Important Announcement
PubHTML5 Scheduled Server Maintenance on (GMT) Sunday, June 26th, 2:00 am - 8:00 am.
PubHTML5 site will be inoperative during the times indicated!

Home Explore อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านดาวเทียม

อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารผ่านดาวเทียม

Published by นายวินัย จบเจนไพร, 2021-01-30 03:35:20

Description: 29435_6_NEW-DLTV

Search

Read the Text Version

ปกใน





คำนำ “ครตู ู้ ครพู ระราชทานสัญญาณจากฟา้ ” โครงการการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ดาเนนิ การครงั้ แรก ในปี พ.ศ. 2538 เพือ่ เฉลมิ พระเกยี รตพิ ระบาทสมเดจ็ พระปรมินทรมหาภมู พิ ลอดลุ ยเดช บรมนาถบพิตร ในวโรกาสทรงครองสริ ริ าชสมบตั ิครบ 50 ปี เปน็ การแกไ้ ขปญั หาการขาดแคลนครใู นทอ้ งที่ สภาพการสนบั สนุนการจดั การเรยี นการสอนของครอู ย่างครบถว้ น ท้ังกระบวนการออกแบบกจิ กรรมการเรยี น การสอนทีเ่ นน้ กระบวนการสร้างความรูจ้ ากการลงมอื ปฏบิ ัติ อันจะเป็นการลดความเหลอ่ื มล้าทางการศกึ ษา ตามพระยุคลบาทและสนองพระราชดาริในการที่จะพฒั นาการศกึ ษาไทยให้เจริญก้าวหน้า การศึกษาทางไกล ร่วมกบั มลู นิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทยี ม ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ ไดจ้ ัดทาเอกสาร “คู่มือการอบรมปฏิบัตกิ ารหลกั สตู รการติดตั้งและซ่อมบารงุ อุปกรณ์รับสัญญาณปลายทาง การศึกษาทางไกล ผา่ นดาวเทียมรูปแบบใหม่ NEW DLTV” ในครั้งนม้ี จี ุดประสงคเ์ พอ่ื ให้สานกั งานเขตพ้ืนทก่ี ารศึกษา โรงเรียน คณะกรรมการการศกึ ษาข้ันพ้นื ฐานได้กาหนดไว้ จึงหวังว่าจะอานวยประโยชนแ์ กผ่ ูใ้ ชต้ ามสมควร สนบั สนนุ ให้การดาเนินงานการจัดการศึกษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม สามารถดาเนนิ การจัดทาเอกสาร คมู่ อื การ รูปแบบใหม่ NEW DLTV ฉบบั นี้ ได้อยา่ งมีประสิทธิภาพ ตรงตามเปา้ หมายทวี่ างไว้ จนสาเรจ็ ลลุ ว่ งด้วยดี ศูนยพ์ ฒั นาคณุ ภาพการศกึ ษาดว้ ยเทคโนโลยกี ารศกึ ษาทางไกล สานกั งานคณะกรรมการการศกึ ษาขนั้ พน้ื ฐาน ค

สารบัญ คานา ความรูเ้ บ้อื งตน้ ของเทคโนโลยีการส่อื สารทางไกลผ่านดาวเทยี ม หนา้ สารบัญ - ประวตั ิและความเป็นมา ค หน่วยท่ี 1 - ระบบรับสง่ สญั ญาณ C/KU ดาวเทยี มไทยคม 5,8 ง-จ หนว่ ยท่ี 2 - การศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทียม NEW DLTV 1 หน่วยท่ี 3 วัสดอุ ุปกรณข์ องระบบรับสัญญาณโทรทัศนผ์ ่านดาวเทยี ม 4 อุปกรณต์ ิดตงั้ ภายนอก 11 - จานรบั สญั ญาณดาวเทียม - ขาตดิ ต้งั จาน และอุปกรณก์ ารตดิ ต้ัง 17 - หวั รบั สัญญาณ LNB 17 - สายนาสญั ญาณโคแอคเชียล 19 - หัวตอ่ แบบ F-type 20 - กฟิ๊ ตอกสาย RG-6 (Cable Clip) 22 - เทปพันสายชนดิ ละลายกนั นา้ / บชู ยาง 25 - สายรดั พลาสตกิ (Cable Ties) 25 อุปกรณต์ ดิ ตง้ั ภายใน 26 - อุปกรณข์ ยายสญั ญาณดาวเทียม (IN Line Amp) 26 - Multiswitch 27 - DiSEqC Switch 27 - Power pass /splitter 27 - เครอ่ื งรับสญั ญาณดาวเทียม 28 - สายสญั ญาณ HDMI /สายสญั ญาณ AV 28 - พอร์ต Composite หรือพอร์ต AV 29 30 เครอ่ื งมอื 31 - ประแจปากตาย /ประแจแหวน # 10 12/ประแจเลือ่ น /ประแจบลอ็ ก - 33 - สวา่ นชนดิ เจาะคอนกรตี /ดอกเจาะคอนกรีต/ค้อน 33 - เขม็ ทิศ/เคร่อื งมือวดั มุม/เครื่องมอื วัดองศา (ระดับน้า) 34 - เคร่อื งวัดสัญญาณดาวเทยี ม (Satellite Finder Meter) 34 - ความปลอดภัยในการปฏบิ ัติงาน 34 35 ง

สารบัญ (ต่อ) หน่วยท่ี 4 ขนั้ ตอนการตดิ ตงั้ จานและเครือ่ งรบั สัญญาณดาวเทียม 37 1. สารวจสถานท่ีติดต้ังทางกายภาพ 37 หนว่ ยที่ 5 2. ติดต้ังขายึดจาน 38 ภาคผนวก 3. ประกอบจานเขา้ กบั ขายดึ 38 4. ประกอบ LNB เข้ากับเมาท์ยึดทห่ี น้าจาน 38 5. การปรบั แตง่ จาน 39 6. การทดสอบสัญญาณ 39 7. การต้ังค่าเครอ่ื งรบั สญั ญาณดาวเทยี ม 39 8. การพันเทปละลายกนั นา้ ทขี่ ้ัว LNB 41 อพั เดทซอฟตแ์ วรร์ ะบบ OTA 42 การอัฟเดทซอฟตแ์ วร์ ระบบ OTA 42 - ระบบ OTA 43 - ขอ้ ควรระวังสาหรบั การตดิ ต้งั เครื่องรบั สญั ญาณดาวเทยี มท่มี ีระบบ OTA - ความถี่ 0/22K 46 - ตารางแสดงมุมกวาด Azimuth และมุมเงย Elevation 47 สาหรับดาวเทยี มไทยคม KU Band 49 51 - รูปแบบการตอ่ ใช้งานจานดาวเทยี ม 52 - รหสั ผ่านของเครือ่ งรบั สญั ญาณดาวเทยี ม บรรณานุกรม คณะบรรณาธิการ จ

ประวัติและความเป็นมา การศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม เป็นการจัดการศกึ ษาทางไกลรปู แบบหนง่ึ ท่ีอาศัยเทคโนโลยี การสือ่ สารผา่ นดาวเทยี ม ในการสง่ ผา่ นความรู้ ทักษะ และเจตคติที่จําเปน็ ไปถงึ ผู้เรียนที่อย่หู า่ งไกล และ มีข้อจํากดั เกีย่ วกบั เวลา หน้าท่กี ารงาน ฐานะทางเศรษฐกิจ หรอื เหตผุ ลอื่นๆ ท่ที าํ ให้ ไม่สามารถเขา้ รบั การศึกษาแบบเฉพาะหนา้ กับผสู้ อนไดโ้ ดยตรง คณุ ภาพการศกึ ษาของโรงเรียนในสงั กัดใหส้ ูงขนึ้ โดยมรี ายละเอยี ด ดงั น้ี การศึกษาทางไกล (Distance Learning) การศึกษาทางไกล เป็นการเปิดโอกาสทางการศกึ ษาให้แกผ่ ูใ้ ฝร่ ู้และใฝ่เรยี นทไ่ี ม่สามารถ สละเวลาไปรบั การศึกษาจากระบบการศกึ ษาปกตไิ ด้ เนอื่ งจากภาระทางหนา้ ที่การงานหรือทางครอบครวั เทปเสยี ง แผนภมู ิ คอมพวิ เตอร์ หรือโดยการใชอ้ ปุ กรณ์ทาง โทรคมนาคม และสอ่ื มวลชนประเภทวทิ ยุ ทั่วทุกทอ้ งถ่ิน การศึกษานี้มที ง้ั ในระดบั ต้นจนถงึ ระดับสงู ข้ันปรญิ ญา สาเหตุและปจั จยั สําคญั ท่ีทาํ ก่อใหเ้ กิดการพฒั นานวตั กรรมการศกึ ษาในรปู แบบของ \"การศกึ ษา คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่กอ่ ใหเ้ กิดเทคโนโลยีสารสนเทศ และภาวะการขยายตัวอย่าง รวดเร็วของประชากร ทาํ ให้สถาบนั การศึกษาต่าง ๆ ต้องขยายพ้นื ทีก่ ารจัดการศึกษาเพม่ิ มากขึ้น 1

ความสาคญั ของ Distance Learning 1. เปน็ การเพมิ่ ทางเลือกในการกระจายโอกาส และยกระดบั การศึกษาของผูเ้ รียน 2. เป็นตวั การเปล่ยี นแปลงกระบวนวธิ ีการเรียนรู้และการจดั การศกึ ษาของสงั คมในปจั จบุ นั และ อนาคต 3. ช่วยสร้างความเสมอภาคในการเข้าถงึ บริการทางการศึกษาทม่ี คี ุณภาพ ขณะเดียวกนั กช็ ว่ ยลด อุปสรรคดา้ นทรพั ยากร สถานที่ เวลา และบคุ ลากร 4. ชว่ ยลดภาระของครูท้งั ในดา้ นการเตรยี มการ การใช้เวลา และยงั ช่วยเพ่ิมประสทิ ธิภาพในการ จดั การเรยี น การสอนใหม้ ีคณุ ภาพ 5. การเรียนการสอนทางไกลสามารถ \"แพรก่ ระจาย\" และ \"เข้าถึง\" ตวั บคุ คลได้อยา่ งหลากหลายและ กว้างขวาง องคป์ ระกอบหลกั ของการศึกษาทางไกล 1. ผเู้ รียน จะเนน้ ผูเ้ รยี นเปน็ ศนู ย์กลาง ผูเ้ รียนมีอิสระในการกําหนดเวลา สถานท่ี และวิธเี รยี น ของตนเอง โดยสามารถเรยี นรไู้ ดจ้ ากแหลง่ ทรัพยากรการเรยี นร้ทู หี่ ลากหลาย เชน่ จากการสอนโดยผ่าน การสอ่ื สารทางไกล วดี ิทัศน์ท่ีผลิตเป็นรายการ วีดิทศั นท์ บ่ี ันทกึ จากการสอน ตาํ รา หนงั สือ เอกสาร ประกอบการสอนในรปู ของบทเรยี นด้วยตนเอง คอมพวิ เตอร์ชว่ ยสอน และระบบเครือขา่ ยอินเทอรเ์ นต็ เปน็ ต้น 2. ผู้สอน จะเนน้ การใชส้ ่ือการสอนที่มีคุณภาพและหลากหลายรปู แบบซึง่ จะช่วยใหผ้ เู้ รยี นรูไ้ ด้ ดว้ ยตนเอง หรือเรยี นเสริมในภายหลัง เน่อื งจากผู้สอนมีโอกาสพบผเู้ รยี นโดยตรงนอ้ ยมาก คอื มีโอกาสพบปะ ผ้เู รยี นแบบเผชิญหน้าในตอนแรกและตอนทา้ ยของภาคเรียน หรือไปสอนเสรมิ ในบางบทเรยี นท่ีพิจารณา เหน็ วา่ ยากตอ่ การเขา้ ใจเท่านั้น 3. การจดั ระบบบริหารและบรกิ าร เปน็ การจดั โครงสรา้ งอน่ื มาเสรมิ การสอนทางไกลโดยตรง เช่น อาจมีครูทปี่ รึกษาประจําตวั ผเู้ รยี น มีศูนย์บริการการศึกษาทใ่ี กลต้ ัวผูเ้ รียน รวมทัง้ ระบบการผลิตและ 2

จดั สง่ สื่อใหผ้ ู้เรยี นโดยตรงอย่างมปี ระสทิ ธิภาพ 4. การควบคมุ คณุ ภาพ จะจดั ทําอยา่ งเปน็ ระบบ และดาํ เนนิ การอยา่ งตอ่ เน่ืองสม่ําเสมอ โดยเนน้ การควบคมุ คณุ ภาพในด้านองคป์ ระกอบของการสอนทางไกล เช่น ขัน้ ตอนการวางแผน กระบวนการเรยี น การสอน วิธีการประเมนิ ผล และการปรบั ปรุงกระบวนการ เป็นตน้ 5. การตดิ ต่อระหวา่ งผเู้ รียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา เป็นการติดตอ่ แบบ ๒ ทาง โดยใช้ โทรศพั ท์ โทรสาร ไปรษณียอ์ เิ ล็กทรอนกิ ส์ หรือจดหมาย เปน็ ต้น การสือ่ สารผา่ นดาวเทยี ม (Satellite Communication) การส่อื สารระยะทางไกลและครอบคลมุ พน้ื ท่ีกว้าง เช่น สง่ สญั ญาณจากฟากหน่ึงไปยงั อีกฟากหนึ่งของโลก กอ่ ใหเ้ กดิ การส่อื สารได้อยา่ งกว้างไกลไร้ขอบเขต แมใ้ นเขตพืน้ ที่หา่ งไกล เชน่ บรเิ วณหบุ เขา มหาสมุทร โดย อาจ ประเทศ เป็นตน้ Segment) และสถานอี วกาศ (Space Segment) โดยท่ีสถานี ภาคพน้ื ดินประกอบด้วยสองสถานคี อื สถานีรับ และสถานสี ง่ ซงึ่ การทาํ งานของทง้ั สองสถานนี ม้ี ีลกั ษณะคลา้ ยกัน สถานีภาคพ้นื ดนิ มีอปุ กรณห์ ลกั อยู่ 4 ชนดิ ดงั รายละเอยี ดต่อไปน้ี 1. อปุ กรณจ์ านสายอากาศ (Antenna Subsystem) มหี นา้ ทส่ี ง่ สญั ญาณและรบั สญั ญาณจาก ดาวเทียม 2. อุปกรณส์ ญั ญาณวทิ ยุ (Radio Frequency Subsystem) มหี นา้ ท่ีรับสง่ สัญญาณวิทยุทใ่ี ชง้ าน 3. อุปกรณแ์ ปลงสญั ญาณวทิ ยุ (RF/IF Subsystem) ประกอบดว้ ยสถานสี ่งสญั ญาณและสถานีรบั สญั ญาณ โดยด้านสถานีส่งถกู เรียกว่า ภาคแปลงสญั ญาณขาขึ้น ซงึ่ ทําหนา้ ท่ี แปลงย่านความถี่ทไี่ ดร้ บั มาใหเ้ ป็นความถ่ีท่ีใช้กบั งานระบบดาวเทียม จากนั้นสง่ สญั ญาณท่ีแปลงความถใี่ ห้ ภาคขยาย ด้านสถานีรบั นั้นเรยี กว่า ภาคแปลงสญั ญาณขาลง (Down Converter สญั ญาณ (Demodulator) ตอ่ ไป 4. อปุ กรณผ์ สมสญั ญาณและแยกสญั ญาณ (Modulator / Demodulator) มหี น้าทแ่ี ปลงข้อมลู ทีต่ ้องการส่งผา่ นดาวเทียมใหเ้ ป็นสัญญาณคล่นื วิทยทุ ม่ี ขี อ้ มลู ผสมอยูใ่ หน้ ําไปใช้งานได้ 3

ระบบรับสญั ญาณ C/KU ดาวเทียมไทยคม 5,8 1. แบบ C-Band จะสง่ คลนื่ ความถีก่ ลับมายังโลกอยใู่ นช่วงความถ่ี 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งจะมี ฟุตปร้นิ ท์ ทมี่ ีขนาดกวา้ ง ครอบคลมุ พ้ืนท่ี การให้บริการได้หลายประเทศ เชน่ ของดาวเทยี มไทยคม 2/5 พน้ื ทใี่ หบ้ ริการ คอื ทวีปเอเชีย และยโุ รปบางส่วน ข้อดี : การใช้ดาวเทยี มระบบนีเ้ หมาะท่ีจะใช้ในประเทศใหญๆ่ เพราะครอบคลุมพื้นทก่ี ารให้ บรกิ ารได้หลายประเทศ ซึ่งใช้ดาวเทยี มหนึ่งดวงก็ถ่ายทอดสญั ญาณไดท้ ว่ั ประเทศ และยงั ถงึ ประเทศเพอื่ น บา้ นใกล้เคียงดว้ ย เชน่ จีน อนิ โดนีเซยี เวยี ดนาม เป็นต้น ขอ้ เสยี : เนื่องจากสง่ ครอบคลมุ พน้ื ทกี่ ว้างๆ ความเขม้ ของสญั ญาณจะต่ํา จงึ ต้องใช้จาน 4 - 10 ฟตุ ขนาดใหญร่ ับสัญญาณภาพจงึ จะคมชดั 2. แบบ Ku-Band จะส่งคลนื่ ความถ่ี 10 - 12 GHz สูงกว่าความถี่ C-Band สญั ญาณทสี่ ่ง จะครอบคลมุ พื้นท่ีได้น้อย จงึ เหมาะสําหรบั การสง่ สัญญาณเฉพาะภายในประเทศ ขอ้ ดี : ความเขม้ ของสัญญาณสูงมาก ใช้จานขนาดเลก็ ๆ 60 - 120 เซนติเมตร ก็สามารถรับ สญั ญาณไดแ้ ลว้ เหมาะสําหรบั ส่งสัญญาณเฉพาะภายในประเทศ เช่น สญั ญาณ CABLE TV (UBC) ข้อเสีย : ฟุตปร้นิ ท์ระบบ Ku-Band จะแคบ สง่ เฉพาะจดุ ท่ตี อ้ งการ ครอบคลุมพ้ืนทไี่ ดน้ อ้ ย ทําให้เสียค่าใชจ้ า่ ยสงู ปัญหาในการรับสญั ญาณภาพ เวลาเกดิ ฝนตกภาพจะไมม่ ี สาเหตเุ น่ืองมาจากความถี่ ของ KU-Band จะสงู มากเมือ่ ผา่ นเมฆฝน ดาวเทยี มท่ใี ชใ้ นประเทศไทย 1. ดาวเทยี มไทยคม ดาวเทียมสอ่ื สารแหง่ ชาติ บริษัท ชนิ แซทเทลไลท์ จากัด (มหาชน) ปี 2534 บรษิ ทั ชินวัตรคอมพวิ เตอร์ แอนด์ คอมมิวนเิ คช่ันส์ จากดั (มหาชน) ไดร้ ับสัมปทานโครงการดาวเทยี มส่ือสารแหง่ ชาตขิ องกระทรวง คมนาคมเป็นเวลา 30 ปี โดยไดร้ ับ การคมุ้ ครองสทิ ธิเปน็ เวลา 8 ปี ในการน้ีพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยหู่ วั ฯ ให้บริการชอ่ งสัญญาณดาวเทียมและบริหารโครงการดาวเทียมไทยคมตลอดอายสุ ัมปทานน อกจากน้บี ริษัทฯ ได้จดทะเบียนเขา้ เปน็ บรษิ ัทในตลาดหลักทรพั ย์ ในวนั ท่ี 18 มกราคม 2537 และ ตอ่ มาในปี 2542 4

บริษทั ชินวัตรแซทเทลไลท์ จาํ กัด (มหาชน) ไดเ้ ปลย่ี นชอ่ื เป็น \"บริษทั ชนิ แซทเทลไลท์ จากัด (มหาชน)\" ปจั จุบนั บริษัทฯ ประสบความสําเร็จในการจดั ส่งดาวเทียม ไทยคม 1A 2 และ 3 เขา้ สวู่ งโคจรในปี 2536 2537 และ 2540 ตามลาํ ดบั โดยดาวเทียมไทยคม 1A และ2 ซ่งึ เป็นดาวเทยี ม รุน่ HS-376 สามารถ ให้บริการของชอ่ งสัญญาณจาํ นวน 28 ทรานสพอนเดอร์แบง่ เป็นย่าน ความถี่ C-Band 22 ทรานสพอนเดอร์ และ Ku-Band 6 ทรานสพอนเดอร์ ดาวเทียมไทยคม 3 ถูกสง่ ขนึ้ สวู่ งโคจรอวกาศเมอ่ื วันท่ี 16 เมษายน 2540 ดาวเทียมไทยคม 3 เปน็ ดาวเทียมรนุ่ Spacebus-3000A ซึง่ มีขนาดใหญแ่ ละกําลงั สง่ สูงมาก ประกอบดว้ ยชอ่ งสญั ญาณย่านความถี่ C-Band จาํ นวน 25 ทรานสพอนเดอร์ มีพ้นื ทบ่ี รกิ ารครอบคลมุ สท่ี วีป คอื เอเชยี ยโุ รป ออสเตรเลยี และแอฟริกานอกจากน้ียังมชี ่องสัญญาณย่าน ความถี่ Ku-Band 14 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็น Fix Spot Beam ซึง่ มพี ้นื ทีบ่ รกิ ารครอบคลุมประเทศ ไทยและประเทศใน ภูมิภาพอนิ โดจีน SteerableSpot Beam ครอบคลุมพน้ื ท่ปี ระเทศอินเดยี 2. ดาวเทยี มไทยคม 4 หรอื ไอพีสตาร์ (IPSTAR) ถกู ออกแบบมาเพ่อื ใชง้ านด้าน อนิ เทอร์เน็ต โปรโตคอล (Internet Protocol) หลงั จากท่ี ปลอ่ ยข้ึนสอู่ วกาศไปเมื่อวนั ที่ 11 สงิ หาคม 2548 ทผี่ า่ นมา โดยบรกิ ารบรอดแบนดผ์ ่านดาวเทยี ม จะทําให้พนื้ ทหี่ า่ งไกลมีโอกาสไดใ้ ชเ้ ชน่ เดียวกับคนในเมอื งหลวง เพยี งมแี คจ่ านรบั สญั ญาณดาวเทียมขนาด เส้นผ่าศนู ยก์ ลาง 84 -120 เซนติเมตร และแซทเทลไลทโ์ มเดม็ เชอื่ มต่อเข้ากบั อปุ กรณค์ อมพวิ เตอรก์ ็ใชง้ าน ได้ทันที ทาํ ลายขอ้ จํากัดและเตมิ เต็มชอ่ งว่างทางดจิ ิตอล เพราะไมจ่ าํ เปน็ ต้องรอเดนิ โทรศัพท์ สร้างชุมสาย และต้งั เสาสัญญาณทม่ี รี าคาแพงๆ 3. ดาวเทียมไทพฒั ดาวเทยี ม “ไทพฒั ” มขี นาด 35 x 35 x 60 เซนตเิ มตร น้ําหนกั ประมาณ 50 กิโลกรมั โคจรรอบ โลกเป็นแบบวงโคจรต่าํ (Low earth orbit) มคี วามสงู เฉลย่ี จากผวิ โลก 815 กิโลเมตร ในแนวทผ่ี า่ นขว้ั โลก เหนอื และ ใต้ การโคจรแต่ละรอบใชเ้ วลา 101.2 นาที ทาํ ใหโ้ คจรรอบโลกไดว้ ันละ 14.2 ครงั้ แต่ละครัง้ ของ การโคจรจะผ่านเส้นแวงท่เี ลือ่ นออกไปประมาณ 25 องศา ทําให้ดาวเทียมไทพฒั มกี ารโคจรผา่ นทกุ พ้ืนที่ ในโลก และจะผ่านประเทศไทยทกุ วนั เวลาประมาณ 8.30-12.30 น. 2-3 ครง้ั และเวลา 20.30-00.30 น. 2-3 ครัง้ แต่ละคร้งั มีเวลาใหส้ ถานีภาคพืน้ ดนิ ติดตอ่ กบั ดาวเทียมประมาณ 17 นาที 4. ดาวเทยี มอุตุนยิ มวทิ ยา เปน็ ดาวเทียมซ่งึ ใช้ในการตรวจวดั ข้อมลู ทางอตุ นุ ยิ มวทิ ยา ทมี่ ปี ระโยชนอ์ ย่างย่ิง เนื่องจากสามารถ ตรวจวดั ข้อมลู อากาศในท่ๆี มนษุ ย์ไมส่ ามารถทาํ การตรวจวดั ได้โดยตรงจากเครอ่ื งมอื ตรวจอากาศชนดิ อื่น ๆ เนอ่ื งจากข้อมูลเหลา่ นี้อยู่ในทมี่ นุษยไ์ มส่ ามารถเขา้ ถงึ ได้ 5

5. ดาวเทยี มสารวจทรพั ยากรธรรมชาติ การเกษตร การใช้ทีด่ นิ ปา่ ไม้ การวาง ผงั เมือง หรอื ภัยพบิ ตั ิ ซ่ึงดาวเทยี มสํารวจทรพั ยากรทป่ี ระเทศไทยใชอ้ ยู่ ในปจั จบุ ัน ก็มหี ลายดวงด้วยกัน เชน่ IKONOS QUICKBIRD RADASAT-1 LANDSAT-5, 7 SPOT 5 IRS-1C และล่าสุดในปีพ.ศ. 2550 ประเทศไทยไดส้ ง่ ดาวเทยี มสาํ รวจทรพั ยากรสญั ชาติไทย ดวงแรกขน้ึ โคจรในอวกาศ นั่นคอื ดาวเทียม THEOS การประยกุ ต์ใชร้ ะบบการสือ่ สารผา่ นดาวเทยี ม 1. ระบบงานธนาคาร 2. ระบบสื่อสารผ่านดาวเทียมในธรุ กิจค้าขายหลักทรัพย์ 3. ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซผ์ า่ นดาวเทยี ม วดี ีโอคอนเฟอรเ์ รนซ์ เป็นการนาํ ระบบสื่อสาร ผ่านดาวเทียมมาใช้ในการส่อื สารภาพ เสยี งและข้อมลู เพ่อื ประโยชนใ์ นการประชมุ ทางธุรกจิ หรอื สัมมนา ระยะไกลระหว่างกลมุ่ บุคคลทอ่ี ยูต่ ่างสถานทใ่ี ห้สามารถ รว่ มประชมุ สนทนาโต้ตอบกันได้ พร้อมทั้งเหน็ ภาพ ผเู้ ข้าร่วมประชุม และยงั สามารถแสดงภาพตา่ งๆ ประกอบ การประชมุ ไดอ้ กี ด้วย นอกเหนอื จากการประชุม หรือสมั มนาแลว้ วดี ีโอคอนเฟอร์เรนซ์ยังสามารถนาํ ไปใช้ ในการฝกึ อบรม แกป้ ญั หาลูกคา้ และช่วยสนับสนนุ การนาํ เสนอสินคา้ ได้ 4. ด้านโทรทศั น์ สถานีแมข่ ่ายสามารถสง่ รายการผ่านดาวเทียม ไปยงั สถานีเครอื ขา่ ยหรือ สถานที วนสัญญาณ เพอ่ื ออกอากาศแพรภ่ าพต่อในเขตภูมภิ าค สามารถทาํ การถา่ ยทอดสดผา่ นดาวเทยี มได้ โดยอุปกรณเ์ คล่อื นที่ 5. ด้านวทิ ยุกระจายเสยี ง สามารถถ่ายทอดสญั ญาณ ไปมาระหวา่ งสถานวี ิทยจุ ากภมู ภิ าค ทีห่ ่างไกลกัน เพ่ือรวบรวมขา่ วสาร รวมทัง้ แพรส่ ญั ญาณถา่ ยทอดต่อ ณ สถานที วนสัญญาณ 6. ด้านโทรศพั ท์ สามารถเชื่อมโยงเครอื ขา่ ยโทรศพั ทจ์ ากชุมสายตา่ งๆ เขา้ ด้วยกัน สามารถใช้ อปุ กรณท์ ่มี ขี นาดเล็ก เพ่อื เช่ือมโยงพน้ื ท่หี ่างไกลเข้ากบั เครอื ขา่ ยโทรศัพท์ ทาํ ใหก้ ารสอ่ื สารสะดวก สามารถ สง่ ผา่ นได้ท้ังขอ้ มลู เสยี ง และภาพ 6

ดาวเทียมไทยคมทง้ั 8 ดวง 1. ไทยคม 1 ไทยคม 1A ดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรุ่น HS-376 สรา้ งโดย Huges Space Aircraft (บรษิ ทั ลูกของ โบองิ ) โคจรบรเิ วณพิกดั ที่ 120 องศาตะวันออก สง่ ขึ้นสวู่ งโคจรเม่ือ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 มีอายุการใช้งานประมาณ 15 ปี (ถงึ พ.ศ. 2551) เดมิ ดาวเทยี มดวงน้ีอยู่ที่พกิ ดั 78.5 องศา ตะวันออก เรียกชื่อว่า ไทยคม 1 เมอื่ ย้ายมาอยทู่ ่ี 120 องศาตะวันออก เมื่อเดอื นมถิ ุนายน พ.ศ. 2540 จงึ เรยี กช่อื ใหมว่ ่า \"ไทยคม 1A\" 2. ไทยคม 2 ไทยคม 2 ดาวเทียมดวงที่สองของประเทศไทย เป็นดาวเทียมรนุ่ HS-376 เชน่ เดียวกับ ไทยคม 1A โคจรบริเวณพิกัดท่ี 78.5 องศาตะวันออก ส่งขึ้นส่วู งโคจรเม่อื 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 มีอายุการใชง้ านประมาณ 15 ปี (ถึง พ.ศ. 2552) 7

3. ไทยคม 3 ไทยคม 3 เป็นดาวเทียมรุน่ Aerospatiale SpaceBus 3000A โคจรบริเวณพกิ ดั เดียวกับ ไทยคม 2 คือ 78.5 องศาตะวันออก มพี น้ื ท่กี ารใหบ้ ริการ (footprint) ครอบคลุมพนื้ ที่มากกวา่ 4 ทวปี สามารถ ให้บรกิ ารในเอเซีย ยโุ รป ออสเตรเลีย และแอฟรกิ าและถ่ายทอดสญั ญาณโทรทศั นต์ รงถึงทพ่ี ักอาศัยหรือ Direct-to-Home (DTH) ในประเทศไทยและประเทศเพือ่ นบ้าน สง่ ข้ึนสูว่ งโคจรเมอ่ื 16 เมษายน พ.ศ. 2540 มีอายกุ ารใชง้ านประมาณ 14 ปี แตป่ ลดระวางไปเมอื่ ปี 2549 เน่ืองจากมีปัญหาเรือ่ งระบบไฟฟา้ ไมพ่ อ 4. ไทยคม 4 ไทยคม 4 หรอื ไอพสี ตาร์ เป็นดาวเทยี มรนุ่ LS-1300 SX สรา้ งโดย Space System/Loral พาโล อัลโต สหรฐั อเมรกิ าเป็นดาวเทยี มดวงแรกท่อี อกแบบมาเพ่ือให้บริการอินเทอร์เน็ตความเรว็ สงู ท่ีความเร็ว 45 Gbps เปน็ ดาวเทียมสื่อสารเชงิ พาณิชยท์ ม่ี ีขนาดใหญ่ และมนี ้าํ หนกั มากถึง 6486 กโิ ลกรมั และทนั สมัยท่ีสดุ ใน ปัจจุบัน สง่ ข้นึ ส่วู งโคจรเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2548 มอี ายกุ ารใชง้ านประมาณ 12 ปี 8

5. ไทยคม 5 ไทยคม 5 เปน็ ดาวเทียมรุ่น Aerospatiale SpaceBus 3000A (รนุ่ เดยี วกบั ไทยคม 3) สรา้ งโดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรงั่ เศสมีนาํ้ หนกั 2800 กิโลกรมั มพี ื้นทีก่ ารใหบ้ รกิ ารครอบคลุมพืน้ ที่ 4 ทวปี ใช้เปน็ ดาวเทยี มสําหรบั การถา่ ยทอดสญั ญาณโทรทัศนผ์ ่านดาวเทยี มตรงถึงท่ีพกั อาศยั หรอื Direct to Home (DTH) และการถา่ ยทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจติ อลความละเอยี ดสงู (High Definition TV) สง่ ขึ้นสู่ วงโคจรเม่อื 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 เพ่อื ทดแทนไทยคม 3 6. ไทยคม 6 ไทยคม 6 เปน็ ดาวเทยี มรุ่น สรา้ งโดยบรษิ ัท Orbital Sciences Corporation แตข่ นสง่ โดยบริษัท SpaceX เน่ืองจากดาวเทยี วดวงนมี้ ีน้าํ หนกั ถึง 3,000 กโิ ลกรัม จรวจของ Orbital Sciences Corporation ไมส่ ามารถขนส่งได้ ชอื่ ของจรวจของ SpaceX ทสี่ ง่ ดาวเทียม \"ไทยคม 6\" คือ \"Falcon 9\" มพี น้ื ทกี่ าร ใหบ้ รกิ ารครอบคลุมพน้ื ที่ 4 ทวีป ใชเ้ ปน็ ดาวเทียมสาํ หรบั การถา่ ยทอดสญั ญาณโทรทศั นผ์ ่านดาวเทยี มตรงถงึ ที่ พกั อาศัยหรอื Direct to Home (DTH) และการถา่ ยทอดสญั ญาณโทรทัศนด์ จิ ิตอลความละเอียดสงู (High Definition TV) 9

7. ไทยคม 7 ดาวเทียมไทยคม 7 เป็นดาวเทียมประเภท 3 แกน รนุ่ FS1300 ผลิตโดย บริษทั สเปซ สิสเต็มส/์ ลอเรล ประเทศสหรัฐอเมรกิ า สง่ ขนึ้ ส่วู งโคจรดว้ ยจรวดฟอลคอน 9 ของบรษิ ทั สเปซ เอ็กซ์พลอเรชัน่ เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรฐั อเมรกิ า มวลในวงโคจร ประมาณ 3,700 กโิ ลกรัม มีอายุการใช้งานนาน 15 ปี ประกอบดว้ ยย่านความถ่ี ซี-แบนด์ จาํ นวน 14 ทรานสพอนเดอร์ ซึง่ มีพื้นท่ใี หบ้ ริการกว้างครอบคลุม ภมู ภิ าคเอเชียใต้ อินโดจนี รวมถงึ ออสเตรเลีย และนวิ ซแี ลนด์ภายในบมี เดียวกัน ซง่ึ ชว่ ยใหผ้ ใู้ ช้บรกิ ารสามารถ เชอ่ื มต่อข้ามภมู ภิ าคได้ ดาวเทียมไทยคม 7 จะจัดสรา้ งแลว้ เสรจ็ และจดั สง่ ข้ึนสวู่ งโคจร ณ ตาํ แหนง่ 120 องศา ตะวนั ออกได้ในปี 2557 8. ไทยคม 8 ไทยคม8 เปน็ ดาวเทียมรนุ่ ใหม่ สร้างโดยบริษัท Orbital Sciences Corporation ประเทศ สหรัฐอเมริกา สง่ ขึ้นสู่วงโคจรด้วยจรวดฟอลคอน 9 ของบริษทั สเปซ เอก็ ซ์พลอเรชั่น เทคโนโลยี (SPACEX) ประเทศสหรฐั อเมริกา เม่ือวนั ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ไทยคม 8 โคจรอยใู่ นวงโคจรคา้ งฟ้า ท่ีตําแหน่ง 78.5 องศาตะวนั ออก เดยี วกับ ไทยคม 5 และ ไทยคม 6 มนี ้ําหนกั ราว 3,100 กิโลกรมั มจี านรับส่งสญั ญาณ เคย-ู แบนด์ (Ku-Band) จํานวน 24 ทรานสพอนเดอร์ ซึง่ มพี ้ืนทก่ี ารใหบ้ รกิ ารครอบคลุมพื้นท่ี ท้ังในประเทศ ไทย ภูมิภาคเอเชียใต้ และทวปี แอฟรกิ า ใช้เปน็ ดาวเทียมสําหรบั การถา่ ยทอดสญั ญาณโทรทศั น์ผา่ นดาวเทยี ม ตรงถึงทพ่ี กั อาศยั หรอื Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทศั น์ดิจิตอลความละเอยี ดสูง ทัง้ (High Definition TV) และ (Ultra High Definition TV) 10

การศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม NEW DLTV ความเปน็ มา มลู นธิ กิ ารศกึ ษาทางไกลผ่านดาวเทยี ม กอ่ ตั้งเม่ือ พ.ศ. 2538 และได้ถา่ ยทอดสดออกอากาศ เป็นปฐมฤกษ์ ในวันที่ 5 ธนั วาคม 2538 ในหลกั สูตรมธั ยมศึกษา 6 ชั้น 6 ช่อง และเม่อื วนั ที่ 1 พฤศจกิ ายน เนื่องในโอกาสมหามงคล ท่ีพระบาทสมเดจ็ พระปรมนิ ทรมหาภูมิพลอดลุ ยเดช บรมนาถบพิตร ทรงครองสริ ริ าชสมบตั คิ รบ 50 ปี ในปี กาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539 โดยมีวตั ถปุ ระสงคเ์ พอ่ื แก้ปัญหาการขาดแคลนครู โดย พระบาทสมเด็จ พระปรมนิ ทรมหาภมู ิพลอดลุ ยเดช บรมนาถบพติ ร ได้พระราชทานทุนประเดมิ 50 ลา้ นบาท ที่ บริษัท ทีโอที จาํ กดั (มหาชน) หรือองค์การโทรศพั ทแ์ หง่ ประเทศไทยในขณะน้ัน ทลู เกลา้ ฯ ถวายเพอ่ื ตงั้ มลู นธิ กิ ารศกึ ษา ทางไกลผา่ นดาวเทยี ม และทรงพระกรุณาพระราชทานตรงสัญลกั ษณ์เฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ให้เปน็ ตราของมูลนิธิฯ เป็นการพระราชทานการศึกษาไปสปู่ วงชน โดยมี นายขวญั แกว้ วชั โรทัย รองเลขาธิการ พระราชวงั ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ ดาํ รงตําแหน่งประธานมูลนิธกิ ารศกึ ษาทางไกลผ่านดาวเทียม ปจั จุบนั สถานวี ิทยุโทรทศั น์การศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม อยูภ่ ายใตก้ ารบรหิ ารจดั การของมลู นิธิ การศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม ในพระบรมราชปู ถมั ภ์ ตั้งอยใู่ นบริเวณโรงเรยี นวงั ไกลกังวล ประกอบด้วย หอ้ งบนั ทกึ รายการ 11 หอ้ ง หอ้ งสง่ สญั ญาณ ห้องควบคมุ การสัญญาณ หอ้ งผลติ รายการ โรงเรยี นที่ชม รายการถา่ ยทอดสด คือโรงเรียนท่ีได้รับการตดิ ต้ังอปุ กรณร์ บั สญั ญาณดาวเทยี ม โดยไมค่ ิดมลู คา่ แบ่งเป็น โรงเรียนประถมศึกษา โรงเรยี นมธั ยมศกึ ษา สังกัดกระทรวงศกึ ษาธิการโรงเรยี นเอกชน โรงเรียนปรยิ ตั ธรรม รวมทงั้ หมดกว่า 30,000 แห่ง และยังรวมไปถึงโรงเรียนในประเทศเพ่อื นบ้านทส่ี ญั ญาณดาวเทียมไปถึง และ สนใจขอรับอุปกรณก์ ารศกึ ษาทางไกลผา่ นดาวเทียมพระราชทาน เช่น ประเทศกัมพชู า ลาว พมา่ เวียดนาม จีน และมาเลเซีย การออกอากาศการเรยี นการสอนถ่ายทําจากห้องเรียนจริง ส่งสญั ญาณภาพและเสยี งผ่านเคเบ้ลิ ใย แก้วนาํ แสง ทบ่ี ริษัททีโอที จาํ กดั (มหาชน) โดยเสด็จพระราชกุศล ระยะทางไกลราว 200 กิโลเมตร จาก อาํ เภอหวั หนิ มาถึงสถานีดาวเทยี มไทยคม ที่อําเภอลาดหลุมแกว้ จงั หวดั ปทมุ ธานี แล้วยงิ สัญญาณผา่ นทาง ดาวเทยี มระบบ KU-Band 11

สถานีวิทยโุ ทรทัศน์การศึกษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม มลู นิธกิ ารศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการศกึ ษาทางไกลผ่านดาวเทียม จากโรงเรียนวังไกลกังวลในรปู แบบการถ่ายทอดสด 1 ชอ่ ง 1 ช้นั มที งั้ หมด 15 ช่องสัญญาณ ด้วยระบบ ดจิ ติ อลเริม่ จาก 186 - 200 ดังนี้ ช่อง 186-191 ถ่ายทอดการเรยี นการสอนระดับชั้นประถมศกึ ษาปที ี่ 1-6 ช่อง 192-194 ถ่ายทอดการเรยี นการสอนระดบั ชั้นมัธยมศึกษาปที ี่ 1-3 ช่อง 195-197 ถ่ายทอดการเรียนการสอนปฐมวัย อนุบาล 1-3 ชอ่ ง 198 ถา่ ยทอดการเรียนการสอนของวิทยาลยั การอาชีพวังไกลกงั วล ระดับ ปวช. และ ปวส. รวมทัง้ การศกึ ษาสายวิชาชีพหลักสตู รระยะส้นั และการศึกษาชมุ ชน ชอ่ ง 199 ถ่ายทอดการเรยี นการสอนระดับอดุ มศึกษาของมหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยีราชมงคล รตั นโกสนิ ทร์ วทิ ยาเขตวงั ไกลกังวลนอกจากนี้ยังมีสถาบันอ่ืนๆอาทิ สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน คุณภาพการศึกษา (องคก์ ารมหาชน) ช่อง 200 ถ่ายทอดการอบรมครูภาษาอังกฤษและครูวิทยาศาสตร์ เพื่อเผยแพรค่ วามรสู้ ู่ครู นักศึกษา ตลอดทั้งประชาชนผู้สนใจทว่ั ไป การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทยี มรูปแบบใหม่ NEW DLTV คณะกรรมการบรหิ ารมูลนธิ กิ ารศึกษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม ในพระบรมราชูปถมั ภช์ ุดใหม่ โดยมี ถึงความจําเปน็ ในการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนษุ ยท์ ต่ี อ้ งรองรบั กับ สถานการณข์ องโลกและเทคโนโลยที เ่ี ปล่ียนแปลงไปอยา่ งรวดเร็ว จึงมีการปรบั ปรงุ การดําเนนิ งานของมลู นธิ ิ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทยี ม ฯ ใหม่ เป็น NEW DLTV มกี ารเปลยี่ นแปลงพรอ้ มกนั หลายอยา่ ง ท้งั ด้าน Hardware Software และ Peopleware การดําเนินงาน NEW DLTV ในส่วนของตน้ ทาง มสี ถานีวิทยุ ถา่ ยทอดการเรียนการสอน และผลิตรายการ โดยมีการเปลยี่ นแปลงทสี่ ําคญั ดงั นี้ อนั สอดคลอ้ งกับสภาวะการณ์การศึกษาของโลกในยุคปัจจบุ ัน โดยการออกอากาศ 15 ชอ่ งสัญญาณ โดยปรบั ผังรายการเป็น 2 ชว่ ง ดังนี้ 12

ชว่ งแรก คอื เวลา 08.30 – 14.30 น. เป็นการถา่ ยทอดการเรยี นการสอนตามหลกั สูตรการศกึ ษา ข้ันพืน้ ฐาน ในปีการศึกษา 2561 นม้ี กี ารถา่ ยทอดการเรยี นการสอนช้นั อนุบาล 1 ถึง อนุบาล 3 (ชอ่ ง DLTV 10 – 12) และ ป.1 ถงึ ม.3 (ช่อง DLTV 1 – 9) ส่วนการจัดการเรียนการสอนระดับ ม.ปลาย (ม.4 – ม.6) ใน ปกี ารศกึ ษา 2561 น้ี จะนําเทปการเรียนการสอนวิชาท่เี ปน็ ที่ต้องการของผู้เรียนมาออกอากาศในช่วงบา่ ยใน ชอ่ ง DLTV 10 – 12 นอกจากน้ี ยังออกอากาศรายการระดับอาชีวศกึ ษา ระดบั อดุ มศึกษา และรายการพัฒนา วิชาชพี ครู ช่วงที่ 2 คอื เวลา 14.30 น. เป็นตน้ ไป จะเป็นรายการเรียนรตู้ ลอดชวี ิต สาํ หรบั คนทกุ กลุ่ม ตลอด 24 ชวั่ โมง โดยทงั้ สองช่วงเวลามีรายละเอียดดังนี้ ชอ่ ง DLTV 1 รายการสอนช้ันประถมศกึ ษาปีท่ี 1 / สถาบันพระมหากษตั รยิ ์ ชอ่ ง DLTV 2 รายการสอนชัน้ ประถมศึกษาปีท่ี 2 / ความรรู้ อบตัว ชอ่ ง DLTV 3 รายการสอนชั้นประถมศกึ ษาปีที่ 3 / วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชอ่ ง DLTV 4 รายการสอนช้นั ประถมศึกษาปีท่ี 4 / ธรรมชาติและสง่ิ แวดลอ้ ม ชอ่ ง DLTV 5 รายการสอนช้นั ประถมศึกษาปที ี่ 5 / ศลิ ปวัฒนธรรมไทย ชอ่ ง DLTV 6 รายการสอนช้ันประถมศกึ ษาปีที่ 6 / หน้าทพี่ ลเมอื ง ชอ่ ง DLTV 7 รายการสอนชน้ั มัธยมศึกษาปที ่ี 1 / ภาษาอังกฤษ ช่อง DLTV 8 รายการสอนชั้นมัธยมศกึ ษาปที ี่ 2 / ภาษาตา่ งประเทศ ช่อง DLTV 9 รายการสอนช้ันมธั ยมศกึ ษาปีท่ี 3 / การเกษตร ช่อง DLTV 10 รายการสอนชั้นอนุบาลปีที่ 1 / รายการสาํ หรับเด็ก-การเลีย้ งดลู ูก ช่อง DLTV 11 รายการสอนชน้ั อนุบาลปีท่ี 2 / สขุ ภาพ ชอ่ ง DLTV 12 รายการสอนชั้นอนบุ าลปที ่ี 3 / ผูส้ งู วยั ชอ่ ง DLTV 13 รายการของการอาชีพวงั ไกลกงั วล และ มหาวทิ ยาลยั เทคโนโลยรี าชมงคล ช่อง DLTV 14 รายการของมหาวทิ ยาลยั สโุ ขทยั ธรรมาธริ าช ชอ่ ง DLTV 15 รายการพฒั นาวชิ าชีพครู 13

2. การพฒั นาแผนการจัดการเรยี นรแู้ ละแนวจดั การเรยี นการสอแบบ Active Learning โดยตง้ั แตป่ ีการศกึ ษา 2561 เป็นต้นไป ครูตน้ ทางจากหอ้ งเรียนต้นทางที่โรงเรียนวังไกลกังวล จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ใหม่ ดังนี้ 2.1 ระดบั ปฐมวัย (อ.1–อ.3) จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 เพอื่ พัฒนาท้งั ดา้ นร่างกาย อารมณ์ จติ ใจ สังคม และสติปัญญา ตามมาตรฐานคณุ ลักษณะ ปลายทางจดั กระบวนการเรยี นร้ทู ี่สนองตอ่ ธรรมชาตแิ ละพฒั นาการของเด็กแต่ละคนใหเ้ ต็มตามศักยภาพ 2.2 ระดบั ประถมศกึ ษา มูลนธิ ิ ฯ ได้รบั พระราชทานพระราชานญุ าตให้นาํ ส่ือ 60 พรรษา รายละเอยี ดของแผนการจดั การเรียนรู้รายช่ัวโมง พร้อมสอ่ื สําหรบั ครูและนกั เรียนทีม่ คี วามพร้อมในการนาํ ไป คอื ภาษาไทย คณติ ศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วทิ ยาศาสตร์ และกล่มุ บรู ณาการ 2.3 ระดับมธั ยมศกึ ษาตอนตน้ ได้รับความรว่ มมอื จาก สพฐ. ในการปรบั โครงสรา้ งการจดั 3. โดยมี การวางแผนการถ่ายทาํ รายการ การทาํ Story Board การทาํ ความเขา้ ใจร่วมกันของทมี ช่างกลอ้ งกับครผู ูส้ อน ฝ่ายสอื่ การสอน ช่วยจดั หาและแนะนาํ การทําและใชส้ อื่ การสอนใหก้ บั ครใู นห้องเรยี นต้นทาง ทั้งนี้เพื่อให้การ ถ่ายทอด สามารถเตรียม การสอนล่วงหนา้ ไดอ้ ย่างนอ้ ย 2 วนั 4. ใหม้ คี วามทันสมยั มูลนธิ ิ ฯ ได้ดาํ เนนิ การปรับปรงุ หอ้ งเรยี นและอปุ กรณป์ ระจาํ หอ้ ง ได้แก่ การนํา Smartboard มาใช้เพอ่ื ให้ครูต้นทางสามารถนําสอ่ื การเรียนรทู้ ีห่ ลากหลายมาประกอบการสอนทําใหผ้ เู้ รียน เขา้ ใจและเรียนรไู้ ดง้ า่ ยย่ิงขึ้น นอกจากนน้ั ยงั ไดเ้ พิ่มกลอ้ ง Robot อกี หอ้ งละ 1 ตัว ทําให้ถ่ายทาํ กิจกรรมและ การทํางานของนกั เรียนได้ท่ัวห้อง โดยไม่รบกวนสมาธิของนกั เรยี น และเปลยี่ นระบบความคมชดั ของการ 14

ออกอากาศ จากระบบ SD (Standard Definition) มาเปน็ ระบบ HD (High Definition) 5. เพ่ิมชอ่ งทางการเข้าถึง DLTV โดยพฒั นาเว็บไซต์ (website) และแอพพลิเคช่นั บนอุปกรณพ์ กพา (Application on mobile) เพอื่ เปน็ การเปดิ โอกาสให้ผูช้ มทุกกลุ่มอายุสามารถเขา้ ถึง การเรียนการสอนได้กวา้ งขวางและงา่ ยดายขึน้ มูลนิธฯิ ได้เพิม่ ชอ่ งทางให้สามารถรับชมการเรยี นการสอน ผา่ นเวบ็ ไซต์ www.dltv.ac.th ซง่ึ ถา่ ยทอดการจดั การเรียนการสอนจากโรงเรยี นวงั ไกลกงั วลทกุ ช้ันเรยี นผ่าน ทางอินเทอร์เนต็ (Internet) โดยเลือกเข้าชมได้ 3 ทางเลือก คือ (1) การถ่ายทอดสด (Live Broadcast) เชน่ เดียวกับท่ีออกอากาศทางโทรทัศนใ์ นชว่ งเปิดภาคการศึกษา (2) เลือกชมรายการย้อนหลัง (On De- mand) ได้ตามอัธยาศยั และ (3) เลอื กชมรายการการเรยี นการสอนล่วงหนา้ เพือ่ ครปู ลายทางจะได้ประโยชน์ ในการ ใบความรู้ ประกอบบทเรยี นผา่ นทางเวบ็ ไซต์ใน “คลังสื่อการเรียนรู้” ไดอ้ ีกด้วย นอกจากนี้ยัง ใหบ้ รกิ ารทางมือถือผา่ น Application on Mobile สามารถดาวนโ์ หลดไดท้ งั้ ระบบ iOS และ Android เพอ่ื อาํ นวย ความสะดวกให้ผูส้ นใจสามารถเขา้ ถึงรายการความรู้ทางวิชาการและความรู้ท่ัวไปในวงกวา้ ง มากย่งิ ขึน้ 6. ปรบั การออกอากาศเป็นระบบ HD สถานวี ทิ ยุโทรทัศนก์ ารศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม 24 ชว่ั โมง ตัง้ แตภ่ าคเรียนที่ 1/2561 เป็นตน้ ไป สถานวี ทิ ยุโทรทศั น์การศึกษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม ไดอ้ อกอากาศในระบบความคมชัดสงู (High Definition หรอื HD) ควบคู่ไปกับระบบความคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition หรอื SD) การออกอากาศในระบบ HD ควบคู่ไปกับระบบ SD จะดําเนนิ การไป จนกระท่งั ชุดอปุ กรณ์หอ้ งเรียนปลายทาง DLTV ของทกุ โรงเรยี นทัว่ ประเทศปรบั เปน็ ระบบ HD ครบทง้ั หมด ในเดือนพฤศจกิ ายน 2561 จงึ จะยุตกิ ารออกอากาศในระบบ SD การเปลี่ยนแปลงตา่ ง ๆ ของมูลนธิ กิ ารศึกษาทางไกลผา่ นดาวเทยี ม ในพระบรมราชูปถัมภ์ อยู่ใน สายพระเนตรของสมเด็จพระเจ้าอย่หู ัวมหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มาโดยตลอด เพอ่ื ให้ผ้เู รยี น และผสู้ นใจสามารถเขา้ ถึงการศึกษาตามแนวพระบรมราโชบายของพระบาทสมเดจ็ พระเจ้าอยู่หัวรชั กาลท่ี 9 ในการพระราชทานการศึกษาและการเรยี นรตู้ ลอดชีวิตใหแ้ ก่พสกนกิ รชาวไทยอยา่ งทวั่ ถงึ และเทา่ เทียม นอกจากนีม้ ูลนิธิ ฯ ยังให้ความสําคัญเปน็ อยา่ งยง่ิ กบั การสง่ เสรมิ ใหน้ กั เรยี นรักความเปน็ ไทย กริ ยิ ามารยาท จรยิ ธรรม คณุ ธรรม มิใชก่ ารเรียนหนังสือเพียงอย่างเดียว นกั เรียนควรรู้จกั ชว่ ยเหลือตนเอง 15

มคี วามเมตตากรณุ า เอือ้ เฟอ้ื เผอ่ื แผ่ รจู้ ักกตัญญูกตเวทีตอ่ ผมู้ ีพระคณุ โดยเนน้ ใหน้ กั เรียนรทู้ นั เทคโนโลยแี ละ เรียนรูค้ วามเป็นไทยควบค่ไู ปดว้ ย ก็จะสามารถเตบิ โตเปน็ คนไทยทีส่ มบรู ณ์แบบ ชว่ ยพฒั นาประเทศชาตไิ ด้ สอดคล้องกบั ที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หวั มหาวชริ าลงกรณ บดินทรเทพยวรางกรู ทรงมพี ระราชดารัสว่า การศึกษา ตอ้ งสรา้ งคนไทยใหม้ ีคณุ ลักษณะสาคัญ 4 ประการ คือ 1. มีทัศนคติทดี่ ีและถกู ต้อง 2. มีพืน้ ฐานชวี ิตทม่ี ั่นคงเขม้ แข็ง 3. มีอาชพี มีงานทา และ 4. เป็นพลเมอื งดมี ีวินยั อันเป็นที่มาของการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรูปแบบของ NEW DLTV สู่การเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างย่ังยืนต่อไป 16

อุปกรณต์ ดิ ต้งั ภายนอก จานรบั สญั ญาณดาวเทียม สญั ญาณดาวเทยี มทีส่ ง่ ลงมาจากดาวเทียมทสี่ ามารถรบั ในประเทศไทยปัจจบุ ันมอี ยู่ 2 ระบบ คอื 1. จานดาวเทียมระบบ C-Band จานดาวเทยี มลกั ษณะโปร่งคล้ายตะแกรงอลูมเิ นยี มชบุ ดําหรอื ทเี่ รียกว่า จานดา C-Band จะส่งคลืน่ ความถ่ีกลบั มายังโลกอยู่ในช่วงความถ่ี 3.4 - 4.2 GHz ซง่ึ จะมี ฟุตปร้นิ ท์ ทม่ี ขี นาดกวา้ ง ครอบคลุมพนื้ ท่ี การให้บริการได้หลายประเทศ เช่น ของ ดาวเทียมไทยคม 2/5 พ้นื ท่ใี ห้บรกิ าร คอื ทวีปเอเซยี และยโุ รปบางสว่ น ขอ้ ดี การเพมิ่ จุดรับชมสามารถทําได้งา่ ยเน่ืองจาก เครอื่ งรับราคาไมแ่ พง ตดิ ตง้ั คร้ังเดียวจบไม่มคี ่าใช้จ่ายรายเดือน เพราะเปน็ ช่องฟรีทีวี ข้อเสยี ขนาดใหญ่ใชพ้ นื้ ที่ในการตดิ ตง้ั 2. จานดาวเทยี มระบบ Ku-Band จานรับสญั ญาณ KU-Band คือ จานดาวเทียมท่มี ีลกั ษณะทึบ โดยจะมีขนาดตง้ั แต่ 35 cm. 60 cm. และ 75 cm.จะส่งคลื่นความถี่ 10 - 12 GHz สูงกวา่ ความถี่ C-Band สัญญาณที่ส่งจะครอบคลมุ พื้นที่ได้นอ้ ย จึงเหมาะสําหรับการสง่ สัญญาณ เฉพาะภายในประเทศ ขอ้ ดี มขี นาดเลก็ ตดิ ต้งั งา่ ยใช้พน้ื ทตี่ ดิ ตั้งน้อย รายการชอ่ ง ทําได้ ง่าย ขอ้ เสีย ไม่สามารถรบั ชมรายการได้ในขณะท่ฝี นตกหนกั หรือขณะทท่ี ้องฟา้ ครมึ้ มากๆ 17

ความแตกต่างระหว่าง C-Band กับ Ku-Band สญั ญาณทสี่ ง่ ลงมาจากดาวเทยี มทีส่ ามารถรับใน ประเทศไทย ปัจจบุ นั จะมอี ยู่ 2 ระบบ คอื ระบบ C-Band และ Ku-Band ในระบบ C-Band จะสง่ คลืน่ ความถก่ี ลบั มายงั โลกในช่วงความถ่ี 3.4 - 4.2 GHz แบบ นจ้ี ะมฟี ุตปริน้ กว้าง สามารถสง่ สัญญาณครอบคลุมพน้ื ท่ี จึงต้องใช้จานขนาด 4-10 ฟตุ รับสัญญาณ ภาพจึงจะชัด สว่ นในระบบ Ku-Band จะสง่ คล่ืนความถก่ี ลบั มา ยังโลกในชว่ งความถี่ 10-12 GHz สญั ญาณทีส่ ่งครอบคลุม พน้ื ทไ่ี ดน้ ้อย ใช้กบั การส่งสญั ญาณภายในประเทศ ส่วน ใหญใ่ ชก้ บั ระบบการให้บริการเคเบล้ิ ทีวีภายในประเทศ ความเขม้ สญั ญาณจะสงู จึงใช้จานขนาดเลก็ 35-75 เซนตเิ มตร ความเขม้ ของสัญญาณในการสง่ C-Band จะเบากว่า Ku-Band เป็นเหตุผลในทางเทคนคิ ลกั ษณะของใบจานรบั สญั ญาณ Ku-Band จะเปน็ จานทบึ Offset รปู ไข่ ขนาด 0.35 - 1.80 เมตร จากเหตผุ ลนท้ี าํ ให้ระบบ Ku-Band สามารถใชใ้ บจานขนาดเลก็ และสามารถรบั สัญญาณได้ดี ลักษณะของ แผ่นสะท้อนของใบจาน ระบบ Ku-Band จะเป็นโลหะแผ่นเรียบจะเป็นอลมู ีเนียม หรอื เหลก็ ชบุ สี มีคาํ ถาม ว่าถ้าหากจะใช้จานแบบ C-Band รับสญั ญาณระบบ Ku-Band ไดไ้ หม ตอบวา่ ได้ แต่ในทางกลับกันจะเอา จาน Ku-Band มารับสัญญาณ C-Band ไมไ่ ด้ นอกจากจะใชจ้ านขนาดใหญ่จริง ๆ และหัวรบั สญั ญาณ ซ่ึง ในทางเทคนิคเรยี กว่า LNBF (Low Noise Block Down Frequency) เปน็ ตัวแปลงสัญญาณความถ่ีสงู ให้ ตํ่าลงมาจนเหมาะสมกบั ภาครบั ของเคร่ืองรบั สัญญาณ (receiver) ซึง่ ระบบ C-band จะรองรับความถ่ี 3.4-4.2 GHz ในขณะท่ี Ku-Band รองรบั ความถ่ี 10-12 GHz จงึ ไม่สามารถใชแ้ ทนกันได้ แตอ่ าจจะมี บางรุ่นท่ที าํ แบบ 2 in 1 คอื เอาหวั 2 ระบบบรรจุไวใ้ น Case เดียวกัน เครื่องรับสัญญาณ (receiver) โดยท่ัวไปไมแ่ ตกตา่ งกนั นอกจากผผู้ ลติ จะเจตนาให้ตวั เคร่อื งรับได้เฉพาะบางระบบ จงึ ไมส่ ามรถนาํ มาใช้รับ สญั ญาณระบบ C-Band ได้ ซง่ึ โดยทั่วไปเครื่องรบั สามารถรับสัญญาณไดท้ ้ัง 2 ระบบ เพยี งแตต่ ้งั ค่า LNBF ใหถ้ ูกต้องเท่านัน้ เอง ขอ้ ควรรเู้ พมิ่ เตมิ คอื ระบบ Ku-Band เป็นระบบที่สง่ สญั ญาณด้วยความถี่สูง ซ่ึงจะมีปญั หาการรบั สัญญาณในขณะฝนตกหนัก การเพม่ิ ขนาดของจานรบั อาจช่วยได้บา้ งแต่ถา้ ฝนตกหนัก เมฆหนาทบึ จะรบั สญั ญาณไมไ่ ด้ 18

ขาตดิ ตัง้ จาน และอุปกรณ์การติดตง้ั ขาติดตง้ั จานสว่ นใหญท่ ใี่ ช้งานสําหรับจานรบั สัญญาณ Ku-Band จะมี 2 ประเภท คอื ประเภท ตดิ ตง้ั ประจําทีแ่ ละแบบทส่ี ามารถนาํ เคลื่อนท่ไี ปได้ใชก้ บั จานขนาดเล็ก ขาสําหรับตดิ ตั้งประจาํ ท่ี ที่ใช้งาน กนั ทว่ั ๆ ไปมใี หเ้ ลอื ก 2 แบบ คือ 1. ขาตั้งบนพื้นราบ ซง่ึ มีความสูงประมาณ 80 -120 ซ.ม. มีเส้นผ่าศูนยก์ ลางประมาณ 11/2 นิ้ว มฐี านเจาะรูสาํ หรบั ใส่น็อตยึดตดิ กับพนื้ 4 รู 2. ขาสาหรับตดิ ผนัง หรอื เครอ่ื งมอื วัดค่าองศาให้ขาต้ังตรง 90 19

หัวรบั สญั ญาณ LNB (Low Noise Block Down Converter) หัวรบั สัญญาณ (LNB) คืออปุ กรณ์ขยายสญั ญาณรบกวนตา่ํ ทําหนา้ ที่เป็นภาคขยายสญั ญาณ ความถี่วิทยุ (RF Amplifier) ทมี่ ี LNA: Low Noise Amplifier อยูภ่ ายใน และมีหน้าทีร่ ับสญั ญาณที่ สะทอ้ นรวมจุดมาจากจานรบั สญั ญาณผ่านชอ่ ง Feed Horn และ Wave Guide รับสญั ญาณ IF - Input (20V > Horizontal > 15.5V > Vertical > 11.5V) และควบคุมระดบั ของสญั ญาณรบกวน Noise ให้มคี ่า น้อยทส่ี ดุ จากนนั้ จะทาํ การส่งผา่ นภาคแปลงความถ่ใี ห้ตํา่ ลง Down Converter เช่น แปลงความถ่ียา่ น C-Band จาก 3.7- 4.2 GHz และ 10-12 GHz ย่าน Ku-Band ให้เหลอื 950-2050 MHz จงึ จะสามารถ ส่งผา่ นไปกบั สายสญั ญาณ RG-6 ไปยังเครอ่ื งรับสัญญาณดาวเทียมได้ LNB แบ่งออกได้เปน็ 2 ประเภท ดังน้ี 1. LNB C-Band 2. LNB Ku-Band ซงึ่ แบง่ ออกเปน็ 2 แบบ คือ 2.1 แบบยูนเิ วอร์แซล (Universal) มีคา่ ความถ่ี LO (Local Oscillator) ภายในตัว = 9750-10600 MHz 2.2 แบบมาตรฐาน (Standard) มคี า่ ความถ่ี LO ( Local Oscillator ) ภายในตัว = 11300 MHz 20

การเลอื กใช้ LNB แบบไหนกับดาวดวงใด มีสตู รดงั นี้ 21

สายนาสญั ญาณโคแอคเชยี ล ชนดิ RG6/U Outdoor (ใช้ภายนอกอาคาร) สาย RG6 เปน็ สายกลมมีขนาดประมาณ 6 mm RG6 = Radio Guide หมายถงึ สายนาํ สญั ญาณวิทยุ /U คอื Utility หรอื UNIVERSAL หมายถงึ การใช้งานท่วั ไป ท่มี ีศนู ยก์ ลางของช้นั ตา่ งๆ รว่ มกัน (Coaxial) สาย RG6 ที่เราใชร้ ว่ มกับจานดาวเทยี มจะทําหนา้ ทอ่ี ยู่ 2 อยา่ งดว้ ยกนั คือ 1. นาํ สญั ญาณความถค่ี ลืน่ วทิ ยุ 2. นาํ ไฟฟ้ากระแสตรงจา่ ยไปในสายใหว้ งจรหวั รบั สญั ญาณ (LNB) โครงสรา้ งของสายนาสญั ญาณ RG6 - ตัวนาํ สัญญาณแกนกลาง (Core) - ฉนวนแกนกลาง (Dielectric Insulator) - ช้ันป้องกันสัญญาณ (Shield) - Shield Bonded Aluminum Foil Shield (แผ่นบาง) - ชน้ั ป้องกนั สญั ญาณ (Shield) - Aluminum Braid (สายถัก) - ชัน้ ฉนวนเปลอื กห้มุ (Jacket) – PVC 22

ตวั นาสัญญาณแกนกลาง Core สญั ญาณทสี่ ่งจาก LNB มีความถี่สงู มาก 950 MHz – 2150 MHz จะไหลผา่ นตวั นําทองแดงท่ี ความลึกจากผวิ เพียง 0.002 mm (2 micron) สายแกนกลางทองแดงล้วนจะไดเ้ ปรียบกว่าแบบชบุ ทองแดง ที่อาจมีคณุ ภาพไม่ดพี อซ่งึ สายทองแดงลว้ นจะนาํ สญั ญาณไดด้ กี ว่า แรงดันไฟฟ้าจะลดลงตามความยาวของสาย ทมี่ ากขน้ึ ไฟฟา้ กระแสตรง DC 18V / 13V (กําหนดการรับสญั ญาณแนวนอน-แนวต้ัง) ผา่ นสายแกนกลาง ทองแดงลว้ น แรงดันลดลง 1V ทุกๆ 50 เมตร สว่ นอลมู เิ นยี มชบุ ทุก ๆ 30 เมตร สายแกนกลางแบบชุบ ได้เปรียบทีร่ บั แรงดึงได้มากกว่าและราคาถูกกวา่ พอสมควร นิยมใชก้ ันทวั่ ไป ฉนวนแกนกลาง Dielectric Insulator เน้อื วสั ดุเปน็ แบบฟองอากาศ โฟม (Foam) ทําให้ประสทิ ธิภาพสูงกวา่ แบบทบึ (Solid) วัสดทุ าํ มา จาก Polyethylene ตอ้ งมีคณุ สมบัตใิ นการทนความรอ้ นไดด้ ี รับนํ้าหนักไดด้ แี ละแกนกลางกับตวั ฉนวนท่ดี ี ทาํ ใหก้ ารนาํ สญั ญาณไดด้ ี เน้อื วัสดนุ ม่ิ การดัดงอสายควรมีรศั มคี วามโคง้ มากว่า 7 cm เพอื่ ลดการเคลอ่ื นของ Core จากแนวศนู ยก์ ลาง ซงึ่ จะทําใหป้ ระสทิ ธภิ าพการนาํ สญั ญาณลดลง ถ้าจาํ เป็นต้องงอสายรศั มแี คบมาก จําเป็นจนทําให้เสียรปู ทรง จะทาํ ใหป้ ระสทิ ธภิ าพการนําสัญญาณลดลง ชนั้ ป้องกันสัญญาณ Shield Bonded Aluminum Foil Shield (แผ่นบาง) สาย และป้องกันการส่งคลืน่ ภายในสายออกไปรบกวนสญั ญาณภายนอกไดเ้ ช่นกนั สายที่ดีควรมอี ลู เนียมฟอยด์หนาหรือ บางยห่ี อ้ ก็อาจจะมีหลายชน้ั และอลมู ิเนยี มฟอยดก์ ค็ วรจะมกี าวช่วยยึดจับตดิ กบั โฟม แกนกลางดว้ ยก็จะทําใหส้ ายมีประสทิ ธิภาพการนําสญั ญาณไดด้ ยี ิ่งข้นึ 23

ชนั้ ปอ้ งกนั สญั ญาณ Aluminum Braided Shield (สายถัก) สว่ นนเ้ี ปน็ ส่วนทส่ี าํ คญั มาก เวลาเลือกใชบ้ างคนก็เลือกใช้แบบที่มีชีลด์แบบถกั เยอะๆ เช่น ขนาด 64 ถกั 128 เสน้ ลวดทใ่ี ช้ถักน้ันเส้นเล็กหรือเส้นใหญ่ ลวดเสน้ เลก็ ท่ีใช้กนั มขี นาดประมาณ 0.12 mm. สว่ นเส้นลวดขนาดใหญจ่ ะใชข้ นาด 0.16 mm. ซึ่งจะบอกเป็น % คือพน้ื ท่ีความหนาแนน่ ในการถกั เชน่ 60% 90% 95% สูงสุดอย่ทู ี่ 95% หรือจาํ นวนของเส้นลวดทีใ่ ชใ้ นการถัก เชน่ 112, 120, 124, 144 เสน้ ลวดยงิ่ มาก ย่ิงชว่ ยในการนาํ สญั ญาณไดด้ ี และป้องกนั สัญญาณรบกวนจากภายนอก ทําใหส้ ง่ สญั ญาณได้ในระยะท่ไี กลขน้ึ ควรเลือกใชส้ ายตามความเหมาะสมสภาพของหน้างานในพนื้ ท่ี ช้ันฉนวนเปลอื กหุ้ม (Jacket) – PVC ฉนวนชน้ั น้ีเรยี กวา่ Jacket เปลอื กหมุ้ ดา้ นนอกสุดนีท้ ําจากตัว PVC (Polyvinylchloride) โดย มีส่วนผสมของวัสดทุ ่เี ปน็ PE (Polyethylene ) ซงึ่ มคี ุณสมบตั สิ ามารถป้องกันน้าํ และทนแดดเข้ามาเพม่ิ เติม เพ่อื ใหค้ งทนแขง็ แรงรองรับกบั สภาพสงิ่ แวดล้อมได้ โดยท่ัวไปมใี หเ้ ลือก 2 สีคอื สขี าวและสดี ํา ฉนวนช้นั นี้เปน็ ส่วนทรี่ ับสภาพสิง่ แวดลอ้ มภายนอก ป้องกนั น้าํ ความชน้ื ความร้อนจากแสงแดด 24

หวั ตอ่ แบบ F-type หวั ต่อ (Connector) แบบ F-type แบ่งตามการเข้าหัวได้ 3 ประเภท 1. หวั ตอ่ F-type แบบอดั เปน็ หวั ต่อ F-type ทน่ี ยิ มใชภ้ ายนอกอาคารส่วนทต่ี อ่ เชอ่ื ม กับ LNB หรอื กับข้ัวตอ่ ทเ่ี ช่ือมตอ่ ภายนอกอาคาร มีความแขง็ แรงทนทานเชื่อมต่อกับอปุ กรณไ์ ด้แนน่ สนิท การใชง้ านต้องใชค้ มี เข้าหัว F-type ชนดิ อัด (Compression Tool) 2. หัวต่อ F-type แบบบบี ย้า เปน็ หวั ตอ่ F-type ทใี่ ชไ้ ดท้ งั้ ภายนอกและภายในอาคาร การใช้งานต้องใช้กับคีมเขา้ หวั ชนิดบีบ (Coax Crimp Tool) หรือคมี ยํ้าหัว F-type RG6 3. หวั ต่อ F-type แบบเกลียว และขอ้ ตอ่ กลาง เปน็ หวั ต่อท่ีนิยมใช้งานภายในอาคาร หรืองานเชื่อมตอ่ อุปกรณ์ท่วั ๆ ไป ไมต่ ้องการเนน้ คุณภาพของสัญญาณมากนัก การใชง้ านสามารถใชม้ ือหมนุ เกลยี วเข้ากับสาย RG6 ไดท้ นั ที และอาจใช้คีมปากจิง้ จกช่วยคันเข้ากับอปุ กรณเ์ พือ่ ใหเ้ กลียวแนน่ กระชับ พอประมาณ ก๊ิฟตอกสาย RG-6 (Cable Clip) สาํ หรับใช้ยึดสาย RG6 ใหต้ ดิ แนบกับผนัง จากหัวรับสญั ญาณ (LNB) มายงั Multiswitch หรือเครอ่ื งรับสัญญาณดาวเทียม 25

เทปพันสายชนดิ ละลายกนั นา้ / บชู ยาง เน้อื เทปสามารถยืดออกได้ โดยดงึ ยืดออกมาเพือ่ ลดการเกดิ ฟองอากาศได้มากขน้ึ บูชยางเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ทีไ่ ดม้ าพรอ้ มกับหวั รับสญั ญาณ( LNB ) บรรจอุ ยใู่ นกล่องเดยี วกัน ใชส้ ําหรบั สวมท่ีขั้วตอ่ F-type ท่หี วั รับสัญญาณ (LNB) หลังจากพนั เทปละลายเสร็จเรยี บรอ้ ยแล้วเพอื่ ช่วยปอ้ งกันน้ําเข้าอกี ชน้ั เทปแบบพนั ละลาย LNB & บชู ยาง วิธีใชง้ านเทปละลายกันน้า ดงึ เทปยางละลายให้ยดื ออกประมาณ 2 ใน 3 ของหน้าเทปปกติ หรือจนกระทงั่ เนอ้ื เทปเปลีย่ นเปน็ สเี ทาเขม้ พนั เทปใหท้ บั ซ้อนกันกงึ่ หน่ึงของหน้ากว้างเทปจากล่างข้ึนบน พันไป-กลับอยา่ งน้อย 3-4 ชน้ั โดยดึงให้ แน่นและไมม่ ีฟองอากาศ เพ่อื ความม่นั ใจในการป้องกนั น้าํ หรือความชื้นและใช้เทปพันสายไฟพนั ทับอีกครง้ั สายรัดพลาสติก (Cable Ties) เคเบิ้ลไทร์ (Cable Tie) หรือที่รู้จกั กนั ในชอื่ hose tie, zip tie หรอื tie-wrap เปน็ สลักภัณฑ์ (Fastener) ประเภทหนึ่งซึง่ ออกแบบเพอ่ื รดั สายสญั ญาณหรือสายไฟเข้าด้วยกันเพอ่ื ความเป็นระเบียบ และยังถกู นําไปใช้ในงานหลากหลายประเภท เคเบิล้ ไทร์ แบ่งได้ 2 แบบ คอื แบบปลดลอ๊ คได้ และแบบปลดล๊อคไม่ได้ โดยทั่วไปจะใช้งานเพอ่ื รดั เพยี งครง้ั เดยี ว จากน้นั จะถูกตดั ทงิ้ มากกวา่ จะทปี่ ลดลอ็ คและ นาํ กลับมาใช้ใหม่ อยา่ งไรก็ตาม หากต้องการปลดล็อคเคเบล้ิ ไทรก์ ม็ ีวิธที ไี่ มต่ ้องตัดเคเบิ้ล ไทร์ โดยปลดเขี้ยวกระเด่ืองจากสายดว้ ยเหล็กแหลม เขม็ เย็บผ้า หรอื ไขควงเบอร์เล็ก ๆ แหยเ่ ขา้ ไปกดตัวเขย้ี วแลว้ ดงึ สายเคเบ้ิลไทรอ์ อกมา เคเบลิ้ ไทรแ์ บบปลดลอ็ คไดน้ ้ันจะมี ส่วนใหก้ บั เพือ่ ปลดเขี้ยว แบง่ ตามการใชง้ านได้หลายประเภท เคเบ้ิลไทร์สําหรบั ใช้งาน ทว่ั ไป เคเบิ้ลไทร์สําหรับใชง้ านกลางแจง้ เคเบลิ้ ไทร์สีนํ้าเงนิ นนั้ ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เคเบล้ิ ไทร์ที่ผลติ จาก ETFE (Ethylene tetrafluoroethylene) หรือ Tefzel ใชใ้ นงาน ทมี่ อี ุณหภูมิสงู เชน่ ในมอเตอรไ์ ฟฟ้า เคเบิ้ลไทร์สเตนเลสใชใ้ นงานทท่ี นตอ่ เปลวเพลงิ 26

อปุ กรณต์ ิดตั้งภายใน อุปกรณข์ ยายสญั ญาณดาวเทยี ม (IN Line Amp) เป็นอปุ กรณข์ ยายสญั ญาณระหวา่ งหัวรับสัญญาณ (LNB) และเครอื่ งรบั เหมาะสาํ หรบั พื้นท่ี รบั สัญญาณดาวเทยี มที่มีสญั ญาณออ่ นหรือต้องการขยายสัญญาณ เพอ่ื ต่อเข้าอปุ กรณ์สปลทิ เตอร์ เพือ่ ต้องการแยกสัญญาณเข้ากลอ่ งเครอ่ื งรับหลายๆ จุด หรอื ระยะทางจากหัวรบั สัญญาณ (LNB) ถึงเคร่ืองรับ สญั ญาณมรี ะยะทางเกนิ 30 เมตร การใช้งานต้องเฉลยี่ ระยะทาง ติดต้ังให้อยู่ระยะตรงกลางทาง ถา้ ใกล้ ทางดา้ นหวั รบั สัญญาณ LNB มากเกินไปกจ็ ะทําใหส้ ญั ญาณท่ีได้ จะแรงเกินไป แตถ่ า้ ใกลท้ างดา้ นเครื่องรบั มากไป สัญญาณท่ไี ด้กจ็ ะอ่อนมาก เนื่องจากสญั ญาณดา้ นขาเขา้ มกี าํ ลงั อ่อนมาก ขยายไม่ได้ ควรเฉลย่ี ใหไ้ ด้ ระยะ 40/60 ของระยะทางทั้งหมดถึงเครื่องรบั สัญญาณ Multiswitch ทาํ หน้าท่เี ป็นสวิตช์ ตดั ต่อแรงไฟ 13/14 V และ 17/18 V จากหวั รับสญั ญาณ (LNB) เหมาะ สําหรับสถานทท่ี ี่ตอ้ งการรับชมแยกอิสระ 3-4 จดุ โดยใชเ้ ครื่องรับสัญญาณ จดุ ละ 1 เคร่อื ง (2 x 4) 1 LNB 1 จานดาวเทยี ม แยก 4 เครอื่ งรบั สามารถรองรับ LNB ไดถ้ ึง 2 พอร์ท แตค่ วรใช้ร่วมกับ LNB ประเภท แยก V-H 27

DiSEqC Switch DiSEqC (Digital Satellite Equipment Control.) คอื อปุ กรณท์ ท่ี าํ หนา้ ท่ี เป็นสวติ ซต์ ัดต่อเพื่อเลอื กสัญญาณจากหวั รบั สญั ญาณดาวเทียม (LNB) ทไี่ ด้เชอ่ื มตอ่ ขาอนิ พตุ หรอื ขาเขา้ ของตัวอุปกรณ์สําหรับไดเซคสวิตซ์ รับหลาย LNB (ดาวเทียมหลายดวง) ไปเคร่อื งรับ 1 เคร่อื ง ที่นิยม ใชท้ วั่ ไปในประเทศไทย คอื DiSEqC เวอรช์ ั่น 1.0 จะมอี ย่ดู ้วยกัน 2 รนุ่ 1. รนุ่ 2 ทาง คือ เข้า 2 ออก 1 หรอื เรยี กวา่ DiSEqC 2x1 2. รุ่น 4 ทาง คือ เข้า 4 ออก 1 หรือ เรียกวา่ DiSEqC 4x1 Power Pass / Splitter Power Pass / Splitter เป็นอปุ กรณ์ท่ที าํ หน้าที่แยกสญั ญาณจากหวั รับสัญญาณดาวเทยี ม (LNB) แบบ Universal 1 หัว ไปยังเครอื่ งรับสญั ญาณหลายเครอื่ ง (Multi receiver) โดยการทาํ งานจะ ต่างจาก Splitter ธรรมดาทยี่ อมใหไ้ ฟ 18V / 13V จากเคร่อื งรบั ผ่านไปจ่ายให้ LNB ได้ โดยไฟฟ้า กระแสตรง แรงดัน 18V / 13V ผา่ นได้ทกุ ข้วั แต่จะสง่ 18V / 13V ไปเปล่ยี นแนว Hor / Ver คนละแนว กบั เคร่อื งอน่ื ไม่ได้ ใชใ้ นกรณรี บั สัญญาณแนวเดยี วกนั พรอ้ มกันเท่านนั้ และยอมให้ความถี่ 22kHz ผ่านได้ ทกุ ข้ัว หากใช้ LNB แบบหลายข้วั จะให้คุณภาพสญั ญาณดกี วา่ และ ไม่มขี อ้ จํากัดการเลอื กแนว 28

เครือ่ งรับสัญญาณดาวเทยี ม เครื่องรบั สัญญาณดาวเทยี ม (Satellite receiver) หรอื ตัวรซี ฟี เวอร์ ในบางคร้งั ทางการคา้ อาจ เรียกว่า เซ็ตทอ็ ปบ็อกซ์ (Set Top Box) หรอื ในทางเทคนิคถูกเรยี กวา่ IRD (Integrated receiver & Decoder) แต่โดยรวมแล้วก็คือเครื่องรบั สญั ญาณดาวเทียม แตอ่ าจจะมฟี งั กช์ ่ันการทาํ งานหรือคุณสมบัติ บางอย่างที่แตกตา่ งกันออกไปบา้ งเท่านน้ั หนา้ ที่ของเครื่องรับสญั ญาณดาวเทยี ม คือ จะแปลงสญั ญาณ IF ทว่ี ่ิงมาตามสายนาํ สญั ญาณ ผา่ นระบบตา่ งๆ ภายในเครอื่ งรบั รวมท้งั ถอดรหัสจากเคร่ืองส่งให้ออกมาเป็น ภาพและเสียง เครือ่ งรับสัญญาณดาวเทยี มแบ่งตามประเภทของสัญญาณท่รี ับสง่ ได้ 2 ประเภท ดงั น้ี 1. เคร่อื งรับสญั ญาณจานดาวเทียมระบบ Analog เป็นเครอื่ งรับสญั ญาณทที่ าํ หนา้ ที่ Analog นี้ สญั ญาณทร่ี บั ไดม้ ีความแรงของสัญญาณทเี่ พยี งพอ ภาพทไี่ ด้กจ็ ะมคี วามคมชดั แต่สญั ญาณที่ได้ ออ่ น ภาพท่ไี ดจ้ ะไมช่ ัดและเป็นเมด็ คล้ายสายอากาศทวี ีท่ภี าพไมช่ ดั (ปัจจบุ นั เคร่ืองรบั ชนิดนีไ้ ม่มวี างขาย ในทอ้ งตลาดแลว้ ) 2. เครื่องรับดาวเทยี มระบบ Digital เปน็ เครือ่ งรับดาวเทยี ม ทร่ี บั สัญญาณจากดาวเทยี ม ท่ีสง่ สัญญาณแบบดิจิตอล แลว้ ทําการแปลงสญั ญาณข้อมลู ดว้ ยระบบถอดรหัสแบบ Digtal ใหเ้ ป็นภาพและ เสยี งท่สี มบรู ณแ์ บบ ระบบการบีบอดั ขอ้ มูลสัญญาณท่ีใช้ในระบบดาวเทียมทเ่ี ปน็ Digital คอื การบบี อดั ขอ้ มูลระบบ MPEG-II เปน็ ระบบถอดรหสั แบบเดยี วกันกบั เคร่อื งเลน่ DVD ซง่ึ ให้ความคมชัดมากทง้ั ระบบ ภาพและเสียง สาํ หรบั การรับสญั ญาณระบบ Digital ในกรณีท่ีสญั ญาณทร่ี ับได้จากระบบดาวเทียมมคี วามแรง สัญญาณตํา่ ถา้ เป็นแบบระบบเดมิ ภาพท่ีได้จะไม่ชดั และเป็นลกั ษณะเมด็ ฝน แตถ่ า้ เปน็ ระบบ Digital ระบบ จะยงั คงประมวลผลได้ และระบบภาพเสียงทไ่ี ดก้ จ็ ะยงั คงความคมชัดอยเู่ หมอื นเดมิ (ยกเวน้ สญั ญาณทร่ี ับ ได้อ่อนมากๆ หรือตํ่าเกนิ ไป) ภาพจะมีอาการคลา้ ยๆ กับแผน่ ซีดีที่มรี อยมากๆ 29

สายสญั ญาณ HDMI / สายสญั ญาณ AV 1. HDMI ย่อมาจาก High Definition Multimedia Interface ระบบการเชอ่ื มต่อสญั ญาภาพและเสยี งระบบดิจิตอลไว้ใน สัญญาณเพียงเส้นเดียว ไม่จําเป็นต้องต่อสายสญั ญาณหลายเส้น HDMI จะทาํ ใหภ้ าพมคี วามคมชดั มคี วามละเอียดสูง และให้เสียงรอบทิศทางที่ สมบรู ณแ์ บบท่ีสุด HDMI รองรับกับระบบเสยี งดจิ ิตอล จดุ ประสงคห์ ลกั ของ HDMI พัฒนามาเพ่อื ความสะดวกสบายใหก้ บั ผูบ้ ริโภคและให้ความบันเทิงอย่างเตม็ รปู แบบ รองรบั Color Space ทาํ ให้ภาพคมชดั สมจริงมากยง่ิ ข้นึ เทคโนโลยี HDMI ทีพ่ ัฒนามาจนถึงปัจจบุ ันมีหลาย เวอร์ช่ัน ซึ่งในแต่ละเวอร์ช่ันจะมีลักษณะทางกายภาพเหมือนกัน แต่ต่างกันในแง่ของศักยภาพ และประสิทธภิ าพ แต่จะมรี าคาทเ่ี พิ่มขึ้นตามมาด้วยซึ่งอาจเกินความจาํ เปน็ ประเภทของสาย HDMI HDMI (High-Definition Multimedia Interface) หมายถงึ การเช่ือมตอ่ โดยสง่ ขอ้ มลู แบบ Multimedia เช่น ข้อมูลภาพและเสียง เปน็ ตน้ ในรปู แบบมาตรฐานหน่งึ ของการสง่ สญั ญาณภาพทมี่ ีความ ละเอียดสูง และไมม่ ีการบบี อดั ขอ้ มลู (Uncompressed) ทาํ ให้ผลรับท่ไี ดม้ ีคุณภาพทีส่ งู ขึน้ อย่างมาก สาํ หรับประเภทของสาย HDMI บรษิ ัทผผู้ ลิตสว่ นใหญจ่ ะระบปุ ระเภทของสาย HDMI ตาม ขอ้ กาํ หนดมาตรฐานของ hdmi.org มาท่กี ลอ่ งบรรจุภัณฑ์ ซ่งึ ในปจั จบุ ันสาย HDMI มีทั้งหมด 5 ประเภท ไดแ้ ก่ 1. Standard Speed HDMI เปน็ สาย HDMI ระดบั มาตรฐาน ทม่ี ีอัตราแบนด์วธิ อยทู่ ี่ 2.25 Gbps รองรบั การส่งผา่ นสัญญาณภาพความละเอยี ดสงู ท่ี 720p/1080i พร้อมระบบเสยี ง True HD ARC (Audio Return Channel) 2. Standard Speed Automotive พ้นื ฐานเหมือนกับ Standard Speed แต่ มนั่ คงในรถยนตร์ 30

3. High Speed HDMI เปน็ สาย HDMI ระดับสูง ทมี่ ีอัตราแบนดว์ ธิ อยทู่ ี่ 10.2 Gbps รองรบั การส่งผ่านสญั ญาณภาพความละเอยี ดสงู ท่ี 1080p หรอื สงู กวา่ พร้อม Deep Color, Extended Colors และ ระบบเสียง True HD นอกจากน้ียงั รองรบั มาตรฐาน 1080p 120Hz ซึ่งเป็นมาตรฐานของ 3D Blu-ray ขณะเดียวกนั ก็รองรับ ARC (Audio Return Channel) เช่นเดียวกัน 4. Standard Speed HDMI with Ethernet พน้ื ฐานเหมอื นกับ Standard Speed แต่เพิม่ เตมิ ในสว่ นของ Ethernet over HDMI ซ่ึงทดแทนมาตรฐาน Ethernet port (100Mbps LAN) ออนไลนค์ อนเทนต์ การควบคุมหรือแชร์ขอ้ มูลระหวา่ งอุปกรณ์หรือเพือ่ อพั เดทเฟิร์มแวร์ 5. High Speed HDMI with Ethernet พ้ืนฐาน เหมอื นกบั High Speed แตเ่ พมิ่ เตมิ ในส่วนของ Ethernet over HDMI สายราคาถกู กบั ราคาแพง จะมีขอ้ แตกต่างกันทก่ี ารออกแบบหัวปล๊ัก คุณภาพของตัววัสดทุ ่ใี ช้ทําสาย และขน้ั ตอนการทดสอบคุณภาพต่าง ๆ สายทแี่ พงกวา่ น้นั มกั จะออกแบบมาให้ ตัวสายทนตอ่ การดงึ หัวปล๊ักเข้า–ออก การขดงอของสาย การหักสายทต่ี วั ปล๊ักได้ดกี ว่าสายราคาถกู โดยเฉพาะ สายราคาถกู จะมลี ักษณะคล้ายๆ สายมยี ีห่ อ้ แต่พอใช้งานไปสกั ระยะมักจะมีปญั หาตามมา สว่ นสายสญั ญาณ ท่ดี จี ะสามารถสง่ สญั ญาณไดต้ ามทร่ี ะบเุ อาไว้ นอกจากนีบ้ างบรษิ ทั ยังมีการรบั ประกนั สินคา้ ให้ดว้ ย พอรต์ Composite หรือพอร์ต AV Composite Video สายสัญญาณภาพ เรยี กว่าสาย AV (Audio- Video) หรอื RCA (Radio Corporation America) เป็นพอรต์ สาํ หรบั เช่ือมต่อเพอื่ สง่ สัญญาณภาพและเสียง มีช่องรบั สญั ญาณ 3 ชอ่ งแยกตามสขี าว สีเหลอื ง และสแี ดง โดยมีการแยกสญั ญาณภาพ ตามสตี า่ งๆ ดังน้ี 1. สเี หลอื ง จะเปน็ สายนาํ สญั ญาณภาพ ทร่ี วมสัญญาณความ สวา่ ง (Y=Luminance) กับสญั ญาณสี (C=Chrominance) 2. สีขาว จะใชแ้ ทนสญั ญาณเสียงแบบอนาลอ็ ก ขา้ งซ้าย (L) 3. สีแดง จะใชแ้ ทนสญั ญาณเสียงแบบอนาลอ็ ก ข้างขวา (R) การเชือ่ มตอ่ ทําไดง้ ่ายสามารถเชอื่ มต่อกบั อินเตอร์เฟสทีเ่ กย่ี วขอ้ ง การยอ่ ยสลายเสียงรบกวนและภาพรบกวนทเี่ กดิ จากการรบกวนของเสียงและ วิดโี ออินเทอรเ์ ฟซ AV ใชก้ ันอย่างแพรห่ ลายในการเชอ่ื มต่อระหว่างทีวีและดวี ดี ี และเป็นส่วนติดตอ่ ทจี่ ําเปน็ สาํ หรบั ทวี ีแต่ละเคร่ือง เนื่องจากเอาต์พุต AV ยงั คงเปน็ สัญญาณวดิ ีโอทผี่ สมกบั ความสวา่ งและความเข้มของสี ซง่ึ ก่อใหเ้ กิดความสูญเสียต่อคุณภาพของภาพดงั น้ันคุณภาพของสว่ นติดต่อ AV จงึ ยังไมเ่ ปน็ ท่ีนา่ พอใจ 31



ประแจปากตาย /ประแจแหวน # 10 12 / ประแจเลอ่ื น / ประแจบลอ็ ก ประแจปากตาย ประแจแหวน ประแจเลือน ประแจบลอ็ ก ไขควง/ไขควงวัดไฟฟา้ /มัลติมเิ ตอร์/คมี ปอกสายRG6 /คีมเข้าหวั F-type ไขควง ไขควงวัดไฟฟ้า มลั ตมิ เิ ตอร์ คีมปอกสาย RG6 คีมเข้าหวั แบบอัด คมี เขา้ หัวแบบบีบ 33

สวา่ นชนดิ เจาะคอนกรีต / ดอกเจาะคอนกรตี / คอ้ น สวา่ นเจาะคอนกรีต สวา่ นเจาะเจาะไม้ ดอกสว่าน คอ้ นเดนิ สายไฟฟา้ เขม็ ทศิ /เครอ่ื งมอื วัดมมุ /เครื่องมอื วดั องศา (ระดับนา้ ) เขม็ ทศิ เครอื่ งวดั มมุ เครอื่ งมอื วดั องศา (ระดบั นํา้ ) เครื่องวดั สัญญาณดาวเทียม (Satellite Finder Meter) 34

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ในการตดิ ต้ังระบบการรับสญั ญาณจานดาวเทยี มในโรงเรียน เพือ่ ใชใ้ นการจัดการเรยี น การสอนการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม มขี อ้ ควรคาํ นงึ ถึงความปลอดภยั ดังนี้ 1. สาํ รวจโครงสรา้ งท่ยี ดึ ขาตัง้ จานต้องมีความมัน่ คงแข็งแรงทนต่อแรงลม เมื่อขันน๊อตยึดขา ตั้งเรยี บร้อยแล้วตอ้ งทดลองโยกขาตั้งเพ่อื ทดสอบความแข็งแรงก่อนตดิ ตัง้ ตัวจานรบั สัญญาณ 2. ขณะทําการตดิ ตัง้ หรือกําลังเชือ่ มต่อสายท่ีหัว LNB ควรปดิ เครอ่ื งรบั สญั ญาณกอ่ นทกุ คร้ัง เพือ่ ป้องกันการลัดวงจร ทาํ ใหภ้ าคจา่ ยไฟของเครอ่ื งรบั สัญญาณเสียหาย 3. เม่ือเขา้ หัว F-Type เสรจ็ เรยี บร้อยแล้วควรตรวจสอบการลดั วงจรดว้ ยมัลตมิ เิ ตอร์ทกุ ครง้ั กอ่ นตอ่ เขา้ กับขัว้ ของ LNB โดยปลายสายอกี ดา้ นหนง่ึ ตอ้ งไม่ตอ่ กับเครอ่ื งรบั หรอื เครื่องทดสอบสัญญาณ 4. เมอ่ื ต้องการปรบั แตง่ จานหรอื ซอ่ มบาํ รุง เม่อื เปิดเครอ่ื งรับแล้วให้ใชไ้ ขควงวดั ไฟตรวจวดั ไฟฟ้าบริเวณหัว F-Type ที่เครือ่ งรบั หรอื ทข่ี ว้ั LNB และตวั จานทเี่ ปน็ โลหะกอ่ น เพือ่ ป้องกันไฟฟา้ 220 V รว่ั ย้อนกลบั ไปที่ตัวจาน 5. ควรตอ่ สายกราวด์ขนาดไมน่ อ้ ยกวา่ 6 SQ MM. จากตวั จานท่เี ปน็ โลหะ ตอ่ ลงหลกั ดิน (แทง่ กราวด)์ มี ความยาวโดยประมาณ 2.40 เมตร ตามมาตรฐานการไฟฟา้ สว่ นภูมภิ าคการตง้ั จาน ดาวเทียม 6. หลกี เลีย่ งการซอ่ มบํารงุ ขณะมฝี นฟ้าคะนอง 35



ขนั้ ตอนการติดตัง้ จานและเครื่องรบั สัญญาณดาวเทียม ในการติดตัง้ จานดาวเทยี มเพือ่ ใช้ในการจัดการเรยี นการสอนของ มที ้งั หมด 8 ขน้ั ตอน ดังน้ี 1. สารวจสถานทต่ี ดิ ตั้งทางกายภาพ เคร่อื งรับไม่เกนิ 30 เมตร ถ้ามคี วามจาํ เปน็ ตอ้ งติดตง้ั มรี ะยะทางเกิน 30 เมตรตอ้ งใชอ้ ปุ กรณ์ขยายสัญญาณ (line amp) ชว่ ยระหวา่ งทาง 2. ติดตั้งขายึดจาน ทําเคร่อื งหมายเจาะรู 1 รูก่อน กรณผี นงั คอนกรีตใหใ้ ส่พกุ เหล็กขันนอ็ ตยดึ พอแนน่ ให้สามารถขยบั ไดเ้ ล็กนอ้ ยสาํ หรบั ปรบั ขาจากนัน้ ใชเ้ ครื่องมอื วดั องศา (ระดบั น้าํ ) ทาบด้านข้างและดา้ นหน้าของเสา เพอื่ ปรบั ขายึดจานใหไ้ ดม้ ุมต้ัง ฉาก 90 องศา จงึ ทาํ เคร่ืองหมายเจาะรูที่เหลืออีก 3 รู ใสพ่ กุ เหล็กขันนอ็ ตยดึ พุกเหลก็ ขนั นอ็ ตยดึ ท้งั สตี่ วั ให้แนน่ เทา่ ๆ กนั 37

3. ประกอบจานเขา้ กับขายดึ ขันน็อตยดึ จานกบั ขาให้แนน่ พอหมนุ ปรับจานได้ หนั หน้า จานไปทางทิศตะวนั ตกเฉยี งใต้ ใชเ้ ขม็ ทิศตง้ั คา่ มุมกวาด(azimuth) ตามคา่ ในตารางของแตล่ ะภูมิภาค ปรับ หนา้ จานไปตามลูกศรชที้ างของเขม็ ทิศ จากนน้ั ขนั น็อตยดึ มมุ เงยของจานทั้งสองดา้ นใหแ้ นน่ พอปรบั ได้ ใช้ เครอ่ื งมอื วัดมุม ต้งั ค่ามุมเงย(Elevation) ตามตาราง ปรบั มมุ เงย(elevation) ของหนา้ จาน ตามเคร่ืองมอื วัดมุม 4. ประกอบ LNB เข้ากบั เมาทย์ ึดทหี่ นา้ จาน ขนั นอ็ ตยดึ พอแนน่ เพอื่ ปรบั แตง่ ได้ โดย หมุนตวั LNB ใหข้ ้ัวต่อ F-Type อยู่ที่ ตาแหน่ง 4 นาฬกิ า จากนน้ั จึงปรับระดับความแรงของสัญญาณอกี ครง้ั ตอนทดสอบ 5. การปรบั แตง่ จาน กรณใี ชเ้ ครอื่ งวัดสญั ญาณดาวเทียม (Satellite Finder Meter) ให้ ตอ่ สายทดสอบจาก ขว้ั F-type ของ LNB เข้ากบั ขว้ั F-type ของเคร่อื งวดั สัญญาณดาวเทยี ม ต้ังค่า พ้นื ฐานของเครอ่ื งวดั สัญญาณ (ประเภท LNB) จากน้ันปรับหนา้ จานดา้ นมมุ กวาดใหร้ บั สญั ญาณไดแ้ รงท่สี ดุ จึงมาปรับมุมเงย และ LNB ใหม้ คี วามแรงของสัญญาณไม่นอ้ ยกวา่ 90% และคณุ ภาพไมน่ อ้ ยกว่า 70% 38

6. การทดสอบสญั ญาณ กรณไี ม่มเี ครอ่ื งวัดสัญญาณดาวเทยี ม (Satellite Finder Meter) ให้นาํ สาย RG-6/U มาปอกตามขน้ั ตอนด้วยคีมปอกสาย RG6 จากน้ันนําหวั ตอ่ F-Type ชนดิ บีบ/อัด มาสวม แล้วใชค้ มี เขา้ หวั บบี /อัดใหแ้ น่นต่อเขา้ กับ ข้ัว F-type ของ LNB แล้วนําปลายอกี ด้านหนง่ึ เขา้ หวั F-type ทํา ในกรณีเดียวกัน นําไปตอ่ กบั ขั้ว F-type ของเครื่องรับ 7. การตั้งค่าเครื่องรับสัญญาณดาวเทยี ม จากน้ันเปดิ เคร่ือง เข้าเมนตู ัง้ คา่ เคร่อื งรับดาวเทยี ม ปรบั จานหาสัญญาณทด่ี ีทีส่ ดุ ขนั นอ็ ตยดึ จานทุกตําแหน่ง ให้แนน่ การต้ังคา่ LNB ชนดิ 11300 แบบ 1 ข้ัว การต้ังค่า LNB ชนิด Universal แบบ 1 ขัว้ 8. พันเทปละลายกันน้าทข่ี ้ัว LNB ให้พนั 3-4 ชน้ั ใสบ่ ูชยางครอบกนั น้ํา ทาํ ตวั ยูและลูป สาย 1-3 รอบ เสน้ ผา่ ศูนยก์ ลางของวงประมาณไม่นอ้ ยกว่า 7 เซนตเิ มตร ทีอ่ อกจากข้วั LNB การวนสาย (Loop) มีไวเ้ พอื่ ให้มรี ะยะตดิ ต้งั ปรบั แตง่ ไดส้ ะดวกขึน้ (หรือทาํ Loop ไวท้ ่ใี ตจ้ าน) เพ่อื การซ่อมบํารงุ ภายหลงั และกันน้ําไหลยอ้ นเข้า LNB การใช้งาน และจัดเกบ็ สาย Drip Loop ควรทาํ ทจ่ี ดุ ใกลร้ รู อ้ ยสายผา่ นผนังเข้า บ้าน หรือเจาะรใู หล้ าดเอยี งลงไปภายนอก รัดดว้ ยพลาสตกิ รดั สาย(Cable Ties) รดั แนบลงมากับแขน LNB ลงมาทขี่ ายดึ จาน และตอกคลปิ รัดสายไปจนถึงเคร่ืองรบั 39



การอัฟเดทซอฟตแ์ วร์ ระบบ OTA ขอ้ มูลท่ีส่งผา่ น OTA มี 3 ประเภท คอื 1. ความถีช่ อ่ งรายการทมี่ กี ารเปลี่ยนแปลง (Transponder List) 2. ซอฟต์แวรใ์ หม่ๆ (Software Update) 3. ข้อความ หรอื รูปภาพ รูปภาพต้อนรบั ตอนเปิดเครอื่ งครั้งแรก (Message & Picture) ผผู้ ลิตเคร่อื งรบั สัญญาณ จะส่งข้อมูลผา่ นระบบ OTA ในกรณตี ่างๆ ดงั นี้ เช่น 1. กรณีช่องรายการ ย้าย/เปล่ียนความถ่ี (Channel Edit) ทผี่ า่ นมาทกุ ครง้ั ท่ีมีการ เขา้ มาใชฉ้ ะน้นั ผลดใี นดา้ นความสะดวกสบายกจ็ ะเปน็ ประโยชนโ์ ดยตรงทัง้ กับช่างและผใู้ ช้ 2. กรณมี ชี อ่ งรายการใหมๆ่ เพิ่มขน้ึ (New Channel) มีลกั ษณะคลา้ ยกบั ขอ้ 1 แต่ จะเป็นการเพ่ิมความถี่ใหมซ่ ง่ึ ไมม่ ีอยู่ในเครอื่ งเข้าไป และทุกๆ ครัง้ ทท่ี าํ การอพั เดทขอ้ มูลเสรจ็ สนิ้ ทางผผู้ ลติ จะส่งข้อความไปท่เี ครอื่ งรบั สัญญาณโดยตรงเพื่อบอกว่ามีชอ่ งอะไรเพม่ิ ข้ึนมา 3. เพม่ิ เตมิ Function ใหมใ่ ห้กับเคร่ืองรบั สญั ญาณ เปลย่ี นระบบปฏิบตั กิ ารเหมอื น เครอื่ งคอมพวิ เตอร์ทเี่ ราใช้กัน ดงั นน้ั เมอ่ื มีการปรบั ปรุง ระบบของ Software หรือแกใ้ ขบั๊ก ที่เกดิ จากความไม่ สมบูรณ์ของ Software ทางผู้ผลติ ก็สามารถทจี่ ะทาํ การอฟั โหลดซอฟแวร์ ดงั กลา่ วมายงั เครอื่ งรบั สญั ญาณได้ ตอนเปดิ เร่ิมระบบเครอ่ื งใหม่ 41

ระบบ OTA มี 2 แบบ 1. อฟั เดทแฉพาะ DATA มหี ลายผผู้ ลติ ท่ีใชร้ ะบบนี้ ขอ้ ดี ของการอฟั เดทเฉพาะ DATA กค็ อื 2. อัฟเดทท้ังหมด All Update มีหลายผู้ผลติ ท่เี ลือกใช้ OTA รูปแบบนี้ ขอ้ ดี ของการ OTA แบบ All Update ผู้ผลิตสามารถท่ีจะใชร้ ะบบ OTA เพ่ือท่จี ะเพมิ่ ประสิทธภิ าพ เพมิ่ Function ใหมๆ่ ให้กบั เครือ่ งรับ การปรบั ปรงุ ข้อบกพร่องของซอฟแวรเ์ วอรช์ นั่ ก่อนหนา้ น้ี ผา่ นระบบ OTA แบบ All Update ขอ้ เสีย ของการอัฟเดทแบบน้ี คอื จะใช้เวลาในการอฟั เดทนานถงึ นานมาก ข้ึนอยกู่ ับขนาดขอ้ มลู ท่ใี ชใ้ น การอฟั เดท ( อฟั เดท ทั้ง Data และ Main Software) และอาจมีบางกรณที ข่ี ณะดาวน์โหลดอยู่แลว้ เกิดไฟฟา้ ขดั ข้อง อาจทาํ ให้การอฟั เดทไมส่ มบูรณ์ เครอ่ื งรับสญั ญาณเคร่ืองนัน้ จะมีการทาํ งานทีไ่ ม่สมบูรณ์ หรือเคร่ืองไม่ สามารถเปดิ ใชง้ านไดเ้ มอ่ื เกิดเหตกุ ารณแ์ บบน้ี ขอ้ ควรระวังสำหรบั กำรตดิ ต้งั เคร่อื งรบั สญั ญำณดำวเทยี มที่มรี ะบบ OTA ขอ้ ควรระวงั สาํ หรบั การตดิ ตง้ั เคร่อื งรบั สัญญาณดาวเทียมท่ีมีระบบ OTA - เคร่อื งไมส่ ามารถ ที่จะทําการ OTA ได้ - OTA ได้ แต่ไม่สําเรจ็ - OTA วนทกุ ๆครัง้ ทเี่ ปิดเครอ่ื งมาใหม่ สภาพปญั หา จาก 3 ขอ้ หลักๆ ทก่ี ล่าวมาเกิดจากการทผ่ี ูต้ ดิ ตง้ั ไมท่ ราบขอ้ มูลทางเทคนิคของ เครื่องรับท่ีผู้ผลิตย่หี ้อนน้ั ๆ ใช้ช่องสัญญาณความถีใ่ นการส่งข้อมูล OTA ใหก้ บั เครื่องรบั เมอื่ เคร่อื งรับไม่ สามารถรับขอ้ มูลไดอ้ ย่างครบถ้วนถูกตอ้ งก็จะไมส่ ามารถทําการอฟั เดทไดผ้ ผู้ ลิตสินค้าจะมกี ารเช่าช่องสัญญาณ ดาวเทยี มเพอื่ ทําการสง่ ผา่ นข้อมูลไปยงั เคร่ืองรบั ดังนั้นผู้ตดิ ตงั้ ตอ้ งทราบวา่ ผผู้ ลติ สนิ คา้ ยหี่ อ้ นั้นๆ ใชค้ วามถี่ เท่าไหรใ่ นการส่งสัญญาณ ซงึ่ แตล่ ะผูผ้ ลติ จะใช้ความถต่ี ่างกัน หรือความถ่ีเดียวกนั แบบแบ่งกนั เช่าก็ได้ ต้อง ทําการติดต้ังจานดาวเทียมให้รบั ช่องสญั ญาณดงั กล่าวใหด้ ีทีส่ ุด เพ่ือรับข้อมลู ไดอ้ ยา่ งถูกต้อง 42

ความถ่ี 0/22K ความถ่ี 0/22K คือ ความถที่ ่เี คร่อื งรับสญั ญาณดาวเทยี มส่งออกไปจากขว้ั LNB IN ไปยังหัวรับ สญั ญาณ (LNB) โดยตรง หรอื ผา่ น Multiswitch หรอื ตอ่ ผ่าน DiSEqC Switch เพอ่ื ใช้ควบคุมการเลือกรับ สัญญาณความถี่ ดา้ น LO Band 9750 ความถ่ีทร่ี ับไดเ้ ริ่มจาก 10700 -12225 Mhz และ HI Band 10600 ความถี่ทรี่ บั ได้กเ็ ร่มิ จาก12225 Mhz -12750 Mhz ซ่งึ จะใชไ้ ด้และมีผลกบั LNB แบบ KU-Band Universal เท่าน้ัน สว่ น LNB C-Band และ LNB Ku-Band แบบ Single 11300 จะไม่มผี ลกบั ค่าความถ่ี 22K ดังนนั้ ถา้ สัง่ ให้เปดิ หรือ On receive กจ็ ะส่งความถ่ี 22K ออกมาควบคุมใหห้ ัวรบั สญั ญาณ (LNB) เลอื กรบั สญั ญาณความถด่ี า้ น HI Band เริ่มจาก 12225 Mhz -12750 Mhz ซงึ่ เปน็ ช่องสญั ญาณของ ดาวเทยี ม ThaiCom Ku-Band ถา้ ส่งั ใหป้ ิด หรือ Off receiver กจ็ ะไมส่ ง่ ความถี่ 22K ออกมา คอื สง่ คา่ ความถ่ี 0 K หัวรับ สัญญาณ (LNB) จะเลอื กรบั ความถ่ีดา้ น LO Band โดย เรม่ิ จาก 10700 -12225 Mhz ในสว่ นของหวั รบั สัญญาณ (LNB) Ku-Band แบบ Single 11300 รบั ไดย้ า่ นความถเี่ ดียว คือ ย่าน Hi-Band ความถ่ีทีร่ บั ไดจ้ ะเร่ิมท่ี 12225 Mhz.ขนึ้ ไป ต่าํ กว่าน้ี รบั ไม่ได้ ความถี่ 22K ก็ไปส่ังไม่ได้ ไมว่ ่า On หรือ Off จะไม่มผี ลแต่ทางทีด่ ี ควรจะสั่ง ปิด หรอื เปน็ 0 K จะดกี ว่าเนอ่ื งจากสัญญานทอ่ี อกจาก receiver มีความถอ่ี นื่ ๆ และตอ้ งรับความถี่จาก LNB ดว้ ย ถา้ หากตอ่ ผา่ น DiSEqC Switch ยงั ตอ้ งสง่ ความถ่ีอน่ื ๆ อกี เพอ่ื ไปส่งั ให้ DiSEqC Switch ทาํ งานด้วย ยง่ิ มีความถ่ีในสายสง่ นอ้ ยเทา่ ไร การ Loss ของ สญั ญาณในสายก็จะนอ้ ยลง ทําใหก้ ารรบั สญั ญาณดาวเทยี มมคี ุณภาพมากยงิ่ ขน้ึ 43

44