Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore Guide for Green Youth

Guide for Green Youth

Published by konmanbong_k3, 2022-10-27 03:17:25

Description: 32.Guide for Green Youth

Search

Read the Text Version

Guide for คมู่ อื ขกอางรเดย�ำาเวนชนิ นกภจิ ากยรในรมมดหา้านวทิสง่ยิ แาวลดยั ลอ้ ม



สารบญั 4 บทท่ี 1 ท่มี า ความสำ�คัญ นิยามศัพท์ แนวทางตาม 56 กรอบแนวคิดการด�ำ เนินงาน การเช่ือมโยงทางยทุ ธศาสตร์ 66 และเปา้ หมายดา้ นการพฒั นาอย่างย่งั ยนื 82 บทที่ 2 ขน้ั ตอนการดำ�เนินกจิ กรรมด้านสิง่ แวดลอ้ ม Green Youth บทท่ี 3 ขอ้ กำ�หนดการดำ�เนนิ กิจกรรมดา้ นส่งิ แวดล้อม Green Youth 89 ขอ้ ก�ำ หนดและเกณฑ์การใหค้ ะแนน โครงการด�ำ เนนิ งาน 91 ด้านสงิ่ แวดล้อม ภายในมหาวทิ ยาลยั Green Youth 96 แบบฟอรม์ ใบสมัคร แบบฟอร์มการขอรบั การสนบั สนุนงบประมาณ 102 แบบฟอร์มรายงานสรุปผลการดำ�เนินกิจกรรมดา้ นสิ่งแวดลอ้ ม 106 ของเยาวชนภายในมหาวทิ ยาลยั (Green youth) ภาคผนวก ตวั อยา่ งระเบยี บชมรม/ธรรมนญู ชมรม Best Practice “Green Youth Project”

บทที่ 1 ท่ีมา ความสำ�คัญ นิยามศัพท์ แนวทางตามกรอบแนวคิดการด�ำ เนินงาน การเช่ือมโยงทางยทุ ธศาสตร์ และเปา้ หมายด้านการพฒั นาอย่างยงั่ ยืน 4

หลกั การและเหตุผล “มหาวทิ ยาลยั ” คอื องคก์ รภาคประชาสงั คมองคก์ รหนงึ่ ที่มีความสำ�คัญอย่างยิ่งกับทุกภาคส่วนในสังคม เพราะ “นิสิต” “นักศึกษา” หรือ “เยาวชน” ที่จบการศึกษาจาก ระดับอุดมศึกษาถือเป็นบุคลากรสำ�คัญและฐานหลักของ การพัฒนาประเทศชาติ ซ่ึงสามารถกำ�หนดทิศทางใน การพัฒนาให้เป็นไปตามทิศทางใดทิศทางหน่ึง อย่างไรก็ดี ก า ร จ ะ จ บ ก า ร ศึ ก ษ า จ า ก ม ห า วิ ท ย า ลั ย โ ด ย ส ม บู ร ณ์ ไม่เพียงแต่จะต้องผ่านการพัฒนาคุณภาพทางด้านวิชาการ เท่าน้ัน แต่ยงั ต้องมจี รยิ ธรรม คณุ ธรรม ตลอดจนทักษะทาง สังคม อันเป็นส่ิงจำ�เป็นที่นักศึกษาควรได้รับการพัฒนา อย่างหลกี เลย่ี งไม่ได้ 5

แนวทางการศกึ ษาในระดบั อดุ มศกึ ษาทมี่ คี วามสมบรู ณ์ นักศึกษาไม่ควรจะมุ่งเรียนแต่ทางด้านวิชาการตามหลักสูตร เทา่ นนั้ การเข้าร่วมกิจกรรรมต่างๆ ท่ีถูกจดั ขนึ้ ท้งั ภายใน หรือ ภายนอกมหาวิทยาลัย ในรูปแบบกิจกรรมพิเศษ กิจกรรม ของคณะ ของภาควิชา หรือของกลุ่มชมรม ชุมนุมต่างๆ  ทเ่ี กดิ ขน้ึ ในมหาวทิ ยาลยั ถอื เปน็ สง่ิ จ�ำ เปน็ ทน่ี กั ศกึ ษาควรจะตอ้ ง เข้าร่วมด้วย เพราะส่ิงเหล่าน้ีล้วนเป็นพ้ืนฐานสำ�คัญ ของการได้รับประสบการณ์ในการทำ�งาน การแก้ปัญหา การมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอ่ืนๆ เพื่อฝึกทำ�งานเป็นระบบ กลุ่ม ตลอดจนได้พัฒนาทักษะทางสังคมอ่ืนๆ เพื่อเตรียม ความพร้อมตนเองต่อการดำ�เนินชีวิตภายหลังจากจบ การศึกษาระดับอุดมศึกษาแล้วได้อย่างดี ในปัจจุบัน กิจกรรมต่างๆ ท่ีเกิดข้ึนภายในมหาวิทยาลัย นอกเหนือจาก การศึกษาตามปกติแล้ว จะมีแนวทางให้เลือกหลายแบบ ตามความสนใจของนักศึกษา อาทิเช่น กลุ่ม หรือชมรม ชุมนุมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม โดยจะ มีนักศึกษาท่ีสนใจประเด็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติ ตลอดจนมิติสิ่งแวดล้อมด้านต่างๆ มารวมตัวกัน ในนามของกลุ่มหรือชมรม เพื่อดำ�เนินกิจกรรมที่เกี่ยวกับ การอนรุ กั ษ์ ไมว่ า่ จะเปน็ กจิ กรรมทดี่ �ำ เนนิ ภายในมหาวทิ ยาลยั หรือกจิ กรรมท่ถี ูกจัดขึ้นภายนอกสถาบนั กรมส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อม หน่ึงในหน่วยงาน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำ�คัญของเยาวชนที่กำ�ลัง เติบโตมาพร้อมกับการเปล่ียนแปลงของสภาพแวดล้อม ที่กำ�ลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และเป็นปัจจัยหนึ่งของ นโยบาย Thailand 4.0 ท่ีมุ่งเน้นเร่ืองการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ ท่ผี ่านมากรมส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อม 6

7

ได้ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมด้านส่ิงแวดล้อมของ ช ม ร ม อ นุ รั ก ษ์ ท รั พ ย า ก ร ธ ร ร ม ช า ติ แ ล ะ สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ต่ า ง ๆ   ใ น ส ถ า บั น อุ ด ม ศึ ก ษ า ท่ั ว ป ร ะ เ ท ศ ม า ต้ั ง แ ต่ ปี 2530-2546 กิจกรรมหลักนอกจากมุ่งพัฒนาศักยภาพ ทางแนวคิดและวิชาการส่ิงแวดล้อมแก่สมาชิกชมรมแล้ว ยังให้การสนับสนุนงบประมาณสำ�หรับใช้จัดกิจกรรม สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ต่ า ง ๆ   ข อ ง ช ม ร ม ผ่ า น ก า ร จั ด กิ จ ก ร ร ม แบบอาสาสมัคร และต่อมาได้พัฒนาการทำ�งานในรูปแบบ กิ จ ก ร ร ม ด้ า น สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม ภ า ย ใ น ม ห า วิ ท ย า ลั ย ภ า ย ใ ต้ แนวคิด Green Youth ตั้งแต่ปี 2559 ซ่ึงปัจจุบัน มีชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมในระดับ อุดมศึกษา ทั่วประเทศเป็นสมาชิกจำ�นวน 50 สถาบัน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษาภายในชมรมอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการดำ�เนินกิจกรรมด้าน สิ่งแวดล้อม และขยายผลสู่บุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ดำ�เนินการผ่านระบบกลุ่ม หน่วยงาน ชมรม ชุมนุมอนุรักษ์ฯ หรือการทำ�ให้บรรยากาศในมหาวิทยาลัยมีความปลอดภัย เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมและประหยัดพลังงาน อันก่อให้เกิด ผลดีต่อส่ิงแวดล้อมและชุมชน ท้ังยังเป็นการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมที่เป็นมิตรกับส่ิงแวดล้อมของเยาวชน โดยการ ขับเคลื่อนงานน้ันจำ�เป็นต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ครอบคลุมและต่อยอดกระบวนการทำ�งานอย่าง มีประสิทธิภาพเพื่อเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และขยาย เครือข่ายส่ิงแวดล้อมตามนโยบายท่ีร่วมกันวางไว้ เพื่อให้ เครือข่ายเยาวชนส่ิงแวดล้อมสามารถขับเคล่ือนการทำ�งาน รว่ มกนั ได้อย่างเปน็ ระบบและย่งั ยนื 8

เ พ่ื อ พั ฒ น า คุ ณ ภ า พ ข อ ง ง า น ดั ง ก ล่ า ว ใ ห้ ต อ บ สนองต่อวัตถุประสงค์ของโครงการ รวมถึงนโยบายของ กรมส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อม กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม การประเมินโครงการจึงเป็น กิจกรรมที่มีความสำ�คญั อยา่ งยงิ่ ในการบริหารโครงการ ทัง้ น้ี การประเมินโครงการเป็นกระบวนการหน่ึงที่สามารถสะท้อน ถึงข้อมูลการดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถนำ�มาใช้ ใ น ก า ร ป รั บ ป รุ ง ก า ร ดำ � เ นิ น ง า น ข อ ง โ ค ร ง ก า ร ใ ห้ มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำ�ให้ทราบข้อบกพร่อง จุดเด่น จุดด้อยของโครงการ และทราบว่าโครงการได้บรรลุ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายเพียงใด ตลอดจนช่วยให้ข้อมูล ท่ี จำ � เ ป็ น สำ � ห รั บ ก า ร นำ � ไ ป ใ ช้ ใ น ก า ร ตั ด สิ น ใ จ เ กี่ ย ว กั บ การดำ�เนินโครงการได้ท้ังในปัจจุบัน และการต่อยอด โครงการในอนาคต กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ�ข้อกำ�หนดและเกณฑ์การให้คะแนนโครงการ การดำ�เนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชน ภายใน มหาวิทยาลัย (Green Youth) เพื่อประเมินผลในการ ดำ�เนินงานว่าสามารถดำ�เนินการบรรลุตามเป้าหมาย และ หลักเกณฑ์มากน้อยเพียงใด รวมถึงสามารถนำ�ไปยกระดับ การทำ�งานและพัฒนาผลการดำ�เนินงานให้เป็นท่ีประจักษ์ หรือเป็นที่ยอมรับของสังคม ตลอดจนได้เสริมสร้างแรงจูงใจ ใหเ้ ยาวชนภายในมหาวทิ ยาลยั เขา้ มามสี ว่ นรว่ ม และกลายเปน็ พลงั ขบั เคลอ่ื นสง่ เสรมิ งานสงิ่ แวดลอ้ มใหม้ คี ณุ ภาพมากยงิ่ ขนึ้ 9

วัตถุประสงค์ 1. เพอ่ื เปน็ คู่มือการด�ำ เนินงาน ดา้ นสง่ิ แวดล้อมภายใน มหาวทิ ยาลยั (Green Youth) 2. เพอ่ื เปน็ แนวทางและองคค์ วามรู้ 3. เพอ่ื พฒั นาศกั ยภาพของ สำ�คัญของ Green Youth บคุ ลากรขององคก์ รเครอื ขา่ ย สำ�หรบั นักศึกษาและบุคลากร ใหม้ ที กั ษะ ความช�ำ นาญ ทเ่ี ก่ียวข้องในการด�ำ เนนิ และสามารถเปน็ ตน้ แบบทด่ี ี กิจกรรม Green Youth ดา้ นการด�ำ เนนิ กจิ กรรม ในระดับอุดมศึกษา สง่ิ แวดลอ้ มของเยาวชน ภายในมหาวทิ ยาลยั 10

ขอบข่าย องค์ประกอบของเกณฑ์โครงการกิจกรรมเครือข่าย เยาวชนด้านส่ิงแวดล้อม และการให้คะแนนจะพิจารณาถึง สภาพพื้นที่ กิจกรรม การปฏิบัติด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม ความรู้ความเข้าใจของจำ�นวนนักศึกษา ซ่ึงมีเกณฑ์การให้ คะแนนประเมินผลในแตล่ ะขอ้ ยอ่ ย น(Oยิ pาeมrศaพัtioทn์เชaิงlปDฏeิบfตัinิกitาiรon) 1. Green Youth หมายถึง กลุ่มเยาวชนในชมรมอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ของสถาบันอุดมศึกษาท่ีมี การดำ�เนินกิจกรรมต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม อันนำ�ไปสู่ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมท่ีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมบน พนื้ ฐานของการมีส่วนรว่ มของบคุ ลากรทกุ ระดับ 2. ชมรมอนรุ กั ษ์ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสิ่งแวดลอ้ ม หมายถงึ กล่มุ ชุมนมุ หน่วยงาน หรอื ชมรมในสถาบัน อุดมศึกษาที่ดำ�เนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร ธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม ทง้ั ภายในหรอื ภายนอกมหาวทิ ยาลยั 3. หลักเกณฑ์ หมายถึง ข้อกำ�หนดท่ี Green Youth จะต้องมีหรือ ตอ้ งปฏบิ ัติ 11

4. นโยบาย หมายถึง แถลงการณ์ของชมรมที่แสดงถึงทัศนวิสัย ความต้ังใจ มุ่งม่ันในการทำ�งานด้านจัดการสิ่งแวดล้อม ทสี่ อดคลอ้ งกบั หลักเกณฑข์ อง Green Youth 5. แผนงาน/เป้าหมาย ระดับพนื้ ฐานชมรม หมายถึง การวางแผนการดำ�เนินโครงการ/กิจกรรม และเป้าหมายการดำ�เนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของ ชมรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละ ปีงบประมาณ 6. การมสี ว่ นร่วม หมายถงึ การมีบุคคลภายนอกเข้ารว่ มด�ำ เนนิ กจิ กรรม ของชมรม อาทิ ชมรมอ่ืนๆ อบต. ทสจ. เทศบาล องค์กร ภาคเอกชน ฯลฯ 7. นวัตกรรม หมายถงึ  การน�ำ สง่ิ ใหมๆ่  อาจเปน็ แนวคดิ  กระบวนการ หรือส่ิงประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน หรือเป็นการ พัฒนาดดั แปลงจากของเดิมที่มอี ยูแ่ ลว้ ให้ทนั สมยั 8. การขยายผล หมายถึง นำ�องค์ความรู้ ความสำ�เร็จท่ีเกิดข้ึนไป เผยแพรส่ ชู่ มุ ชน หรอื โรงเรียนเครือขา่ ย 12

9. สิทธปิ ระโยชน์ส�ำ หรับชมรม 9.1 โล่แสดงระดับมาตรฐานการดำ�เนินกิจกรรม ดา้ นสิง่ แวดลอ้ มของเยาวชนในมหาวิทยาลัย 9.2 เข้าร่วมนำ�เสนอผลการดำ�เนินงานในเวที สง่ิ แวดลอ้ มในระดบั ต่างๆ 9.3 ได้รับการพิจารณาสนับสนุนการดำ�เนินงาน เพ่ือตอ่ ยอดกิจกรรม 10. แนวทางการตรวจประเมินโครงการดำ�เนินงานด้าน สง่ิ แวดลอ้ มของเยาวชนภายในมหาวทิ ยาลยั (Green Youth) 10.1 ประเมินจากเอกสาร ในเวทีการประชุมเครือข่าย เยาวชนดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มระดบั ประเทศ คณะกรรมการประเมนิ โครงการฯ จะพิจารณาตรวจสอบรายงานผลและเอกสาร หลักฐานต่างๆ ท่ชี มรมอนุรักษ์ฯ จัดเตรียมไว้ ตามข้อกำ�หนด เกณฑม์ าตรฐาน โครงการ Green Youth 10.2 ประเมินจากการนำ�เสนอ ผู้แทนนักศึกษาจาก ชมรมอนรุ กั ษ์ฯ น�ำ เสนอผลการด�ำ เนินงานต่อคณะกรรมการฯ ทง้ั น้ี จะพจิ ารณาพรอ้ มสมั ภาษณ์ ซกั ถามขอ้ มลู เพอ่ื คดั เลอื ก โครงการท่ดี ำ�เนินกิจกรรมด้านส่งิ แวดล้อมตามกรอบแนวคิด และขอ้ ก�ำ หนดเกณฑม์ าตรฐาน โครงการ Green Youth ทม่ี ี ผลงานเป็นรูปธรรม ได้ผลลัพธ์ของโครงการท่มี ีประสทิ ธภิ าพ เพอ่ื ท�ำ การลงพน้ื ทต่ี ดิ ตามประเมนิ ผล 13

10.3 ประเมินจากการลงพ้ืนท่ี การตรวจประเมิน ลงพน้ื ทจ่ี รงิ โดยการสงั เกต การสมั ภาษณ์ เพอ่ื สะทอ้ นใหเ้ หน็ กระบวนการท�ำ งานตามแผนงาน การตดิ ตามประเมนิ ผลตาม วัตถุประสงค์ ผลสัมฤทธ์ิของการดำ�เนินโครงการตามสภาพ จรงิ และพจิ ารณาใหค้ ะแนนตามเกณฑม์ าตรฐาน Green Youth เพอ่ื น�ำ ไปสกู่ ารมอบรางวลั เชดิ ชเู กยี รตใิ นล�ำ ดบั สดุ ทา้ ยตอ่ ไป 11. ระดบั เกณฑ์มาตรฐาน ระดบั การจัดการ เกณฑก์ ารประเมนิ โครงการด�ำ เนนิ งาน สิ่งแวดล้อม ดา้ นส่ิงแวดล้อมของเยาวชนภายใน ระดับทอง (ดเี ยี่ยม) มหาวิทยาลัย Green Youth ระดบั เงนิ (ดมี าก) ร้อยละ 85 ขึ้นไป ระดบั ทองแดง (ดี) ร้อยละ 75-84 ไม่ผ่านการรบั รอง ร้อยละ 60-74 ต่ำ�กวา่ รอ้ ยละ 60 12. กรอบแนวคิดโครงการท่ีขอรับการสนบั สนนุ การด�ำ เนนิ กจิ กรรมดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มภายในมหาวทิ ยาลยั Green Youth หากมกี ารประชมุ คดั เลอื กและปฏบิ ตั ใิ นแผนงาน ทม่ี คี วามเหมาะสมแลว้ กจิ กรรมของโครงการ ยงั สามารถเปน็ กจิ กรรมระดบั นกั ศกึ ษาทเ่ี ชอ่ื มโยงกบั เนอ้ื หาของการจดั อนั ดบั มหาวทิ ยาลยั สเี ขยี วโลก ยไู อ กรนี เมตรกิ ไดอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ อกี ทางหนง่ึ อยา่ งไรกต็ ามกจิ กรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ งกบั มหาวทิ ยาลยั สเี ขยี วโลก ยไู อ กรนี เมตรกิ มรี ายละเอยี ดทค่ี อ่ นขา้ งมาก ซง่ึ ใน หลายประเด็นต้องได้รับความร่วมมือ หรือการมีส่วนร่วมจาก 14

หลายภาคส่วนในมหาวิทยาลัย ท่นี ักศึกษาไม่สามารถดำ�เนิน การเองได้ ดงั นน้ั ส�ำ หรบั การด�ำ เนนิ กจิ กรรมดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม Green Youth จึงได้คัดเลือกประเด็นสำ�คัญท่ีเก่ียวข้อง นกั ศกึ ษาสามารถด�ำ เนนิ การไดด้ ว้ ยตนเองอยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ ซ่งึ ยังคงสอดคล้องกับประเดน็ ยอ่ ยในมหาวิทยาลัยสีเขียวโลก ยไู อ กรนี เมตรกิ ประกอบดว้ ย 15

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นกรอบแนวคิดการดำ�เนินการด้าน ใดๆ กิจกรรมของนักศึกษาไม่ควรดำ�เนินการตามสิ่งที่คิด ตอ้ งการจะดำ�เนินการเท่านัน้ นักศกึ ษาควรเริม่ ต้นจาก “การ ส�ำ รวจปญั หา” ของมหาวทิ ยาลยั หรอื ของชมรม ทชี่ ดั เจนกอ่ น ว่าในปัจจุบัน “มหาวิทยาลัย” หรือ “ชมรม” พบปัญหา สิ่งแวดล้อมใดที่ควรนำ�มา “คิด/วิเคราะห์/สังเคราะห์” และ นำ�ไปสู่ “การจัดการ – การปฏิบัติ” ท่ีเหมาะสม กิจกรรม ของนักศึกษาท่ีดำ�เนินการจึงจะสามารถตอบโจทย์ปัญหา ส่ิงแวดลอ้ มของมหาวทิ ยาลยั หรือของชมรมได้อย่างแทจ้ ริง 16

สว่ นขยายกรอบแนวคิดตามประเด็นส�ำ คัญ ของการด�ำ เนินกิจกรรม Green Youth ท่ขี อรับการสนบั สนุน 1. การบรโิ ภคท่เี ป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายในมหาวทิ ยาลัย การบรโิ ภคทเ่ี ปน็ มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ มภายในมหาวทิ ยาลยั เกีย่ วขอ้ งกบั การจัดการดา้ นอาหารและน้�ำ ดม่ื ทเ่ี กดิ ขนึ้ ภายใน มหาวิทยาลัย ซ่ึงหากพิจารณาโดยละเอียดแล้ว กิจกรรม ท่ีเกิดขึ้นควรคำ�นึงถึงวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม (Product Life Cycle) ของทั้งอาหารและนำ้�ด่ืม โดยใน วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตและ วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการขนส่ง บรรจุภัณฑ์หรือหีบห่อ และการจัดการของเสยี จากผลติ ภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม ทผี่ า่ นมากิจกรรมของนักศึกษาที่เกดิ ขนึ้ ในมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยได้คำ�นึงถึงสิ่งท่ีนำ�มาบริโภค หรือ ตวั ผลติ ภณั ฑม์ ากนกั แตม่ กั เกยี่ วขอ้ งกบั การค�ำ นงึ บรรจภุ ณั ฑ์ หีบห่อ หรือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่ก่อให้เกิดขยะ ตลอดจนกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดการหลังจากบริโภค ดงั นน้ั หากกจิ กรรมของนกั ศกึ ษาสามารถสรา้ งสรรคก์ จิ กรรม ท่ีเก่ียวข้องกับการมองถึงแหล่งท่ีมาของวัตถุดิบ เมนูอาหาร ทคี่ วบคมุ  ตลอดจนกระบวนการผลติ ทเี่ ปน็ มติ รกบั สงิ่ แวดลอ้ ม ไม่ว่าจะเป็นของแม่ค้าตามร้านค้า ร้านอาหาร หรือส่วนอื่นๆ ที่เกีย่ วข้อง ยอ่ มทำ�ให้ “การบริโภคที่เป็นมิตรกับสงิ่ แวดล้อม ภายในมหาวิทยาลัย” มีความสมบูรณ์ และสอดรับกับ วงจรชวี ิตผลิตภัณฑไ์ ดอ้ ย่างมปี ระสิทธภิ าพมากยิ่งข้ึน 17

ตวั อยา่ งโครงการ “การบรโิ ภคทเ่ี ป็นมติ รกับ สิ่งแวดลอ้ มภายในมหาวิทยาลยั ” 18

ลำ�ดับ ประเดน็ ชอื่ โครงการ คณุ ลกั ษณะส�ำ คัญ วตั ถุประสงค์ ท่ีเก่ยี วข้อง 1. การปรบั Every day ปฏิเสธการรับ ลดการใช้ เปลี่ยน say no to ถุงพลาสตกิ ถงุ พลาสตกิ ลดขยะ พฤติกรรม plastic เมอ่ื ซอื้ สินคา้ / เพื่อบรรเทาปัญหา ที่เป็นมิตรกบั bags ใชถ้ งุ ผ้าทดแทน โลกร้อน สิง่ แวดลอ้ ม 2. วัตถุดบิ ท่ี ตลาดนดั จ�ำ หนา่ ยผลติ ภณั ฑ์ สง่ เสรมิ ใหน้ กั ศกึ ษา เปน็ มติ รกับ ออร์แกนิค ออรแ์ กนคิ ค�ำ นงึ ถึงวัตถดุ บิ สิง่ แวดลอ้ ม ทุกวนั จนั ทร์ ท่ีเป็นมิตรกับ ของสัปดาห์ ส่ิงแวดล้อม 3. กระบวน นวัตกรรม ผลติ หรือใช้ เพ่ือแกไ้ ขปัญหา การผลติ ทดแทน บรรจภุ ัณฑท์ เี่ ป็น การจดั การขยะ พลาสติก มติ รกบั สง่ิ แวดลอ้ ม พลาสตกิ ทดแทนพลาสติก เชน่ ชานออ้ ย กาบหมาก ใบตอง ฯลฯ 4. ของเหลอื กระบอก นำ�กระบอกน้ำ� ใชบ้ รรจุภัณฑซ์ �้ำ ๆ จาก เกา้ ชวี ติ สว่ นตวั หรือ เปน็ การ Reuse ผลิตภณั ฑ์ กระบอกนำ�้ ของ ลดปญั หาขยะ รา้ นคา้ มาใสน่ �ำ้ ทซ่ี อ้ื ท่ปี ลายทาง ในมหาวิทยาลัย 19

2. การจัดการของเสยี ภายในมหาวทิ ยาลยั การจัดการของเสียในมหาวิทยาลัย ไม่ได้คำ�นึงถึง ของเสยี ทเ่ี กิดจากการทานอาหารเหลือเทา่ น้นั แตย่ ังสามารถ คำ�นึงถึงการจัดการขยะประเภทต่างๆ ท่ีเกิดขึ้นจากภาคส่วน ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในส่วนท่ีนักศึกษาเป็น ส่วนหน่ึงของปัญหา เป็นผู้ที่ทำ�ให้เกิด “ของเสีย” ไม่ว่าจะ ทางตรงหรือทางอ้อม  อย่างไรก็ตาม “ของเสีย” ท่ีเกิดข้ึน ควรมกี จิ กรรมทเ่ี กย่ี วขอ้ งเพอื่ สรา้ งการจดั การ ซง่ึ ควรค�ำ นงึ ถงึ - ของเสีย อันเกิดจากการทานอาหาร – นำ้�ด่ืมเหลือ โดยเฉพาะบรเิ วณโรงอาหาร : กระบวนการคดั แยกเศษอาหาร การนำ�เศษอาหารไปจัดการด้วยรูปแบบที่เหมาะสม การหา ถังแยกนำ้�ท่ีเหลือ เช่น น้ำ�แข็ง นำ้�ดื่ม และนำ�ไปจัดการต่อ เป็นตน้ - น้ำ�เสีย ท่ีเกิดจากกระบวนการผลิตอาหารหรือ ล้างจาน : มถี งั ดักไขมนั ตามรา้ นคา้ หรือผลิตถังดักไขมันจาก วสั ดธุ รรมชาติ และการน�ำ “ไขมันเก่า” มาท�ำ เปน็ เช้ือเพลิง - การจัดการขยะ จากกิจกรรมการเรียนการสอน หรือจากกิจกรรมของนักศึกษา : ของเสียหรือขยะท่ีเกิดจาก กิจกรรมการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย มีมากมายหลาก หลายประเภท หรือแม้แต่ขยะท่ีเกิดข้ึนจากกิจกรรมของ นักศึกษา ดังน้ันข้ึนอยู่กับความสร้างสรรค์ของนักศึกษา ที่จะจัดการของเสีย หรือขยะจากกิจกรรมเหล่าน้ันในรูปแบบ ทีเ่ หมาะสม 20

- การจัดการขยะเป็นพิษ : โดยทั่วไป “ขยะเป็นพิษ” 21 ที่เกิดข้ึนจากกิจกรรมต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย มักจะมีจำ�นวน ไม่มาก แต่ยังเป็นส่ิงท่ีเกิดขึ้นได้ อาทิ หลอดไฟ แบตเตอร่ี ห รื อ ห า ก เ ป็ น ภ า ค วิ ช า ที่ มี ค ว า ม เ ฉ พ า ะ เ จ า ะ จ ง ท่ี ต้ อ ง ใ ช้ สารเคมี หรือแม้แต่ขยะเป็นพิษจากสถานพยาบาล หรือ คณะแพทยศาสตร์ การจัดการท่ีเหมาะสมกับขยะประเภทนี้ จึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่ง และสถานที่จัดการขยะนั้น หรือ ทีท่ ง้ิ ขยะประเภทน้ี ตอ้ งตั้งอย่ใู นพนื้ ทท่ี เ่ี หมาะสมดว้ ยเช่นกัน - การน�ำ ของเสียกลบั มาใชใ้ หม่ : สว่ นใหญ่การจดั การ “ขยะ” ประเภทน้ี จะเก่ยี วขอ้ งกับการใชห้ ลัก “3 – 7 R” ไม่วา่ จะเป็น Reduce (ลดการใช้) Reuse (นำ�กลับมาใช้ใหม่) Repair (การซ่อมแซม) Recycle (รีไซเคิล) Rethink (การ คดิ ใหม่) Reject (การปฏิเสธ) และ Replace (การทดแทน) ซึ่งไมว่ ่าจะเป็น “R หรอื Re” ใด ๆ กต็ ามทีผ่ ู้ทำ�กิจกรรมนำ�มา เป็นหลักคิด ผู้นำ�กิจกรรมหรือนักศึกษา ควรมีความเข้าใจ เก่ียวกับ Re น้ัน ๆ ให้ถูกต้อง และควรตระหนักเสมอว่า Re ท่ีนำ�กลับมาใช้ใหม่ อาทิ Reuse ส่ิงท่ีผลิตขึ้นมาใหม่น้ันจะไม่ เปน็ “ขยะ” เสียเอง

ตวั อยา่ งโครงการ “การจดั การของเสยี ภายในมหาวิทยาลัย” 22

ลำ�ดับ ประเด็น ชื่อโครงการ คณุ ลักษณะส�ำ คญั วัตถุประสงค์ ทเี่ ก่ียวขอ้ ง 1. ของเสยี จาก น�้ำ แขง็ เหลอื รวบรวมนำ�้ แขง็ เก่ยี วขอ้ งกบั การ การทาน เพือ่ เธอ ทเ่ี หลอื จากการ จดั การนำ้�เสีย ให้เกดิ อาหาร – ดื่มน้ำ�ไว้ในจดุ เดียว คณุ คา่ และประโยชน์ น�ำ้ ด่ืม เพอ่ื นำ�ไปใช้รดนำ�้ มากยิ่งขนึ้ ตน้ ไม้ 2. การจัดการ หนา้ เดียว รวบรวมกระดาษ เพื่อนำ�กระดาษ ขยะ จาก ท�ำ ไรได้ ใชแ้ ลว้ (หน่ึงหนา้ ) ใช้แลว้ มาใช้ซ้ำ� กจิ กรรม และนำ�มาต่อกันให้ อย่างสรา้ งสรรค์ นกั ศกึ ษา กลายเปน็ แผน่ ใหญ่ เพื่อใช้ในบอร์ด กจิ กรรม 3. การจัดการ ถังรวมพลัง จุดรวบรวม การจัดการขยะพิษ ขยะเปน็ พิษ แบตเตอร่ี เพอ่ื น�ำ ที่เหมาะสม ไปสูก่ ารจดั การ ทเ่ี หมาะสม 4. กระบวนการ ไมม่ หี ลอด ขอความร่วมมอื ลดขยะประเภท 7R อกี ต่อไป กบั ร้านค้า ไมม่ กี าร “หลอด” ทีเ่ ป็น แจกหลอดพลาสตกิ ผลกระทบสำ�คญั ต่อส่ิงแวดล้อม 23

3. การเพิ่มพ้นื ทีส่ ีเขยี วในมหาวิทยาลัย โดยสว่ นใหญ ่ ในแนวคดิ ของผดู้ �ำ เนนิ กจิ กรรมโดยทว่ั ไป การเพ่ิมพ้ืนที่สีเขียว ย่อมหมายถึงการเพ่ิมพ้ืนท่ีดูดซับก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ หรือการเพ่ิมออกซิเจน ดังนั้นการปลูก ต้นไม้ยืนต้น ย่อมเป็นแนวทางที่มีความเหมาะสม เพราะ ไม้ยืนต้นจะมีเนื้อไม้จำ�นวนมาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เกิดการ กักเก็บคาร์บอน หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ผู้ดำ�เนิน กจิ กรรมยอ่ มตอ้ งไมล่ มื ค�ำ นงึ ถงึ “ชนดิ ” ของตน้ ไมท้ นี่ �ำ มาปลกู วา่ เปน็ ไมท้ อ้ งถนิ่ หรอื ไมต้ า่ งถน่ิ  หรอื ไมต้ า่ งถน่ิ ทร่ี กุ ราน หรอื ไม่ เพราะไมต้ ่างถน่ิ บางชนดิ อาจเป็นชนิดพนั ธ์ทุ ี่กอ่ ใหเ้ กดิ ปัญหา กับไม้ทอ้ งถิ่นไดเ้ ชน่ กนั 24

ไมเ่ วน้ แมแ้ ต่ การน�ำ ตน้ ไมท้ ม่ี กี ารคมุ้ ครองตามกฎหมาย อาทิ พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช มาปลูกเสริมในมหาวิทยาลัย ย่อมเป็นส่ิงท่ีต้องตระหนักถึงอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นผู้ดำ�เนิน กจิ กรรมควรด�ำ เนนิ การส�ำ รวจชนดิ พนั ธไ์ุ มต้ า่ งๆ ในมหาวทิ ยาลยั ให้ได้ข้อมูลมากที่สดุ เพ่อื ให้ไดข้ ้อมูลทเี่ หมาะสมอนั นำ�ไปสกู่ าร “คดิ กิจกรรม” ที่จะสรา้ งสรรคข์ ้นึ ตามวัตถุประสงค์ตอ่ ไป “พ้ืนที่สีเขียว” จึงเป็นแนวทางการดำ�เนินกิจกรรม ที่สามารถมีมุมมองได้หลากหลาย สิ่งใดที่จะเรียกว่า “พื้นที่ สีเขียว” ท่ีแท้จริงข้ึนอยู่กับผู้ดำ�เนินการจัดกิจกรรมน้ันๆ ว่ามีวัตถุประสงค์ส่ิงใด หากการจัดการเพ่ิมพ้ืนท่ีสีเขียว มี วตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื การบรรเทาปญั หาภาวะโลกรอ้ น พนื้ ทส่ี เี ขยี ว เพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ย่อมไม่ใช่การปลูกไม้ประดับตาม ชานระเบียง หรือการจัดเป็นสวนหย่อมขนาดเล็ก ตามมุม ตา่ งๆ ของอาคารในมหาวทิ ยาลยั เพราะสง่ิ เหลา่ นน้ั ไมส่ ามารถ บรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อนได้ (แต่อาจช่วยดูดซับมลพิษ ทางอากาศบางอย่าง) และเป็นกิจกรรมที่ “ไม่สอดคล้อง” กับการจัดการพื้นที่สีเขียวเพ่ือบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน อยา่ งแท้จริง ท้ังน้ี จึงขึ้นอยู่กับ “มุมมอง” “หลักคิด” “แนวทาง ปฏบิ ตั ”ิ และ “วัตถปุ ระสงค์” ของผดู้ ำ�เนนิ กิจกรรมที่แทจ้ รงิ ว่าการจัดการด้านการเพิ่มพื้นท่ีสีเขียวภายในมหาวิทยาลัย ผู้ดำ�เนินกิจกรรม มีวัตถุประสงค์ท่ีแท้จริงด้านใด และเม่ือมี การขยายผล เผยแพร่ความรู้ จะได้นำ�หลักการท่ีถูกต้องบอก กล่าวสู่กล่มุ เป้าหมายตา่ งๆ ได้อย่างเหมาะสม 25

ตวั อยา่ งโครงการ “การเพ่ิมพื้นทส่ี ีเขยี ว ภายในมหาวิทยาลัย” 26

ล�ำ ดับ ประเด็น ช่อื โครงการ คุณลักษณะส�ำ คญั วัตถปุ ระสงค์ ที่เกยี่ วข้อง 1. การสำ�รวจ ต้นไม้ ส�ำ รวจชนดิ พนั ธไุ์ ม้ เพอ่ื การจัดการ ชนิดพันธุไ์ ม้ ท่ีบา้ นฉนั (ต้นไมใ้ หญ)่ พืน้ ท่สี เี ขียว ในสถาบัน ในมหาวทิ ยาลยั เพอื่ ในมหาวิทยาลัยได้ ใหไ้ ด้ขอ้ มูลทีถ่ กู ตอ้ ง อย่างถกู ต้อง และ เหมาะสม ไม่นำ�ชนิดพนั ธ์ุ ต่างถน่ิ เขา้ มาปลกู ในสถาบนั 2. การเพมิ่ ชนดิ วันรักษ์ รณรงคใ์ ห้นกั ศกึ ษา เพ่ือเพิ่มชนิดพันธไ์ุ ม้ พันธ์ไุ ม้ใหญ่ ตน้ ไม้ ร่วมปลกู ต้นไม้ใหญ่ ทสี่ ามารถดดู ซบั กา๊ ซ ในสถาบนั ในพืน้ ทสี่ ถาบนั คาร์บอนไดออกไซด์ ภายในมหาวทิ ยาลยั 3. ปลูกพชื ผัก สวนครวั ปลูกชนิดพนั ธุ์ ลดการเดนิ ทางไป สวนครวั ร้วั กนิ ได้ ไมเ้ ลอื้ ยบรเิ วณรมิ รวั้ ซ้ือพชื ผักสวนครวั ในรัว้ สถาบนั สถาบัน ท่สี ามารถ ทต่ี ลาด ประหยัด ดแู ลไดอ้ ย่างทั่วถึง นำ้�มนั และลดมลพิษ ในอากาศ 4. การเพมิ่ ชนดิ ปลกู ปา่ รณรงคใ์ หน้ ักศกึ ษา เพ่ือเพมิ่ ชนิดพนั ธุไ์ ม้ พนั ธ์ุไมใ้ หญ่ ปลูกใจ ปลูกตน้ ไมใ้ หญ่ ทสี่ ามารถดดู ซบั กา๊ ซ นอกสถาบนั นอกพืน้ ท่สี ถาบนั คาร์บอนไดออกไซด์ แตต่ อ้ งอย่ใู นพืน้ ท่ี นอกมหาวทิ ยาลยั ที่มหาวิทยาลัย และสรา้ งการ มคี วามเกี่ยวขอ้ ง มสี ่วนรว่ มกับชุมชน ทางใดทางหนึง่ ภายนอก 27

28

4. การจัดการดา้ นพลังงานในมหาวทิ ยาลยั การใช้ “พลงั งาน” คอื สิง่ ทไ่ี มส่ ามารถหลีกเลย่ี งได้ ใน ทุกสังคมของประเทศและทั่วโลก โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า หรอื พลงั งานน�ำ้  ดงั นน้ั  การจดั การดา้ นพลงั งานในมหาวทิ ยาลยั จงึ รวมถงึ การจดั การดา้ นไฟฟา้ และการจดั การพลงั งานน�้ำ  ทใ่ี ช้ ในระบบสาธารณปู โภคตา่ งๆ ใหเ้ กดิ การใชอ้ ยา่ งมปี ระสทิ ธภิ าพ มากทส่ี ดุ มกี ารประหยดั น�ำ้ ประหยดั ไฟ ในแนวทางทเี่ หมาะสม และสร้างสรรค์ สามารถชี้วัดผลการดำ�เนินกิจกรรมได้อย่าง เป็นรูปธรรม อาจเป็นรูปแบบของหน่วยการใช้ไฟฟ้า หน่วย การใช้น้ำ� ตลอดจนจำ�นวนเงิน งบประมาณ ที่ประหยัดขึ้น ท่ีเป็นผลจากการดำ�เนินกิจกรรม หรือแม้แต่พฤติกรรม การใชน้ ้�ำ ใช้ไฟฟา้ ทีเ่ ปลยี่ นแปลงไปของนักศกึ ษา เป็นต้น 29

ตัวอยา่ งโครงการ “การจัดการด้านพลังงานภายในมหาวทิ ยาลยั ” 30

ล�ำ ดบั ประเดน็ ชื่อโครงการ คณุ ลักษณะสำ�คัญ วตั ถปุ ระสงค์ ทเี่ ก่ียวข้อง 1. การ สายตรวจ นกั ศกึ ษาบางคนของ เกีย่ วข้องกบั การ ประหยดั ไฟ พลงั งาน ชมรม มหี น้าทีต่ รวจ ประหยดั พลงั งาน หอ้ งเรยี น หรอื บางจดุ ไฟฟา้ ในพ้นื ท่ี ของมหาวทิ ยาลัย ท่เี หมาะสมของ และทำ�การปดิ ไฟ มหาวิทยาลัย เมือ่ ไมม่ ีใครใช้ 2. การเปลย่ี น แอล อี ดี เปลี่ยนหลอดไฟ ลดคา่ ไฟฟ้า ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ รักษ์โลก ในบางจุดของ ในสถาบนั ใหป้ ระหยัด มหาวิทยาลยั พลังงาน ใหเ้ ป็นหลอด (ไฟฟา้ ) ประหยัดพลังงาน 3. การเปลีย่ น ก๊อกนำ้� เปล่ียนหัวก๊อกนำ้� ลดคา่ น้�ำ ผลิตภณั ฑ์ อจั ฉรยิ ะ ในบางจุดของ ในสถาบนั ให้ประหยัด มหาวทิ ยาลัย ใหเ้ ปน็ พลังงาน ก๊อกประหยดั นำ้� (นำ้�) 4. การ สายตรวจ นักศึกษาบางคน เกยี่ วข้องกับการ ประหยดั นำ�้ พลงั งานนำ�้ ของชมรม มีหนา้ ท่ี ประหยัดนำ�้ ในพืน้ ที่ ตรวจกอ๊ กนำ�้ ตาม ท่เี หมาะสมของ จดุ ต่างๆ ที่เหมาะสม มหาวทิ ยาลยั ในมหาวทิ ยาลัย 31

การพัฒนาเยาวชนสคู่ วามยง่ั ยนื ด้านสิง่ แวดลอ้ ม ในยุคที่สังคมไทยก้าวเข้าสู้ยุคดิจิตอลอย่างเต็มตัว ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 การศึกษาถือเป็นเคร่ืองมือ สำ�คัญในการพัฒนาเยาวชนให้มีความพร้อมเพ่ือเป็นกำ�ลัง สำ�คัญในการขับเคล่ือนเศรษฐกิจและสังคมไทยสู่เวทีระดับ ภูมิภาคและระดับนานาชาติ สอดคล้องไปกับเร่ืองแนวคิด การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อมยุคใหม่ ซ่ึงเปลี่ยนจากสูตรตายตัวตามตำ�ราเป็นการเรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์และบทเรียนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ท่ีจะปรับไปตามความเหมาะสมของแต่ละพ้ืนที่ โดยเฉพาะ สรา้ งเครอื ขา่ ยในการแลกเปลยี่ นเรยี นรทู้ เี่ ปดิ โอกาสใหเ้ ยาวชน ได้มีโอกาสเรียนรู้และเติมเต็มความรู้ใหม่จากพ้ืนที่ต่างๆ อยู่เสมอ ซ่ึงจะเป็นประโยชน์ต่อการทำ�งานของเยาวชน ส่งิ แวดลอ้ มไดอ้ ย่างถูกตอ้ งเหมาะสม ในการจัดการสิ่งแวดล้อมทั่วประเทศ กรมส่งเสริม คุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ความส�ำ คญั กับ “การพฒั นาคน” โดย เร่ิมจากการสร้างจิตสำ�นึกให้กับ “เยาวชน” ด้วยการทำ�งาน กลุ่มและลงมือปฏิบัติจริง ท้ังภายในและภายนอกห้องเรียน เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ให้เยาวชนรู้จักใช้ รู้จักคิด รู้จักรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อที่จะมีกินมีใช้ในวันข้างหน้าอย่าง ย่ังยืน  วิธีการน้ี เป็นวิธีการท่ีดีที่สุดวิธีหนึ่ง เน่ืองจากเป็น การสร้างจติ สำ�นึกจากตน้ นำ�้ 32

แนวทางการสรา้ งเยาวชนอนุรกั ษ์สิ่งแวดลอ้ ม ต า ม แ ผ น ยุ ท ธ ศ า ส ต ร์ ด้ า น ก า ร พั ฒ น า เด็กและเยาวชนแห่งชาติ (พม.) และแผน ยุทธศาสตร์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ภายใต้การดำ�เนินงานของ กรมส่งเสริมคุณภาพส่ิงแวดล้อม มีสาระสำ�คัญ อันเก่ียวกับแนวทางการสร้างเยาวชนอนุรักษ์ สง่ิ แวดลอ้ ม ดงั นี้ แผนพฒั นาเดก็ และเยาวชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 : กระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมนั่ คงของมนุษย์ ยทุ ธศาสตรท์ ่ ี 1 การพัฒนาศกั ยภาพและสรา้ งภูมคิ ุ้มกนั เด็กและเยาวชน แนวทางท่ ี 1.7  พัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีจิตสำ�นึก มีทักษะการพัฒนา สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และมีความสามารถในการดำ�รงชีวิต ภายใตก้ ารเปลยี่ นแปลงของสภาวะแวดล้อมโลก 33

มาตรการ 1. เสริมสร้างจิตสำ�นึกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและมีส่วนร่วมใน การอนุรกั ษ์ทรพั ยากรธรรมชาติ 2. เสริมสร้างทักษะในการเตรียมความพร้อมรับมือ ภัยพิบัติแก่เด็กและเยาวชน เพ่ือให้สามารถดำ�รงชีวิตภายใต้ การเปล่ียนแปลงของสภาวะแวดล้อมโลก หน่วยงานรับผิดชอบหลกั : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย (องคก์ รปกครองสว่ นท้องถน่ิ ) กระทรวงการพัฒนา สงั คมและความมนั่ คงของมนษุ ย์ หนว่ ยงานภาคีสนับสนุน : ภาคีเครือข่าย ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา 34

แผนยทุ ธศาสตร์ ยทุ ธศาสตร์ท ี่ 1 การขบั เคล่ือน การปรบั ทศิ ทางการพัฒนาเมือง/ การพัฒนาเมือง/ชุมชน เพอื่ มงุ่ การเติบโตที่เปน็ ชุมชนใหไ้ ปส่กู ารเตบิ โตที่ มติ รกับสิ่งแวดล้อม เปน็ มิตรกับส่ิงแวดล้อมและ และสังคมคารบ์ อนตํ่า และแผนการดำ�เนนิ งาน เป็นสังคมคาร์บอนตำ่� ด้านสิ่งแวดล้อม แนวทางท่ี 1.4 อยา่ งยง่ั ยนื : ส�ำ นักงานนโยบาย สถาบันการศึกษาพัฒนาเยาวชน และแผนทรัพยากร ใหม้ ีขีดความสามารถ ควบคู่กับ ธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม การมคี วามรบั ผิดชอบตอ่ สังคม มาตรการ ดา้ นสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีกระบวนการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมให้กับ ผู้เรียน โดยการแทรกเน้ือหาและกิจกรรมเสริมท่ีเน้น การปลูกฝังจิตสำ�นึกความรับผิดชอบต่อสังคมด้าน ส่ิงแวดล้อม ลงในรายวิชาท่ีเกี่ยวข้อง เช่น รายวิชาหน้าที่ พลเมือง รายวิชาวิทยาศาสตร์และส่ิงแวดล้อมรอบตัว เป็นต้น สง่ เสรมิ ใหม้ กี ารรวมกลมุ่ หรอื กอ่ ตง้ั เปน็ ชมรมของนกั เรยี น เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ด้านการจัดการส่ิงแวดล้อม ที่ดี เชน่ ชมรมอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดลอ้ ม ชมรมจักรยานลดการใช้พลังงาน ชมรมอาสาพัฒนา ส่ิ ง แ ว ด ล้ อ ม ใ น โ ร ง เ รี ย น แ ล ะ ชุ ม ช น ก า ร จั ด ใ ห้ มี ธ น า ค า ร ข ย ะ ใ น โ ร ง เ รี ย น ก ลุ่ ม ก า ร เ รี ย น รู้ ก า ร ส ร้ า ง พลังงานทดแทนอย่างง่าย กลุ่มการปลูกและดูแล รักษาต้นไม้ภายในโรงเรียน เป็นตน้ 35

สนับสนุนให้โรงเรียนสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้าน การจัดการสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานภายนอก เพื่อให้ ผู้เรียนมีโอกาสในการเรียนรู้ด้านการจัดการส่ิงแวดล้อม ไดอ้ ยา่ งกวา้ งขวาง และจดั กจิ กรรมดา้ นสง่ิ แวดลอ้ มรว่ มกนั เช่น การร่วมจัดการขยะในชุมชนรอบโรงเรียน การแข่งขัน การจดั การสง่ิ แวดลอ้ มระหว่างโรงเรียน เปน็ ตน้ 36

การพัฒนาตาม เป้าหมายหลัก ท่ีสำ�คัญ มี แ น ว ท า ง ก า ร ส ร้ า ง เ ย า ว ช น ใ ห้ เ กิ ด ก า ร อ นุ รั ก ษ์ ส่ิงแวดล้อมดังนี้ 1. สร้างโอกาสให้เยาวชนมีพ้ืนที่แลกเปลี่ยน ความคดิ เหน็ เพอื่ พฒั นาความสามารถในการคดิ การวเิ คราะห์ การสงั เคราะห์ (Synthesis Thinking, Logical Thinking) 2. สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ บ ท เ รี ย น แ ล ะ ก ร ะ บ ว น ก า ร ทำ � ง า น ด้ า น สิ่ ง แ ว ด ล้ อ ม เพื่อเปิดโลกทัศน์ และการขยายแนวคิดการดูแลรักษา ทรัพยากรธรรมชาตแิ ละสง่ิ แวดลอ้ ม แนวทางดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนา การทำ�งานของเยาวชน เท่าทันกับการเปล่ียนแปลงและ ความเคลอ่ื นไหวในปจั จบุ นั ทั้งเชงิ องค์ความรู้และการบริหาร จัดการ นำ�ไปสู่การหนุนเสริมและประยุกต์ใช้ในการทำ�งาน ของเยาวชนสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและ มสี ่วนรว่ ม ในการจัดการทรพั ยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม ไดอ้ ย่างมีประสทิ ธภิ าพและยง่ั ยืน 37

แลดะคา้เปนวาา้สมห่งิ เมแชวา่อื ยดมGกลโr้อายeรมงeพกภnบัฒัาYยโคนoในuราองมthกยหา่าารงวดยิท�ำงั่ ยเยนานื ลินยังาน SDGs เรียบเรียงจาก http://www.un.or.th/ globalgoals/th/global-goals/ 38

From MDGs to SDGs เ นื่ อ ง จ า ก เ ป้ า ห ม า ย ก า ร พั ฒ น า แ ห่ ง ส หั ส ว ร ร ษ (Millen-nium Development Goals – MDGs) ไดส้ นิ้ สดุ ลง ในปี พ.ศ. 2558 ทางสหประชาชาติ หรอื United Nations (UN) จงึ ไดร้ เิ รม่ิ กระบวนการหารอื เพอ่ื ก�ำ หนดวาระการพฒั นา ภายหลงั ปี พ.ศ. 2558 (post-2015 development agenda) ตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาท่ีย่ังยืน” โดยประเด็นสำ�คัญ ของวาระการพัฒนาภายหลังปี พ.ศ. 2558 คือ การจัดทำ� เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ The Global Goals for Sustainable Development (SDGs) ซึ่งประกอบไปด้วย เปา้ หมายรวม 17 เปา้ หมาย ซ่ึงครอบคลุมประเดน็ ทางสังคม เศรษฐกจิ การศึกษา และสง่ิ แวดลอ้ ม อย่างไรก็ตาม การดำ�เนินงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใน มหาวทิ ยาลัย Green Youth สามารถเชอ่ื มโยงใหส้ อดคลอ้ ง กับเป้าหมายของ SDGs ในบางเป้าหมาย ซึ่งอยู่ในขอบเขต กจิ กรรมของนกั ศกึ ษา หรอื โครงการด�ำ เนนิ งานดา้ นสง่ิ แวดลอ้ ม ภายในมหาวิทยาลัย Green Youth สามารถดำ�เนินการได้ อาทิ เป้าหมายท่ี 6, 7, 12, 13, 14 และเปา้ หมายที่ 15 39

1. ขจดั ความยากจน (No Poverty) ขจดั ความยากจนทุกรปู แบบ ทกุ สถานท่ี ในทั่วโลก ผู้คนมากกว่า 800 ล้านคน ยังคงอยู่ได้ ด้วยเงินน้อยกว่า 1.25 ดอลลาร์ต่อวัน (น้อยกว่า 40 บาท) หลายคนยงั ขาดการเขา้ ถงึ อาหาร น�ำ้ ดม่ื ทส่ี ะอาดและสขุ อนามยั ท่ีเพียงพอ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วใน ประเทศ เช่น จีนและอินเดีย ได้ช่วยยกระดับประชากรออก จากความยากจน แต่ความเติบโตในเรื่องดังกล่าวก็ยังไม่มี ความสมำ่�เสมอเท่าใดนัก ประชากรผู้หญิงมีสัดส่วนท่ีอยู่ใน ความยากจนมากกว่าผู้ชาย เน่ืองจากการเข้าถึงที่ไม่เท่ากัน ในเร่อื งค่าแรงงาน การศกึ ษา และทรพั ยส์ ิน SDGs มีเปา้ หมายท่ีจะขจัดความยากจนในทุกรูปแบบ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2573 ซ่ึงเป้าหมายดังกล่าวเกี่ยวข้อง กับการกำ�หนดกลุ่มเป้าหมายท่ีอาศัยอยู่ในสถานการณ์ที่มี ความเสี่ยง ในการเข้าถึงทรัพยากรและการบริการขั้นพ้ืนฐาน รวมถงึ ชว่ ยเหลอื ชมุ ชนทไี่ ดร้ บั ผลกระทบจากความขดั แยง้ และ ภยั พบิ ตั ิทเี่ กยี่ วข้องกับสภาพภูมิอากาศ ความเชอ่ื มโยงกบั Green Youth : ไม่เกี่ยวข้อง 2. ขจัดความหวิ โหย (Zero Hunger) ขจัดความหวิ โหย บรรลุความม่ันคงทางอาหาร สง่ เสริมเกษตรกรรมอยา่ งยง่ั ยนื การเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ อยา่ งรวดเรว็ และผลผลติ ทางการเกษตรที่เพ่ิมข้ึนในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำ�ให้ 40

ได้เห็นสัดส่วนของประชากรท่ีขาดแคลนอาหารลดลงเกือบ ครึ่งหนึ่ง ประเทศกำ�ลังพัฒนาจำ�นวนมากที่เคยได้รับความ ทกุ ขจ์ ากความอดอยากและความหวิ โหย ซง่ึ ในขณะน ้ี ประเทศ เหล่านั้นสามารถให้ความช่วยเหลือทางโภชนาการแก่ผู้ด้อย โอกาสได้เป็นจำ�นวนมาก มีความคืบหน้าอย่างมากในเรื่อง การกำ�จัดความหิวโดยในภาคกลางและเอเชียตะวันออก ละตนิ อเมรกิ า และประเทศกลุม่ แคริบเบียน เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) มุ่งม่ันท่ีจะ ขจัดความหิวโหยและความอดอยากทุกรูปแบบ ให้แล้วเสร็จ ภายในปี 2573 เพอื่ ใหแ้ น่ใจวา่ ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยง่ิ เดก็ และผดู้ อ้ ยโอกาสจ�ำ นวนมาก ไดร้ บั การเขา้ ถงึ อาหารทเ่ี พยี งพอ และมคี ณุ คา่ ทางโภชนาการตลอดทงั้ ปี เปา้ หมายนย้ี งั เกยี่ วขอ้ ง กับการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืน การปรับปรุงชีวิต ความเป็นอยู่และกำ�ลังการผลิตของเกษตรกรรมขนาดเล็ก ท่ีช่วยให้เข้าถึงแหล่งที่ดินทำ�กิน เทคโนโลยีและการตลาด อย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ความร่วมมือระหว่างประเทศก็ เป็นส่ิงสำ�คัญที่สร้างความเช่ือมั่นในการลงทุนในโครงสร้าง พ้ืนฐานและเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เราจะ สามารถยุติความอดอยากและความหิวโหยได้ภายในปี 2573 โดยด�ำ เนินการรว่ มกบั เปา้ หมายอ่นื ๆ ทีก่ �ำ หนดไว้ ความเชื่อมโยงกบั Green Youth : ไมเ่ กี่ยวข้อง 3. มีสขุ ภาพและความเป็นอยทู่ ่ีดี (Good Health and Well-Being) รับรองการมสี ุขภาพและความเปน็ อยทู่ ่ดี ีของทกุ คน ในทกุ ชว่ งอายุ 41

นบั ตง้ั แตก่ ารสรา้ งเปา้ หมายการพฒั นาแหง่ สหสั วรรษ ซ่ึงประสบผลสำ�เร็จอย่างมีคุณค่าในหน้าประวัติศาสตร์ จาก การลดการเสียชีวิตของเด็ก การปรับปรุงสุขภาพของมารดา และการต่อสู้กับเช้ือเอชไอวี/เอดส์ มาลาเรียและโรคอื่นๆ ตั้งแต่ปี 2533 สามารถป้องกันการเสียชีวิตของเด็กทั่วโลก โดยลดลงกว่า 50% และการเสียชีวิตของมารดาก็สามารถ ลดลงได้ 45% ในทั่วโลก ภาวะการติดเช้ือเอชไอวีและเอดส์ ทเี่ กิดขึน้ ใหม่ สามารถลดลงได้ 30% ในระหว่างปี 2543 ถึง ปี 2556 และมากกว่า 6,200,000 ชีวิต ได้รับป้องกันจาก โรคมาลาเรีย การเสยี ชวี ติ เหลา่ นสี้ ามารถหลกี เลยี่ งไดโ้ ดยการปอ้ งกนั และการรกั ษา  การศกึ ษา แคมเปญการสรา้ งภมู คิ มุ้ กนั ของโรค และการดูแลสุขภาพเพศและระบบสืบพันธ์ุ เป้าหมายการ พัฒนาอย่างยั่งยืนมีความมุ่งมั่นท่ีจะยุติการระบาดของ โรคเอดส์ วณั โรค มาลาเรยี และโรคตดิ ตอ่ อนื่ ๆ ภายในปี 2573 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และจัดให้มีการเข้าถึงยาและวัคซีนอย่างปลอดภัยและมี ประสทิ ธภิ าพส�ำ หรบั ทกุ คน การสนบั สนนุ การวจิ ยั และพฒั นา วัคซีนก็เป็นส่วนสำ�คัญของกระบวนการนี้เช่นเดียวกับการ เข้าถึงยาในราคาทเ่ี หมาะสม ความเชอื่ มโยงกับ Green Youth : ไมเ่ กย่ี วข้อง 4. การศกึ ษาทเ่ี ท่าเทียม (Quality Education) รบั รองการศกึ ษาทเี่ ท่าเทยี มและทวั่ ถงึ สง่ เสรมิ การเรยี นรู้ ตลอดชวี ติ แก่ทุกคน ต้ังแต่ปี 2543 มีความคืบหน้าเป็นอย่างมากในการ บรรลุเป้าหมายเร่ืองของผู้ท่ีได้รับการศึกษาในระดับประถม 42

ศึกษา อัตราการลงทะเบียนเรียนรวมในประเทศกำ�ลังพัฒนา เพ่ิมข้ึนถึงร้อยละ 91 ในปี 2558 และจำ�นวนของเด็กทั่วโลก ท่ีไม่ได้รับการศึกษาลดลงได้เกือบครึ่งหน่ึง นอกจากนี้ อัตรา ผทู้ มี่ คี วามสามารถในการอา่ นออกเขยี นไดย้ งั เพม่ิ ขน้ึ เปน็ อยา่ ง มาก และเด็กผู้หญิงได้ไปโรงเรียนมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งเหล่านี้ ล้วนเปน็ ความสำ�เรจ็ อันยอดเยยี่ ม การประสบความสำ�เร็จครอบคลุมถึงการศึกษาท่ีมี คุณภาพ ซ่ึงตอกยำ้�ความเชื่อท่ีพิสูจน์แล้วว่าการศึกษาเป็น หนงึ่ ในแรงขบั เคลอื่ นทมี่ ปี ระสทิ ธภิ าพส�ำ หรบั การพฒั นาอยา่ ง ยงั่ ยนื เปา้ หมายนท้ี �ำ ใหแ้ นใ่ จวา่ เดก็ ผหู้ ญงิ และเดก็ ผชู้ ายทกุ คน จะได้รับส�ำ เรจ็ ศึกษาฟรีในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา นอกจากน้ียังมีวัตถุประสงค์เพ่ือจัดให้มีการฝึกอบรมอาชีพ ในราคาท่ีเหมาะสมอย่างเท่าเทียมกัน และขจัดความไม่ เสมอภาคทางเพศและความเหลื่อมล้ำ� ด้วยความมุ่งหมาย ที่จะประสบผลสำ�เร็จในการเข้าถึงหลักสากลเพื่อการศึกษา ทีส่ งู ขึ้นอย่างมีคุณภาพ ความเช่ือมโยงกับ Green Youth : ไม่เก่ียวข้อง 5. ความเท่าเทยี มทางเพศ (Gender Equality) บรรลุความเทา่ เทยี มทางเพศ พฒั นาบทบาทสตรี และเดก็ ผหู้ ญงิ ตั้งแต่ปี 2543 UNDP ร่วมกับ พันธมิตรของ UN และประชาคมโลกให้ความเสมอภาคทางเพศเป็นศูนย์กลาง ในการท�ำ งาน และพวกเราไดเ้ หน็ ความสำ�เรจ็ อนั นา่ ประทบั ใจ มีผู้หญิงจำ�นวนมากขึ้นที่ได้เรียนในโรงเรียน เมื่อเทียบกับ 15 ปีที่ผ่านมา และในภูมิภาคส่วนใหญ่ กม็ คี วามเทา่ เทยี มกัน 43

ทางเพศในการศึกษาระดับประถมศึกษา ในขณะน้ี ผู้หญิง สามารถทำ�งานนอกบ้านและได้รับค่าแรงจากงาน ท่ีไม่ใช่ ท�ำ การเกษตรได้ถงึ 41% เม่อื เทยี บปี 2533 ซ่ึงมีเพียง 35% SDGs มีจุดหมายท่ีจะสร้างความสำ�เร็จเหล่าน้ีเพื่อให้ แน่ใจว่ามีการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิง ในทุกท่ี แต่ในบางภูมิภาคยังคงมีความไม่เท่าเทียมกันใน เบื้องต้นสำ�หรับการเข้าถึงค่าจ้าง และยังคงมีช่องว่างที่มี นยั ส�ำ คญั ระหวา่ งชายและหญงิ ในตลาดแรงงาน ความรนุ แรง ทางเพศและการละเมดิ ทางเพศ การใชแ้ รงงานท่ีผิดกฎหมาย และการแบ่งแยกชนช้ันของประชาชนยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ ในเร่ืองน้ี ความเชือ่ มโยงกับ Green Youth : ไม่เกี่ยวขอ้ ง 6. การจดั การนำ้� และสขุ าภิบาล (Clean Water and Sanitation) รับรองการมีนำ�้ ใช้ การจัดการน้�ำ และสุขาภิบาลที่ยงั่ ยนื ปัญหาการขาดแคลนนำ้�ส่งผลกระทบต่อประชาชน ท่วั โลกมากกว่า 40% สิง่ ท่นี ่าตกใจคอื คาดว่าจะมกี ารเพมิ่ ขนึ้ ของอุณหภูมิโลกที่เป็นผลมาจากการเปล่ียนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ แม้ว่าประชาชน 2,100 ล้านคน ได้รับการเข้าถึง การสุขาภิบาลนำ้�ที่ดีขึ้นต้ังแต่ปี 2533 แต่การขาดแคลน อุปกรณ์สำ�หรับนำ้�ด่ืมท่ีปลอดภัยยังคงเป็นปัญหาหลักที่ สง่ ผลกระทบตอ่ ทุกทวีป 44

ภายในปี 2573 การทำ�ให้มีนำ้�ดื่มที่ปลอดภัยและ ราคาเหมาะสม จำ�เป็นต้องมีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ทเี่ หมาะสม โดยจดั ให้มีสง่ิ อ�ำ นวยความสะดวกด้านสขุ อนามยั และส่งเสริมสุขอนามัยในทุกระดับ ปกป้องและฟื้นฟูระบบ นเิ วศนท์ เ่ี กยี่ วขอ้ งกบั น�ำ้ เชน่ ปา่ ไม้ ภเู ขา และแมน่ �้ำ พนื้ ทช่ี มุ่ น�้ำ เป็นสิ่งจำ�เป็นท่ีต้องดูแล ถ้าหากเราจะลดการขาดแคลนนำ้� นอกจากนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศ ยังเป็นสิ่งจำ�เป็น ท่ีจะส่งเสริมให้มีการใช้นำ้�อย่างมีประสิทธิภาพและสนับสนุน เทคโนโลยกี ารบ�ำ บัดน้�ำ ในประเทศทีก่ �ำ ลงั พฒั นา ความเช่อื มโยงกับ Green Youth : เก่ียวข้องกับการดำ�เนินโครงการหรือกิจกรรมที่มีการ บรหิ ารจดั การ อนรุ กั ษน์ ้�ำ การใช้นำ�้ อยา่ งประหยัด การจัดการ อนุรักษ์แหล่งนำ้�ในชมรมหรือในมหาวิทยาลัย ตลอดจนพ้ืนท่ี ธรรมชาติ ระบบนิเวศ หรือโครงการ/กิจกรรม อันเก่ียวข้อง กับการอนุรกั ษจ์ ดั การพน้ื ทชี่ ุ่มนำ้� 7. พลังงานสะอาดที่ทกุ คนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy) รับรองการมีพลังงานทีท่ ุกคนเข้าถึงได้ เชือ่ ถือได้ ยัง่ ยนื ทนั สมัย ระหว่างปี 2533 ถึงปี 2553 จำ�นวนประชากรมีการ 45 เข้าถึงไฟฟ้าเพ่ิมขึ้น 1,700 ล้านคนทั่วโลกและยังคงเพ่ิมขึ้น อย่างต่อเนื่อง ดังน้ันจึงมีการเรียกร้องถึงพลังงานราคาถูก เศรษฐกิจท่ัวโลกพึ่งพาเช้ือเพลิงฟอสซิลและการเพ่ิมขึ้นของ การปลอ่ ยกา๊ ซเรอื นกระจกซง่ึ นน่ั คอื การสรา้ งการเปลย่ี นแปลง ท่ีรุนแรงต่อระบบภูมิอากาศ การเปล่ียนแปลงน้ีส่งผลถึง ทกุ ทวปี ทั่วโลก

ภายในปี 2573 มเี ปา้ หมายทจี่ ะท�ำ ใหเ้ กดิ การผลติ ไฟฟา้ ท่ีเหมาะสมในทุกท่ี ซ่ึงหมายถึงการลงทุนในแหล่งพลังงาน สะอาด เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงาน ความร้อน การนำ�มาตรฐานการประหยัดค่าใช้จ่ายที่มี ประสิทธิภาพมาใช้ในอาคารและอุตสาหกรรมสำ�หรับความ หลากหลายของเทคโนโลยียังสามารถลดการใช้ไฟฟ้าท่ัวโลก ได้ 14% ซึ่งหมายถึงการลดการใช้งานโรงไฟฟ้าขนาดกลาง ประมาณ 1,300 แหง่ การขยายโครงสร้างพ้นื ฐานและพฒั นา เทคโนโลยีเพื่อให้มีแหล่งท่ีมาของพลังงานสะอาดในประเทศ ท่ีกำ�ลังพัฒนา เป็นเป้าหมายสำ�คัญท่ีทั้งการขยายโครงสร้าง และการพัฒนาเทคโนโลยีสามารถส่งเสริมการเจริญเติบโต และชว่ ยเหลือสิง่ แวดลอ้ มได้ ความเชื่อมโยงกบั Green Youth : เกี่ยวข้องกับมาตรการการจัดการด้านการใช้พลังงาน ซึ่งกิจกรรมนักศึกษาสามารถดำ�เนินการที่สอดคล้องกับ การจัดการด้านพลังงานของมหาวิทยาลัยได้ โดยเฉพาะการ เรมิ่ ตน้ จากการจดั การดา้ นการใชพ้ ลงั งาน การใชไ้ ฟฟา้ ในชมรม ของตนเอง 8. การจ้างงานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth) สง่ เสรมิ การเตบิ โตทางเศรษฐกิจทีต่ อ่ เนื่องครอบคลุม และยั่งยนื การจ้างงานทมี่ คี ณุ คา่ มากกวา่ 25 ปที ผ่ี า่ นมา จ�ำ นวนคนงานทปี่ ระสบปญั หา ความยากจนได้ลดลงอย่างมาก แม้จะมีผลกระทบที่ยาวนาน 46

ของวิกฤตเศรษฐกิจจากปี 2551/2552 ในประเทศที่กำ�ลัง พัฒนา ชนช้ันกลางถือเป็น 34% ของการจ้างงานท้ังหมด โดยตัวเลขนเี้ พิ่มขึ้นกวา่ สามเทา่ จากปี 2534 ถงึ 2558 เปา้ หมายการพัฒนาอยา่ งย่ังยนื (SDGs) มุ่งมน่ั ท่ีจะส่งเสรมิ การเจรญิ เตบิ โตทางเศรษฐกจิ ทย่ี ง่ั ยนื โดยบรรลเุ ปา้ หมายการ ผลิตในระดับที่สูงขึ้นและผลิตผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี สนับสนุนนโยบายที่ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการและการสร้าง งานซึ่งเป็นกุญแจสำ�คัญในเรื่องนี้ เช่นเดียวกับมาตรการที่ มีประสิทธิภาพที่จะกำ�จัดการบังคับใช้แรงงานทาสและการ ค้ามนุษย์ ด้วยเป้าหมายเหล่าน้ี ภายในปี 2573 เราต้องการ ให้เกิดการจ้างงานเต็มรูปแบบและมีประสิทธิภาพ และการ ท�ำ งานที่เหมาะสมสำ�หรับผ้หู ญิงและผู้ชายทกุ คน ความเชอ่ื มโยงกบั Green Youth : ไม่เกย่ี วขอ้ ง 9. อตุ สาหกรรม นวัตกรรม โครงสรา้ งพ้นื ฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure) พัฒนาโครงสร้างพ้นื ฐานท่ีพรอ้ มรบั การเปลี่ยนแปลง สง่ เสรมิ การปรบั ตวั ใหเ้ ปน็ อตุ สาหกรรมอยา่ งยง่ั ยนื และทว่ั ถงึ และสนบั สนุนนวัตกรรม ความกา้ วหนา้ ทางเทคโนโลยกี เ็ ปน็ กญุ แจส�ำ คญั ในการ หาทางแกป้ ญั หาอยา่ งยงั่ ยนื ใหก้ บั ความทา้ ทายทางเศรษฐกจิ และส่ิงแวดล้อม เช่น การจัดให้มีชิ้นงานใหม่และส่งเสริม ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ ยงั่ ยนื และการลงทนุ ในการวจิ ยั ทางวทิ ยาศาสตรแ์ ละนวตั กรรม เหล่านี้เป็นวิธีที่สำ�คัญที่จะช่วยสนับสนุนการพัฒนาอย่าง ย่งั ยนื 47

การลงทุนในโครงสร้างพ้ืนฐานและนวัตกรรมเป็น หนึ่งในเป้าหมายการพัฒนา 17 ข้อ ที่อยู่ในวาระการจัดทำ� เป้าหมายการพฒั นาทีย่ ง่ั ยนื (SDGs) วิธีการแบบบรู ณาการ เปน็ สิ่งส�ำ คญั ทจี่ ะท�ำ ใหเ้ กิดความคบื หนา้ ไปยังเป้าหมายอ่ืนๆ ความเช่อื มโยงกับ Green Youth : ไม่เกี่ยวข้อง 10. ลดความเหลอื่ มลำ�้ (Reduce Inequalities) ลดความเหลือ่ มล�้ำ ท้งั ภายในและระหว่างประเทศ จากรายงานท่ีว่าความไม่เท่าเทียมของรายได้มีอัตรา เพ่ิมขึ้น 10% ของคนร่ำ�รวยท่ีสุด มีรายได้เป็น 40% ของ รายได้รวมท่ัวโลก ผู้ที่ยากจนที่สุด 10% ทำ�ได้รายได้เพียง 2 – 7% ของรายได้รวมทั่วโลก ในประเทศก�ำ ลงั พฒั นา ความ ไมเ่ ท่าเทียมเพิม่ ข้นึ 11% ตามการเจรญิ เติบโตของประชากร ความไม่เท่าเทียมด้านรายได้เป็นปัญหาระดับโลก ที่ต้องการการแก้ไข ซึ่งปัญหาน้ีเก่ียวข้องกับการปรับปรุง กฎระเบียบข้อบังคับ การตรวจสอบของตลาดการเงินและ สถาบนั ดา้ นการเงนิ การสง่ เสรมิ การชว่ ยเหลอื ดา้ นการพฒั นา และการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติไปยังภูมิภาคท่ีมีความ จ�ำ เปน็ มากทส่ี ดุ การอ�ำ นวยความสะดวกในการอพยพยา้ ยถน่ิ ทป่ี ลอดภยั และการเคลอ่ื นยา้ ยของผคู้ นกเ็ ปน็ สงิ่ ส�ำ คญั ในการ แกไ้ ขปัญหาการแบ่งเขตแดน ความเช่อื มโยงกับ Green Youth : ไมเ่ ก่ียวขอ้ ง 48

11. เมืองและถ่ินฐานมนุษยอ์ ย่างยง่ั ยนื (Sustainable Cities and Communities) ทำ�ใหเ้ มอื งและการตงั้ ถ่นิ ฐานของมนุษยม์ คี วามปลอดภยั ทั่วถงึ พร้อมรบั การเปลี่ยนแปลงและพฒั นาอยา่ งยงั่ ยืน การเติบโตอย่างรวดเร็วของเมืองในประเทศท่ีกำ�ลัง พัฒนา ควบคู่ไปกับการเพิ่มขึ้นในการย้ายถ่ินฐานจากชนบท สู่เมือง ซึ่งน�ำ ไปสคู่ วามเจรญิ ในเมืองขนาดใหญ่ ในปี 2553 มี 10 เมอื งใหญ่ท่มี ีพลเมอื งจำ�นวน 10 ลา้ นคนหรือมากกวา่ น้นั ในปี 2557 มีเมืองขนาดใหญ่ถึง 28 เมือง ผู้อยู่อาศัยรวม 453,000,000 คน ความยากจนมกั จะกระจกุ ตวั อยใู่ นเมอื งรฐั บาลระดบั ชาติ และระดับท้องถิ่นต้องพยายามจัดการเพื่อรองรับการเพ่ิมขึ้น ของประชากรในพ้ืนที่เหล่านั้น การทำ�ให้เมืองปลอดภัยและ ยั่งยืน หมายถึง การทำ�ให้เข้าถึงท่ีอยู่อาศัยที่ปลอดภัยและ เหมาะสมและพฒั นาการตง้ั ถน่ิ ฐานของชมุ ชนแออดั  นอกจากน้ี ยังเกี่ยวข้องกับการลงทุนเร่ืองการขนส่งสาธารณะ การสร้าง พ้ืนท่ีสาธารณะสีเขียวและการปรับปรุงการวางผังเมืองและ การจดั การในลักษณะแบบมีสว่ นร่วม ความเชือ่ มโยงกบั Green Youth : ไมเ่ ก่ียวข้อง 12. แผนการบริโภคและการผลติ ที่ยัง่ ยนื (Responsible Consumption and Production) รบั รองแผนการบริโภคและการผลิตทย่ี งั่ ยืน 49

การท่ีจะบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจและ การพัฒนาที่ย่ังยืนนั้นต้องลดรอยเท้าทางนิเวศลงอย่าง เร่งด่วน โดยการเปล่ียนแปลงการผลิตและการบริโภคสินค้า และทรพั ยากร การเกษตรกรรมเปน็ ผใู้ ชน้ �ำ้ รายใหญท่ ส่ี ดุ ในโลก และในขณะนีม้ ีการจดั การน้ำ�ให้ถงึ 70% ของผใู้ ชน้ ้ำ�ทง้ั หมด การจัดการการใช้ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างมี ประสิทธิภาพและวิธีการกำ�จัดขยะที่เป็นพิษและมลพิษเป็น ส่ิงสำ�คัญที่จะทำ�ให้บรรลุเป้าหมายน้ี การส่งเสริมให้มีการ รไี ซเคลิ และลดขยะมลู ฝอยในอตุ สาหกรรม ธรุ กจิ และผบู้ รโิ ภค เป็นสิ่งสำ�คัญเท่าเทียมกับการสนับสนุนประเทศกำ�ลังพัฒนา เพอื่ กา้ วเขา้ สู่แผนการบรโิ ภคทีย่ ่ังยนื ภายในปี 2573 ความเชือ่ มโยงกับ Green Youth : เกย่ี วขอ้ งกบั การจดั การของเสยี ทเี่ กดิ จากกจิ กรรมของ นักศึกษา โดยเฉพาะเป้าหมายเพื่อการลดรอยเท้าทางนิเวศ (Ecological Footprint) โดยสามารถเชื่อมโยงถึงการเลือก บริโภคและการจัดซ้ือสินค้า หรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใหเ้ ปน็ มิตรกับส่งิ แวดล้อมมากยง่ิ ขึน้ 13. การรับมอื การเปลีย่ นแปลงสภาพภมู อิ ากาศ (Climate Action) ด�ำ เนินมาตรการเร่งด่วนเพ่อื รบั มือกบั การเปลย่ี นแปลง สภาพภมู ิอากาศและผลกระทบ ไมม่ ปี ระเทศใดในโลกท่ีไมเ่ ห็นผลกระทบอันรุนแรงของ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมอิ ากาศ การปลอ่ ยกา๊ ซเรือนกระจก ยังคงเพ่ิมขึ้น และตอนน้ีเพิ่มขึ้นจากปี 2533 มากกว่า 50% 50


Like this book? You can publish your book online for free in a few minutes!
Create your own flipbook