Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 631081252

631081252

Published by อดิศักดิ์ จิตรแก้ว, 2021-10-08 15:55:13

Description: นางสาวรพีพรรณ จันทร์ศิริ 631081252

Search

Read the Text Version

เอกเทศสั ญญา เรื่อง สัญญาให้ เสนอ อาจารย์วีณา สุวรรณโณ จัดทำโดย นางสาวรพีพรรณ จันทร์ศิริ รหัสนิ สิต 631081252 S102

สารบัญ หน้ า เรื่อง 1 2 -ความหมายของสั ญญาให้ 5 -ลักษณะสำคัญของสั ญญาให้ -มาตราที่เกี่ยวข้อง 28 มาตรา521-536 -บรรณานุกรม

สัญญาให้ คือ ?? 1 สั ญญาให้เป็นสั ญญาซึ่งมีคู่สั ญญาสองฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่ งเป็นผู้ให้ และอีกฝ่ายหนึ่ งเป็นผู้รับ และทั้งสองฝ่ายแสดงเจตนาให้ มีการโอนและ รับโอนทรัพย์สินอันเป็นวัถตุของสัญญา ด้วยเหตุนี้ ความสำคัญของสั ญญาให้จึงอยู่ที่การตกลงของเจตนา ซึ่งผู้ให้โอนกรรมสิ ทธิ์ในทรัพย์สิ นให้แก่ผู้รับโดย มิได้ค่าตอบแทนและผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้ น จึงเป็นการให้โดยเสน่ หาไม่มีค่าตอบแทน สัญญาให้ไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน เพราะ ผู้รับไม่ต้องทำหน้ าที่ตอบแทนอย่างไร คงรับเอา ประโยชน์ จากผู้ให้แต่ฝ่ายเดียวเท่านั้ น และผู้ให้ ก็ให้ไปโดยเสน่ หา

ลักษณะสำคัญของสั ญญาให้ 2 1) ผู้ให้ต้องแสดงเจตนาให้โดยตรงหรือโดยปริยายและโดยเสน่ หา 2)ผู้รับต้องแสดงเจตนายอมรับการให้นั้ น 3) ผู้รับต้องมีตัวตนอยู่ในขณะให้ 1. ผู้ให้ต้องแสดงเจตนาให้โดยตรงหรือโดยปริยายและ โดยเสน่หา ดังนั้ นถ้าเป็นสัญญาที่ต้องมีการตอบแทนกันแล้ว ไม่เป็นสัญญาให้เพราะสัญญาให้ต้องเป็นการให้โดยเสน่ หา ผู้รับไม่ต้องทำหน้ าที่ตอบแทนอย่างไรจึงจะถือว่ามีการ ตอบแทนนั้ น

2. ผู้รับต้องแสดงเจตนายอมรับการให้นั้น 3 การยอมรับการให้นั้ นไม่ทำให้สัญญาให้เป็นสัญญาต่าง ตอบแทนเพราะผู้รับเป็นฝ่ายได้รับอย่างเดียวไม่ต้อง ตอบแทนแก่ผู้ให้ แต่อย่างใดถ้าผู้รับยังไม่แสดงเจตนา ยอมรับหรือไม่ยอมรับการให้หรือไม่ทราบว่าเป็นการให้ เช่น เข้าใจว่าผู้ให้ให้ยืมหรือเอามาจำนำ ฯลฯ สัญญาให้ก็ยัง ไม่เกิดขึ้นจะต้องมีการแสดงออกเช่นเดียวกับการแสดง เจตนาของผู้ให้การแสดงเจตนาที่จะยอมรับเอาทรัพย์สิ น นั้ นอาจจะดูได้จากพฤติการณ์การกระทําของผู้รับโดยขึ้น อยู่กับข้อเท็จจริงแต่ละกรณี ไป

3. ผู้รับยังคงต้องมีตัวตนอยู่ในขณะให้ 4 หากผู้รับไม่มีตัวตนอยู่ในขณะให้แล้วจะถือว่ามีการ ยอมรับแล้วไม่ได้เพราะลักษณะให้นั้ นผู้รับจะแสดง เจตนารับในภายหลังไม่ได้จะต้องแสดงเจตนาต่อเนื่ อง เป็นกรรมและวาระเดียวกันกับการแสดงเจตนาของผู้ให้ มิฉะนั้ นอาจเป็นเพียงคำมั่นจะให้

5 มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 521-536

มาตรา 521 อันว่าให้นั้ น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ ง 6 เรียกว่า ผู้ให้ โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่ หาแก่ บุคคลอีกคนหนึ่ งเรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอา ทรัพย์สินนั้ น สาระสำคัญของสั ญญาให้ 1. สัญญาให้หรือการให้โดยเสน่ หาเป็นนิ ติกรรมสัญญาอย่าง หนึ่ งจึงต้องนำเอาบทบัญญัติทั่วไปเกี่ยวกับการเข้าทำนิ ติกรรม สั ญญาระหว่างบุคคลมาใช้บังคับไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือ นิ ติบุคคลสำหรับบุคคลธรรมดาที่เข้าทำสัญญาให้นั้ นก็จะต้องเป็น ผู้มีความสามารถตามกฎหมาย

2. สัญญาให้เป็นสัญญาที่มีคู่สัญญาสองฝ่ายคือฝ่ายผู้ให้และฝ่ายผู้รับโดย 7 วัตถุประสงค์ของสัญญาให้นั้ นคือฝ่ายผู้ให้โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของตน ให้แก่ฝ่ายผู้รับโดยเสน่ หาสำหรับ“ ทรัพย์สิน” ที่สามารถให้แก่กันได้นั้ น อาจเป็นได้ทั้งอสั งหาริมทรัพย์สั งหาริมทรัพย์พิเศษและสั งหาริมทรัพย์ เช่น บ้านที่ดินรถยนต์สัตว์เลี้ยงโทรศัพท์เป็นต้นอนึ่ งฝ่ายผู้รับนั้ นจะต้องมี สภาพบุคคลตามกฎหมายและต้องยอมรับเอาทรัพย์สินนั้ นไว้ด้วยไม่เช่นนั้ น ไม่ถือว่าไม่มีฝ่ายผู้รับและไม่จำต้องตอบแทนคืนกลับไปให้ผู้ให้ ตัวอย่าง. นายก. ให้บ้านโดยเสน่ หาหรือนายก. ให้รถยนต์โดยเสน่ ห์หาหากผู้ ให้มีเจตนาให้โดยเสน่ หา แต่ไม่มีผู้รับหรือผู้รับปฏิเสธการรับทรัพย์สินดังนี้ ไม่ใช่สัญญาให้เนื่ องจากไม่ครบองค์ประกอบตามมาตรา 521

8 มาตรา 522 การให้นั้ นจะทำด้วยปลดหนี้ ให้ แก่ผู้รับหรือด้วยชำระหนี้ ซึ่งผู้รับค้างชำระก็ได้ มาตรา 523 การให้นั้ นท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อ เมื่อส่งมอบทรัพย์สิน ที่ให้

ข้อสั งเกต 9 สำหรับคำว่า“ ทรัพย์สิน” ตามมาตรา 523 หมายถึงเฉพาะ สังหาริมทรัพย์ทั่วๆไปเท่านั้ นเช่นรถยนต์อาหารสร้อยคอทองคำผลไม้ สั ตว์เลี้ยงเป็นต้นไม่ได้หมายถึงอสั งหาริมทรัพย์หรือสั งหาริมทรัพย์ บางชนิ ดซึ่งถ้าจะซื้อขายต้องทำเป็นหนั งสือและ จดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ ง คำพิพากษาฎีกาที่ 499/2491 เจ้าของยกโรงเรือนให้โดยต้องรื้อถอนไปจากที่ดินผู้รับจึงรื้อถอนไป นั้ นสภาพของเรือนตอนที่ถูกรื้อโดยคำสั่งของผู้ให้นี้ ไม่อยู่ในลักษณะ ที่จะเป็นอสังหาริมทรัพย์ต่อไป แต่ได้กลายสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ แล้วแต่บัดนั้ นการยกให้แม้จะไม่ได้ทำเป็นหนั งสือและจดทะเบียนก็ ย่อมสมบูรณ์ คำพิพากษา

10 มาตรา 524 การให้สิทธิอันมีหนั งสือตราสารเป็นสำคัญนั้ นถ้ามิได้ส่งมอบ ตราสารให้แก่ผู้รับและมิได้มีหนั งสือบอกกล่าวแก่ลูกหนี้ แห่งสิทธินั้ น ท่าน ว่าการให้ย่อมไม่สมบูรณ์ มาตรา 525 การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนั งสือและจด ทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่นั้ น ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็น หนั งสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่ ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็น อันสมบูรณ์ โดยมิพักต้องส่ งมอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2537 11 การยกให้โดยเสน่ หาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ที่จะตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 525 ที่จะต้องทำเป็นหนั งสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่ตามนั ย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 521 จะต้องมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่ งคือผู้ให้โอน ทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่ ห์หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ ง หรืออีกฝ่ายหนึ่ งเรียกว่าผู้รับ บันทึกข้อ ตกลงแบ่งทรัพย์สินหลังทะเบียนการหย่าระหว่างโจทก์และจำเลย นอกจากโจทก์และจำเลยเป็น คู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์ แห่งสัญญา ระหว่างโจทก์และจำเลยด้วย คือ แทนที่โจทก์และจำเลยจะแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาด้วย กันเอง โจทก์และจำเลยกลับยอมให้ที่ดินจำนวน 2 แปลง และบ้านอีก 1 หลัง ตกเป็นของผู้เยาว์ ทั้งสองหลังจากโจทก์และจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์ ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อ ประโยชน์ บุคคลภายนอก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 มิใช่สัญญาให้ จึง ไม่ตกอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อ พนั กงานเจ้าหน้ าที่ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ในฐานะคู่สัญญาย่อม มีอำนาจฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสั ญญา

12 มาตรา 526 ถ้าการให้ทรัพย์สินหรือให้คำมั่น ว่าจะให้ทรัพย์สินนั้ นได้ทำเป็นหนั งสือและ จดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่แล้ว และผู้ให้ ไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้ นแก่ผู้รับไซร้ ท่านว่าผู้รับ ชอบที่จะเรียกให้ส่ งมอบตัวทรัพย์สิ นหรือราคา แทนทรัพย์สินนั้ นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่า สินไหมทดแทนอย่างหนึ่ งอย่างใดด้วยอีกได้

13 คํามั่นจะให้ทรัพย์สินสำหรับ“ คำมั่นจะให้ทรัพย์สิน” นั้ นก็สามารถทำได้และหาก พิจารณาไปตามบทมาตรา 526 แล้วนั้ นหากเป็นการให้ทรัพย์สินหรือการให้คำมั่นว่าจะ ให้ทรัพย์สินนั้ นได้ทำเป็นหนั งสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่แล้วและผู้ให้ไม่ ส่งมอบทรัพย์สินนั้ นแก่ผู้รับดังนี้ ผู้รับมีสิทธิที่จะเรียกให้ส่งมอบตัวทรัพย์สินหรือราคา แทนทรัพย์สินนั้ นได้ค่าสินไหมทดแทน แต่อย่างใด แต่ไม่สามารถที่จะเรียกเอา ตัวอย่าง นายก. ให้คำมั่นว่าจะให้บ้านพักตากอากาศแก่นายข. โดยทั้งสอง ได้ไปทำเป็นหนั งสือและจดทะเบียนต่อพนั กงานเจ้าหน้ าที่ดังนี้ ย่อมแสดงว่า นายก. มีเจตนาจะให้กรรมสิทธิ์ในบ้านพักตากอากาศตกเป็นของนายข. อย่างแน่ นอนนายก. จึงต้องผูกพันที่จะให้ทรัพย์สินนั้ นแก่นายข. หากนายก. ผู้ให้ไม่ส่ งมอบทรัพย์สิ นให้แก่ผู้รับผู้รับมีสิ ทธิที่จะเรียกให้ส่ งมอบบ้านพัก ตากอากาศหรือราคาแทนบ้านพักตากอากาศนั้ นได้ แต่ไม่ชอบที่จะเรียกค่า สินไหมทดแทนอย่างหนึ่ งอย่างใดทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 526

มาตรา 527 ถ้าผู้ให้ผูกตนไว้ว่าจะชำระหนี้ เป็น 14 คราว ๆ ท่านว่าหนี้ นั้ นเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อผู้ให้ หรือผู้รับตาย เว้นแต่จะขัดกับเจตนาอันปรากฏแต่ มูลหนี้ ตัวอย่าง นายก. เจ้าของฟาร์มปลามังกรตกลงจะให้ปลามังกรแดง แก่นายข. เป็นจำนวน 10 ตัวโดยแบ่งการให้ปลามังกรแดงตามตกลง เดือนละ 1 ตัวเป็นระยะเวลา 10 เดือนซึ่งนายก. ได้ส่งมอบปลามาให้แก่ นายข. แล้วเป็นเวลา 3 เดือนต่อมานายก. ถึงแก่ความตายดังนี้ ถือว่าหน ตามสัญญาให้ของนายก. นั้ นเป็นอันระงับสิ้นไปเพราะความตายของผู้ให้ เว้นแต่จะขัดกับเจตนาอันปรากฏ แต่มูลหนี้ ตามมาตรา 527

15 มาตรา 528 ถ้าทรัพย์สินซึ่งให้นั้ นมีค่าภารติดพันและผู้รับละเลยเสียไม่ชำระค่า ภารติดพันนั้ นไซร้ ท่านว่าโดยเงื่อนไขอันระบุไว้ในกรณี สิ ทธิเลิกสั ญญาต่าง ตอบแทนกันนั้ นผู้ให้จะเรียกให้ส่งทรัพย์สินที่ให้นั้ นคืนตามบทบัญญัติว่าด้วยคืน ลาภมิควรได้นั้ นก็ได้เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์นั้ นไปใช้ชำระค่าภารติดพันนั้ น แต่สิทธิเรียกคืนอันนี้ ย่อมเป็นอันขาดไป ถ้าบุคคลภายนอกเป็นผู้มีสิทธิจะเรียก ให้ชำระค่าภารติดพันนั้ น ผู้ให้ก็มิได้ให้ทรัพย์สินนั้ นไปเปล่าๆ โดยผู้ให้กำหนดให้ผู้รับให้ชำระค่าภาระ ติดพัน อันเป็นการให้ทรัพย์สินที่มีค่าภาระติดพันด้วย ถ้าผู้รับไม่ชำระค่าภาระ ติดพันดังกล่าว ก็จะมีผลให้ผู้ให้เรียกคืนทรัพย์สินได้

16 คำพิพากษาฎีกาที่ 87/2532 การที่โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยผู้เป็นบุตร โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยต้องส่งข้าวเปลือกให้โจทก์ปีละ 10 ดังนั้ นยังถือ ไม่ได้ว่าเป็นการให้ทรัพย์สินโดยมีค่าการติดพันตามมาตรา 528 แต่ เป็นการยกให้โดยเสน่ หาเพราะค่าภาระติดพันในที่ดินต้องเป็นการ ติดพันเกี่ยวกับตัวที่ดินเองโดยตรงไม่ใช่ภาระติดพันนอกตัวทรัพย์ ดังนั้น สัญญาให้หากผู้ให้ได้ให้ทรัพย์สินอันมีภาระติดพันบางอย่างซึ่งผู้รับจะต้องปฏิบัติ หรือมีหน้ าที่ในการปลดเปลื้องภาระอันติดพันกับทรัพย์นั้ น ๆ ผู้รับก็จะต้องรับเอาไปทั้ง สิ้นกล่าวคือผู้รับมีหน้ าที่ในการปลดเปลื้องภาระติดพันซึ่งอยู่กับทรัพย์นั้ นหากผู้รับไม่ยอม ชำระค่าภาระติดพันนั้ นผู้ให้ก็สามารถใช้สิทธิในการเลิกสัญญาให้ได้โดยผู้ให้จะเรียกให้ส่ง ทรัพย์สินที่ให้นั้ นคืนตามบทบัญญัติว่าด้วยคืนลาภมิควรได้ก็ได้เพียงเท่าที่ควรจะเอาทรัพย์ นั้ นไปใช้ชำระค่าภาระติดพันนั้ น

17 มาตรา 529 ถ้าทรัพย์สินที่ให้มีราคาไม่พอกับการที่จะชำระ ค่าภารติดพันไซร้ ท่านว่าผู้รับจะต้องชำระแต่เพียงเท่าราคา ทรัพย์สินเท่านั้ น มาตรา 530 ถ้าการให้นั้ นมีค่าภารติดพัน ท่านว่าผู้ให้จะ ต้องรับผิดเพื่อความชำรุ ดบกพร่องหรือเพื่อการรอนสิ ทธิเช่น เดียวกันกับผู้ขาย แต่ท่านจำกัดไว้ว่าไม่เกินจำนวนค่าภารติดพัน

การถอนคืนการให้ สำหรับการถอนคืนการให้นั้ นเป็นนิ ติกรรม 18 ฝ่ายเดียวที่ผู้ให้แสดงเจตนาใช้สิ ทธิตามที่กฎหมายกำหนดอันก่อให้เกิด ความเคลื่อนไหวแห่งสิทธิตามมาตรา 149 และมาตรา 534 อย่างไรก็ดี การถอนคืนการให้นั้ นไม่ใช่การเลิกสัญญา แต่อย่างใดเนื่ องจากการบอก เลิกสัญญาโดยทั่วไปนั้ นจะทำได้ต่อเมื่อมีเหตุที่กำหนดไว้โดยข้อสัญญาหรือ โดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเป็นเหตุสืบเนื่ องมาจากการไม่ชำระหนี้ หรือชำระหนี้ ไม่ถูกต้องของคู่สัญญา แต่ในเรื่องของสัญญาให้นั้ นจะเห็นได้ ว่าเมื่อมีการแสดงเจตนาให้และการแสดงเจตนารับและส่ งมอบทรัพย์สิ น ไปแล้วนั้ นสัญญาให้ก็สมบูรณ์คู่สัญญาไม่มีหนี้ ใด ๆ ระหว่างกันอีก แม้ทรัพย์สิ นที่ให้จะชำรุ ดบกพร่องหรือถูกรอนสิ ทธิผู้ให้ก็ไม่จำต้องรับผิด แต่อย่างใดดังนั้ นแม้กฎหมายจะให้สิทธิผู้ให้ในการถอนคืนการให้ตาม มาตรา 531

มาตรา 531 อันผู้ให้จะเรียกถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับประพฤติเนรคุณนั้ น 19 ท่านว่าอาจจะเรียกได้แต่เพียงในกรณี ดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐานอาญาอย่างร้ายแรง ตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญา หรือ (2) ถ้าผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียง หรือหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้าย แรง หรือ (3) ถ้าผู้รับได้บอกปัดไม่ยอมให้สิ่งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ และผู้รับยังสามารถจะให้ได้ อย่างไรก็ตามหากปรากฏพฤติการณ์ ว่าผู้รับประพฤติ เนรคุณตามมาตรา 531 กล่าวคือผู้รับประพฤติอกตัญญูไม่รู้บุญ คุณคนนั่ นเองดังนี้ ผู้ให้อาจถอนคืนการให้เพราะเหตุผู้รับ ประพฤติเนรคุณก็ได้ซึ่งการถอนคืนการให้เพราะผู้รับ ประพฤติเนรคุณมี 3 กรณี ได้แก่

1. ลักษณะอาญาหรือผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรง 20 ตามประมวลกฎหมาย 2. ผู้รับได้ทำให้ผู้ให้เสียชื่อเสียงหรือได้หมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงหรือผู้รับได้ บอกปัดหรือปฏิเสธไม่ยอมให้สิ่ งของจำเป็นเลี้ยงชีวิตแก่ผู้ให้ในเวลาที่ผู้ให้ยากไร้ตาม ฐานานุรูปและผู้รับยังสามารถจะให้ได้ 3. กรณีแรกผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดอาญาอย่างร้ายแรงตามประมวล กฎหมายลักษณะอาญา ตัวอย่าง นายก. วางเพลิงเผาบ้านของนายข. ผู้ให้จนเสียหายหมดทั้งหลังดังนี้ ถือได้ว่า เป็นกรณีที่นายก. ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อนายข. ผู้ให้อันเป็นความผิดฐานอาชญากร อย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญานายข. ผู้ให้อาจถอนคืนการให้เพราะ ผู้รับประพฤติเนรคุณได้ข้อสั งเกตการที่ผู้รับได้ประทุษร้ายต่อผู้ให้เป็นความผิดฐาน อาชญากรอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญานั้ นจะต้องมีความโดย เคร่งครัดกล่าวคือจะต้องเป็นการกระทำของผู้รับเท่านั้ นเว้นแต่ผู้รับจะเป็นผู้ใช้ตาม ประมวลกฎหมายอาญาอันจะต้องรับโทษเสมือนตัวการ

มาตรา 532 ทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ 21 ถอนคืนการให้ได้แต่เฉพาะในเหตุที่ผู้รับ ได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือได้กีดกันผู้ให้ไว้มิให้ถอนคืน การให้ แต่ว่าผู้ให้ได้ฟ้องคดีไว้แล้วอย่างใดโดยชอบ ทายาทของผู้ให้จะว่าคดีอันนั้ นต่อไปก็ได้

22 โดยหลักนั้ นการถอนคืนการให้ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัว แต่อาจมีข้อ ยกเว้นตามมาตรา 532 อันเป็นการถอนคืนการให้โดยทายาทของผู้ให้ดัง นั้ นสิทธิในการถอนคืนการให้โดยทายาทของผู้ให้ตามมาตรา 532 นี้ เป็น กรณี ที่ผู้รับได้ฆ่าผู้ให้ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือผู้รับได้ กีดกันผู้ให้ไว้ไม่ให้ถอนคืนการให้จนผู้ให้ถึงแก่ความตายลงไปดังนี้ กฎหมายให้สิ ทธิแก่ผู้เป็นทายาทของผู้ให้อาจเรียกให้ถอนคืนการให้ได้ ตัวอย่าง นายก. ยกที่ดินแปลงหนึ่ งให้นายข. ต่อมานายข. ได้เกิดทะเลาะ และยิงนายก. ถึงแก่ความตายดังนี้ ทายาทของนายก. สามารถ ขอเพิกถอนการให้นั้ นได้เพราะเป็นกรณีที่นายข. ผู้รับได้ฆ่านายก. ผู้ให้ ตายโดยเจตนาและไม่ชอบด้วยกฎหมาย

มาตรา 533 เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุ 23 ประพฤติเนรคุณนั้ นแล้วก็ดีหรือเมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว หกเดือนนั บแต่เหตุเช่นนั้ นได้ทราบถึงบุคคลผู้ชอบที่ จะเรียกถอนคืนการให้ได้นั้ นก็ดี ท่านว่าหาอาจจะ ถอนคืนการให้ได้ไม่ อนึ่ ง ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลาสิบปีภายหลังเหตุการณ์ เช่นว่านั้ น เมื่อพิจารณาบทมาตรา 533 แล้วเหตุแห่งความระงับแห่งสิทธิการถอน คืนการให้นั้ นมี 2 กรณี ได้แก่ 1. เมื่อผู้ให้ได้ให้อภัยแก่ผู้รับในเหตุประพฤติเนรคุณนั้ นแล้วไม่ว่าจะ เป็นการให้อภัยหรือยกโทษด้วยลายลักษณ์ อักษรวาจาหรือกิริยาของผู้ให้ หรือ 2. เมื่อเวลาได้ล่วงไปแล้ว 6 เดือนนั บ แต่เหตุเช่นนั้ นได้ทราบถึงบุคคลผู้ ชอบที่จะเรียกถอนคืนการให้ซึ่งคำว่า“ บุคคลผู้ชอบที่จะเรียกถอนคืนการ ให้”

24 คำพิพากษาฎีกาที่ 1514/2516 ผู้รับได้ประพฤติเนรคุณ โดยหมิ่นประมาทผู้ให้อย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้ผู้ให้ มีสิ ทธิเรียกถอนคืนการให้จากผู้รับได้แล้วการเพิกถอนการ ให้ด้วยเหตุประพฤติเนรคุณนั้ นผู้ให้ชอบที่จะเรียกถอนการ ให้ได้นั บ แต่วันทราบเหตุเนรคุณภายในกำหนดอายุความ ตามมาตรา 533

25 มาตรา 534 เมื่อถอนคืนการให้ ท่านให้ส่งคืนทรัพย์สินตาม บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิควรได้ การโอนทรัพย์สิ นการส่ งทรัพย์สิ นคืนเมื่อมีการถอนคืนการ ให้สำหรับการส่งทรัพย์สินคืนเมื่อมีการถอนคืนการให้นั้ น มาตรา 534 บัญญัติว่า“ เมื่อถอนคืนการให้ท่านให้ส่งคืน ทรัพย์สินตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยลาภมิ ควรได้ซึ่งการส่งทรัพย์สินคืนเมื่อมีการถอนคืนการให้นั้ นเป็น ไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายว่าด้วย“ ลาภมิควรได้” ตัวอย่าง นายก. เจ้าของฟาร์มปลามังกรตกลงให้ปลามังกร แดงแก่นายข. เป็นจำนวน 10 ตัวต่อมาปลามังกรดังกล่าวตาย เพราะน้ำในบ่อเสียโดยเหลือปลามังกรเพียง 5 ตัวดังนี้ นายข. ผู้รับก็จะต้องคืนปลามังกรที่เหลืออยู่ 5 ตัวนั้ นแก่นายก. ผู้ให้ หากมีการถอนคืนการให้

26 มาตรา 535 การให้อันจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านว่าจะถอน คืนเพราะเหตุเนรคุณไม่ได้ คือ (1) ให้เป็นบำเหน็ จสินจ้างโดยแท้ (2) ให้สิ่งที่มีค่าภารติดพัน (3) ให้โดยหน้ าที่ธรรมจรรยา (4) ให้ในการสมรส ตัวอย่าง นายกให้รถยนต์และสร้อยคอทอ งคำแก่นายข. ในโอกาสพิธีมงคล สมรสต่อมานายกอายุมากขึ้นไม่สามารถเ ลี้ยงดูตนเองได้เลยมาขอความช่วย เหลือจากนายข. ดังนี้ แม้นายจะปฏิเสธไม่ช่วยเหลือนายก. จะเรียกเอารถยนต์ และสร้อยคอทองคำคืนจากนายข. ไม่ได้เนื่ องจากเป็นการให้ในการสมรส (2)

มาตรา 536 การให้อันจะให้เป็นผลต่อเนื่ องเมื่อผู้ให้ 27 ตายนั้ น ท่านให้บังคับด้วยบทกฎหมายว่าด้วยมรดกและ พินั ยกรรม การให้ที่มีผลเมื่อผู้ให้ตายสำหรับการให้ที่มีผลเมื่อผู้ให้ตายนั้ นมาตรา 536 บัญญัติว่า“ การให้อันจะให้เป็นผลต่อเมื่อผู้ให้ตายนั้ นท่านให้บังคับด้วยบท กฎหมายว่าด้วยมรดกและพินั ยกรรม” เนื่ องจากสัญญาให้นั้ นเป็นสัญญาอย่าง หนึ่ งที่มีคู่สัญญาสองฝ่ายโดยผู้ให้เจตนายกทรัพย์สินให้ผู้รับและผู้รับยอมรับ เอาทรัพย์สินนั้ นไว้เพียง แต่จะมีผลก็ต่อเมื่อผู้ให้นั้ นตายซึ่งกรณีนี้ ให้บังคับด้วย บทกฎหมายว่าด้วยมรดกและพินั ยกรรมซึ่งบัญญัติไว้มาประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์บรรพ 6 ตั้งแต่มาตรา 1599-1755

28 บรรณานุกรม -คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิ ชย์ ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าซื้อ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธีรยุทธ ปักษา คณะนิ ติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ -สำนกงานพีศิริ ทนายความ www.perspiri.com


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook