Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore นาเชือก_v3

นาเชือก_v3

Published by thanakit ritsri, 2023-07-21 08:09:15

Description: นาเชือก_v3

Search

Read the Text Version

“...ประวตั วิ ัดหนองเลาและพระอุโบสถวัดหนองเลา ภาพที่ 37 พระโพธิญาณ สร้างเมอื่ ปี พ.ศ. 2428 พระอุโบสถ สรา้ งเมอื่ 2440 สรา้ งแลว้ เสรจ็ ผูกพัทธสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2448สร้าง โดย หลวงปพู่ ัน ธมธฺ โร ตำแหน่งเจา้ คณะหมวด อำเภอวาปี เมืองมหาสารคาม ได้รับแต่งต้งั เป็นพระ อปุ ัชฌายเ์ มื่อวนั ท่ี 7 ก.พ. ร.ศ. 124 เปน็ อดีตเจ้า อาวาสรูปที่ 1 หลวงปูพ่ า พุทธสโร เปน็ อดตี เจา้ อาวาสรปู ท่ี 2 เปน็ เจ้าคณะหมวดผูต้ รวจการ..” หอระฆังบันทึกไว้ว่า “พ่อจารย์หัดพ่อจารย์สีพ่อคำมีพ่อคำดีพ่อทองจันทร์และแม่น้อยครูทวีศักด์ิ พรอ้ มดว้ ยญาติและบุตรธดิ า สร้างอทุ ิศหาแม่หลงแม่ทองจันทร์ เม่อื พ.ศ. 2516 ฮูปแตม้ ภายในสมิ นัน้ คดิ วา่ นา่ จะวาดข้ึนมาหลังจากการบูรณะครง้ั ท่ี 3 ฝมี ือช่างนา่ จะเป็นช่างทไ่ี ด้ร่ำ เรียนศิลปะมาบ้าง ดูจากการใช้สี การให้น้ำหนักสี การจัดวางองค์ประกอบ การเขียนตัวละครต่าง ๆ ไม่ใช่ช่าง ชาวบา้ นท่วั ไป เนื้อเรื่องเก่ยี วกับพทุ ธประวัติ มีการสอดแทรกวถิ ีชาวบ้านเขา้ ไปด้วย เมอื่ วาดเสร็จแลว้ มีการพ่น แลคเกอร์เคลือบไวอ้ กี ช้ัน เพอ่ื ความคงทนและทำความสะอาดได้งา่ ย แลคเกอรน์ ้นั เพิง่ นิยมใชเ้ มอ่ื ไม่นานนี้เอง หลวงพ่อประเจน สันตุสสโก หรือ พระครูประจักษ์สันติคุณ เป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่เรือง วิทยาคมมีชื่อเสยี งโด่งดังในพ้ืนที่ อำเภอนาเชือก สืบทอดปฏิปทาจากหลวงปูท่ อง กัลยาณ ธัมโม วัดบ้านหนอง เลา บูรพาจารย์รุ่นเก่าของภาคอีสาน ศาลเจ้าปู่คื่น ภาพท่ี 38 ศาลเจา้ ป่คู นื่ ศาลเจ้าปู่คื่น ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชนทั่วไป หรือทุกชนชั้น ที่มีความเดือดร้อนทั้งกายและใจ ที่สำคัญ ศาลเจ้าปู่ ยังรักษาทรัพยากรบริเวณป่าแห่งนี้เอาไว้ รวมท้ังปูที่ชาวบา้ นเชือ่ วา่ เป็นบรวิ ารของปู่ หลายครงั้ ท่มี คี นนำปูออกไป โดยท่ไี มไ่ ดจ้ ุดธูปเทยี นขอ หรือไม่นำมา ไว้ที่เดิมในป่าแห่งนี้ คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป หรืออาจถึงชีวิตเลยก็มี ชาวบ้านก็เลยเชื่อว่าศาลปู่แห่งนี้ เป็นผู้รักษาคุณงามความดีและทรัพยากรต่าง ๆ ในป่าแห่งนี้ ให้คงอยู่ตลอดไป ถ้าท่านมาเยี่ยมชม ด้วยความบริสทุ ธิ์ใจ เชือ่ วา่ ปูจ่ ะรกั ษาหรอื ใหค้ วามอยเู่ ยน็ เป็นสขุ กบั ท่านเชน่ กนั

ศาลเจา้ ปู่หนองอดุ ม ภาพที่ 39 ศาลเจ้าปู่หนองอุดม ศาลเจ้าปู่หนองอุดม ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณด้านหลังป่าดูนลำพัน บ้านนาเชือก ตำบลนาเชือก อำเภอ นาเชือก จังหวัดมหาสารคาม คำว่า “หนองอุดม” ไม่สามารถบอกถงึ ท่ีมาของช่ือได้ว่าใครเป็นผู้ตัง้ หรอื เรียกชื่อ ตามส่งิ ใดจากการสัมภาษณ์ นายเคน ปะตะเก อายุ 69 ปี เล่าว่า “ศาลตาปู่หนองอุดม มีมาตะโดนแล้วเพิ่นกะบ่ได้บอกว่าเป็นหยังคือซื่อนี้ ฮู้แต่ว่าเป็นผีอาฮัก ของไทบา้ นเฮา และกะคนรอบ ๆ นาเชอื ก ลาวกะ เป็นศาลตาปใู่ หญ่กว่าศาลตาป่อู ื่น ๆ ในนาเชือกเฮา” ศาลแห่งนี้ เป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ไม่ใช่เฉพาะอำเภอนาเชือก ต่างอำเภอ ยังมีผู้คนต่างถน่ิ ที่ศรัทธาในเจ้าปู่หนองอุดม เช่น บา้ นกุดรงั บา้ นบกั หมอ้ บ้านหนองม่วง บ้านหนอง แสง บ้านหนองเรือ บ้านหนองเม็ก บ้านหนิ ตั้ง บ้านหัวช้าง บา้ นโคกกลม บา้ นหนองทิศสอน บา้ นห้วยหิน บ้าน คอ้ ทิ ดำรงวัฒนา หนองเหล่าใหญ่ หว้ ยทราย สันตสิ ุขหมทู่ ่ี 12 และ หมู่ที่ 15 สระแกว้ ค้อม่วง ที่ต่างศรัทธาใน เจ้าปู่หนองอุดม เพราะมีความเชื่อว่า เจ้าปู่น้องอุดม เป็นผู้ที่บ่งบอกถึงความเชื่อ ว่าถ้าคนไหนมา ซึ่งเขา เรียกว่าภาษาอีสานว่ามาบ๋า ซึ่งคือมาบน โดย เวลาควายหาย หรือว่าสิง่ ของหายขอให้ดลบันดาลใหเ้ จอให้เจอ หรือผู้ที่จะไปคัดเลือกทหารจับใบดำใบแดงนี่แหละ ไปบ๋าว่าลูกไม่อยากจะไป ไม่อยากจะจับได้ใบแดง เขาก็ ไปบ๋าไปบนไว้ ก็ในขณะเดียวกันก็เป็นประเพณีทางอีสานว่าบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น 17-18 หมู่บ้าน ว่าถึง เทศกาลเดือน 6 ก็มกี ารประเพณีคารวะภาษาอีสานว่า “ข้ึนตรงลงเลี้ยว” จะทำใหเ้ จ้าปูด่ ูแลรกั ษาดูแลลูกหลาน ไม่ให้เจ็บไข้ได้ป่วย แล้วก็จะได้ทำนาตามฤดู ถูกต้องตามฤดูกาล มีการเสี่ยงทายมีการคารวะ มีการเลี้ยงคาว หวาน มีการจุดบั้งไฟเสี่ยงทายบั้งไฟนา บั้งไฟบ้านอะไรเสี่ยงทาย ตามประเพณีสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เพราะฉะนั้น จะเห็นว่าประเพณีอันนี้จะสืบทอดต่อไปยังที่ต่าง ๆ ที่มีความเชื่อเรื่องเจ้าที่เจ้าทางเจ้าปู่ ทางนา เชือก เรากโ็ ดยเฉพาะอยา่ งย่ิงได้รบั ความรว่ มมอื ของพ่นี ้องในเขตพน้ื ทีอ่ ำเภอนาเชอื กทุกหมู่บา้ น จากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น นอกจากชาวบ้านนาเชือกแล้ว ก็ยังมีชาวบ้านรอบๆข้างที่ศรัทธาใน เจ้าปู่ หนองอุดมเพราะชาวบ้านเชื่อกันว่าเจ้าปู่หนองอุดมนั้นศักดิ์สิทธิ์และมีอิทธิฤทธิ์สามารถดูแลรักษาบ้านเมือง และครอบครัวให้อยู่เยน็ เปน็ สุข อีกทั้งทำให้พืชผลทางการเกษตรทั้งได้ผลดีตามที่ต้องการ และเจ้าปู่หนองอุดม ท่านถือว่าเป็นผีใหญ่ที่สุดของอำเภอนาเชือกมีอำนาจอิทธิฤทธิ์มากกว่าผีตัวอื่น จากการสัมภาษณ์ นายน้อย เทยี นอนิ ทร์ อายุ 92 ปี (หมอจำ้ ) เลา่ ถึง อทิ ธิฤทธเิ์ จ้าป่หู นองอุดมให้ฟังว่า

“ตอนเป็นเด็กน้อยได้ยินเสียงเสือเสียงม้าผ่านไปมาแถว ๆ ในหมู่บ้านพอออกมาเบิ่งกะบ่เห็นหยัง กะคิดว่าคงสเิ ปน็ เพนิ่ แสดงใหเ้ ฮาเหน็ ” จากการสัมภาษณ์ นางตุ เพียงศรี อายุ 75 ปี เล่าถึง อิทธิฤทธิ์เจ้าปู่หนองอุดมให้ฟังวา่ “ตะกี้ยามมื้อ สำคัญ มื้อวันพระใหญ่ กะสิเห็นแสงไฟพุ่งออกจากหลังป่าดูน ไปทางพระธาตุนาดูน ลาวคงสิไปไหว้นั้นละ บางเท่ียกะได้ยินเสียงม้า เสียงเสอื แลน่ อยูใ่ นปา่ ดูน” เดิมที่ศาลไม่ได้เป็นดังในปัจจุบันเป็นเพียงศาลไม้เล็ก ๆ เท่านั้น และตั้งอยู่สูงกว่าพื้นดินไม่เท่าไร เพราะชาวบ้านเชื่อกันว่า เจ้าปู่หนองอุดมท่านนั้นไม่มีตัวตนเหมือนกับคนเรา ท่านมีกายเป็นทิพย์ที่สามารถ อย่ทู ่ีไหนหรอื ส่วนไหนของศาลก็ได้ในระยะแรกจงึ ไมม่ ีรปู เคารพดงั ปัจจบุ ัน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2554 ชาวบ้านได้มีการสร้างศาลเจ้าปู่หนองอุดมขึ้นใหม่ให้ดีกว่าเดิม เพื่อความ มั่นคง ของตัวศาลเพราะเดิมที่ศาลสร้างข้ึนด้วยไม้จึงเกิดความไม่มั่นคง อาจพังได้ด้วยหลายเหตุผล ทั้ง พายุ แมลงกัดกิน จึงทำให้ชาวบ้านที่เคารพนับถือเจ้าปู่หนองอุดมได้รวบรวมเงินสร้างศาลหลังใหม่ ขึ้นในบริเวณที่เดิมและศาลทีส่ ร้างข้ึนใหม่นั้นก็มีความมั่นคงกว่าศาลแบบเดมิ คือสร้างเป็นศาลปูนมขี นาดใหญ่ กว่าเดมิ ทนต่อพายฝุ น ไม่พังงา่ ยเหมอื นกบั ศาลไมแ้ บบเก่า สามารถอยู่ได้นาน เม่ือปี พ.ศ. 2559 ชาวบา้ นไดส้ รา้ งรปู เคารพของเจ้าปหู่ นองอุดมข้ึน ซงึ่ ต้งั อยขู่ ้าง ๆ ศาลปนู ชาวบ้าน เชื่อกันว่ารูปปั้นที่ไดส้ ร้างขึ้นน้ันรูปร่าง หน้าตา เหมือนกับเจ้าปู่หนองอุดม ข้างหน้ารูปปั้นนั้นมกี ารสร้างรูปป้ัน เสือ และ ม้า เพราะเชื่อว่าสัตว์สองตัวนี้เป็นบริวารของท่าน ผู้ที่เป็นคนริเริ่มในการสร้างรูปเคารพเจ้าปู่ หนองอุดมนี้คือ พระครูทักษิณ ธรรมมานุวัฒะ เจ้าอาวาส วัดทักษิณาราม หรือวัดนาเชือก ไม่ทราบว่าเพราะ เหตใุ ดท่านถงึ ให้สร้างขึ้น แต่จากการสมั ภาษณ์ ร.ต.ต. บญุ ช่วย คชโคตร อายุ 71 ปี เลา่ วา่ “บฮ่ ้วู า่ เปน็ หยังเจา้ อาวาสลาวคือใหส้ รา้ งรูปปั้นตาปู่ข้ึน ลาวกะคงสิฝันแต่ลาวกะบ่ได้บอกแต่ลาววาด รปู มาใหป้ ้นั แบบนี้ ตามทล่ี าววาดมาให้ ” รูปเคารพเจ้าปู่หนองอุดมถูกสร้างขึ้นด้วยพลังศรัทธาของชาวบ้านที่มีต่อเจ้าปู่หนองอุดม เพราะเงิน ที่สร้างทั้งหมดนั้น คือเงินของชาวบ้านผู้ที่มีความศรัทธาร่วมกันสร้างขึ้น จากนั้นชาวบ้านห้วยทรายได้ร่วมกัน สร้างศาลเพอ่ื คลมุ รปู เคารพเจา้ ปู่หนองอดุ มในปเี ดียวกนั เจ้าปู่หนองอุดม มีลักษณะเป็นรูปปั้นผู้ชายอายุสูงวัย มีขนาดเท่ากับคนจริงสูงประมาณ 170 เซนติเมตร ในมือข้างซ้ายถือขวดสาโท ข้างขวาถือมีดดาบ ใส่ชุดพื้นเมือง เสื้อผ้าฝ้าย กางเกงผ้าฝ้าย มีหมวก อยทู่ างดา้ นขวามือ มผี า้ ขาวม้าผกู เอว ตวั รูปป้ันเปน็ สที องแดง ศาลเจ้าปู่หนองอุดมนั้น ชาวบ้านในอำเภอนาเชือกให้ความเคารพนับถือเป็นกันอย่างมากพอ ถึงพุธแรก ของเดือนหก จ้ำ (ผู้อาวุโสของหมู่บ้านและเป็นผู้นำในการทำพิธี) จะเป็นผู้กำหนด วันเลี้ยงเจ้าปู่ หนองอุดม ก่อนวันเลย้ี งชาวบา้ นจะไปทำความสะอาดศาลเจ้าปูหนองอดุ มและบรเิ วณรอบ ๆ ศาล เช้าวันเลี้ยงทุกบ้านจะนำเครื่องเลี้ยง มี ขันธ์ 5 เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ บายศรีใหญ่ 1 พาน บายศรีปากชาม 1 คู่ หัวหมู 1 หัว ไก่บ้าน 1 ตัว (ไว้ใช้สำหรับเสี่ยงทาย) ผลไม้ ขนม น้ำ สาโท หมากพลู บุหรี่ ข้าวตอกดอกไม้ ไปที่ศาล จ้ำจะนำ เซ่นไหว้เจ้าปู่หนองอุดม เมื่อเสร็จพิธีชาวบ้านจะพากันนำผลไม้ ไปรับประทาน เพราะเชื่อกนั ว่าสามารถรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ บ้างก็พากันเก็บขา้ วตอกดอกไม้ที่ใช้ในพิธีไปบูชา ที่บ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ตกบ่ายจ้ำจะนำบั้งไฟเสี่ยง 2 บั้ง สำหรับจุดเสี่ยงทายว่า บ้านเมืองจะอยู่เย็น เป็นสุขหรอื ไม่ และอีกหนึ่งบัง้ คือเสี่ยงทายว่า ฝนฟ้าจะตกตามฤดูกาลหรือข้าวปลา อาหารไม่บริบรู ณ์ ถ้าบั้งไฟ ข้ึนแสดงวา่ ส่งิ ที่ไดเ้ สย่ี งทายไวเ้ ป็นไปตามทไ่ี ด้ขอไว้ แตถ่ า้ บัง้ ไฟเสยี่ งไม่ขึ้นแสดงว่าส่ิงเสยี่ งทายไว้ไม่เป็นตามท่ีได้

ขอ จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านในระยะแรกการไหว้ศาลเจ้าปู่หนองอุดมนั้นมีการบน บ่าวสาวด้วย จากการสัมภาษณ์ นายประเสรฐิ บูรพกั ต์ อายุ 72 ปี เล่าวา่ “สมัยตะกี้เขากะสิบ๊าบ่าวสาวขึ้น สมมติว่าฝนตกตามฤดูกาล กะสิให้ชีวิตผู้บ่าวผู้สาวส่ำน้อยปีละคู่ แตว่ า่ เดยี วนเี้ ขาบเ่ ฮ็ดกันแลว้ ทางราชการเขาหา้ มเพราะมันตายหลายตายทุกป”ี นอกจากเครื่องเซ่นไหว้ที่กล่าวมาแล้วนั้น ก็ยังมีการรำถวายเจ้าปู่หนองอุดมจะเป็นก ารรำ ของชาวบ้าน ในแต่ละหมู่บ้านนั้นมี บ้านนาเชือก บ้านกุดรัง บ้านบักหม้อ บ้านหนองม่วง บ้านหนองแสง บ้านหนองเรือ บ้านหนองเม็ก บ้านหินตั้ง บ้านหัวช้าง บ้านโคกกลม บ้านหนองทิศศร บ้านห้วยหิน บ้านค้อ ทิดำรงวัฒนา หนองเหล่าใหญ่ ห้วยทราย สันติสุขหมู่ที่ 12 และ หมู่ที่ 15 สระแก้ว ค้อม่วง และนักเรียน ของโรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ โรงเรียนเทศบาลนาเชือก โรงเรียนวัดป่านาเชือก เจ้าหน้าที่องค์การบริหาร ส่วนตำบล เจ้าหน้าที่อำเภอ เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลนาเชือก และเจ้าหน้าที่ป่าดูนลำพันที่รวมตัวกันซ้อมรำ เป็นเดือน ๆ เพื่อทจ่ี ะรำถวายเจา้ ปหู่ นองอดุ ม จากการสัมภาษณ์ นางปราณี รตั นธรรม อายุ 45 ปี เลา่ วา่ “กร็ ำมาทุกปีต้ังแตเ่ ป็นเด็ก ๆ จนตอนนก้ี ็บรรจเุ ป็นครูอยู่โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ ก็จะพาเด็กมา รำแบบนีไ้ ด้ 3 ปีแล้ว” การไหว้นั้น ถือได้ว่าเป็นการเริ่มฤดูกาลทำการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรของชาวบ้าน ก็ว่าได้ เพราะการไหว้นั้นชาวบ้านต่างจะขอให้ ข้าวในไร่ตนนั้นบริบูรณ์ ได้ผลผลิตดี ฝนฟ้าตกตามฤดูกาล หากยงั ไมไ่ ดม้ ีการไหว้ศาลเจ้าปูห่ นองอดุ มน้ัน ชาวบา้ นจะยังไมม่ ีการเรม่ิ ทำการเกษตรกนั เพราะเช่ือกันว่าจะทำ ให้พืชผลจะไมไ่ ด้ตามที่ตอ้ งการ บ้านเมอื ง จะเกดิ ภัยพิบัติ ฝนฟา้ ไม่ตกต้องตามฤดูกาล อาจกล่าวได้ว่าศาลเจ้าปู่หนองอุดม เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในนาเชือกและบ้านรอบข้าง และชาวบา้ นในนาเชือกกต็ ่างในความเคารพนับถือต่อท่าน เพราะถือว่าเป็นศาลใหญ่ที่คอยดูแลปกปักรักษาคน ในนาเชอื กและผู้คนท่เี คารพท่าน เพราะจากการสมั ภาษณ์ชาวบ้านทุกคนตา่ งพดู เหมือนกนั ว่าท่านน้นั ศกั ดิ์สิทธ์ิ มาก เวลามเี รือ่ งทุกขร์ ้อนอะไรกจ็ ะไปบนบอกต่อเจ้าป่หู นองอุดม

บอ่ น้ำศกั ด์ิสิทธ์ิ เดิมเป็นพื้นที่น้ำที่ผุดขึ้นมาตามธรรมชาติ ที่อยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน ผุดขึ้นมา เป็นบ่อเล็ก ๆ บนขอบหนองดูน กล่าวคือเมื่อปี พ.ศ. 2537 ได้มีคนป่วยรายหนึ่ง ญาติได้นำไปให้หลวงพ่อคูน แห่งวัดบ้านไร่รักษา ท่านได้แนะนำคนป่วยและญาติว่า โรคที่เป็นอยู่ขณะนี้ไม่หาย ท่านเลยแนะนำให้ญาติ มาเอาน้ำท่ีผุดขึ้นจากบนขอบหนองดูน ญาติของผู้ป่วยได้นำเอาน้ำไปรักษาคนที่ป่วย ปรากฏว่าคนป่วย คนนั้นได้หายจากอาการป่วย ต่อมาข่าวเรื่องบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ก็ได้กระจายไปทั่ว ผู้คนต่างมาเอาน้ำไปรักษาคน ปว่ ย ปัจจุบนั ยังมคี นมาเอาน้ำอยูเ่ ร่อื ย ๆ จึงเป็นทม่ี าของบ่อน้ำศกั ดสิ์ ิทธิแ์ ห่งปา่ ดนู ลำพนั ภาพที่ 40 บอ่ น้ำศกั ดส์ิ ิทธ์ิ ขอขจร: ลายประจำอำเภอนาเชือก จากการบอกเล่าของนางสุรัตน์ มูลพาที ประธานเครือขา่ ย OTOP อำเภอนาเชือก ผ้าลายขอขจร มีตำนานเรื่องเล่าจากการบอกเล่าจาก การบอกเล่าของคุณยาย ซึ่งเป็นผู้คิดริเริ่มลายนี้ว่ามีที่มาจาก 2 คำ คือ ขยุ หมายถงึ ตะขอทตี่ ิดไวป้ ลายไถ เพื่อเช่อื มหรอื ยดึ ระหวา่ งคาดกับไถเพ่ือใช้ ในการไถนา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตในการประกอบอาชีพของชาวบ้านบ่งบอก ถงึ การสบื ทอดภูมปิ ัญญาจากรุน่ สู่รนุ่ ขจร เป็นชอื่ เรยี กตุ้มหู (ตา่ งหู) หญิงสมัย โบราณที่สวยใส่เพื่อความสวยงาม หากหญิงใด สวมใส่ก็เกิดความสง่างาม เมื่อ 2 คำ มารวมกัน จึงเกิดเป็นลายขอขจร ซึ่งเดิมจะย้อมด้วยครั้ง หรือสีธรรมชาติ และย้อมเป็นสีน้ำตาล สำหรับหญิงที่มีฐานะดีเท่านั้น ที่จะสวมใส่ได้ เพื่อแสดงถึงฐานะของตนเองต่อมาได้ผสมผสานลวดลาย และยอ้ มสีท่หี ลากหลาย สวยงาม และเข้ากับยุคสมยั ภาพท่ี 41 ลายขอขจร

ภาพท่ี 42 บทเรยี นจากการจดั การองคค์ วามรู้ โดยชุมชนมสี ่วนรว่ ม

ตารางที่ 2 ประเพณีและวฒั นธรรมของชมุ ชนนาเชือก กิจกรรม เดอื น 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 1. บวงสรวงพอ่ ปู่ x อดุ ม 2. ตามฮีตคอง ฮตี 12 คอง 14 3.อาชีพ/ การเกษตร ▪ นาปี xxxxxx ▪ นาปรงั xxx ▪ มนั สำประ xxxxxxxxxxxx หลัง ▪ ออ้ ย xxxxxxxxxxxx ▪ ผักบุ้ง xxxxxxxxxxxx ▪ ผกั สวนครัว x x x x x x x x x x x x 4. การใช้ ทรพั ยากร ▪ เห็ด x x x ▪ ไขม่ ดแดง xxx ▪ สมุนไพร x x x x x x x x x x x x ตารางท่ี 3 ผลติ ภณั ฑ์ที่โดดเดน่ ในแตล่ ะหมู่บา้ น หม่บู า้ น หมู่ ความโดดเด่นด้านพ้ืนที่ ผลติ ภัณฑ์ในพืน้ ท่ี ระยะหา่ งจาก หมายเหตุ ท่ี โรงเรียนนาเชอื ก บา้ นนา 1 ป่าดนู ลำพนั ไมม่ ี พทิ ยาสรรค์ เชอื ก (กิโลเมตร) 1 บา้ นกดุ รงั 2 มเี จดยี ร์ ้อยองค/์ ปา่ ดอนปูต่ า ไม่มี 2 ปัญหาขยะ (เทศบาล) บา้ นหว้ ยหิน 3 ปา่ ชมุ ชน/การบรหิ ารจดั การใน ศูนย์การเรียนกลมุ่ อาชพี 6 รปู กล่มุ อาชีพ แบบครบวงจร โดยชมุ ชน เอง (โรงสี/รถไถ) บา้ นหัว 4 ปา่ ชมุ ชน เศรษฐกิจชุมชนตน้ แบบ 6 หนอง ลกู ค้า บ้านหนอง 5 ปา่ ชมุ ชน ผ้าไหม กลมุ่ เพาะกล้าไม้ 5.5 เครอื ขา่ ยปา่ ทศิ สอน (ยางนา เชือก พยุง และ มะค่าโมง) ไม้

หมบู่ า้ น หมู่ ความโดดเด่นด้านพ้ืนท่ี ผลติ ภณั ฑ์ในพ้ืนท่ี ระยะหา่ งจาก หมายเหตุ ท่ี โรงเรียนนาเชอื ก ผลิตภณั ฑ์โอทอป/ผา้ ไหม/ มศี นู ย์ศิลปะ บา้ นห้วย 6 ต้นมะม่วง 300 ปี ผ้าฝา้ ย การผลิตไหมแบบ พิทยาสรรค์ พนื้ ที่ ทราย ครบวงจร (สีธรรมชาต)ิ (กโิ ลเมตร) แต่ยังมขี ้อมลู OTOP นวตั วถิ ี ไม่มาก บ้านโคก 7 Home Stay (ส่วนตวั ) รวงข้าวพระราชทาน 1 กลม ขยาย Home ไม่มี 1 Stay เพื่อ รองรบั ไมม่ ี 1 นักทอ่ งเทย่ี ว อินทผลัม (ผลสด) 4 และมขี องท่ี ผลติ ภณั ฑ์ทองเหลอื ง ระลึก (ระดบั ครัวเรอื น) เฉพาะถิ่น ไม่มี บา้ นหัวชา้ ง 8 Home Stay (สว่ นตวั ) บา้ นหินต่ำ 9 ไม่มี บา้ นหนอง 10 ไม่มี ผ้าไหม/เหด็ 5 เครือข่ายเมือง ม่วง 11 ไมม่ ี บา้ นเหลา่ ต้นแบบหว้ ย ใหญ่ ทราย บา้ นสันตสิ ุข 12 ไม่มี แปรรูปเส้อื ผ้า 3 รบั จากสมาชกิ (OTOP 5 ดาว) ของเครือขา่ ย ในอำเภอนา เชือก บา้ นค้อธิ 13 ไม่มี ปยุ๋ จุลนิ ทรยี ์ชวี ภาพ 8 ยงั ไม่มแี บรนด์ ปุ๋ยชีวภาพ/หลังคาเรยี น/ ปราชญ์ น้ำหมกั ชีวภาพ/ก้อน ชาวบา้ น (คุณ อัดเม็ด สุพรรณ) บา้ นดำรง 14 ไม่มี อา่ งเก็บนำ้ อา่ งหนองคู 8 พฒั นา ไม่มี 170 ไร่ / ผกั ปลอดภัยจาก ไมม่ ี ไม่มี สารพษิ (หน่อไมฝ้ ร่งั ) บ้านกงุ รงั 15 แปรรูปเส้อื ผ้า 4 ยงั ไม่มแี บรนด์ พัฒนา ตอ้ งการพัฒนาเพ่มิ 4 ไม่มบี รรจุ บ้านคอ้ มว่ ง 16 ตอ้ งการพัฒนาเพมิ่ ภณั ฑ์ บา้ น 17 4 สระแก้ว

หมู่บ้าน หมู่ ความโดดเดน่ ดา้ นพ้นื ที่ ผลิตภัณฑ์ในพ้ืนท่ี ระยะหา่ งจาก หมายเหตุ ท่ี โรงเรียนนาเชือก อาชีพส่วน บา้ นมว่ งงา่ ม 18 ไมม่ ี ตอ้ งการพัฒนาเพ่ิม พทิ ยาสรรค์ ใหญ่ (กิโลเมตร) ทำไร่และนา 4 ภาพที่ 43 บรรยากาศกจิ กรรมการจดั การความรู้

บทท่ี 3 “สาเหตุ ผลกระทบ และการปรบั ตัวกบั การ เปล่ียนแปลงสภาพภมู อิ ากาศ”

บทที่ 3 สาเหตุ ผลกระทบ และการปรบั ตัว กบั การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ ◼ ภาวะโลกร้อนและการเปล่ียนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อน กลายเป็นคำคุ้นหู ที่ทุกคน คงเคยได้ยินกันมาบ้างในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา แต่หลายคนก็ยังสับสนอยู่ว่าจริง ๆ แล้ว ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปรากฏการณ์ เรือนกระจก มนั เหมอื น หรือ แตกตา่ งกนั อย่างไร หรอื จรงิ ๆ แล้ว มนั มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ภาพท่ี 44 การเกดิ ปรากฎการณ์เรอื นกระจก ทีม่ า: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพส่งิ แวดล้อม (2563) ภาวะโลกร้อน (Global Warming) คือ การที่อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลก และผืนมหาสมุทรเพ่ิม สูงขึ้น ซึ่งเกิดจาก ก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน ฯลฯ ที่สะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศ มีมากจนเกินสมดุล ซึ่งโดยปกติแล้ว ก๊าซเหล่านี้จะอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลก ทำหน้าที่ห่อหุ้มโลกเอาไว้ คล้าย ๆ เรือนกระจก หรือ Green House ที่เป็นเกราะกำบังกรองความร้อนที่จะผ่านลงมายังพื้นโลก

และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ เก็บกักความร้อนบางส่วนเอาไว้ ทำให้โลกมีอุณหภูมิพอเหมาะสำหรับ การดำรงชีวิต ภาพที่ 45 ความหมายของปรากฎการณเ์ รอื นกระจก ท่ีมา: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพสง่ิ แวดล้อม (2563) แต่ในปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจกมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้รังสี จากดวงอาทิตย์ที่เคยส่องมายังโลก ไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปนอกโลกได้ เพราะถูกก๊าซ เรือนกระจกที่มีปริมาณมาก บดบัง เรียกสภาวะแบบนี้ว่า “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” เมื่อความร้อน ไม่สามารถสะท้อนกลับออกไปนอกโลก ก็ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มสูงขึ้น เกิดเป็นภาวะโลกร้อน ยิ่งก๊าซ เรือนกระจกมากเท่าใด โลกก็จะร้อนขึ้นเท่านั้นและเมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ผลพวงที่ตามมา

ก็คือ เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปทั่วโลก เช่นที่เรา กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน และยังกระทบ ตอ่ สมดุลในด้านตา่ ง ๆ บนโลกใบนอ้ี ย่างมากมาย การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) คือ การเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศเฉล่ีย (Average Weather) ในพื้นที่หนึ่ง ลักษณะอากาศเฉลี่ย หมายความรวมถึง ลักษณะทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง กับอากาศ เช่น อุณหภูมิ ฝน ลม เป็นต้น ในความหมายตามกรอบของอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง ภูมิอากาศ FCCC (Framework Convention on Climate Change) การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ คือ การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ อันเป็นผลทางตรง หรือทางอ้อมจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ทำให้ องคป์ ระกอบของบรรยากาศ เปล่ียนแปลงไป นอกเหนือจากความผันแปรตามธรรมชาติ “การเรยี นรู้ ปรากฏการณ์กา๊ ซเรือนกระจก” คลปิ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) สงั คมศึกษาฯ ม.1-6 (7 นาที) https://www.youtube.com/watch?v=4L2ZLr5BpNQ

คลปิ Green House Effect คืออะไร (3.15 น.) https://www.youtube.com/watch?v=xVjFeeivZbA คลิป สาระดี ๆ กับ TGO ตอนที่1 กา๊ ซเรอื นกระจกคืออะไร? (3.43 น.) https://www.youtube.com/watch?v=SQajrLvhlBA

◼ กา๊ ซเรอื นกระจกทท่ี ั่วโลกใหค้ วามสำคญั  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide: CO2) เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล จำพวกนำ้ มัน ถ่านหิน กา๊ ซธรรมชาติ ในกระบวนการผลติ ของภาคอุตสาหกรรม คมนาคมขนส่ง การผลิตไฟฟ้า รวมถึงเกิดจากการเผาป่า เป็นต้น เชื้อเพลิงเหล่านี้มีสารคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อถูกเผาไหม้ จะเกดิ ก๊าซคารบ์ อนไดออกไซด์ลอยขนึ้ สู่บรรยากาศ  ก๊าซมีเทน (Methane: CH4) เกิดจากการย่อยสลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ เราสามารถ พบก๊าซมีเทนตามธรรมชาติได้บริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ (Swamp/ Wetland) นอกจากนี้ก๊าซมีเทนยังเกิดจาก กิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ด้วย เช่น กิจกรรมทางการเกษตร (การปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์) การฝังกลบขยะมูล ฝอยในบ่อขยะ การทำเหมืองแร่ และการผลิตถ่านหิน ฯลฯ แม้ในชั้นบรรยากาศจะมีก๊าซมีเทนอยู่น้อยแต่ก๊าซ ชนิดน้สี ามารถดูดซับความร้อนไดม้ ากกวา่ CO2 ถงึ 25 เทา่  ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (Nitrous Oxide: N2O) เกิดจากการทำการเกษตร ปศุสัตว์ การย่อย สลายของซากพืชและซากสัตว์ และการใช้ปุ๋ยที่มีองค์ประกอบของไนโตรเจน การเผาไหม้เชื้อเพลิง ในภาคพลังงาน ฯลฯ  ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (Hydrofluorocarbons: HFCs) ใช้เป็นสารทำความเย็น ในเคร่ืองปรบั อากาศ และใช้ในอตุ สาหกรรมโฟมและสารดับเพลงิ  ก๊าซเปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (Perfluorocarbons: PFCs) พบในการหลอมอะลูมิเนียม และผลิตสารก่ึงตวั นำไฟฟา้  ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลอู อไรด์ (Sulfur Hexafluoride: SF6) นำมาใช้เป็นฉนวนไฟฟ้าป้องกนั การเกิดประกายไฟจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง หรือนำมาใช้เพื่อช่วยระบายความร้อนจากอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง และนิยมนำไปใช้ในกระบวนการผลิตยางรถยนต์ ก๊าซชนิดนี้ถูกระบุว่าเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพ ในการทำให้เกดิ โลกรอ้ นมากท่สี ุด มากกวา่ คาร์บอนไดออกไซด์ถึง 22,800 เทา่  กา๊ ซไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (Nitrogen Trifluoride : NF3) เปน็ กา๊ ซทีพ่ บมากในอุตสาหกรรม ผลิตวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือแผงวงจรขนาดเล็กสำหรับคอมพิวเตอรเ์ ช่น โซลาร์เซลล์จอแอลซีดี ทใี่ ชใ้ นโทรทศั น์ และโทรศพั ท์มอื ถอื ฯลฯ ในบรรดากา๊ ซเรือนกระจกท้งั หมดทป่ี ล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศโลก กา๊ ซคารบ์ อนไดออกไซด์มีปริมาณ มากที่สุด ประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ โดยแบ่งเปน็ กา๊ ซคาร์บอนไดออกไซดท์ ี่เกิดจากการเผาไหม้เช้ือเพลิงฟอสซลิ เช่น นำ้ มนั ก๊าซธรรมชาติ และถา่ นหนิ คดิ เป็น 65 เปอรเ์ ซน็ ต์ และเปน็ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ท่เี กดิ จากการใช้ ประโยชน์ที่ดินและป่าไม้ คิดเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ ก๊าซมีเทน 16 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซไนตรัสออกไซด์

6 เปอร์เซ็นต์ และอกี 2 เปอรเ์ ซ็นต์ คือ กลมุ่ กา๊ ซไฮโดรฟลอู อโรคาร์บอน เปอรฟ์ ลูออโรคารบ์ อน ซัลเฟอรเ์ ฮกซะ ฟลอู อไรด์ และไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ ภาพที่ 46 ประมาณกา๊ ซเรอื กระจกแต่ละชนดิ ทีม่ า: IPCC (2014). Climate Change 2014: Mitigation of Climate Change. Contribution of Working Group III to the Fifth Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change อ้างถงึ ในกรมสง่ เสรมิ คุณภาพส่งิ แวดลอ้ ม (2563)

ตารางท่ี 4 ศักยภาพในการทำใหเ้ กดิ ภาวะโลกร้อนของแตล่ ะกา๊ ซเรือนกระจก กา๊ ซเรือนกระจก อายุในชนั้ บรรยากาศ ศักยภาพในการทำใหเ้ กิดภาวะโลกร้อน (ป)ี (เทา่ ของคาร์บอนไดออกไซด์) คารบ์ อนไดออกไซด์ (CO2) 5 - 200 1 มเี ทน (CH4) 12 25 ไนตรัสออกไซด์ (N2O) 114 298 ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) 1.4 = 270 124 – 14,800 เปอรฟ์ ลูออโรคาร์บอน (PFCs) 1,000 – 50,000 7,390 – 12,200 ซัลเฟอรเ์ ฮกซะฟลอู อไรด์ (SF6) 3,200 22,800 ไนโตรเจนไตรฟลูออไรด์ (NF3) 740 17,200 ทมี่ า: IPCC Forth Assessment Report – Climate Change 2007 อา้ งถึงในกรมส่งเสริมคณุ ภาพส่ิงแวดลอ้ ม (2563) “...จากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกนั้น มี ความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ กล่าวคือ ถ้าความเข้มข้นของก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น จะทำให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นด้วย แต่ถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง อุณหภูมิ ก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันความสัมพันธ์ดังกลา่ ว ได้ถูกพิสูจน์แล้วว่าเป็นความจรงิ เพราะว่า ความเข้มข้น ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากนับตั้งแต่ยุคปฏิวัติ อตุ สาหกรรม ไดท้ ำให้เกดิ ปรากฏการณเ์ รือนกระจก และการเปลย่ี นแปลงสภาพภูมิอากาศไปทว่ั โลก ทน่ี ่าตกใจ ก็คือ ก๊าซเรือนกระจกบางชนิดสามารถสะสมอยู่ในชั้นบรรยากาศได้นานนับร้อย ๆ ปี ลองคิดดูว่า ถ้าเรายังไม่ หยดุ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกตง้ั แตต่ อนนี้ เราคงหนไี ม่พน้ หายนะทกี่ ำาลังรอเราอย่เู บ้ืองหน้า...”

ภาพท่ี 47 กราฟแสดงความสมั พนั ธ์ระหว่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชัน้ บรรยากาศ และอณุ หภูมเิ ฉลี่ยของโลก ทมี่ า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพส่งิ แวดล้อม (2563)

ภาพที่ 48 สาเหตุของโลกร้อนจากการทำลายโอโซน ทีม่ า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิง่ แวดล้อม (2563)

ภาพที่ 49 ชัน้ บรรยากาศ ทีม่ า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิ่งแวดล้อม (2563) อย่างไรก็ตาม แม้การเกิดภาวะโลกร้อน มิได้มีสาเหตุโดยตรงจากการเกิดรูโหว่ในชั้นโอโซน แตก่ ารเพิม่ ขึ้น ของสารทำลายช้ันโอโซน จำพวกสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC (ถูกนำมาใช้ในอุปกรณ์ ทำความเย็น เช่น เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น แต่ปัจจุบันหลายประเทศได้ห้ามไม่ให้มีการใช้สาร CFC แล้ว) นอกจากจะ ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศให้เป็นรูโหว่จนรังสีต่าง ๆ จากดวงอาทิตย์เล็ดลอดมายังผิวโลก ได้มากขึ้นแล้ว CFC ยังไปเพิ่มความหนาของบรรยากาศในชั้นโทรโพสเฟียร์ ส่งผลให้รังสีความร้อนที่ส่อง มาสะท้อนกลับออกไป นอกโลกได้ยากลำบากขึ้น จึงเป็นสาเหตุให้โลกร้อนขึ้น ในขณะเดียวกันเมื่อสาร CFC ที่สามารถลอดผ่าน ชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปได้ ก็จะไปทำลายโอโซน ทำให้โอโซนเกิดรูรั่วเพิ่มขึ้นอีก จนรังสี UV สามารถส่องตรง มายังโลกได้มากขึ้น ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่า รังสี UV ที่ทะลุผ่านชั้นโอโซนมายังโลก เป็นหนึ่งในสาเหตุของโลกร้อน จริง ๆ แล้วไม่ใช่ เพราะรังสี UV ไม่ใช่รังสีความร้อน แต่สารเคมีในกลุ่ม คลอโรฟลูออโรคาร์บอน ตา่ งหากทีเ่ ป็นหน่งึ ในตัวการสำคัญในการทำใหเ้ กดิ ภาวะโลกร้อน

◼ สาเหตขุ องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา มีสาเหตุหลักมาจากกิจกรรม ในชีวิตประจำวันของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการนำเชื้อเพลิงฟอสซิลมาใช้ในภาคพลังงาน ขนส่ง และอตุ สาหกรรม กจิ กรรมตา่ ง ๆ ในภาคการเกษตร และอตุ สาหกรรม รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่า ซ่ึงเปน็ แหล่ง ดูดซับคารบ์ อนทสี่ ำคัญของโลก ทัง้ หมดน้มี ีสว่ นในการเพิม่ ปริมาณก๊าซเรอื นกระจกทงั้ ทางตรงและทางออ้ ม  การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง คือ กิจกรรมที่เราเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตรง ณ เวลาท่เี รา ทำกจิ กรรมนนั้ เชน่ กจิ กรรมจากการเดนิ ทาง และการขนส่ง เพราะกิจกรรมเหล่านั้นต้องใช้น้ำมัน ซึ่ง กระบวนการเผาไหม้ของเคร่อื งยนต์ ทำให้เกิดกา๊ ซคาร์บอนไดออกไซด์ หน่ึงในก๊าซเรอื นกระจก ทีเ่ ปน็ สาเหตุ ของภาวะโลกร้อน ภาพท่ี 50 การปลดปล่อยก๊าซเรอื นกระจกทางตรง ทมี่ า: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพส่ิงแวดลอ้ ม (2563)  การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม คือ กิจกรรมที่เราไม่ได้เป็นคนปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยตรงในขณะนั้น แต่การกระทำหรือพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเรา มีส่วนทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือน กระจก เช่น การใช้ไฟฟ้า เพราะโรงงานผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลจำพวก น้ำมัน ถ่านหิน และ ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงหลัก หรือ การบริโภคสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่ใช้คร้ัง เดียว แล้วทิ้ง จำพวกถุงพลาสติก หรือหลอดเครื่องดื่ม รวมถึงการรับประทานอาหารเหลือทิ้ง เพราะสินค้า และพฤติกรรมในการบริโภคในลักษณะนี้ ล้วนต้องใช้พลังงานและทรัพยากรในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การผลิต การขนส่ง การจัดจำหน่าย และการนำไปกำจัดหลังการใช้งาน ดังนั้นหากเราใช้ไฟฟ้าอย่างไม่ประหยัด หรือ บรโิ ภคจนเกินความจำเป็น กจ็ ะมสี ่วนทำให้โลกร้อนข้ึน

จากการสำรวจของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change) ระบุว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ทั่วโลกปล่อย สู่ชนั้ บรรยากาศ มาจากกจิ กรรมประเภทต่างๆ ดงั น้ี ภาพท่ี 51 ปรมิ าณการปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจกของโลก แยกตามประเภทของกจิ กรรม ท่มี า: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพสงิ่ แวดล้อม (2563)

ภาพท่ี 52 ก๊าซเรือนกระจก ท่มี า: กรมสง่ เสรมิ คุณภาพสงิ่ แวดล้อม (2563)

 พฤตกิ รรมที่ปลอ่ ย CO2 กิจกรรมในชีวิตประจำวันของพวกเราทุกคน ตั้งแต่ตื่นนอน รับประทานอาหาร เดินทางไป โรงเรียน เรียนหนังสือ ทำงาน การจับจ่ายเลือกซื้อสินค้าต่างๆ ล้วนมีผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยกันทั้งนั้น นักวิทยาศาสตร์ ได้พัฒนาเครื่องมือที่เรียกว่า รอยเท้าคาร์บอน หรือ Carbon Footprint เพื่อ นำมาใช้ในการวัดปริมาณ CO2 ที่ถูกปล่อยมาจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งจะประเมินกันตั้งแต่การไดม้ าซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การใช้งาน ไปจนถึงการจัดการซากผลิตภณั ฑ์หลังการใช้ งาน (หรือที่เราเรียกกันว่า ประเมินวัฏจักร ชีวิตผลิตภัณฑ์-Life Cycle Assessment: LCA) นอกจากนี้ Carbon Footprint ยังใช้วดั การปล่อย CO2 จากกิจกรรมตา่ ง ๆในชีวิตประจำวนั โดยจะทำการคำนวณออกมา ในรปู ของคารบ์ อนไดออกไซต์เทยี บเทา่ หรือ CO2eq ภาพท่ี 53 ตัวอย่างกจิ กรรมในชีวิตประจำวนั ท่ีปลอ่ ย CO2 ที่มา: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพส่ิงแวดล้อม (2563)

“การเรยี นรู้ Carbon Footprint” คาร์บอนฟตุ พรน้ิ ทค์ ืออะไร (Thailand Carbon Footprint) https://www.youtube.com/watch?v=0HytdZDvqgY คลปิ สารคดีคารบ์ อนฟุตพร้นิ ทผ์ ลติ ภัณฑ์ https://www.youtube.com/watch?v=4ZD53taU484

คลปิ Carbon Footprint – รอยเทา้ คารบ์ อน https://www.youtube.com/watch?v=pAGb7mF3784 คลิป Carbon footprint รู้จักรอยเท้าทางนิเวศ https://www.youtube.com/watch?v=iAa24fpeTJE

 ปรมิ าณการปลดปลอ่ ย CO2 ในแต่ละประเทศ ไม่กี่ปีที่ผ่านมาประเทศจีนปล่อย CO2 เป็นอันดับหนึ่งแซงหน้าสหรัฐอเมริกาที่เคยครองแชมป์ มายาวนาน แต่ถ้าบวกรวมปริมาณ CO2 ที่แต่ละประเทศปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ นับตั้งแต่ยุคอุตสาหกรรม จนถึงปจั จบุ นั สหรฐั อเมริกาและสหภาพยุโรป กย็ ังคงเป็นผปู้ ลอ่ ย CO2 มากทสี่ ุด ภาพที่ 54 ปริมาณการปล่อย CO2 6 อนั ดับของโลก ท่ีมา: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม (2563)

ภาพท่ี 55 ปรมิ าณการปล่อย CO2 ท่มี า: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพส่ิงแวดลอ้ ม (2563) สำหรับประเทศไทย แม้จะไม่ใช่ประเทศที่ปล่อย CO2 ติดอันดับต้น ๆ ของโลก แต่ปริมาณ CO2 ก็เพิ่มขึ้นทุกปี เมื่อนำข้อมูลการปล่อย CO2 ในปี พ.ศ. 2543 มาเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ.2564 จะพบว่า มีการปล่อย CO2 เพ่ิมขนึ้ 8.63 เปอรเ์ ซน็ ต์ โดยกจิ กรรมท่ีมีปริมาณการปล่อย CO2 มากทส่ี ดุ คือ ภาคพลังงาน คมนาคมและ ขนส่ง ซึ่งตั้งแต่ปี 2543–2556 ภาคพลังงานปล่อย CO2 เพิ่มขึ้นถึง 47.16%. แต่ก็ยังดีท่ีปรมิ าณ CO2 บางส่วนถูกดูดซับโดยพ้นื ท่ีป่า และพ้ืนทีเ่ กษตรกรรม ข้อมูลปี 2558 พบว่า ปา่ ไม้ และพืน้ ท่ีเกษตรในบ้าน เรา ช่วยดูดซับ CO2 เพิ่มขึ้น 6 เท่าเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2543 นั่นแสดงให้เห็นว่า ทรัพยากรป่าไม้ มีความสำคัญ อยา่ งมากตอ่ การลดกา๊ ซเรือนกระจก

ภาพที่ 56 อตั ราการปลอ่ ยกา๊ ซ CO2 ของประเทศไทย ทมี่ า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ ม (2563)

◼ ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงสภาพภมู ิอากาศต่อระบบนิเวศและส่ิงแวดล้อม  อากาศแปรปรวน นำ้ ทะเลสูงข้ึน ปัจจุบัน อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 0.85 องศาเซลเซียส แม้ดูเหมือนจะน้อยนิด (เพราะยังไม่ถึง 1 องศาเซลเซียส) แต่ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็น ภัยแล้ง พายุฝน น้ำท่วม คลื่นความร้อน ฯลฯ ที่รุนแรงและถี่มากขึ้น นอกจากนี้ระยะเวลา และจำนวนวันที่มีอากาศร้อน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเมื่อปี 2560 เป็นปีที่ร้อนที่สุด ในประวัติศาสตร์โลกและถือเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันที่อุณหภูมิของโลกเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน และล่าสดุ ปี 2561 หลายประเทศ ในทวีปยุโรป ตอ้ งเผชญิ หนา้ กบั คล่ืนความร้อน จนมีผู้เสียชวี ติ หลายประเทศ ตอ้ งประสบกบั ภัยพบิ ัติและ น้ำทว่ มฉบั พลัน ทำลายสิง่ ปลูกสร้าง และโครงสรา้ งพื้นฐาน สร้างความเสียหายต่อ ชีวิต ทรัพย์สิน และ เศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ น้ำท่วมขัง ยังทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค หรอื กรณีของพายุหิมะพัดถล่ม ประเทศสหรฐั อเมริกา ท่ีทำใหม้ ีหิมะสูงกวา่ 50 เมตร ภาพท่ี 57 อากาศแปรปรวน นำ้ ทะเลสงู ท่ีมา: มตชิ น (2564) นอกจากนี้ภาวะโลกร้อน ยังทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงข้ึนเฉล่ีย 0.19 เมตร ในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา หากไม่มีการดำเนินการใด ๆ ประชากร 100 ล้านคนที่อาศัยอยู่บริเวณ ชายฝั่งทะเล จะได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งทะเลจะถูกกัดเซาะ จากคล่ืนลมที่รุนแรง โดยจะเกดิ ขึ้นมากบริเวณเอเชียตะวันออก เอเชยี ตะวนั ออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และกรุงเทพ ก็จะได้รับ ผลกระทบด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีเมืองท่ากว่า 130 แห่งทั่วโลก 5 กำลังแบกรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และคาดว่า ความเสี่ยงที่เพิ่มข้ึน มีมูลค่ารวม ๆ กันแล้ว ประมาณ 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ จากสถานการณ์ ภัยธรรมชาติ ทีแ่ ปรปรวนเกนิ คาดเดา

 โลกรอ้ น โลกแลง้ วัฏจกั รของนำ้ จะไดร้ ับผลกระทบโดยตรงจากโลกรอ้ น ซึ่งจะสง่ ผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพ ของทรัพยากรนำ้ ภาพท่ี 58 เปรยี บเทยี บจำนวนประชากรท่ีขาดแคลนนำ้ กับอณุ หภูมทิ เ่ี พมิ่ ข้ึน ทีม่ า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิง่ แวดลอ้ ม (2563) ถ้าอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2 องศาเซลเซียส น้ำ จืดทั่วโลกจะลดลง 20 เปอร์เซ็นต์และลดลง ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออุณหภูมิเพิ่งสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่จะประสบกับความแห้งแล้ง และเกิด ภาวะขาดแคลน น้ำสำหรับอุปโภค บริโภค โดยเฉพาะทางตอนเหนือและทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา เอเชยี กลาง และเอเชียใต้

 ระบบนเิ วศเปล่ียนแปลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศบนพื้นโลก ไม่ว่าจะเป็นระบบนิเวศป่าไม้ ระบบนิเวศน้ำจืด หรือแม้กระทั่งระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง ทำให้ระบบ นเิ วศเส่ือมโทรมและทำลาย ถ่ินที่อยูอ่ าศัยของชนิดพันธุพ์ ืชและพันธสุ์ ตั ว์ สาเหตุหลักท่ีทำให้พืชและสัตว์สูญพันธุ์ คือ ถิ่นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์ถกู ทำลาย อันมีสาเหตุ มาจากการขยายตัวของเมืองและชุมชน แต่จากการศึกษาล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การเปลี่ยนแปลง สภาพภมู อิ ากาศกำลงั จะกลายเปน็ ภัยคุกคามทน่ี า่ กลวั ต่อการสูญพนั ธ์ุของสง่ิ มชี ีวติ บนโลกในอนาคต โดยเฉพาะ อยา่ งยง่ิ สัตวส์ ะเทินน้ำสะเทินบก ➢ ถ้าอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5-2 องศาเซลเซียส จะทำ ให้ป่าอเมซอนมีโอกาสเกิดไฟป่าเพิ่มข้ึน 2 เทา่ ภายใน ปี 2050 ➢ ความหลากหลายทางชีวภาพจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและขยายวงกว้างมากข้ึน เมื่อโลกมีอุณหภูมิ สูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเข้มข้น ของคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้ระบบนิเวศของโลกเปลี่ยนแปลงมหาศาลอย่างที่ไม่ คาดคิด ➢ ความเสอ่ื มโทรมของระบบนิเวศและทรัพยากรธรรมชาตจิ ะส่งผลกระทบโดยตรงกับมนุษย์ เพราะมนุษย์ ตอ้ งพ่งึ พาทรัพยากรธรรมชาตใิ นการดำรงชวี ิตไม่ทางใดก็ทางหนง่ึ ➢ อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น และฤดูกาลที่แปรปรวน ทำให้การสืบพันธุ์และการขยายพันธุ์ของสัตว์ บางชนิดได้รับ ผลกระทบ และยังทำให้สัตว์หลายชนิดต้องสูญเสียแหล่งอาหาร และต้องใช้พลังงาน ในการหาอาหาร เพิ่มมากขึ้นด้วย มีการประเมินว่า แม้เราจะควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศา เซลเซียสได้ แต่กจ็ ะยังมีพชื และสัตวส์ ญู พันธ์ไุ ปแล้วกว่า 5 เปอรเ์ ซน็ ตข์ องชนดิ พนั ธุ์ทั้งหมดบนโลก ภาพท่ี 59 ผลกระทบตอ่ การสญู พนั ธ์ของสงิ่ มีชีวติ ในภูมิภาคตา่ ง ๆ ทีม่ า: กรมสง่ เสรมิ คณุ ภาพส่งิ แวดลอ้ ม (2563)

 ระบบนิเวศทะเลเปล่ยี น เม่ือมหาสมทุ รร้อนข้นึ เมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น ก็ทำให้อุณหภูมิในมหาสมุทรเพิ่มสูงขึ้นด้วย จนทำให้มหาสมุทร มีสภาพเป็นกรด เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ลงไปละลาย อยใู่ นน้ำทะเล ทำให้น้ำมสี ภาพเป็นกรดมากข้นึ ➢ ความเปน็ กรดและอุณหภูมิทเี่ พ่ิมสงู ข้ึนของมหาสมุทร ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศ ชายฝั่งทะเล เช่น เมื่อทะเลมีสภาพเป็นกรด จะทำให้สัตว์มีเปลือกที่มีเเคลเซียมเป็นส่วนประกอบอย่างกุ้ง และหอย ไมส่ ามารถรอดชวี ิตจากสภาพเช่นนี้ได้ เพราะกรดจะกดั กรอ่ นเปลือกที่เป็นแคลเซียมของพวกมนั ➢ ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นยังทำ ให้เกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ปะการังตาย และทำ ให้การเกิดข้นึ ของปะการังยากขึ้น - อณุ หภูมิทเี่ พิ่มขน้ึ 2 องศาเซลเซยี ส จะทำให้ปะการงั ทว่ั โลกเส่ือมโทรมถึง 35 เปอร์เซ็นต์ ภายในไมก่ ีส่ บิ ปี - อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 3 องศาเซลเซียส ปะการังจะเสื่อมโทรมถึง 59 เปอร์เซ็นต์ ภายใน ไม่กสี่ ิบปี - อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียส ปะการังส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์และเมื่อปะการัง ซึ่งเป็นทั้งอาหาร ที่อยู่อาศัย และที่หลบภัยของสัตว์ทะเลนานับชนิดถูกทำลาย ก็ย่อมส่งผลถึงสมดลุ ของระบบ นิเวศใตท้ อ้ งทะเล และมนุษย์ก็จะไดผ้ ลกระทบด้วย เพราะทรัพยากรประมงลดลง ➢ หญ้าทะเลและสาหร่ายทะเลจะลดลง จากอุณหภูมิน้ำ ทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะคุกคาม ตอ่ การดำ รงชีวติ ของสตั วน์ ำ้ ท่ีอาศยั อยู่ในเขตภมู ิภาคก่ึงเขตร้อน (Subtropical Region) ➢ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ บริเวณชายฝั่งทะเล และปากแม่น้ำ จะได้รับผลกระทบโดยตรง จากคา่ ความเคม็ และระดับนำ้ ทะเลทีเ่ พ่ิมข้ึน ซงึ่ จะส่งผลกระทบตอ่ ปรมิ าณผลผลิต  อาหารลดลง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้สภาพอากาศแปรปรวน บางปีแห้งแล้ง บางปีน้ำท่วม ซึ่งไม่เพียงแต่ จะส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ยังสั่นคลอนความมั่นคงทางอาหารของคนทั่วโลก ซงึ่ ไม่ใชแ่ ค่ เกษตรกรเทา่ นั้นทจ่ี ะได้รับผลกระทบ แต่ผู้บรโิ ภคก็หนไี มพ่ ้นเชน่ กนั ในปีพ.ศ. 2593 ประชากร 200 ล้านคนจะขาดแคลนอาหาร และจะมีเด็กที่ขาดสารอาหารมาก ถงึ 24 ล้านคน ซง่ึ เป็นผลมาจากการเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ ผลผลิตทางการเกษตรบางชนิดจะลดลง เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น เช่น ข้าว งานวิจัยระบุว่า อุณหภมู เิ ฉลยี่ ของไทยในช่วง 50 ปีท่ผี า่ นมา เพม่ิ ขน้ึ 1 องศาเซลเซยี ส และหากอุณหภูมยิ งั เพิ่มขึ้นอย่างต่อเน่ือง คาดกันว่าทุก ๆ 1 องศาเซลเซียสจะทำให้ผลผลิตข้าวลดลงร้อยละ 10 และในช่วงที่ข้าวเริ่มผสมเกสร ถ้าอุณหภูมิ สูงเกิน 35 องศาเซลเซียส จะทำให้เกสรของข้าวมีอายุสั้น ส่งผลให้อัตราการผสมเกสรลดลง เม็ดข้าวจะลีบ และผลผลติ จะลดลง รวมถงึ แมลงศัตรูพืช และโรคระบาดกจ็ ะเพม่ิ ข้ึนด้วย เมื่อพื้นที่ทางการเกษตรได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำ ท่วม น้ำ แล้ง อันเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ ย่อมทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรผันผวน แรงงานภาคการเกษตรตก อยูใ่ นภาวะเสีย่ ง โดยเฉพาะอยา่ งย่ิงแรงงานในประเทศเขตรอ้ น มกี ารเปล่ยี นแปลงพ้ืนที่ในการทำ เกษตรกรรม เนอื่ งจากสภาพภมู ิอากาศที่แปรปรวน ทำให้พื้นที่ เคย เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกอาจไมเ่ หมาะสมอกี ต่อไป

 ผลกระทบต่อเศรษฐกจิ สงั คม วัฒนธรรม การเมอื ง ภาพท่ี 60 ผลกระทบของการเปลย่ี นแปลงสภาพอากาศต่อเศรษฐกจิ สงั คม วฒั นธรรม การเมอื ง ที่มา: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ ม (2563) ความรุนแรงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในมิติทางสังคม สุขภาพ และเศรษฐกิจ ขึ้นอยู่กับความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และความสามารถในการรับมือ และปรับตัวต่อ การเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยิ่งซ้ำเติมปัญหาความยากจน ให้ รุนแรงขึ้น เพราะภัยแล้ง น้ำท่วม ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรเสยี หาย เกษตรกรบางรายอาจถึงขั้นขาดทนุ เป็นหนี้เป็นสิน บางรายต้องสูญเสียที่ดินเพราะหนี้สินรุมเร้า ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิต

คนจนยิ่งยากจนขึ้น และอาจนำไปสู่การบุกรุกพื้นที่ป่า หรือ การอพยพย้ายถิ่นฐานไปหางานทำในเมืองใหญ่ ตดิ ตามมาดว้ ยปัญหาสังคมมากมาย นอกจากนี้อุณหภูมิโลกที่ร้อนขึน้ ยังทำให้โรคที่เคยสูญพันธุ์ไปแล้ว กลับมาระบาดอีกครั้ง รวมถึง อากาศร้อน ยังทำให้พาหะนำโรคเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ยุงลาย แมลงวัน และหนู ทำให้ เกิดการแพร่กระจายของโรคบางชนิดได้ง่ายขึ้น เช่น ไข้เลือดออก ท้องร่วง โรคฉี่หนู ฯลฯ และยังทำให้อัตรา การป่วยและ ตายจากโรคเหลา่ นี้เพมิ่ สูงขึน้ โดยเฉพาะในผูส้ งู อายแุ ละเด็ก ภาพที่ 61 โลกรอ้ นมผี ลกระทบอยา่ งไรในประเทศไทย ท่ีมา: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพส่ิงแวดล้อม (2563)

◼ การตอบสนองตอ่ การเปล่ียนแปลงสภาพภมู ิอากาศ  ความรว่ มมือของประชาคมโลกในการลดปริมาณ กา๊ ซเรือนกระจก กว่า 60 ปีแล้ว ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่าปริมาณ CO2 ในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น จากน้ัน มาประชาคมโลก ก็เริ่มเปิดประเด็นหารือเรื่องโลกร้อนและผลกระทบที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2521 จนเกิดเป็นข้อตกลง มากมายที่นานาประเทศให้สัตยาบันว่าจะช่วยกันลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกให้น้อยลง ลองมาย้อนดลู ำดบั ความเคลอ่ื นไหวทส่ี ำคัญของโลกตอ่ สถานการณ์ “การเปลยี่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศ” ➢ พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ประเด็นโลกร้อนเริ่มต้นเมื่อนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ชอื่ Charles David Keeling ค้นพบวา่ ความเขม้ ข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม จากการเก็บข้อมูลบรรยากาศเหนือภูเขา Moana Loa ในรฐั ฮาวาย หลงั จากนนั้ จงึ เริ่มมกี ารศึกษาวิจยั เรือ่ ยมา ➢ พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกประชุมหารือเรื่องโลกร้อน และผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้น และนำเสนอผลการประชุมต่อ World Climate Program ภายใต้สังกัดองค์การ อุตนุ ิยมวิทยาโลก และโครงการสงิ่ แวดล้อมแหง่ สหประชาชาติ เพื่อหาทางแก้ไข ➢ พ.ศ. 2531 (ค.ศ. 1988) องค์การอุตุนิยมวิทยาโลกร่วมกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง สหประชาชาติก่อตั้ง “คณะกรรมการระหว่างรัฐว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” (Intergovernmental Panel on Climate Change : IPCC) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง กบั ผลกระทบและมาตรการในการรบั มือ ➢ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) IPCC เผยแพรร่ ายงานฉบับที่ 1 (The First Assessment Report of the Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC AR1) ยืนยันถึงผลกระทบที่จะเกิดข้ึน จากการเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศและเรียกรอ้ งนานาชาตใิ หม้ ีขอ้ ตกลงรว่ มกันในการแก้ไขปญั หา ➢ พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) วันที่ 9 พฤษภาคม 2553 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วย การเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ได้รับ การรับรอง และเปิดให้แต่ละประเทศให้สัตยาบันระหว่างการประชุม Earth Summit ในเดือนมิถุนายน 2535 ณ กรุงรโิ อ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในการประชุมครง้ั นนั้ มี 154 ประเทศที่ลงนาม ➢ พ.ศ. 2537 (ค.ศ. 1994) อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2537 ปัจจุบัน มีประเทศที่เข้าร่วม เป็นภาคีทั้งสิ้น 196 ประเทศ (ข้อมูลวันที่ 2 ตุลาคม 2558) ประเทศไทยให้สัตยาบัน เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม สาระสำคัญของอนุสัญญาฯ คือ ประเทศพัฒนาแล้วจะต้อง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้อยู่ในระดับที่ปล่อยในปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990) ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) แต่ไม่ได้มกี ารบงั คบั เป็นการดำเนนิ การโดยสมัครใจ

➢ พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) การประชุมสมัชชาประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 1 (Conference of Parties : COP1) เสนอให้มกี ารทบทวนพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ ในขณะที่รายงานฉบับที่ 2 ของ IPPC ชี้ให้เห็นว่าก๊าซเรอื นกระจกมปี ระมาณเพิ่มขึ้นและเชื่อว่ามนุษย์มีส่วนทำให้สภาพภมู ิอากาศของโลก เปลีย่ นแปลง ➢ พ.ศ. 2540 (ค.ศ. 1997) ที่ประชุม COP3 ให้การรับรองพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม สาเหตุสำคัญ ที่ต้องจัดทำพิธีสารฉบับดังกล่าว เพราะการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ภาคีสมาชิกไมเ่ ปน็ ตาม เปา้ ทว่ี างไว้ จงึ จำเป็นตอ้ งมีการทบทวนพันธกรณีและกำหนดมาตรการท่ีละเอียดรัดกุม มากขน้ึ สาระสำคญั ของพธิ ีสารเกยี วโต คือ ภายในปี พ.ศ. 2551–2553 ประเทศทพ่ี ัฒนาแลว้ ต้องลดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจก เฉลี่ยร้อยละ 5 ของปริมาณการปล่อยเมื่อปี พ.ศ. 2533 ส่วนประเทศกำลังพัฒนา ไมม่ พี นั ธกรณีต้องลด กา๊ ซเรือนกระจก สามารถดำเนนิ การลดโดยสมคั รใจ ➢ พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) IPCC เผยแพร่รายงานฉบับที่ 3 ยืนยันว่า ร้อยละ 66 ของสาเหตุ ที่ทำให้เกิด ภาวะโลกร้อนในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ และในการประชุม COP7 มีการจัดตั้ง กองทุนเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการรับมือผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพ ภูมอิ ากาศ ในปเี ดยี วกันน้ี สหรัฐอเมรกิ าถอนตวั ไม่ใหส้ ัตยาบนั ในพิธีสารเกียวโต เนื่องจากขดั แย้งกับหลักเกณฑ์ ที่ทาง วุฒิสภาของสหรัฐกำหนดไว้ต้ังแต่ พ.ศ. 2540 ว่าห้ามมิให้ประธานาธิบดีสหรัฐไปลงนามเป็นภาคี ในความตกลง ท่มี ไิ ดม้ ีพนั ธกรณใี ห้ทกุ ประเทศต้องลดการปลอ่ ยก๊าซเรอื นกระจก ➢ พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002) ประเทศไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ในฐานะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาซึ่งไม่มีพันธกรณีในการลดก๊าซเรือนกระจก แต่สามารถดำเนินการลด ก๊าซเรือนกระจก ตามความสมัครใจ จีนให้สัตยาบันในปีเดียวกันในฐานะประเทศที่ไม่ต้องลดก๊าซเรือนกระจก เพราะ ในเวลาน้ันจีนเป็นประเทศกำลังพัฒนา ➢ พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ และจะสน้ิ สดุ ในปี พ.ศ. 2555 มปี ระเทศท่ลี งนามและให้สตั ยาบนั จำนวน 192 ประเทศ ➢ พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) IPCC เผยแพร่รายงานฉบับที่ 4 (IPCC AR4) ระบุว่าประเทศ พัฒนาแล้ว ต้องลด การปล่อยก๊าซให้ได้ 25 – 40% จากระดับที่ปล่อยในปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) ให้ได้ภายในปีพ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) และประเทศกำ ลังพัฒนา ต้องลดการปล่อยก๊าซให้ได้15–30 % จากระดบั ทป่ี ลอ่ ยอย่ปู กติ (Business-as-usual) ใหไ้ ดภ้ ายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ➢ พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) การประชุม COP15 เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ค มีเป้าหมายเพื่อต่ออายุ พิธีสารเกียวโตหรือสร้างข้อตกลงใหม่ที่จะมาแทนที่พิธีสารเกียวโตซึ่งจะหมดอายุ ในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่การเจรจา ล้มเหลว โดยมติที่ประชุมขอให้ทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศ กำลังพัฒนาเสนอเป้าหมายในการลด ก๊าซเรือนกระจกตามความสมัครใจโดยมีการบันทึกไว้ใน Copenhagen Accord ซึ่งถือเป็นความถดถอยจาก พิธีสารเกียวโตซึ่งกำหนดตัวเลขเป้าหมายการลดก๊าซฯ สำหรับประเทศ

พัฒนาแล้วแบบมีผลบังคับ และมีการ สัญญาว่าประเทศพัฒนาแล้วจะให้เงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา 10,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในช่วง ปี พ.ศ. 2553-2555 (แต่ไม่ได้เป็นข้อบังคับ และยังไม่มีรายละเอียดว่า เงนิ จะมาจากไหน) รวมถงึ เป็นคร้ังแรก ทม่ี ีการกำหนดเปา้ หมายท่จี ะควบคมุ อุณหภูมิของโลกไมใ่ ห้เกนิ 2 องศา เซลเซียส ➢ พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) การประชุม COP16 เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก ตกลง ให้มีการบันทึกเป้าหมาย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี พ.ศ. 2563 ของประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา (สำหรับประเทศกำลังพัฒนาเรียกว่า เป้าหมายการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก ที่เหมาะสมของประเทศ หรือ Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs) อย่างเป็นทางการ ภายใต้อนุสัญญา UNFCCC รวมทั้งให้ตั้งกระบวนการรายงานและทบทวนการดำเนินการตามเป้าหมาย ที่แต่ละประเทศตั้งไว้ ซึ่งกระบวนการ จะแตกต่างกันระหว่างประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา ในส่วนประเด็นการเงิน ได้ก่อตั้งกองทุน Green Climate Fund เพื่อจัดการเงินช่วยเหลือจากประเทศพัฒนา แล้วไปยังประเทศกำลงั พัฒนา โดย ออกแบบรายละเอยี ดของกองทนุ ให้ได้ภายในการประชมุ COP ครัง้ ต่อไป ➢ พ.ศ. 2554 (ค.ศ. 2011) การประชุม COP17 จัดตั้งคณะทำ งานเฉพาะกิจ Durban Platform เพื่อจัดทำ ข้อตกลงฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้กับทุกประเทศสำหรับการดำเนินงานภายหลัง ปี พ.ศ. 2563 โดยกำหนด ใหก้ ารเจรจา ตอ้ งแล้วเสรจ็ ภายในการประชมุ COP21 ณ กรงุ ปารสี ประเทศฝรั่งเศส ➢ พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2512) การประชุม COP18 กรงุ โดฮา ประเทศกาตาร์ ที่ประชุมพจิ ารณา ต่ออายุพิธี สารเกียวโต ที่กำ ลังจะหมดอายุลงภายในสิ้นปี พ.ศ. 2555 ไปอีก 7 ปี (มีผลบังคับใช้ระหว่าง ปี พ.ศ. 2556-2563) เรยี กวา่ พันธกรณรี ะยะท่ี 2 อย่างไรกต็ าม มีเพยี ง 35 ประเทศทตี่ กลงเขา้ ร่วมในพันธกรณี ระยะที่ 2 นี้ โดยประเทศรัสเซีย ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และแคนาดา ซึ่งเป็นประเทศที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณมากไม่ได้เข้าร่วมด้วย โดยที่สหรัฐอเมริกา และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีปล่อยมลพิษมากที่สุดในโลก ไม่เข้าร่วมอยู่แล้ว (สหรัฐไม่ได้ให้สัตยาบันในพิธีสาร และจีนแม้ว่าจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากในปั จจุบัน แต่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาจึงไม่มีพันธะผูกพันในการลดก๊าซเรือนกระจกตามเงื่อนไขของพิธี สารเกียวโต) ทำใหพ้ นั ธกรณีระยะที่ 2 ของพิธีสารเกยี วโตครอบคลุมประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมแล้ว เพียงร้อยละ 11 ของที่ปล่อยทั่วโลก ถือได้ว่าเป็นปีที่พิธีสารเกียวโตหมดความสำคัญในฐานะกลไกการลด การปล่อยก๊าซฯ ของโลกอย่างเป็นทางการ ที่ประชุม COP18 ยืนยันที่จะจัดทำความตกลงฉบับใหม่ (เพื่อใช้ แทนพิธีสารเกียวโต) ภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และต้องมีผลบังคับทางกฎหมายกับ ทุกประเทศภาคี ในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) ➢ พ.ศ. 2557 (ค.ศ. 2014) IPCC เผยแพร่รายงานฉบับที่ 5 (IPCC AR5) ยืนยันว่ามนุษย์ เป็นสาเหตุหลัก ของปัญหาโลกร้อน และหากไม่ต้องการให้โลกร้อนเกิน 2 องศาเซลเซียสในปลายศตวรรษน้ี ปริมาณโควตาของ ก๊าซเรือนกระจกที่ทั่วโลกสามารถปล่อยได้จนถึงปลายศตวรรษเหลืออีกแค่ประมาณ 500 กิกกะตนั คาร์บอน

➢ พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) การประชุม COP21 กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีจุดมุ่งหมาย สำคัญที่จะสร้าง ข้อตกลงเพื่อเป็นกลไกระหว่างประเทศในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงขึ้นเกิน 2 องศา ภายในศตวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2100) ผลของการประชุมได้สร้างข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งระบุ ให้แต่ละประเทศกำหนด เป้าหมายโดยสมัครใจในการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับประเทศของตนเอง โดยคำนึงถึงความเป็นธรรม และเท่าเทียมภายใต้บริบทการพัฒนาที่ยังยืน และระบุว่าประเทศพัฒนา แล้วจะช่วยกันระดมทุนจำนวน 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2563 ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ดำเนนิ การในการลดการปล่อยกา๊ ซเรอื นกระจกและการปรับตวั ➢ พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) ในการประชุม COP24 มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติหลักเกณฑ์ ใหม่ตามข้อตกลงปารีส ที่ได้ลงนามกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 โดยประเทศภาคีสมาชิกจะใช้แนวทางเดียวกัน ในการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การจัดทำรายงาน และการยืนยันความคืบหน้าในการลดการปล่อยก๊าซ เรอื นกระจก สำหรับที่ผ่านมาประเทศไทยได้ดำเนินการลด CO2 มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในระยะแรกตามแผน การลดก๊าซ เรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (Nationally Appropriate Mitigation Action – NAMAs) ตั้งเป้า ลด CO2 ให้ได้ร้อยละ 7-20 ภายในปี พ.ศ. 2563 (จากระดับการปล่อยปกติในปี 2548) โดยอาศัย 4 มาตรการ สำคัญ คอื 1) การพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน หรือ พลงั งานทางเลือก 2) ปรับปรุงประสิทธิภาพ พลังงาน ในภาคอุตสาหกรรม ภาคพลังงาน ภาคขนส่ง และภาคการผลิตไฟฟ้า 3) การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ ในภาคขนส่ง และ 4) ระบบขนส่งที่ยั่งยืน จนถึงปี พ.ศ. 2559 ประเทศไทยสามารถลดก๊าซเรือนกระจก ได้เพิ่มขึ้นเป็น 45.68 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่า (MtCO2eq) คิดเป็นร้อยละ 1210 เกินกว่า เปา้ หมายทีต่ ้ังไวแ้ ล้ว อีกหนึ่งความท้าทายครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นภายใต้ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่กำหนดให้แต่ละ ประเทศเสนอเป้าหมายและแนวทางในการลด CO2 ภายหลังปี 2563 เพื่อช่วยกันลด อุณหภูมิเฉลี่ยของโลก ไม่ให้เกิน 2 องศาเซลเซียส ซึ่งประเทศไทยก็ได้ขานรบั และแสดงเจตจำนงในการลดกา๊ ซ เรือนกระจกเพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าลด CO2 ให้ได้ 20-25 เปอร์เซ็นต์ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุ เป้าหมายเช่นครั้งแรกที่ผ่านมา รัฐบาลได้กำหนดให้ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นนโยบาย สำคัญของประเทศ ที่ถูกระบุไว้ ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีการจัดทำแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลง สภาพภมู อิ ากาศ และแผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ปี พ.ศ. 2564-2573 ซง่ึ กรอบคดิ สำคัญ ที่ถูกนำ มาใช้เพื่อกำหนด มาตรการต่างๆในแผนลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ พอเพยี ง ซึง่ หน่ึงในมาตรการที่ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อให้บรรลเุ ป้าหมาย นั้นก็คือ การใช้ พลงั งานอยา่ งมี ประสิทธิภาพและส่งเสรมิ ให้มีการใชพ้ ลังงานทดแทนเพิ่มข้ึน

บทท่ี 4 “กจิ กรรมการเรยี นรู้ เพ่อื การปรบั ตัวกับการเปล่ียนแปลง สภาพภมู อิ ากาศเชงิ บูรณาการ”

บทท่ี 4 กิจกรรมการเรยี นรูเ้ พ่อื การปรบั ตัวกับการ เปล่ียนแปลงสภาพภมู อิ ากาศเชงิ บูรณาการ กจิ กรรมท่ี 1 กิจกรรมที่ 2 สืบสานตำนานเซยี ก วถิ ีวฒั นธรรมชาวนาเชือก การพฒั นาความรู้และทกั ษะ เพ่อื การปรับตัว กบั การเปล่ยี นแปลงสภาพภมู อิ ากาศเชงิ บรู ณาการ กจิ กรรมท่ี 3 กิจกรรมที่ 4 ออนซอนปทู ูลกระหม่อม ผลติ ภัณฑร์ กฟา้

การประยุกต์ใชแ้ อปพลเิ คชนั เพือ่ การพฒั นาการเรียนรู้ Mobile Application การใช้ประโยชน์ ข้อมูลแผนที่เพื่อการเกษตรแบบแม่นยำ ข้อมูลแผนที่ GIS ที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเกี่ยวกับงานการเกษตร รวมถึง การระบพุ ิกัดทางภมู ิศาสตร์ Thai Weather เป็นแอปฯ ทีแ่ จ้งว่าในวันรงุ่ ข้นึ ฝนจะตกท่ีไหน สามารถ ดูข้อมูลสภาพอากาศปัจจุบันและล่วงหน้าได้ไกลถึง 7 วัน พร้อมแจ้ง ข่าวสารเตือนภัย เส้นทางพายุ รายงานแผ่นดินไหว จากเรดาร์สภาพอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียม นอกจากน้ี ยังมีช่องทางเปิดให้ผู้ใช้งานในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถรายงานสภาพ อากาศในพื้นที่นั้นได้ด้วยตนเองให้ผู้อื่นได้รับทราบ โดยมี การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำจำนวน 12 หน่วยงาน พร้อมสำหรับการใช้งานในเชิงปฏิบัติได้แล้ว อย่างเป็นรูปธรรม โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลักที่หน่วยงานราชการและ เริ่มเปิดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านทางอุปกรณ์เคลื่อนที่บน ระบบ iOS และ Android เป็นแอปพลิเคชัน แสดงข้อมูลแผนที่เกษตร เพื่อการบริหารจัดการเชงิ รุก โดยแสดงข้อมูลทรัพยากรดิน เช่น ชุดดิน ความเหมาะสมของพื้นท่ี ในการปลูกพืชเศรษฐกิจและผลตอบแทนสุทธิ และการคาดการณ์ สภาพอากาศ 7 วัน เพ่ือการวางแผนการทำการเกษตร เป็นแอปพลิเคชัน ที่แสดงข้อมูลสภาพอากาศ ได้แก่ ทิศทาง ของฝน หิมะ ฟ้าคะนอง อุณหภูมิ เมฆ คลื่น และเส้นทางพายุ แบบทันเหตุการณ์ รวมถึงการคาดการณ์ทิศทางการเคลื่อนที่ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงสภาพคุณภาพอากาศ เช่น ความเข้มข้นของฝุ่น ล ะอองขน าดเล ็ก PM 2.5 ส ำห ร ับการ เตร ีย มพร ้อมร ับมือ กับเหตุการณ์ภยั พบิ ตั ิ เปน็ แอปพลเิ คชันของกรมควบคมุ มลพษิ ทแี่ สดงข้อมลู คณุ ภาพอากาศ ได้แก่ ฝ่นุ ละอองขนาดเลก็ เป็นแอปพลิเคชันขององค์การบรหิ ารจัดการกา๊ ซเรือนกระจก (องค์การ มหาชน) เพือ่ คำนวณการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากกจิ กรรม ในชีวติ ประจำวนั

ก. การเกดิ พายุ ข. ระดับความเขม้ ข้นของฝ่นุ ละออง ภาพท่ี 62 ตัวอย่างข้อมลู จาก Windy App

กิจกรรมท่ี 1 สบื สานตำนานเซยี ก - ระยะเวลา 6 ชว่ั โมง – สาระการเรยี นรู้ 1. เชือกหรือรกฟ้า ชอ่ื วทิ ยาศาสตร์ (Scientific Name): Terminalia alata Heyne ex Roth วงศ์ (Family): COMBRETACEAE (สมอ) สมุนไพรเชือก มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า เซือก เซียก (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) , ฮกฟ้า (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ), เชือก (สุโขทัย), กอง (สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, สงขลา), สพิแคล่ (กะเหรี่ยง- เชียงใหม่), ชะลีก (เขมร-บุรีรัมย์, เขมร-พระตะบอง), จะลีก (เขมร-บุรีรัมย์), คลี้ (ส่วย-สุรินทร์), ไฮ่หุ้นกร่ะ เคาะหนังควาย (ปะหลอ่ ง), หกฟ้า เปน็ ตน้ (บา้ งเรยี กวา่ \"ต้นรกฟา้ ขาว\" ในภาษาบาลเี รียกว่า \"ต้นอชั ชุนะ\") 1.1 ลกั ษณะ (Characteristics) เชือก จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดใหญ่ ลำต้นมีความสูงประมาณ 10-30 เมตร แตกกิ่งก้านสาขาตรงเรือนยอดของต้น แน่นทึบ เปลือกต้น มีสีเทาค่อนข้างดำและแตกเป็นร่องลึก และเป็นสะเก็ดทั่วไป ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด มีเขตการกระจายพันธุใ์ นประเทศเมยี นมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม และทุกภาคของประเทศไทย โดยพบได้ทั่วไป ตามป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) และป่าเต็งรัง (Mixed Forest) ที่ความสูงจากระดับนำ้ ทะเลต้ังแต่ 100-1,000 เมตร 1.2 ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Characteristics) ก.ตน้ (Stem) ข.ใบ (Leaf) ค.เปลอื ก (Bark) ง. ดอก (Flower) ภาพท่ี 63 เชอื ก ทีม่ า: https://medthai.com/รกฟ้า

ภาพท่ี 64 ต้นกล้า (Seedlings) ของเชอื ก ใบ (Leaf) ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามหรือเยื้องกันเล็กน้อย ใบเป็นสีเขียว ใบอ่อนมีขน สีน้ำตาลทั้งสองด้าน ปกคลุมอยู่ประปราย เมื่อใบแก่ขึ้นขนนี้จะหลุดร่วงไป ลักษณะของใบรกฟ้าเป็นรูปมน รี รูปขอบขนาน หรือรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ปลายใบมนเป็นติ่งทู่ ๆ ยาวออกมาเล็กน้อย โคนใบมนหรือเบี้ยว ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ด้านหลังใบจะมีต่อมคล้ายหูดประมาณ 1-2 ต่อม เส้นผ่านศูนย์กลาง ของต่อมมีขนาด 1.5-2.5 มิลลิเมตร ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-12 เซนติเมตร และยาวประมาณ 6-25 เซนติเมตร ก้านใบผิวเรียบ กิ่งอ่อนมีขนนุ่มปกคลุม โดยจะทิ้งใบในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือ นเมษายน และจะผลใิ บใหม่ในช่วงเดือนมถิ นุ ายนพรอ้ มกบั ตาดอก ดอก (Flower) ก่อนจะออกดอก เชือก จะผลัดใบออกหมดก่อนแล้วดอกจะแตกออก เป็นสีขาวสะพร่งั เต็มตน้ โดยจะออกดอกเป็นช่อ ๆ และมีขนาดเล็ก กา้ นช่อดอกยาวประมาณ 7-15 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกย่อยยาวประมาณ 1-2.5 มิลลิเมตร ดอกย่อย มีสีขาวหรือสีขาวอมเหลือง เมื่อดอกย่อยบานเตม็ ที่ จะมีขนาดกว้างประมาณ 3-4 มิลลิเมตร เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบรองกลีบดอก โคนกลีบเชื่อมติดกัน เป็นรปู ถ้วย มขี นทงั้ สองดา้ น กลบี รองกลีบดอกมี 5 กลีบ สเี ขียวแกมขาว ปลายแยกเปน็ 5 พู กลบี มีขนาดกว้าง ประมาณ 0.7-1 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 1-2 มิลิเมตร กลีบเลี้ยงไม่ร่วงติดไปพร้อมกับผล ไม่มีกลีบดอก ดอกมีเกสรเพศผู้ 10 อัน ขนาดเล็กแยกกัน ก้านชูอับเรณู มีสีขาว ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร อับเรณูเป็นสี เหลือง ส่วนเกสรเพศเมียมี 1 อัน รังไข่ Inferior Ovary สีเขียว ยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีขนเล็กสขี าวปก คลุม ก้านเกสร 1 อัน สีขาวยาว 2-3 มลิ ลิเมตร ยอดเกสรเป็นตุ่ม สเี ขยี วออ่ น ผล (Fruit) ผลเป็นแบบผลแห้งและแข็ง มีลักษณะเป็นรูปรี มีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร มีปีกหนาและเป็นมันกว้างกว่าผลประมาณ 5 เซนติเมตร มเี สน้ ปีกลากจากแกนกลางไปยงั ขอบปกี ในแนวราบเป็นจำนวนมาก ภายในผลมเี มลด็ อยู่ 1 เมล็ด 1.3 การขยายพันธุ์ (Reproduction) เก็บเมล็ดพันธุ์ ใส่ตะกร้าหรือกระจาด คลุมด้วยฟาง รดน้ำเช้าและเย็น พออายุได้ 7 วัน จะงอกและเติบโต จากนนั้ นำไปปลูกในถงุ ดำ โดยใช้ดินผสมทเ่ี ตรยี มไว้แล้ว กดใหแ้ น่นและเอาไวใ้ นรม่ ประมาณ 1-2 เดอื น หลงั จากน้นั ยา้ ยปลกู ในหลุม ขนาด 30x30 ซ.ม.

1.4 สรรพคุณ (Property) ➢เปลอื ก นำมาต้มกับนำ้ กนิ เป็นยาบำรุงหัวใจ (เปลือก) ➢ราก ใชเ้ ป็นยาขบั เสมหะ (ราก) ➢เปลือก นำมาต้มกบั นำ้ กินเปน็ ยารักษาอาการทอ้ งรว่ ง อาเจียน (เปลอื ก) ➢เปลอื ก นำมาตม้ กบั นำ้ กนิ เปน็ ยาขับปสั สาวะ (เปลือก) ➢เปลือก ใชภ้ ายนอกเป็นยาห้ามเลือด และใชช้ ะลา้ งบาดแผล (เปลอื ก) ➢ลำต้น ใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้กระษัยเส้น (อาการผิดปกติของสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกาย และเส้นเอ็น มีอาการหลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบปวดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นตามส่วนต่าง ๆ ของรา่ งกาย โดยเฉพาะต้นขาและท้อง) (ลำตน้ และท้งั ตน้ ) 1.5 ขอ้ มลู ทางเภสัชวิทยา (Pharmacological Information) สารสกัดด้วยเมทานอลจากใบและลำต้นแห้งที่ความเข้มข้น 200 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ของเชื้อไวรัสเอดส์ได้ (HIV–1 REVERS TRANSCRIPTASE) สารสกัดด้วย แอลกอฮอล์ 50% จากเปลือกต้นรกฟ้า มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตในสุนัขได้ ในด้านของความเป็นพิษพบว่า สมนุ ไพรชนดิ น้ีมีความเป็นพิษ แต่ถ้าหากใหส้ ารสกดั ดงั กล่าวในขนาด 100 มลิ ลกิ รมั ต่อ 1 กิโลกรมั ไมม่ ีพิษ 1.6 ประโยชน์ (Benefits) ➢ไมเ้ ชือก เปน็ ไมเ้ นอ้ื แข็ง ขัดชักเงาไดด้ ี สามารถนำมาใช้ทำเฟอรน์ ิเจอร์ ดา้ มเครื่องมือตา่ ง ๆ เครอ่ื งกลงึ และแกะสลกั หรอื ใช้ทำพ้นื บา้ น ฝาบา้ น รอด ตง คาน เสา ไม้บผุ นงั ฯลฯ ➢เปลือกตน้ ใหน้ ้ำฝาด คนเก่าแกด่ ้งั เดิมของไทยนยิ มนำมาใช้สำหรับฟอกหนงั สตั ว์ ➢เปลอื กตน้ ใช้ย้อมสีผา้ ได้ โดยจะให้สนี ำ้ ตาลเขม้ หรือสดี ำ การยอ้ มสีจากเปลือกเชือก ทำได้ ดว้ ยการแช ➢เปลอื กตน้ เชอื ก ในปรมิ าณพอสมควร ทิ้งไว้ประมาณ 3 วัน แลว้ ต้ังไฟตม้ ใหเ้ ดือดจนเห็นว่า สีออกหมดดีแล้ว หลังจากนั้นให้เทน้ำย้อมใส่ลงในอ่างย้อมหมักแช่ไว้ 1 คืน นำเปลือกไม้ไปผึ่งแดดให้แห้ง เก็บไว้ใช้ต่อไป โดยสีเปลือกไม้เชือกน้ี ถ้าถกู ตม้ จะกลายเปน็ สดี ำ 2. การจดั การขยะ (Waste Management) ขยะถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด ที่เราหลงลืมและมองข้ามว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่สังคงต้องเป็นผู้แก้ไข แต่จริง ๆ แลว้ ตวั เราเองก็สามารถจดั การกับมันได้โดยงา่ ย ขยะหรือมูลฝอย คือ เศษกระดาษ เศษผ้า เศษอาหาร เศษสินค้า เศษวัตถุ ถุงพลาสติก ภาชนะ ที่ใส่อาหาร เถ้า มูลสัตว์ ซากสัตว์หรือสิ่งอื่นใดที่เก็บกวาดจากถนน ตลาด ที่เลี้ยง หรือที่อื่น และหมายความ รวมถึงมูลฝอยตดิ เชอ้ื มลู ฝอยท่ีเปน็ พิษ หรืออันตรายจากชุมชน นอกจากนี้ การจัดการขยะที่ถูกต้องนน้ั จะชว่ ยลดการปลดปล่อยการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยวธิ ีการทด่ี ีทส่ี ดุ คอื การลดการเกดิ ขยะ

2.1 ประเภทของขยะ โดยทั่วไป เรา สามารถแบ่งขยะ ได้เปน็ 4 ประเภท 1. ขยะอินทรยี ์หรอื มลู ฝอยย่อยสลาย คือ ขยะทเ่ี นา่ เสยี และยอ่ ยสลายได้เร็ว สามารถนำมา หมกั ทำปุ๋ยได้ เชน่ เศษผกั เปลือกผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้ เศษเนอื้ เปน็ ตน้ 2. ขยะรีไซเคิลหรือมูลฝอยทีย่ ังใช้ได้ คือ ของเสียบรรจภุ ัณฑ์ หรือวัสดุเหลือใช้ ซึ่งสามารถ นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น แก้ว กระดาษ กระป๋องเครื่องดื่ม เศษพลาสติก เศษโลหะ อลูมิเนียม ยางรถยนต์ กล่องเครือ่ งดมื่ แบบ UHT เปน็ ตน้ 3. ขยะทั่วไปหรือมูลฝอยทั่วไป คือ ขยะประเภทอื่นนอกเหนือจากขยะย่อยสลาย ขยะรีไซเคิล และ ขยะอันตราย มีลักษณะที่ย่อยสลาย และไม่คุ้มค่าสำหรับการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ห่อพลาสติกใส่ขนม ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก พลาสติก ห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก เป้อื นเศษอาหาร โฟมเปอ้ื นอาหาร ฟอลย์ เปื้อนอาหาร เป็นตน้ 4. ขยะอันตราย หรอื มลู ฝอยอนั ตราย คอื ขยะท่มี อี งคป์ ระกอบหรือปนเปื้อนวัตถุอันตราย ชนิดต่างๆ ซึ่งได้แก่ วัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุออกซิไดซ์ วัตถุมีพิษ วัตถุที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกัมมันตรังสี วัตถุ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม วัตถุกัดกร่อน วัตถุที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง วัตถุอย่างอ่ืน ไม่ว่าจะเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้เกิดอันตราย แก่บุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ่านไฟฉาย หลอดฟูออเรสเซนต์ แบตเตอรี่ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ภาชนะบรรจุสารกำจัดศัตรูพืช กระป๋อง สเปรยบ์ รรจุสหี รอื สารเคมี เป็นตน้ การเปลี่ยนจากขยะไร้ค่ามาเป็นเงิน ปัจจุบัน ได้กลายเป็นอาชีพๆ หนึ่ง คือ อาชีพรับซื้อของเก่า ซ่งึ รับและขายสง่ ตามโรงงานเพ่ือนำไปแปรรปู กลับมาเป็นผลติ ภัณฑ์ใหม่ แต่ราคาที่ซื้อขายกันนั้นจะแตกต่างกัน ไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด ทั้งนี้ วิธีการแยกประเภทวัสดุรีไซเคิล เพื่อขายให้ได้ราคาดี ทำได้ง่าย ๆ ดงั นี้ ตารางที่ 5 การเพ่มิ มูลค่าของขยะ ประเภท ประเภททีข่ ายได้ วธิ ีเกบ็ ราคา (บาท) /กก.* กระดาษ - กระดาษหนงั สือพิมพ์ คดั แยกเป็นประเภทและมัดให้ กระดาษขาว 7.4 บาท เรียบรอ้ ยเวลาจำหน่ายจะได้ กลอ่ งกระดาษ 5.3 บาท - กระดาษสมุด ราคาท่ดี ีกวา่ เน่อื งจากกระดาษ กระดาษหนังสือพิมพ์ 5 บาท แตล่ ะประเภทมรี าคารบั ซ้อื ที่ เศษกระดาษ 2.3 บาท - หนังสอื , นติ ยสาร แตกตา่ ง - กระดาษกล่อง - กระดาษขาว-ดำ - แผน่ พบั พลาสตกิ - ภาชนะพลาสตกิ บรรจยุ า ถอดฝาขวด ริน/เท ของเหลวท่ี พลาสตกิ ขวดน้ำใส 15 บาท บรรจภุ ายในออกทำความ พลาสตกิ ขวดนำ้ ข่นุ 24 บาท สระผม ครมี อาบน้ำ สะอาดจากนั้นทำใหแ้ บนเพอื่ ถุงพลาสติก 4 บาท ประหยดั เนือ้ ท่ี และเกบ็ เศษพลาสติกรวม 9.5 บาท - ถงุ พลาสตกิ เหนยี ว รวบรวม แยกประเภทเปน็ พลาสติกสี - ถงั น้ำ กะละมงั ขาวขนุ่ และ พลาสติกอน่ื ๆ เนื่องจากพลาสตกิ แตล่ ะ - ขวดนำ้ มนั พืชหรือขวด ประเภทมรี าคาแตกตา่ งกนั น้ำด่ืมชนิดใส - บรรจุภณั ฑ์ที่มเี ครื่องหมาย รีไซเคิล -ขวดน้ำพลาสติกสขี าวขุ่น

ประเภท ประเภททข่ี ายได้ วธิ ีเกบ็ ราคา (บาท) /กก.* แกว้ - ขวดหรอื ภาชนะแกว้ สำหรบั ถอดฝารนิ /เทของเหลวทบ่ี รรจุ แก้ว 1 บาท, ขวดนำ้ ปลา 0.6 บาท บรรจอุ าหาร เครอ่ื งดื่มทุก ภายในออกทำความสะอาด , ขวดและกล่องเบียรล์ ีโอ7 บาท/ โลหะ/อโลหะ ชนิดท้ังที่มสี ีใส เขยี ว และ และเกบ็ รวบรวม กล่อง, ขวดและกล่อง เบียรช์ ้าง 8 นำ้ ตาล บาท/กลอ่ ง, และกลอ่ งเบยี รส์ งิ ห์ 7 ริน/เท ของเหลวท่ีบรรจภุ ายใน กลอ่ ง, ขวดและกล่องเบียร์ - วัสดหุ รอื เศษเหล็กทกุ ชนดิ ออก ทำความสะอาด จากนั้น Hineken 13 บาท/กล่อง - กระป๋องบรรจอุ าหารทไี่ ม่ ทำใหแ้ บนเพอ่ื ประหยดั เนอ้ื ที่ กระปอ๋ งอลมู ิเนยี ม 50 บาท เป็นสนิม และเก็บรวมรวม อลมู เิ นียม 55 บาท - เครือ่ งด่มื ทีเ่ ป็นอะลมู ิเนยี ม เศษเหล็กหนา 11.35 บาท - ทองแดง ทองเหลือง เศษเหล็กหนา 10.35 บาท ตะกัว่ กระปอ๋ งกาแฟ 1 บาท 2.2 หลักการจัดการขยะ (Principle of Waste Management) 2.2.1 ลดการใช้ (Reduce) 1. ลดการขนขยะเข้าบ้าน ไม่ว่าจะเป็นถุงพลาสติก ถุงกระดาษกระดาษห่อของ โฟม หรือหนังสือพมิ พ์ เปน็ ตน้ 2. ใช้ผลิตภัณฑ์ชนิดเติม เช่น น้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม สบู่เหลว น้ำยารีดผ้า นำ้ ยาทำความสะอาดเครื่องสำอาง ถ่านชนิดชารต์ ได้ ฯลฯ 3. ลดปริมาณขยะมูลฝอยอันตรายในบ้าน หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีภายในบ้าน เช่น ยากำจัดแมลงหรือน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ ควรจะหันไปใช้วิธีการทางธรรมชาติจะดีกว่า อาทิ ใช้เปลือกส้ม แห้งนำมาเผาไล่ยงุ หรือ ใช้ผลมะนาวเพ่อื ดบั กลน่ิ ภายในห้องน้ำ 4. พยายามหลีกเลี่ยงการใช้โฟมและพลาสติกซึ่งกำจัดยาก โดยใช้ถุงผ้าหรือตะกร้า ในการจับจ่ายซื้อของ 2.2.2 ใช้ซำ้ (Reuse) 1. นำสิ่งของที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ถุงพลาสติกที่ไม่เปรอะเปื้อนเก็บไว้ใช้ใส่ของ อกี คร้งั หน่ึง หรือใช้เปน็ ถงุ ใสข่ ยะในบา้ น 2. นำส่ิงของมาดัดแปลงให้ใช้ประโยชน์ได้อีก เช่น การนำยางรถยนต์มาทำเก้าอี้ การนำ ขวดพลาสตกิ กส็ ามารถนำมาดดั แปลงเปน็ ที่ใส่ของ แจกัน การนำเศษผา้ มาทำเปลนอน เป็นตน้ 3. ใช้กระดาษทั้งสองหนา้ 2.2.3 การรีไซเคลิ (Recycle) เป็นการนำวัสดุที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ แก้ว พลาสติก เหล็ก อะลูมเิ นียม มาแปรรูป โดยกรรมวธิ ีต่าง ๆ นอกจากจะเปน็ การลดปริมาณขยะมูลฝอยแลว้ ยังเป็นการลดการใช้ พลังงานและลดมลพิษทเี่ กิดกบั สิ่งแวดล้อม ซ่งึ เราสามารถทำได้โดย 1. คดั แยกขยะรไี ซเคลิ แตล่ ะประเภท ได้แก่ แกว้ กระดาษ พลาสติก โลหะ/อโลหะ 2. นำไปขาย/บริจาค/ นำเข้าธนาคารขยะ/กจิ กรรม ขยะแลกไข่ 3. ขยะเหล่าน้ีก็จะเข้า สู่กระบวนการรไี ซเคลิ

2.3 กิจกรรมการนำขยะกลบั มาใช้ประโยชน์ ก่อนที่จะนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ ต้องมีการคัดแยกประเภท ขยะมูลฝอยภายในบ้าน เพื่อเป็นการสะดวกแก่ผู้เก็บขนและสามารถ นำขยะบางชนิดไปขายเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับตนเองและครอบครวั รวมทงั้ งา่ ยตอ่ การนำไปกำจดั อกี ด้วย โดยสามารถทำได้ดงั นี้ ภาพท่ี 65 แนวคดิ การจัดการขยะ ท่มี า: กรมส่งเสรมิ คณุ ภาพสิ่งแวดลอ้ ม (2563)

ตารางท่ี 6 การนำขยะกลับมาใชป้ ระโยชน์ ประเภท แยกวธิ ีใด นำไปใชป้ ระโยชน์ ขยะอินทรยี ์ ▪ คดั แยกอาหาร กิง่ ไม้ ใบไม้ ▪ รวบรวมเศษอาหารไวเ้ ลีย้ งสตั ว์ ออกจากขยะอน่ื ๆ ▪ นำเศษผกั ผลไมแ้ ละเศษอาหารไปทำขยะหอม ▪ จดั หาภาชนะท่ีมฝี าปิดเพอื่ หรือน้ำหมักจลุ ินทรยี ์ (EM) แยกเศษอาหาร ผัก ผลไม้ ▪ เศษกิ่งไม้ ใบไม้ ผสมกบั กากที่ได้จากการทำ ขยะหอมกลายเปน็ ปุ๋ยหมักอินทรีย์ ขยะรีไซเคิล แยกขยะรไี ซเคลิ ทขี่ ายได้ แตล่ ะ ▪ รวบรวมมาเข้ากิจกรรมของชุมชน ประเภทให้เปน็ ระเบยี บ เพ่ือ เชน่ ธนาคารขยะแลกแต้ม ขยะแลกไข่ สะดวกในการหยิบใช้ หรือจำหนา่ ย ธนาคารขยะ ผ้าปา่ รีไซเคิล เป็นต้น ▪ นำมาใชซ้ ำ้ โดยประยุกตเ์ ปน็ อุปกรณใ์ นบ้าน เชน่ ขวดนำ้ พลาสติกมาตดั เพอื่ ปลูกต้นไม้ กระป๋องนำ้ อัดลม ตดั ฝาใช้เป็นแก้วนำ้ ขวดแกว้ ขวดพลาสติกมาใส่กาแฟ เครอื่ งปรุง ตา่ ง ๆ หรือผงซกั ฟอกชนิดเติมได้ ฯลฯ ขยะอันตราย แยกขยะอนั ตราย ออกจากขยะ ขยะอันตรายบางประเภทสามารถนำกลบั มา (ขยะพิษ) อืน่ ๆ โดยในการคัดแยกต้อง แปรรูปใช้ใหม่ได้ เชน่ หลอดฟลูออเรสเซนต์ ระวังไม่ใหข้ ยะอนั ตรายสารเคมี แบบตรง แบตเตอรี่โทรศพั ท์เคลื่อนที่ ถา่ นชาร์จ ท่บี รรจุอยสู่ ัมผัสรา่ งกายหรือเขา้ ตา เป็นต้น แต่ปจั จบุ ันยงั ไม่มมี ลู ค่าพอท่จี ะขายได้ แตท่ า่ นสามารถชว่ ยปอ้ งกนั ปัญหาภาวะมลพิษ จากขยะได้ โดยรวบรวมนำไปกำจดั อย่างถูกวิธี 3. ดิน (Soil) ดิน ประกอบด้วยส่วนทีเ่ ป็น ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ในปริมาณและสัดส่วนทีแ่ ตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิทธิพลของปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดดิน 5 ปัจจัย ได้แก่ ภูมิอากาศ วัตถุต้นกำหนดดิน สภาพพื้นท่ี สง่ิ มชี วี ิต และระยะเวลาท่คี วบคมุ กระบวนการตา่ ง ๆ ที่เกิดขน้ึ ในดิน 3.1 ส่วนทเี่ ป็นของแข็ง ประกอบดว้ ย อนนิ ทรียวัตถุ อนิ ทรียวัตถุ และสงิ่ มีชีวิต 3.1.1 อนินทรียวัตถุ (Inorganic Matter) เปน็ สวนทมี่ ปี ริมาณมากท่สี ุดในดนิ ท่ัวไป (ยกเว้นดิน อินทรีย์) ได้มาจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่ มีขนาดแตกต่างกันไปทั้งที่มีขนาดเล็กกว่า 2 มิลลิเมตร ที่เป็นอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว และชิ้นส่วนหยาบที่มีขนาด 2 มิลลิเมตร หรือใหญ่กว่า อนินทรียวัตถุ เป็นส่วนที่สำคัญในการควบคุมลักษณะของเนื้อดิน เป็นแหล่งธาตุอาหารของพืช และของจุลินทรีย์ดิน ควบคมุ กระบวนการต่าง ๆ ทเี่ กดิ ขึ้นในดนิ 3.1.2 อินทรียวัตถุ (Organic Matter) อินทรียวัตถุในดิน เป็นส่วนของซากพืชซากสัตว์ที่ถูก ย่อยสลาย โดยจุลินทรีย์ดิน จะมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลาย เกิดเป็นสารประกอบอินทรีย์ต่าง ๆ ขึ้นมา มีความสำคัญต่อสมบัติทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ และความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร เช่น โครงสร้างดิน ความร่วนซุย การระบายน้ำ การถ่ายเทอากาศ การดูดซับน้ำและธาตุอาหารของดิน แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงซากพืช หรือเศษรากพืช หรอื สัตวท์ ่ียงั ไมม่ ีการย่อยสลาย


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook