สัญญาให้ 0801121 วิชาเอกเทศสัญญา จัดทำโดย นายหิรัญพฤกษ์ ท้ายฮู้ รหัสนิสิต:631081342 คณะนิติศาสตร์ เสนอ อาจารย์ วีณา สุวรรณโณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
คำนำ อีบุ๊คเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่ อเป็ นส่วนหนึ่ งของวิชา เอกเทศสัญญาเพื่ อให้ศึกษาในเรื่ องสัญญาให้และให้เป็ น ประโยชน์กับการเรียนวิชาเอกเทศสัญญาหรือนักศึกษา ที่กำลังศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่หากมีข้อผิด พลาดประการใดผู้จัดทำขอน้ อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย 631081342 นายหิรัญพฤกษ์ ท้ายฮู้ คณะนิ ติศาสตร์ ผู้จัดทำ
สารบัญ 2-3 4-7 ความหมายของสัญญาให้ 8-14 ลักษณะสำคัญของสัญญาให้ 15-17 ประเภทของสัญญาให้ 18-19 ความสมบูรณ์ของสัญญาให้ 20-25 หลักการโอนกรรมสิทธิ์ 26-27 การถอนคืนการให้ 28-29 เหตุของการระงับแห่งสิทธิ 30 การคืนทรัพย์สินเมื่อมีการถอนคืนการให้ 31 สรุปสัญญาให้ บรรณานุกรม
1 สัญญาให้
2 1.ความหมายของสัญญาให้ กล่าวคือ เป็นสัญญาระหว่างผู้ให้และผู้รับโดยผู้ให้มีการ โอนทรัพย์สินของตนให้แก่ผู้รับด้วยความเสน่หาและผู้รับยอม รับเอาทรัพย์สินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 วาง หลักไว้ว่า \"อันว่าให้นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น\" ***การให้โดยเสน่หา เป็นการให้เปล่าไม่มีค่าตอบแทนใดๆ มิใช่ เป็นการให้ เพราะความรักหรือความใคร่ *** ดังนั้น สัญญาให้ จึงไม่เป็ นสัญญาต่างตอบแทน เพราะ ผู้ให้เท่านั้นมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ให้แก่ผู้รับแต่ผู้รับไม่มีหน้ าที่ต้องตอบแทนด้วยแต่ อย่างใด หากผู้รับต้องตอบแทนด้วยสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจ เป็ นสัญญาซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนมิได้เป็ นสัญญาให้
3 ตัวอย่างที่ 1 นาย ก ให้บ้านเรือนไทยหลังหนึ่งโดยเสน่หาให้แก่นาย ข หรือ นาย ก ให้รถยนต์และสร้อยคอทองคำแก่นาย ข ใน โอกาสพิธีมงคลสมรส ทั้งนี้ นาย ข ผู้รับไม่จำเป็นต้องให้ อะไรตอบแทนคืนแก่นาย ก ผู้ให้แต่อย่างใด มิเช่นนั้นจะ เป็ นเรื่ องอื่ นไป ตัวอย่างที่ 2 มหาวิทยาลัยทักษิณมอบทุนการศึกษาให้แก่นิสิตเรียนดี แต่มีฐานะยากจนจำนวน 20 ทุน ทุนละ 20,000 บาท หรือมหาวิทยาลัยทักษิณมอบพันธู์ปลาสวายจำนวน 500 ตัวให้แก่ชาวบ้านที่มีภูมิลำเนารอบข้างมหาวิทยาลัย ดังนี้ เป็นสัญญาให้
4 2.ลักษณะสำคัญของสัญญาให้ 2.1 สัญญาให้หรือการให้โดยเสน่หาเป็นนิติกรรมสัญญา อย่างหนึ่ ง จึงต้องนำเอาบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับการทำนิติกรรม สัญญาระหว่างบุคคลมาใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล สำหรับบุคคลธรรมดาที่เข้าทำสัญญาให้นั้นก็จะต้อง เป็ นผู้มีความสามารถตามกฎหมายโดยนำเอาบทบัญญัติใน บรรพ 1 มาใช้บังคับด้วย เช่น กรณีคนเสมือนไร้ความสามารถ หากจะรับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือภาระติดพัน จะต้อง ได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อนตาม มาตรา 34 (7) นอกจากนั้น การแสดงเจตนาที่สมบูรณ์จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญ คือ ต้องเป็นเจตนาที่ตรงกับเจตนาภายใน การแสดง เจตนาจะต้องไม่บกพร่องเพราะความสำคัญผิด กลฉ้ อฉล หรือ การข่มขู่ ใดๆ
5 ดังนั้น การแสดงเจตนาจะต้องไม่เกิดจากการถูกข่มขู่ กลฉ้ อฉล ความสำคัญผิด ไม่ว่าจะเป็นการสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็น สาระสำคัญ แห่งนิติกรรม หรือสำคัญในตัวบุคคลหรือตัว ทรัพย์สิน นอกจากนี้ สัญญาให้จะต้องไม่มีวัตถุประสงค์อันขัดต่อ ความสงบเรียบร้อย หรือต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ตัวอย่าง นางมะลิทำสัญญาให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแก่นายปาร์คคน ต่างชาติซึ่งข้อเท็จจริงพบว่านายปาร์คคนต่างชาติไม่ได้รับ อนุญาตจากรัฐมนตรีฯตามกฎหมายที่ดินให้ถือครองที่ดิน ได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้ ถือได้ว่าเป็นสัญญาให้ที่ขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย นายปาร์ค นางมะลิ
6 2.2 สัญญาให้เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่าย คือ ฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผู้รับโดยวัตถุประสงค์ของสัญญาให้ นั้น คือฝ่ายผู้ให้โอนกรรมสิทธิ์ ในทรัพย์สินของตนให้แก่ฝ่าย ผู้รับโดยเสน่หาสำหรับ“ทรัพย์สิน”ที่ให้แก่กันได้นั้นอาจเป็ นได้ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ สังหาริมทรัพย์พิเศษและสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน รถยนต์ สัตว์เลี้ยง โทรศัพท์ เป็นต้น อนึ่งฝ่ายผู้รับนั้น จะต้องมีสภาพบุคคล ตามกฎหมายและต้องยอมรับเอาทรัพย์สิ้น นั้นไว้ด้วย และไม่ต้อง ตอบแทนคืนผู้ให้แต่อย่างใด เช่น การให้ ทรัพย์แก่สมาคมที่ตั้งขึ้น โดยไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมายนั้น ไม่สมบูรณ์เพราะมีแต่เพียง ผู้ให้ แต่ไม่มีบุคคลผู้รับ เนื่องจาก สมาคมนั้นไม่ได้จดทะเบียนตามกฎหมาย ไม่ใช่นิติบุคคล ผู้ให้ จึงมีสิทธิฟ้ องเรียกคืนเงินที่ให้ได้ ตัวอย่าง นาย ก. ให้บ้านโดยเสน่หา หรือนาย ก. ให้ รถยนต์ โดยเสน่หา หากผู้ให้มีเจตนาให้โดยเสน่หาแต่ไม่มีผู้รับ หรือผู้รับปฏิเสธการรับทรัพย์สิน ดังนี้ ไม่ใช่สัญญาให้เนื่อง จากไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา 521 ดังนั้น การให้จะต้องมีผู้ให้และผู้รับและผู้รับต้อยอมรับ เอาทรัพย์สินที่ให้นั้น
7 2.3 การให้นั้นย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ ให้ ตามมาตรา 523 ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบโดยตรงหรือโดยปริยาย อันเป็น การทำให้ทรัพย์สินที่ส่งมอบนั้นตกไปอยู่ในเงื้ อมมือของอีกฝ่ าย ซึ่งแตกต่างจากสัญญาซื้อขายที่ไม่ได้โดยพิจารณาถึงความสม บูรณ์ของสัญญาเกี่ยวกับการส่งมอบแต่อย่างใด ตัวอย่าง นาย ก. ให้สร้อยคอทองคำโดยเสน่หาแก่นาย ข. หรือ นาย ค. ให้รถยนต์สีขาวแก่นาย ง. ในโอกาสพิธีสมรส ดังนี้ การให้ย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ ไม่ ว่าจะให้ในขณะทำสัญญาให้หรือในภายหลัง แต่หากยัง ไม่ มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ การให้นั้นย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้รับไม่มีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินที่ให้จากผู้ให้ได
3.ประเภทของสัญญาให้ 8 3.1 การให้เพื่อการปลดหนี้ สำหรับการให้นั้น ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการโอน กรรมสิทธิ์ใน ทรัพย์สินที่ให้เพียงเท่านั้นแต่ยัง หมายถึง การให้ด้วยการปลดหนี้ หรือ การชำระหนี้ แก่ผู้รับตาม มาตรา 522 ก็ได้ ซึ่งมาตรา 522 วางหลักไว้ว่า”การให้ นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหนี้ ซึ่ง ผู้รับค้างชำระอยู่ก็ได้” ดังนั้น การให้ด้วยการปลดหนี้หรือชำระหนี้แก่ผู้รับ ผู้ให้ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโดยตรง กล่าวคือ ผู้รับเป็นหนี้ผู้ให้อยู่และผู้ให้ยกหนี้ให้ ไม่ว่าจะเป็นการปลด หนี้นั้นด้วยวาจาเว้นแต่การปลดหนี้ที่กฎหมายบังคับว่าจะ ต้องทำป็นหนังสือ ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 340 และมาตรา 314
9 มาตรา 340 วางหลักไว้ว่า “ถ้าเจ้าหนี้แสดงเจตนา ต่อ ลูกหนี้ว่าจะปลดหนี้ให้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้น ไป ถ้าหนี้มีหนังสือเป็นหลักฐาน การปลดหนี้ก็ต้องทำเป็น หนังสือด้วย หรือต้องเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่ง หนี้ให้แก่ลูกหนี้ หรือขีดฆ่าเอกสารนั้นเสีย” ส่วนมาตรา 314 วางหลักไว้ว่า “อันการชำระหนี้ นั้นท่านว่าบุคคลภายนอกจะเป็ นผู้ชำระก็ได้เว้นแต่สภาพ แห่งหนี้จะไม่เปิ ดช่องให้บุคคลภายนอกชำระหรือจะขัดกับ เจตนาอันคู่กรณีได้แสดงไว้”
10 3.2 การให้สิทธิอันมีหนังสือเป็นตราสารเป็นสำคัญ มาตรา 524 วางหลักไว้ว่า \"การให้สิทธิอันมีหนัง สือ ตราสารเป็นสำคัญนั้นถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้ รับและมิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น ท่านว่าการให้ย่อมไม่สมบูรณ์\" เช่น ให้สิทธิตามสัญญากู้ ให้สิทธิตามใบโอนหุ้นบริษัท เป็นต้น ตัวอย่าง ในบริษัทแห่งหนึ่ง นาย ก. ได้มอบหุ้นระบุชื่อให้แก่ นาย ข. จำนวน 10 หุ้น ดังนี้ นาย ก. จะต้องทำเป็นหนัง สือและลงลายมือชื่อของผู้โอนและส่งมอบใบหุ้นนั้นให้แก่ นาย ข. การให้สิทธิอันมีหนังสทอเป็นตราสารเป็นสำคัญ นั้นจึงจะสมบูรณ์
11 3.3 การให้อันมีค่าภาระติดพัน การให้โดยมีค่าภาระติดพันนั้น หมายถึง พันธะต่างๆ ที่มีอยู่เหนือทรัพย์สิน เช่น จำนอง จำนำ หรือกรณีใดๆ ก็ตามที่ทำให้ทรัพย์สิน นั้นต้องมีพันธะผูกพันอยู่ หรือ กรณีตั้งเงื่อนไขที่ทำขึ้นในขณะให้นั้นเอง ภาระผูกพัน อาจมีอยู่ก่อนหรือขณะให้ก็ได้ แต่ประการสำคัญต้องเป็น ภาระติดพันเกี่ยวกับตัวทรัพย์นั่นเอง ถ้าไม่เกี่ยวกับตัว ทรัพย์เลยย่อมไม่ใช่การให้โดยมีค่าภาระติดพัน ตัวอย่างการให้โดยมีค่าภาระติดพัน -ให้ที่ดินติดจำนองหรือให้รถยนต์ติดจำนำผู้รับมีหน้ าที่ ไปไถ่ถอนต่อไป -ให้รถยนต์ค้างชำระภาษี 3 ปี ผู้รับมีหน้ าที่ไปเสียภาษี ย้อนหลัง 3 ปี -ให้เงินสด แต่มีเงื่อนไขว่าผู้รับจะต้องนำไปสร้างโบสถ์ที่ ค้างอยู่ให้เเล้วเสร็จ
12 ตัวอย่างที่ไม่ถือว่าเป็นการให้โดยมีค่าภาระ ติดพัน -ให้ที่ดินโดยมีข้อแม้ว่าจะต้องดูแลบุตรให้จนกว่าจะเรียน จบอนุบาล 3 เพราะไม่มีภาระเกี่ยวกับที่ดินเลย การให้โดยมีภาระค่าติดพันนี้ ถ้าผู้รับละเลยไม่ชำ ระภาระ ค่าภาระติดพัน ผู้ให้จะเรียกร้องทรัพย์ที่ให้คืนได้ ในฐานะลาภมิควรได้แต่จะเรียกคืนได้เพียงเท่าที่จะนำไป ชำระค่าภาระติดพันเท่านั้น และถ้าบุคคลภายนอกเป็ นผู้มีสิทธิเรียกร้องให้ชำ ระค่าภาระติดพัน ผู้ให้ย่อมไม่มีสิทธิจะเรียกทรัพย์สินที่ให้ คืน อย่างไรก็ตามถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาน้ อยกว่าค่าภาระ ติดพันผู้รับมีหน้ าที่ชำระเพียงเท่าราคาทรัพย์สินที่ให้ เท่านั้น
13 3.4 การให้ที่มีผลเมื่อผู้ให้ตาย สำหรับการให้ที่มีผลเมื่อผู้ให้ตายนั้น มาตรา 536 วาง หลักไว้ว่า“การให้อันจะให้เป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตายนั้น ท่าน ให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัยกรรม” เนื่ องจากสัญญาให้นั้นเป็ นสัญญาอย่างหนึ่ งที่มีคู่สัญญาสอง ฝ่ ายโดยผู้ให้เจตนายกทรัพย์สินให้ผู้รับและผู้รับยอมรับเอา ทรัพย์สินนั้นไว้เพียงแต่จะมีผลก็ต่อเมื่อผู้ให้นั้นตายซึ่ง กรณีนี้ให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินัย กรรมซึ่งบัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ตั้งแต่มาตรา 1599-1755
14 3.5 คำมั่นในการให้ทรัพย์สิน คำมั่น คือการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของผู้ให้คำมั่นที่มี ผลผูกพันผู้ให้คำมั่นเมื่อมีผู้แสดงเจตนารับรู้ที่สอดคล้องกับ คำมั่น อันเป็นความผูกพันก่อนเกิดสัญญาที่มุ่งประสงค์จะ ทำระหว่างกันจนกว่าจะมีการถอนหรือปฏิเสธคำมั่น มาตรา 526 วางหลักไว้ว่าถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้ คำมั่นว่าจะให้ ทรัพย์สินนั้นได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อ พนักงาน เจ้าหน้ าที่แล้วและผู้ให้ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้รับไซร้ ท่านว่าผู้รับชอบที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคา แทนทรัพย์สินนั้นได้แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่าสินไหมทดแทน อย่างหนึ่ งอย่างใดด้วยอีกได้
15 4.ความสมบูรณ์ของสัญญาให้ หลักทั่วไป มาตรา 523 วางหลักไว้ว่า \"การให้นั้น ท่านว่าย่อม สมบูรณ์ ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้\" ข้อยกเว้น 1.มาตรา 522 วางหลักไว้ว่า การให้นั้นจะทำด้วยปลดหนี้ ให้แก่ผู้รับ หรือด้วยชำระหนี้ซึ่งผู้รับค้างชำระก็ได้ เช่น แกะเจ้าหนี้แสดงเจตนาปลดหนี้กับแพะผู้รับซึ่งเป็ นลูกหนี้ เท่านี้ก็ถือว่าเป็ นสัญญาให้หรือผู้ให้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ แทนลูกหนี้ เป็นต้น
16 2.มาตรา 524 วางหลักไว้ว่า \"การให้สิทธิอันมีหนังสือตรา สารเป็นสำคัญนั้นถ้ามิได้ส่งมอบตราสารให้แก่ผู้รับ และ มิได้มีหนังสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้แห่งสิทธินั้น ท่านว่าการ ให้ย่อมไม่สมบูรณ์\" 3.มาตรา 525 วางหลักไว้ว่า \"การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อ ขายกันจะต้องทำเป็ นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้ าที่นั้น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือ และจดทะเบียนต่อ พนักงานเจ้าหน้ าที่ในกรณีเช่นนี้การให้ ย่อมเป็ นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ\"
17 การให้อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ รวมถึงสิทธิจำนอง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้ าที่ แม้จะมีการส่งมอบโฉนด หรือตั๋ว พิมพ์รูปพรรณหรือทะเบียนใดๆแล้วก็ตามการให้ ย่อมไม่ สมบูรณ์ ดังนั้นการให้ที่มิได้จดทะเบียนย่อมตกเป็ นโมฆะเสีย เปล่าไปตามมาตรา 152 ส่วนการให้ที่ดินมือเปล่า แม้ไม่ได้จดทะเบียนการให้ และไม่ สมบูรณ์ตามมาตรา 525 แต่ถ้าผู้ให้ได้มอบที่ดิน นั้นให้ผู้รับแล้ว ก็ถือว่าผู้ให้ได้สละเจตนาครอบครองที่ดิน แล้ว จึงสมบูรณ์โดยการส่งมอบได้รวมไปถึงการอุทิศที่ดิน ให้เป็ นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินแม้มิได้กระทำตาม มาตรา 525 ก็ย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
18 5. หลักการโอนกรรมสิทธิ์ 5.1. สัญญาให้ในอสังหาริมทรัพย์ หรือ สังหาริมทรัพย์ พิเศษ กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อทำเป็นหนังสือและจด ทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้ าที่ ตัวอย่าง นายไก่ให้บ้านพักตากอากาศแก่นายไข่โดยทั้งสองได้ ไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้ าที่ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพักตากอากาศหลังดังกล่าวย่อม โอนมายังนายไข่แล้วตาม มาตรา 525 แม้ว่าจะยังไม่ได้มี การส่งมอบบ้านพักตากอากาศกันก็ตาม
19 5.2. สัญญาให้ในสังหาริมทรัพย์ทั่วไปกรรมสิทธิ์จะโอนก็ ต่อเมื่อทำการส่งมอบ ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1922/2522 กระบือซึ่งไม่ปรากฏ ว่ามีทะเบียนสัตว์พาหนะตามกฎหมาย การให้สมบูรณ์โดย การส่งมอบไม่จำต้องจดทะเบียน
20 6.การถอนคืนการให้ การให้นั้นตามปกติแล้วเมื่อสัญญาให้เกิดขึ้น และส่ง มอบทรัพย์สินแก่กัน เรียบร้อยแล้วผู้ให้จะเรียกทรัพย์สิน คืนไม่ได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีดังต่อไปนี้ 1.ผู้รับผิดเงื่อนไขของสัญญาให้ 2.ผู้รับประพฤติเนรคุณผู้ให้ อย่างไรก็ตาม ถ้าการให้ที่ต้องทำตามแบบมิได้ทำตาม แบบตามมาตรา 525 หรือสัญญาจะให้หรือคำมั่นว่าจะให้ ทรัพย์สินไม่ได้ทำเป็ นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงาน เจ้าหน้ าที่ตามมาตรา 526 ก็ไม่จำเป็นต้องถอนคืนการให้ แต่อย่างใดเพราะการให้ไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรกกรรมสิทธิ์ ยังคงเป็ นของผู้ให้
21 6.1. หลักการถอนคืนการให้เพราะผู้รับประพฤติเนรคุณ ตามมาตรา 531 มาตรา 531วรรคหนึ่ง วางหลักไว้ว่า \"ถ้าผู้รับได้ประ ทุษร้ายต่อผู้ให้เป็ นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรงตาม ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา\" จะเป็นไปตามมาตรา 531วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย หลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ 1.การประทุษร้ายนั้นต้องเป็ นความผิดทางอาญาตามประ มวลกฎหมายอาญา 2.เป็ นความผิดที่ร้ายแรง 3.เป็ นการกระทำของผู้รับต่อผู้ให้เท่านั้น เมื่อเข้าองค์ประกอบ 3 ประการนี้แล้ว ก็ถอนคืน การให้ได้เลย โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้รับจะถูกศาลพิพากษา ลงโทษแล้วหรือไม่แต่หากผู้รับอ้างเหตุผลของการกระทำ ที่ไม่นับว่าเป็นความผิดหรือไม่ต้องรับโทษ เช่น กระทำ โดยไม่มี เจตนาหรือกระทำด้วยความจำป็นหรือป้ องกัน ตัว เป็นต้น หากเป็นเช่นนี้จะถอนคืนการให้เพราะผู้รับ ประพฤติเนรคุณมิได้
22 มาตรา 531 วรรคสอง วางหลักไว้ว่า \"ถ้าผู้รับได้ ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง\" ตัวอย่าง หลานต่อว่าตาด้วยถ้อยคำหยาบหรือถ้อยคำที่ไม่เหมะสม มาตรา 531วรรคสาม วางหลักไว้ว่า \"ถ้าผู้รับได้บอก ปั ดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็ นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ ยากไร้และผู้รับยังสามารถจะให้ได้\"
23 การพิจารณาจะต้องให้ปรากฏว่าเข้าลักษณะ สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1.ผู้ให้ยากไร้ ไม่มีสิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีพได้ *ผู้ยากไร้ หมายถึง ยากจน ขัดสนเงินทองตาม ฐานะเป็ นเหตุให้ไม่มีสิ่งจำเป็ นเลี้ยงชีพ *ปั จจัยสี่ คือ ที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และ ยารักษาโรค 2.ผู้รับสามารถจะให้สิ่งจำเป็ นแก่ผู้ให้ได้ คือ ผู้รับอยู่ใน ฐานะที่จะให้สิ่งจำเป็ นแก่ผู้ให้ได้ 3.ผู้ให้ได้ขอสิ่งจำเป็ นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้รับแล้ว ถ้าผู้ให้ไม่ ได้ขอและผู้รับไม่ได้ให้ แม้ผู้ให้จะยากไร้สักเพียงใดก็โทษ ว่าผู้รับเนรคุณไม่ได้ และ 4.ผู้รับบอกปั ดไม่ยอมให้ หมายความว่า ผู้รับอยู่ใน ฐานะที่จะให้ผู้ให้ได้และผู้ให้ได้ขอแล้วแต่ผู้รับไม่ให้
24 ข้อยกเว้น มาตรา535 ต้องเข้ากรณีดังนี้ 1.ให้เป็ นบำเหน็จสินจ้างโดยแท้ หมายถึง ให้เป็นเชิง ตอบแทนที่ผู้รับได้ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด จนเป็น ผลสำเร็จแก่ผู้ให้แต่ผู้รับได้กระทำโดยไม่คิดค่าจ้าง ผู้ให้ จึงให้ทรัพย์สินเป็ นบำเหน็จตอบแทน 2.ให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน ได้แก่ การให้ตามมาตรา 528 ผู้รับต้อง ปฏิบัติตามภาระหน้ าที่ตอบแทนการให้ ผู้ ให้จึงไม่อาจถอนคืนการให้ได้ 3.ให้โดยหน้าที่ธรรมจรรยา ได้แก่ การให้ตามหน้ าที่ ศีลธรรมอันดี 4.ให้ในการสมรส คือ การให้ทรัพย์สินแก่ผู้รับในการ สมรส อาจให้ก่อน หรือขณะท าการสมรสก็ได้ แต่ต้อง ระบุว่าเป็นการให้ในการสมรสและการ สมรสนั้นก็ต้อง เป็นการสมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย คือ จดทะเบียน สมรสด้วยและต้องไม่ใช่ว่าสมรสนานแล้วต่อมาคู่สมรส ยากจนลงจึงให้ทรัพย์สิน
25 6.2 การถอนคืนการให้โดยทายาทของผู้ให้ มาตรา 532 สิทธิถอนคืนการให้ เพราะผู้รับประพฤติเนรคุณนี้ ย่อมใช้บังคับได้ทั้ง การให้ทรัพย์สินที่ตกไปถึงมือผู้รับแล้ว และคำมั่นว่าจะให้เป็ นสิทธิเฉพาะตัวไม่ต้องตกทอดถึง ทายาท แต่ทายาทอาจถอนคืนการให้ได้โดยดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา532
26 7.เหตุของการระงับแห่งสิทธิ เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว 6 เดือนนับแต่ผู้ให้ได้ทราบ ถึงเหตุเนรคุณหรือเมื่อพ้น 10 ปี นับตั้งแต่เมื่อเกิดเหตุ การณ์นั้น ดังนั้น เมื่อพิจารณาบทมาตรา 533 แล้ว เหตุแห่ง ความระงับแห่งสิทธิการถอนคืน การให้นั้น มี 2 กรณี ได้แก่ 1. เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณ นั้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการให้อภัยหรือยกโทษด้วยลาย ลักษณ์อักษร วาจา หรือกิริยาของผู้ให้ หรือ 2. เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว 6 เดือนนับแต่เหตุเช่นนั้น ได้ทราบถึงบุคคลผู้ ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ ซึ่งคำว่า “ บุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนให้ ” หมายถึง ผู้ให้และ ทายาทของผู้ให้ตามมาตรา 532 สำหรับอายุความในการฟ้ องคดีขอถอนคืนการให้นั้น ห้ามมิให้ฟ้ องคดีเมื่อ พ้นเวลา 10 ปี ภายหลังที่ได้มีเหตุ ประพฤติเนรคุณตามมาตรา 533 วรรคสอง
27 ตัวอย่าง นาย ก. ทำหนังสือและจดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่ง ให้แก่นาย ข. บุตรของตน ต่อมา นาย ข. ได้ขับไล่นาย ก. ออกจาก บ้านและไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นแก่การเลี้ยงชีพ แต่อย่างใด ต่อมา 7 เดือน นาย ก. ทนไม่ไหวจึงฟ้ องศาล ขอเพิกถอนการให้ ดังนี้ เหตุแห่งความระงับแห่งสิทธิการถอนคืนการให้ นั้นหมดอายุความแล้วเนื่องจากล่วงเลยระยะเวลา 6 เดือน นับแต่เหตุเช่นนั้นได้ ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอน คืนการให้
28 8.การคืนทรัพย์สินเมื่อมีการถอนคืน การให้ เมื่อถอนคืนการให้แล้ว ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินแก่ผู้ ให้ตาม กฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ ตามมาตรา 534 มาตรา 534 วางหลักไว้ว่า “ เมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืน ทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎ หมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้” ซึ่งการส่งทรัพย์สินคืนเมื่อ มีการถอนคืนการให้นั้นเป็นไปตามบทบัญญัติ แห่ง ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย “ ลาภมิควรได้ ” ตามมาตรา 412-418 ดังนั้นหากผู้รับเหลือทรัพย์สินอยู่เพียงเท่าใดก็คืน ให้ เท่านั้นโดยคืนตามสภาพที่เป็นอยู่ ไม่ใช่คืนทรัพย์สิน เต็มจำนวนทั้งหมดที่ได้รับมาแต่อย่างใด
29 ตัวอย่าง นาย ก. เจ้าของฟาร์มปลามังกรตกลงให้ปลามังกรแดง แก่ นาย ข. เป็นจำนวน 10 ตัว ต่อมาปลามังกรดังกล่าว ตายเพราะน้ำในบ่อเสีย โดยเหลือปลามังกรเพียง 5 ตัว ดังนี้ นาย ข. ผู้รับก็จะต้อง คืนปลามังกรที่เหลืออยู่ 5 ตัว นั้นแก่นาย ก. ผู้ให้หากมีการถอนคืนการให้
30 สรุป สัญญาให้ สัญญาให้เป็ นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ งที่มีคู่สัญญา สองฝ่ ายคือฝ่ ายผู้ให้และฝ่ ายผู้รับสัญญาให้จึงไม่ใช่นิติ กรรมฝ่ายเดียว แต่อย่างใดวัตถุประสงค์ของสัญญาให้นั้น คือฝ่ ายผู้ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตนให้แก่ฝ่ าย ผู้รับโดยเสน่หาให้ไปโดยไม่มีค่าตอบแทนอันเป็ นลักษณะ ของการให้เปล่าสัญญาให้จึงไม่ใช่สัญญาต่างตอบแทนและ ไม่มีค่าตอบแทนสำหรับทรัพย์สินที่สามารถให้แก่กันได้นั้น อาจเป็ นได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์สังหาริมทรัพย์พิเศษและ สังหาริมทรัพย์ โดยการให้นั้นย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบ ทรัพย์สินที่ให้ไม่ว่าจะเป็ นการส่งมอบโดยตรงหรือโดย ปริยายอันเป็ นการทำให้ทรัพย์ที่ส่งมอบนั้นตกไปอยู่ใน เงื้อมมือของอีกฝ่ายหนึ่ง แต่อย่างไรก็ดีการให้นั้นไม่จํา เป็ นต้องหมายถึงการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เพียง เท่านั้น แต่ยังหมายการให้ด้วยการปลดหนี้หรือชำระหนี้ แก่ผู้รับก็ได้ดังนั้นการให้ด้วยการปลดหนี้หรือชำระหนี้ผู้รับ นั้นผู้ให้ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับโดยตรงกล่าวคือ ผู้รับเป็ นหนี้ผู้ให้อยู่และผู้ให้ให้ไม่ว่าจะเป็ นการปลดหนี้นั้น ด้วยวาจาเว้นแต่การปลดหนี้ที่กฎหมายบังคับว่าจะต้อง หนังสือ
31 บรรณานุกรม ธีรยุทธ ปักษา.คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ ซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้ เช่าทรัพย์ เช่า ซื้อ.กรุงเทพฯ : นิติธรรม,2564 ความหมายของสัญญาให้.(2558).ออนไลน์].เข้าถึงได้ จาก:https://sites.google.com/site/classpiyawan/hnwy- thi3sayya-hi .(วันที่ค้นข้อมูล: 29 กันยายน 2564).
Search
Read the Text Version
- 1 - 35
Pages: