คมู่ ือหลกั สูตรท้องถ่ิน แบบบูรณาการ การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พืน้ ท่ีตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เครือข่ายนักวจิ ยั สหวทิ ยาการ หน่วยปฏบิ ตั กิ ารวิจยั การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) คณะส่งิ แวดลอ้ มและทรัพยากรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม
คมู่ ือหลกั สูตรท้องถ่ิน “การปรับตวั ตอ่ การเปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ” พืน้ ที่ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชอื ก จังหวัดมหาสารคาม @สงวนลขิ สทิ ธ์ิ โดยเครอื ข่ายหนว่ ยปฏบิ ตั ิการวิจยั การเปลยี่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศ การบรรเทา และการปรับตวั (CMARE) พิมพค์ รง้ั ท่ี 1 เดือนพฤศจกิ ายน พ.ศ. 2563 จำนวน 3 เล่ม พิมพค์ รั้งท่ี 2 เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 3 เล่ม ท่ีปรึกษา ผูอ้ ำนวยการโรงเรยี นนาเชือกพทิ ยาสรรค์ ดร.ปราณี รตั นธรรม คณะพีเ่ ล้ยี งพัฒนาหลักสตู ร อาจารย์ ดร.ธายกุ ร พระบำรุง คณะส่งิ แวดล้อมและทรพั ยากรศาสตร์ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม อาจารย์ ดร.พมิ พ์พร ภคู รองเพชร คณะมนุษยศาสตรแ์ ละสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อาจารย์ ดร.อจั ฉรยิ า อิสสระไพบลู ย์ คณะการบัญชีและการจดั การ มหาวทิ ยาลยั มหาสารคาม ครอู อกแบบหลักสูตรและนำไปใช้ในการจดั การเรียนและการสอน นางรัชนี เปาะศิริ กลุ่มสาระการเรยี นรวู้ ิทยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี นายยงยทุ ธ วงผักเบยี้ กลุ่มสาระการเรยี นรู้วทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี นางสาวธญั ญาณี ดพี ลงาม กลุ่มสาระการเรยี นรูว้ ทิ ยาศาสตรแ์ ละเทคโนโลยี นายศุฑาวฒั น์ ไชยสา กลุ่มสาระการเรยี นรสู้ งั คมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นางนุชรินทร์ ปนี ะกาตาโพธ์ิ กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาต่างประเทศ นางประภสั สร ปะวะโท กลมุ่ สาระการเรยี นรภู้ าษาต่างประเทศ นายสทุ ธพิ งษ์ บรรยงค์ กลุ่มสาระการเรยี นรภู้ าษาต่างประเทศ คณะครภู ูมปิ ญั ญา เจ้าหน้าที่พัฒนาชมุ ชน นางนริ งรอง เลยี งลลิ า หวั หนา้ เขตหา้ มลา่ สตั วป์ า่ ดูนลำพนั นายสมพร พงษธ์ นาคม ครู/ปราชญ์ทอ้ งถน่ิ นายบัวเรียน วาปสี า ผ้แู ทนเกษตรกร นายเลียบ นามปราศยั กำนันตำบลนาเชอื ก นายสพุ รรณ ประทมุ โต ประธานคณะกรรมการพัฒนาสตรอี ำเภอนาเชอื ก นางวลิ าวรรณ พพิ ัฒนช์ ยั กร ปราชญ์สมนุ ไพร นางอสุ า วาปีนงั ออกแบบกราฟกิ สาขาวิชาเทคโนโลยมี ลั ตมิ เิ ดยี อาจารยเ์ อกลักษณ์ แสงเดือนฉาย คณะเทคโนโลยสี ารสนเทศ มหาวทิ ยาลัยศรปี ทุม บคุ ลากรทางการศึกษา โรงเรยี นผดุงนารี จังหวัดมหาสารคาม นายธนกิจ ฤทธศ์ิ รี หนว่ ยงานสนับสนนุ สำนกั งานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วจิ ยั และนวตั กรรม (สป.อว)
ก คำนำ เครือข่ายหน่วยปฏิบัติการวิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบรรเทา และการปรับตัว (CMARE) ได้พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้ครูในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และกลุ่มภาษา ทั้งไทยและต่างประเทศ ได้นำไป เป็นคู่มือในการสอน โดยสาระในหลักสูตร เป็นการบูรณาการระหว่างชุดความรู้ท้องถิ่น และความรู้ สมัยใหม่ที่ครอบคลุมทั้งมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมถึงการจัดการเรียนและการสอน ของโรงเรียน ตามมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความรู้ ทักษะด้านวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ควบคู่กัน เกิดความภาคภมิใจในถิ่นกำเนิดและสามารถพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นและสามารถสื่อสารเรื่องราวให้สังคมภายนอกรับรู้ได้ โดยอาศัย เทคโนโลยีดจิ ิทัลที่มีอยู่ ท้ังแอปพลเิ คชันมอื ถือและสือ่ ออนไลน์ตา่ ง ๆ นอกจากนี้ เครือข่ายฯ ยังได้ปรับปรุงและพัฒนาสื่อการสอนด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ครู ได้ใช้ นําไปใช้ในการจัดการเรียนและการสอน ตามกิจกรรมการเรียนที่เป็นผลจากการจัดการองค์ความรู้ รว่ มกับชุมชน และออกแบบให้เออ้ื ต่อการพฒั นาตรรกะของผู้เรียนตามแนวทาง STEM หลักสูตรนี้ มุ่งเน้นให้ครูและนักเรยี น ได้เข้าใจรากฐานของพื้นทีใ่ นมติ ติ ่าง ๆ สํารวจและตรวจวดั คุณภาพสิ่งแวดล้อม เก็บข้อมูลจากบทเรียนการเรียนรู้ในรูปแบบฐานข้อมูล เพื่อใช้สร้างความเข้าใจต้นทุน ทรัพยากร วิถีชีวิตของคนและสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมอิ ากาศท่เี กิดข้นึ ในแบบแผนชวี ติ ใหม่ ทีถ่ ูกคุกคามดว้ ยภัยธรรมชาติ คณะผู้จัดทํา หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรท้องถิ่นแบบบูรณาการที่พัฒนาขึ้นนี้จะช่วยนำพา ให้เยาวชนได้เข้าใจพื้นที่ที่ตนเองอาศัย ตระหนักถึงคุณค่า และอุทิศตนเป็นส่วนหนึ่งในการประยุกต์ใช้ บทเรียนการเรยี นรู้ เพอ่ื แก้ไขปญั หาของทอ้ งถ่นิ ของตนเองอย่างย่ังยนื คณะผ้จู ดั ทำ
ข สารบญั บทที่ หนา้ คำนำ ก สารบญั ข สารบัญตาราง . ค สารบัญภาพ ง 1 สภาพทว่ั ไปของพ้นื ที่ …………………………………………………………………………………….. 1 ประวตั ิความเปน็ มาของพน้ื ท่ีนาเชอื ก 2 ทรัพยากรธรรมชาติ 3 แหล่งน้ำ 17 สภาพทางธรณวี ทิ ยา 18 ทรพั ยากรดิน 24 สภาพภูมิอากาศ 29 ภัยธรรมชาติ 30 แหล่งอาหารท่โี ดดเด่น 32 2 ความเปน็ อยู่ ประเพณี และวฒั นธรรม …………………………………………………………….. 35 คำขวัญของอำเภอนาเชือก 36 สภาพทางเศรษฐกิจและสงั คม 36 สาธารณปู โภค 37 ประเพณีและวฒั นธรรม 37 3 สาเหตุ ผลกระทบ และการปรบั ตัว กบั การเปลี่ยนแปลงสภาพภมู ิอากาศ ……………… 50 ภาวะโลกร้อนและการเปลยี่ นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ 51 ก๊าซเรอื นกระจกทีท่ ่วั โลกให้ความสำคัญ 55 สาเหตขุ องการเปล่ียนแปลงสภาพภมู อิ ากาศ 61 ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภูมิอากาศต่อระบบนิเวศและสิง่ แวดลอ้ ม 70 การตอบสนองต่อการเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ 76 4 กิจกรรมการเรียนรู้เพอ่ื การปรบั ตัวกับการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศเชงิ บูรณาการ 80 กจิ กรรมที่ 1 81 กจิ กรรมที่ 2 123 กิจกรรมที่ 3 129 กิจกรรมท่ี 4 163 เอกสารอา้ งองิ ..................................................................................................................... 205
สารบญั ตาราง ค ตาราง หน้า 1 พนื้ ท่ีแลง้ ซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉยี งเหนอื ปี พ.ศ. 2557 2 ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนนาเชอื ก 31 3 ผลติ ภณั ฑท์ ี่โดดเด่นในแต่ละหมบู่ ้าน 47 4 ศักยภาพในการทำใหเ้ กดิ ภาวะโลกร้อนของแตล่ ะกา๊ ซเรือนกระจก 47 5 การเพิ่มมลู ค่าของขยะ 57 6 การนำขยะกลับมาใชป้ ระโยชน์ 87 7 ระดับไนโตรเจน 90 8 ระดับความเป็นกรดเปน็ ดา่ งของดนิ (pH) 94 9 คา่ การนำไฟฟา้ ของดิน ระดบั ความเคม็ และผลกระทบต่อกลุม่ พชื 95 10 ค่าการนำไฟฟา้ ของสารละลายดินทไ่ี ดจ้ ากการวัดด้วยอัตราส่วน 1:5 ตามประเภท 95 ของเน้ือดนิ ณ อุณหภูมิอา้ งอิง 25 องศาเซลเซยี ส 96 11 ระดบั อนิ ทรยี วัตถใุ นดนิ 96 12 ปรมิ าณฟอสฟอรสั ทีเ่ ป็นประโยชน์ต่อพืช 97 13 ปริมาณโพแทสเซียมท่ีเปน็ ประโยชน์ต่อพืช 97 14 ปริมาณแคลเซียมและแมกนีเซียม 98 15 ปรมิ าณจลุ ธาตุอาหารพชื 99 16 มาตรฐานคุณภาพดินทใ่ี ชป้ ระโยชนเ์ พอ่ื การอยูอ่ าศยั และเกษตรกรรม 99 17 มาตรฐานคุณภาพดนิ ทใ่ี ช้ประโยชน์เพ่ือการอ่นื นอกเหนอื จาก การอยู่อาศัย 101 และเกษตรกรรม 105 18 วธิ กี ารรักษาตวั อย่างดนิ 113 19 Tangent 20 สมการแอลโลเมตริกทใ่ี ช้ในการคำนวณหามวลชวี ภาพของต้นไมใ้ นป่าธรรมชาติ 114 142 ชนดิ ต่าง ๆ มีขนาด DBH มากกว่า 4.5 เซนตเิ มตร และของไม้ไผ่ 147 21 ชนิดของสตั วห์ นา้ ดินท่ีพบในระดบั คุณภาพนำ้ ตา่ ง ๆ 147 22 ประเภทแหลง่ น้ำตามการใช้ประโยชน์ 150 23 มาตรฐานคุณภาพนำ้ ในแหล่งน้ำผิวดิน 24 มาตรฐานคณุ ภาพน้ำบาดาลท่ีใช้บริโภค 155 25 มาตรฐานคณุ ภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air Quality Standards) 170 179 สำหรับบางสารมลพษิ 26 ตวั อย่างการคำนวณคาร์บอนฟุตพร้ินทอ์ ย่างง่ายของผลิตภัณฑน์ มกลอ่ ง 27 บันทึกค่าใช้จา่ ย
สารบัญภาพ ง ภาพที่ หน้า 1 แผนทีอ่ ำเภอนาเชอื ก จงั หวดั มหาสารคาม 2 ขอบเขตตำบลนาเชือก 2 3 เขตห้ามลา่ สตั วป์ า่ ดนู ลำพัน 2 4 ปูทลู กระหม่อม 3 5 พ้ืนที่ปา่ ไม้ของจงั หวดั มหาสารคาม 5 6 ธปู ฤาษี 6 7 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ 7 8 รกฟ้า 9 9 ไผ่ป่า 10 10 หว้า 10 11 สะแบง 11 12 ปรู๋ 11 13 เท้ายายม่อม 12 14 กวาวเครอื 12 15 กำแพงเจด็ ชัน้ 13 16 ว่านแผน่ ดนิ เยน็ 13 17 งูเหลอื ม 14 18 นกแซงแซว หางบว่ งใหญ่ 14 19 นกบง้ั รอกใหญ่ 14 20 นกกะปูด 15 21 แย้ 15 22 กระรอก 15 23 ตัวเงนิ ตวั ทอง 15 24 พงั พอน 16 25 อ่างเก็บน้ำห้วยคอ้ 16 26 ธรณีวทิ ยาจงั หวดั มหาสารคาม 17 27 กลมุ่ ชดุ ดนิ ตำบลนาเชือก 22 28 พ้ืนทเี่ ปา้ หมายในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำบริเวณอ่างเกบ็ นำ้ ห้วยคอ้ 28 29 ภยั แล้ง 31 30 นำ้ ทว่ ม 32 31 ปลาบู่ 32 32 สาหร่ายเหด็ ลาบ 32 33 ว่านแผน่ ดนิ เย็น (Nervilia aragoana Gaudich) 33 ภาพท่ี 34 หนา้
34 ทา่ รำปทู ลู กระหม่อม จ 35 ทีพ่ กั สงฆ์เกาะโนนข่า 36 วดั หนองเลา 37 37 พระโพธิญาณ 39 38 ศาลเจ้าปู่ค่นื 40 39 ศาลเจ้าปูห่ นองอดุ ม 41 40 บ่อนำ้ ศักดสิ์ ทิ ธิ์ 41 41 ลายขอขจร 42 42 บทเรียนจากการจดั การองค์ความรู้ โดยชมุ ชนมีสว่ นรว่ ม 45 43 บรรยากาศกจิ กรรมการจดั การความรู้ 45 44 การเกิดปรากฏการณเ์ รือนกระจก 46 45 ความหมายของปรากฎการณเ์ รอื นกระจก 49 46 ประมาณก๊าซเรือกระจกแต่ละชนิด 51 47 กราฟแสดงความสัมพนั ธร์ ะหวา่ งปริมาณก๊าซเรือนกระจกในช้ันบรรยากาศ 52 56 และอุณหภมู ิ เฉลย่ี ของโลก 58 48 สาเหตุของโลกร้อนจากการทำลายโอโซน 49 ชัน้ บรรยากาศ 59 50 การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง 60 51 ปรมิ าณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก แยกตามประเภทของกิจกรรม 61 52 กา๊ ซเรือนกระจก 62 53 ตัวอย่างกิจกรรมในชวี ติ ประจำวนั ที่ปลอ่ ย CO2 63 54 ปริมาณการปล่อย CO2 6 อันดบั ของโลก 64 55 ปริมาณการปล่อย CO2 67 56 อตั ราการปล่อยก๊าซ CO2 ของประเทศไทย 68 57 อากาศแปรปรวน นำ้ ทะเลสูง 69 58 เปรียบเทียบจำนวนประชากรที่ขาดแคลนนำ้ กบั อุณหภูมทิ ี่เพ่มิ ขน้ึ 70 59 ผลกระทบต่อการสญู พนั ธ์ของส่ิงมีชีวิตในภูมภิ าคต่าง ๆ 71 60 ผลกระทบของการเปลย่ี นแปลงสภาพอากาศต่อเศรษฐกจิ สงั คม วฒั นธรรม การเมอื ง 72 61 โลกร้อนมผี ลกระทบอย่างไรในประเทศไทย 74 62 ตัวอยา่ งข้อมูลจาก Windy App 75 63 เชอื ก 83 64 ต้นกล้า (Seedlings) ของเชอื ก 84 65 แนวคิดการจัดการขยะ 85 66 ความสมั พันธ์ของปัจจยั ตา่ ง ๆ ในดิน 89 91
ฉ ภาพที่ หน้า 67 หลักพที ากอรัส 108 68 การวางแปลงแบบออกฉาก 109 69 ตำแหน่งวดั ความโตทรี่ ะดับตา่ ง ๆ ของตน้ ไม้ทมี่ ลี ักษณะพเิ ศษ และในพื้นท่ที ี่มคี วามลาด 110 70 การวัดความสูงของต้นไม้โดยการใชไ้ คลโนมิเตอร์ 112 71 การใช้ไคลโนมเิ ตอร์ 112 72 Hypsometer-Clinometer 113 73 วธิ ีการตรวจสอบเน้อื ดนิ อย่างง่าย 119 74 เครื่องมือวัดคุณภาพดนิ เบื้องตน้ 120 75 ลักษณะทวั่ ไปของปทู ลู กระหม่อม 130 76 ระยะตา่ ง ๆ ของไขป่ ทู ลู กระหม่อม 131 77 ลำดบั ของความเสีย่ งในการสูญพนั ธุ์ 132 78 วฏั จกั รของนำ้ 137 79 นาฬกิ าสตั ว์หน้าดิน 141 80 ไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อม 152 81 การปนเปือ้ นไมโครพลาสตกิ ในสิ่งแวดล้อม 152 82 มลพษิ ทางอากาศจากกจิ กรรมเผา 154 83 ระดับความเข้มข้นของฝนุ่ ละอองขนาดเล็ก 156 84 เครื่องมือตรวจวดั คณุ ภาพน้ำ 158 85 การเกบ็ ตวั อย่างตะกอนดนิ 18 86 หลักคิดของ BCG Model 164 87 เปรยี บเทียบหลักการ Linear Economy และ Circular Economy 165 88 ปรชั ญาเศรษฐกิจพอเพียง 168 89 คาร์บอนฟุตพรนิ้ ทอ์ ย่างง่ายของผลิตภัณฑ์นมกลอ่ ง 170 90 ตวั อย่าง Mobile Application สำหรบั จดั การบัญชรี ายรับ-รายจ่าย 183 91 ตัวอยา่ งแบรนด์ OTOP 193 92 ตัวอย่างแบบโลโก้ของสนิ ค้าชุมชน 195 93 ขน้ั ตอนการขอรบั การรบั รองมาตรฐานผลิตภณั ฑช์ ุมชน 196
บทที่ 1 “สภาพทัว่ ไปของพ้นื ที่ อาเภอนาเชอื ก”
2 บทที่ 1 สภาพทัว่ ไปของพ้นื ที่ ◼ ประวัตคิ วามเป็นมาของพ้ืนท่ีนาเชอื ก นาเชือก ตั้งเป็นตำบล ประมาณ ปี พ.ศ. 2453 โดยชาวบ้าน อพยพมาจากอำเภอจตุรพักตร์ พิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม สภาพป่า เป็นป่าเชือกจำนวนมาก ซึ่งชาวบ้าน เรียกว่าต้นรกฟ้า ปัจจุบันแบ่งเขตปกครอง 18 หมู่บ้าน อยู่ในเขตเทศบาลตำบล 4 หมู่บ้าน องค์การบริหารสว่ นตำบล 14 หม่บู า้ น สภาพภูมิประเทศที่ลุ่มและที่ดอนสลับกัน เนื้อที่ ประมาณ 44,106,250 ไร่ ตำบลนาเชือก เปน็ ทีต่ ัง้ ของท่วี า่ การอำเภอนาเชือก ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชนหลายแหง่ ภาพท่ี 1 แผนทอ่ี ำเภอนาเชอื ก จังหวัดมหาสารคาม ◼ ลกั ษณะภูมปิ ระเทศ เปน็ พ้นื ท่ีราบสูง ไม่มีภเู ขา ไม่มีแมน่ ้ำสำคัญไหลผ่าน สภาพปา่ ไม้เป็นปา่ เบญจพรรณ มคี วามสงู เหนือระดบั น้ำทะเล ประมาณ 130-230 เมตร ภาพที่ 2 ขอบเขตตำบลนาเชอื ก
3 ◼ ทรพั ยากรธรรมชาติ จังหวัดมหาสารคาม มีพื้นที่ป่าไม้ จำนวน 133,663.77 ไร่ หรือ ร้อยละ 3.81 ของพื้นที่ทั้งหมด ของจังหวัดมหาสารคาม สำหรับพื้นที่เทศบาลตำบลนาเชือก มีป่าชุมชน ได้แก่ โคกสาธารณะกุดรัง โคกสาธารณะนาเชอื ก และโคกสาธารณะขงิ แคง เขตหา้ มล่าสตั วป์ ่าดนู ลำพนั ภาพที่ 3 เขตหา้ มล่าสตั วป์ ่าดนู ลำพนั ที่มา: สำนักงานส่งเสรมิ การปกครองท้องถิ่น จังหวดั มหาสารคาม ป่าดูนลำพัน เดิมเป็นที่สาธารณะประโยชน์ ที่มีประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ตั้งอยู่ตำบล นาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เมื่อปี พ.ศ. 2536 ได้มีการค้นพบปูน้ำจืดที่มีสีสันสวยงาม พันธุ์ใหม่ของโลก (ชาวบ้านเรียกว่า ปูแป้ง) โดยศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกบั ผ้เู ชีย่ วชาญจากพิพธิ ภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเป็นปีที่ปีที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา จึงได้ขอ พระราชทานชื่อ “ปูทูลกระหม่อม” จากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อคั รราชกุมารี กรมพระศรสี วางควัฒน วรขัตตยิ ราชนารี ปา่ ดนู ลำพนั มีลักษณะโดดเด่นทางระบบนิเวศวิทยา เป็นปา่ พรุน้ำจดื ท่ีมี ตานำ้ ผดุ ข้นึ มากลางป่า ซงึ่ มีน้ำไหลเฉพาะท่ีตลอดเวลาหรือทีเ่ รียกว่า ป่านำ้ ซับ การผดุ ของตาน้ำเปน็ ท่ีมาของคำว่า “ดูน” ในภาษา อีสาน และในหนองน้ำน้นั ก็เต็มไปด้วยต้นธูปฤาษี ซึง่ ภาษาอีสานเรยี กวา่ “ต้นลำพนั ” เปน็ ป่าทอ่ี ุดมสมบูรณ์ เป็นที่อยู่ของสัตว์ป่า เช่น ปูทูลกระหม่อม กระรอกขาว ปลาคอกั้ง งูขา นก และแลน และอุดมไปด้วยพืช สมุนไพร เช่น เถาพันซ้าย กวาวเครอื องุ่นป่า ว่านแผ่นดินเย็นฯ และเห็ดลาบ โดยเป็นทีอ่ ยู่อาศัยแห่งเดยี ว ของปูทลู กระหม่อม เมอื่ ปี พ.ศ. 2539 กรมปา่ ไม้ ได้สง่ เจา้ หน้าท่เี ขา้ มาทำการสำรวจพนื้ ท่ีป่า พบว่า ป่าดูน ลำพัน นอกจากจะเป็นถิ่นอาศัยแห่งเดียวของปูทูลกระหม่อมแล้ว พื้นที่ แห่งนี้ ยังมีความหลากหลายทาง ธรรมชาติทั้งพืชและสัตว์ป่า จึงได้กำหนดให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ตามพระราชบัญญัติสงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2542 เนื้อท่ี
4 รวม 343 ไร่ และได้กำหนดให้ปูทูลกระหม่อมเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวก ไม่มกี ระดกู สันหลัง เมื่อปี พ.ศ. 2543 จากการสำรวจนับจำนวนปทู ลู กระหม่อม ระหวา่ งวนั ท่ี 15-21 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 เจ้าหน้าที่ สำรวจสามารถเข้าถึงพื้นที่และตรวจ นับจำนวนรปู ทู ลู กระหม่อมได้ 23,488 รู ในพ้นื ท่ี 120 ไร่ ซ่ึงรวมกับ บริเวณที่เป็นป่าหญ้ารกทึบซึ่งผู้สำรวจไม่สามารถเข้าถึงในพื้นที่อีก 42 ไร่ ซ่ึงมีจำนวนปูอาศัยอยู่น้อย จงึ ใชว้ ธิ ีการสุม่ ตวั อย่างพืน้ ท่ี 1 ไร่ต่อจำนวนปู 10 ตัว สรุปว่าจำนวนปทู ูลกระหม่อมที่สำรวจในปี พ.ศ.2546 ในพื้นที่รวมทั้งหมด 162 ไร่ คือ 23,908 ตัว ปัจจุบัน มีจำนวน 60,200 ตัว โดยสำรวจในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 คำบอกเลา่ ป่าดูนลำพนั จากการให้สัมภาษณ์ของยายคำพู โง่นมณี อายุ 105 ปี (ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้ว) เป็นที่รู้จักดี ให้ความเคารพนับถือ ย่าพูได้เล่าให้เราฟังว่า ดูนลำพันนี้ ตามตำนานที่เล่ากันมาตั้งแต่ครั้งสมัยที่คุณย่าพู ยังเป็นเด็กนั้น เล่ากันว่า ดูนลำพัน เกิดขึ้นจากการแข่งขันบั้งไฟของท้าวผาแดงกับเจ้าเมืองต่าง ๆ เพื่อแย่งชิงนางไอ่ และบั้งไฟของทา้ วผาแดงได้ตกลงไปในดูนจนสุดหางของบั้งไฟ จึงก่อให้เกดิ ดูนลำพนั ข้นึ มา จนกระทั่งทุกวันนี้ และครั้งนั้นได้มีชาวบ้านได้เคยเห็นรูขนาดใหญ่ในหนองน้ำกลางดูนลำพัน ในทุกวันพระ จะมีน้ำพุ่ง จากรูที่นั่นและปรากฏเห็นพญานาค 2 ตัว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพญานาคคู่ผัวเมีย ซึ่งก็คือ ท้าวผาแดงและนางไอน่ น่ั เอง ย่าพู เล่าอีกว่าลักษณะของตัวพญานาคที่เห็นนั้น ตัวผู้จะมีส่วนหัวเป็นสีแดง ตัวเมียจะมีหงอน เป็นสีเหลือง ชาวบ้านที่พบเห็นจะกราบไหว้บูชาและขอพร เพราะถือว่าเป็นส่ิงศักดิ์สิทธิ์และเป็นบุญ ยิง่ นกั ทตี่ นได้เหน็ และทางนำ้ ท่ีลาดยาวจากหนองนำ้ กลางดนู ลำพนั ไปจรดกับหนองอดุ มนั้นเช่ือกันว่าเป็นหาง ของพญานาคท้าวผาแดงที่ฟาดลงมาอย่างแรงจึงทำให้เกิดทางน้ำขึ้น ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของป่าดูนลำพัน และทางน้ำนจี้ ะมนี ำ้ ไหลน้ำซมึ อยตู่ ลอดท้ังปี ในบางครั้ง ทุกคืนที่เป็นคืนเดือนเพ็ญจะมีชาวบ้าน ซึ่งบังเอิญผ่านไปเห็น ได้พบกระต่าย 2 ตัว อยู่ที่ปากทางเข้าป่าดนู ลำพัน และเชื่อกนั ว่ากระต่ายน้อย 2 ตัวนั้นคือทหารอารักษ์ ปกป้องรักษาป่าดูนลำพนั เช่นเดียวกันกับความเชื่อเรื่องเกี่ยวกับเสือสมิงที่คุม้ ครองป่าดนู ลำพัน ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “เสือบักเบี้ยว” ซึ่งได้มีผู้พบเห็นเสือบักเบี้ยวนี้เดินอยู่รอบ ๆ บริเวณไร่นาของชาวบ้านที่อยู่รอบ ๆ ป่าดูนลำพัน และยิ่งไปกว่านั้นคือ หากปีไหนทีช่ าวบ้าน ได้พบเห็นเสือบักเบี้ยว ในปีนั้น เชื่อกันว่าจะมีนำ้ ทำนา ฝนตกต้อง ตามฤดูกาลและเปน็ ปที อี่ ุดมสมบรู ณ์ไปดว้ ยพืชพนั ธธ์ุ ญั ญาหารตา่ ง ๆ และหากปีไหนชาวบ้านไม่ได้พบเห็นเสือ บักเบี้ยวปีนั้นฝนจะแล้ง ทำนาไม่ได้ข้าวตามเท่าที่ควร อาหารจะขาดแคลน จากคำบอกเล่าของย่าพู เสือบัก เบี้ยวนี้จะมาในลกั ษณะเปน็ เสือขาเปข๋ า้ งหนึ่ง และในบางครั้งจะมาใหเ้ ห็นในลกั ษณะเปน็ มนษุ ย์ เสือบักเบี้ยวน้ี เชื่อกันว่าเป็นเสืออารักษ์ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าดูนลำพัน คอยปกป้องคุ้มครองทุกชีวิตในป่าดูนลำพันส่ิงศักดิ์สิทธ์ิ ทอ่ี ย่ใู นป่าดูนลำพันนั้น ปัจจุบันนี้ ไดต้ งั้ ขึน้ เปน็ ศาลเจา้ พ่อเพอ่ื เป็นทเี่ คารพสักการะของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยว ชมและผู้พบเห็น ย่าพบู อกวา่ พอ่ ปู่อุดมน้ชี าวบา้ นเชอ่ื กนั ว่า ศกั ด์สิ ิทธิ์ย่งิ นกั เปน็ เจา้ ท่ีในป่าดูนลำพัน ซ่ึงหาก ผใู้ ด เคารพนบั ถอื กจ็ ะพบเหน็ แตส่ ิ่งท่ดี ีงาม
5 เมื่อครั้งท่ีย่าพูอายปุ ระมาณ 23-27 ปี เคยไดไ้ ปเก็บหน่อไม้ท่ีดูนลำพันแล้วเกิดปาฏิหาริย์ มีงูยักษ์ ปรากฏขึน้ ตอ่ หนา้ ซึง่ กำลังเลอื้ ยคลานอยู่บนต้นไมต้ ดิ กับกอ่ ไผ่ ที่ย่าพูกับนอ้ งสาวไปเก็บหน่อไม้ ดว้ ยความตกใจ ย่าพไู ด้อธษิ ฐานถึงสง่ิ ศักดสิ์ ิทธิท์ ี่อยใู่ นป่าดนู ลำพันรวมถงึ ขอโทษทล่ี ่วงล้ำเขา้ มาโดยไม่ขออนุญาตเสยี ก่อน ย่าพู และน้องสาวได้นั่งลงกราบไหว้อธิษฐานไหว้พ่อปู่อุดม จากนั้นงูยักษ์ที่ปรากฏอยู่อย่างไม่มีทีท่าว่าจะไปไหน กห็ ายไปในพริบตา มีชาวบ้านได้ขุดพบถ้วยจานชามต่าง ๆ ในดูนลำพันหลายชิ้น ย่าพูบอกว่า เมื่อย่าพูยังเด็ก อยู่ ซึ่งก็นับเป็นร้อยปีมาแล้ว แม่ของย่าพู ได้เล่าให้ฟังว่า มีคนแปดศอก เมื่อครั้งสมัยโบราณ ได้เคยมาอาศัย อยู่ที่ปา่ ดนู ลำพัน จึงเช่ือกนั วา่ เปน็ ถว้ ยจานชามมนุษย์แปดศอกได้ปัน้ ขึ้นมาเพื่อใช้ในชวี ิตประจำวัน จากการให้สัมภาษณ์ของพ่อใหญ่สัว ปาทะโน ชาวนาเชือก ได้เล่าให้ฟังว่า การไม่เคารพ การลบหลู่ในดูนลำ พัน ซ่งึ ถอื วา่ เปน็ สถานท่ีอันศกั ดิส์ ิทธ์ินี้ เคยมีชาวบ้านจะไปสับ หนอ่ ไมใ้ นป่าดูนโดยไมข่ ออนุญาตเสียก่อน และไมน่ ับถือวา่ สิ่ง ศกั ด์ิสิทธท์ิ อี่ ย่ใู นดนู น้ันมีจริง ได้ปรากฏว่ามีงูยักษ์เล้ือยอยู่ตาม ต้นไผ่ที่ชาวบ้านกำลังจะไปสับหน่อไม้ และอีกเหตุการณ์หน่ึง คือมีคนที่นำเอา “ปูแป้ง” หรือ “ปูทูลกระหม่อม” นี้ออกไป จากพ้นื ทปี่ า่ ดนู ลำพัน ประมาณ 2-3 ตวั หลงั จากทไ่ี ดน้ ำปูแป้ง ภาพที่ 4 ปูทูลกระหมอ่ ม ออกจากปา่ ดูนลำพนั ได้ 1 วนั ชาวบ้านผู้นั้นได้ประสบอุบัตเิ หตุ ท่ีมา: สำนักงานส่งเสรมิ การปกครองท้องถ่นิ เสียชวี ติ ตรงบริเวณทางโคง้ ใกลก้ ับปา่ ดูนลำพัน นับว่าป่าดูนลำ พนั แหง่ น้ีเป็นสถานท่ีศกั ด์สิ ิทธิ์ ซึง่ ชาวบา้ นและบคุ คลท่ัวไป จังหวัดมหาสารคาม ให้ความเคารพยำเกรง มาตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งถึงในปัจจุบันนี้ เพราะความเชื่อในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์ จึงทำใหป้ ูทูลกระหม่อมยงั คงหลงเหลอื ให้ลูกหลานได้ดสู บื มาจนถึงทุกวนั น้ี
6 ภาพท่ี 5 พ้นื ทป่ี ่าไมข้ องจังหวดั มหาสารคาม ทมี่ า: กรมปา่ ไม้ (2557)
7 ธปู ฤาษี ภาพท่ี 6 ธปู ฤาษี ทม่ี า: https://medthai.com/ธปู ฤาษี ธูปฤาษี (Typha angustifolia L.) จัดอยู่ในวงศ์ธูปฤาษี (TYPHACEAE) มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กกช้าง กกธูป เฟื้อ เฟื้อง หญ้าเฟื้อง หญ้ากกช้าง หญ้าปรือ (ภาคกลาง), หญ้าสลาบหลวง หญ้าสะลาบ หลวง (ภาคเหนือ), ปรอื (ภาคใต)้ เป็นต้น ลกั ษณะทางพฤกษศาสตร์ของธูปฤาษี ต้นธูปฤาษี มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปและอเมริกา จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 1.5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยผลหรือเมล็ด พบขึ้นตามหนองน้ำ ลุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ตามทะเลสาบหรือริมคลอง รวมไปถึงตามที่โล่งทั่ว ๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและในเขตอบอุ่น สำหรับในประเทศ ไทยสามารถพบไดท้ ่วั ทุกภูมิภาค ใบธูปฤาษี ใบเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร (บ้างว่า 2 เมตร) แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่าง ของใบมีลักษณะแบน ดอกธูปฤาษี ออกดอกเป็นช่อแบบเชิงลด ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ช่วงดอกเพศผู้ มีความยาวประมาณ 8-40 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่อประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร และมีใบประดับประมาณ 1-3 ใบ หลุดร่วงได้ ส่วนช่วงดอกเพศเมียจะมีความยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่อประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร มักแยกออกจากส่วนดอกเพศผู้ ดว้ ยสว่ นของกา้ นชอ่ ดอกทีเ่ ป็นหมันทีม่ คี วามยาวประมาณ 2.5-7 เซนตเิ มตร ดอกมีขนาดเล็ก ไมม่ ีกลีบเลย้ี ง และกลีบดอก เกสรเพศผู้ส่วนมากแล้วจะมี 3 อัน มีขนขึ้นล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้จะสั้น มีอับเรณูยาว ประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะมีใบประดับย่อยเป็นรูปเส้นด้าย มีรังไข่เป็นรูปกระสวย ก้านของรังไข่เรียวและยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนยาว ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ
8 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนสั้นกว่าก้านของรังไข่ ยอดเกสรมีลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอก และยังสามารถ ออกดอกได้ตลอดทง้ั ปี สรรพคุณของธปู ฤาษี อับเรณูและลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (ลำต้น, อับเรณู) บ้างก็ว่าลำต้นใต้ดิน และรากสามารถนำมาใช้เป็นยาบำบัดโรคบางชนิดได้ เช่น การช่วยขบั ปัสสาวะ (ลำต้น, ราก) ลำต้นธูปฤาษี ชว่ ยเพิม่ นำ้ นมของสตรหี ลงั การคลอดบตุ ร (ลำต้น) ประโยชนข์ องธูปฤาษี 1. ยอดออ่ น ใชร้ ับประทานไดท้ ้งั สดและทำใหส้ ุก 2. แป้งท่ี ได้จากลำต้นใตด้ นิ และรากสามารถใชบ้ รโิ ภคได้ 3. ตน้ ธปู ฤาษี นำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เล้ยี งหรอื สัตว์เค้ียวเออ้ื งได้ 4. ใบธูปฤาษี มีความยาวและเหนียวจึงนิยมนำมาใช้มุงหลังคา และสามารถนำมาใช้สาน ตะกรา้ ทำเส่ือ ทำเชือกได้อกี ดว้ ย 5. ช่อดอกแห้ง สามารถนำมาใช้เป็นไม้ประดับ ส่วนในประเทศอินเดีย จะใช้ก้านของช่อดอก มาทำปากกา 6. เยื่อของต้นธูปฤาษีสามารถนำมาใช้ทำกระดาษและทำใยเทียมได้ โดยมีเส้นใยมาก ถึงร้อยละ 40 มีความชื้นของเส้นใย 8.9% ลิกนิก 9.6% ไข 1.4% เถ้า 2% เซลลูโลส 63% และมเี ฮมเิ ซลลูโลส 8.7% 7. เส้นใยที่ได้จะมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน สามารถนำมาใช้ทอเป็นผ้าเพื่อใช้สำหรบั แทนฝ้าย หรือขนสัตว์ได้ 8. ดอกของต้นธูปฤาษี สามารถใช้กำจัดคราบน้ำมันได้เป็นอย่างดี โดยน้ำหนักของดอก ต้นธูปฤาษี 100 กรมั สามารถชว่ ยกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร 9. ต้นธูปฤาษี สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียตามแหล่งต่าง ๆ และสามารถเจริญเติบโตได้ดี แม้จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเสียตามชุมชนหรอื ตามแหล่งน้ำจากโรงงานต่าง ๆ และยังทำให้น้ำเสียในบริเวณ นั้นมีคุณภาพที่ดีขึ้น มีศักยภาพในการลดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ ช่วยปรับเปลี่ยนสีของน้ำ ทีไ่ ม่พึงประสงค์ใหจ้ างลง และช่วยลดความเปน็ พษิ ในน้ำได้ 10. ต้นธปู ฤาษี มีระบบรากท่ีดี จงึ ชว่ ยป้องกนั การพงั ทลายของดินตามชายน้ำได้ 11. ซากของธูปฤาษี สามารถนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมดินสำหรับไม้ยืนต้นตามสวนผลไม้ต่าง ๆ เพ่ือช่วยลดการสูญเสยี ความช้นื ออกจากผิวดิน และช่วยลดการชะล้างหน้าดนิ จากน้ำฝนได้ 12. ตน้ ธูปฤาษี สามารถชว่ ยกำจดั ไนโตรเจนจากน้ำเสียในที่ลมุ่ ต่อไร่ได้สูงถึง 400 กิโลกรัม/ปี และยังช่วยดูดเก็บกักธาตุโพแทสเซียมต่อไร่ได้สูงถึง 690 กิโลกรัมต่อปี จึงจัดเป็นพืชอีกชนิดหน่ึง ทอ่ี าจมีบทบาทเป็นพชื เศรษฐกิจไดใ้ นอนาคต 13. ธูปฤาษี อาจช่วยทำให้วัฏจักรของแร่ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้น เพราะมีแร่ธาตุอาหาร หลายชนิด เมอื่ ตน้ ธูปฤาษตี ายลงหรอื ถูกกำจดั ก็จะเกิดการยอ่ ยสลาย ทำใหแ้ ร่ธาตุอาหารกลบั สู่ดิน ทำให้ดิน มีความสมบรู ณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้
9 14. ธูปฤาษี สามารถช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินได้ เพราะมีแร่ธาตุอาหารหลากหลายชนิด การไถกลบเศษซากของต้นธูปฤาษีก็เท่ากับเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน และจะเป็นประโยชน์แก่พืช ทปี่ ลูกโดยตรง จึงเหมอื นกบั การทำปยุ๋ พชื สดโดยการไถกลบดิน 15. ใช้เป็นปุย๋ พืชสดหรอื ใชท้ ำป๋ยุ หมักบำรงุ ดินได้ 16. ใช้สำหรบั เปน็ เชอ้ื เพลงิ โดยตน้ ธปู ฤาษีมปี ริมาณของโปรตนี และคารโ์ บไฮเดรตค่อนข้างสูง กากทีเ่ หลอื จากการสกัดเอาโปรตีนและคารโ์ บไฮเดรตออกแล้วใชแ้ บคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อย จะให้แก๊ส มีเทนซงึ่ ใชส้ ำหรบั เปน็ เช้ือเพลงิ ได้ เส้นทางศกึ ษาธรรมชาติ ภาพท่ี 7 เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ในเขตป่าดูนลำพัน เป็นเส้นทางศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ สภาพป่าเป็นป่าพรุน้ำจืด และป่าเบญจพรรณความชื้นสูง พบชนิดพันธุ์ไม้กว่า 246 ชนิด และพืชสมุนไพรอีกเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญเป็นที่อยู่อาศัยของปูทูลกระหม่อม ซึ่งเป็นปูป่าที่สีสันสวยงาม มีที่เดียวในโลก อยู่ที่อำเภอ นาเชอื ก จังหวดั มหาสารคามแหง่ น้ี พรรณพชื ทีโ่ ดดเดน่ ในปา่ ดูนลำพัน รกฟ้า หรือ เชือก (Terminalia alata Heyne ex Roth) เป็นพืช ในสกุลสมอ ลักษณะเป็นไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูง 20–30 เมตร เปลือกต้นขรุขระสีเทาดำ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียง ตรงกันข้าม ใบตอนบนออกเรยี งสลับกัน รูปขอบขนานหรือขอบขนาน แกมรูปไข่ ขนาด 5–10 x 10–15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือเบี้ยว แผ่นใบหนา มีต่อม 1 คู่ที่แผ่นใบด้านล่าง ใกล้โคนใบ ดอกออกเป็นช่อเชิงลดแยกแขนงตามซอกใบหรือปลาย ยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็นกลีบรูปสามเหลี่ยม 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน รังไข่มี 1 ช่อง ผลเป็นผลแห้งไม่แตก ขนาด 2.5–5 x 4–6 เซนติเมตร มีปีกเป็นครีบหนา 5 ปีก ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เปลือกรกฟ้ามีรส
10 ฝาดเฝื่อน ต้มดื่มแก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย ขับปัสสาวะ และฆ่าเชื้อรา รากมรี สเฝื่อน ใช้ขับเสมหะ ในทางพระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หัวข้อ “อัชชุนปุปผิยเถราปทาน” ได้กล่าวถึง ผลแห่งการถวาย “ดอกรกฟ้าขาว (ต้นอัชชุนะ) ซึ่งเป็นอีกสายพันธุ์ที่มีเปลือกเรียบและ ออกสีขาว ส่วนรกฟ้าไทย มีเปลือกต้นขุรขระเป็นสีเทาดำ แตกต่าง ชัดเจน เป็นไม้พื้นถิ่นทางตอนเหนือของอินเดีย เป็นพืชที่มี ทรงต้นสวยงามและเป็นไม้ในพุทธศาสนา มีผู้นำมาจากอินเดียปลูกไว้ ตามวัด และที่สวนหลวง ร.9 กรุงเทพฯ” บูชาของพระอัชชุนปุปผิย ภาพที่ 8 รกฟ้า เถระ ไว้วา่ … “...ครง้ั นั้น เราเป็นกินนรอยู่ท่ีใกลฝ้ ั่งแม่น้ำจันทภาคา ไดเ้ ห็นพระสยัมภูพุทธเจ้าผู้ปราศจากกิเลส ธุลี มีความเลื่อมใสมีใจโสมนัส เกิดความปราโมทย์ ประนมอัญชลีแล้วถือเอาดอกรกฟ้าขาวมาบูชา พระสยัมภู ด้วยกรรมที่เราทำไว้ดีแล้วนั้น และด้วยการตั้งเจตจำนงไว้ เราละร่างกินนรแล้ว ได้ไป สวรรค์ ช้นั ดาวดงึ ส์ เราไดเ้ ปน็ จอมเทพเสวยราชสมบัติในเทวโลก 36 ครง้ั ไดเ้ ปน็ พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติ อันใหญ่ 10 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ พืชอันหว่านในเนื้อนาอันดี คือ พระสยัมภู ได้สำเร็จผลเป็นอันดีแก่เราแล้ว กุศลของเรามีอยู่ เราบวชเป็นบรรพชิตทุกวันนี้ เราควร แก่การบชู าในศาสนาของพระศากยบุตร เราเผากิเลสทั้งหลายแลว้ ฯลฯ พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ...” ไผ่ป่า Bambusa arundinacea Willd. วงศ์ ภาพท่ี 9 ไผป่ า่ GRAMINEAE ต้น ไผข่ นาดใหญล่ ำอ่อนมีสีเขียวลำแกจ่ ะมีสเี ขยี วเหลือง มีหนามและมีแขนงรกแน่น ปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-18 ซม. ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร. ใบ แตกกิ่งแขนงเล็ก ๆ จากข้างต้น แยกออกจากปล้องเป็นใบประกอบจำนวน 3-5 ใบ รูปร่างคล้ายหอก ปลายใบแหลม เส้นใบเรียงขนานกับเส้นกลางใบ มีกาบใบยาวหุ้ม ปล้องของกิ่ง ดอก ออกดอกเป็นช่อสีขาวมีเปลือกหุ้มดอกสีคล้ายฟาง ข้าว ออกดอกพร้อมกันทั้งต้นหลังจากนั้นจะตาย ทั้งกอ เมล็ดคล้าย เมล็ดข้าว หว้า Syzygium cumini เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 10-35 เมตร ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้น ค่อนข้างเรยี บสีเทาอ่อน มีกง่ิ ก้านมาก แขง็ แรง ปลายก่ิงหอ้ ยย้อยลง ใบดกหนา ทำให้เป็นทรงพุ่มรูปไข่แน่น ทึบ ลักษณะใบ ใบอ่อนจะแตกสีแดงเรื่อ ๆ ใบแก่หนา ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเป็นคู่ ๆ เรียงตรงข้าม รูปใบรี หรือรูปไข่กลับ เกลี้ยงเป็นมัน เส้นแขนงใบละเอียดอ่อนและเรียงขนานกัน มีจุดน้ำมันที่บริเวณขอบใบ ลักษณะดอก เป็นดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ซอกใบหรือปลายยอด กลีบดอกสีขาวหรือสีเหลืองอ่อน ฐานรองดอกรูปกรวย มีกลีบเลี้ยงสี่กลีบ กลีบดอกสี่กลีบ มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ออกดอกและติดผล ราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน ลักษณะผล ผลอ่อนสีเขียว พอเริ่มแก่ออกสีชมพู สีม่วงแดงแล้วเปลี่ยนเป็นสี
11 ม่วงดำ รูปรีแกมรูปไข่หรือรูปกระสวย สีม่วงแดง ฉ่ำน้ำ ผิวเรียบมัน ใช้กินได้มีรสเปรี้ยว ผลแก่ราวเดือน พฤษภาคม มีเมล็ด 1 เมลด็ รปู ไข่ ภาพท่ี 10 หวา้ สะแบง Dipterocarpus intricatus เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20-30 เมตรผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้างเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรงเปลือกหนาสีน้ำตาลปนเทาหนา 2-3 ซม. แตกเป็นสะเก็ด และเป็นร่องลึกยาวตาม ลำต้นใบเดี่ยวเรียงสลับใบรูปไข่กว้าง 10-20 ซมยาว 15-25 ซม. ปลายใบมนโคน ใบกว้างหรือหยักเว้าเข้าผิวใบมีขนสากสีเทาทั้ง 2 ด้านแผ่นใบหนาขอบใบมีขนสั้นนุ่มเส้นแขนง ใบข้างละ 9-14 เส้นก้านใบยาว 3-4 ซมมีขนแน่นดอกสีชมพูออกรวมเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบกลีบเลี้ยง โคนเชื่อมติดกันปลาย 5 แฉกยาวไม่เท่ากันและมีสันหยักเป็นลอนบริเวณโคนกลีบ กลีบดอก 5 กลีบโคน กลีบเกยซ้อนเวียนเป็นรูปกังหันดอกบานเต็มที่กว้าง 2.5-3.5 ซม. ผลแห้งแบบมีปีกค่อนข้างกลมมีกลีบคด พบั ไปมาตามยาวตวั ผล 5 ครีบปีกคูย่ าวถงึ 10 ซม. ภาพที่ 11 สะแบง
12 ปรู๋ Alangium salviifolium (L.f.) Wangerin. subsp. hexapetalum Wangerin เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด แก่นสี น้ำตาล กระพี้สีค่อนข้างเหลือง กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขน ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผน่ ใบรูปไขก่ ลับรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลบั กวา้ ง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายกว้างและเป็นติ่งสั้น โคนสอบ เรียว ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 3-5 เส้นออกจากโคนใบ เห็นชัดมาก บริเวณท้องใบ ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร ดอกช่อ สีขาวนวล กล่ิน หอมอ่อน ๆ ออกเปน็ กระจกุ ตามก่ิงเหนือรอยแผลใบ กลบี ดอกโคนเชื่อม ติดกันปลายแยก 5-7 กลีบ กลีบเลี้ยง ส่วนโคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็น ท่อรูปกรวย ส่วนปลายกลีบจะแยกออกเป็นแฉก ขนาดยาวประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกมีขนขึ้นประปราย ผล รูปกลมรี ออกเป็น กระจกุ กวา้ งประมาณ 1 เซนตเิ มตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร สุกสี ดำ ปลายผลมกี ลีบเล้ียง และกลางผลจะมีสนั แข็งตลอดความยาวของผล ผลรสหวานอมเปร้ยี ว รับประทานได้ ภาพที่ 12 ปรู๋ สมนุ ไพรในปา่ ดูนลำพนั เท้ายายม่อม Tacca leontopetaloides เป็นพืชในวงศ์ Taccaceae เป็นพืชที่มีหัว มีใบ 1-3 ใบ แต่ละใบจักเป็นสามแฉก เว้าแบบขนนก ดอกเป็นช่อยาว แต่ละช่อมีดอกย่อย 20 - 40 ดอก ผล กลม หัวของพืชชนิดนี้นำไปทำแป้งที่เรียกแป้งเท้ายายม่อม เท้ายายม่อม เป็นไม้ล้มลุกอายุยืน ไม่มีลำต้น เหง้าใต้ดินเป็นหัว กลมแบนหรือรีกว้าง เปลือกหัวบาง ผิวเรียบ เมื่ออ่อนสีขาว แก่แ ล้วเป็นสีเทาหรือสี น้ำตาล เน้ือหัวสขี าว ฉำ่ น้ำเล็กน้อย ดอกสีเหลอื งหรือเขยี วแกมม่วงเขม้ ผลสสี ้มอ่อน มีเมลด็ มาก เมล็ดแบน หัวสดรับประทานไม่ได้ มีรสขม แต่สามารถสกัดแป้งมาใช้ประโยชน์ได้ แป้งที่ได้ใช้ทำขนมปัง พุดดิ้งและ ขนมได้หลายชนดิ ในฟิจนิ ำแป้งท่ยี ังไมไ่ ด้ตากแห้งห่อใบไมน้ ำไปฝังดิน ภาพท่ี 13 เท้ายายม่อม
13 กวาวเครือแดง Butea superba Roxb. จัดเป็นไม้เถา ยืนต้นขนาดใหญ่ อายุยิ่งมากเท่าไหร่เถา ก็จะยิ่งใหญ่และกลายเป็นต้น แตย่ ังส่งเถาเลอื้ ยไปพาดพันตามตน้ ไมท้ ่ีอยู่ในบริเวณใกล้ ๆ ลักษณะของ ใบคลา้ ยใบทองกวาว แต่ใบจะใหญ่กว่ามาก แตถ่ า้ เปน็ ใบอ่อนจะมีขนาด เท่ากับใบพลวงหรือใบของต้นสักส่วนต้นหากใช้มีดฟันจะมียางสีแดง คล้ายโลหิตออกมาหากขุดโคนต้น ก็จะพบรากขนาดใหญ่เท่าน่องขา เลื้อยออกมาจากต้นโดยรอบ มีความยาวประมาณ 2 วา ขึ้นอยู่กับอายุ และขนาดของลำต้น ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ จะออกดอก เป็นสีส้มเหลืองคล้ายดอกทองกวาว บานสะพรั่งอยู่บนยอดดอย แต่ในปัจจุบันใช่ว่าจะหาได้ง่ายนักเพราะมีไม่มากเท่ากวาวเครือขาว สรรพคุณของกวาวเครือ มีรสเย็นเบื่อเมา สรรพคุณช่วยบำรุงสุขภาพ ร่างกาย และใช้เป็นยาอายุวัฒนะกวาวเครือแดง เป็นสมุนไพรที่ช่วยทำ ใหเ้ ซลล์ต่าง ๆ ในรา่ งกายมีอายุยนื ยาวขึ้น ช่วยทำใหร้ ่างกายและเน้อื เยื่อ เสอ่ื มชา้ ลง ภาพที่ 14 กวาวเครือ กำแพงเจ็ดชั้น Salacia chinensis เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย หรือไม้เล้ือยเนื้อแข็ง ในวงศ์ Celastraceae เปลอื กลำตน้ เรยี บสีเทา นวลหรอื สีน้ำตาลอมขาว เปลือกล่อนง่าย เนื้อไม้มวี งปสี ีนำ้ ตาลแดง เข้มจำนวนหลายชั้นเห็นชัดเจน เรียงซ้อนกันเป็นชั้น 7-9 ชั้น ใบเดี่ยว ผิวใบเรียบเป็นมัน แผ่นใบห่อเข้าเล็กน้อย ดอกเดี่ยว ออกตามง่ามใบหรือซอกกิ่ง สีเขียวอมเหลือง เนื้อผลสีขาว กำแพงเจ็ดชั้นเป็นพืชที่นำไปใช้เป็นพืชสมุนไพรอย่างแพร่หลาย โดยทั่วไปใช้ ต้น ต้มน้ำดื่ม หรือดองสุรา แก้ปวดเมื่อย บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้โลหิตเป็นพิษหรือเป็นส่วนผสมของยาระบาย รักษาโรคตับอักเสบ แก้หืด แก้เบาหวาน ราก ใช้ต้มหรือดองสุรา ดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต แก้ลมอมั พฤกษ์ รักษาโรคตา ภาพที่ 15 กำแพงเจ็ดชนั้ วา่ นแผ่นดนิ เยน็ Kaempferia galanga L. (ชอื่ พอ้ งวทิ ยาศาสตร์ Kaempferia marginata Carey ex Roscoe) จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) จัดเป็นพืชลม้ ลุก มีอายุราวหนึ่งปี ทั้งเปราะหอม ขาวและเปราะหอมแดง เป็นไม้ลงหัวจำพวกมหากาฬ มีลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดิน หรือที่เรียกว่า “เหง้า” เนื้อ ภายในของเหง้ามีสีเหลืองอ่อนและมีสีเหลืองเข้มตามขอบนอก และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดขม เป็นพืชที่ชอบดินร่วนปนทราย มีความชุ่มชื้นพอเพียง เจริญเติบโตได้ดีในที่ร่ม เจริญเติบโตในช่วงฤดูฝน พอย่างเข้าฤดูหนาวต้นและใบจะโทรมไป และพบได้มากทางภาคเหนือ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด
14 หรือแยกหัว สรรพคุณ ใชเ้ ปน็ ยาแก้ปวดศีรษะ คลายเครยี ด ดว้ ยการใช้ทง้ั หวั และใบนำมาโขลก ใสน่ ำ้ พอชุ่ม แล้วเอาไปชุบนำมาใช้คลุมหัว หรือจะใช้เฉพาะหัวนำมาตำคั้นเอาน้ำไปผสมกับแป้งหรือว่านหูเสือ ก็จะได้ แป้งดินสอพองไวท้ าขมับแก้อาการปวดศรี ษะ ภาพท่ี 16 วา่ นแผ่นดินเยน็ ภาพท่ี 17 งูเหลือม สัตว์ปา่ ท่ีพบในปา่ ดูนลำพัน ภาพท่ี 18 นกแซงแซว งูเหลือม เป็นงูที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก หางบ่วงใหญ่ มีปากใหญ่ ฟันแหลมคม ขากรรไกร แข็งแรงมาก พื้นตัวสีน้ำตาลแดง มีลายแบ่งเป็นวงมีหลายสี ที่หัวมีเส้นศรสีดำจนเกือบถึงปลายปาก ส่วนท้องสีขาวมีทุกภาคในประเทศไทย พม่า มาเลเซีย และสิงคโปร์กิน สัตว์แทบทุกชนิด เช่น เก้ง สุนัข กระต่าย หนู ไก่ เป็ด นก บางครั้ง ก็จบั ปลากิน โดยงเู หลือมเปน็ งูไม่มีพิษ เลอื้ ยช้า ๆ ดุ ออกหากินกลางคืน หากินทั้งบนบกและในน้ำ อาศัยนอนตามโพรงดินโพรงไม้ในที่มืด และเย็น หลาย ๆ วันจึงจะออกหากินครั้งหนึ่ง ปัจจุบัน เป็นสัตว์ป่า คุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ลักษณะทั่วไปนั้นเมื่อโตเต็มวัยจะมีความยาววัดจากปลายปากจรดหาง ประมาณ 62 เซนติเมตร เป็นความยาวของหางกว่าขึ้น มีขนสีดำเงา เหลอื บน้ำเงนิ ตลอดช่วงบนของลำตัว ส่วนลำตัวชว่ งล่างนัน้ มีสีดำเหลือบ มีขนหงอนสั้น ๆ ขน้ึ อยอู่ ย่างหนาแน่นบรเิ วณหน้าผาก ปากหนา สันปาก ด้านบนจะโค้งลง งองุ้มเล็กน้อย และเมื่อนกแซงแซวหางบ่วงใหญ่มีอายุ ครบปขี ้ึนไป จะมขี นหางคูส่ องขา้ งยาวและยืน่ ออกมาซึ่งเป็นลักษณะเด่น ของนกสายพันธุ์นี้ นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ เป็นนกประจำถิ่นของ ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศจีนในตอนใต้ ประเทศอนิ โดนเี ซีย หม่เู กาะนิโคบาร์ หมูเ่ กาะอันดามัน เปน็ ต้น
15 นกบั้งรอกใหญ่ มีลักษณะทั่วไป คือ ปากเขียวขุ่น หนัง ภาพที่ 19 นกบ้งั รอกใหญ่ รอบตาแดงมีขนสีขาวโดยรอบ หัวสีเทาอ่อน ปีกและหลังสีน้ำตาล ภาพที่ 20 นกกะปูด เหลือบเขียว ลำตัวด้านล่างเทาแซมขดี ดำเลก็ ๆ หางยาวมาก ปลายหาง ขาว ขนาดลำตัว: 53 – 59 เซนติเมตร เสียงร้อง: แหบ สนั้ “ตอ็ ก-ต็อก” หรือ “เอาะ-เอาะ”ถิ่นอาศัย: ชายป่า สวนผลไม้ ที่ราบถึงความสูง 1,600 เมตร นกประจำถนิ่ พบบ่อยมาก นกกะปูด ในประเทศไทยมีทั่วไปทุกภาค ชอบอยู่ตามป่า ต่ำและป่าภูเขา อาศัยตามพุ่มไม้รก ๆ ใกล้น้ำ มักหากินตามลำพัง ตัวเดียว บางครั้งจะพบเป็นคู่ เป็นนกที่บินไม่ค่อยเก่งนัก ไม่ชอบบิน อาศัยบนต้นไม้สูง ๆ อาหารของนกกะปูดใหญ่ ได้แก่ สัตว์เลื้อยคลาน เลก็ ๆ และแมลงตา่ ง ๆ ผสมพนั ธ์ุประมาณต้นฤดฝู น ทำรงั อยู่ตามพุ่มไม้ รก ๆ โดยนำกิ่งไม้มาขัดสานกันเป็นรูปกลม ๆ มีทางเข้าด้านข้าง วางไข่ ครง้ั ละประมาณ 3-4 ฟอง แย้ เป็นสัตวเ์ ลือ้ ยคลานจำพวกกิ้งกา่ ประเภทหน่ึง จดั เปน็ สตั วท์ อี่ ยู่ในสกุล Leiolepis ในวงศ์ Agamidae วงศ์ย่อย Leiolepidinae พบทั้งหมด 8 ชนิด สำหรับในประเทศไทยพบทั้งหมด 4 ชนิด มีลักษณะเด่นคือ มีสีสวยสด และลำตัวไม่มีปุ่มหนาม แย้ทุกชนิดเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยอยู่ ในพื้นดิน ไม่ขึ้นต้นไม้อย่างสัตว์เลื้อยคลานชนิดอื่น โดยเฉพาะพื้นดินที่เป็นที่แห้งแล้งลักษณะดินปนทราย ที่อยู่ของแย้เป็นรู ลึกประมาณ 1 ฟุต เป็นโพรงข้างใน สามารถกลับตัวได้ ที่ปากรูจะมีรอยของหางแย้ เป็นรอยยาว ๆ และจะมีรูพิเศษอีกรูหนึ่ง ที่ใช้ป้องกันตัว เม่ือถูกศัตรูรุกรานเข้ารูด้านหนึ่ง แย้สามารถหลบ รอดออกไปอีกรูหนึ่งไดอ้ ย่างแยบยล ภาพที่ 21 แย้ ภาพท่ี 22 กระรอก กระรอก เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีขนาดลำตัวเล็ก ขนปุยปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย นัยน์ตา กลมดำ หางเป็นพวงฟู กระรอกเป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวมาก อาหารของกระรอกคือ ผลไม้ และเมล็ด พชื เปน็ หลัก แตก่ ระรอกกย็ งั ชอบกินแมลงดว้ ยเหมือนกนั โดยเฉพาะกระรอกขนาดใหญ่อย่างพญากระรอก น้ันบางครั้งก็ยังกินไข่นกเป็นอาหารอีกด้วยด้วยความน่ารักของกระรอก ทำให้กระรอกหลายชนิดนิยม เป็นสัตว์เลย้ี งของมนุษย์ เพอื่ ความเพลดิ เพลิน
16 ตัวเงินตัวทอง เป็นกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5–3 เมตร เป็นสัตวใ์ นตระกูลนี้มคี วามใหญ่ เป็นอันดับสองรองจากมังกรโกโมโด (V. komodoensis) โครงสร้างลำตัวประกอบไปด้วยกระดูกเล็ก ภายใต้ผิวหนังที่เต็มไปด้วยเกล็ดที่เป็นปุ่มนูนขึ้นมา เกล็ดมีการเชื่อมต่อกันตลอดทั้งตัว ไม่มีต่อมเหงื่อ แต่มีต่อมน้ำมันใช้สำหรับการป้องกันการสูญเสยี น้ำ ช่วยให้อยู่บนบกได้ยาวนานมากขึ้น มีลิ้นแยกเป็นสอง แฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่นซึ่งสามารถรับรู้ได้ถึงอาหารเป็นระยะทางไกลหลายเมตร โดยสัมผัสกับ โมเลกุลของกลิ่น ปลายลิ้นจะสัมผัสกับประสาทที่ปลายปากเพื่อส่งต่อข้อมูลไปยังสมอง หางยาวมีขนาด พอ ๆ กับความยาวลำตัว เป็นอวัยวะสำคัญสำหรับการทรงตัวและเคลื่อนที่ มีฟันที่มีลักษณะที่คล้าย ใบเลื่อยเหมาะสำหรับการบดกินอาหารที่มีความอ่อนนุ่มโดยเฉพาะ ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและดำน้ำนาน อุปนิสัยเป็นสัตว์ที่หากินอย่างสงบตามลำพัง จะมารวมตัวกันก็ต่อเมื่อพบกับ อาหาร และมนี ิสัยตืน่ คน พังพอน พงั พอนมรี ูปร่างโดยรวม เปน็ สัตวข์ นาดเลก็ มลี ำตวั เพรยี วยาว ชว่ งขาสั้นแต่แข็งแรง มเี ล็บท่ีแข็งแรงและแหลมคม หางยาว ใบหเู ล็ก ส่วนใบหนา้ แหลม ในปากมีฟันแหลมคมประมาณ 33-34 ซ่ี ซ่งึ นบั วา่ ใกล้เคยี งกบั วงศ์ชะมดและอีเหน็ มีลำตวั ยาวตง้ั แต่ 43 เซนตเิ มตร จนถงึ 1 เมตร นำ้ หนัก 320 กรัม จนถึง มากกว่า 5 กิโลกรัม พังพอนส่วนใหญ่มีขนที่หยาบสีน้ำตาลหรือสีเทา ในบางชนิด จะเป็นขนสีอ่อน และมลี ายปล้องสีคล้ำพาดเป็นลายขวางหรือลายตั้งเป็นทางยาว พงั พอนโดยมากจะมีพฤติกรรมอยู่รวมกัน เปน็ ฝูง หรอื อยลู่ ำพงั เพียงตัวเดยี ว หรอื อย่กู นั เป็นกลุ่ม พังพอน มกั หากินในเวลากลางคืน โดยกินอาหารได้ หลากหลาย ตั้งแต่ ผลไม้, ลูกไม้, แมลง, สัตว์ทั้งมีกระดูกสันหลังและไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กต่าง ๆ รวมถึงแมงมุม แมงปอ่ ง และงหู รอื ก้งิ ก่าอกี ดว้ ย อกี ทงั้ พังพอนเป็นสัตว์ท่ีมคี วามปราดเปรียวว่องไว สามารถ พองขนให้ตัวมีขนาดใหญ่ขึ้นได้เพื่อขู่ศัตรู และมีภูมิคุ้มกันพิษงูอยู่ในตัว จึงสามารถสู้กับงูพิษได้เป็นอย่างดี ด้วยการหลอกล่อให้งูเหนื่อย และฉวยโอกาสเข้ากัดที่ลำคอจนตาย แต่ถ้าหากถูกกัดเข้าอย่างจัง ก็ทำให้ถึง ตายไดเ้ ชน่ กนั ภาพที่ 23 ตัวเงินตัวทอง ภาพท่ี 24 พังพอน
17 ◼ แหลง่ นำ้ อ่างเกบ็ นำ้ ห้วยค้อ ภาพที่ 25 อ่างเกบ็ น้ำหว้ ยคอ้ จากการทำโครงงานศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น จากการศึกษาจากบุคคล ที่มีความรู้ในท้องถิ่น พบว่า หมู่บ้านหนองแสง ตำบลนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านที่เก่าแก่ หมู่บ้านหนึ่งของอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม ตั้งเป็นหมู่บ้านมานานมากกว่า 100 ปีมาแล้ว โดยมีชาวบ้านที่ย้ายมาจากอำเภอกระนวล จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งฐานบริเวณนี้ โดยชื่อบ้านหนองแสง มาจาก ท้ายหมู่บา้ น มีหนองนำ้ ทมี่ ีต้นแสงข้ึนอยจู่ ำนวนมาก ด้วยบัานหนองแสงมีอัตลักษณ์ คอื อ่างเก็บน้ำห้วยค้อ แต่ก่อนที่จะสร้างอ่างเดิม ที่แห่งนี้เป็นทุ่งนาของชาวบ้านทั้งบ้านหนองแสง บ้านของเราในบ้านหนองเลา และบ้านเห็ดไค และบริเวณนั้น มีลำห้วยใหญ่พาดผ่านเรียกกันวา่ ห้วยค้อ สาเหตุที่ตัง้ ชื่อว่าอา่ งเก็บนำ้ หว้ ย ค้อ เพราะว่าตั้งซื่อตามห้วยที่พาดผา่ น จึงมีห้วย และได้มาเป็นอ่างเก็บน้ำหว้ ยค้อในปัจจุบัน ซึ่งอ่างเก็บนำ้ ห้วยค้อ เริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2509 และสร้างปี พ.ศ. 2511 และมีเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ มีการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ขึ้นในปี พ.ศ. 2515 และพัฒนาการท่องเที่ยว คือ พัทยานาเชือกในปี พ.ศ.2540 และมีการตั้งสะพานไม้ฮักนะนาเชือกในปี พ.ศ. 2561 รับการพระราชทานพันธุ์สัตว์น้ำ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปี หลวง สมเดจ็ พระกนษิ ฐาธิราชเจ้า และไดร้ ับพระราชทานตลอดทุก ๆ ปถี งึ ปัจจบุ นั ทอดกฐินทางนำ้ รำบูชา แม่คงคาบูชาพญานาคที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า อา่ งเกบ็ น้ำห้วยค้อ ดร.ปราณี รัตนธรรม ผอู้ ำนวยการโรงเรียน นาเชือกพทิ ยาสรรค์ ไดน้ ำคณะครู และนักเรียน ร่วมกับกลมุ่ คนรักนาเชือก และสำนกั งานวฒั นธรรมจงั หวัด มหาสารคาม ได้บูรณาการร่วมกับเครือข่ายวัฒนธรรมอันประกอบด้วย กลุ่มคนรักนาเชือก กลุ่มศิลปิน พื้นบ้าน ชุมชนคุณธรรมน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้จัดทำโครงการอนุรักษ์และสืบสาน ประเพณีท้องถิ่นแห่กฐินทางน้ำ ณ ที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม (เกาะโนนข่า) จัดขึ้น ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีนี้ตรงกับ วันที่ 31 เดือนตุลาคม 2563 (เป็นวัดทอดถวายกฐิน) ซึ่งตรงกับ
18 วันลอยกระทงตามความเชื่อว่าการได้ร่วมทำบุญบูชาพญานาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เป็นเสมือน การได้อุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร สัมภเวสีทั้งหลายทั้งปวง ทั้งยังได้ร่วมลอยกระทง เพื่อขอขมา ต่อพระแม่คงคาอีกด้วย ประเพณีกฐินทางน้ำ เป็นประเพณีการทำบุญของไทยมาตั้งแต่โบราณ และได้ถือ ปฏิบัติสืบต่อมากันมาในระยะเวลาที่กำหนดให้ในปีหนึ่ง ๆ เรียกว่า “กฐินบาล” เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดอื น 11 ถึงวนั ขน้ึ 15 คำ่ เดือน 12 จะทำก่อนหรอื หลงั จากวนั นนั้ ไมไ่ ด้ ซ่งึ มีทั้งกฐินที่พระมหากษตั ริย์ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลไปจนถึงกฐินราษฎร โดยในพื้นที่ที่มีการสัญจรทางน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณ มีวิถีชีวิต ที่มีความผูกพันกับแม่น้ำหรืออ่างเก็บน้ำ และมีสำนักสงฆ์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำ เมื่อประชาชนในชุมชน ทำบุญ ก็จะใช้การสัญจรทางน้ำ เช่น การทำบุญตักบาตร การทอดกฐินทางน้ำ ก็จะมีการประดับประดาเรือ ให้สวยงาม จัดเป็นขบวนแห่ไปตามท้องน้ำแม่น้ำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เริ่มสูญหายไป จึงได้ฟื้นฟูประเพณี นี้ให้คงอยู่สืบต่อไป ประเพณีการแห่เรือองค์ หมายถึง องค์กฐิน หรือ องค์ผ้าป่า กำหนดจัดในช่วง ออกพรรษาประมาณเดือน 11 และเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำ หลาก และเป็นช่วงระยะเวลาที่สามารถ จะทอดกฐินหรือทอดผ้าป่าได้โดยไม่จำกัดเวลารวมทั้งเชื่อว่าจะได้อานิสงส์ในการทำบุญมาก ความสำคัญ ประเพณีเรือองค์ คือประเพณีการทอดกฐินหรือทอดผ้าป่าทางน้ำโดยอาศัยขบวนเรือที่เรียกว่า ขบวนเรือ องค์กฐินหรือขบวนเรือองค์ผ้าป่า แห่ขึ้นล่องตามลำน้ำไปถวายองค์กฐินหรอื องค์ผ้าป่าตามวัดซึ่งอยู่แถวรมิ แม่น้ำ ลำคลอง หรือใกล้ ๆ แม่น้ำนั่นเองส่วนประวัติความเป็นมาของเรือองค์นี้ มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะได้ แบบอย่างการเสด็จทอดกฐินของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินในสมัยอยุธยาเป็นต้นมา ซึ่งโปรดที่จะเสด็จมาทอดผ้า พระกฐินทางชลมารค ภายในงานมีการร่วมมือร่วมใจของการเตรียมกองบุญกฐิน มีการรำบูชาแม่คงคา ในขบวนมกี ารแตง่ กายผ้าชุดพน้ื เมอื งและขบวนเรือของกองกฐนิ จากทกุ ภาคสว่ น มีมโหรีสนุกสนาน บรรเลง โดยคณะกลองยาววงปูแป้งของโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ซึ่งเป็นการสืบสานประเพณีอันงดงามอย่าง แท้จริง พ.ศ. 2562 มีกุฏิ 1 หลัง พระจำพรรษา 1 รูป พระสุรตั น์ จารธุ โม พรรษา 6 มีหอ้ งน้ำ 3 หอ้ ง มีเรอื 1 ลำ พ.ศ. 2563 มีกฏุ ริ วม 5 หลงั พระจำพรรษา 5 รปู ◼ สภาพทางธรณวี ิทยา (Geographic Conditions) ทรัพยากรธรณี หมายถึง ทรัพย์อันอยู่ใต้แผ่นดิน เช่น แร่ธาตุ หิน ดิน กรวด ทราย น้ำบาดาล ถ่านหิน หินน้ำมัน ปิโตรเลียม และซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีคุณประโยชน์อย่างยิ่งต่อสิ่งมีชีวิตที่ถือกำเนิดข้ึน มาบนโลก หมวดหนิ มหาสารคาม (Kms) หมวดหนิ มหาสารคามต้ังช่ือตามจงั หวัดมหาสารคาม โดยมีช้ันหนิ แบบฉบับอยู่ที่หลุมเจาะ น้ำบาดาลหมายเลข F-34 บริเวณบ้านเชียงเหียน อําเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม อายุของหมวดหิน มหาสารคามได้จากลำดับชั้นหิน การศึกษาเรณูวิทยาและการศึกษาสนามแม่เหล็กโบราณพบว่ า มอี ายคุ รเี ทเชียสตอนปลาย ความหนาและการแผ่กระจาย พบการแผ่กระจายตัวในพื้นราบที่ระดับความสูงประมาณ 170 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณอำเภอเชียงยนื อำเภอบรบือ อำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม อำเภอนาดนู และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
19 ลักษณะทางกายภาพของชั้นหิน จากข้อมูลหลุมเจาะต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน โดยเฉพาะหลุมเจาะสาํ รวจโพแทช 194 หลุม และข้อมูลที่มีผู้ศึกษามาก่อน หมวดหินมหาสารคามโดยรวม มลี กั ษณะทางกายภาพและลำดับชน้ั หินจากล่างขึน้ บนดังนี้ คือ 1. แอนไฮไดรต์ชัน้ ฐาน หนาประมาณ 1-3 เมตร 2. เกลือหินชั้นล่าง ประกอบด้วย แร่เกลือหินและแร่โพแตส ความหนารวมประมาณ 300-400 เมตร 3. หินโคลนชั้นล่าง สีน้ำตาลแกมแดง น้ำตาลแกมม่วง สีเทาดำ มีจุดสีเขียวอยู่ทั่วไป มสี ายแร่คารน์ าไลตแ์ ละเฮไลต์อย่ทู ั่วไป ความหนาอยรู่ ะหว่าง 10-80 เมตร 4. เกลือหินชั้นกลาง ส่วนใหญ่ประกอบด้วยแร่เฮไลต์บางครั้ง พบแร่แอนไฮไดรต์ บางครง้ั พบแร่แอนไฮไดรต์หรอื แร่ยิบซมั อยดู่ ว้ ย ความหนาอย่ปู ระมาณ 20-80 เมตร 5. หินโคลนชั้นกลาง มีลักษณะคล้ายหินโคลนชั้นล่าง แต่ไม่มีสายแร่คาร์นาไลต์ หนา ประมาณ 20-70 เมตร 6. เกลือหินชั้นบนนั้น ประกอบด้วยเกลือหิน แร่ยิบซัมและแอนไฮไดรต์ชั้นบางแทรก หนาประมาณ 5-20 เมตร ขอบเขตของหมวดหนิ มหาสารคาม ส่วนใหญจ่ ะเป็นเขตพื้นท่ดี นิ เคม็ เน่ืองจากชัน้ หินเคลย์ ซึ่งมีเกลืออยู่ในเนื้อหินเมื่อโผล่พ้นพื้นดินเกลือที่อยู่ในเนื้อหินจะแยกตัวออกมา นอกจากนั้น ชั้นเกลือหิน ของหมวดหนิ มหาสารคาม ซึ่งมีคุณสมบัตลิ ะลายน้ำได้ดี มกั จะเคล่อื นที่ไปตามรอยแตกของช้ันหินในสภาพ ของน้ำที่มีความเค็มสูงเข้ามาในชั้นน้ำใต้ดินและขึ้นสู่ผิวดิน เมื่อน้ำแห้ง จะทิ้งคราบเกลือสีขาวพบเห็นได้ ทว่ั ไป หมวดหนิ ภทู อก (Kpt) หมวดหนิ ภูทอกในความหมายเดมิ เป็นหมวดหินทีป่ ระกอบไปดว้ ยหนิ ทราย เป็นส่วนใหญ่ ที่โผล่ให้เห็นในพื้นที่บริเวณที่ราบสูงโคราชบริเวณขอบแอ่งด้านทิศเหนือ ของแอ่งอุดรธานี-สกลนคร โดยมีชั้นหินแบบฉบับอยู่ที่ภูทอกน้อย อําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ปัจจุบัน พบหมวดหิน ภูทอก แผ่กระจายอย่างกว้างขวางบริเวณตอนกลางของที่ราบสูงโคราช เช่นที่จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ นครราชสมี า ร้อยเอด็ รวมทั้งจงั หวัดมหาสารคาม ลักษณะทางกายภาพของชน้ั หนิ หมวดหนิ ภูทอกในพ้ืนที่ จังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย หินทราย แทรกชั้นอยู่กับหนิ ทรายแป้ง หินโคลน และหินหินเคลย์สีแดง อิฐ สีน้ำตาลแดง หินทรายขนาด เม็ดละเอียด แสดงชั้นเฉียงระดับขนาดเล็ก และแถบชั้นบาง ขนาดชั้นปานกลางถึงหนา ประกอบด้วย ควอตซ์ไมกา และเหล็กออกไซด์ตัวเชื่อมประสานเป็นแร่เหล็ก ความหนาและการแผ่กระจาย หมวดหนิ ภูทอก เป็นหมวดหนิ ที่พบแผ่กระจายบริเวณตอนกลาง ๆ ของพ้ืนที่ จังหวัด ครอบคลมพื้นที่ประมาณ 40% ของพื้นที่ มักพบเป็นพื้นที่เนินสูง ที่ระดับความสูงประมาณ 170 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป ในเขตพื้นที่อําเภอกุดรัง อําเภอบรบือ อําเภอนาเชือก เป็นตน้
20 ตะกอนร่วนยคุ ควอเทอรนารี (Q) ตะกอนร่วน หมายถึง กรวด ทราย ดิน และดินเหนียว ที่ยังไม่แข็งตัวกลายเป็นหิน อายุประมาณ 1.8 ล้านปีจนถึงปัจจุบัน (ยุคควอเทอร์นารี) พบกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างทางตอนเหนือ ของจงั หวดั ตามแนวลำน้ำชีและแม่น้ำสาขา สามารถจาํ แนกตะกอนรวนในพ้ืนที่ โดยอาศัยชนิดของตะกอน และสภาวะแวดล้อมของการตกตะกอนออกเป็น 2 หน่วยตะกอนย่อย คอื 1. หนว่ ยตะกอนตะพักลาน้ำ (Qt) ตะกอนตะพักลําน้ำปรากฏเป็นพื้นที่เนินกระจายตัวในพื้นที่บริเวณอำเภอเชียงยืน ประกอบด้วย กรวด ศิลาแลง ไม้กลายเปน็ หินอุลกมณี (Tektite) ปิดทับดว้ ยช้ันตะกอนก่ึงแข็งของตะกอน ทรายปนทรายแป้ง สีแดง และสีเหลือง ดินที่พบบริเวณนี้ มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์พอสมควร ปลูกพืชไร่ พื้นทบี่ รเิ วณนี้ไมอ่ ยู่ในเขตนำ้ ท่วม-ขงั เหมาะสำหรบั เป็นท่ีอยู่อาศยั 2. หนว่ ยตะกอนน้ำพา (Qa) พบแผ่กระจายบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ำชีเป็นสวนใหญ่ ในเขตอำเภอโกสุมพิสัย อำเภอเมืองมหาสารคาม และในบางส่วนเป็นตะกอนที่ราบลุ่มแม่น้ำมูลในพื้นที่อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย ประกอบด้วย ตะกอนกรวด ทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว เกิดจากน้ำพัดพากรวด หิน ดิน ทราย ไป สะสมตัวลักษณะเป็นภูมิประเทศที่ราบริมแม่น้ำ พื้นที่ราบนี้ มักเป็นแหล่งสะสมตัวของชั้นทรายแม่น้ำ โดยทั่วไป สภาพดินเป็นดินร่วนทีม่ ีแร่ธาตทุ ี่จำเป็นต่อพืชอุดมสมบูรณ์เหมาะต่อการเพาะปลูก แต่เนื่องจาก เป็นที่ราบ จึงมักประสบกับน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนเป็นประจำ และในบางพื้นที่อาจมีสภาพเป็นดินเค็ม เน่ืองจากถูกรองรบั ด้วยหมวดหินมหาสารคาม ซ่ึงมเี กลอื หนิ แทรกอยู่
21 แผนที่ทางธรณีวทิ ยา จงั หวดั มหาสารคาม
22 ภาพท่ี 26 ธรณวี ทิ ยาจังหวัดมหาสารคาม ที่มา: กรมทรพั ยากรธรณี (2552)
23
24 ◼ ทรพั ยากรดิน สำหรับพื้นที่ตำบลนาเชือก กลุ่มชุดดินในพื้นที่ลุ่ม พบได้ทุกภาค ในบริเวณที่ลุ่ม การระบายน้ำ ของดินไม่ดี มักมีน้ำแช่ขังในฤดูฝน ไม่เหมาะสำหรับเพาะปลูกพืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้น และดินในพื้นท่ี ดอนเขตดินแห้ง เขตดินแห้ง เป็นเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะพื้นท่ีส่วนใหญ่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง โดยท่ัวไปมฝี นตกน้อยและตกกระจายไม่สม่ำเสมอ ปริมาณฝนตก เฉลีย่ น้อยกวา่ 1,500 มิลลเิ มตรตอ่ ปี กลมุ่ ชุดดินที่ 18 ชุดดิน: ชุดดินชลบุรี (Cb) ชุดดินไชยา (Cya) ชุดดินโคกสำโรง (Ksr) และ ชุดดินเขาย้อย (Kyo) ลักษณะเด่น: กลุ่มดินร่วนละเอียดลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกลาง หรอื เปน็ ดา่ ง การระบายน้ำเรว็ ถงึ ค่อนขา้ งเร็ว ความอดุ มสมบูรณต์ ่ำถึงปานกลาง ปัญหา: ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางพื้นที่ขาดแคลนน้ำนาน และน้ำท่วมขังในฤดูฝน ทำความเสียหายกับพชื ท่ีไม่ชอบนำ้ แนวทางการจัดการ: ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบปุ๋ยพืช สด (หว่านโสนอัฟริกัน หรอื โสนอินเดีย 4-6 กโิ ลกรัม/ไร่ ไถกลบเม่ืออายุ 50-70 วนั ปลอ่ ยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกบั การใช้ปุ๋ยอินทรียน์ ้ำหรือปุ๋ยเคมสี ูตร 16-16-8 ใสป่ ยุ๋ แต่งหนา้ หลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำ ไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำรอ่ งแบบเตีย้ ปรับปรุงดินด้วยป๋ยุ หมักหรอื ปยุ๋ คอก 2-3 ตัน/ไร่ รว่ มกบั ปยุ๋ เคมีหรอื ปยุ๋ อินทรยี น์ ำ้ ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นลอ้ มรอบ เพือ่ ปอ้ งกนั น้ำทว่ มขงั ปรับปรุงดนิ ด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต มีการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำ ในแปลงปลูก กลุ่มชดุ ดินท่ี 22 ชุดดิน: ชุดดนิ นำ้ กระจาย (Ni) ชดุ ดินสันทราย (Sai) และชดุ ดินสที น (St) ลักษณะเด่น: กลุ่มดินร่วนหยาบลึกมากที่เกิดจากตะกอนลำน้ำเนื้อหยาบ ปฏิกิริยาดิน เป็นกรดจัดถงึ เปน็ กลาง การระบายน้ำเร็วถงึ คอ่ นขา้ งเร็ว ความอดุ มสมบูรณ์ต่ำ ปัญหา: เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำนาน และน้ำท่วม ขังในฤดฝู น ทำความเสยี หายกบั พืชท่ีไมช่ อบน้ำ แนวทางการจัดการ: ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบปุ๋ยพืช สด (โสนอัฟริกัน หรือโสนอินเดีย 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกบั การใชป้ ุ๋ยอนิ ทรียน์ ้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 ใส่ปยุ๋ แต่งหน้าหลังปักดำ 35-45 วัน พัฒนาแหล่งน้ำ ไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำหรือใช้ทำนาครั้งที่ 2 หรือปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตีย้ ปรับปรุงดนิ ด้วยปุ๋ยหมักหรือปยุ๋ คอก 2-3 ตนั /ไร่ ร่วมกบั ปุ๋ยเคมีหรือปยุ๋ อนิ ทรียน์ ำ้
25 ปลูกพชื ไร่ พชื ผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คนู ้ำกวา้ ง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นลอ้ มรอบ ปรบั ปรงุ ดินดว้ ยปุ๋ยหมักหรือปุย๋ คอก 2-3 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ย อินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ตามชนิดพืชที่ปลูก พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานและจัดระบบการให้น้ำ ในแปลงปลกู กลุม่ ชดุ ดนิ ท่ี 24 ชุดดิน: ชุดดนิ บา้ นบงึ (Bbg) ชุดดนิ ทา่ อุเทน (Tu) และชดุ ดินอบุ ล (Ub) ลักษณะเด่น: กลุ่มดินทรายลึกมากเกิดจากตะกอนลำน้ำที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนา ปฏิกิรยิ าดนิ เป็นกรด การระบายน้ำคอ่ นข้างเลวถงึ ดปี านกลาง ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ปัญหา: เนื้อดินเป็นดินทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำ และน้ำท่วมขังในฤดฝู น ทำความเสียหายกับพชื ทไ่ี ม่ชอบนำ้ แนวทางการจัดการ: ปลูกข้าว ไถกลบตอซัง ปล่อยไว้ 3-4 สัปดาห์ หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 (หว่านโสนอัฟริกันหรือโสนอินเดีย 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) พัฒนาแหล่งน้ำชลประทานไว้ใช้ในช่วงที่ข้าวขาดน้ำ หรือใช้ปลูกพืชไร่ พืชผักหรือพืชตระกูลถั่วหลังเก็บเกี่ยวข้าว โดยทำร่องแบบเตี้ย ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ปลูกพืชไร่ พืชผัก หรือไม้ผล ยกร่องกว้าง 6-8 เมตร คูน้ำกว้าง 1.0-1.5 เมตร ลึก 0.5-1.0 เมตร และมีคันดินอัดแน่นล้อมรอบ เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ปรับปรุงดินดว้ ยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรอื ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หรือขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 ซม. พร้อมปรับปรุงหลุมปลูกด้วยอินทรียวัตถุ ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกร่วมกับปุ๋ยเคมี 25-50 กิโลกรัม/หลมุ ในช่วงเจริญเตบิ โต ก่อนเก็บผลผลติ และภายหลังเกบ็ ผลผลิต ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุย๋ คอกร่วมกับ ปยุ๋ เคมีตามชนดิ พืชท่ีปลกู พฒั นาแหลง่ น้ำและจัดระบบการใหน้ ำ้ ในแปลงปลกู กลุ่มชุดดินท่ี 37 ชุดดนิ : ชุดดินบอ่ ไทย (Bo) ชดุ ดินนาคู (Nu) และชุดดนิ ทับเสลา (Tas) ลักษณะเด่น: กลุ่มดินร่วนหยาบลึกปานกลาง ที่เกิดจากการสลายตัวหรือพัดพาตะกอน เนื้อหยาบ มาทับถมบนชั้นหินผุในช่วงความลึก 50-100 ซม. จากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก การระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง ความอดุ มสมบรู ณ์ต่ำ ปญั หา: ดินปนทราย ความอุดมสมบรู ณต์ ่ำ ขาดแคลนนำ้ ในพื้นทท่ี ีม่ ีความลาดชนั ดินง่าย ต่อการถูกชะลา้ งพงั ทลายสูญเสียหน้าดิน แนวทางการจัดการ: ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ปรับปรุงดิน ด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) รว่ มกับปยุ๋ เคมีหรือปุ๋ยอนิ ทรียน์ ้ำ มวี สั ดคุ ลมุ ดนิ ปลกู พืชหมุนเวียน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่ง นำ้ และจัดระบบการใหน้ ้ำในแปลงปลูก
26 ปลกู ไม้ผล ขุดหลุมปลกู ขนาด 50x50x50 ซม. ปรบั ปรงุ หลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมกั หรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรมั /หลมุ ร่วมกบั ปยุ๋ เคมีหรือปุ๋ยอนิ ทรียน์ ำ้ มีระบบอนุรกั ษ์ดินและนำ้ เชน่ ทำข้ันบันได คันดิน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม วัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต กอ่ นเก็บผลผลิตและภายหลังเกบ็ ผลผลิต ใชป้ ยุ๋ หมักหรอื ปยุ๋ คอกรว่ มกับปยุ๋ เคมีหรือปุ๋ยอินทรยี ์นำ้ ตามชนิด พืชที่ปลกู พฒั นาแหล่งนำ้ และจดั ระบบการใหน้ ำ้ ในแปลงปลกู กลมุ่ ชดุ ดินที่ 40 ชุดดิน: ชุดดินจักราช (Ckr) ชุดดินชุมพวง (Cpg) ชุดดินหุบกระพง (Hg) ชุดดินห้วยแถลง (Ht) ชุดดนิ สนั ป่าตอง (Sp) และชดุ ดินยางตลาด (Yl) ลักษณะเดน่ :กลมุ่ ดนิ รว่ นหยาบลกึ ถงึ ลึกมากทีเ่ กิดจากตะกอนลำนำ้ หรอื วตั ถุตน้ กำเนิดเนื้อ หยาบ ปฏิกิรยิ าดินเป็นกรดจัดหรือเป็นกลาง การระบายน้ำดีถงึ ดปี านกลาง ความอดุ มสมบรู ณ์ตำ่ ปัญหา: ดินปนทราย ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำ ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน ดนิ งา่ ยตอ่ การถูกชะลา้ งพังทลายสญู เสยี หนา้ ดนิ แนวทางการจัดการ: ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก เลือกพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ปรับปรุงดิน ด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 2-3 ตัน/ไร่ หรือไถกลบปุ๋ยพชื สด (หว่านเมล็ดถั่วพรา้ 8-10 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถ่ัว พุ่ม 6-8 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์) ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีวัสดุคลุมดิน ปลูกพืชหมุนเวียน หรือปลูกพืชสลับเป็นแถบ พัฒนา แหล่งนำ้ และจดั ระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ปลูกไม้ผล ขุดหลมุ ปลกู ขนาด 50x50x50 ซม. ปรับปรุงหลุมปลกู ด้วยป๋ยุ หมักหรือปุ๋ยคอก 20-35 กิโลกรัม/หลุม ร่วมกับปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มรี ะบบอนุรกั ษด์ ินและน้ำ เชน่ ทำข้ันบันได คันดิน ปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชแซม วัสดุคลุมดิน ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจริญเติบโต ก่อนเก็บผลผลติ และภายหลงั เก็บผลผลติ ใช้ปยุ๋ หมักหรือปุย๋ คอกร่วมกบั ปยุ๋ เคมหี รือปุ๋ยอินทรียน์ ้ำ ตามชนิด พืชทีป่ ลูก พัฒนาแหล่งน้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก กล่มุ ชดุ ดินที่ 41 ชุดดนิ : ชดุ ดินบ้านไผ่ (Bpi) ชดุ ดินคำบง (Kg) และชุดดนิ มหาสารคาม (Msk) ลักษณะเด่น: กลุ่มดินทรายหนาปานกลาง ที่เกิดจากตะกอนลำน้ำหรือตะกอนเนื้อหยาบ ทับอยู่บนช้ันดินที่มีเนือ้ ดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียว หรือดินรว่ นเหนียวปนทรายแป้ง ปฏิกิริยาดินเปน็ กรด เลก็ นอ้ ยถงึ เป็นกลาง การระบายนำ้ ดี อยบู่ นช้นั ดินที่มีการระบายนำ้ ดปี านกลาง ความอุดมสมบรู ณต์ ำ่ ปัญหา: ดนิ ทรายหนาปานกลาง ความอดุ มสมบรู ณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำนาน ในระยะท่ีฝนตก หนกั จะมนี ้ำขงั หรือเกดิ การชะล้างพงั ทลายสญู เสยี หนา้ ดิน เกิดเป็นรอ่ งทัว่ ไปในแปลงปลกู แนวทางการจัดการ: ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก จัดระบบการปลูกพืชหมุนเวียนตลอดทั้งปี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห)์ ร่วมกบั การใชป้ ยุ๋ เคมีหรือปุย๋ อนิ ทรยี ์น้ำ มวี ัสดุคลุมดนิ หรือปลกู พืชสลับเปน็ แถบ พัฒนาแหล่ง น้ำและจัดระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ในพื้นที่ต่ำควรทำร่องหรือทางระบายน้ำ เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณ รากพืช ปลูกไม้ผล ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 ซม. ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก
27 25-50 กิโลกรัม/หลุม ทำร่องระบายน้ำระหว่างแถวปลูก เพื่อป้องกันน้ำขังบริเวณรากพืช ปลูกพืชคลุมดนิ วัสดุคลุมดิน หรือปลูกพืชแซม ทำแนวรั้วหรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น พัฒนาแหล่งน้ำและระบบ การใหน้ ้ำในแปลงปลูก ในช่วงเจรญิ เติบโต กอ่ นเก็บผลผลิตและภายหลังเกบ็ ผลผลิต ใชป้ ุย๋ หมักหรอื ปุ๋ยคอก รว่ มกับปุ๋ยเคมีหรอื ปุ๋ยอินทรยี ์นำ้ ตามชนดิ พืชที่ปลกู พฒั นาแหลง่ นำ้ และจดั ระบบการให้น้ำในแปลงปลกู กล่มุ ชดุ ดินที่ 44 ชดุ ดนิ : ชุดดนิ จนั ทึก (Cu) ชุดดนิ ด่านขดุ ทด (Dk) และชุดดินนำ้ พอง (Ng) ลักษณะเดน่ : กลมุ่ ดินทรายหนาทเ่ี กิดจากตะกอนลำน้ำหรือตะกอนเนือ้ หยาบ ปฏิกิรยิ าดนิ เปน็ กรดเล็กนอ้ ยถงึ เป็นกลาง การระบายนำ้ ค่อนขา้ งมาก ความอดุ มสมบูรณ์ตำ่ ปัญหา :ดินทรายหนา ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ขาดแคลนน้ำนาน หน้าดินง่ายต่อการถูก ชะล้างพงั ทลาย สญู เสยี หนา้ ดนิ เกิดเป็นร่องท่วั ไปในแปลงปลกู แนวทางการจัดการ: ปลูกพืชไร่หรือพืชผัก จัดระบบการปลูกพืชให้หมุนเวียนตลอดทั้งปี ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก 3-4 ตัน/ไร่ หรือไถกลบปุ๋ยพืชสด (หว่านเมล็ดถั่วพร้า 10-12 กิโลกรัม/ไร่ เมล็ดถั่วพุ่ม 8-10 กิโลกรัม/ไร่ หรือปอเทือง 6-8 กิโลกรัม/ไร่ ไถกลบระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สปั ดาห์) ร่วมกบั การใช้ปยุ๋ เคมีหรือปุย๋ อินทรยี ์น้ำ มีวัสดคุ ลุมดนิ หรือปลูกพชื สลับเป็นแถบ พัฒนาแหล่ง นำ้ และจดั ระบบการให้น้ำในแปลงปลูก ปลูกไม้ผล ขดุ หลมุ ปลูกขนาด 75x75x75 ซม.ปรับปรุงหลมุ ปลูก ด้วยปยุ๋ หมกั หรือปุ๋ยคอก 25-50 กโิ ลกรัม/หลมุ ปลกู พชื คลมุ ดิน วสั ดคุ ลมุ ดนิ ปลูกพชื แซม ทำแนวรว้ั หรือทำฐานหญ้าแฝกเฉพาะต้น ในช่วงเจรญิ เตบิ โต กอ่ นเกบ็ ผลผลิตและภายหลังเก็บผลผลิต มกี ารใชป้ ุ๋ยเคมีรว่ มกับการใช้ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ย คอก ตามชนดิ พชื ท่ปี ลกู พฒั นาแหลง่ นำ้ และจดั ระบบการใหน้ ้ำในแปลงปลูก
28 ภาพท่ี 27 กล่มุ ชุดดิน ตำบลนาเชือก ที่มา: กรมพฒั นาทีด่ ิน (2563)
29 ◼ สภาพภมู อิ ากาศ ลักษณะภูมิอากาศของจังหวัดมหาสารคาม ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของมรสุมที่พัดประจำฤดูกาล 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งพัดพามวลอากาศเย็นและแห่งจากประเทศจีนเข้าปกคลุม ประเทศไทยตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว ของประเทศไทย ทำให้จังหวัดมหาสารคามมีอากาศหนาวเย็นและแห้งทั่วไป ส่วนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดพามวลอากาศชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้าปกคลมุ ประเทศไทยในช่วงฤดูฝน (ประมาณกลางเดือน พฤษภาคมถึงประมาณกลางเดือนตุลาคม) ทำให้มีฝนตกชุกทั่วไปตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยตำบลโคกก่อ มลี กั ษณะฝนตกสลบั กบั อากาศแห้ง (Wet and Dry Climate) มีปรมิ าณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปี อย่ปู ระมาณ 118 มิลเิ มตร/ปี อณุ หภูมเิ ฉลีย่ ตลอดปี อยทู่ ป่ี ระมาณ 28 องศาเซลเซียส ในช่วงเดอื นเมษายน ของทุกปี โดยจะมีอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย ประมาณ 39 องศาเซลเซียส ส่วนอุณหภูมิต่ำสุด วัดได้ในช่วงเดือน มกราคม อยู่ประมาณ 15 องศาเซลเซียส มีฤดูกาลต่าง ๆ แบ่งเป็น 3 ฤดู ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ไปจนถึงเดือนมิถุนายน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ไปจนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดอื นพฤศจกิ ายนไปจนเดือนกมุ ภาพันธ์ ฤดกู าล ฤดูกาลของจังหวัดมหาสารคาม พิจารณาตามลักษณะของลมฟ้าอากาศของประเทศไทย สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดงั น้ี 1. ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงทีม่ รสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยและบรเิ วณความกดอากาศสูงจากประเทศ จีนที่มีคุณสมบัติเย็นจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในช่วงดังกล่าว ทำให้อากาศโดยทั่วไปบริเวณ จังหวัดมหาสารคามจะหนาวเย็นและแห่ง โดยมีอากาศหนาวจัดในบางวัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม ถึงมกราคมจะเปน็ ช่วงท่ีมอี ากาศหนาวเยน็ มากทส่ี ุด 2. ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นที่มี อากาศร้อนอบอ้าวโดยทั่วไป โดยเฉพาะเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าวทสี่ ดุ ของปี 3. ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่มรสุม ตะวันตกเฉียงใต้พัดเอาความช้ืนจากทะเลและมหาสมุทรมาปกคลุมประเทศไทย โดยมีร่องความกดอากาศ ต่ำที่พาดอยู่ บริเว ณภ าคใต้ ของประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาพาดผ่ านบริเวณภ าคเ หนื อ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ทำให้อากาศเริ่มชุ่มชื้นและมีฝนตกชุกตั้งแต่ประมาณ กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป โดยเฉพาะเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกหนาแน่นมากที่สุด ในรอบปี แต่อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยดังกล่าวที่ทำให้มีฝนตกชุกแล้วยังขึ้นอยู่กับอิทธิพลของพายุหมุน เขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเข้าสู่ประเทศไทยในช่วงดังกล่าวด้วย อุณหภูมิ เนื่องจากลักษณะพื้นท่ี ของจังหวัดมหาสารคามเป็นท่ีราบสูงไม่มีภูเขา อากาศจึงไม่ร้อนอบอ้าวมากนักในช่วง ฤดูร้อน และอากาศ ค่อนขา้ งหนาวเยน็ ในช่วงฤดูหนาว อุณหภมู เิ ฉล่ยี ตลอดท้ังปี 27.1 องศาเซลเซยี ส อณุ หภมู ติ ่ำสุด เฉล่ีย 22.0 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.8 องศาเซลเซียส เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนอบอ้าว มากที่สุดในรอบปี วัดอุณหภูมิสูงที่สุดที่ตรวจวัดได้ 43.3 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2562
30 ส่วนในช่วงฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดในเดือนธันวาคม วัดอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 5.3 องศา เซลเซียส เมือ่ วันท่ี 25 ธันวาคม 2542 ฝน เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือล้อมรอบไปด้วยเทือกเขา โดยมีเทือกเขาเพชรบูรณ์ อยู่ทางทิศตะวันตกและเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นแนวกัน ไม่ให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดมหาสารคามได้เต็มที่ในช่วงฤดูฝน ทำให้กลุ่มฝน ส่วนใหญ่ จะพัดไปตกทางด้านตะวันตกและ ด้านใต้ของเทือกเขา ทำให้ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี ของจังหวัดมหาสารคามอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 มิลลิเมตร โดยปริมาณฝนเฉลี่ย 1,201.9 มิลลิเมตร และจำนวนวันที่ฝนตก 102 วัน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกมาก ที่สุดในรอบปี ปริมาณฝน มากท่ีสุดใน 1 วัน เคยวัดได้ 183.7 มลิ ลิเมตร เมือ่ วนั ที่ 30 สงิ หาคม 2562 พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวผ่านหรือเข้าสู่จังหวัดมหาสารคาม มีแหล่งกำเนิดจากทะเล จีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตก โดยเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว ก่อนจะเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งทำให้พายุมีกําลังอ่อนลงอยู่ในขัน้ พายุดีเปรสชนั เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ไมก่ ่อให้เกิดความเสียหายมากนกั แต่ยงั คงทำให้เกดิ ฝนตกหนกั ถงึ หนักมากจนก่อให้เกิด น้ำท่วมฉับพลันได้ในบางพื้นที่สำหรับช่วงเวลาที่พายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวผ่านจังหวัดมหาสารคาม เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน โดยเฉพาะเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม เป็นช่วงที่พายุหมุนเขตร้อน มีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่จังหวัดมหาสารคามได้มากที่สุดจากสถิติในคาบ 69 ปตี ้ังแต่ พ.ศ. 2494-2562 พบว่าพายุหมนุ เขตร้อนท่เี คลื่อนตวั ผ่านจังหวดั มหาสารคามมีท้ังหมด 11 ลูก และส่วนใหญ่ มีกําลังแรงเป็นพายุดีเปรสชัน โดยเคลื่อนเข้ามาในเดือนกรกฎาคม 1 ลูก (2505) เดือน กันยายน 5 ลูก (2501, 2521(2), 2556, 2559) เดือนตุลาคม 3 ลูก (2506, 2510, 2529) และเดือนพฤศจกิ ายน 2 ลูก (2527, 2539) ◼ ภยั ธรรมชาติ จังหวัดมหาสารคาม ได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ประกอบด้วย น้ำท่วมและน้ำแล้ง โดยเฉพาะบริเวณลุ่มน้ำแม่น้ำชีตอนบนและบริเวณแม่น้ำชีตอนกลาง สำหรับพื้นที่ตำบลโคกก่อ จัดเป็น พื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมและน้ำแล้ง ซึ่งจำเป็นต้องมีการแก้ไข เพื่อให้สอดรับกับความต้องการ ใชท้ ง้ั เพอื่ การอุปโภคบริโภคและการเกษตร
ตารางท่ี 1 พน้ื ทีแ่ ลง้ ซำ้ ซาก ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ. 2557 31 ระดบั ความรุนแรงต่อการเกิดภัยแล้ง เนอื้ ที่ (ไร่) 4,862 ตำบล ตงั้ แต่ 6 คร้ังข้นึ ไปใน 4-5 ครัง้ ไมเ่ กนิ 3 ครงั้ รอบ 10 ปี ในรอบ 10 ปี ในรอบ 10 ปี นาเชือก 87 1,453 3,322 ทม่ี า: กรมพฒั นาท่ีดนิ (2557) ภาพที่ 28 พน้ื ท่ีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ำบรเิ วณอา่ งเก็บนำ้ ห้วยคอ้ ท่มี า: กรมชลประทาน (2561)
32 ภาพท่ี 29 ภัยแลง้ ภาพท่ี 30 น้ำทว่ ม ◼ แหลง่ อาหารที่โดดเดน่ ปลาบู่ ภาพท่ี 31 ปลาบู่ ทีม่ า: https://www.fisheries.go.th/if-suratthani/1plaboo.htm ปลาบู่ หรือ บู่ทราย บู่จาก บู่ทอง บู่เอื้อย บู่สิงโต มีชื่อสามัญว่า Sand Goby, Marbled Sleepy Goby และชื่อวิทยาศาสตร์ Oxyleotris mamorata Bleeker ปลาบู่เป็นปลาที่มีความสำคัญ ทางเศรษฐกิจชนดิ หน่ึงซง่ึ ผลผลิตส่วนใหญ่ ถกู สง่ ออกไปจำหนา่ ยต่างประเทศสามารถ ทำรายไดเ้ ข้าประเทศ แตล่ ะปมี มี ูลค่าหลายสิบล้านบาท ไดแ้ ก่ ฮอ่ งกง สงิ คโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ เนอ่ื งจากความตอ้ งการปลาบู่ทราย จากต่างประเทศมีเพิ่มขึ้นทุกปีเป็นผลให้ปลาบู่ทรายมีราคาแพงขึ้น ในอดีตการเลี้ยงปลาบู่ทรายนิยมเลี้ยง กันมากในกระชังแถบลุ่มน้ำและลำน้ำสาขาบริเวณภาคกลาง ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี เรื่อยมาจนถึงจังหวัดปทุมธานี โดยมีจังหวัดนครสวรรค์ เป็นแหล่งเลี้ยงส่งออกที่ใหญ่ที่สุด สำหรับปัญหา การเลย้ี งปลาบทู่ รายขณะนีม้ ี 3 ประการ คอื 1. พันธป์ุ ลาท่ีนบั วันจะหายาก ไมเ่ พียงพอตอ่ ความต้องการ 2. ผเู้ ล้ยี งยังขาดความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการเพาะเลี้ยง 3. สภาพสิ่งแวดลอ้ มเปล่ียนแปลง ไมเ่ อ้อื อำนวยตอ่ การเพาะเลี้ยงปลา
33 สาหรา่ ยเห็ดลาบ สาหร่ายชนิดนี้ คือ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (Blue- green alga, Cyanobacterium) ทมี่ ีความสามารถในการตรึงไนโตรเจน เนื่องจากสาหร่ายมีลักษณะเป็นแผ่นวุ้นแบบบางคล้ายเห็ดหูหนูสีเขียว ที่ขึ้นบนดิน และชาวบ้าน นิยมเก็บไปทำลาบ จึงได้ชื้อประจำท้องถิ่นว่า เห็ดลาบ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื้อว่า สาหร่ายเห็ดลาบ เป็นยาเย็น ช่วยรักษาระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญา ท ้ อ ง ถ่ิ น แ ล ะ ใ ช ้ ป ร ะ โ ย ช น ์ จ า ก ส า ห ร ่ า ย เ ห ็ ด ล า บ อ ย ่ า ง ย ั ่ ง ยื น ผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายเห็ดลาบจากแหล่ง ธรรมชาติ พบว่า มีโปรตีนร้อยละ 20 พบว่า มีโปรตีน ร้อยละ 20 มีกรดอะมิโนจำเป็นอยู่ครบถ้วน มีไขมันต่ำเพียง ร้อยละ 0.02 และมีใยอาหารสูงถึงร้อยละ 43 ส่วนสาหร่ายเห็ดลาบ ที่ได้จาก การเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยสูตรอาหารที่เหมาะสม พบว่า มีวิตามินเอเพิ่มเป็น 9 เท่า มีกรดอะมิโนจำเป็นเมไทโอนีน และทริป โพเฟน เพิม่ เป็นประมาณ 5 และ 3 เท่า ตามลำดับ ในขณะท่มี ใี ยอาหาร เพียง 1 ใน 16 ส่วนของตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติ นับว่า ผลิตภัณฑ์ อาหารจากสาหร่ายที่ผลิตออกมาเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ชว่ ยลดความอว้ นได้ ภาพที่ 32 สาหร่ายเห็ดลาบ สาหร่ายเห็ดลาบ (Nostoc Commune Voucher, Cyanophyta) เป็นสาหร่ายสีน้ำเงิน แกมเขียวท่ีรบั ประทานได้ สำรวจพบในพืน้ ท่ีดินเคม็ ของป่าเอกลักษณ์ “ดูนลำพัน” อำเภอนาเชือก จังหวัด มหาสารคาม ในฤดูฝนชาวบ้านนิยมเก็บมาบริโภคทำให้เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากสาหร่ายชนิดนี้ จะแพร่และขยายพันธุ์ต่อได้เฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทำการศึกษาข้อมูล พื้นฐาน อาหารที่เหมาะสมในการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเห็ดลาบและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อเพิ่ม มูลค่าอันจะนำมาซึ่งการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสาหร่ายเห็ดลาบอย่างยั่งยืน ผลการวิเคราะห์ตัวอย่าง ดินที่สำรวจพบสาหร่ายเห็ดลาบ 3 แห่ง คือ ป่าดูนลำพัน และที่ดินด้านทิศเหนือและใต้ของป่า พบว่า เป็นดินร่วนปนทราย มีค่าความเป็นกรด-เบส ในช่วง 7.8-8.4 มีความเค็ม และค่าการนำไฟฟ้าที่เท่ากัน คือ 0.3 กรัมต่อลิตร และ 7.2 ไมโครซีเมนส์ต่อเซนติเมตร ตามลำดับ มีปริมาณธาตุอาหาร โปแตสเซียม แคลเซียม ซลั เฟอร์ และโซเดียมในปริมาณที่ใกลเ้ คียงกนั แตม่ ีปรมิ าณธาตุอาหารไนโตรเจน และฟอสฟอรัส แตกต่างกันในช่วงกว้าง คือ 76-352 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 185-809 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายเห็ดลาบจากแหล่งธรรมชาติ พบว่า มีโปรตีน 20% โดยมีกรด อะมิโนจำเป็นอยู่ครบถ้วน มีไขมันต่ำ เพียง 0.02% และมีใยอาหารสูงถึง 43% ส่วนสาหร่ายเห็ดลาบที่ได้ จากการเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยสูตรอาหารที่เหมาะสม (BGA ดัดแปลง) พบว่า มีวิตามินเอเพิ่ม เป็น 9 เท่า มีกรดอะมิโนจำเป็น เมไทโอนีน ลูซีน และทริปโตเฟน เพิ่มเป็นประมาณ 5,2 และ 3 เท่า ตามลำดบั ในขณะทมี่ ีใยอาหารเพียง 1 ใน 17 ส่วนของตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติ
34 วา่ นแผ่นดนิ เย็น ก.ใบ ข.การแทงดอก ค.ลักษณะดอก ภาพที่ 33 ว่านแผ่นดนิ เยน็ (Nervilia aragoana Gaudich) ท่ีมา: เพจ Forest Herbarium-BKF ว่านแผ่นดินเย็น หรือ ว่านพระฉิม (Nervilia aragoana Gaudich) ชื่อวงศ์ ORCHIDACEAE หรือบัวสันโดษ อยู่ในกลุ่มกล้วยไม้ดิน เป็นพืชมีดอกในวงศ์กล้วยไม้ ใบบาง เกลี้ยง เปน็ รปู หัวใจหรอื เกอื บกลม บางชนดิ มีจุดประสมี ว่ งเป็นแถวกลางใบ ดอกชอ่ ก้านตรง ดอกในช่ออยหู่ า่ งกนั ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Characteristics): กล้วยไม้ดินล้มลุก อายุหลายปี มีหัวใต้ดินใบเดี่ยว มี 1 ใบ รูปหัวใจหรือรูปเกือบกลม ชูขึ้นเหนือดิน กว้างได้ถึง 12 ซม. ยาวได้ถึง 16 ซม. สีเขียว พบบ้างที่มีจุดประสีม่วงเข้ม แผ่นใบพับจีบคล้ายพัด ดอกช่อ แบบช่อกระจะ แทงช่อดอกก่อนยอด อ่อน ยาวได้ถึง 30 ซม. ดอกย่อยมี 3 - 20 ดอก กลีบเลี้ยงและกลีบดอกด้านข้างสีเขียวอ่อน กลีบปาก แยกเปน็ 3 พู สขี าว มขี นครยุ ผลแหง้ แตก รูปทรงรี สีเขยี วแกมนำ้ ตาล เมลด็ ขนาดเล็กจำนวนมาก การกระจายพันธุ์ (Distribution) พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะในมหาสมุทร แปซิฟกิ และออสเตรเลีย ออกดอกช่วงเดือนกมุ ภาพันธ์ถงึ พฤษภาคม
35 บทท่ี 2 “ความเป็นอยู่ ประเพณี และวฒั นธรรม”
36 บทที่ 2 ความเป็นอยู่ ประเพณี และวฒั นธรรม จากการจัดการความรเู้ พอ่ื สะท้อนบทเรยี น เพอ่ื จดั ทำหลักสูตรท้องถนิ่ แบบบูรณาการ การปรับตัว กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วันที่ 18 กันยายน 2563 ณ ห้องประชุมโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สามารถสรปุ เปน็ ชดุ ความรไู้ ดด้ งั นี้ ◼ คำขวญั ของอำเภอนาเชือก “ปลาบูเ่ นอ้ื หวาน ถิน่ ฐานปทู ูลกระหม่อม งามพร้อมผ้าไหม นำ้ ใสห้วยค้อ” ◼ สภาพทางเศรษฐกจิ และสังคม สภาพเศรษฐกิจ โดยทั่วไปของเทศบาลตำบลนาเชือก ส่วนใหญ่ มีอาชีพพาณิชยกรรม เกษตรกรรม และรับราชการ มีลักษณะเป็นกึ่งเมืองกึ่งชนบท เป็นแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตรและจำหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภค ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ มีสถานประกอบการด้าน พาณชิ ยกรรม คอื ➢ สถานีบรกิ ารน้ำมัน จำนวน 4 แหง่ ➢ ตลาดสดเทศบาล จำนวน 1 แห่ง ท่ีผอ่ นผนั (ตลาดเยน็ ) จำนวน 2 แห่ง 60 แท่น แทน่ ตลาดสด จำนวน 127 แทน่ แท่นหลงั เก่า จำนวน 49 แท่น กรรมการตลาดสด จำนวน 20 คน ➢ ร้านคา้ ท่ัวไป/รา้ นอาหาร จำนวน 260 แหง่ ➢ ตลาดนดั จำนวน 1 แห่ง (ตลาดนดั นาเชือก) มที ุกวนั ท่ี 10 และวนั ท่ี 27 ของทุกเดอื น ➢ ตลาดคลองถม 1 แหง่ มีทุกวันศุกร์ ➢ โรงฆา่ สตั ว์เทศบาลตำบลนาเชอื ก จำนวน 1 แหง่ ➢ ร้านสะดวกซื้อ จำนวน 20 แห่ง ➢ สวนสนุก จำนวน 1 แห่ง ➢ โรงแรม จำนวน 1 แห่ง ➢ สถานประกอบการด้านบริการในเขตเทศบาล ประกอบดว้ ย ธนาคาร 3 แห่ง สหกรณ์ 1 แห่ง ➢ ธนาคารกรุงไทย สาขานาเชือก จำนวน 1 แห่ง ➢ ธนาคารเพ่อื การเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขานาเชือก จำนวน 1 แห่ง ➢ ธนาคารออมสนิ สาขานาเชือก จำนวน 1 แหง่
37 ➢ สหกรณ์การเกษตร จำนวน 1 แห่ง ➢ ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย จำนวน 2 แห่ง ธนาคารเพ่อื การเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 2 แหง่ ธนาคารออมสิน จำนวน 2 แหง่ ◼ สาธารณูปโภค จำนวนครัวเรือน ที่มีไฟฟ้าใช้ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 888 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนบา้ นทมี่ โี ทรศัพท์ 70 หลังคาเรอื น คิดเปน็ ร้อยละ 40.00 ของจำนวนหลงั คาเรือน ◼ ประเพณีและวัฒนธรรม ประชาชน นับถือและปฏิบัติสืบทอดประเพณีท้องถิ่นหรือเรียกว่า ฮีตสิบสอง และวัฒนธรรม ที่สืบต่อกันมา เช่น งานบุญเบิกบ้าน (บุญซำฮะ) ประเพณีบุญเลี้ยงบ้าน ประเพณีสงกรานต์ประเพณีแห่เทียน พรรษา ทอดเทียนโฮม ทำบุญทอดกฐินสามัคคี ประเพณีลอยกระทง ฯลฯ นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาท่ารำปู ทูลกระหม่อม เพื่อแสดงในงานต่าง ๆ ซึ่งผู้พัฒนาต้นฉบับ คือ อาจารย์สังวร ปิดตาทะสา เจ้าของโรงเรียน วรญั ญาวิทย์ ต.นาเชอื ก สำหรับการบวงสรวง ภาพท่ี 34 ท่ารำปูทูลกระหม่อม
38 เพลงปทู ูลกระหมอ่ ม อลั บ้ัม: ปูทูลกระหมอ่ ม ศลิ ปิน: ขวญั ชยั ขนั สาลี ผลงาน: วาสนา ทบศรี ทป่ี รกึ ษา: อ.บุญเลิศ ปะระตะโก อ.ธนวัน จนั ศกั ดิ์ ผอ.บรรจง สรุ มณี อ.บวั เรยี น วาปีสา (เกริ่น) เหมือนฟ้าบันดาลให้ลูกหลานบ้านเรา สมบัติหมู่เฮาชาวมหาสารคาม มีมรดก ตกทอดมานาน ชาวมหาสารคามต้องชว่ ยกนั หวงแหน มีสง่ิ กำเนดิ เกิดข้นึ คู่บา้ น มหศั จรรย์ช่วยกนั หวงแหน สงิ่ ท่กี ำเนดิ เกิดขึน้ ในแดน เราควร หวงแหนเอาไวเ้ ถิดหนา นาเชอื กถ่ินเกดิ กำเนดิ สิ่งน้ี ฮือ…..ฮอื ….. ฮอื …. นาเชอื กถิน่ เกดิ กำเนดิ สงิ่ นี้ ทีพ่ วกเรามีเรา ควรรกั ษา ปแู่ ปง้ สวยสุดทผี่ ดุ ขน้ึ มา ดจุ พรเท วา ประทานให้มี เป็นปูสวย สุดประดุจแต้มแต่ง เหมือนฟ้าจำแลง มากมายหลายสี ขาว เหลือ และมว่ ง โชตชว่ งปฐพี เปน็ ปูหลายสี หน่งึ ในโลกกา เราจงภมู ใิ จไว้เถดิ พ่ีน้อง ฮือ…ฮือ….ฮือ…… เรา จงภูมิใจไวเ้ ถิดพ่ีนอ้ ง ชอื่ เสยี งเราก้องดังไปทัว่ หล้า ปทู ลู กระหม่อม งามพร้อมโสภา ช่วยกันรักษาอนุรักษ์ให้ดี เพื่อลูกหลานเรา ต่อไปภายหน้า ขึ้นชื่อลือชา สง่าราศี สมดังคำว่านา เชือกเรามี คำขวญั เข้าทีที่มนี ้ีไง ปลาบ่เู นื้อหวาน ถน่ิ ฐานงามพร้อม ปูทูลกระหม่อม งามพร้อมผ้า ไหม น้ำใสในอ่างห้วยค้อนั้นไง เหมือนกับน้ำใจชาวนาเชือกเรา ขอกรอบลงตรงเบี้ยงยุคลบาท ฮอื ….ฮือ…..ฮอื …. ขอกราบ ลงตรงเบื้องยุคลบาท ขอน้อมอภิวาทใต้บาทจอมขวัญ ฟ้าหญิง ทรงโปรด พระราชทานนาม เป็นมิ่งขวัญศิริมงคล ปูทูลกระหม่อมงามพร้อมในศัพท์ ประชา น้อมรับ โดยจติ กศุ ล ดว้ ยเกล้าด้วยกระหม่อมพรอ้ มแล้วทุกคน ขออทุ ศิ ตนเทดิ พระบารมี
39 ที่พกั สงฆ์เกาะโนนขา่ ภาพที่ 35 ที่พกั สงฆ์เกาะโนนขา่ เกาะข่า (หรือเกาะโนนข่า) เดิมเป็นเนินดินที่เกิดตามธรรมชาติ ที่ได้กลายเป็นเกาะ ซึ่งสันนิษฐาน ว่า เกิดจากการสร้างสันอ่างเก็บน้ำห้วยค้อ ในปี พ.ศ. 2511 ทำน้ำถูกกักเก็บไว้และกลายเป็นเกาะขึ้นมา โดยได้เข้าไปใชป้ ระโยชน์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 เป็นท่พี ักสงฆ์ จากหลกั ฐานการจารึกบนพน้ื ปนู และคำว่า ข่า น้ัน มาจากคำว่า มะค่าโมง (Afzelia xylocarpa (Kurz) Craib) วงศ์ Fabaceae ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่พบบนเกาะ แห่งนี้ ปัจจุบัน มีต้นขนาดใหญ่ จำนวน 2 ต้น และกล้าไม้จำนวนมากที่ขึ้นอยู่ สำหรับพื้นที่นี้ เป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์น้ำนา ๆ ชนิด เช่น ปลาบู่ กุ้งใหญ่ และด้วยความศรัทธาของชาวบ้าน ได้สร้างศาลปู่ตา “ปู่สี” เพื่อเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านได้เคารพและสักการะบูชา และคอยปกปักษ์ รักษา และคุ้มครองให้เกาะ และแหล่งน้ำแห่งนี้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ เป็นรากฐานของความเป็นอยู่ที่ดีของชาวอำเภอนาเชือกและพื้นท่ี ใกล้เคียงสืบไป จากการสัมภาษณ์ พระสุรัตน์ จารุธมฺโม อายุ 31 ปี ที่พักสงฆ์เกาะโนนข่า บ้านหัวหนองคู ต.เขวาไร่ อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม
40 วดั หนองเลา ภาพท่ี 36 วดั หนองเลา วัดหนองเลา ตั้งอยู่ทิศตะวันตกของบ้านหนองเลา หมู่ 9 ตำบลหนองเม็ก อำเภอนาเชือก จังหวัด มหาสารคาม สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2428 โดยชาวบ้านหนองเลาและหลวงปู่พัน ธมฺธโร เจ้าคณะหมวดอำเภอ วาปปี ทุม ซึง่ เปน็ ปฐมเจา้ อาวาสรูปแรกของวดั หนองเลา พระอุโบสถ (สิมมหาอุด) วัดหนองเลา เป็นอุโบสถมหาอุดเก่าแก่ทรงคุณค่ากว่า 200 ปี ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกของชาติโดยกรมศิลปากร อุโบสถ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 โดยหลวงปู่พัน ธมฺธโรและชาวบ้าน รูปทรงเป็นทรงขันหมาก ไม่มีหน้าต่าง (โบสถ์มหาอุด) มีประตูด้านเดียว หันหน้าอุโบสถไปทางทิศตะวันตก ผูกพัทธสีมาเรยี บร้อยเมือ่ ปี พ.ศ.2448 และหลวงปู่พัน ธมฺธโร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ในปีเดียวกันนี้ โดยมีความโดดเดน่ คือ 1. ตามความเชื่อโบราณ การสร้างอุโบสถ จะไม่สร้างเห็นหน้าไปทางทิศตะวันตก เพราะเมื่อ ประดิษฐานพระประธานแล้วพระประธานจะหันหน้าไปทางทิศตะวั นตก ซึ่งเชื่อกันว่าไม่เป็นมงคล แตพ่ ระอโุ บสถแห่งนห้ี นั หน้าไปทางทศิ ตะวันตก มีความหมายว่า หากพระประธานเห็นหนา้ ไปทางทศิ ตะวันออก ซึ่งเป็นทางที่พระอาทิตย์ขึ้น ถือเป็นการรับ เปรียบดังการรับแสงพระอาทิตย์ก่อนกระทำการใด ๆ แต่การที่พระประธานหันหน้าไปทางทิศตะวันตก เปรียบดังพระองค์ตัดการรับทั้งหมด มีแต่การให้เท่านั้น และพระอุโบสถนี้ถือเป็นพระอุโบสถที่ศักดิ์สิทธิ์ มีคนเคารพสักการะ เพราะเป็นโบสถ์มหาอุดที่สร้างข้ึน ตามตำราแตโ่ บราณ และได้ผา่ นการประกอบพธิ ีสังฆกรรมมาหลายคร้งั จนเกิดความเปน็ สริ ิมงคล 2. พระประธานที่ประดิษฐานในอุโบสถนามว่า “พระโพธิญาณ” เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ทรงนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายและขวาวางบนพระเพลา หน้าตักกว้าง 2 เมตร ศิลปะแบบเชียงรุ้ง ทรงเครื่อง มงกุฎ อายุมากกว่า 200 ปี พระอุโบสถนี้ถือว่าเป็นพระอุโบสถที่ศักดิ์สิทธ์ิยิ่งแห่งหนึ่ง เล่ากันว่าในสมัยพระครู สมณกิจโกศล (หลวงปทู่ อง) การบวชพระทกุ รูปในจังหวดั มหาสารคาม จะประกอบพธิ ีกันทว่ี ดั แหง่ น้ี
Search
Read the Text Version
- 1
- 2
- 3
- 4
- 5
- 6
- 7
- 8
- 9
- 10
- 11
- 12
- 13
- 14
- 15
- 16
- 17
- 18
- 19
- 20
- 21
- 22
- 23
- 24
- 25
- 26
- 27
- 28
- 29
- 30
- 31
- 32
- 33
- 34
- 35
- 36
- 37
- 38
- 39
- 40
- 41
- 42
- 43
- 44
- 45
- 46
- 47
- 48
- 49
- 50
- 51
- 52
- 53
- 54
- 55
- 56
- 57
- 58
- 59
- 60
- 61
- 62
- 63
- 64
- 65
- 66
- 67
- 68
- 69
- 70
- 71
- 72
- 73
- 74
- 75
- 76
- 77
- 78
- 79
- 80
- 81
- 82
- 83
- 84
- 85
- 86
- 87
- 88
- 89
- 90
- 91
- 92
- 93
- 94
- 95
- 96
- 97
- 98
- 99
- 100
- 101
- 102
- 103
- 104
- 105
- 106
- 107
- 108
- 109
- 110
- 111
- 112
- 113
- 114
- 115
- 116
- 117
- 118
- 119
- 120
- 121
- 122
- 123
- 124
- 125
- 126
- 127
- 128
- 129
- 130
- 131
- 132
- 133
- 134
- 135
- 136
- 137
- 138
- 139
- 140
- 141
- 142
- 143
- 144
- 145
- 146
- 147
- 148
- 149
- 150
- 151
- 152
- 153
- 154
- 155
- 156
- 157
- 158
- 159
- 160
- 161
- 162
- 163
- 164
- 165
- 166
- 167
- 168
- 169
- 170
- 171
- 172
- 173
- 174
- 175
- 176
- 177
- 178
- 179
- 180
- 181
- 182
- 183
- 184
- 185
- 186
- 187
- 188
- 189
- 190
- 191
- 192
- 193
- 194
- 195
- 196
- 197
- 198
- 199
- 200
- 201
- 202
- 203
- 204
- 205
- 206
- 207
- 208
- 209
- 210
- 211
- 212
- 213
- 214
- 215
- 216
- 217
- 218
- 219
- 220
- 221
- 222
- 223
- 224
- 225
- 226
- 227
- 228
- 229
- 230
- 231