Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore 631081342

631081342

Published by อดิศักดิ์ จิตรแก้ว, 2021-09-30 08:41:49

Description: นายหิรัญพฤกษ์ ท้ายฮู้ 631081342

Search

Read the Text Version

0801221 กฎหมายอาญา 2 ค ว า ม ผิ ด เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม มั่ น ค ง แ ห่ ง ร า ช อ า ณ า จั ก ร จัดทำโดย นายหิรัญพฤกษ์ ท้ายฮู้ คณะนิติศาสตร์ รหัสนิสิต:631081342 เสนอ อาจารย์ วีณา สุวรรณโณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา

คำนำ อีบุ๊คเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของวิชาอาญา 2 เพื่อให้ศึกษาในเรื่องความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราช อาณาจักรและให้เป็นประโยชน์กับการเรียนวิชาอาญา 2 หรือนิสิตนักศึกษาที่กำลังศึกษาหาข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ อยู่หากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย 631081342 นายหิรัญพฤกษ์ ท้ายฮู้ คณะนิ ติศาสตร์ ผู้จัดทำ

สารบัญ ค ว า ม ผิ ด เ กี่ ย ว กั บ ค ว า ม มั่ น ค ง แ ห่ ง ร า ช อ า ณ า จั ก ร หมวด 1 2-17 หมวด 2 18-26 หมวด 3 27-31 หมวด 4 32-36 บรรณานุกรม 37

1 ความผิดเกี่ยวกับ ความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร

2 หมวด 1 ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุขสถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีความสำคัญต่อความมั่นคงของรัฐ ความผิดต่อสถาบันประมุข บัญญัติไว้ในมาตรา107 - 112 ความผิดใน ส่วนของการกระทำมีด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. ลักษณะความผิดต่อชีวิต ได้แก่ การปลงพระชนม์ตามมาตรา 107 พระราชินี รัชทายาท หรือ ฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 109 2. ลักษณะความผิดต่อร่างกาย ได้แก่ การประทุษร้ายต่อองค์พระมหากษัตริย์ตามมาตรา 108 พระราชินี รัชทายาท หรือ ทำร้ายร่างกายผู้สำเร็จราชการ แทนพระองค์ตามมาตรา 110 3. ลักษณะความผิดต่อเสรีภาพ ได้แก่ การบังคับให้กระทำการใดไม่กระทำการใดหรือข่ายอมต่ สิ่งใดหรือหน่วงเหนี่ยวกักขัง หรือ ทำให้ปราศจากเสรีภาพ ในร่างกายได้กระทำต่อพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 108 พระราชินีรัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามมาตรา 110

3 มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 107 ผู้ใดปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ กระทำการใด อันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต มาตรา 108 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของ พระมหากษัตริย์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อ พระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ หรือรู้ว่ามีผู้จะกระทำการ ประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของพระมหากษัตริย์ กระทำการใดอัน เป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี

4 มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 109 ผู้ใดปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือฆ่าผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษประหารชีวิต ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อปลงพระชนม์ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือเพื่อฆ่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามี ผู้จะปลงพระชนม์พระราชินีหรือรัชทายาท หรือจะฆ่าผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ กระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สิบสองปีถึงยี่สิบปี มาตรา 110 ผู้ใดกระทำการประทุษร้ายต่อพระองค์ หรือเสรีภาพของ พระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สิบหกปีถึงยี่สิบปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ถ้าการกระทำนั้นมีลักษณะอันน่าจะเป็นอันตรายแก่พระชนม์หรือ ชีวิต ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ผู้ใดกระทำการใดอันเป็นการตระเตรียมเพื่อประทุษร้ายต่อ พระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือต่อร่างกายหรือ เสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือรู้ว่ามีผู้จะประทุษร้ายต่อ พระองค์ หรือเสรีภาพของพระราชินีหรือรัชทายาท หรือประทุษร้ายต่อ ร่างกายหรือเสรีภาพของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ กระทำการใดอัน เป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบสองปีถึงยี่สิบปี

5 มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 111 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดตามมาตรา 107 ถึง มาตรา 110 ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น ***การกระทำทั้ง 3 ประการนี้ กฎหมายเอาผิดตั้งแต่การกระทำในชั้นตระเตรียมการ และถ้าพยายามกระทำความผิดก็ลงโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ นอกจากนั้นผู้สนับสนุนกระทำความผิดเช่นว่านั้น กฎหมายก็องโทษเท่าตัวการผู้ลงมือกระทำ***

6 4. ความผิดต่อชื่อเสียง ได้แก่ การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หมายถึง แสดงอาการเหยียดหยาม ไม่ว่าจะโดนการกระทำ คำ พูด หรือไม่แสดงความเคารพตามสมควร ไม่จำต้องกระทำซึ่งหน้าหรือ ด้วยการโฆษณา แม้กระทำลับหลังก็เป็นความผิด การแสดงความอาฆาตมาดร้าย หมายถึง การแสดงความมุ่งร้ายว่าใน อนาคตจะทำให้เสียกายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพหรือชื่อเสียง ทรัพย์สินหรือสิทธิอื่น ๆ ของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ไม่ว่าจะแสดงออกด้วยกิริยาท่าทาง สัญลักษณ์ ข้อความ คำพูดหรือวิธีใด ๆ โดยมิได้คิดจะทำอย่างที่ อาฆาตก็ตาม ผู้กระทำจะมีเจตนากระทำความผิดตามมาตราที่กล่าวมา ข้างต้นนี้ก็ต่อเมื่อผู้กระทำทราบว่าบุคคลที่ตนกระทำต่อเป็นพระมหา กษัตริย์ พระราชินีรัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หากไม่รู้ ก็เท่ากับขาดเจตนาที่จะกระทำความผิดตามาตราที่กล่าวมา มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี

7 ตัวอย่างคดีและบรรทัด ฐาน มาตรา 112 คดีที่ 1 วันที่เกิดเหตุ : 3 ตุลาคม 2549 ผู้ถูกกล่าวหา : รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ การกระทำที่ถูกกล่าวหา : วันที่ 3 ตุลาคม ถูกแจ้งความดำเนินคดีในข้อหา หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จากคำให้สัมภาษณ์ที่ลงในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 3 ตุลาคม 2549 ที่ระบุว่า \"นายกฯ ที่ได้รับการแต่งตั้ง เป็นนายก รัฐมนตรีทหาร ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ถือว่าเป็นนายกรัฐมนตรีเถื่อน ประเด็น : ดูหมิ่นพระราชอำนาจแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี คดีที่ 2 วันที่เกิดเหตุ : 31 สิงหาคม 2551 ผู้ถูกกล่าวหา : แฮร์รี นิโคเลดส์ การกระทำที่ถูกกล่าวหา : ถูกตั้งข้อหาความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ จากข้อความละเมิดในหนังสือ Verisimilitude ที่พิมพ์เอง หนังสือดังกล่าว ขายได้ 7 เล่มและกล่าวถึง \"ความพัวพันและการคบชู้โรแมนติก\" ของ พระบรมวงศานุวงศ์ หลังยอมรับสารภาพ เขาถูกพิพากษาจำคุกสามปีแต่ ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังรับโทษไปแล้วหนึ่งเดือนถูกปล่อยตัวและ เนรเทศ ประเด็น : กระทำความผิดนอกประเทศ

คดีที่ 3 8 วันที่เกิดเหตุ : 7 มิถุนายน 2551 ผู้ถูกกล่าวหา : ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล (ดา ตอร์ปิโด) การกระทำที่ถูกกล่าวหา : ศาลวินิจฉัยว่าจำเลยทำผิดหลายครั้ง 6 วาระ พิพากษาลงโทษจำคุก 3 ปี รวม 6 วาระ เป็น 18 ปี ต่อมาจำเลยยื่น อุทธรณ์ขอให้ศาลส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า บทบัญญัติตาม ประมวลวิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ อาญา) มาตรา 177 ที่ศาลชั้นต้น สั่งพิจารณาคดีลับขัดหรือแย้งสิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมตาม รัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 29 และ 40 หรือไม่ ซึ่งจำเลยเคยยื่น คำร้องให้ศาลชั้นต้นส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว แต่ศาลชั้นต้นยก คำร้อง ศาลอุทธรณ์อนุญาตตามตำร้อง และได้ส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความ ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า บทบัญญัติตามป.วิ อาญา มาตรา 177 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 29 และ 40 (2) ศาลอาญาจึงนัดพิพากษาคดีใหม่ในวันที่ 15 ธันวาคม 2554 ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้วพิพากษาจำเลยกระทำผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรม รวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี รวมจำคุก 15 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาในวันที่ 12 มิถุนายน 2556 ตามศาลชั้นต้น

คดีที่ 4 9 วันที่เกิดเหตุ : 24 พฤษภาคม 2553 ผู้ถูกกล่าวหา : อำพล ตั้งนพกุล การกระทำที่ถูกกล่าวหา : ส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์มือถือถึงเลขานุการ นายกรัฐมนตรี 4 ข้อความ ศาลอาญาพิจารณาแล้วเห็นว่า \"ข้อความดังกล่าวมี ลักษณะที่เป็นการดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่น ประมาท โดยประการที่จะน่าทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนาง เจ้า พระบรมราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศต่อชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง\" พิพากษาว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 กับทั้งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) และ (3) เป็นการกระทำความผิดต่อ กฎหมายสี่กรรม ลงโทษจำคุกกระทงละห้าปี รวมเป็นจำคุกยี่สิบปี ประเด็น : ศาลไม่พิสูจน์ว่าจำเลยเป็นผู้ลงมือ แต่ลงโทษจากเจตนาของจำเลย คดีที่ 5 วันที่เกิดเหตุ : 20 กรกฎาคม 2553 ผู้ถูกกล่าวหา : สนธิ ลิ้มทองกุล การกระทำที่ถูกกล่าวหา : นำคำพูดของดารณี เชิงชาญศิลปกุล มาเผยแพร่ซ้ำ ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง โดยมองเจตนาว่ามิได้เจตนา กระทำความผิด แต่เป็นการให้เจ้าหน้าที่เร่งดำเนินคดีในความผิดดังกล่าว ประเด็น : กฎหมายไม่มีการห้ามฟ้องซ้ำคดีอาญา

คดีที่ 6 10 วันที่เกิดเหตุ : 4 กันยายน 2556 ผู้ถูกกล่าวหา : พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง การกระทำที่ถูกกล่าวหา : โพสต์ภาพและข้อความลงบนเฟซบุ๊กจำนวน 6 ข้อความ สื่อทั้งหมดยังอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อันเป็นช่วงที่คดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยต้องพิจารณาที่ศาล ทหาร วันที่ 8 สิงหาคม 2558 ศาลทหารพิพากษาว่าการกระทำของจำเลย เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพระราชบัญญัติ คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 จำนวน 6 กรรม ลงโทษจำคุกกรรมละ 10 ปี รวม 60 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 30 ปี ประเด็น : โทษหนักที่สุดที่เคยมีมา คดีที่ 7 วันที่เกิดเหตุ : 6 ธันวาคม 2558 ผู้ถูกกล่าวหา : ฐนกร ศิริไพบูลย์ การกระทำที่ถูกกล่าวหา : ถูกอัยการตั้งข้อหาว่าโพสต์ผังราชภักดิ์ โพสต์ ภาพ 3 ภาพบนเฟซบุ๊กซึ่งมีเนื้อหา \"เสียดสี\" คุณทองแดง สุนัขทรงเลี้ยง ประเด็น : ดูหมิ่นกษัตริย์ในเชิงสัญลักษณ์

รายละเอียดบางพฤติการณ์ 11 ที่เข้าข่ายความผ ิดมาตรา 112 ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในปี 2521 มีบุคคลถูกจำคุกในข้อหาความผิดต่อองค์พระมหา กษัตริย์ เนื่องจากไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีที่เปิดในสถานที่ สาธารณะ ร่วมกับพูดว่า \"เฮ้ย เปิดเพลงอะไรโว้ย ฟังไม่รู้เรื่อง\"ในปี 2551 มีบุคคลไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ ยกเท้าทั้ง สองข้างพาดเก้าอี้ไปทางจอภาพยนตร์ พอเพลงจบก็ตะโกนถ้อยคำหยาบ คายออกมา แล้วถูกพิพากษาจำคุกแต่หากไม่มีคำพูดหรือแสดงท่าทาง อัยการไม่ส่งฟ้อง ในเดือนกันยายน 2550 โชติศักดิ์ อ่อนสูงและเพื่อนไม่ยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพนตร์ สุดท้ายอัยการสั่งไม่ฟ้องโดยให้ เหตุผลว่า การไม่ยืนแสดงความเคารพระหว่างเปิดเพลงสรรเสริญ พระบารมี แม้จะเป็นกิริยาที่ไม่อยู่ในบรรทัดฐานที่ประชาชนทั่วไปต้อง ปฏิบัติ แต่ไม่อาจชี้ชัดได้ว่ามีเจตนาดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ กรณีดังกล่าว ทำให้เกิดการรณรงค์ \"ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร เห็นต่างไม่ใช่อาชญากรรม\" เพื่อเรียกร้องให้ยุติการใช้ความรุนแรงและการดำเนินคดีกับผู้เห็นต่าง เนื่องจากโชติศักดิ์และเพื่อนถูกขว้างปาสิ่งของใส่ นำไปสู่การกิจกรรมรวม คนไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพนตร์ด้วย มีเจ้าหน้าที่ โรงภาพยนตร์เอสเอฟชี้แจงว่าไม่มีการบังคับให้ยืนเคารพเพลงสรรเสริญ พระบารมีในโรงภาพยนตร์ ขณะที่เจ้าหน้าที่โรงภาพยนตร์เครือเมเจอร์กรุ๊ป แจ้งว่าให้ลูกค้าที่ไม่ประสงค์จะยืนก็ให้ออกมารอด้านนอกก่อน ในปี 2562 เกิดแฮชแท็ก #แบนเมเจอร์ และ #เมเจอร์โป๊ะแตก ติดเทรนด์ทวิตเตอร์หลังเมเจอร์กรุ๊ปให้ผู้ที่ไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระ บารมีออกจากโรงภาพยนตร์

12 การรู้เห็นแชตโดยไม่ติเตียน วันที่ 6 พฤษภาคม 2559 พัฒน์นรี หรือหนึ่งนุช ชาญกิจ มารดาของสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ (จ่านิว) แกนนำกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ถูกออกหมายจับในความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย เจ้าหน้าที่ว่ามี หลักฐานเป็นข้อความสนทนาผ่านโปรแกรมแชตเฟซบุ๊กกับแนวร่วม พลเมืองโต้กลับอีกคนหนึ่ง ชื่อ บุรินทร์ อินติน ซึ่งแม้หนึ่งนุชมิได้ตอบโต้ ใด ๆ แต่ทนายจำเลยอ้างว่า ตำรวจชี้แจงว่าการไม่ห้ามปรามหรือว่ากล่าว เข้าข่ายรู้เห็นเป็นใจ ซึ่งถือเป็นความผิดด้วย อัยการทหารสั่งฟ้องในวันที่ 22 กรกฎาคม 2559 ในคำฟ้องระบุว่า เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2559 พัฒน์นรี ร่วมกับบุรินทร์ พิมพ์ข้อความสนทนาโต้ตอบกันผ่านเฟซบุ๊กโดยข้อความ ที่อัยการเห็นว่ามีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 112 มาจากบุรินทร์ ฝ่ายเดียว แต่อัยการระบุในคำฟ้องว่าการกระทำของพัฒน์นรีและบุรินทร์ เป็นไปโดยประการที่น่าจะทำให้พระมหากษัตริย์และองค์รัชทายาทขณะ นั้นเสื่อมเสียพระเกียรติและทรงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากคดีนี้ ทำให้เกิดมีมบนอินเทอร์เน็ตขึ้น เช่น \"กดโกรธ\", \"แสร้งไม่เก็ต\" หรือ \"ติเตียน\"

13 ฎีกาที่เกี่ยวข้องกับ มาตรา 112 คำพิพากษาฎีกาที่ 6374/2556 คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีกับณัชกฤช จึงรุ่งฤทธิ์ เป็นคดีอาญาระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี กับณัชกฤช จึงรุ่งฤทธิ์ ซึ่งเป็นผู้จัดรายการวิทยุ ศาลฎีกา พิพากษาลงโทษจำคุก 4 ปี (จำเลยรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง) และให้รอลงอาญา 2 ปี เนื่องจากมี ข้อความบางตอน ดูหมิ่น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึงศาล ฎีกาพิเคราะห์ว่าเป็น ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย สาวตรี สุขศรี วิเคราะห์ว่า คำพิพากษานี้ขัดต่อหลักกฎหมายอาญา และเทียบเคียงประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 327 บางส่วนอย่างไม่ถูกต้อง

14 สาระแห่งคดี คำฟ้อง : ข้อความของจำเลยเป็นการใส่ความ หมิ่นประมาท ดูหมิ่น รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในอดีต คำขอ : ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และนับโทษ จำคุกจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษจำคุกจำเลยในคดีดังกล่าว คำพิพากษา \" จำคุก 4 ปี ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุก 2 ปี โทษจำคุก ให้รอการลงโทษ 2 ปี ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ ทุก 4 เดือนต่อครั้ง 1 ปี กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือ สาธารณประโยชน์ 12 ชั่วโมง \" ลงวันที่ : 8 พฤษภาคม 2556 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง : ประมาลกฎหมายอาญา มาตรา 112, เทียบ เคียงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 327 (บางส่วน)

15 ข้อเท็จจริงแห่งคดี พนักงานอัยการจังหวัดชลบุรี โจทก์ ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของ และผู้จัดรายการสถานีวิทยุชุมชน กล่าวข้อความตอนหนึ่งว่า \"เพราะ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ในสิ่งใดที่เราคิดว่า เราเสียไปแล้วเนี๊ยะ ถ้าเรา ทำด้วยความอิสระ ทำด้วยความคิดเสรี เพื่อพี่น้องประชาชน เราไปครับ แต่ ถ้าเราต้องไปแล้วต้องเป็นเหมือนกับสมัยรัชกาลที่ 4 เราไม่เป็นครับท่าน ยุคนั้นหมดไปแล้ว\" เป็นการใส่ความดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) เนื่องจากทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่าในสมัยนั้นคนตกเป็น ทาส เป็นการปกครองที่ไม่ดี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษา ในคดีหมายเลขแดงที่ 1237/2550 ว่าจำเลยมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 112 ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี แต่จำเลยรับสารภาพจึง ลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือ 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี โจทก์อุทธรณ์ขอให้ไม่รอการลงโทษ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษา กลับให้ยกฟ้อง โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฯ ศาลฎีกาประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า กฎหมายไม่ได้ระบุว่าพระมหา กษัตริย์จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ซึ่งยังครองราชย์อยู่ และเห็นว่า บทบัญญัติดังกล่าวอยู่ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราช อาณาจักร การหมิ่นประมาทอดีตพระมหากษัตริย์กระทบถึงพระมหา กษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน หากตีความเฉพาะพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน จะเป็นช่องทางให้เกิดการละเมิด หมิ่นประมาทให้กระทบต่อพระมหากษัตริย์ รัชกาลปัจจุบัน อีกทั้งการดูหมิ่นอดีตพระมหากษัตริย์ยังกระทบกระเทือน ต่อความรู้สึกของประชาชนได้ ฎีกาโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้บังคับคดี ไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น

บทวิเคราะห์ 16 การตีความขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย สาวตรี สุขศรีตีความเห็นว่า ผู้พิพากษาแห่งคดีนี้ไม่ได้พิจารณาเจตนารมณ์ แห่งข้อกฎหมายนั้น ๆ เนื่องจากกฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองบุคคลใน ตำแหน่งพิเศษ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและ ผู้สำเร็จ ราชการแทนพระองค์รัฐย่อมไม่มีหน้าที่ต้องให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ แก่บุคคลที่ไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว คำพิพากษานี้จึงเป็น ไม่เป็นการอ้างอิงยึดถือคำอธิบายใดๆที่เคยมีมาก่อนปี 2556เลย นอกจากนี้เมื่อ เทียบเคียงกับฐานความผิดอื่น ๆ ในหมวด 1 \"ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์\" จะเห็นได้ว่าความผิดอื่นก็ เป็นความผิดที่เกิดขึ้นได้แก่พระมหากษัตริย์องค์ที่ยังมีพระชนม์ชีพอยู่เท่านั้น คำพิพากษายังขัดต่อหลักกฎหมายอาญา \"ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ โดยไม่มี กฎหมาย\" ห้ามยกจารีตประเพณี และห้ามใช้เทียบเคียงกฎหมายใกล้เคียงอย่าง ยิ่ง คือ ในคำพิพากษานี้มีการยกบางส่วนของมาตรา 327 ในหมวด \"ความผิดฐานหมิ่นประมาท\" ว่าด้วยการใส่ความผู้ตายจนกระทบต่อผู้ที่ยังอยู่ การบังคับใช้ความบางส่วนของมาตรา 327 ของประมวลกฎหมายอาญา สาวตรีตีความเห็นว่า มาตรา 327 แห่งประมวลกฎหมายอาญาคุ้มครอง ไม่อาจใช้เป็นเหตุผลในการลงโทษจำเลยในคดีนี้ ข้อหนึ่งเพราะมาตรานี้คุ้มครอง ชื่อเสียงเกียรติยศของบุคคลที่ยังอยู่ หาใช่ของบุคคลที่ตายไปแล้วข้อสอง คำ อธิบายว่าถ้อยคำของจำเลยที่กล่าวถึงรัชกาลที่ 4 เป็นเหตุให้กระทบต่อพระ เกียรติยศของพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาหลายประการ หนึ่ง คือคำพิพากษาไม่เจาะจงว่าการกระทำของจำเลยกระทบต่อสิ่งใดของใคร ประการ ที่สอง จะกลายเป็นว่าศาลรับพิจารณาและพิพากษาคดีโดยมีฐานมาจากคำฟ้อง ของโจทก์ที่บรรยายองค์ประกอบความผิด มาตรา 112 ไม่ถูกต้อง และประการที่ สาม เป็นการตีความเกินกว่าเจตนารมณ์ของมาตรา 327 ที่คุ้มครองวงศ์ญาติ ของผู้ตายชั้นเดียวเท่านั้น

17 ถ้อยคำของจำเลยเข้าองค์ประกอบความผิดหรือไม่ สาวตรีตีความว่า ถ้อยคำของจำเลยไม่ได้กล่าวถึงรัชกาลที่ 4 โดยตรง เพียงแต่กล่าวถึง \"สมัยรัชกาลที่ 4\" ในเชิงเปรียบเทียบความ แตกต่างของระบอบการเมืองการปคกรองเท่านั้น ในตำราเรียนเองก็ สอนกันว่าทาสเพิ่งมายกเลิกในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ไม่เห็นว่ามีความผิด

18 หมวด 2 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ความผิดในส่วนนี้เป็นการป้องกันรัฐจากการยึดอำนาจ การบ่อน ทำลายการก่อความไม่สงบ หรือดูหมิ่นเกียรติภูมิของชาติ ซึ่งผู้เสียหาย คือ รัฐนั่นเอง มีด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1.ความผิดฐานกบฏ (มาตรา 113และ114) มาตรา 113 ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ (1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ (2) ล้มล้างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ แห่งรัฐธรรมนูญ หรือให้ใช้อำนาจดังกล่าวแล้วไม่ได้ หรือ (3) แบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครองในส่วนหนึ่ง ส่วนใดแห่งราชอาณาจักร ผู้นั้นกระทำความผิดฐานเป็นกบฏ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ***กบฏต้องเป็นการกระทำเพื่อเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือล้ม อำนาจนิติบัญญัติ บริหารหรือ ตุลาการ หรือแบ่งแยกราชอาณาจักร เป็นต้น และแม้เพียงสมคบกับเพื่อนเป็นกบฏ ก็เป็นความผิดแล้ว***

19 มาตรา 114 ผู้ใดสะสมกำลังพลหรืออาวุธ ตระเตรียมการอื่นใด หรือ สมคบกันเพื่อเป็นกบฏ หรือกระทำความผิดใด ๆ อันเป็นส่วนของ แผนการเพื่อเป็นกบฏ หรือยุยงราษฎรให้เป็นกบฏ หรือรู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฏ แล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ สามปีถึงสิบห้าปี ***กระทำเพื่อเป็นกบฏมี 4 ความผิด ได้แก่ 1.การสะสมกำลังพลหรืออาวุธคือการรวบรวมดนและอาวุธ 2.กระทำความผิดใดๆอันเป็นส่วนของแผนการเพื่อเป็นกบฏ คือ ได้กระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแล้ว เช่น การตัด สายโทรศัพท์ การจับตัวเจ้าหน้าที่สื่อสารไปขังอันเป็นความผิดต่อ เสรีภาพและปลอมแปลงคำสั่งให้เคลื่อนกำลังหรือตบตาคนเพื่อ เป็นสัญญาณให้มีการกบฏล้วนมีความผิดตามมาตรา 114 แล้ว 3.ยุยงราษฎรให้เป็นกบฏ 4.รู้ว่ามีผู้จะเป็นกบฏแล้วกระทำการใดอันเป็นการช่วยปกปิดไว้รู้ อย่างเดียวไม่พอต้องมีการกระทำช่วยปกปิดด้วยเช่นพอตำรวจมา ถามก็ตอบเป็นเรื่องอื่นเพื่อปกปิดไว้***

20 2.ความผิดฐานยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ (มาตรา )115 มาตรา 115 ผู้ใดยุยงทหารหรือตำรวจให้หนีราชการ ให้ละเลยไม่กระทำการ ตามหน้าที่ หรือให้ก่อการกำเริบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี ถ้าความผิดนั้นได้กระทำลงโดยมุ่งหมายจะบ่อนให้วินัยและ สมรรถภาพของกรมกองทหารหรือตำรวจเสื่อมทรามลง ผู้กระทำต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ข้อสังเกตมาตรา 115 การยุยงทหารหรือตํารวจให้หนีราชการ หรือให้ละเลยไม่กระทํา ต่อหน้าที่หรือ ให้ก่อการกําเริบ คือ ไม่ให้เชื่อฟังคําสั่งหรือไม่ยําเกรงต่อผู้ บังคับบัญชา แม้จะไม่เกิดผล คือ ทหารหรือตํารวจไม่หนีราชการ หรือก่อกา รกําเริบก็เป็นความผิดสําเร็จเมื่อได้มีการยุยงแล้ว และหากกระทําโดยมีมูล เหตุชักจูงใจโดยมุ่งหมายจะบ่อนทําลายวินัยและสมรรถภาพของ กรมกอง ทหาร หรือตํารวจเสื่อมทรามลงจะได้รับโทษหนักขึ้น

21 คำถาม ไม้เป็นตำรวจชักชวนเพื่อนตำรวจด้วยกันทำการเรียกร้อง เป็นหนังสือต่อกรมตำรวจให้จัดสวัสดิการที่อยู่อาศัยให้เมื่อหนังสือ ถูกปฏิเสธ ไม้จึงชักชวนให้เพื่อนตำรวจหยุดปฏิบัติงานตามหน้าที่จาก การกระทำของไม้ถือว่ามีความผิดหรือไม่? คำตอบ การที่ไม้ได้ชักชวนเพื่อนตำรวจทำหนังสือเรียกร้องด้าน สวัสดิการนั้น ไม้ไม่มีความผิดทางอาญาเพราะเป็นการกระทำไปโดย สงบแต่เมื่อกรมตำรวจปฏิเสธหนังสือเรียกร้องแล้ว ไม้ชักชวนให้เพื่อน ตำรวจให้หยุดปฏิบัติ หน้าที่ จากการกระทำของไม้ย่อมมีความผิดฐาน ยุยงให้เพื่อนตำรวจไม่กระทำตามหน้าที่ตามาตรา 115

22 3.ความผิดฐานปลุกปั่ นประชาชน (มาตรา 116และ117) มาตรา 116 ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่ เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิด เห็นหรือติชมโดยสุจริต (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้ กำลังข่มขืนใจหรือใช้กำลังประทุษร้าย (2) เพื่อให้เกิดความปั่ นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึง ขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินเจ็ดปี การกระทำที่สำคัญ คือ จะต้องให้ปรากฎแก่ประชาชนทั่วไปไม่ใช่เฉพาะ บุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ว่าจะเป็นการปราศรัยทิ้งใบปลิวหรือแสดงกิริยาท่าทางต่อ สาธารณะชน แม้ว่าจะยังไม่มีผู้เสียหาย เช่น ทิ้งใบปลิวไปแล้วแต่ยังไม่มีใครได้อ่านก็ผิด แล้ว แต่ถ้ายังไม่ทันได้ทั้งให้เผยแพร่ออกไปเป็นเพียงขั้นตระเตรียมยังไม่เป็นความ ผิด การกล่าวปราศรัยให้มีการจับตัวหรือทำร้ายบุคคลหรือทำลายทรัพย์สินของ ผู้อื่นหรือสถานที่ราชการ เช่น การพังประตูบุกเข้าไปในรัฐสภาขณะมีการประชุมกัน หรือการชักชวนคนมาชุมนุมกันแล้วกล่าวโจมตีผู้ว่าราชการจังหวัดจนคนเหล่านั้น รวมตัวกันหลายพันคนก่อความวุ่นวายขว้างปา เผาจวนผู้ว่าราชการเป็นความผิด ตามมาตรานี้ ****ข้อยกเว้นตามมาตรานี้คือถ้าเป็นการกระทำที่อยู่ภายในความมุ่งหมายแห่ง รัฐธรรมนูญคือการชุมนุมโดขสงบสันติปราศจากอาวุธภายใต้กรอบของกฎหมายไม่มุ่ง ร้ายหรือเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เช่น การปราศรัยหาเสียงแม้จะใช้ ถ้อยคำด่าไม่เหมาะสมบ้างก็ไม่เป็นความผิด****

23 มาตรา 117 ผู้ใดยุยงหรือจัดให้เกิดการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้าง หรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขาย หรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดิน เพื่อบังคับรัฐบาลหรือเพื่อ ข่มขู่ประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าวและเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยใน การร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงดจ้างหรือการร่วมกันไม่ยอม ค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้ใดทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือทำให้หวาดกลัวด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าช่วยในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงานงด จ้างหรือการร่วมกันไม่ยอมค้าขายหรือติดต่อทางธุรกิจกับบุคคลใด ๆ นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ

24 ข้อสังเกตมาตรา 117 ความผิดฐานนี้ต้องมีผล คือ มีการหยุดงานไม่ยอมค้าขายจึงจะเป็น ความผิดสำเร็จ ผู้กระทำความผิด คือ ผู้ที่ยุยงหรือจัดให้มีการหยุดงาน ตามวรรค แรกส่วนผู้ที่เข้าร่วมโดยผู้นั้นทราบความมุ่งหมายดังกล่าว และเข้ามีส่วนห ในการร่วมกันหยุดงาน การร่วมกันปิดงาน งดจ้าง หรือร่วมกันไม่ยอม ค้าขาย หรือติดต่อธุระกับบุคคลใดๆ มีความผิดแต่มีโทษเบา ตามวรรค สอง แต่หากปิดร้านค้า หรือโรงงานเพราะเกรงอันตรายไม่ใช่ความผิดตาม วรรคสอง วรรคสาม ได้แก่ กรณีที่ผู้ที่ทราบความุ่งหมายดังกล่าว ช่วยบุคคล ตามวรรคแรก ได้มีการใช้กําลังประทุษร้าย หรือทำให้หวาดกลัวด้วยประ การใดๆ โดยมีมูลเหตุชักจูงใจ เพื่อให้บุคคลเข้ามีส่วนหรือเข้าข่ายในการ ร่วมกันกระทำความผิดนี้ก็มีความผิดด้วย เช่น ขู่ว่าถ้าไม่ร่วมกันประท้วง หยุดงานจะทำร้ายเอาหรือจะเผาบ้านเสีย แต่การทำให้หวาดกลัวนี้ไม่จําเป็นว่าจะต้องมีการใช้กําลังประทุษร้าย หรือถึงกับทำให้กลัวว่าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพอยู่แล้ว เพียงขู่ว่าจะเลิกจ้างถ้า หากไม่ร่วมมือด้วยก็เป็นความผิดได้

25 3.ความผิดฐานเหยียดหยามเครื่องหมายที่แสดงถึงรัฐ (มาตรา )118 มาตรา 118 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใดอันมีความ หมายถึงรัฐ เพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสอง ปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ข้อสังเกตมาตรา 118 ความผิดฐานนี้เป็นการกระทําใดๆต่อธง หรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึงรัฐ โดยมีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อเหยียดยามประเทศชาติ ธง หรือเครื่องหมายอื่นหมายอื่นใดนั้น หมายถึง ธงชาติไทย หรือเครื่องหมายอันมีความหมายถึงประเทศไทย เช่น ครุฑ หรือตราแผ่น ดิน เป็นต้น ถ้ากระทําโดยไม่รู้ว่าเป็นการกระทําต่อธงไทย เช่น สัญลักษณ์ ธงชาติที่ติดบนสินค้าที่สมุดแบบเรียน หรือถุงเท้า ที่ถักด้วยสีแดง ขาว นํ้า เงิน หรือไม่ได้มีมูลเหตุชักจูงใจเพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ เช่น ยิง ธงชาติเพราะเมาสุรา หรือ กระทําต่อสิ่งที่มีสีคล้ายธงชาติ ย่อมไม่ใช่ธงชาติ ดังนี้ไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

26 คำถาม แสงเข้าไปสูบบุหรี่ในที่มืดแล้วทิ้งก้นบุหรี่ โดยไม่ทราบว่าที่ ตรงนั้นมีธงไตรรงค์เก็บอยู่แสงจึงทิ้งก้นบุหรี่ลงบนธงไตรรงค์ พอดียาม รักษาการณ์มาพบเข้าจึงจับกุมแสงส่งตำรวจ แสงจะมีความผิดหรือไม่? คำตอบ แสงไม่มีความผิดเพราะไม่รู้ว่าตัวเองทิ้งก้นบุหรี่ลงบน ธงไตรรงค์จึงขาดเจตนาในการกระทำความผิดเพราะไม่ได้กระทำโดยมีมูล เหตุชักจูงใจเพื่อเหยียดหยามประเทศชาติ

27 หมวด 3 ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร การกระทำใดๆ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของ ประเทศจากภายนอก ได้แก่การกระทำให้เอกราชของประเทศเสื่อมไป ทำการเพื่อประโยชน์ของต่างประเทศ ทำการรบต่อประเทศ อุปการะแก่ ข้าศึก กระทำให้ได้มาซึ่งความลับให้ผู้อื่นรู้ความลับทำแก่เอกสารอันเกี่ยว กับส่วนได้ส่วนเสียของรัฐทำการที่ได้รับมอบหมายโดยทุจริตทำให้เกิดเหตุ ร้ายจากภายนอกกฎหมายถือว่าเป็นความผิดอาญา การกระทำดังกล่าวแม้จะอยู่เพียงขั้นตระเตรียม หรือพยายามกระทำ กฎหมายลงโทษเท่าความผิดสำเร็จ และผู้สนับสนุนก็ลงโทษเท่าตัวการ 1.ความผิดฐานกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อราชอาณาจักร มาตรา 119 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของ ราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้ เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ***การกระทำดังกล่าวแม้จะอยู่เพียงขั้นตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำ กฎหมายลงโทษเท่าความผิดสำเร็จและผู้สนับสนุนก็ลงโทษเท่าตัวการ***

28 มาตรา 120 ผู้ใดคบคิดกับบุคคลซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่าง ประเทศ ด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบต่อรัฐ หรือใน ทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก ตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี ***การคบคิด คือ ร่วมคิดกับบุคคลหรือร่วมกระทำกับนิติบุคคล ซึ่งกระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศด้วยความประสงค์ที่จะ ก่อให้เกิดการรบต่อรัฐหรือในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐ ความผิดสำเร็จเมื่อการคบคิดกัน*** มาตรา 121 คนไทยคนใดกระทำการรบต่อประเทศหรือเข้าร่วมเป็นข้าศึก ของประเทศ ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ***ผู้กระทำต้องเป็นคนไทย การทำการรบต่อประเทศไทย หรือเข้าร่วม เป็นข้าศึกของประเทศไทยกระทำการรบอาจรบโดยไม่มีการประกาศ สงครามก็ได้แต่เป็นการร่วมเป็นข้าศึก เช่น เป็นคนนําสาร เป็นคนทํา อาหาร หรือส่งเสบียง อุปกรณ์ต่างๆ ให้แก่ข้าศึก เป็นต้น***

29 มาตรา 122 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่ออุปการะแก่การดำเนินการรบหรือ การตระเตรียมการรบของข้าศึก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้า ปี ถ้าการอุปการะนั้นเป็นการ (1) ทำให้ป้อม ค่าย สนามบิน ยานรบ ยานพาหนะ ทางคมนาคม สิ่งที่ใช้ใน การสื่อสาร ยุทธภัณฑ์ เสบียงอาหาร อู่เรือ อาคาร หรือสิ่งอื่นใดสำหรับใช้ เพื่ อการสงครามใช้การไม่ได้หรือตกไปอยู่ในเงื้ อมมือของข้าศึก (2) ยุยงทหารให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ก่อการกำเริบ หนีราชการ หรือละเมิดวินัย (3) กระทำจารกรรม นำหรือแนะทางให้ข้าศึก หรือ (4) กระทำโดยประการอื่นใดให้ข้าศึกได้เปรียบในการรบ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ความผิดมาตรานี้ไม่จํากัดการกระทํา ความสําคัญอยู่ที่มูลเหตุ ชักจูงใจของการกระทํานั้น โดยมูลเหตุชักจูงใจนั้นเพื่อเป็นอุปการะแก่การ ดําเนินการรบ หรือ การตระเตรียมการรบของข้าศึก แต่ถ้าการอุปการะนั้น เป็นการ 1.ทําให้ป้อม ค่าย สนามบิน ยานรบ ยานพาหนะทางคมนาคม สิ่งที่ใช้ ในการสื่อสาร ยุทธภัณฑ์ เสบียงอาหาร อู่เรือ อาคาร หรือสิ่งอื่นได้สําหรับ ใช้เพื่อการสงคราม ใช้การไม่ได้ หรือไปอยู่ในเงื้อมมือของข้าศึก 2.ยุยงทหารให้ละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่ก่อการกำเริบ หนีราชการหรือ ละเมิดวินัย 3.การทําจารกรรม นําหรือแนะทางให้ข้าศึก หรือ 4.กระทําโดยประการอื่ นใดให้ข้าศึกได้เปรียบในการรบ ** ผู้กระทําต้องรับโทษหนักขึ้น **

30 2..ความผิดเกี่ยวกับความลับของประเ ทศ มาตรา 123 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อความเอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของประเทศ ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินสิบปี ***ทั้งนี้มาจําเป็นว่าจะได้ทำไปเพื่อเป็นการอุปการะข้าศึกหรือไม่ เพียง แต่เพื่อให้ตนเองได้รับรู้ความลับนั้นก็พอแล้วแม้ว่าไม่ประสงค์จะนําไป บอกใครก็ตามก็เป็นความผิดฐานนี้*** มาตรา 124 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้ผู้อื่นล่วงรู้ หรือได้ไปซึ่งข้อความ เอกสารหรือสิ่งใด ๆ อันปกปิดไว้เป็นความลับสำหรับความปลอดภัยของ ประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ถ้าความผิดนั้นได้กระทำในระหว่างประเทศอยู่ในการรบหรือการ สงคราม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี ถ้าความผิดดังกล่าวมาในสองวรรคก่อน ได้กระทำเพื่อให้รัฐต่าง ประเทศได้ประโยชน์ ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอด ชีวิต ***ความผิดฐานนี้ผู้กระทำอาจไม่ต้องการรู้ความลับนั้นเอง แต่ทำให้ผู้อื่นได้รู้ก็มีความผิดเช่นกัน***

4.ความผิดฐานกระทำการเพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศภายนอก 31 มาตรา 127 ผู้ใดกระทำการใด ๆ เพื่อให้เกิดเหตุร้ายแก่ประเทศจากภายนอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ถ้าเหตุร้ายเกิดขึ้น ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุก ตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่สองปีถึงยี่สิบปี ***ความผิดนี้ไม่จํากัดการกระทำสำคัญที่มูลเหตุชักจูงใจพิเศษ เช่น ยุยงให้รัฐบาลตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย หรือแกล้งยิงปืน หรือขว้างระเบิดจากฝั่ งไทยไปยังกองทัพลาว เพื่อให้ประเทศลาวเข้าใจ ผิดว่าเป็นการกระทำของกองทัพไทย เป็นต้น แม้เหตุร้ายไม่ทันได้เกิด หรือถูกยับยั้งเสียก่อนก็ตาม ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น*** 5.บทบัญญัติพิเศษ มาตรา 128 ผู้ใดตระเตรียมการ หรือพยายามกระทำความผิดใด ๆ ในหมวด นี้ ต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ***การตระเตรียมการ หรือการพยายามกระทำความผิดใดๆ ที่อยู่ในหมวดนี้มีโทษเท่ากับความผิดสำเร็จ*** มาตรา 129 ผู้ใดเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดใด ๆ ในหมวดนี้ ต้อง ระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น ***ผู้สนับสนุนความผิดใดๆที่อยู่ในหมวดนี้ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการ***

32 หมวด 4 ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษแก่กษัตริย์ ราชินี ราชสามี รัชทายาท และประมุขของรัฐต่างประเทศ การประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ ของบุคคล ดังกล่าว กฎหมายลงโทษหนักกว่าปกติ กฎหมายอาญาให้ความคุ้มครองเกียรติยศ ชื่อเสียงของกษัตริย์ ราชินี ราช สามี รัชทายาท และประมุขของรัฐต่างประเทศไว้เป็นพิเศษเช่นกัน และจะลงโทษผู้ กระทำการดูหมิ่น หมิ่นประมาทบุคคลดังกล่าวหนักกว่าปกติ ธงหรือเครื่องหมายแห่งรัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ได้ รับความคุ้มครองจากกฎหมายไทย การกระทำใดๆต่อธงหรือเครื่องหมายแห่งรัฐ เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น กฎหมายถือว่าเป็นความผิด 1.ความผิดฐานประทุษร้ายประมุขหรือผู้แทนของรัฐต่างประเทศมีด้วยกัน 3 ความผิด คือ ความผิดที่ 1 มาตรา 130 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ซึ่งมีสัมพันธไมตรี ต้องระวาง โทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ***การทำร้ายร่างกาย หรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุข***

33 ความผิดที่ 2 มาตรา 131 ผู้ใดทำร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของผู้แทนรัฐต่าง ประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ผู้ใดพยายามกระทำการเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน ***การทําร้ายร่างกายหรือประทุษร้ายต่อเสรีภาพของผู้แทนรัฐต่างประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนักหมายความจํากัดเฉพาะที่กระทำแก่ผู้ที่ เป็นหัวหน้าคณะ ซึ่งเป็นผู้แทนของรัฐต่างประเทศ คือ เอกอัครราชทูต หรือ อัครราชทูตแล้วแต่กรณี ดังนั้นการทำร้ายบุคคลอื่นในคณะทูต เช่น เลขานุการทูต ทูตทหาร ทูตพาพาณิชย์ ไม่ผิดตามมาตรานี้*** ความผิดที่ 3 มาตรา 132 ผู้ใดฆ่าหรือพยายามฆ่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดดังระบุไว้ในมาตรา 130 หรือมาตรา 131 ต้องระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ***การฆ่า หรือพยายามฆ่าบุคคลหนึ่งบุคคลใดดังที่ระบุไว้ในความผิดที่ 1 และ2 ซึ่งมีโทษหนักกว่าการฆ่า หรือพยามยามฆ่าบุคคลธรรมดา ผู้กระทำจึงต้องรู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้ผู้กระทำต้องรับโทษหนักขึ้น***

34 2.ความผิดฐานหมิ่นประมาทประมุขหรือผู้แทนของรัฐต่างประเทศ มีด้วยกัน 2 ความผิด คือ ความผิดที่ 1 มาตรา 133 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ ***การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาทหรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ การหมิ่นประมาทเป็นไปตาม มาตรา 326 ส่วนดูหมิ่นเป็นไปตามมาตรา 393 มีโทษหนักกว่าเพราะผู้ที่ถูก หมิ่นประมาทเป็นบุคคลพิเศษผู้กระทำจะต้องรู้ข้อเท็จจริงด้วยว่าเป็นประมุข ของรัฐต่างประเทศ*** ความผิดที่ 2 มาตรา 134 ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่าง ประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือน ถึงห้าปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ***การหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่าง ประเทศ ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนักความผิดนี้ไม่จำเป็นต้องทําซึ่ง หน้า แต่ต้องรู้ว่ากระทำต่อบุคคลดังกล่าว เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่ทำให้ผู้กระทำ ต้องรับโทษหนักขึ้น ถ้าไม่รู้ก็ไม่ต้องรับโทษตามมาตรานี้***

35 3.ความผิดฐานเหยียดหยามรัฐต่างประเทศ มาตรา 135 ผู้ใดกระทำการใด ๆ ต่อธงหรือเครื่องหมายอื่นใด อันมีความหมายถึง รัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรี เพื่อเหยียดหยามรัฐนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่ เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ***ผู้กระทำได้การทำการใดๆต่อธง หรือเครื่องหมายอื่นอันมีความหมายถึง รัฐต่างประเทศซึ่งมีสัมพันธไมตรีโดยมีเจตนาและมีมูลเหจุชักจูงใจเพื่อเหยียด หยามรัฐนั้น เช่น เอาธงชาติเยอรมันมาเหยียบ ถ่มน้ำลายหรือปัสสาวะรด เป็นต้น หากไม่มีมูลเหตุชักจูงใจดังกล่าวก็ถือว่าไม่มีความผิด***

36 คำถาม กุ้งชอบธงชาติของเยอรมันเพราะรู้สึกว่าลวดลายและสีสัน สวยงาม จึงจ้างช่างทำธงชาติเยอรมันผืนหนึ่ง แล้วกุ้งนำธงนั้นไปขึงเป็น ผ้าม่านในห้องน้ำไว้เป็นเครื่องประดับตกแต่งห้องน้ำ กุ้งมีความผิดหรือ ไม่? คำตอบ กุ้งไม่มีความผิด เพราะการที่กุ้งเอาธงชาติเยอรมันไปจึงเป็น ผ้าม่านในห้องน้ำ แต่กุ้งก็ทำด้วยความมุ่งหมายให้เป็นเครื่องประดับ ตกแต่งห้องน้ำเพราะกุ้งชอบสีสันและลวดลายของธงชาติมิได้มีความมุ่ง หมายมี่จะเหยียดหยามประเทศเยอรมัน กุ้งจึงไม่มีความผิด

37 บรรณานุกรม ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ.คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิดและ ลหุโทษ. พิมพ์ครั้งที่ 18 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2564. ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทย.(ไม่ได้ระบุ).[ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://th.wikipedia.org/wiki/ ความผิดต่อองค์ พระมหากษัตริย์ไทย #cite note 42.(วันที่ค้นข้อมูล: 4 กันยายน 2564). สถาบันนิติธรรมาลัย.(2557).[ออนไลน์].เข้าถึงได้ จาก วันที่ค้น:https://www.drthawip.com/criminalcode/1-18.( ข้อมูล: 4 กันยายน 2564). คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีกับณัชกฤช จึงรุ่ง ฤทธิ์.(2557).[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก:https://th.wikipedia.org/wiki/ คดีระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดชลบุรีกับณัชกฤช_จึงรุ่งฤทธิ์. (วันที่ค้นข้อมูล: 4 กันยายน 2564).


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook