0801221 กฎหมายอาญา 2 ชีวิตและ ร่างกาย คำอธิบายกฎหมายอาญา ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย นายอิทธิกร หมะยิ 631081378
คำนำ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา กฎหมายอาญา 2 ภาคความผิด เพื่อให้ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องกฎหมาย อาญาลักษณะความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อ เป็นประโยชน์กับการเรียน ผู้จัดทำหวังว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่ หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัด ทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย นายอิทธิกร หมะยิ ผู้จัดทำ
สารบัญ หน้า เรื่อง 1 ความผิดต่อชีวิต 7 1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา 2. ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย 10 3. ความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น 12 ถึงแก่ความตาย 14 4. ความผิดต่อชีวิตฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตนเอง 5. ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 16 ความผิดต่อร่างกาย 6. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ 20 ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ 7. ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ 25 ได้รับอันตรายสาหัส บรรณานุกรม
ความผิดต่อชีวิต 1 1. ความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี 1. องค์ประกอบความผิด 1.1 ผู้ใด 1.2 ฆ่า 1.3 ผู้อื่น 1.4 โดยเจตนา (องค์ประกอบภายใน) 2. คำว่า \"ผู้ใด\" หมายถึง บุคคลธรรมดา 3. คำว่า “ฆ่า” หมายถึง ทําให้ตาย โดยไม่จํากัดวิธีการ ไม่ว่าจะเป็น การกระทําโดยตรงหรือโดยอ้อม รวมถึงการงดเว้นการที่จักต้องกระทําเพื่อ ป้องกันผลนั้นด้วย 4. คำว่า “ผู้อื่น” หมายถึง บุคคลอื่น ดังนั้น การฆ่าตัวตายแต่ไม่ตายก็ไม่มี ความผิด 5. องค์ประกอบภายใน ได้แก่เจตนา ตามมาตรา 59 คือ 1) เจตนาประสงค์ต่อผล 2) เจตนาย่อมเล็งเห็นผล คือ เล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เท่าที่จิตใจของบุคคลในฐานะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ การกระทําใดจะเป็นเล็งเห็นผล หรือไม่ จะต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของกฎหมาย เรื่องประมาทด้วย 6. การกระทําตามมาตรา 288 จะต้องมีผลของการกระทำความผิด คือ ความตายเกิดขึ้นจากการฆ่า จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ ฆ่า หมายความว่า การกระทำอันเป็นเหตุให้คนตาย หรือการกระทำให้บุคคล ที่มีชีวิตอยู่ถึงแก่ความตาย กฎหมายไม่ได้จำกัด ลักษณะของการกระทำในการฆ่าไว้ ผู้กระทำจะกระทำด้วยวิธีการ ใดๆ ก็ได้ เช่น ใช้ปืนยิง ใช้มีดแทง กดให้จมน้ำ หรือ บังคับให้ดื่มยาพิษ เป็นต้น รวมทั้งการทําร้ายทางจิตใจ เช่น แกล้งบอกข่าวร้ายแก่คนป่วยจวนจะตาย ให้ตกใจตาย การกระทํา คือการฆ่านั้นหมายความรวมถึงการงดเว้นการที่จะต้อง กระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย ตามมาตรา 59 วรรคห้า เช่น มารดาซึ่งมีหน้าที่ให้ บุตรกินนม แต่งดเว้นไม่ให้นมบุตรกินโดยเจตนาให้บุตรถึงแก่ความตาย เป็นต้น สรุปว่าการฆ่าคือการทำด้วยประการใดๆ ให้คนตาย ผู้อื่น หมายความว่า บุคคลอื่นและบุคคลอื่นนั้นต้องมีชีวิตอยู่ ดังนั้น การพยายามฆ่าตนเองจึงไม่มี ความผิด และการยิงคนที่ตายแล้วโดยเข้าใจว่ายังมีชีวิตอยู่ก็ไม่มีความคิด
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกา 2 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5299/2562 การที่ผู้เสียหายกับพวกขว้างปาขวดสุราและไม้เข้าไปยังบริเวณที่จำเลยและ ว. หลบซ่อนอยู่โดยจำเลยและ ว. มิได้ก่อเหตุขึ้นก่อน ย่อมเป็นเหตุทำให้จำเลย สำคัญผิดว่าผู้เสียหายกับพวก ซึ่งมีจำนวนมากกว่ามีเจตนาประทุษร้ายจำเลยและ ว. อันเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็น ภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยจึงมีสิทธิกระทำการป้องกันเพื่อให้พ้นจากภยันตราย ดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายกับพวกมีอาวุธร้ายแรงอื่นใด อีก การที่จำเลยใช้ อาวุธปืนยิงผู้เสียหายกับพวกย่อมไม่ได้สัดส่วนกับการป้องกันตัวของจําเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิด เมื่อ กระสุนปืนที่จำเลยยิงถูกผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็น อันตรายสาหัส จำเลยมีความผิดฐาน ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นอันเป็นการป้องกัน เกินสมควรแก่เหตุโดยสําคัญผิด คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563 จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่งเลิกคบหา กันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธมากกว่าที่จะวางแผนหรือใคร่ครวญ ตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่ เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทง ทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณเดียวกัน ได้รับ อันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจ และขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหันไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยกระทำความ ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความ สงสัยนั้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2563 3 จำเลยเป็นผู้ใหญ่บ้านมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยและความ ปลอดภัย ให้แก่ ราษฎรในหมู่บ้าน นอกจากอาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 ที่ใช้ยิงผู้ตาย ซึ่งเป็นอาวุธปืนที่ทางราชการมอบให้ไว้ใช้ตรวจรักษาความปลอดภัย ในหมู่บ้านแล้ว จำเลยยังมีอาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยว (NTS) แบบสไลด์ แอ็คชั่น (SLIDE ACTION) บรรจุ 4 นัด ขนาด 12 ที่ใช้ยิงขึ้นฟ้าในวันเกิดเหตุอีกกระบอก จำเลยย่อมมีความชำนาญในการใช้อาวุธปืนและทราบดีอยู่แล้วว่า อาวุธปืนเป็น อาวุธที่ร้ายแรงสามารถทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ง่าย แต่จำเลยยังใช้ อาวุธปืนยาวลูกซองเดี่ยวขนาด 12 ของกลางที่มีกระสุนบรรจุอยู่ในการข่มขู่ผู้ตาย ในขณะผู้ตายนั่งอยู่บนแคร่ จำเลยเดินถืออาวุธปืนเข้าไปหาผู้ตายเพื่อข่มขู่ โดยปากกระบอกปืนชี้ไปหาผู้ตายในระยะใกล้จนผู้ตายสามารถจับ ปากกระบอกปืนได้ จำเลยย่อมเล็งเห็นได้ว่าอาวุธปืนของกลางอาจลั่นถูกผู้ตาย ถึงแก่ชีวิตได้ แต่จำเลยยังคงกระทำการดังกล่าว เมื่อเกิดการดึงปืนกันจนปืนลั่น ถูกผู้ตายถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยเจตนาฆ่าผู้ตาย หาใช่เป็น การกระทำโดยประมาทไม่
4 มาตรา 289 ผู้ใด (1) ฆ่าบุพการี (2) ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำการตาม หน้าที่ (3) ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่บุคคล นั้นจะช่วยหรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ (4) ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (5) ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย (6) ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความ ผิดอย่างอื่น หรือ (7) ฆ่าผู้อื่นเพื่อจะเอา หรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้ กระทำความผิดอื่น เพื่อ ปกปิดความผิดอื่นของตน หรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ ต้องระวางโทษประหารชีวิต เหตุฉกรรจ์ หมายถึง เหตุที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษ ซึ่งอาจจะมาจากวัตถุ แห่งการกระทำที่กฎหมาย ประสงค์จะให้ความคุ้มครองมากเป็นพิเศษ เช่น เจ้าพนักงาน ผู้ใดที่ฆ่าเจ้า พนักงานก็ย่อมต้องรับโทษหนักกว่าการฆ่าคนธรรมดา ตายซึ่งกฎหมายลงโทษ หนักกว่าการฆ่าคนตายธรรมดา เป็นต้น เหตุฉกรรจ์ใน ความผิดฐานฆ่าคนตายพิจารณาดังต่อไปนี้ อนุมาตรา 1 บุพการี หมายถึง ฆ่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยายทวด ซึ่งเป็นญาติสืบสาย โลหิตโดยตรงขึ้นไป การพิจารณาว่าบุคคลใดเป็นบุพการีหรือไม่พิจารณาตามสาย โลหิตยิ่งกว่าความสัมพันธ์ทางกฎหมาย ดังนั้น แม้บิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับ มารดา แต่เป็นบิดาในความเป็นจริงก็ถือว่า เป็นบุพการีตามความหมายนี้ อนุมาตรา 2 ความผิดฐานฆ่าคนตายโดยมีเหตุฉกรรจ์ตามมาตรา 289(2) กฎหมาย ต้องการให้ความคุ้มครองเจ้าพนักงานเป็นพิเศษกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากเป็น ผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้ทางราชการมีความเสี่ยงที่จะถูกทำอันตรายต่อชีวิต เช่น เจ้าพนักงานตำรวจที่ปราบปรามยาเสพติด ปัญหาที่จะต้องพิจารณา คือ บุคคลที่เป็นเจ้าพนักงานนั้นหมายถึงใคร ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง บุคคล ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการ ไม่ว่าเป็น ประจำหรือชั่วคราวและหมายความรวมถึงบุคคลผู้ทำหน้าที่ช่วยราชการซึ่ง กฎหมายถือว่าเป็นเจ้าพนักงานเฉพาะกรณีด้วย ดังนั้น เจ้าพนักงานต้องมี กฎหมายแต่งตั้ง
5 อนุมาตรา 3 การเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานที่จะได้รับคุ้มครองตามมาตรานี้ไม่จำเป็นที่ ผู้นั้นเจ้าพนักงานจะต้องร้องขอให้ช่วยเหลือ แม้เจ้าพนักงานไม่ได้ขอให้ช่วย ก็ถือว่า เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานแล้ว เช่น ตำรวจกำลังวิ่งไล่จับคนร้ายอยู่ เห็นนายแดง จึงตะโกนขอให้นายแดงช่วยจับแต่ปรากฏว่าคนร้ายได้ยิงนายแดงที่กำลังเข้ามาจับ ถึงแก่ความตาย คนร้ายย่อมมีความผิดฐานฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 289(3) อนุมาตรา 4 การฆ่าคนโดยไตร่ตรองไว้ก่อนถือเป็นเหตุฉกรรจ์ ของการฆ่าคนตาย ธรรมดา เนื่องจาก กฎหมายมองว่า การฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเป็นการกระทำที่ อำมหิตและเพราะมีไตร่ตรองไว้ก่อนแล้วเป็นพฤติการณ์ประกอบการกระทำที่ ผู้ที่ลงมือได้คิดและทบทวนก่อนมีการลงมือฆ่า มีเวลาคิดไตร่ตรองว่าจะฆ่า หรือไม่ว่าดี และตัดสินใจที่จะลงมือฆ่าไว้ล่วงหน้า และไม่จําเป็นต้องไตร่ตรองนาน การจ้างวานฆ่าหรือการไปดักรอฆ่า ถือว่าเป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เสมอเนื่องจากมีการไตร่ตรอง อย่างดีก่อนลงมือฆ่า อนุมาตรา 5 การฆ่าโดยทรมาน หมายถึง การฆ่าไม่ต้องการให้ ตายทันที แต่ทำให้ผู้ตาย ได้รับทุกขเวทนาหรือได้รับความลำบากอย่างสาหัสก่อนตาย เรียกได้ว่าฆ่าให้ตาย อย่างช้า ๆ เช่น ใช้เชือกลากไปตามถนนจนตาย เป็นต้น การฆ่าโดยกระทำทารุณโหดร้าย พิจารณาจากความรู้สึกของคนทั่วไปว่า ทารุณโหดร้ายหรือไม่ เช่น การฆ่ายกครัว(ฆ่าตายทั้งครอบครัว) ใช้เชือกรัดคอเด็ก กระทืบจนตายคาเท้า อนุมาตรา 6,7 การฆ่าผู้อื่นตาม(7) ก็เช่นเดียวกับการฆ่าผู้อื่น ตาม(6) เพราะมีมูลเหตุจูงใจ ในการฆ่า โดยการฆ่าผู้อื่น เพื่อจะเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้ กระทำความผิดอื่น เช่น ไปปล้นทรัพย์มาด้วยกัน แล้วฆ่าพรรคพวกที่ไปปล้นนั้นเสีย เพื่อเอาทรัพย์ที่ปล้นมาเพียงคนเดียว หรือฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิด แต่การที่ตนได้กระทำความผิดอื่น เช่น ลักทรัพย์ได้แล้ว เจ้าทรัพย์ตามมาเอาคืนจึง ฆ่าเจ้าทรัพย์นั้นเสีย หรือฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เช่น เจ้าทรัพย์เสียง ดังกลัวว่าชาวบ้านแถวนั้นจะแตกตื่น จึงฆ่าเสียเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาใน ความ ผิดที่ตนได้กระทำไว้ ฆ่าคนตายเพื่อหลบหนี ฆ่าตำรวจหรือเจ้าทรัพย์ที่ไล่ตาม เป็นต้น แต่ทำร้ายตามมาตรา 290 ไม่คำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาในผลว่าจะเป็นเหตุ ให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือไม่หากเกิดความตาย ผู้กระทำต้องรับโทษ ตามมาตรา 290
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 6 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8572/2558 แม้ขณะเกิดเหตุดาบตำรวจ ช. จะคอยอยู่ที่ตู้ยามพิชัยรักษ์ แต่ก็เป็น การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะหัวหน้าเขตงานตู้ยามพิชัยรักษ์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ เพียงคนเดียวที่จะต้องควบคุมการทำหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานหลายคน ทั้งดาบตำรวจ ช. ยังเตรียมพร้อมที่จะออกไปสนับสนุนการทำหน้าที่ของ ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ย่อมถือได้ว่าเป็นเจ้าพนักงานที่กำลังกระทำการตามหน้าที่ ส่วนผู้ตายและผู้เสียหายนอกจากจะได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ตามคำสั่งสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานีแล้ว ในวันเกิดเหตุผู้ตายและผู้เสียหายได้ แต่งกายในชุดผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานซึ่งบุคคลที่พบเห็นย่อมทราบว่าเป็น ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน และยังได้รับมอบหมายจากดาบตำรวจ ช. ให้ออก ตรวจท้องที่และกวาดล้างกลุ่มวัยรุ่นที่กระทำการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จึงฟังได้ว่า ผู้ตายและผู้เสียหายเป็นผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการที่เจ้าพนักงานนั้น กระทำการตามหน้าที่การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายและผู้เสียหาย 1 นัด จากนั้น จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้อาวุธมีดดาบฟันผู้ตายและผู้เสียหาย หลายครั้ง เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันฆ่าและร่วมกันพยายามฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานใน การที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำการตามหน้าที่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6663/2562 การที่จำเลยกับผู้เสียหายที่ 1 ชกต่อยและแยกย้ายจากกันแล้ว จำเลยบอก ผู้เสียหายที่ 1 ให้รออยู่ก่อนจำเลยจะกลับไปเอาอาวุธปืนแล้วจำเลยขับรถ จักรยานยนต์ไปเอาอาวุธปืนของกลาง กลับมายังที่เกิดเหตุโดยใช้เวลาประมาณ ครึ่งชั่วโมง นับเป็นเวลาเพียงพอที่จำเลยสามารถระงับสติอารมณ์ทำให้โทสะ หมดสิ้นไปและกลับมามีสติสัมปชัญญะได้ ดังนั้น เมื่อจำเลยเดินทาง กลับมายังที่ เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายที่ 1 จึงเป็นเหตุการณ์ที่ขาดตอนกันไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่าเป็นการตัดสินใจเฉพาะหน้าและไม่ได้ไตร่ตรองไว้ก่อนหาได้ไม่ พฤติการณ์ของจำเลย บ่งชี้ให้เห็นว่าจำเลยตระเตรียมการพร้อมที่จะกลับไปฆ่า ผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจึงมีเจตนาฆ่าผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ไม่ถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า ผู้เสียหายที่ 1 โดยไตร่ตรองไว้ก่อน
7 2. ความผิดฐานทําร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย มาตรา 290 ผู้ใดมิได้มีเจตนาฆ่า แต่ทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้น ถึงแก่ความตายต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะประการหนึ่งประการใด ดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 28 ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงยี่สิบปี ความผิดฐานนี้เริ่มมาจากเจตนาทำร้าย มิได้มีเจตนาฆ่า แต่ผลที่เกิดขึ้น จากการทำร้ายนั้น ทำให้ผู้อื่นเสียชีวิต จึงเป็นความผิดตามมาตรานี้ องค์ประกอบภายนอก 1. ผู้ใด 2. ทําร้าย 3. ผู้อื่น 4. จนเป็นเหตุให้ผู้อื่นนั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำความผิดความผิดฐานนี้ มีโทษจำคุกสถานเดียว ผู้กระทำความผิด จึงต้องเป็นมนุษย์เท่านั้น กฎหมายมิได้บัญญัติคุณสมบัติไว้เป็นพิเศษจึงเป็น มนุษย์ผู้ใดก็ได้ การกระทําที่เป็นความผิดคือ “ทําร้าย\" “ทําร้าย\" ตามมาตรานี้ คือ กระทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกายหรือจิตใจทำนอง เดียวกันกับทำร้ายตามมาตรา 295 แต่แตกต่างกันในผล กล่าวคือ ทำร้ายตาม มาตรา 295 เกิดผลคืออันตรายแก่กายหรือจิตใจ โดยผู้กระทำมีเจตนาทำร้าย ให้เกิดผลดังกล่าว
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 8 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10065/2558 โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยใช้อาวุธมีดแทงผู้ตาย ถูกบริเวณหน้าอก ด้านซ้าย โดยเจตนาฆ่าและผู้ตายถึงแก่ความตาย ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 288 นั้น ความผิดตามฟ้องของโจทก์ ย่อมรวมถึงการทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 290 ด้วย ถือได้ว่าความผิดตามฟ้องรวมการกระทำหลายอย่าง แต่ละอย่างอาจเป็นความผิด ได้อยู่ในตัวเอง เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึง แก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 290 ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในข้อหา ดังกล่าว ซึ่งมีอัตราโทษเบากว่าตามที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ในการพิจารณาว่า ผู้กระทำมีเจตนาทำร้ายร่างกายหรือเจตนาฆ่านั้น จะต้องพิจารณาจากความร้ายแรงของอาวุธ อวัยวะที่ถูกกระทำ ลักษณะบาดแผล ที่ได้รับและพฤติการณ์แห่งการกระทำอื่นๆ ประกอบกัน ซึ่งพฤติการณ์แห่ง การกระทำของจำเลย จะมีความสำคัญในการวินิจฉัยถึงเจตนาของจำเลยยิ่งกว่า หลักเกณฑ์อื่นๆ มิใช่พิจารณาแต่เพียงอาวุธ ลักษณะอาการในการจ้วง แทง และ บาดแผลที่ได้รับเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8401/2561 9 การที่จำเลยที่ 1 ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินราดใส่ผู้ตายแล้วจุดไฟเผาผู้ตาย เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างกะทันหันโดยจำเลยที่ 2 มิได้คบคิด นัดหมายกับจำเลยที่ 1 มาก่อน จึงไม่ใช่เรื่องการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานฆ่าผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายโทรศัพท์ติดต่อกับจำเลยที่ 2 แล้วจำเลยที่ 2 บอกจำเลยที่ 1 ว่าผู้ตายให้จำเลยที่ 2 ไปพบผู้ตายที่บ้าน จำเลยที่ 1 บอกให้จำเลยที่ 2 แจ้งให้ ผู้ตายไปพบยังสถานที่เกิดเหตุโดยไม่ต้องบอกว่าจำเลยที่ 1 จะเดินทางไปด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจําเลยที่ 2 ทราบมาก่อนว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาจะทำร้ายผู้ตายซึ่งมีการคิดใตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว และจำเลยที่ 2 เพียงแต่ มีเจตนาที่จะร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน เพื่อจะทำให้ผู้ตาย ได้รับอันตรายแก่กายหรืออันตรายสาหัสเท่านั้น แม้จำเลยที่ 1 เลือกที่จะทำร้าย ผู้ตาย โดยการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเบนซีนราดใส่ผู้ตายและจุดไฟเผาผู้ตาย ซึ่งเป็นการกระทำนอกเหนือเจตนาของจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 ไม่เป็น ตัวการร่วมกับจำเลยที่ 1 ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 มีเจตนาที่จะร่วมกับจำเลยที่ทำร้ายผู้ตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 2 ก็ต้อง รับผลแห่งการกระทำของจำเลยที่ 1 ที่ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายนั้นด้วย การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 289(4) อันเป็นความผิดพลายอย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น โดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามที่โจทก์ฟ้องและเป็นความผิดได้ในตัว ศาลฎีกาสามารถ ลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
3.ความผิดฐานกระทำโดยประมาทจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย 10 มาตรา 291 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท องค์ประกอบความผิด (1) ผู้ใด (2) กระทำโดยประการใด (3) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย (4) โดยประมาท(องค์ประกอบภายใน(ไม่ต้องมีเจตนา)) การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำที่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังทั้งๆ ที่สามารถใช้ความระมัดระวังเช่นนั้นได้ ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้ใน มาตรา 59 วรรคสี่ \"กระทำโดยประมาท ได้แก่ กระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดย ปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและ พฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่\" สำหรับการกระทํานั้น ได้แก่ การเคลื่อนไหวและรวมถึงการงดเว้น ตามมาตรา 59 วรรคท้าย ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12114/2556 การที่จำเลยนำรถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุไปซ่อมรอยรั่วซึมของถังน้ำมัน โดยจำเลยไม่ได้แจ้งให้นายจ้างทราบก่อน กลับแจ้งผู้ตายโดยตรงให้ซ่อมถังน้ำมัน ของรถยนต์บรรทุกน้ำมัน อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในการทำงานที่มีขึ้น เพื่อความปลอดภัย และจำเลยไม่ได้บอกผู้ตายว่ารถยนต์บรรทุกคันเกิดเหตุ บรรทุกน้ำมันเบนซินมาด้วย ทำให้ผู้ตายไม่ทราบข้อเท็จจริงจึงไม่ได้ปฏิบัติ ตามขั้นตอนในการทำงาน เป็นเหตุให้รถยนต์บรรทุกน้ำมันเกิดระเบิดขึ้นและ ผู้ตายถึงแก่ความตาย นับเป็นผลโดยตรงจากความประมาทของจำเลยฝ่ายเดียว ที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาได้เกิดจากความประมาทของ ผู้ตายด้วยไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่น ถึงแก่ความตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5055/2559 11 เหตุคดีนี้เกิดจากการที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์แล่นแซงรถกระบะที่อยู่ ด้านหน้า เข้าไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของผู้ตายที่แล่นสวนทางมาในช่องเดินรถ ของผู้ตาย ซึ่งหากจำเลยไม่ขับรถจักรยานยนต์แล่นเข้าไปในช่องเดินรถของผู้ตาย เหตุครั้งนี้ก็คงไม่เกิดขึ้น ส่วนที่จำเลยฎีกา ว่า ผู้ตายขับรถโดยชิดขอบทางด้านซ้าย และขับรถมาด้วยความเร็ว ก็อาจเป็นเพียงการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 เท่านั้น ซึ่งเป็นคนละกรณีกับการกระทำความผิดของจำเลย ประการสำคัญขณะเกิดเหตุผู้ตายขับรถจักรยานยนต์แล่นอยู่ในช่องเดินรถของตน การที่ผู้ตายขับรถโดยไม่ชิดขอบทางด้านซ้ายและขับรถมาด้วยความเร็วดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของ จำเลยเฉี่ยวชน แต่การที่รถจักรยานยนต์ของผู้ตายถูกรถจักรยานยนต์ของจำเลย เฉี่ยวชน ผู้ตายหามีส่วนประมาทด้วยไม่ผู้ตายจึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของผู้ตายย่อมมีสิทธิเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดีนี้
12 4. ความผิดต่อชีวิตฐานทำให้ผู้อื่นฆ่าตนเอง มาตรา 292 ผู้ใดกระทำด้วยการปฏิบัติอันทารุณ หรือด้วยปัจจัยคล้ายคลึง กันแก่บุคคลซึ่งต้องพึ่งตน ในการดำรงชีพหรือในการอื่นใด เพื่อให้บุคคลนั้น ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มีการพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี และปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท มาตรา 292 มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. จะต้องมีความสัมพันธ์ไม่ว่าทางกฎหมาย หรือสัญญา หรือพฤติการณ์ที่ดี 2. ทำให้เขารู้สึกว่าตายดีกว่า 3. การฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายเกิดจากการตัดสินใจโดยอิสระของ บุคคลนั้นเอง ซึ่งสามารถอธิบายหลักเกณฑ์ได้ดังต่อไปนี้ ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เช่น พ่อแม่ ความสัมพันธ์ทางสัญญา เช่น นายจ้าง ลูกจ้าง ความสัมพันธ์ทางพฤติการณ์ เช่น แม่เล้า ผู้ที่เก็บเด็กจรจัดมาเลี้ยง ตัวอย่าง นาย ก เก็บ เด็กชาย ข มาเลี้ยง พอเด็กชาย ข โตขึ้น วันๆ ไม่ทำอะไรเอาแต่ กินกับนอน นาย ก จึงขังเด็กชาย ข ไว้ในห้องให้กินแต่ข้าวบูด และบอกว่าให้ตายๆ ไปซะเลี้ยงไว้เปลืองข่าวสุก เด็กชาย ข จึงตัดสินใจผูกคอตาย นาย ก ผิด ม. 292 มาตรา 293 ผู้ใดช่วยหรือยุยงเด็กอายุยังไม่เกินสิบหกปี หรือผู้ซึ่งไม่ สามารถเข้าใจว่าการกระทำของตนมีสภาพหรือสาระสำคัญอย่างไร หรือไม่สามารถ บังคับการกระทำของตนได้ ให้ฆ่าตนเอง ถ้าการฆ่าตนเองนั้นได้เกิดขึ้นหรือได้มี การพยายามฆ่าตนเอง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 293 มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ 1. จะต้องช่วยหรือยุยงส่งเสริม 2. ให้เด็กหรือผู้ที่บกพร่องทางจิตฆ่าตนเอง 3. การฆ่าตนเองได้เกิดขึ้น หรือได้มีการพยายามฆ่าตนเองเกิดขึ้น หากผู้ยุยงอ้างว่าได้กระทำความผิดไปโดยไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวและ นำสืบได้ตามนั้น จะถือว่าผู้ยุยงประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของ การกระทำนั้นมิได้ และถือได้ว่าผู้ยุยงได้ กระทำไปโดยขาดเจตนาตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรคสาม ผู้ยุยงจึงไม่มีความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 293
13 ตัวอย่าง เด็กชาย ก อายุ 15 ปี มาหานาย ข แล้วบอกนาย ข ว่าเบื่อโลกอยากตาย นาย ข จึงส่งปืนให้ แล้วบอกว่า งั้นก็ฆ่าตัวตายเลยสิ เด็กชาย ก จึงยิงตัวเองตาย อธิบายหลักเกณฑ์ได้ดังต่อไปนี้ 1. เด็กต้องอายุไม่เกิน 16 ปี ถ้าเกิน 16 ปี ไม่มีความผิดมาตรา 293 2. การยุยงให้ผู้อื่นฆ่าตัวตายเป็นการกระทำที่ก่อให้ผู้อื่นเกิดความคิด ฆ่าตัวตาย หรือส่งเสริมให้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย 3. การกระทำนั้นมีผลกระทบต่อการตัดสินใจฆ่าตัวตายของบุคคลอื่น ในลักษณะของการกระทำ 4. การละเว้นกระทำการ หรือเพียงแต่การอยู่เฉยๆ ไม่ใช่การยุยงอันเป็น ความผิดตามกฎหมาย 5. การฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตายเกิดจากการตัดสินใจโดยอิสระของ บุคคลนั้นเอง 6. การละเว้นกระทำการ หรือเพียงแต่การอยู่เฉยๆ เป็นการช่วยเหลือให้ผู้ อื่นฆ่าตัวตาย 7. ผู้ยุยงจะมีความผิดต่อเมื่อตนได้รู้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวบุคคลผู้ถูกยุยง ด้วยว่าเป็นบุคคลตามที่กฎหมายกำหนดไว้
14 5. ความผิดฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย มาตรา 294 ผู้ใดเข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และบุคคล หนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตาย โดยการกระทำในการชุลมุนต่อสู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าผู้ที่เข้าร่วมในการชุลมุนต่อสู้นั้นแสดงได้ว่า ได้กระทำไปเพื่อห้ามการชุลมุน ต่อสู้นั้น หรือเพื่อป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ องค์ประกอบความผิด 1. ผู้ใด 2. เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป 3. เป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดไม่ว่าจะเป็นผู้ที่เข้าร่วมในการนั้นหรือไม่ ถึงแก่ความตาย ข้อสังเกต 1. ผู้ใด หมายถึง บุคคลธรรมดาไม่รวมถึงนิติบุคคล 2. เข้าร่วมชุลมุนต่อสู้ระหว่างบุคคลตั้งแต่คนขึ้นไปไม่จำเป็นต้องมีลักษณะ เป็นตัวการ การชุลมุนเข้าต่อสู้ หากมีการป้องกันก็จะเป็นความผิดแต่ไม่ต้องรับ โทษ 3. ต่อสู้ หมายถึง การใช้กำลังเข้าทำร้ายซึ่งกันและกัน 4. ความตายต้องเกิดจากเหตุชุลมุน
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 15 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6476/2541 จำเลยที่ 1 กับพวกเพียง 5 คน นั่งมาด้วยกันบนรถโดยสารประจำทาง ส่วนผู้ตายกับพวกมีจำนวนประมาณ 30 คนที่ยืนคอยรถโดยสารประจำทางอยู่ การที่ฝ่ายผู้ตายกับพวกอาศัยพวกมาก ขึ้นไปทำร้ายจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงเป็น การประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงจำเป็นต้องป้องกันสิทธิของตนเอง หาใช่เป็นการสมัครใจเข้าร่วม ชุลมุนต่อสู้ไม่ การที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 ถอดเข็มขัดและใช้หัวเข็มขัดป้องกันขัดขวาง มิให้ฝ่าย ผู้ตายขึ้นมาบนรถทางประตูหน้าและประตูหลัง แสดงว่า ฝ่ายจำเลยที่ 1 กับพวกได้กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ และไม่ได้ความว่าการที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย นั้นเกิดจากการกระทำของจำเลย ที่ 1 ถึงที่ 5 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 จึงไม่ต้องรับโทษ ฐานชุลมุนต่อสู้เป็นเหตุให้คนตาย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14232/2558 กรณีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 294 และ 299 นั้น ต้องเป็น การชุลมุนต่อสู้กันระหว่าง บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไป และมีบุคคลถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายสาหัส โดยไม่ทราบว่า ผู้ใดหรือผู้ใดร่วมกับใครกระทำจนถึงแก่ ความตายหรือจนได้รับอันตรายสาหัส แต่หากสามารถรู้และแบ่งฝ่ายแบ่งพวกกันได้ ทั้งรู้ว่าผู้ใดหรือฝ่ายใดเป็นผู้ลงมือทำร้ายย่อมลงโทษผู้นั้นกับพวก ได้ตามเจตนา และผลของการกระทำ จำเลยกับพวกฝ่ายหนึ่งและผู้ตายกับผู้เสียหายฝ่ายหนึ่ง วิวาทต่อสู้กัน แม้พยานโจทก์ที่อยู่ในเหตุการณ์จะไม่อาจระบุได้แน่ชัดว่าคนใดใน กลุ่มของจำเลยเข้าไปใช้อาวุธมีดแทงผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายและ ฟันผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสก็ตาม ย่อมมิใช่กรณีตาม ป.อ. มาตรา 294 และ 299 พวกของจำเลยที่เข้าร่วมในการทะเลาะวิวาทกับผู้ตาย และผู้เสียหายได้ใช้มีดแทงผู้ตายและฟันผู้เสียหาย จำเลยซึ่งมีเจตนาร่วมกับพวก กระทำต่อผู้ตายและผู้เสียหายย่อมต้องรับผลอันเป็นธรรมดาย่อมเกิดขึ้นจาก การนั้นในฐานะเป็นตัวการ แม้มิได้เป็นผู้ลงมือแทงผู้ตายและฟันผู้เสียหายด้วย ตนเองก็ตาม
ความผิดต่อร่างกาย 16 6.ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือ จิตใจ มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 295 นั้น เป็นมาตราที่มีองค์ประกอบความผิด 2 ส่วน โดยแบ่งเป็น - องค์ประกอบภายนอกคือ มีการทำร้ายผู้อื่น ซึ่งเป็นการกระทำ ที่เป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายและจิตใจของผู้อื่น - องค์ประกอบภายในคือ การมีเจตนาในการกระทำความผิด ซึ่งสามารถอธิบายได้ ดังต่อไปนี้ องค์ประกอบภายนอก 1. การทำร้ายผู้อื่น หมายถึงการกระทำ หรืองดเว้นการกระทำ อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น โดยการกระทำที่เป็น การทำร้ายนั้นไม่จำกัดวิธีการในการกระทำแต่การทำร้ายจะต้องก่อให้เกิดผลขึ้น แก่ผู้ถูกกระทำ ซึ่งผลที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นกรณีผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย อันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรืออันตรายสาหัสก็ได้แต่อย่างไรก็ตามการกระทำ ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นนี้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่ได้ หมายความรวมถึงการใช้กำลังประทุษร้ายด้วย 2.คำว่า \"จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่น\" อาจตีความได้ว่าอันตรายแก่กาย คือ การที่ร่างกายได้รับอันตรายเป็นบาดแผล ไม่ว่าจะเป็นบาดแผลภายนอกหรือบาดแผลภายในโดยไม่ต้องมีโลหิตไหลออกมา ในส่วนของอันตรายต่อจิตใจนั้น หมายถึงกรณีที่สมอง ได้รับการกระทบกระเทือน เป็นเหตุให้จิตใจแปรปรวนแต่ไม่ถึงขั้นวิกลจริต แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้ถูกกระทำ ต้องเสียความรู้สึกทางด้านอารมณ์ เช่น การเสียความรู้สึก การอกหักหรือ ถูกหักหลัง เป็นต้น ไม่ถือว่าเป็นการก่อให้เกิดอันตรายต่อจิตใจ ตามความหมายของบทบัญญัติมาตรา 295 องค์ประกอบภายใน องค์ประกอบภายใน หมายถึง เจตนาในการกระทำความผิด โดยอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้ให้ความเห็นในเรื่องของเจตนาในความผิดฐาน ทำร้ายร่างกายว่าเป็นเจตนาที่มุ่งประสงค์กระทำให้เกิดผลเป็นอันตรายแก่กายหรือ จิตใจของผู้ถูกกระทำหากผู้กระทำได้กระทำการถึงขั้นลงมือ ในการกระทำอันเป็น ขั้นตอนสุดท้ายใกล้ชิดต่อความผิดสำเร็จแล้วแต่การกระทำไม่บรรลุผล ผู้กระทำจะมีความรับผิดฐานพยายามกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 17 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11466/2554 จำเลยทำร้ายร่างกายผู้เสียหายทั้งหกและขู่ผู้เสียหายทั้งหกจนผู้เสียหายทั้ง หกหาเงินมาให้จําเลยคนละ 1,000 บาท แม้จำเลยจะปักใจเชื่อโดยสุจริตว่า ผู้เสียหายทั้งหกลักเงินจำเลยไป จำเลยก็ชอบที่จะใช้สิทธิตามกฎหมายโดยไปแจ้ง ความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้เสียหายทั้งหกได้ในทันที จำเลยหามีสิทธิตาม กฎหมายที่จะดำเนินการได้ด้วยตนเองไม่ ทั้งวิธีการที่จำเลยทำ เป็นสิ่งที่ผิดต่อ กฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายและกรรโชกอัน เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5053/2555 จำเลยที่ 1 มาขอไม่ให้ผู้เสียหายยื่นซองสอบราคาโดยจำเลยที่ 2 ก็อยู่ใน บริเวณนั้น แต่ผู้เสียหายคงยืนยันจะยื่นซองสอบราคา จากนั้นจำเลยที่ 1 เดินมาพูด กับผู้เสียหายว่า “ไอ้น้อยมึงแน่หรือ” และตบหน้าผู้เสียหายที่บริเวณเบ้าตาขวาเป็น เหตุให้ผู้เสียหายตกจากเก้าอี้ล้มลงที่พื้น แล้วจำเลยที่ 2 กับพวกเข้าสมทบกับ จำเลยที่ 1 รุมทำร้ายผู้เสียหาย โดยระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 พูด ในเชิงข่มขู่ผู้เสียหาย ว่า “ไอ้น้อยมึงเก่งจริงมึงยื่นเลย” พฤติการณ์แห่งคดีบ่งชี้โดยแจ้งชัดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกรุมทำร้ายผู้เสียหายเพื่อเป็นการข่มขู่มิให้ผู้เสียหาย ยื่นซองสอบราคาจ้างเหมางาน ที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นพี่ชายต่างบิดาของจำเลยที่ 2 ขอไม่ให้ผู้เสียหายขึ้นในวันเกิดเหตุ ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงมีความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 295,309 วรรคแรก ประกอบมาตรา 83 แม้จําเลยที่ 2 ไม่ได้ยื่นซองสอบราคาในวันเกิดเหตุตามที่จำเลยที่ 2 อ้างก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ร่วมใช้กำลังประทุษร้ายต่อผู้เสียหายเพื่อให้จำยอมไม่เข้าร่วมใน การเสนอราคาตามประกาศสอบราคาจ้างเหมา ในเหตุคดีนี้จนผู้เสียหายต้องเข้ารับ การรักษาพยาบาลจากแพทย์ที่โรงพยาบาลและไม่กล้ายื่นซองสอบราคา ภายในกําหนด ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วย ความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 อีกฐานหนึ่งด้วย
18 มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ การกระทำความผิดตามบทบัญญัติมาตรา 296 มีองค์ประกอบ สองประการคือ ประการแรก การกระทำจะต้องเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ผู้อื่นให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ตามมาตรา 295 และประการที่สอง การกระทำต้องมีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติ ไว้ในมาตรา 289 ฉะนั้นการกระทำความผิดตามมาตรา 296 นอกจากการกระทำต้องครบ องค์ประกอบภายนอกและครบองค์ประกอบภายในเป็นความผิดมาตรา 295 ครบถ้วนทุกประการแล้ว ผู้กระทำจะต้องกระทำโดยปรากฏพฤติการณ์หรือ มูลชักจูงใจประการใดประการหนึ่งหรือหลายประการตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 289 ด้วย ซึ่งผู้กระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 จะต้องรับโทษหนักขึ้นกว่าที่มาตราดังกล่าวบัญญัติไว้โดยจะต้องเป็น การรับโทษตามมาตรา 296 แทน สำหรับเหตุฉกรรจ์ในการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามมาตรา 295 นั้น บทบัญญัติในมาตรา 296 ไม่ได้บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ โดยได้บัญญัติให้นำเอาเหตุฉกรรจ์ในการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 289 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่น ตามมาตรา 289 บทบัญญัติไว้หลายประการด้วยกันไม่ว่าจะเป็น การกระทำความผิดต่อบุพการี การกระทำต่อเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำการตามหน้าที่หรือได้กระทำการตามหน้าที่การกระทำ โดยไตร่ตรองไว้ก่อน การกระทำโดยทรมานหรือ กระทำโดยทารุณโหดร้าย กระทำเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และกระทำเพื่อจะเอาหรือเอาไว้ซึ่งผลประโยชน์อันเกิดแต่การที่ตนได้ กระทำความผิดอื่น เพื่อปกปิดความผิดอื่นของตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา ในความผิดที่ตนได้กระทําไว้
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 19 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2741/2550 การที่จำเลยใช้ไม้ตีแล้วกอดปล้ำผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและ แต่งเครื่องแบบตำรวจออกตรวจท้องที่ ในขณะปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบ เรียบร้อยภายในงานวัด ไม่ว่าการทำ ร้ายร่างกายดังกล่าวจะมีมูลเหตุมาโดย ประการใด ก็เป็นกรณีที่ถือได้ว่าจำเลยได้ทำร้ายร่างกายเจ้า พนักงานตำรวจ ผู้กระทำการตามหน้าที่ เพราะการที่ผู้เสียหายกำลังปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบ เรียบร้อยภายในงานวัด เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลย ย่อมเป็นความผิดฐานทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงานซึ่ง กระทำการตามหน้าที่ตาม ป.อ. มาตรา 296 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/20/2559 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ร่วมเดินทางไปกับพวกไปที่เกิดเหตุ โดยทราบ มาก่อนแล้วว่าพวกของจำเลยที่ 1 จะไปทำร้ายผู้เสียหาย และหลังเกิดเหตุก็หลบหนี ไปด้วยกัน ย่อมแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะร่วมทำร้ายผู้เสียหายกับพวก ซึ่งมีการคิดไตร่ตรองไว้ก่อนแล้ว จึงฟังได้ว่าจำเลย ที่ 1 มีเจตนาเพียงต้องการ ทำร้ายผู้เสียหายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเท่านั้น แต่เมื่อผลการกระทำของพวก จำเลยที่ 1 ไม่ทำให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ แต่พลาดไปถูกผู้ตายจนเป็นเหตุให้ ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผลแห่งการกระทำนั้น จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกันพยายามทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 296 ประกอบมาตรา 80 และฐานทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ ก่อนและไม่มีเจตนาฆ่า แต่เป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยพลาด ตาม ป.อ. มาตรา 290 วรรคสอง ประกอบมาตรา 60 อันเป็นความผิดหลาย อย่างซึ่งรวมอยู่ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนและฆ่าผู้อื่น โดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด ตามที่โจทก์ฟ้อง และเป็นความผิดได้ในตัว ศาลฎีกาสามารถลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่ได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และ 225
20 7.ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปีและ ปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท อันตรายสาหัสนั้น คือ (1) ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด หรือเสียฆานประสาท (2) เสียอวัยวะสืบพันธุ์ หรือความสามารถสืบพันธุ์ (3) เสียแขน ขา มือ เท้า นิ้วหรืออวัยวะอื่นใด (4) หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว (5) แท้งลูก (6) จิตพิการอย่างติดตัว (7) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บเรื้อรังซึ่งอาจถึงตลอดชีวิต (8) ทุพพลภาพ หรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาเกินกว่ายี่สิบวัน หรือจน ประกอบกรณียจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน มาตรา 298 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 297 ถ้าความผิดนั้น มีลักษณะประการหนึ่งประการใดดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่สองปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท จากบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297 และมาตรา 298 สามารถอธิบายหลักเกณฑ์ที่สำคัญเกี่ยวกับองค์ประกอบของเหตุฉกรรจ์ ในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับอันตรายสาหัส ได้ดังนี้ หลักการทั่วไป \"ความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุทำให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับ อันตรายสาหัส\" เป็นการกระทำที่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 ซึ่งคุณธรรมทางกฎหมายตามบทบทบัญญัติดังกล่าว มีลักษณะ เช่นเดียวกับการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 คือการคุ้มครองความปลอดภัยของร่างกายโดยปรากฏชัดแจ้งตาม บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
21 การครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติ เนื่องจากความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้ายได้รับ อันตรายสาหัสเป็น \"ความผิดที่ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นเนื่องจากผลของ การกระทำ เช่นเดียวกับการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ฉะนั้นการกระทำที่จะเป็นความผิดฐานทำร้ายผู้อื่น จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกทำร้าย ได้รับอันตรายสาหัสจึงต้องเป็นการกระทำที่ครบองค์ประกอบภายนอกและ องค์ประกอบภายในของการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ทั่วไปผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้นสำหรับกรณีผลที่ทำให้ผู้กระทำต้องรับ โทษหนักขึ้นตามความผิดฐานนี้คือ “อันตรายสาหัส” ซึ่งตามมาตรา 297 นั้นได้ กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ (1) \"ตาบอด\" หมายถึง ตาที่มองไม่เห็น แม้จะบอดข้างเดียวก็เป็นอันตราย สาหัส แต่ต้องไม่ใช่การมองไม่เห็นชั่วคราว (2) \"หูหนวก\" หมายถึง หูที่ไม่สามารถฟังเสียงได้ตลอดแม้จะฟังไม่ได้ ข้างเดียวก็เป็นอันตรายสาหัส ซึ่งการได้ยินเสียงบ้างแต่ไม่ได้ยินชัดพอที่จะรู้ว่า เสียงอะไร พูดว่าอะไรก็ถือ ว่าเป็นหูหนวกและการที่ต้องพูดกรอกหูดังจึงจะได้ยิน เข้าใจคำพูดได้หรือสามารถได้ยินโดยใช้ เครื่องช่วยในการฟังถือเป็นหูหนวกเช่นกัน (3) \"ลิ้นขาด\" หมายถึง ลิ้นขาดหายไป ความขาดหายจะมากน้อยเพียงใด ไม่สำคัญ (4) \"เสียฆานประสาท\" หมายถึง เสียประสาทที่จะได้ดมกลิ่น ซึ่งต้อง เป็นการเสียโดยสิ้นเชิง ทํานองเดียวกับตาบอด หูหนวก (5) \"เสียอวัยวะสืบพันธุ์\" หมายความถึง อวัยวะในการร่วมประเวณี ไม่ว่าจะเป็นของชายหรือหญิงอาจเป็นอวัยวะภายนอกหรือภายใน เช่น มดลูกรังไข่ ซึ่งคำว่า \"เสีย\" คือ อวัยวะสืบพันธุ์ขาดหายไป และหมายความรวมถึงการทำให้ อวัยวะสืบพันธุ์ใช้สืบพันธุ์ไม่ได้แม้จะไม่ถึงขาดหายก็ตาม (6) \"เสียความสามารถสืบพันธุ์\" หมายถึง ทำให้ชายหญิงไม่สามารถ สืบพันธุ์ได้ แม้จะยังสามารถร่วมประเวณีได้ทั้งนี้การทำหมันในชายหรือหญิง เป็นการทำให้ \"เสียความสามารถสืบพันธุ์\" ซึ่งคำว่า \"เสีย\" ตาม(3) ไม่หมาย เฉพาะขาดหายไปเท่านั้น แต่หมายความถึงทำ ให้ใช้อย่างอวัยวะนั้นๆ ไม่ได้ด้วย เช่น แขนหรือขาเป็นอัมพาต (7) \"อวัยวะอื่นใด\" ตาม(3) ต้องเป็นอวัยวะสำคัญ และรวมถึง อวัยวะภายในด้วย สำหรับในกรณีของ \"ฟัน\" ตามความเห็นของศาลฎีกาไม่ถือว่า เป็นอวัยวะสำคัญ แต่การเสียฟัน ที่ให้หน้าที่ของฟันสูญเสียไปเป็นการเสียอวัยวะ สำคัญตามกฎหมาย
22 (8) \"หน้าเสียโฉมอย่างติดตัว\" คือ การเสียความงามของใบหน้า จนน่าเกลียด กล่าวคือ มีความเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญของรูปพรรณของใบหน้า เมื่อมองจากภายนอกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกิดบาดแผลหรือรอยแผลเป็น (9) เกี่ยวกับ \"แท้งลูก\" อันจะเป็นความผิดตามมาตรา 297(5) นั้น ศาลฎีกาเห็นว่าจะต้องเป็นกรณีกระทำให้ลูกในครรภ์ของผู้ถูกทำร้ายออกมาใน ลักษณะที่ลูกนั้นไม่มีชีวิต (10) \"จิตพิการอย่างติดตัว\" หมายความว่า จิตพิการที่มีลักษณะแสดงว่า ไม่หายได้แต่ไม่ หมายความว่าต้องติดตัวไปตลอดชีวิตจริงๆ เพราะถ้าเช่นนั้น จะต้องคอยจนผู้เสียหายตาย เสียก่อนจึงจะกล่าวได้ว่า จิตพิการอย่างติดตัว (11) คำว่า \"ทุพพลภาพ\" ตาม(7) หมายถึงความพิการและคำว่า \"ป่วยเจ็บ เรื้อรังซึ่ง อาจถึงตลอดชีวิต\" เป็นข้อขยายความพิการว่า ต้องเป็นความพิการใน ระยะยาวที่เป็นผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างชัดเจน กล่าวคือความพิการบางกรณีอาจ ได้รับการรักษาให้หายขาดได้ทั้งนี้ ตามความเห็นของศาลฎีกา \"บุพพลภาพ\" ไม่ จำเป็นต้องเป็นทุพพลภาพที่สมบูรณ์ซึ่งถ้อยคำ ในกฎหมายหลังคำว่าทุพพลภาพใน อนุมาตรา(8) นี้ก็เป็นเพียงคำอธิบายว่า ทุพพลภาพเท่านั้น แต่ สำหรับความพิการชั่วระยะเวลาตามความเห็นของศาลฎีกาต้องเป็นความพิการที่ ร้ายแรงตามสมควร
ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา 23 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15667/2558 แม้รายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผลของแยกสารท้ายฟ้องระบุว่า การบาดเจ็บของผู้เสียหายใช้เวลารักษา 2 สัปดาห์ หากไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงความเห็นของแพทย์ที่ทำไว้และตรวจรักษาบาดแผล ของผู้เสียหายเท่านั้น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส ต้องทุพพลภาพป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาและ ประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวัน ซึ่งเข้าองค์ประกอบความผิด ตาม ป.อ. มาตรา 297(8) แล้ว ดังนี้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพและความผิด ดังกล่าวมิใช่เป็นคดีที่มีอัตราโทษอย่างต่ำจำคุกตั้งแต่ห้าปีขึ้นไปหรือโทษสถาน ที่หนักกว่านั้น ซึ่งศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้องโดยไม่ต้องสืบพยาน หลักฐานต่อไปได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟัง ตามฟ้องว่า การกระทำของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสและ ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297(8) ได้ เมื่อการกระทำของจำเลยเป็น ความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงไม่เป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 วรรคสองตอนท้าย แต่อย่างไรก็ ตามความผิดฐานกระทำการอันเป็น ความรุนแรงในครอบครัวตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 4 วรรคหนึ่ง เป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 4 วรรคสองตอนต้น เมื่อผู้เสียหาย ยื่นคำร้อง ฉบับลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2558 เอกสารท้ายอุทธรณ์หมายเลข 2 ว่าไม่ประสงค์หรือติดใจ ดำเนินคดีแก่จําเลยอีกต่อไป พอแปลความได้ว่าเป็นการ ยอมความโดยถูกต้องตามกฎหมาย สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องใน ความผิดฐานดังกล่าว ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2)
คําพิพากษาศาลฎีกาที่ 2494-2495/2562 24 จำเลยที่ 1 และที่ 3 ไม่ได้เข้าไปร่วมทำร้ายร่างกายโจทก์ร่วมตามที่ วางแผนกันไว้ โดยอยู่ที่ รถจักรยานยนต์ซึ่งจอดอยู่ด้านหลังรถยนต์ของโจทก์ร่วม ซึ่งเป็นระยะที่ใกล้ชิดกับสถานที่เกิดเหตุ อยู่ในลักษณะที่อาจเข้าไปช่วยเหลือให้ การกระทำความผิดสำเร็จ มีลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ แต่การที่พวกของจำเลย ใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ร่วม เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอย่างกะทันหัน โดยจำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้คบคิดนัดหมายมาก่อน จึงถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 และ ที่ 3 เป็นตัวการร่วมกระทําความผิดฐานพยายามฆ่าโจทก์ร่วมโดยไตร่ตรองไว้ก่อน แต่ าเลยที่ 1 และ ที่ 3 ต้องรับผลแห่งการกระทำของพวกด้วย จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นตัวการกระทำความผิดฐาน ทําร้ายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัส โดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 298 อันเป็นความผิดหลายอย่างซึ่งรวมอยู่ ในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และเป็นความผิดได้อยู่ ในตัวเอง ศาลฎีกาลงโทษในความผิดดังกล่าวตามที่พิจารณาได้ความได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 แม้โจทก์ไม่ได้ฎีกาขอให้ลงโทษก็ตาม เพราะการปรับบทลงโทษเป็นปัญหา ข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและ แก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ฐานร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้ โจทก์ร่วมรับอันตรายสาหัสตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเท่านั้น จึงไม่อาจกำหนด โทษให้สูงขึ้น ในความผิดฐานร่วมกันทำร้ายจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วม รับอันตรายสาหัสโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตาม ป.อ. มาตรา 298 เพราะจะเป็น การเพิ่มเติมโทษจำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
บรรณานุกรม จิตติ ติงศภัทิย์. (2545). กฎหมายอาญา ภาค 2 และภาค 3. กรุงเทพมหานคร: เนติบัณฑิตยสภา เฉลิมวุฒิ สาระกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1 (2561). ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย. [หนังสือออนไลน์] นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com (ไม่ระบุปีจัดทำ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.นพนภัสทนายความเชียงใหม่.com laws24hr.com (ไม่ระบุปีจัดทำ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://www.law24hr.com/2021/01/288.html?m=1 สืบค้นฎีกา. (ไม่ระบุปีจัดทำ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://deka.supremecourt.or.th/ สถาบันนิติธรรมาลัย. (ไม่ระบุปีจัดทำ). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.drthawip.com
Search
Read the Text Version
- 1 - 29
Pages: