หม่ ๆ ทีท่ ำใหบ้ ริการครอบคลมุ มคี ณุ ภาพ - การทำงานกับผู้ปฏบิ ัติงานต่างวชิ าชีพ ในสายสุขภาพ การศึกษากฎหมาย พนักงานสอบสวน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. และ/หรอื ผู้ใหญใ่ จดที ีเ่ ราได้พบและเชอ่ื มโยงไวด้ ว้ ยกัน - การมีความรู้เรื่องฐานทรัพยากร การจัดทำแผนที่ทรัพยากร (หน่วยงาน/บุคคล) เพื่อ ประโยชน์ในการสร้างเครอื ข่ายกลั ยาณมิตร - การมีความรู้ ความเข้าใจสาระของกฎหมายทีเ่ กยี่ วข้อง - การทำความเข้าใจกับระบบ/ทางเดินของบริการในแตล่ ะหน่วยงาน เพือ่ เขา้ ใจกระบวนการใน การให้บริการ และสามารถแทรกแซงสถานการณ์ไดถ้ ูกต้อง เหมาะสม C) Macro level - การทำบทบาทเปน็ ผูส้ นบั สนนุ เข้ารว่ ม ในการเป็นปากเสยี ง เป็นผพู้ ิทกั ษ์ ผู้คุ้มครอง ผใู้ ชบ้ ริการ ทเี่ ป็นกลมุ่ ขนาดใหญ่ (client populations) - การขยายบทบาทในฐานะ เป็นผู้นำ หรือมีส่วนร่วม ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับ นโยบาย กฎหมาย มาตรการ - การมสี ่วนรว่ ม และสร้างความเขม้ แขง็ ในเครือข่ายงานตา่ ง ๆ ในระดบั ชาติ คุณสมบัตผิ ูจดั การรายกรณี ผูจดั การรายกรณี ควรมีคุณสมบตั ิ (file:///C:/Users/hp/Downloads/reader_com_07%20(1).pdf สบื คนเมอื่ วนั ท่ี 31 มีนาคม 2564) ประกอบดวย 1. การส่อื สารดวยวาจาและการเขียนอยางมปี ระสทิ ธภิ าพ 2. การสรางมนุษยสมั พนั ธท่ดี ี 3. การมีทักษะในการเจรจาตอรอง 4. การมคี วามรูในการบรหิ ารความเสยี่ งและการจดั การการเงนิ ผูประกันตน 5. การตระหนักถงึ ความสำคญั ของการไดรับการเซ็นใบยนิ ยอมจากผูปวย 6. การรักษาความลับของผูใชบริการหรือผูปวย 7. การใหความเคารพความเปนสวนตัว 8. การมีทกั ษะการคดิ อยางมวี ิจารณญาณและการวเิ คราะห

8 สมรรถนะของ Case Manager - การเข้าแทรกแซงในสถานการณว์ ิกฤตของ client - การประเมินความรนุ แรงของสถานการณ์ เช่น การทำรา้ ย การใช้ความรนุ แรงท้งั ต่อตนเอง และผอู้ ่ืน ความเจ็บปว่ ยทเ่ี รอื้ รงั การเสพยาทเี่ กินขนาดและผลกระทบต่อสขุ ภาพและชวี ิต การเสยี ชีวติ กะทนั หันของสมาชกิ ในบา้ น สัญญาณของการฆ่าตัวตายของ client - การให้ความสำคัญกับเวลา (timing) และสถานการณท์ ีเ่ สี่ยง - การแทรกแซง/การสนบั สนุนให้สถานการณเ์ ข้าสู่ภาวะปกติ - เป็นผูป้ ระเมนิ สภาวะอย่างรวดเรว็ (rapid assessment) - ต่อสถานการณป์ ัญหา ความรุนแรง และเวลาที่เหมาะสม - กำหนดเป้าหมาย/แผนการ/ข้ันตอนการดำเนนิ งาน รว่ มกับ client - การประเมินทรพั ยากรในระบบและนอกระบบของ client ท้งั บคุ คล หน่วยงาน และการ สร้างสัมพันธภาพกับแหลง่ ทรัพยากร - พฒั นาแผนทางเลอื กทชี่ ดั เจนร่วมกบั client เพือ่ เปน็ แนวทางไปสู่การเปลย่ี นแปลงสำหรบั client และครอบครวั - เปน็ ผู้อำนวยความสะดวกในระบบบรกิ าร - เปน็ นายหน้าท่ีตอ่ รองให้เกดิ บรกิ ารที่ดแี ละเหมาะสม - เป็นผใู้ หค้ วามรู้ - เป็นตัวกลางในการไกล่เกลี่ย/จดั การปัญหา - เปน็ ผพู้ ทิ ักษส์ ิทธิ - เป็นผู้ประสานงานระบบบริการ - เปน็ ผู้จดั การให้เกดิ การควบคุม กำกบั ตดิ ตามงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ผูจดั การรายกรณรี ะดบั ชุมชน (Community Case Manager : CCM) ผู จัดการรายกรณีระดับชุมชน (Community Case Manager : CCM) หมายถึง บุคลากร กลมุ ผูปฏบิ ัติงานในทองถิ่น ทองที่ อาสาสมคั ร ผูปฏบิ ัติงานท่ที ำงานในชุมชนท่ีมีบทบาทการใหความชวยเหลือ ดูแลผูใชบรกิ ารในระดบั ชมุ ชนเปนเบื้องตน ทงั้ น้ี อาจไดรบั มอบหมายแบบเปนทางการ หรือไมเปนทางการก็ได หรือเปนผูมีจิตอาสาที่เห็นอกเห็นใจ เขาใจสถานการณและพรอมที่จะเขาไปชวยเหลือในระยะแรก (อภิญญา เวชยชยั , 2564:8) บทบาทการทำงานผูจัดการรายกรณีระดับชุมชน ผูจดั การรายกรณรี ะดับชมุ ชนควรมีบทบาทการทำงาน (อภิญญา เวชยชัย, 2564:9-10) ประกอบดวย 1. การรับรูเรื่องราวของบุคคลที่เผชิญกับปญหาตาง ๆ ในชุมชนและไมสามารถชวยเหลือตนเองไดอยาง เหมาะสม เชน กลุมผูสูงอายุ คนพิการ ผูปวยเรื้อรัง ปวยทางจิตเวช คนที่ไรบาน ไมมีที่อยูเปนหลักแหลง เด็ก เยาวชนที่ถกู ทำรายดวยความรุนแรง หรอื บคุ คลไมมีสถานะทางทะเบียนราษฎร 2. การแสวงหาขอมูล ขอเท็จจริงในพื้นที่ชมุ ชนจากผูเผชญิ ปญหา ครอบครวั ญาติพนี่ อง เพอื่ นบาน ทองถ่ิน ทองที่ หรืออาสาสมคั รในพน้ื ท่ี

9 3. การประเมินปญหาสขุ ภาพกาย จิต อารมณ การชวยเหลอื เร่ืองการกนิ อยูในครอบครวั หนวยงานท่ีเก่ียว ของในการดแู ลเรื่องสุขภาพ การใหคำแนะนำ การกนิ ยาของหลานชาย การพาไปโรงพยาบาล การพัฒนาของ โรคทางจิตเวช ประเมนิ ครอบครวั ญาตพิ นี่ อง ทีจ่ ะเขามาดูแล ชวยเหลือ ประเมินทรพั ยากร หรอื สวัสดกิ ารท่ี ไดรับ เชน เบี้ยยงั ชพี ผูสูงอายุ เบีย้ ความพิการ เปนตน 4. หนวยงานในชมุ ชนจัดประชมุ แลกเปลยี่ นถงึ แนวทางการชวยเหลือ (ทองถิ่น โรงพยาบาล หนวยงานรฐั ทเ่ี กย่ี วของ อาสาสมคั ร ฯลฯ) 5. การสงตอไปใชบริการอน่ื ๆ ท่ีจำเปน 6. การชวยติดตามเฝาระวังความเปลี่ยนแปลงของสถานการณ วธิ ีการท่ีไมใชการทำงานในบทบาทผูจัดการรายกรณี วิธีการที่ไมใชการทำงานในบทบาทผูจดั การรายกรณี (อภิญญา เวชยชยั , 2564:30) ไดแก 1. การใหบริการทั้งหมดแกผูใชบริการรายกรณ(ี Case) โดยตรง แทนที่จะประสานงานกบั หนวยงานตาง ๆ ให เกิดประโยชนสงู สุดตอผูใชบรกิ าร (Case) 2. ทำการตัดสินใจเรื่องตาง ๆ โดยลำพัง แทนที่จะสงเสริมใหทีมงานสหวิชาชีพรวมกันคิดและหาทางออกที่ เหมาะสม 3. เขารับผิดชอบและยึดถือผูเสียหายเปนผูใชบริการรายกรณี(Case) ของตนเองที่ยาวนานแทนที่จะจัดระบบ บริการใหสอดคลองกับเวลาที่เหมาะสม

10 บทท่ี 3 กระบวนการจดั การรายกรณี กระบวนการดำเนินงานในการจัดการรายกรณี มีดังนี้ (อภญิ ญา เวชยชัย, 2564:12-29) ประกอบดวย 1. รบั แจง รับเขา (ดำเนนิ การภายใน 24 ช่วั โมง) 1.1 การเกบ็ รวบรวมรายละเอียดเบื้องตนทันที จากผูแจงเหตุ และตัวผูใชบรกิ าร 1) ชือ่ สกลุ อายแุ ละทอ่ี ยูปจจุบนั ที่สามารถติดตอได 2) สถานที่ทำงาน หรอื โทรศัพท 3) ความสมั พันธเกี่ยวของกบั สมาชิกครอบครวั 4) การรับทราบเหตเุ บื้องตน หรือความเกี่ยวของกบั เหตุที่เกดิ 1.2 รายละเอียดของเหตุการณ 1) วัน เวลา สถานท่เี กิดเหตุ 2) ส่งิ ท่ีพบเห็น บคุ คล พฤติการณ ลกั ษณะของเหตุการณ (การหนอี อกจากบาน การถูกใช ความรนุ แรงการทำราย การถูกทอดทง้ิ ภาวะความพิการ ฯลฯ) 3) บุคคลทเ่ี กี่ยวของกับเหตุการณ 4) สภาพปญหาทางรางกาย จิตใจ 5) ผูกระทำ ความรนุ แรง ความถ่ขี องพฤติกรรม 6) พยานผูรเู หน็ เหตกุ ารณ พยานผูรับฟงเหตกุ ารณ 7) การรับรู ความรวมมือของพอแม ผูปกครอง ผูใกลชดิ 1.3 บทบาทของ CM และ CCM 1) เยี่ยมบาน รับรูความวิตกกังวล ปลอบโยน ทำความเขาใจอารมณ ความรูสึกของผู เก่ียวขอ้ ง รบั ฟงเหตกุ ารณ รายละเอียดตาง ๆ อยางใสใจ 2) ใหกำลงั ใจผูประสบปญหา รับรองเร่อื งการรักษาความลับ 3) ใหหลักประกนั วาการเปดเผยขอมลู จะดำเนนิ การอยางระมดั ระวงั กรณีปญหาทต่ี องเขาสู กระบวนการ ยุติธรรม และตองแจงตอตำรวจ พนกั งานเจาหนาท่ี 1.4 รวบรวมขอมลู และกลั่นกรองเพ่ือพจิ ารณา หรอื ประเมินความเส่ียง 1) พจิ ารณาระดับความรนุ แรงของปญหา ความเส่ียงระดับใด ระดบั สูง ปานกลาง ตำ่ 2) การพจิ ารณาความชวยเหลอื ในระดับทเ่ี หมาะสม เนนความปลอดภัยเปนเปาหมาย สำคัญผานการหารือกบั ผูเกี่ยวของจากหลายฝาย เชน ตำรวจ พนักงานเจาหนาที่ ผูใหญบาน หรอื กำนัน ผูนำ ชุมชนทไ่ี ดรบั การยอมรับ ครู เจาหนาท่ีอนามยั แพทย พยาบาล ผูนำในทองถนิ่ (องคการบรหิ ารสวน ตำบล เทศบาล) และหรือผูนำทางศาสนา (ระมดั ระวงั เรื่องความลบั ) 3) ผูมสี วนรวมในการดำเนนิ งาน ไดแก การติดตอ ประสานงานกบั บุคลากรในพื้นท่ีจังหวัด อำเภอที่มีสวนเกีย่ วของ และสามารถดำเนินงานที่เปนประโยชนตอผูใชบริการ เชน สถานคุมครองคนไร ที่พึ่ง บานพักเด็กและครอบครัว ทนายความ หรอื อยั การ บุคคลในครอบครวั รวมถึงบุคลากรท่ีอยู ในหนวยงานที่เด็กตองเขารบั บริการ เชน โรงพยาบาล สถานศกึ ษา สถานตี ำรวจ ฯลฯ 4) การประสานงานกบั หนวยงาน หรอื ทมี งานสหวชิ าชพี

11 5) การเตรียมความพรอมของผูใชบรกิ ารรายกรณี(case) หากเปนเรื่องละเอยี ดออน ควรใช การคยุ โดยตรงในสถานทปี่ ลอดภัยเปนสวนตัว ระมดั ระวงั เร่ืองการเปดเผยขอมูล การถูกลอเลียน ท้ังในสวน ครอบครวั และเครือญาติ การเตรียมความรูสึกของผูใชบริการรายกรณกี รณีเขาสูกระบวนการยุติธรรม 6) การทำงานกบั ครอบครวั เพ่อื ส่ือสารสถานการณและประเมินความรวมมือของครอบครวั 7) การคนหาทรัพยากร บุคคลที่ผูใชบรกิ ารรายกรณีไววางใจในบาน หรือนอกบาน 2. การประเมินสภาวะ (Assessment) บทบาทของ CM 2.1 การรวบรวมขอมลู ขอเท็จจรงิ เกี่ยวกบั ความรนุ แรง เรงดวนของปญหา สถานการณวกิ ฤต 2.2 ระดบั ความเสย่ี ง ความปลอดภัย 2.3 ความจำเปนของผูใชบริการและครอบครัว 2.4 ความเขมแข็งภายในของผูใชบรกิ าร หรือครอบครวั 2.5 การประเมินลกั ษณะบริการท่ีเหมาะสม สอดคลอง 2.6 การคืนสูครอบครวั อยางมแี ผนการ หรอื การคุมครองสวสั ดภิ าพ 2.7 การประเมินครอบครวั อยางรอบดาน ครอบคลุม 2.8 ประเมนิ ความสัมพันธของสมาชกิ ในทางที่เกื้อกลู (ทางบวก) 2.9 ประเมนิ ความเส่ียงจากบุคคลในบาน ท่ีกอผลกระทบตอผูใชบรกิ าร 2.10 การตดิ ตามสถานการณทเี่ ปลี่ยนแปลงไปในครอบครวั 2.11 การยอมรบั และใหความรวมมือในการแกปญหา 3. การจัดทำแผนบรกิ าร (Service Planning) บทบาทของ CM การเรียกประชุมทีมสหวชิ าชีพ เพ่ือประชมุ วางแผนการชวยเหลอื ผูใชบริการและหรือผูเสียหาย 3.1 การกำหนดเปาหมายของแผนบริการ และประสานงาน จัดทำแผนความชวยเหลอื ระยะเฉพาะ หนา ระยะกลาง ระยะยาว 3.2 การทำความเขาใจกับผูใชบริการ หรือครอบครัว ใหมีสวนรวมกับการกำหนดแผนการบรกิ ารของ ตน และมีความเขาใจเปาหมายของแผน (Life Plan) 3.3 การปฏิบัตกิ ารตามแผนที่กำหนดไวโดยการกำหนดแผนปฏิบตั ิการเฉพาะของตน (Contract Plan) 3.4 การทำงานรวมกับครอบครัว ชมุ ชน 3.5 การทำงานกับหนวยงาน ทรัพยากร ท้ังบุคคล และทรัพยากรบริการ 3.6 การประสานใหเกดิ การเขาถงึ บริการตามแผนฯ 3.7 การจัดหาบรกิ ารท่เี หมาะสมผานบทบาทผูพิทักษสทิ ธิหรือนายหนา 3.8 การติดตามสถานการณทีเ่ ปลย่ี นไปและจัดใหมีการกำหนดแผนโดยสหวชิ าชีพ 4. การกำกับ ติดตาม (Monitoring) บทบาทของ CM 4.1 การทบทวนการดำเนนิ งานตามแผน ในดานทก่ี าวหนาและดานอุปสรรค 4.2 การรวมกนั แกปญหาในระบบบรกิ ารกบั หนวยงานและบคุ ลากรผูรับผิดชอบ 4.3 การนำสถานการณปญหาของระบบบริการเขาสู ทีมสหวชิ าชพี เพ่อื หาทางเลือกในการจดั การป ญหาของ ระบบบริการ 5. การทบทวนและประเมินสภาวะซำ้ บทบาทของ CM และ CCM 5.1 การประเมินความเปล่ียนแปลงเปนระยะ หรือตอเนอื่ ง

12 5.2 ทบทวนความกาวหนาของผลที่ไดตามเปาหมาย 5.3 ทบทวนภาวะเสีย่ งตอการเกดิ ปญหาซ้ำรอย วาลดลงหรอื ไม เพียงใด 5.4 การทบทวนความเหมาะสมของแผนเพื่อจดั ระบบบริการทเี่ หมาะสมใหม ใหสอดคลองกับสถาน การณ 6. การยุตบิ รกิ าร (CM) 6.1 การสรุป บนั ทกึ เอกสารหลกั ฐานของการตดั สินใจและแผนงานท่ีเก่ยี วของทั้งหมด อยางเปน็ ระบบ 6.2 การสงมอบหนาที่ใหแกหนวยงาน/ บุคคลที่มารับหนาท่ตี อตามความเหมาะสม และยุตบิ รกิ าร กรณีทีพบวาผูใชบรกิ ารไดรบั ความชวยเหลอื จนไมมภี าวะเสยี่ ง

13 บทที่ 4 กระบวนการจัดการรายกรณีในการคืนสสู่ งั คม สำหรับ ผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ในการช่วยเหลอื ผเู้ สยี หายจากการค้ามนุษย์ทปี่ ระสบปญั หาต่างๆ ทมี่ ีความสลับซับซ้อนและต้องการ ได้รับบริการความช่วยเหลอื ในหลายด้าน การนำแนวทางวิธกี ารทำงานในรูปแบบของ “การจดั การรายกรณี (Case Management)” จึงเข้ามามบี ทบาทสำคัญยง่ิ ในการวางแผนทำงานรว่ มกัน เพอ่ื ประเมนิ วางแผน ดำเนินการ ประสานงาน ตดิ ตามผล ประเมินทางเลือกรวมทงั้ บรกิ าร เพ่ือใหส้ อดคล้องกับความต้องการในการ คืนสู่สงั คมของผูเ้ สียหายเป็นรายกรณี โดยผ่านการส่อื สารและใช้ทรพั ยากรที่มีอยู่อยา่ งมีประสิทธิภาพและเกดิ ประโยชน์สูงสดุ ต่อผเู้ สียหาย ซ่ึงผจู้ ัดการรายกรณีจะทำงานร่วมกับผู้เสยี หายในการจัดทำแผนการคนื สู่สงั คม และดำเนนิ งานไปตามแผนงานทีก่ ำหนดไว้ โดยดำเนินงานร่วมกับทมี สหวิชาชพี มีการประสานส่งตอ่ ความ ช่วยเหลือให้ผเู้ สยี หายไดร้ ับบริการจากหน่วยงานอ่ืนๆ รวมทัง้ ชว่ ยพทิ ักษ์สิทธิใหผ้ ู้เสยี หายไดเ้ ขา้ ถึงบรกิ ารตาม ความจำเปน็ ซึ่งมุ่งผลลีพธ์ในการสนบั สนนุ กระบวนการคืนสู่สงั คมของตนเอง ซง่ึ การจดั การรายกรณีควรมี มาตรฐานทีเ่ ป็นรูปธรรม ชดั เจน และมีการกำหนดตวั ชว้ี ัดท่ีสามารถตรวจสอบได้ กระบวนการจดั การรายกรณีในการคืนสู่สงั คมสำหรบั ผูเ้ สียหายจากการค้ามนษุ ย์ มีข้ันตอน ดังนี้ 1. ขั้นตอนแรกรบั เป็นจุดเริ่มแรกที่ผู้จัดการรายกรณีได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์ว่า จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ บุคคลที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าอาจเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และได้มีการร้องขอความช่วยเหลือในการ เยียวยาฟน้ื ฟู ส่งกลับ และคนื สู่สังคม ซึ่งจะตอ้ งมีการกำหนดรปู แบบและวิธีการรับเรอื่ ง รวมถึงมาตรการเชิงรุก ในการค้นหาผู้เสียหายเพื่อให้ความช่วยเหลือ หรือเปิดให้มีช่องทางการร้องขอรับความช่วยเหลือโดยตรงจาก ผู้เสียหายหรือผู้แทน ที่คำนึงถึงสวัสดิภาพความปลอดภัยของผู้แจ้งหรือร้องขอความช่วยเหลือ ในขั้นตอนน้ี ผู้จัดการรายกรณีจะต้องการดำเนินการสอบถามหรือแสวงหาข้อเท็จจริงเบื้องต้น เพื่อประเมินถึงระดับความ เดอื ดรอ้ น ผลกระทบ และความรุนแรงของปญั หา บคุ คลทเ่ี ก่ียวขอ้ งทั้งในส่วนของบุคคลแวดล้องผู้เสียหายและ หน่วยงานท่ีใหค้ วามชว่ ยเหลือ ข้อมลู ดา้ นทรพั ยากรที่มีอยู่ เพือ่ วางแผนการทำงานในข้ันตอนต่อไป 2. ข้นั ตอนการคัดกรองเบือ้ งต้น เปน็ การประเมินหรอื คัดกรองเบ้ืองต้น เพือ่ พจิ ารณาว่าบุคคลที่ร้องขอความช่วยเหลอื หรือมผี รู้ อ้ ง ขอให้ความชว่ ยเหลือแกบ่ ุคคลน้นั มีเกณฑ์คุณสมบัตติ รงตามเกณฑก์ ารพจิ ารณาใหค้ วามช่วยเหลอื ในการคืนสู่ สงั คม รวมทั้งการประเมนิ สภาพปัญหาความตอ้ งการและทรพั ยากรท่เี ป็นตน้ ทนุ หรือจุดแขง็ ของผู้เสียหาย โดย ใชเ้ ครอ่ื งมือและกระบวนงานที่กำหนด ในขั้นตอนนี้ ผจู้ ดั การรายกรณจี ะเริ่มสรา้ งสัมพนั ธภาพกับผู้เสียหาย ซ่ึง ตอ้ งใช้ทักษะของการรับฟังอย่างตัง้ ใจ ให้ความเห็นอกเห็นใจ ใหค้ ำปรึกษา การสอบถามซง่ึ ตอ้ งใช้ถ้อยคำ 3. กรณีไมต่ อ้ งมีการดำเนินการใดๆ ตอ่ อันเน่ืองมาจากสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหา ซงึ่ ผู้เสยี หายอาจจะมีปัญหาหรือความต้องการ ประการเดียว โดยผจู้ ัดการรายกรณีสามารถดำเนนิ การให้ความชว่ ยเหลอื นัน้ ได้ และไม่มีความจำเป็นทจี่ ะต้อง ตอบสนองต่อความต้องการหรอื มปี ัญหาอืน่ ใดแก้ไขต่อ 4. ขน้ั ตอนการประเมินความต้องการหรอื ประเมนิ ซำ้ หากผ้เู สยี จำเป็นตอ้ งไดร้ ับความชว่ ยเหลอื จะดำเนนิ การประเมินอยา่ งเต็มรูปแบบ เพื่อพิจารณา ถงึ ความต้องการและจดุ แขง็ อีกครั้ง ภายใต้การไดร้ ับความยินยอมและสมัครใจจากผเู้ สียหาย การประเมนิ ใน

14 รอบน้จี ะรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมลู ร่วมกนั กับผู้เสียหาย เพอ่ื กำหนดรปู แบบและวธิ กี ารให้ความ ช่วยเหลือที่ตอ้ งการร่วมกัน โดยผูจ้ ัดการรายกรณีควรตอ้ งรับฟังและพยายามทำความเข้าใจต่อสถานการณ์และ เรอื่ งราวของผ้เู สียหาย คน้ หาถึงความต้องการกบั ความจำเป็นของผเู้ สยี หาย ซงึ่ ผทู้ เ่ี กย่ี วขอ้ งอาจมีความสนใจที่ แตกต่างกัน ดังน้นั จงึ ควรใช้กระบวนการปรกึ ษาหารือเพ่ือการตดั สินใจ ทไี่ ดม้ ีการกำหนดวัตถุประสงค์อยา่ ง ชดั เจนรว่ มกัน 5. ขั้นตอนการวางแผนการใหค้ วามชว่ ยเหลอื ด้วยการทำงานร่วมกับผู้เสียหายโดยพิจารณากำหนดเป้าประสงค์และกิจกรรมที่จะต้อง ดำเนินการเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เสียหาย ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา ทรัพยากรที่ต้องการ ใน การเขียนแผนการคืนสู่สังคมจะต้องบรรยายให้เห็นถึงส่ิงที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยกำหนด เป้าหมายระยะสั้น ระยะยาว ทั้งนี้ พึงระลึกว่าแผนการคืนสู่สังคมนี้ มีความยืดหยุ่นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ โดยมกี ารทบทวนแผนเปน็ ระยะร่วมกับผูเ้ สียหาย และสามารถปรับเปลยี่ นได้ตามความเหมาะสม 6. ขน้ั ตอนการลงมือดำเนินการ ในช่วงระยะเวลาของการดำเนินงานตามแผน ผจู้ ดั การรายกรณจี ะต้องกำกับดูและเพื่อให้ม่นั ใจว่า ไดม้ ีการให้ความช่วยเหลอื และการจดั สรรทรัพยากรสนับสนนุ อยา่ งเพียงพอ เพอ่ื ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ ผ้จู ดั การรายกรณีอาจต้องให้คำแนะนำปรึกษาและจดั บรกิ ารอื่นๆ เพ่ิมเติม หรอื อาจต้องส่งต่อผูเ้ สียหายให้ ไดร้ ับความชว่ ยเหลอื จากหนว่ ยงานอืน่ จากนน้ั ติดตามเพ่อื พิจารณาวา่ ผเู้ สียหายสามารถเข้าถงึ บริการหรอื ไม่ มี ประเด็นปญั หาอน่ื ใดต้องแกไ้ ขเพ่ิมเติมหรอื ไม่ ในบางกรณีผู้จัดการรายกรณีอาจะต้องร่วมเดนิ ทางไปเปน็ เพ่อื น ผู้เสยี หาย ด้วยผู้เสียหายบางรายอาจจะไม่กล้าหรือไม่สามารถเขา้ ไปรอ้ งขอความช่วยเหลอื จากหน่วยงาน ต่างๆ ดว้ ยตนเองได้ หากในกรณีท่มี ีปัญหายุ่งยากซับซ้อน ผ้จู ดั การายกรณีควรต้องหารือผูบ้ ังคบั บญั ชาเพื่อขอ ความเหน็ ชอบก่อนการดำเนนิ การ 7. ขั้นตอนการประเมนิ ผล โดยพจิ ารณาวา่ แผนงานได้บรรลผุ ลไปตามเปา้ หมายทีก่ ำหนดไวห้ รอื ไม่ หากจำเป็นต้องมีการ เปล่ยี นแปลง ให้ดำเนินการตามขั้นตอนที่ 4 เพื่อทบทวนและประเมินความต้องการอีกคร้ัง และทำความเข้าใจ ในแผนงานทปี่ รับเปล่ยี นรว่ มกัน 8. ขนั้ ตอนการยตุ ิบรกิ าร แผนงานการคืนสสู่ ังคม จะต้องระบุถึงสงิ่ ที่ประสงคจ์ ะให้เกิดการเปล่ียนแปลงเพือ่ ที่จะได้ยุติ บรกิ าร เม่ือบรรลุเป้าหมายท่ีได้กำหนดรว่ มกันไวแ้ ลว้ หรือพบว่าเปา้ หมายดงั กลา่ วไมส่ ามารถดำเนนิ การได้ตาม ความเป็นจริง หรือเป้าหมายทกี่ ำหนดไมส่ ามารถมสี ่วนช่วยให้ผู้สยี หายคืนสู่สงั คมได้ หรือพบวา่ ไม่จำเป็นต้อง กำหนดเป้าหมายใหม่อื่นใดแล้ว จึงสามารถยุตกิ ารให้บริการได้ ณ ทีน่ ี้ การยตุ ิการใหบ้ ริการอาจหมายถึง การ สง่ ตอ่ ผเู้ สยี หายให้เขา้ รบั บริการในหนว่ ยงานอ่นื ในบรกิ ารท่ีไม่สามารถจดั ให้ได้ ผูเ้ สียหายไดย้ า้ ยถน่ื ท่อี ยู่ใหม่ และไมส่ ามารถติดตามได้ ไม่ประสงค์ทจ่ี ะได้รบั บริการอกี ต่อไป หรือเสียชวี ติ ทัง้ น้ี อาจพิจารณาใหค้ วาม ชว่ ยเหลือใหม่ได้อกี ในกรณีที่ผเู้ สียหายหรอื ครอบครัวประสงคแ์ ละร้องขอความช่วยเหลือโดยใหด้ ำเนนิ ตาม ขั้นตอนที่ 4 ของกระบวนการจัดการายกรณีตอ่ ไป ในการจัดการ รายกรณีเพื่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงในชีวิตของผู้เสียหายและคร อบคร ั ว ซ่ึ ง จำเป็นต้องดึงความร่วมมือจากผู้ให้บริหารหรือหน่วยงานต่างๆ ให้ดำเนินกิจกรรมในการให้ความช่วยเหลือที่ เกี่ยวข้อง มีความสอดคล้องและประสานงานกันด้วยดี ผู้จัดการรายกรณีอาจจัดให้มีการประชุมเพื่อ ปรึกษาหารือในการวางแผนและแก้ไขปัญหาร่วมกัน (Case Conference) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นในหลายระดับ

15 ตั้งแต่การประชุมระหว่างผู้จัดการรายกรณีกับผู้เสียหาย การประชุมร่วมกับครอบครัวของผู้เสียหาย หรือการ ประชุมร่วมกับคณะทำงานสหวิชาชีพ ไปจนถงึ การประชุมจดั การรายกรณใี นระดบั ระหว่างประเทศ


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook